ประวัติหลวงปู่มั่น ตอนที่47อุบายโต้ตอบของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯต่อหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 22 กรกฎาคม 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    อุบายโต้ตอบของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    จากซ้ายไปขวา
    พระเดชพระคุณพระอุบาลี (จันทร์),ท่านพระอาจารย์มั่น,ครูบาศรีวิชัย


    ครั้งหนึ่งท่านเล่าว่า ท่านสนทนากับท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ถึงพระเวสสันดร พอได้โอกาสท่านเรียนถามถึงแม่ของพระนางมัทรีคือใคร ไม่เห็นกล่าวไว้ในคัมภีร์ หรือค้นหาไม่พบต่างหาก ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็ตอบขึ้นทันทีว่า


    ท่านยังไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินแม่นางมัทรีบ้างหรือ เขาเห็นกันทั้งบ้านทั้งเมือง ท่านมัวไปหานางมัทรีอยู่ที่ไหนถึงไม่ได้เห็นกับเขา


    ท่านพระอาจารย์มั่นกราบเรียนว่ายังไม่เคยเห็นเลย ไม่ทราบว่าอยู่ในคัมภีร์ไหน


    ท่านตอบทันทีว่าจะอยู่ในคัมภีร์อะไรที่ไหนกัน ก็สาวอบผู้พูดเสียงดัง ๆ บ้านแกหลังใหญ่ ๆ อยู่สี่แยกทางออกไปวัดยังไงล่ะ


    ท่านพระอาจารย์มั่นเกิดงง ต้องเรียนถามท่านอีกว่า สี่แยกที่ไหนและทางออกไปวัดไหน ท่านไม่เห็นกล่าวเรื่องวัดเรื่องวาไว้เลย


    ท่านตอบว่า ก็แม่นางมัทรีบ้านแกอยู่เกือบติดกับบ้านท่านอย่างไรล่ะ ทำไมยังไม่รู้กระทั่งนางมัทรีและสาวอบแม่นางมัทรีเข้าอีก ท่านนี้แย่จริงๆ เพียงนางมัทรีและสาวอบในหมู่บ้านเดียวกันยังไม่รู้อีก ท่านจะไปเที่ยวหาแม่นางมัทรีในคัมภีร์ไหนกันอีก ผมก็แย่แทนท่านถ้าเป็นอย่างนี้


    ท่านอาจารย์ก็ระลึกได้ทันทีเมื่อท่านพูดว่า นางมัทรีและสาวอบที่อยู่ในบ้านเดียวกัน แต่ก่อนมัวไปนึกภาพในเรื่องพระเวสสันดรในคัมภีร์โน้นจึงทำให้งงไปนาน


    ท่านว่าท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านฉลาดโต้ตอบด้วยอุบายแปลก ๆ อย่างนี้เสมอมา ท่านมักโต้ตอบแบบศอกกลับเสมอ ทำเอาผู้ฟังงงไปตาม ๆ กันและก็ได้สติปัญญาจากอุบายท่านตลอดมา ท่านเล่าทั้งหัวเราะขันตัวท่านเองที่ไม่ทันลูกไม้ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ

    ท้าวสักกเทวราชบนสวรรค์มาเยี่ยมท่านเสมอ

    ท่านพักจำพรรษาอยู่บ้านน้ำเมา อำเภอแม่ปัง เชียงใหม่ ท่านว่าท่านต้อนรับแขกจำพวกกายทิพย์บนสวรรค์ มีท้าวสักกเทวราชเป็นหัวหน้ามากเป็นพิเศษ แม้หน้าแล้งท่านหลีกออกไปเที่ยววิเวกองค์เดียวอยู่ในถ้ำดอกคำ ก็มีท้าวสักกเทวราชพาพวกเทวดามาเยี่ยมท่าน ซึ่งมาแต่ละครั้งเป็นหมื่นเป็นแสนและมาบ่อยที่สุด ถ้าพวกที่ไม่เคยมา ท้าวสักกเทวราชต้องเตือนให้เขาเข้าใจวิธีฟังธรรมก่อนที่ท่านจะแสดงให้ฟัง โดยมากท่านแสดงเมตตาอัปปมัญญาพรหมวิหารให้เขาฟัง เพราะพวกเทวดาชอบธรรมนี้มากเป็นพิเศษ


    ท่านพักอยู่ทั้งสองแห่งนี้ ท้าวสักกเทวราชมาเยี่ยมฟังธรรมเสมอ การต้อนรับพวกเทพทุกชั้นทุกภูมิก็ปรากฏว่ามากเป็นพิเศษกว่าที่อื่น ๆ เพราะที่นี่อยู่ลึกและสงัดมากบรรยากาศก็อำนวย


    พวกนี้เคารพท่านและสถานที่ที่ท่านพักอยู่มาก แม้ทางจงกรมที่ญาติโยมเอาทรายมาเกลี่ยไว้สำหรับให้ท่านเดินจงกรมก็ไม่กล้าผ่านเข้ามา ต้องเว้นไปเข้าทางอื่น พวกพญานาคก็เช่นกัน เวลาเขาเข้ามาเยี่ยมฟังธรรมท่านก็ไม่อาจเดินข้ามทางจงกรมเข้ามา ถ้าหัวหน้าจำเป็นต้องเดินผ่านเข้ามาเป็นบางครั้ง ต้องเว้นไปทางหัวจงกรมเดินอ้อมเข้ามา บางครั้งพญานาคใช้ให้บริวารมากราบนิมนต์ท่านในกิจบางอย่าง เช่นเดียวกับมนุษย์เรามานิมนต์พระไปในงาน ก็ไม่กล้าเดินข้ามทางจงกรมเข้ามา ถ้ามีทรายโรยไว้ก็เอามือกวาดทรายออกเสียก่อนแล้วค่อยคลานเข้ามา พอพ้นจากนั้นแล้วค่อยลุกขึ้นเดินเข้ามาหาท่าน กิริยามรรยาททุกอาการอยู่ในความสำรวมดีมาก


    ท่านว่า


    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top>
    มนุษย์เราซึ่งเป็นเจ้าของศาสนา ถ้าต่างสนใจในธรรม และมีความเคารพต่อตัวเอง สมกับว่ารักตนจริง ๆ ตามความรู้สึกที่ฝังลึกอยู่ภายใน ก็ควรมีมรรยาทเคารพศาสนาเช่นเดียวกับพวกเทวดาและพญานาคที่เขาทำกัน แม้ไม่สามารถจะมองเห็นวิธีการที่เขาทำความเคารพต่อศาสนา แต่ศาสนาก็สอนวิธีเคารพไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว ไม่มีอะไรบกพร่อง นอกจากพวกมนุษย์เราไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร และตั้งใจสั่งสมความประมาทใส่ตนจนหาที่เก็บไม่ได้เท่านั้น จึงไม่ค่อยประสบความสุขความสมหวังดังที่ปรารถนากัน



    ความจริงศาสนาเป็นแหล่งผลิตมรรยาทศีลธรรมอันดีงามเพื่อผล คือความสุขความสมหวังจะมีทางเกิดขึ้นแก่ผู้สนใจตามหลักศาสนาที่สอนไว้



    ท่านกล่าวเน้นหนักลงไปว่า



    ความสำคัญของทุกสิ่งในโลกก็คือใจ ถ้าใจหยาบ ทุกสิ่งที่มาเกี่ยวข้องก็กลายเป็นของหยาบไปด้วย เช่นเดียวกับร่างกายสกปรก แม้สิ่งที่มาคละเคล้ากับกาย จะเป็นของสะอาดสวยงามเพียงไร ก็กลายเป็นของสกปรกไป ตามร่างกายที่สกปรกอยู่แล้ว ฉะนั้นธรรมจึงอดจะหยาบไปตามใจที่สกปรกไม่ได้ ถึงจะเป็นธรรมที่บริสุทธิ์หมดจด แต่พอคนมีใจโสมมเข้าไปเกี่ยวข้อง ธรรมก็กลายเป็นธรรมอับเฉาไปตาม เหมือนผ้าที่สะอาดตกลงไปคลุกฝุ่น หรือคนชั่วแบกคัมภีร์ธรรมอวดโลกให้เขารับนับถือ ซึ่งทั้งสองนี้ไม่มีผลดีต่างกันเลย



    คนที่มีใจหยาบกระด้างต่อศาสนาก็เป็นคนในลักษณะนี้เหมือนกัน จึงไม่มีทางได้รับประโยชน์จากศาสนธรรม แม้เป็นของวิเศษเพียงไรเท่าที่ควร เอาแต่ชื่อออกประกาศกันว่าตนนับถือศาสนา แต่ไม่ทราบว่าศาสนาคืออะไร และมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้นับถืออย่างไรบ้าง ถ้าประสงค์อยากทราบข้อเท็จจริงจากศาสนาอย่างแท้จริงแล้ว ตนกับศาสนาก็เป็นอันเดียวกัน ความสุขทุกข์ที่เกิดกับตนย่อมกระเทือนถึงศาสนาด้วย ความประพฤติดีชั่วก็กระเทือนถึงศาสนาเช่นกัน คำว่าศาสนา คือแนวทางที่ถูกต้องแห่งการดำเนินชีวิตนั่นแล จะเป็นอื่นมาจากไหน



    ถ้าคิดว่าศาสนาอยู่ที่อื่นนอกจากตัว ก็ชื่อว่าเข้าใจศาสนาผิดจากความจริง การปฏิบัติต่อศาสนาก็ปฏิบัติไม่ถูก คำว่าไม่ถูกนี้ ไม่ว่าอะไรไม่ถูก ของนั้นใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แม้ได้ก็ไม่ถูกตามกฎเกณฑ์ คือได้แบบขวางโลก ขวางธรรม ขวางตน และขวางผู้อื่นไปทั้งนั้น คิดอย่างง่าย ๆ และเห็นประจักษ์ตาคือ การบวกลบคูณหารไม่ถูก ตัดเสื้อกางเกงไม่ถูก เย็บเสื้อผ้าไม่ถูก สามีภริยาปฏิบัติไม่ถูกตามจารีตประเพณี คู่รักปฏิบัติไม่ถูกตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อกัน พ่อแม่กับลูก ๆ ปฏิบัติต่อกันไม่ถูก การแสวงหาทรัพย์ไม่ถูกทาง การจ่ายทรัพย์ไม่ถูกทาง ขับรถไม่ถูกกฎจราจร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นเครื่องปกครองโลกให้ร่มเย็นทั่วหน้ากัน ราษฎรกับเจ้านายปฏิบัติต่อกันไม่ถูกตามระบอบประเพณีและกฎหมายบ้านเมือง ขาดความเคารพนับถือกันและกลายเป็นข้าศึกต่อกัน



    เหล่านี้จะเห็นเป็นความเสียหายมากน้อยกว้างแคบเพียงไร ผลคือความผิดหวังและความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ทำผิด จะแสดงขึ้นที่ไหน ถ้าไม่แสดงขึ้นตามจุดแห่งเหตุที่ทำผิดก็ไม่มีที่แสดง ขึ้นชื่อว่าผิดแล้วผลคือความเสียหายต้องแสดงขึ้นตามเหตุนั้น ๆ แม้คนที่ทำผิดต่อผู้อื่นโดยที่เขาจะทราบว่าตัวทำผิดต่อเขาหรือไม่ก็ตาม ผลคือความเสียหายที่จะระบาดออกจากการทำผิดนั้น ปิดไม่อยู่แน่นอน ต้องแสดงสุดขีดแห่งการทำผิด จะเป็นฝ่ายใดได้รับไม่เป็นปัญหา ข้อแก้ตัวว่าทำผิดแล้วผลไม่แสดงตัวให้ปรากฏ อย่างไรต้องแสดงมากน้อยจนถึงขั้นแดงโร่ทั่วดินแดน



    ฉะนั้นคำว่าไม่ถูก เช่น คิดไม่ถูก พูดไม่ถูก และคำว่าไม่ถูก หรือคำว่าผิดนี้ จึงเป็นจุดที่ควรสนใจอย่างยิ่ง ไม่ชินชาตามัว ไม่เหลียวแลเรื่องจะแก่กล้าพร่าเอาตัวผู้เลื่อนลอยต่อความผิดให้ล่มจมอย่างเห็นประจักษ์ตาในขณะนี้ชาตินี้ ไม่ต้องมองไกลอันเป็นการตะครุบเงามากกว่าถูกตัวจริง เพราะศาสนามิใช่เงาเครื่องหลอกหลอนคนให้โง่ แต่เป็นศาสนาที่ให้ความจริงทุกประตูที่ประกาศสอนไว้ ไม่ผิดพลาด ถ้าผู้นับถือไม่ปฏิบัติให้ผิดพลาดไปเอง แล้วกล่าวตู่ว่าศาสนาไม่เป็นท่า ซึ่งเป็นการกว้านความผิดพลาดมาทับถมโจมตีตัวเอง ให้เกิดความทุกข์ร้อนจนหาที่ปลงวางไม่ได้เท่านั้น จึงไม่มีปัญหาสำหรับศาสนาซึ่งเป็นของบริสุทธิ์มาดั้งเดิม



    ท่านกล่าวย้ำอีกว่า



    คนเราถ้ายอมรับความจริงตามหลักศาสนาที่สอนไว้ ตัวย่อมได้รับความเป็นธรรม คือตัวเย็น ผู้เกี่ยวข้องมากน้อยก็เย็น โลกร่มเย็นไม่ค่อยมีการทะเลาะเบาะแว้งแย่งชิง เพื่อแข่งดิบแข่งดีกันให้เดือดร้อนไปทั้งสองฝ่าย ซึ่งสุดท้ายก็เป็นไฟไปตาม ๆ กัน ไม่มีใครได้ครองความสุขดังใจหวัง เพราะเอาใจดวงกำลังเป็นไฟทั้งกอง เข้าไปเป็นหัวหน้าว่าความในกิจการในโรงในศาล ในเรื่องต่าง ๆ ไม่มีประมาณ ด้วยเหตุนี้แลคนเราจึงหาประมาณความทรงตัวได้ยาก อยู่ที่ไหนก็ร้อนเป็นฟืนเป็นไฟไม่เป็นสุข เพราะใจแบกกองไฟไว้กับตัวตลอดเวลา ไม่คิดจะปลงวางลงบ้าง พอได้หายใจไกลทุกข์ประสบสุขเสียบ้าง เพื่อทรงตัว



    ท่านว่า

    ผมเองนับแต่บวชมาในศาสนา ชาตินี้เกือบทั้งชาติสนุกพิจารณาศาสนธรรมที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ ความกว้างลึกของศาสนธรรมยังกว้างลึกกว่ามหาสมุทรทะเลเป็นไหน ๆ เทียบกันไม่ได้เอาเลย ถ้าพูดตามความจริงจริง ๆ แล้ว ความละเอียดสุขุมเหลือประมาณที่จะพิจารณาตามได้ ความอัศจรรย์แห่งผลที่แสดงขึ้นกับการปฏิบัติเป็นระยะ ๆ ไปก็สุดจะกล่าว ถ้าไม่คิดว่าคนจะหาว่าบ้าแล้ว ผมกราบพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเป็นองค์แห่งธรรมอัศจรรย์แท้ได้ตลอดไป เช่นเดียวกับคนงานอื่น ๆ ซึ่งหนักยิ่งกว่าการกราบไหว้เป็นไหน ๆ ไม่มีการเกียจคร้าน ไม่นึกระอา ไม่นึกว่าซ้ำซาก แต่แน่ใจอย่างถอนไม่ขึ้น แม้ชีวิตดับไปว่าพุทธะ ธรรมะ สังฆะอยู่กับเรา เราอยู่กับท่านตลอดเวลาอกาลิโก ไม่มีการแยกย้ายจากกันเหมือนโลก อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ที่คอยทำลายหัวใจสัตว์โลกให้ระทมขมขื่นอยู่เสมอ ไม่พอให้หายใจได้แต่ละเวลาเลย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk-home-hist-index-page.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...