ปฐมสมโพธิกถา ครบทุกปริจเฉท

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Aek9549, 8 พฤษภาคม 2012.

  1. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑๙ สักยบรรพชาปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑๙[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]สักยบรรพชาปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พวกเจ้าศากยะเสด็จออกผนวช[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วัน ที่ ๔ พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปเสวยบิณฑบาตในงานอภิเษกสมรสของพระนนทะ (พระนันทะ) ราชกุมารผู้เป็นพระพุทธอนุชา (ต่างมารดา) กับนางชนบทกัลยาณี เสร็จภัตกิจแล้วทรงให้นนทะถือบาตรตามเสด็จไปยังพระนิโครธาราม แล้วตรัสขอให้บวชเป็นภิกษุ แม้นนทราชกุมารจะมีจิตรัญจวนคิดถึงเจ้าสาว แต่ความเกรงพระทัยพี่ชายมากกว่าจึงบวชอย่างเสียไม่ได้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วัน ที่ ๗ ประนางพิมพาแต่งองค์ให้ราหุลกุมารทูลขอราชสมบัติ พระราชบิดาอย่างพระพุทธเจ้ามอบสมบัติอันประเสริฐโดยตรัสให้พระสารีบุตรบวช ราหุลเป็นสามเณร แม้พระพุทธบิดาจะเข้าใจชีวิตพระอริยะ แต่การที่หลานรักบวชโดยผู้ใหญ่ผู้ปกครองไม่ล่วงรู้ก็จึงจำทูลร้องขอให้มิให้ ทำเช่นนั้นอีก[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จากกรุ งกบิลพัสดุ์สู่กรุงราชคฤห์ ถึงพระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี พระศาสดาทรงช่วยกำจัดความคิดถึงผู้หญิงผู้เป็นที่รัก ด้วยการพานนทะชมนางลิงกับนางฟ้าแล้วให้ตัดสินใจเอาว่าใครสวยกว่าใคร[/FONT][FONT=&quot]? พระ นนท์ทูลโดยไม่ต้องคิดว่า นางชนบทกัลยาณีเหมือนนางลิง ตรัสเป็นสัญญาว่าหากตั้งใจประพฤติธรรมก็จะมีนางฟ้ารออยู่ ท่านจึงตั้งใจเพียรจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วทูลยกเลิกสัญญา[/FONT]
    [FONT=&quot] เจ้า ศากยกุมารอีก ๖ ตระกูล ยังไม่ได้ออกบวชตามที่บิดามารดารับปากกับพระราชาสุทโธทนะไว้ พวกท่านผ่านการปรึกษาหารือกันอย่างดี แล้วติดตามไปทูลขอบวชพร้อมด้วยช่างตัดผมอุบาลี ณ อนุปิยมัลลนิคม ในเจ้าชายศากยะ ๖ พระองค์นี้ มีพระเทวทัตรวมอยู่ด้วย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ความ รู้สึกที่ว่าตนเองเป็นกษัตริย์ แต่ทำไมไม่ค่อยได้รับความสนใจหรือเลื่อมใส จึงคิดแผนการณ์หาลาภสักการะ เมื่อได้ความนับถืออย่างยิ่งจากรัชทายาทอชาตศัตรู แผนเพียงหาลาภสักการะก็พลิกกลายเป็นแผนปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารและพระบรม ศาสดา เพื่อจะสถาปนาตนเป็นพระพุทธเจ้าปกครองสงฆ์ มีพระเจ้าแผ่นดินอย่างราชาอชาตศัตรูหนุนค้ำก็คงจะยิ่งใหญ่ไปยาวนาน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ แผนชั่วไม่เป็นความลับ ทั้งสงฆ์ทั้งชาวบ้านรู้กันถ้วนทั่ว จึงรีบดำเนินการแยกสงฆ์ ชักนำภิกษุใหม่ให้หลงเชื่อจับสลากแยกไปทำสังฆกรรม อกุศลกรรมใหญ่ปานนั้น ท่านกลับเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ฝ่ายของท่านเปลี่ยนทิฏฐิติดตามพระอัครสาวกกลับไป ภิกษุคนสนิทก็ลุแก่โทสะทำร้ายจนพระเทวทัตล้มป่วย ท่านเกิดสำนึกผิดให้ศิษย์หามไปจนใกล้ แต่ก็ไม่ได้เห็นไม่ได้ทูลขอขมาลาโทษ ถูกธรณีสูบไปเสียก่อน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>


     
  2. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒๐ เมตไตรยพยารณ์ปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๒๐[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]เมตไตรยพยากรณปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระอชิตะได้รับพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าเมตไตรย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ อชิตะเป็นพระโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูกับพระอัครมเหสีกาญจนา ท่านบวชแล้วได้ติดตามพระพุทธเจ้ามายังกรุงกบิลพัสดุ์ คราเสด็จมาครั้งแรกนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีไม่ได้ถวายสิ่งใดเป็นพิเศษแด่พระพุทธเจ้า คราวนี้จึงตั้งพระทัยจะถวายผ้าสาฎกเนื้อดี เพื่อให้ทรงทำเป็นจีวรทรง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ นางทรงวางแผนผลิตผ้าอย่างละเอียด เริ่มแต่เพาะเมล็ดฝ้ายในอ่างทอง เก็บ ดีด ปั่น เพื่อให้ได้เส้นด้ายพระองค์เองทั้งหมด แล้วจ้างช่างหูกฝีมือเลิศทอเป็นผ้าเนื้อดี สัมผัสนุ่มนวล เสร็จแล้วทรงใส่ผอบแก้วเจือของหอม นำไปทูลถวายในพระนิโครธาราม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ ศาสดาทรงต้องการอนุเคราะห์ให้พระนางได้กุศลมาก และสงฆ์รุ่นต่อไปจะได้ไม่ขาดแคลนปัจจัย ๔ จึงตรัสให้ถวายแก่สงฆ์ ถวายเป็นสังฆทาน ยังความผิดหวังให้เกิดแก่พระนางมาก เพื่อบรรเทาความเสียพระทัยนั้น จึงตรัสพระธรรมเทศนา “ทักขิณาภิวังคสูตร” ว่าด้วยการจำแนกชนิดของทานว่า หากถวายทานเจาะจงผู้รับก็จะได้อานิสงส์น้อย หากถวายเป็นสังฆทานก็จะได้อานิสงส์มาก ทั้งไม่ต้องกังวลว่าจะได้ผู้รับทุศีล เพราะสงฆ์ไม่มีทุศีล[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ นางทรงสดับแล้ว น้อมผ้าเข้าไปถวายพระสารีบุตร แต่ท่านไม่รับ ถวายแก่พระโมคคัลลานะ ท่านก็ไม่รับ แม้พระผู้ใหญ่อื่นๆ ก็ไม่รับ พอถึงพระบวชใหม่คือพระอชิตะ ท่านก็รับ ทำให้พระนางเสียพระทัยอีกครั้ง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ ศาสดาทรงต้องการให้พระมาตุจฉาเกิดศรัทธาพระอชิตะ จึงทรงโยนบาตรหายไปในอากาศ พระอสีติมหาสาวกกราบทูลขออนุญาตตามหาบาตร แต่ไม่มีใครได้บาตรมา พระอชิตะจึงกระทำสัตยาธิษฐานว่า หากตนจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ก็ขอให้บาตรนั้นมาปรากฏในมือ ทันทีที่อธิษฐานจบ บาตรก็มาปราฏในมือ ยังความปลื้มปีติให้เกิดแก่พระมาตุจฉา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ อชิตะนำผ้าสาฎกคู่ใหม่ที่ได้รับ ผืนหนึ่งผูกเป็นเพดาน ผืนหนึ่งฉีกทำม่านไว้ภายในพระคันธกุฎีที่ประทับของพระศาสดา แล้วเปล่งวาจาปรารถนาพุทธภูมิ พระพุทธเจ้าทรงทราบแล้วตรัสพยากรณ์ให้พระอานนท์ฟังว่าความปรารถนาของอชิต ภิกษุจักสำเร็จในกาลที่มนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี...[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  3. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒๑ พุทธปิตุนิพพานปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๒๑[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พุทธปิตุนิพพานปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธบิดาปรินิพพาน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ประมาณ พรรษาที่ ๕ ขณะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี พระเจ้าสุทโธทนะทรงพระประชวรหนัก มีเหล่าศากยวงศ์แวดล้อมถวายปรนนิบัติ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ พุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระพุทธญาณแล้ว เสด็จพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป โดยทางอากาศ ถึงแล้วทรงเข้าไปยังห้องพระบรรทมตรัสถามถึงพระอาการ แล้วทรงต้องการช่วยระงับทุกขเวทนาของพระพุทธบิดา ทรงกระทำสัตยาธิษฐานถึงพระบารมี ๓๐ ประการ ที่ทรงบำเพ็ญมาแล้วลูบลงที่พระเศียรพระราชา แม้พระอานนท์ พระนนทะ พระราหุล ก็ได้กระทำสัตยาธิษฐาน แล้วลูบที่แขนซ้าย ลูบที่แขนขวา และลูบที่หลัง ตามลำดับ ซึ่งช่วยให้พระราชาทรงมีพระชนม์ต่ออีก ๗ วัน ระหว่างนั้น พระศาสดาก็ตรัสพระเทศนาว่าด้วยความไม่เที่ยงและอริยสัจ ๔ พระราชาทรงบรรลุเป็นพระอรหันต์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ในวันที่ ๗ พระราชากราบทูลลาพระพุทธเจ้า แล้วทรงให้พระโอวาทมิให้เหล่าพระยูรญาติเศร้าโศก จากนั้นเสด็จดับขันธปรินิพพาน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ พุทธเจ้าตรัสให้พระมหากัสสปะเลือกและจัดสถานที่ถวายพระเพลิงศพ มีเหล่าเทพช่วยทำเรือนยอดจิตรกรรม และตกแต่งดอกไม้ของหอม ถึงเวลาถวายพระเพลิง พระศาสดาทรงสรงน้ำพระบรมศพ ทรงยกพระหีบแก้วและขอไฟจากพระอินทร์มาจุดถวายพระเพลิง ทั้งตรัสธรรมกถาโปรดพระญาติที่มาจาก ๖ พระนคร[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระมาตุจฉาปชาบดีโคตมีเข้า เฝ้ากราบทูลขอบวช แต่ไม่สำเร็จ เมื่อพระศาสดาเสด็จไปยังกรุงเวสาลีแล้ว พระนางทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ ปลงพระเกศาและห่มผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จไปขอบวชอีกครั้ง ครั้งนี้ ทรงได้พบกับพระอานนท์ พระเถระรู้ความแล้วเข้าเฝ้ากราบทูลให้ทรงทราบ แต่ก็ไม่ทรงอนุญาตให้บวช พระอานนท์จึงอ้างถึงพระดำรัสเมื่อสตรีบรรลุธรรมได้ ก็ควรจะได้บวช[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระศาสดาจึงเสนอเงื่อนไขว่าหากพระมาตุจฉารับครุธรรม ๘ รักษาได้ตลอดชีวิตก็บวชได้ พระอานนท์นำความไปทูล พระนางยินดีรับ และการรับครุธรรม ๘ ก็ถือว่าได้บวชเป็นภิกษุณีแล้ว[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ส่วนการสืบสันตติวงศ์นั้น พวกเจ้าศากยะก็สถาปนาเจ้าชายมหานามะเป็นพระเจ้ามหานามะ ครองกรุงกบิลพัสดุ์ต่อไป[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  4. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒๒ ยมกปาฏิหาริยปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๒๒[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ยมกปาฏิหาริยปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ย่าง เข้าฤดูฝนพรรษาที่ ๗ ขณะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์คนหนึ่ง ได้ไม้จันทน์แดงมาจากแม่น้ำ เขาเกิดความคิดที่จะหาพระอรหันต์ ถือว่าผู้ใดเหาะได้ผู้นั้นคือพระอรหันต์ จึงให้กลึงไม้เป็นบาตร เสร็จแล้วนำไปผูกห้อยไว้กับยอดไม้ไผ่ที่ต่อกันสูง ๖๐ ศอก แล้วประกาศทั่วพระนครว่า “ผู้ใดเป็นพระอรหันต์ก็ให้เหาะมาทางอากาศนำบาตรไป ตัวเรา บุตร ภรรยา จะถึงผู้นั้นเป็นสรณะ” พวกครูทั้ง ๖ ผู้ถือตนเป็นศาสดาเจ้าลัทธิได้ข่าวแล้ว รีบแสดงตนเป็นพระอรหันต์ แต่ขอไม่เหาะ ไม่อยากเหาะอวด เพราะบาตรไม้มีค่าน้อย เศรษฐีไม่ให้ยังยืนกรานต้องเหาะอย่างเดียว[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วัน ที่ ๗ พระโมคคัลลานะได้ยินพวกนักเลงคุยกันว่า โลกนี้ไม่มีพระอรหันต์ดอก จึงให้พระบิณโฑลภารทวาชะเหาะไปนำบาตรมา ท่านไม่ได้เหาะไปธรรมดา แต่ยืนเหยียบแผ่นหินใหญ่ขึ้นไปบนอากาศด้วย สร้างความหวาดกลัวว่าหินจะตกใส่มนุษย์เบื้องล่าง ได้บาตรมาแล้ว เศรษฐีถวายอาหารอย่างดีลงในบาตร ท่านถือบาตรเดินกลับไปวิหาร ปรากฏว่ามีคนติดตามร้องขอให้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์อีก พระศาสดาทรงทราบแล้วตรัสให้ทำลายบาตรไม้จันทน์ และมีพระบัญญัติห้ามภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พวก เดียรถีย์รู้ข่าวแล้ว โฆษณากันว่า คุณวิเศษของพวกเราก็มี แต่เราไม่อยากแสดงเพียงเพราะบาตรไม้ใบเดียว แล้วเข้าใจผิดว่าการห้ามแสดงปาฏิหาริย์นั้นห้ามศาสดาด้วย จึงประกาศท้าแข่งฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า เชื่อว่าพระองค์จะไม่กล้าละเมิดข้อห้าม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ พวกเขาคิดผิด เพราะทรงชี้แจงว่าไม่ได้ทรงห้ามตัวพระองค์เอง เหมือนกับพระราชาห้ามคนบริโภคมะม่วงในอุทยาน ย่อมไม่ได้ห้ามพระราชาเอง แล้วทรงกำหนดแสดงฤทธิ์ที่ต้นมะม่วงในวันเพ็ญอาสาฬะ ณ ใกล้กรุงสาวัตถี พวกเดียรถีย์ไปสร้างปะรำรอ แล้วให้คนช่วยกันถอนทำลายต้นมะม่วงทิ้ง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ถึง วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เสด็จถึงสถานที่นั้น วันนั้นคนดูแลสวนมะม่วงของพระราชา ได้มะม่วงสุกผลหนึ่งเดินผ่านมาพบ จึงถวายแด่พระพุทธเจ้า พระอานนท์คั้นน้ำมะม่วงถวาย ตรัสให้คนเฝ้าสวนเพาะเมล็ดลงดิน ทรงรดน้ำ มะม่วงเติบโตสูง ๕๐ ศอกทันที[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระอินทร์ตรัสให้เทวดาทำลายปะรำ ทำลมทำฝนใส่จนพวกเดียรถีย์หนีกระเจิง ศาสดาปูรณกัสสปะอับอายที่พ่ายแพ้ ถึงกับกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แล้วพระองค์ก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์และตรัสพระธรรมเทศนาให้ชุมชนใหญ่ ๓๖ โยชน์ได้เห็น ได้ยินทั่วกัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  5. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒๓ เทศนาปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๒๓[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]เทศนาปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]เสด็จดาวดึงส์โปรดอดีตพระพุทธมารดา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ครั้น ทรงเสด็จยมกปาฏิหาริย์แล้ว ทรงพิจารณาถึงพุทธประเพณีของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ก็ทรงพบว่า ได้เสด็จไปจำพรรษายังภพดาวดึงส์ ๓ เดือน เพื่อตรัสพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ ปกรณ์ ตอบแทนพระคุณพระพุทธมารดา และทรงคำนึงถึงความปรารถนาของพระพุทธมารดาที่ตั้งพระทัยทำกุศล เพื่อจะมาเป็นพระพุทธมารดาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าวิปัสสี[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จึง เสด็จเพียง ๓ ย่างพระบาทก็ถึงที่นั่งประจำของพระอินทร์ คือ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้นปาริฉัตต์ พระอินทร์ทอดพระเนตรเห็นแล้วประกาศเชิญชวนเทวดามาเข้าเฝ้า และทรงอาสาไปทูลเชิญอดีตพระพุทธมารดา ซึ่งบัดนี้คือเทพบุตรประทับอยู่ในดุสิตเทวโลก มายังที่ประชุมนี้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อ เทพบุตรอดีตพระพุทธมารดามาแล้ว ทรงเลือกธรรมที่คู่ควรกับพระคุณของมารดา คือ พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ทรงใช้เวลาแสดงไปตามลำดับรวม ๙๐ วัน มิได้ทรงหยุดเลย โดยทรงเนรมิตตัวแทนเหมือนพระองค์ทุกประการ ให้ตรัสแสดงธรรมแทนในระหว่างที่พระองค์เสด็จไปบิณฑบาต เสวยภัต ชำระพระสรีระ หรือซักจีวร เป็นต้น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จบพระธรรมเทศนา เทพบุตรผู้เคยเป็นอดีตพุทธมารดาได้บรรลุโสดาปัตติผล[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] มีความต่างในการโปรดพระพุทธบิดากับพระพุทธมารดาดังนี้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ พุทธบิดานั้น ทรงใช้อำมาตย์ไปทูลเชิญนิมนต์ ๑๐ ครั้ง ทรงรับนิมนต์แล้วใช้เวลาเดินทางนาน ๒ เดือน พบแล้วตรัสเพียงคาถาบทเดียวขณะเสด็จบิณฑบาต เป็นต้น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ส่วน พระพุทธมารดานี้ เสด็จเร็วเพียง ๓ ก้าว ตรัสธรรมมากถึง ๗ ปกรณ์ นานถึง ๓ เดือน ที่ต่างกันเช่นนี้ เพราะทรงรอให้พระพุทธบิดามีพระบารมีญาณแก่กล้าเต็มที่[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  6. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒๔ เทโวโรหนปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๒๔[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]เทโวโรหนปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]การเสด็จลงจากเทวโลก[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อ พระบรมศาสดาเสด็จหายไปในเทวโลก (โลกของเทวดา) ทั้งๆ ที่หมู่ชนบทภาคพื้นดินมองเห็นอยู่ พวกเขาสนใจใคร่รู้ว่า จะได้เห็นพระพุทธเจ้าอีกเมื่อใด จึงสอบถามไปยังพระโมคคัลลานะผู้เลิศทางฤทธิ์ ท่านต้องการให้ชนพวกนั้นรู้อานุภาพของพระอนุรุทธะ จึงบอกให้ไปถามท่าน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ อนุรุทธะก็แจ้งว่าพระศาสดาจะประทับอยู่ดาวดึงส์ ๓ เดือน จะปรากฏพระองค์อีกครั้งในวันมหาปวารณา มหาชนทราบแล้วจึงจัดที่พักเฝ้ารอ มีพระโมคคัลลานะแสดงธรรม มีท่านจุลอนาถบิณฑิกเศรษฐีจัดโรงทานเลี้ยงดู[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ก่อน ถึงวันมหาปวารณา ๗ วัน พระโมคคัลลานะก็ไปเฝ้าทูลถามกำหนดการ ตรัสว่าจะปรากฏพระองค์ที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสะ เพราะพระสารีบุตรจำพรรษาอยู่ที่นั่น พระเถระนำความไปบอกมหาชน หมู่ชนจึงเดินทางไปรวมยังประตูเมือง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ถึง วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พระศาสดาทรงปวารณาพระวัสสาแล้ว เสด็จลงทางบันไดแก้ว อันพระอินทร์เนรมิตไว้ นอกนั้นมีบันไดเงินอยู่ข้างขวาอันพระอินทร์ถือบาตรลงพร้อมเหล่าเทพ บันไดทองอยู่ข้างซ้าย มีท้าวสหัมบดีพรหมและหมู่พรหมกั้นเศวตฉัตรถวายพระศาสดา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วัน นั้นเอง พระโลกนาถทรงใช้พุทธานุภาพเปิดโลก ให้สัตว์ทั้งปวงมองเห็นกันและกัน มนุษย์มองเห็นเทวดา สัตว์นรกและสัตว์เดรัจฉานทั้งปวงก็มองเห็นกัน ทั้งยังเห็นพระศาสดาด้วย สัตว์ที่ได้เห็นพระศาสดาแล้ว ล้วนปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ถึง ภาคพื้นดินแล้ว ทรงต้องการให้มหาชนรู้คุณของพระสาวกทั้งหลาย จึงตรัสถามปัญหาตามภูมิ ให้ผู้นั้นตอบได้ แล้วถามปัญหาสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้พระสาวกที่มีภูมิธรรมภูมิปัญญาเหมาะกับคำถามเป็นผู้ตอบ จนถึงคำถามที่พระสารีบุตรตอบได้คนเดียว ตรัสยกย่องว่าพระสารีบุตรมีปัญญามากพอจะนับเม็ดทรายในโลกนี้ได้ว่ามีจำนวน เท่าใด[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  7. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒๕ อัครสาวกนิพพานปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๒๕[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]อัครสาวกนิพพานปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระอัครสาวกทั้งสองปรินิพพาน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ พุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจล่วงเข้าสู่พระวัสสาสุดท้าย คือพรรษาที่ ๔๕ ตั้งแต่พรรษาที่ ๑ ถึง ๔๔ ได้เสด็จประทับจำพรรษายัง ๑๕ สถานที่ ใน ๙ เมืองมนุษย์ ๑ เมืองเทวดา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ก่อน จะเสด็จไปจำพรรษาสุดท้ายในเวฬุคาม กรุงเวสาลีนั้น พระสารีบุตรเถระก็ยังอยู่กับพระศาสดาในพระวิหารเชตวัน ท่านตรวจดูอายุแล้วพบว่า ตนจะมีชีวิตอยู่อีกเพียง ๗ วัน จะละสังขารก่อนพระบรมครู คิดว่าต้องตอบแทนคุณมารดาผู้ให้กำเนิดบุตรธิดาซึ่งต่อมาเป็นพระอรหันต์ถึง ๗ องค์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จึง ให้พระจุนทะน้องชายบอกกำหนดเดินทางแก่ภิกษุผู้เป็นศิษย์ ๕๐๐ รูป ทั้งหมดทำความสะอาด เก็บงำเสนาสนะเรียบร้อยแล้ว พระอัครสาวกเบื้องขวาสารีบุตรผู้เลิศทางปัญญา ได้เข้าเฝ้ากราบทูลลาปรินิพพาน พระศาสดาตรัสถามถึงวันเวลาและสถานที่ พระเถระทูลตอบแล้วได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์และกล่าวธรรม ถวายนมัสการครั้งสุดท้ายแล้วเดินทางไปถึงบ้านเกิดในนาลันทาเวลาเย็น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ท่านใช้หลานชายอุปเรวตะไปบอกให้ยายจัดห้องที่เกิด และจัดสถานที่พักสำหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] คืน วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ นั้น มีเทวดาผู้ใหญ่และท้าวสหัมบดีพรหมเข้าเยี่ยมอาการป่วย นางสารีพราหมณีผู้เป็นมารดาก็เห็นรัศมีโดยตลอด เมื่อพวกเทพกลับออกไป มารดาได้เข้ามาถามอาการ และถามว่าใครมา[/FONT][FONT=&quot]? ครั้นทราบแล้วก็เกิดความอัศจรรย์ใจในอานุภาพของบุตรชาย คำนึงว่า ลูกเรายังขนาดนี้แล้วองค์พระศาสดาเล่าจะมีอานุภาพยิ่งใหญ่เพียงไร? เกิดความปลื้มปีติมาก[/FONT]
    [FONT=&quot] พระ เถระถือโอกาสนี้กล่าวเทศนาเรื่องพระพุทธคุณ มารดาได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ถึงใกล้รุ่ง ท่านก็ร่ำลาภิกษุบริษัท ปรินิพพานก่อนพระศาสดาประมาณ ๖ เดือน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ส่วน พระมหาโมคคัลลานะอัครสาวกเบื้องซ้ายเลิศทางฤทธิ์ ปรินิพพานในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ หลังพระสารีบุตร ๑๕ วัน ท่านถูกพวกโจรทุบตี มีร่างแหลก แต่ด้วยอานุภาพฌานอภิญญาที่อธิษฐานไว้ จึงกลับดำรงชีพเป็นปกติ ไปเข้าเฝ้ากราบทูลลาปรินิพพาน ณ กาฬสิลาประเทศ มคธชนบท[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>




     
  8. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒๖ มหานิพพานสูตรปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๒๖[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]มหานิพพานสูตรปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ระหว่าง พรรษากาล ณ บ้านเวฬุคามนั้น พระอาการประชวรกำเริบนัก ทรงบำบัดด้วยอิทธิบาทภาวนาเพื่อให้พระกรัชกายดำเนินต่อไปได้ แม้ในห้วงเวลาถูกทุกขเวทนารุมเร้า พระบรมศาสดาก็ยังได้ตรัสถ้อยคำสำคัญ คือ ในกำมือของพระองค์ไม่มีอะไรซ่อนเร้นเหมือนศาสดาอื่น ได้ตรัสสอนสิ่งที่ควรสอนหมดแล้ว เสด็จออกจากกรุงเวสาลีได้ไม่ไกล ทรงหยุดทอดพระเนตรกรุงเป็นครั้งสุดท้าย ที่ตรงนั้นเรียกว่า นาคาวโลก (การเหลียวมองอย่างพญาช้าง)[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทรง แสดงนิมิตใหญ่ เช่น ตรัสว่าที่ตรงนี้น่ารื่นรมย์ เป็นนัยบอกใบ้ให้พระอานนท์ทูลขอให้ดำรงพระชนม์อยู่ดูความรื่นรมย์ต่อไป แต่ท่านพระอานนท์ไม่เข้าใจ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ครั้นพระยา มารเข้าเฝ้าทูลขอให้เสด็จปรินิพพาน ทรงใคร่ครวญพบว่า บัดนี้พุทธบริษัท ๔ เข้มแข็งแล้ว จึงตัดสินพระทัยปลงพระชนมายุสังขารว่า “จากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน ณ สาลวโนทยานกรุงกุสินารา แคว้นมัลละ”[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จาก นั้นก็เสด็จพระดำเนินมุ่งไปทางกรุงกุสินารา ได้เสวยสุกรมัททวะของนายจุนทกัมมารบุตร (ในเล่มนี้กล่าวว่า คือ ข้าวที่หุงด้วยเบญจโครส มีรสกลมกล่อม) ทำให้ทรงอาพาธกล้าอีกครั้ง ซึ่งสามารถคิดได้ ๒ เหตุผล คือ สุกรมัททวะนั้นทำให้ทุกขเวทนากำเริบก็ได้ หรือหากไม่ได้เสวยก็อาจเกิดทุกขเวทนามากกว่านี้ก็ได้ จึงตรัสบอกพระอานนท์ว่า บิณฑบาตที่นายจุนทะถวายในวันเสด็จปรินิพพาน กับบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายในวันตรัสรู้มีผลเสมอกัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แม้ ร่างกายจะทรงย่ำแย่มากระหว่างเดินทาง ทรงต้องการเสวยน้ำอย่างยิ่ง ๒ ครั้ง ที่สุดก็ทรงสมประสงค์ ในการเสด็จมาปรินิพพานที่เมืองนี้ คือ เพื่อตรัสพระธรรมเทศนามหาสุทัสนสูตร เพื่อโปรดท่านสุภัททปริพพาชกและเพื่อไม่ให้เกิดสงครามแย่งชิงพระบรม สารีริกธาตุ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ขณะ เสด็จประทับนอนใต้ต้นสาละคู่ มีมนุษย์และเทพยดาทำการสักการะบูชาจำนวนมาก ก็ยังทรงเตือนให้ตระหนักว่า สิ่งที่พระองค์ทรงปรารถนาก็คือการปฏิบัติธรรมของแต่ละคน ถือเป็นการบูชาเหนือกว่าการให้การถวายด้วยวัตถุ และทรงปลอบประโลมใจให้พระอานนท์ทำกิจต่อไป[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ช่วง สุดท้ายในปัจฉิมยาม ทรงมีพระพุทธดำรัสที่ชาวพุทธทุกคนต้องจดจำ คือ ทรงให้นับถือพระธรรมวินัยเป็นพระศาสดา และจงดำรงอยู่ในความไม่ประมาท [/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>


     
  9. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒๗ ธาตุวิภัชนปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๒๗[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ธาตุวิภัชนปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]การแจกพระบรมสารีริกธาตุ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธะจากพวกเราไปแล้ว (ท่านเรียกว่าดับขันธปรินิพพาน คือการดับสนิทแห่งขันธ์ทั้งปวง) ทุกชีวิตในสาลวโนทยานสงบนิ่ง มีความรู้สึกเดียวกัน คือ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืน จากนั้นความเคลื่อนไหวใหญ่ก็อุบัติ พวกเจ้ามัลละจัดเตรียมผ้าห่อพระศพ จัดเส้นทางเคลื่อนพระศพ เตรียมสถานที่ถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ และจัดให้มีมหรสพบูชา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เวลา ผ่านไป ๖ วัน ในวันที่ ๗ มีการเคลื่อนพระบรมศพตามความต้องการของเหล่าเทวดา และนางมัลลิกาสวมมหาลดาปสาธน์ให้พระบรมศพ ถึงมกุฏพันธนเจดีย์แล้วได้ห่อพระบรมศพตามธรรมเนียมพระเจ้าจักรพรรดิและ อัญเชิญลงพระหีบ ประดิษฐานบนจิตกาธาน พวกกษัตริย์มัลละจะถวายพระเพลิง แต่ไม่สำเร็จ พระอนุรุทธะบอกว่า เทวดาให้รอพระมหากัสสปะมาถึงก่อน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ขณะ ที่พระมหากัสสปเถรเจ้ากำลังนำคณะเดินทางมา พวกท่านยังไม่รู้การปรินิพพาน ครั้นได้เห็นดอกมณฑารพอันอาชีวกถือมาก็ทราบเหตุ จึงถามจนรู้แจ้ง ภิกษุจำนวนมากเสียใจ มีแต่พระสุภัททะผู้บวชตอนแก่คนเดียวทำตัวไม่เศร้าโศก กล่าวว่า ดีแล้ว พวกเราพ้นแล้ว ต่อไปจะทำอะไรๆ ก็ไม่มีใครมาว่า [/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อ พระมหากัสสปะถวายบังคมพระบาทแล้วไฟลุกติดเองด้วยอานุภาพเทวดา ไฟลุกไหม้อยู่นาน ๗ วัน มีสิ่งที่ไฟไม่ไหม้คือ ผ้าคู่หนึ่งและพระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆ [/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จากนั้นพวกเจ้ามัลละจัดการอารักขาและฉลองสมโภชอีก ๗ วัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] อีก ด้านหนึ่ง พวกอำมาตย์ของราชาอชาตศัตรูรู้ว่า ถ้าพระราชาผู้มีศรัทธามาก ทรงรู้ข่าวปรินิพพานก็อาจสิ้นพระชนม์ได้ ต้องออกอุบายกราบทูลเพื่อรักษาพระชนม์ แล้วทำตามนั้น [/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ ราชาทรงมีชีวิต แต่ก็ทรงพร่ำเพ้อหาแต่พระศาสดา เมื่อหายพร่ำเพ้อโศกเศร้าแล้ว ทรงส่งราชทูตและกองกำลังไปขอพระธาตุเช่นเดียวกับกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนคร ต่างๆ รวม ๗ เมือง (ไม่รวมกษัตริย์มัลละกุสินารา) ถ้าไม่ได้ ต่างก็ยื่นคำขาดว่าจะต้องรบ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ การรบก็ไม่เกิดดังที่ทรงมีพระพุทธดำริไว้ล่วงหน้า เนื่องจากมีอาจารย์ใหญ่โทณพราหมณ์เป็นผู้ระงับความคุกรุ่น อาสาจัดแบ่งพระบรมธาตุเท่าๆ กัน ๘ ส่วน ถึงกระนั้นก็ยังมีพระธาตุส่วนต่างๆ ไปอยู่ในเมืองเทวดา พรหมและนาคด้วย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>


     
  10. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒๘ มารพันธปริวรรต
    [FONT=&quot]ปริจเฉทที่ ๒๘[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]มารพันธปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระยามารถูกพระอุปคุตต์ผูกไว้ด้วยฤทธิ์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ มหากัสสปเถระเห็นว่า พระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ยังนครต่างๆ นั้น ในอนาคตกาลจะมีอันตรายเกิดขึ้นได้ จึงปรึกษากับพระเจ้าอชาตศัตรูแล้วเห็นพ้องกัน พระเถระรับเป็นภาระอันเชิญพระบรมธาตุมาด้วยฤทธิ์ พระธาตุที่ไม่ได้นำมา ได้แก่ ส่วนที่อยู่ในราชสกุลต่างๆ และส่วนในนาคพิภพ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ฝ่าย พระราชารับพระราชภาระด้านจัดหาสถานที่และจัดสร้างพระเจดีย์ใต้ดินลึก ๘๐ ศอก ขณะกำลังก่อสร้างก็ตรัสลวงว่าจะทำพระเจดีย์ถวายพระอสีติมหาสาวก เสร็จแล้วก็นำพระบรมธาตุมาประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์ปิดทางลงโดยการสร้างพระ สถูปศิลาทับไว้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อ พระศาสนาล่วงลับไป ๒๑๘ ปี ถึงรัชสมัยของพระเจ้าธรรมาโศกราชหรือพระเจ้าอโศก จอมราชันย์แห่งชมพูทวีป มีกรุงปาตลีบุตรเป็นเมืองหลวง พระองค์มีศรัทธามาก ให้สร้างพระเจดีย์ทั่วชมพูทวีป ๘ หมื่นกว่าแห่ง แล้วทรงต้องการได้พระบรมธาตุมาบรรจุเพื่อจัดงานสมโภชให้ยิ่งใหญ่ แต่ข่าวที่จะได้พระธาตุมาไม่มีเลย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จน กระทั่งพระภิกษุอายุ ๑๒๐ ปีรูปหนึ่งเกิดฉุกคิดถึงสถานที่หนึ่ง ซึ่งหลวงพ่อเคยพาไปนมัสการพระสถูปในป่า ท่านทูลให้พระราชาทราบ จึงมีการค้นหาและพบในที่สุด ทรงกำหนดวันสมโภชแล้วทรงวิตกว่า งานใหญ่ทั่วประเทศจะไม่ราบรื่น อาจมีคนทำอันตรายต่อศรัทธาของพระองค์ จึงตรัสขอให้สงฆ์ส่งภิกษุมีฤทธิ์คุ้มครองงาน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทีแรกภิกษุสงฆ์จะมอบให้สามเณรอายุ ๗ ขวบ ที่มีฤทธิ์ปราบครุฑช่วยพระยานาค แต่สามเณรเสนอให้เป็นภาระของพระกิสนาอุปคุตตเถระ ซึ่งสงฆ์เห็นด้วย ทั้งจะได้ถือเป็นการลงโทษที่พระอุปคุตต์ ละเลยการร่วมอุโบสถสังฆกรรมด้วย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทันที ที่งานเริ่ม พระยามารก็มา มุ่งหมายจะดับประทีปที่จุดบูชาพระมหาเจดีย์ พระอุปคุตต์ก็ใช้ฤทธิ์เข้าต่อสู้โรมรัน ชนะแล้วก็เกรงว่า หากปล่อยไปพระยามารก็อาจจะราวีงานสมโภชอีก จึงทำให้ได้อาย ด้วยการนำซากสุนัขเน่าผูกไว้กับคอมาร ใครๆ ก็ช่วยนำออกไม่ได้ ต้องกลับมาขอให้พระเถระช่วย แต่ท่านก็ยังไม่ไว้ใจ ผูกมารไว้กับภูเขาอีก มารแค้นใจมาก เพราะพระศาสดายังไม่เคยทำ แต่พระสาวกทำกับตนเช่นนี้ จึงสำนักรักพระพุทธเจ้าแล้วกล่าววาจาปรารถนาพุทธภูมิ พระอุปคุตต์ได้ฟังแล้วต้องรีบปล่อยมาร และขอให้พระยามารเนรมิตพระพุทธเจ้าและพระมหาสาวกให้ดูชม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  11. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒๙ อันตรธานปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๒๙[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]อันตรธานปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ความเสื่อมสูญ ๕ ประการ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ตอน ที่พระบรมศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ เป็นห้วงเวลาที่พระพุทธดำรัสตรัสสอนรุ่งเรืองสูงสุด เพราะได้รับความสนใจเล่าเรียนศึกษา น้อมนำเข้ามาปฏิบัติบำเพ็ญตน จนเกิดผลสัมฤทธิ์ คือ บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเรียกว่า อธิคม (การบรรลุ, การได้มา) บ้าง ปฏิเวธ (การบรรลุ, ผลอันจะพึงเข้าถึง) บ้าง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ครั้นพระศาสดาล่วงลับไป อันตรธาน (ความ เสื่อมสูญ, ความสูญหาย) ๕ ประการ คือ ความเสื่อมสูญแห่งปริยัติ ๑ ความเสื่อมสูญแห่งปฏิบัติ ๑ ความเสื่อมสูญแห่งปฏิเวธ ๑ ความเสื่อมสูญแห่งเครื่องหมายภิกษุสงฆ์ ๑ และความเสื่อมสูญแห่งพระบรมสารีริกธาตุ ๑ ก็เริ่มปรากฏ...[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ท่าน ให้ความสำคัญกับพระปริยัติก่อน เพราะปริยัติ คือ พระพุทธพจน์ที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก มีเนื้อความที่จะบอกได้ว่าพระพุทธเจ้าคือใคร ทรงสอนอะไร สอนไปทำไม และจะปฏิบัติตามได้อย่างไร[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] กลุ่ม บุคคลหลักที่เล่าเรียนพระปริยัติก็คือภิกษุสงฆ์ มีทายกทายิกาเป็นผู้สนับสนุนปัจจัย ๔ ทำให้ภิกษุไม่ต้องกังวลความเป็นอยู่ ปริยัติจึงเข้มแข็ง แต่หากคนในสังคมตกอยู่ในภาวะอธรรมก็ย่อมส่งผลมาถึงภิกษุ ทำให้ก้าวหน้าไปในปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธไม่ได้ หรือได้ก็ไม่เต็มกำลัง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ปริยัติธรรม ยากๆ จึงเสื่อมก่อน เพราะผู้เรียนเข้าใจได้ไม่หมด สิ้นอาจารย์แล้วก็ไม่มีอาจารย์คนใหม่ เรื่องที่แสนยากนั้นก็เสื่อมหายไป นี่คือปริยัติเสื่อมก่อน แล้วกระทบไปยังความเข้าใจในหลักการปฏิบัติ การบรรลุปฏิเวธก็พลอยเลือนหาย ความเป็นพระอริยะ หรือการถึงมรรคผลนิพพานก็มีไม่ได้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ท่านกล่าว ถึงอันตรธานแต่ละอย่างว่าเริ่มจากตรงไหนก่อน แล้วไปจบลงตรงไหน จึงจะเรียกว่า อันตรธานสิ้นเชิง (แต่ท่านแสดงปฏิเวธอันตรธานไว้น้อยมาก) ซึ่งลำดับความเสื่อมจนกว่าจะเสื่อมสูญสิ้นเชิงนั้น สามอย่างแรกเริ่มเห็นบ้างแล้วในยุคนี้ แต่สองอย่างหลังคนในยุคนี้ไม่มีโอกาสได้เห็นแน่[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  12. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    [FONT=&quot]สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]องค์พระนิพนธ์ คัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot] สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจุ้ย ณ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๓๓ ขณะประสูตินั้น รัชกาลที่ ๑ มีพระชนมายุ ๕๓ พรรษา ครองราชสมบัติมาแล้ว ๘ ปี[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทรงมีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี [/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ครั้น ทรงเจริญพระชันษาได้ ๑๒ ปี (บางแห่งว่า ๑๑ ปี) ก็ทรงผนวชเป็นสามเณรพร้อมกับกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ เมื่อปีจอ พ.ศ.๒๓๔๕ โดยทรงผนวชเป็นหางนาคของกรมพระราชวังหลัง (เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์) ผู้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) แล้วจึงเสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทรง ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักสมเด็จพระพนรัตน (ภายหลังเขียนว่าสมเด็จพระวันรัตน แปลว่า ป่าแก้ว) ซึ่งเป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ทรงศึกษาอักษรไทย ขอม ภาษาบาลี โบราณคดี ตลอดจนวิธีทำเลขยันต์ตามคตินิยมในสมัยนั้น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อราวปีมะแม พ.ศ.๒๓๕๔ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระพนรัตนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงได้รับฉายาว่า “สุวณฺณรํสี” ประทับจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (จนตลอดพระชนมายุ) [/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พ. ศ.๒๓๕๗ ผนวชได้ ๓ พรรษา สมเด็จพระพนรัตนถึงแก่มรณภาพ ยังไม่มีการแต่งตั้งอธิบดีสงฆ์รูปใหม่ ปีนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เสด็จไปพระราชทานผ้าพระกฐิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งพระภิกษุพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรีเป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ และในวันนั้นยังโปรดเกล้าให้ทรงเป็นพระราชาคณะด้วย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ราวปีชวด พ.ศ.๒๓๕๙ ทรงรับฐานันดาศักดิ์ “กรม” ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๒ เป็น “กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์” ทรงทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ของเจ้านายหลายพระองค์ เช่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงเป็นพระภิกษุอยู่นั้น ทรงเคารพเลื่อมใสในพระอาจารย์กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งพระองค์มีพระชนมายุอ่อนกว่าพระอาจารย์ ๑๔ ชันษา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พ.ศ.๒๓๗๕ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เสด็จพระราชดำเนินถวายเสนาสนะที่ทรงให้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ มีอธิบดีสงฆ์กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ ทรงเป็นองค์ประธาน ขณะนั้นมีภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่ถึง ๕๐๐ รูป แบ่งเป็นพระราชาคณะ พระฐานานุกรม พระมหาเปรียญ พระอันดับ ๔๓๐ และสามเณร ๑๕ รูป และในการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งนี้ รัชกาลที่ ๓ ทรงให้สร้างพระตำหนักถวายองค์หนึ่ง ซึ่งอธิบดีสงฆ์กรมหมื่นนุชิตชิโนรสฯ ทรงเข้าพำนักและทรงพระนิพนธ์วรรณคดีสำคัญไว้หลายเรื่อง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ดำรงพระอิสริยยศกรมสมเด็จฯ และมหาสังฆปรินายก[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วัน ศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๑๓ ตรงกับวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลาสิกขาแล้วเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และทรงสถาปนาพระอาจารย์ของพระองค์ขึ้นเป็น “กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์” และให้ทรงดำรงตำแหน่ง “มหาสังฆปรินายก” (ผู้นำสูงสุดแห่งหมู่สงฆ์) ในคราวเดียวกันด้วย แต่ไม่เรียกว่าพระสังฆราช เรียกว่า สมณุตมหาสังฆปรินายก[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ส่วนหนึ่งแห่งคำประกาศสถาปนาในพิธีมหาสมณุตมาภิเษก มีถ้อยคำสรรเสริญอันเท่ากับการแต่งตั้งให้ทรงเป็นประธานสงฆ์ทั้งปวงว่า [/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] “... พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จถวัลยราชสมบัติในกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสิทร...ประเทศที่ประดิษฐานพระบวรพุทธศาสนา ประดับด้วยเรือนพระปฏิมาอุโบสถาคาระเสนาศน์ วิจิตรด้วยสุวรรณหิรัญมาศ เป็นที่เจริญความเลื่อมใสแห่งมหาชน...[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ส่วน กรมหมื่นนุชิตชิโนรสเล่า ก็เป็นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น และได้ทรงผนวชรับธุระฝ่ายพระบวรพุทธศาสนามาช้านาน ทรงมีพระปรีชาญาณฉลาดรอบรู้ในยุทธศาสตร์ ราชสาตร...แลได้เป็นครูอาจารย์ครุฐานิยบุทคลแห่งราชสกูลวงศ์มหาชน... ควรที่จะเป็นประธานาธิบดี มีอิศริยศยิ่งกว่าบรรดาคณานิกรสงฆ์คามวามีอรัญวาสีปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้ง ปวง...[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส เป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์... เบญจปดลเสวตฉัตร ศิริรัตโนปลักษณ์ มหาสมณุตมาภิเษก ปรมุกฤษฐสมณศักดิธำรงมหาสงฆปรินายก... เสด็จสถิตย์ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร...”[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]สิ้นพระชนม์ พ.ศ.๒๓๙๖[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ใน ปีพุทธศักราช ๒๓๙๔ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีพระชนมายุได้ ๖๑ พรรษา ทรงพระประชวรหนักครั้งหนึ่ง ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้มีพิธีสะเดาะเคราะห์ถวาย พระอาการก็ดีขึ้น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] อีก ๒ ปีต่อมา ก็ทรงพระประชวรด้วยพระโรคชรา และสิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้ายขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๑๕ เวลาบ่าย ๓ โมง ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๖ สิริพระชนมายุ ๖๓ พรรษากับ ๔ วัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ดำรงพระอิสริยยศ “พระมหาสมณเจ้า”[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๖๔ หลังสิ้นพระชนม์แล้ว ๖๘ ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้ทรงสถาปนาพระอัฐิเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” เป็นพระมหาสมณเจ้าพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พร้อม กับมีพระบรมราชโองการ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาปวเรศวริยาลง กรณ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จาก “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ” เป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” ทั้งสองพระองค์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ทรงเป็นบุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พุทธ ศักราช ๒๕๓๓ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้น้อมถวายพระเกียรติคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในฐานะปูชนียบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก[/FONT]
     
  13. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    บันทึกความเป็นมาและข้อสังเกต
    [FONT=&quot]บันทึกความเป็นมาและข้อสังเกต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]เพื่อศึกษาและค้นคว้าในปฐมสมโพธิกถา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot] ปฐมสมโพธิกถา แปลตามศัพท์จะได้ความว่า “เรื่องราวตรัสรู้พร้อมก่อน” คือ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นบุคคลแรกก่อน จากนั้นจึงมีพระสาวกตรัสรู้ตามมาทีหลัง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] โดยมากเมื่อกล่าวถึง “ปฐมสมโพธิกถา” มักจะไม่แปลตามศัพท์ แต่จะถือเอาความหมายว่า หมายถึง “ชื่อคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า” เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด มิได้หมายเฉพาะการตรัสรู้เท่านั้น หากแต่การตรัสรู้ของพระองค์นั้น เป็นเหตุให้มีเรื่องราวของพระองค์จำนวนมาก ทั้งที่ตรัสเล่าเองบ้าง ผู้อื่นเล่าหรือเขียนถึงบ้าง เรื่องเกิดขึ้นในระหว่างดำรงพระชนม์อยู่บ้าง เรื่องที่เกิดเมื่อไกลโพ้นบ้าง และเรื่องที่เกิดหลังพุทธปรินิพพานบ้าง เรื่องทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นมีเพราะมีพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้า เรื่องเหล่านั้นก็ไม่มี[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เรื่อง ราวที่ปรากฏในคัมภีร์เล่มนี้ มีเนื้อหากว้างขวางมาก เป็นเนื้อหาผสมผสานกันไปมาระหว่างเนื้อหาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พระพุทธศาสนามหายาน และจากมติของผู้แต่งเอง[/FONT]


    <hr>


     
  14. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ขอตั้งข้อสังเกตตรงที่ขีดเส้นใต้ไว้นิดนึงนะครับ

    1. พระอภิธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศน์ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ไม่น่าจะหมายถึงพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ เพราะว่า คัมภีร์ 1 ใน 7 นั้นมีคัมภีร์ที่ชื่อ "กถาวัตถุ" ซึ่งคัมภีร์นี้ถูกแต่งขึ้นหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ซึ่งแต่งเมื่อการสังคยานาครั้งที่ 3 โดยพระโมคคลีบุตร ติสสเถระ ซึ่งมีเนื้อหาคือ ชี้แจงข้อเข้าใจผิดของนักบวช(พระแท้บ้างปลอมบ้าง)ในสมัยนั้นที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ พระพุทธเจ้าจะเทศน์ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ตอนพระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ แต่อภิธรรมในที่นี้น่าจะหมายถึง โพธิปักขิยธรรม ดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน กินติสูตร

    2. ระยะเวลาบนสวรรค์กับโลกมนุษย์แตกต่างกันมาก จึงเป็นไปไม่ได้ที่
    พระพุทธเจ้าจะเทศน์บนสวรรค์ตลอด 3 เดือน และ เวลา 3 เดือนนี้ (ตั้งแต่เข้าพรรษาจนออกพรรษา) ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นเวลาบนโลกมนุษย์

    ซึ่งเวลา 1 วัน 1 คืนบน สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เท่ากับ 100 ปีโลกมนุษย์
    ดังนั้น เวลา 3 เดือนบนโลกมนุษย์ก็จะเท่ากับ 3 นาที 36 วินาทีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เท่านั้น!!!
     
  15. trilakbooks

    trilakbooks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +414

แชร์หน้านี้

Loading...