ประชาธิประไตยแบบพุทธ‏

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ศรีสุทโธ, 13 พฤษภาคม 2011.

  1. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    ขณะที่การเมืองไทยจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ซึ่งบรรยากาศกำลังคึกคักกับการหาเสียงแบบสุดขีดนั้น
    อีกมุมหนึ่งในวงสัมมนากลุ่มเล็ก ๆ ในงานปาฐกถาเสม พริ้งพวงแก้ว ครั้งที่ ๑๑ วันที่ ๑๖ มกราคมที่ผ่านมา มีการปาฐกถาจาก ซัมด้อง รินโปเช หัวหน้าคณะรัฐมนตรีประเทศทิเบต และศาสตราจารย์ด้านพุทธศาสตร์ศึกษา สถาบันกลางเพื่อการศึกษาด้านทิเบตขั้นสูง ในหัวข้อเรื่อง “ประชาธิปไตยแบบพุทธ : บทเรียนจากรัฐบาลทิเบตภายนอกประเทศ” ซึ่งเป็นอีกแง่มุมหนึ่งที่เกี่ยวกับการเมืองอย่างน่าสนใจ
    การปาฐกถาครั้งนี้ มี ประชา หุตานุวัตร เป็นผู้แปลภาษา
    ซัมด้อง รินโปเช เริ่มด้วยการกล่าวถึงหลักการและปรัชญาของประชาธิปไตย มองจากแง่มุมของพุทธศาสนานั้น ความเสมอภาค ความยุติธรรม และความเป็นพี่เป็นน้อง ต้องถือว่าเป็นหลักสำคัญของประชาธิปไตย
    ประการแรก พุทธถือว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายเสมอกันหมด ไม่ใช่เฉพาะระหว่างมนุษย์เท่านั้น และความเสมอภาคนี้ขึ้นอยู่บนฐานของศักยภาพที่สรรพชีวิต มีโอกาสจะพัฒนาความคิดเรื่องความเป็นธรรมในแง่ของพุทธนั้น กว้างและลึกกว่าความคิดเรื่องความเป็นธรรมในระบบปัจจุบันมาก ความยุติธรรมในนิยามพุทธขึ้นอยู่กับกฎธรรมชาติ กฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้นอาจจะไม่ยุติธรรมตามกฎธรรมชาติก็ได้
    แล้วความเป็นพี่เป็นน้องในแง่ของรัฐ หรือพันธมิตรทางการเมืองไม่ใช่ความเป็นพี่เป็นน้องที่แท้จริง ความเป็นพี่เป็นน้องที่แท้จริงต้องเป็นความเมตตาซึ่งขยายไปถึงสรรพสัตว์ นี่คือความเป็นพี่เป็นน้องที่แท้จริงแบบพุทธ
    “ซัมด้อง รินโปเช” บอกว่า ถ้าหากจับ ๓ ประเด็นนี้เป็นหลักของประชาธิปไตย แล้วตีความแบบพุทธ พุทธศาสนาก็สามารถจะทำให้ประชาธิปไตยสมัยใหม่กว้างและลึก ร่ำรวยขึ้นได้ในทางสติปัญญา
    ประเด็นต่อไปคือเรื่องการตัดสินใจว่าเลือกใช้ เสียงส่วนใหญ่ หรือ เสียงเอกฉันท์
    ปัจจุบันปฏิบัติกันทั่วโลก ใช้เสียงส่วนใหญ่เป็นหลัก พระพุทธเจ้าไม่ได้วางระเบียบอย่างละเอียดเกี่ยวกับการปกครองรัฐ
    แต่พระพุทธเจ้าได้วางระเบียบอย่างละเอียดเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ ในระบบของคณะสงฆ์ การสังฆกรรม หรือการตัดสินใจของหมู่คณะนี้ ต้องอาศัยเสียงเอกฉันท์เป็นหลัก คือ ถ้ามีเสียงคัดค้านเพียงเสียงเดียวก็ถือว่าเป็นโมฆะ
    ถ้าพระสงฆ์ ๑๐๐ รูปอยู่ด้วยกัน แล้ว ๙๙ รูปเห็นด้วย มี ๑ รูปไม่เห็นด้วย ก็เป็นอันใช้ไม่ได้ ต้องให้อีกรูปที่ไม่เห็นด้วยถูกชักจูงจนเห็นด้วยจึงจะสำเร็จ
    “รู้สึกว่ากระบวนการแบบนี้ยากมาก แต่มีความสำคัญ เพราะคนส่วนน้อย ๑ คน ก็มีความเสมอภาคกับคน ๙๙ คน ถ้าพูดตามตรรกะแล้วคือ ถ้าสิ่งนั้นเป็นสัจจะแล้ว ทุกคนจะต้องเห็นด้วยได้ ถ้าคนส่วนน้อยสามารถพิสูจน์ด้วยเหตุผลได้ว่าความเห็นของตัวเองถูก คนส่วนใหญ่ก็ต้องเห็นด้วย” รินโปเชกล่าว
    รินโปเชบอกว่า ต้องยอมรับว่าการปกครองรัฐ กับการจัดการรัฐแบบสมัยใหม่ จะให้ใช้ “มติเอกฉันท์” นั้นเป็นไปได้ยาก
    แต่อย่างน้อยที่สุดจะต้องให้โอกาสคนส่วนน้อยได้อภิปรายอย่างเสมอภาคกัน ถ้าส่วนหนึ่งของคนถูกครอบงำโดยอีกส่วนหนึ่งถือว่านี่ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง
    ดังนั้น จึงจำเป็นที่เราพยายามหามติเอกฉันท์โดยการฟังและมีเหตุผล ปัญญาร่วมจะสำคัญมากและทำให้เกิดมติเอกฉันท์ได้
    อีกประเด็นหนึ่งเป็นมติมหาชนหรือมติสาธารณะซึ่งประเทศสมัยใหม่พูดกันมาก ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลายที่มีประชาชนธรรมดา ๆ ยากที่จะสร้างมติมหาชนขึ้น เพราะมติมหาชนส่วนใหญ่ถูกสร้างโดยพรรค การเมืองต่าง ๆ ถึงที่สุดแล้วเสรีภาพกับความเป็นปัจเจกชนมักจะถูกปฏิเสธเสมอ
    ถ้าเป็นสมาชิกของพรรคแล้วเรามีความเห็นที่ต่างพรรคเราก็จำเป็นที่จะต้องมีความเป็นเหมือนพรรค ในแง่ของเราที่เห็นนี้ก็ไม่ใช่ความคิดเห็นที่ดีในแง่มติมหาชน ประชาชนจะต้องมีเสรีภาพและปัญญาในโอกาสแสดงเสรีภาพและปัญญาอย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกกลุ่มหรือคณะใดล้างสมองในการแสดงความคิดเห็น ในแง่นี้ประชาธิปไตยยังไม่มีความยุติธรรม
    เรื่องระบบการศึกษา ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลายประสบปัญหาในการเลือกตั้ง ซึ่งเงินมีอำนาจเสมอ ประเด็นนี้จะแก้ได้ หากการเลือกตั้งไม่มีพรรคการเมือง
    “การแข่งขันกับการร่วมมือมันเป็น ๒ เรื่องที่เกี่ยวพันกัน ไม่ว่าการแข่งขันจะมีข้อดีอย่างไรก็ตาม แต่การแข่งขันมันต้องมี “ผู้แพ้” และ “ผู้ชนะ” ดังนั้น จึงทำให้เกิดการแบ่งแยกขึ้น และทำให้เกิดการขัดแย้ง ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่ดีในสังคมมนุษย์อย่างแท้จริง ดังนั้น ประชาธิปไตยจึงไม่ควรส่งเสริมความขัดแย้ง ประชาธิปไตยควรจะงดความขัดแย้ง”
    พูดสั้น ๆ ก็คือ ประชาธิปไตยแท้จะต้องเป็นการปกครองตนเอง ซึ่งคานธี เรียกว่า Swaraj คือ การปกครองแบบปกครองตัวเอง หมายถึงตัวเราปกครองและควบคุมตนเอง เมื่อเราสามารถปกครองตนเองได้ เราก็สามารถสื่อสารสัมพันธ์คนอื่นได้อย่างเหมาะสม ความสัมพันธ์ที่ไม่มีตัวตนและความไม่เห็นแก่ตัวเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตย
    รินโปเชบอกว่า สิ่งที่จะทำให้เกิดประชาธิปไตยแท้จริงได้นั้น รัฐต้องไม่แยกเรื่องทางโลกกับทางธรรม รัฐธรรมนูญทิเบตไม่ได้แยกเรื่องทางโลกออกจากทางธรรม เพราะฉะนั้น ฝรั่งจึงถือเอารัฐธรรมนูญทิเบตเป็นตัวอย่างมหาตมะคานธีก็ได้ตีความของเรื่องทางโลก ว่า เรื่องทางโลกคือรัฐที่เคารพศาสนาทุกศาสนาเหมือนกัน ถ้ามองในแง่ของคานธี รัฐของเราก็เป็นรัฐของโลก ในแง่นี้การที่พระหรือแม่ชีเข้าร่วมในการเลือกตั้งจะไม่ทำให้การเลือกตั้งเสียหลักการ
    “ในแง่ของข้าพเจ้าประชาธิปไตยที่แท้ เป็นการจัดการรัฐ โดยไม่เกิดการแบ่งแยกในหมู่ประชาชน ด้วยจิตใจที่มีเมตตา กรุณา การแบ่งแยกที่ว่านี้ คือ การไม่แบ่งแยกผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ไม่ควรมีชนชั้นปกครองและชนชั้นถูกปกครองในหมู่ประชาชน”
    หลายคนอาจจะบอกว่านี่เป็นความฝันที่เป็นไปไม่ได้ แต่ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบันนี้ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ อยู่ที่ความตั้งใจของเรา ถ้าเราตั้งใจจริงอาจจะทำได้ นี่คือหลักของธรรมะ นี่คือประชาธิปไตยที่แท้จริง
    เป็นคำสรุปของซัมด้อง รินโปเช ผู้มาไกลจากทิเบต ..[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...