ปฐมสมโพธิกถา ครบทุกปริจเฉท

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Aek9549, 8 พฤษภาคม 2012.

  1. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปฐมสมโพธิกถา

     
  2. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    คำนำในการจัดพิมพ์
    [FONT=&quot]พระ พุทธศาสนาดำรงสถิตสถาพรอยู่บนพื้นบรรณพิภพด้วยบารมีธรรม คำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันประกอบด้วยพระธรรมและพระวินัย ที่พระบรมศาสดาตรัสเทศนาสั่งสอนบรรดาพุทธสาวกและสัตว์โลกทั้งหลายร่วม ๒,๖๐๐ ปี กาลเวลาผ่านมากว่าครึ่งพุทธกาลตามคติความเชื่อโบราณกาล แต่ในปัจจุบันกาลชาวพุทธที่มีความเคารพและศรัทธาในพรธรรมคำสอนของพระบรม ศาสดามีความเชื่ออันเป็นสัมมาทิฐิว่า พระพุทธศาสนาจักดำรงอยู่ในบรรณพิภพนี้ไปตราบนานเท่านาน ก็ด้วยสามัคคีธรรมในการรักษาพระธรรมคำสอนและพระธรรมวินัยของพระพุทธบริษัท ๔ อันได้แก่ ภิกษุ-ภิกษุณี-อุบาสก-อุบาสิกา ถ้าเหล่าพุทธบริษัททั้งหลายไม่รักษาพระธรรมและพระวินัยแล้ว... พุทธศาสนาก็จักเสื่อมสลายไปในที่สุด[/FONT]
    [FONT=&quot]การ รักษาพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา ให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นประทีปแห่งโลกนั้น พุทธบริษัททั้งหลายต้องดำเนินการในสิ่งเหล่านี้ ๔ ประการ คือ[/FONT]
    [FONT=&quot]๑.[/FONT][FONT=&quot]การศึกษาพระธรรมและพระวินัยให้ถูกต้องและถูกธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot]๒.[/FONT][FONT=&quot]การปฏิบัติตามพระธรรมและพระวินัยให้เคร่งครัด[/FONT]
    [FONT=&quot]๓.[/FONT][FONT=&quot]การเผยแพร่พระธรรมและพระวินัยในพระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย[/FONT]
    [FONT=&quot]๔.[/FONT][FONT=&quot]การอุปถัมภ์พระธรรมและพระวินัยให้มั่นคง... และงดงาม[/FONT]
    [FONT=&quot]นับ แต่โบราณกาลมา บรรพบุรุษของเราได้บำรุงและรักษาพระพุทธศาสนา ด้วยการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยครบทั้ง ๔ ประการ พระพุทธศาสนาจึงดำรงสถิตย์สถาพรอยู่ได้และเป็นที่พึ่งแก่เหล่าพุทธศาสนิกชน ตราบจนทุกวันนี้ พวกเราพุทธบริษัทในยุคปัจจุบันจักต้องดำรงไว้ซึ่งคำสอนและเผยแพร่พระธรรมอัน บริสุทธิ์ขององค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เจริญแพร่หลายและยั่งยืนนาน[/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม เป็นองค์กรเอกชนพุทธ องค์กรหนึ่ง ดำเนินการเผยแพร่พระพุทธศาสนามาตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี โดยสืบทอดแต่บรรพบุรุษคือ ท่านเจ้าคุณพระสุธรรมเมธี ป.ธ.๘ (นาย บันลือ สุขธรรม) อดีตพระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ให้กำเนิดธรรมสภา สมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ.๒๔๙๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนาง เจ้ารำไพพรรณี สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสด็จเป็นประธานตัดลูกนิมิตเอกในวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒[/FONT]
    [FONT=&quot] นับ จากที่ได้ก่อสร้างธรรมสภาเป็นต้นมา ท่านผู้ให้กำเนิดธรรมสภาและทายาทพร้อมทั้งกัลยาณมิตรได้ร่วมมือกันเผยแพร่ ธรรมะแก่พุทธศาสนิกชนนับได้ ๖๐ ปี โดยได้รับความเมตตาจากพระเถระทั้งแผ่นดิน นับตั้งแต่สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ หลวงพ่อจรัล ฐิตธมฺโม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และพระเถระทั่วแผ่นดิน ให้เผยแพร่ผลงานและคำสอนของท่านแก่พุทธศาสนิกชน[/FONT]
    [FONT=&quot] ใน วาระมหามงคลสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเจริญพระชน มายุ ๘๔ พรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พระพรรษา เพื่อถวายพระพร เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านและเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามหน้าที่ของพุทธ บริษัทให้เจริญและสถิตย์สถาพรตลอดไป[/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือปฐมสมโพธิกถา จากต้นฉบับของกรมศิลปากรที่กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ จัดพิมพ์โดยใช้ฉบับสอบทานชำระที่กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ในปี ๒๕๐๕[/FONT]
    [FONT=&quot] ซึ่ง ได้มีการมอบหมายให้ท่านผู้เชี่ยวชาญสอบทานชำระกับต้นฉบับภาษาบาลี อันเข้าใจว่าเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ประกอบด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] พระมหานิยม ฐานิสฺสโร ป.ธ.๙ วัดราชบูรณะ[/FONT]
    [FONT=&quot] พระมหาวีระ ภทฺทจารี ป.ธ.๙ วัดเทพธิดาราม[/FONT]
    [FONT=&quot] พระมหาธัญนพ โชติปาโล ป.ธ.๙ วัดภาวนาภิรตาราม[/FONT]
    [FONT=&quot] นาวาอากาศเอกแย้ม ประพัฒน์ทอง ป.ธ.๙ อนุศาสนาจารย์ กองทัพอากาศ[/FONT]
    [FONT=&quot] โดย ทางกรมศิลปากรได้มอบหมายให้ นายชนินทร์ สุขเกษี นักภาษาโบราณ ๗ และนายประสิทธิ์ แสงทับ นักภาษาโบราณ ๖ กลุ่มงานวรรณกรรม กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เป็นผู้สอบทานและทำเชิงอรรถเพิ่มเติม เพื่อความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาและประชาชนทั่วไปจนไม่เพียงพอแก่การเผยแพร่ จึงดำริให้มีการพิมพ์ใหม่อีกวาระหนึ่ง จะเป็นประโยชน์ทั้งในการรักษาสมบัติวรรณคดีที่มีความเป็นเลิศในทางกวีโวหาร และยังให้ความรู้ในส่วนของเนื้อหาสาระอันเป็นพระพุทธประวัติด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรมได้ทำหนังสือขออนุญาตจากกรมศิลปากร ขอใช้ต้นฉบับที่จัดพิมพ์ครั้งล่าสุดในปี ๒๕๓๙ โดยธรรมสภาได้จัดทำต้นฉบับเนื้อเรื่องย่อแต่ละบทให้เข้าใจง่ายขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่เคยอ่านหนังสือธรรมะที่มีศัพท์มากเช่นหนังสือปฐมสมโพธิกถา เล่มนี้ และได้จับประเด็นหัวข้อเรื่องคั่นเนื้อหาให้น่าอ่านยิ่งขึ้น โดยธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมได้รับความเมตตาจากท่านอาจารย์ปัญญา ใช้บางยางและคณะ เขียนเนื้อเรื่องย่อ-จับประเด็นเนื้อเรื่อง และคัดเลือกคำศัพท์แล้วแปลไว้ท้ายเล่ม พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกต เพื่อการศึกษาและค้นคว้าของพุทธศาสนิกชนต่อไป ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมขอกราบของพระคุณท่านอาจารย์ปัญญา ใช้บางยางและคณะเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] ส่วน สำคัญอย่างยิ่งที่ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมมีความปรารถนาให้หนังสือปฐม สมโพธิกถาเล่มนี้เป็นหนังสือที่สมบูรณ์ทั้งเนื้อหายในและรูปลักษณ์ภายนอกคือ ...ภาพจิตรกรรมอันวิจิตรที่ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมชื่นชมว่าสวยงามที่ สุดในยุคนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] ภาพ จิตรกรรมทั้งหมดที่ปรากฏบนหนังสือปฐมสมโพธิกถาเล่มนี้ ได้รับการบรรจงสร้างสรรค์ด้วยความวิจิตรปราณีตด้วยจิตอันบริสุทธิ์ของศิลปิน เพื่อจารึกไว้ในบรรณพิภพและสนองพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบรมศาสดาให้เจริญ แพร่หลายในบรรณพิภพ ด้วยการสร้างสรรค์วิจิตรกรรมของจิตรกรผู้มีพระคุณชื่อ...อาจารย์ กฤษณะ สุริยกานต์[/FONT]
    [FONT=&quot] จิตรกร ท่านนี้มีเจตนาอันเป็นกุศล มีจิตอันบริสุทธิ์ สร้างสรรค์งานชุดนี้ เพื่อบูชาพระบารมีแห่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมอบสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ภาพที่สวยงามที่สุดชุดนี้ให้แก่ธรรมสภาและสถาบัน บันลือธรรมเพื่อจารึกลงในหนังสือปฐมสมโพธิกถาเล่มนี้โดยเฉพาะ จิตรท่านี้มีพระคุณแก่ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าเรามิได้เคยพบกับท่านเลย เพียงการสนทนาทางโทรศัพท์ ๒-๓ นาที ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ จากนั้นอีกประมาณ ๒ ปี ท่านก็ส่งภาพมาให้ และเขียนมอบสิทธิ์ในการพิมพ์ลงหนังสือเล่มนี้โดยเฉพาะ โดยไม่ขอรับค่าตอบแทนแต่อย่างใด เหตุและปัจจัยอันบังเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เราถือว่า ธรรมบันดาลและธรรมจัดสรรให้เกิดขึ้น ต่อมาเราได้ทราบว่าบุญที่เราได้รับในครั้งนี้ ด้วยบุญเมตตาบารมีของพระคุณท่านเจ้าคุณพระราชวิจิตรปฏิภาณที่ได้แนะนำให้ ท่านอาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าให้แก่ธรรมสภาเผยแพร่เพื่อสนองคุณ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกเราชาวธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ขอกราบขอบพระคุณพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระราชวิจิตรปฏิภาณ และท่านอาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์เป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือพระนิพนธ์ปฐมสมโพธิกถา ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสเล่มนี้ จักทำให้พระธรรมได้ส่องสว่างกลางใจของเหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งผอง[/FONT]
    [FONT=&quot] บุญ กุศลอันบังเกิดมีจากการพิมพ์หนังสือปฐมสมโพธิกถาฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ขอถวายพระพรขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรปวงชนชาวไทยตราบกาลปาวสาน[/FONT]

    [FONT=&quot]ด้วยความสุจริต หวังดี[/FONT]​
    [FONT=&quot]ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม ปรารถนาให้โลกได้พบกับความสงบสุข

    [/FONT]
     
  3. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑ วิวาหมงคลปริวรรต

    [FONT=&quot][FONT=&quot]
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑[/FONT]
    [FONT=&quot]วิวาหมงคลปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระเจ้าสุทโธทนะอภิเษกสมรสกับพระนางสิริมหามายา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    [​IMG]
    [/FONT]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [FONT=&quot] พระโพธิสัตว์ของเรา (ต่อมาคือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้) เคยเกิดเป็นพระเจ้ามหาสมมติเทวราชปกครองชมพูทวีป ทรงเป็นต้นพระราชวงศ์ “มหาสมมติหรือสมมติเทวราช” มีเหล่ากษัตริย์จากราชวงศ์นี้ต่อเนื่องมา ๘๔,๐๐๐ พระองค์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ต่อ มา เจ้าในราชวงศ์นี้ได้ตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ “โอกกากราชวงศ์” มีกษัตริย์ต่อเนื่อง ๓ พระองค์ โดยพระเจ้าโอกกากราชพระองค์ที่๓ ทรงมีพระโอรสพระธิดากับพระอัครมเหสีพระองค์ใหญ่ รวม ๙ พระองค์ เป็นพระธิดา ๕ พระโอรส ๔[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] หลัง พระราชมารดาสิ้นพระชนม์ ทั้ง ๙ พระองค์ต้องเสด็จออกจากพระนคร เพราะพระราชบิดาได้ยกราชสมบัติให้แก่พระโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสี พระองค์ใหม่ ซึ่งทั้ง ๙ พระองค์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ ๘ คน และหมู่ประชาชนพร้อมด้วยหมู่สัตว์พากันมุ่งหน้าไปทางป่าหิมพานต์ ได้พบกับกบิลพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญการดูพื้นที่ (ท่านว่าพราหมณ์นี้คือพระโพธิสัตว์ของเรา) ท่านแนะให้สร้างเมืองใหม่ตรงบริเวณที่ท่านอาศัยอยู่ในป่าสากะ แลให้ตั้งชื่อเมืองว่ากบิลพัสดุ์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ นครใหม่สร้างเสร็จแล้ว กษัตริย์เหล่านั้นยกพี่สาวคนโตให้เป็นดุจพระมารดา ทรงเกรงว่า ชาติตระกูลจะไม่บริสุทธิ์หากอภิเษกสมรสกับคนในราชวงศ์อื่น จึงอภิเษกสมรสกันเอง ๔ คู่ แล้วเจริญด้วยราชบุตรราชธิดาจำนวนมาก กษัตริย์เมืองใหม่นี้ได้ชื่อว่าศักยราชตระกูลหรือศากยวงศ์ สืบทอดราชวงศ์เรื่อยมา ซึ่งพระโพธิสัตว์ของเราในพระชาติหนึ่งก็เคยอุบัติในราชวงศ์นี้ คือสมัยที่ทรงเป็นพระเจ้าเวสสันดรหลังจุติแล้วทรงอุบัติในดุสิตภพ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จน ถึงสมัยพระเจ้าสีหหนุศากยะ ทรงส่งพราหมณ์ ๘ คน ออกเสาะแสวงหาสตรีที่คู่ควรแก่พระราชโอรสสุทโธทนะ ได้พบพระราชกุมารีสิริมหามายาผู้ทรงถึงพร้อมด้วยลักษณะของสตรีตามที่พราหมณ์ ทำนาย ทรงจัดพิธีอภิเษกสมรสให้อย่างยิ่งใหญ่ ณ พระนครเทวทหะ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] กลับถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว พระเจ้าสีหหนุทรงสละราชสมบัติมอบให้พระราชโอรสสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองกรุงกบิลพัสดุ์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [/FONT]

    <hr>
     
  4. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๒ ดุสิตปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๒[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ดุสิตปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระโพธิสัตว์รับเชิญจุติจากภพดุสิต[/FONT]
    [​IMG]

    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ครั้ง สมัยพระพุทธเจ้าทีปังกร พระโพธิสัตว์ของพวกเรานี้ เป็นสุเมธดาบส ทรงมีบารมีญาณพร้อมบรรลุพระอรหัตเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าทีปังกรแล้ว แต่ทรงสละโอกาสนั้นเพื่อจะเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเองในอนาคต และทรงได้รับพุทธพยากรณ์ว่าความปรารถนานั้นจักสำเร็จ เมื่อล่วงไป ๔ อสงไขยแสนมหากัป[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จาก นั้นเป็นต้นมา ก็ทรงบำเพ็ญบารมี ๓ ระดับ คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ รวมเรียกว่า สมดึงสบารมี (บารมี ๓๐ ถ้วน) พร้อมด้วยบำเพ็ญมหาบริจาค ๕ คือ การสละทานอย่างใหญ่ ได้แก่ สละทรัพย์ ๑ สละอวัยวะ ๑ สละชีวิต ๑ สละลูก ๑ สละเมีย ๑ (จัดอยู่ในทานบารมีทั้ง ๓ ระดับนั่นแหละ)[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ท่าน อ้างตามคัมภีร์ชินมหานิทานว่า พระพุทธเจ้าของพวกเราได้รับพยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ เริ่มแต่พระพุทธเจ้าทีปังกรจนถึงพระพุทธเจ้ากัสสปะ ในระหว่างนั้นทรงเกิดเป็นอัตภาพต่างๆ และได้บำเพ็ญบารมี ๓ ระดับครบบริบูรณ์ในสมัยเป็นพระเจ้าเวสสันดร ทรงจุติจากความเป็นราชาแล้วเกิดในดุสิตเทวโลก รอคอยเวลาตรัสรู้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ก่อนพระ พุทธเจ้าจะมาตรัสรู้หนึ่งแสนปี พวกสุทธาวาสพรหมได้ลงมาบอกหมู่มนุษย์ว่าอีกแสนปีจะมีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ หากต้องการพบพระองค์ก็อย่าละเมิดศีล ๕ จงบำเพ็ญทานศีล ภาวนา ซึ่งพวกเทพและมนุษย์ตื่นเต้นกันมาก เรียกว่าเกิดพุทธโกลาหล แล้วเทวดาและพรหมก็ประชุมกันเพื่อสืบหาว่าผู้ใดจะเป็นพระพุทธเจ้า ก็พบว่าสันตุสิตเทวราชในสวรรค์ชั้นดุสิต คือพระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงพากันเข้าเฝ้ากราบทูลให้เสด็จจุติไปอุบัติในพระครรภ์พระมารดา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ก่อนจะรับเชิญจุติ พระโพธิสัตว์ได้พิจารณาปัญจมหาวิโลกนะ (การตรวจดูอย่างยิ่งใหญ่ ๕ อย่าง) เช่น ขณะนี้พวกมนุษย์มีอายุเท่าใด[/FONT][FONT=&quot]? เป็น ต้น เมื่อเห็นว่าทั้ง ๕ อย่างพร้อมแล้ว จึงรับคำอาราธนาของหมู่เทพ และพรหม จุติ (ตาย,เคลื่อน) จากดุสิตเทวโลกปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระสิริมหามายาราชเทวี)[/FONT]


    <hr>
     
  5. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๓ คัพภานิกขมนปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๓[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]คัพภานิกขมนปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]การประสูติของพระโพธิสัตว์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ราตรี แห่งวันอาสาฬหปุรณมี พระนางสิริมหามายาเทวีเสด็จลงสู่นิทรารมณ์ ใกล้เวลาเช้ามืด ทรงพระสุบินว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ ยกพระแท่นบรรทมไปวางบนแผ่นหินใหญ่ใต้ต้นรัง (ต้นสาละ) มีเทพธิดาเชิญพระนางเสด็จลงสรงน้ำในสระอโนดาต ให้ทรงผ้าทิพย์ และลูบไล้ด้วยเครื่องหอม แล้วเชิญบรรทมในวิมานทองตั้งอยู่บนภูเขาเงิน ใกล้สระน้ำนั้นมีช้างเชือกหนึ่งใช้งวงจับดอกบัวบุณฑริกสีขาวบานส่งกลิ่นหอม แล้วเปล่งเสียงร้องเข้ามาในวิมานทอง กระทำประทักษิณพระที่บรรทม ๓ รอบ แล้วเป็นเหมือนหายเข้าไปภายในท้องพระเทวี ทันใดนั้นก็ทรงรู้สึกพระองค์ พร้อมกับการตื่นบรรทมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสด็จถือปฏิสนธิ (บังเกิด) ในครรภ์พระเทวีแล้ว ขณะนั้นก็เกิดบุพนิมิต ๓๒ ประการ เช่น เกิดเสียงดังและมีแสงสว่างส่องไปทั่ว อันเป็นนิมิตดีต่อสรรพสัตว์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วัน รุ่งขึ้น พวกพราหมณ์ระดับหัวหน้า ๖๔ คน ได้ทำนายว่าพระราชเทวีทรงตั้งพระครรภ์ ทารกในพระครรภ์จะเป็นมหาบุรุษ ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบรรพชาจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] นับ แต่วันนั้นนั้น ปวงเทพก็พากันมาอารักขา พระมารดาทรงปราศจากจากกามราคะ มีศีล ๕ บริสุทธิ์เป็นปกติธรรมดาของผู้เป็นพระพุทธมารดา ทรงได้รับเครื่องราชบรรณาการจากกษัตริย์ทั่วชมพูทวีป และทรงสามารถทอดพระเนตรเห็นพระกุมารในพระอุทรได้ด้วย ครั้นพระครรภ์ ๑๐ เดือนถ้วน พระราชเทวีทรงปรารถนาจะกลับชาติภูมิ คือกรุงเทวทหะ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เวลา เช้าของวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เสด็จขึ้นพระวอทอง มีบริวารแวดล้อมผ่านไปถึงลุมพินีวัน ทรงพบความร่มรื่นงดงามของพรรณไม้และหมู่สัตว์ ทรงแวะเสด็จประพาสชมความงามของป่า[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ แล้วก็ได้เกิดลมกรรมชวาตกดดันพระครรภ์ เหล่านางสนมผูกม่านล้อมรอบต้นรัง พระราชเทวีประทับยืนใช้พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งต้นรังให้การประสูติพระ โพธิสัตว์ โดยพระโอรสมีพระบาทออกมาก่อน ไม่เหมือนทารกทั่วไป ที่ศีรษะออกก่อน ท้าวมหาพรหมรับแล้วส่งต่อให้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และพวกนางนมรับตามลำดับ พระราชกุมารประทับยืนบนพื้นดิน ย่างพระบาทไป ๗ ก้าว หยุดและเปล่งอาสภิวาจาว่า เราประเสริฐที่สุด เป็นต้น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พร้อมๆ กับการประสูติ ก็เกิดบุพนิมิตเหมือนคราวเสด็จปฏิสนธิ และมีสหชาติเกิดพร้อมอีก ๗ สิ่ง กิจที่จะเสด็จไปกรุงเทวทหะมิได้มีอีก[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>





     
  6. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๔ ลักขณปริคคาหกปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๔[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ลักขณปริคคาหกปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ลักษณะของผู้เป็นพระมหาบุรุษ ๓๒ ประการ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ โพธิสัตว์ประสูติแล้ว หมู่เทพยดาในดาวดึงส์ชื่นชมโสมนัสกันทั่วหน้าว่า “บัดนี้พระราชโอรสของพระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า พวกเราจะได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว” ได้ร่วมกันโบกผ้าทิพย์ เล่นมหรสพเป็นเครื่องสักการะทั่วเทวโลก[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] กาฬ เทวิลดาบสผู้สำเร็จสมาบัติ ๘ และอภิญญา เป็นพระอาจารย์ประจำตระกูลศากยะ พักผ่อนกลางวันอยู่ในดาวดึงส์ ได้ยินคำสาธุการของหมู่เทพแล้วก็ลงจากสวรรค์ เข้าเฝ้าทูลถามพระเจ้าสุทโธทนะว่า พระราชบุตรประสูติแล้วหรือ[/FONT][FONT=&quot]? แล้วทูลขอชมพระราชกุมารน้อย พระราชาให้นำพระกุมารออกมาและจะให้พระกุมารไหว้พระดาบส[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ แล้วก็เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ พระบาททั้งคู่ของพระกุมารไปปรากฏอยู่เหนือชฎา ดาบสรู้ว่าไม่ควรจะยังตนให้พินาศ จึงคุกเข่ากระทำอัญชลีที่พระบาทพระราชกุมาร แล้วใช้ญาณคำนึงอนาคตก็พบว่า พระราชกุมารจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน จึงหัวเราะ เมื่อคำนึงต่อก็พบว่าตนเองจะหมดอายุขัยก่อน ไม่มีโอกาสเห็นพระพุทธเจ้า จึงร้องไห้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ถึง กระนั้น พระดาบสก็นึกถึงหลานชายคือนาลกะ บุตรของน้องสาวซึ่งมีโอกาสจะได้พบเห็นพระพุทธเจ้าแทนตน จึงไปบอกข่าวและให้เขาบวชรอข่าวตรัสรู้ หลานชายเชื่อฟังลุงดาบส ปลงผมและหนวด นุงห่มผ้ากาสาวพัสตร์บวชอุทิศท่านผู้เป็นอุดมบุคคลในโลก จากนั้นเข้าไปเจริญสมณธรรมในป่าหิมพานต์ (เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว นาลกะได้ยินข่าวจึงเข้าเฝ้าทูลถามโมไนยปฏิบัติ พระพุทธเจ้าตรัสตอบข้อปฏิบัติของมุนีแล้วเขาสำเร็จพระอรหัต)[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ประสูติ ได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะทรงให้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน ผู้จบไตรเพทและเวทางคศาสตร์มา บริโภคมธุปายาส จากนั้นคัดเลือกได้พราหมณ์ ๘ คน ผู้มีคุณวิทยากว่าหมู่พราหมณ์นั้น ให้ดูพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เพื่อทำนายว่าผู้มีพระลักษณะเช่นนี้จะมีความเป็นไปอย่างไร พราหมณ์ ๘ นั้นดูพระลักษณะครบแล้ว มี ๗ คน ยกนิ้วสองนิ้วทำนายว่า “หากอยู่ครองเรือน จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หากออกบวชจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” มีเพียงโกณฑัญญพราหมณ์ผู้มีปัญญามาก เป็นปัจฉิมภวิกสัตว์เพียงคนเดียว ยกขึ้นนิ้วเดียวทำนายว่า จะทรงออกบวชแล้วได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>


     
  7. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๕ ราชาภิเษกปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๕[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ราชาภิเษกปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระโพธิสัตว์ได้รับราชาภิเษกเป็นเอกอัครราชาธิราช[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ เจ้าสุทโธทนะทรงสดับคำทำนายของพราหมณ์ ๘ คนแล้ว ทรงต้องการเห็นพระโอรสครอบครองจักรพรรดิสมบัติ ไม่ทรงปรารถนาให้บรรพชา จึงตรัสถามปัจจัยอันเป็นเหตุให้ออกบวช[/FONT][FONT=&quot]? พวก พราหมณ์ทูลว่าจะออกบวชเพราะเห็นนิมิต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต นับแต่นั้นพระราชบิดาก็ตรัสให้อารักขาห้ามคน ๔ จำพวกนี้เข้าใกล้พระราชกุมารภายใน ๑ คาวุต[/FONT]
    [FONT=&quot] วัน นั้นพวกพราหมณ์ยังเห็นอีกว่าพระราชกุมารมีพระรัศมีซ่านออกจากพระกาย จึงถวายพระนามว่า “พระอังคีรัสราชกุมาร” และประเมินว่าพระกุมารหวังประโยชน์ใดประโยชน์นั้นจักสำเร็จ จึงถวายอีกพระนามว่า “พระสิทธัตถราชกุมาร” พราหมณ์ผู้เฒ่า ๗ คนกลับถึงเรือนแล้วเรียกบุตรมาสั่งว่า ถ้าพระราชกุมารบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอให้เจ้าออกบวช[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ โพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วัน พระราชมารดาก็ทิวงคตแล้วเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต สวรรคตในมัชฌิมวัย ซึ่งเป็นวัยที่เหมาะสมของสตรี และเป็นประเพณีของผู้เป็นพระพุทธมารดา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ ราชกุมารทรงมีนางนม ๖๐ คน และสตรีงามฉลาดรู้การงานเด็กอีก ๑๘๐ คน ถวายการดูแลในทุกเรื่องที่ทรงต้องการ ที่สำคัญคือทรงมีพระมหาปชาบดีโคตมี พระกนิษฐาของพระมารดา เป็นพระมารดาเลี้ยงถวายขีรธารา ครั้งหนึ่งเป็นวันแรกนาขวัญ พระราชาทรงนำพระโอรสไปบริเวณงานแล้วให้ประทับเล่นอยู่ใต้ต้นหว้าใหญ่กับ เหล่านางนมและนางพี่เลี้ยง อีกครู่ใหญ่นางนมและพระพี่เลี้ยงก็ปลีกออกไปดูงานราชพิธี เจ้าชายน้อยอาศัยช่วงเวลานั้นกำหนดลมหายใจเข้าออก ทำปฐมฌานให้เกิดขึ้น และเกิดปาฏิหาริย์เงาต้นหว้าไม่คล้อยไปตามตะวันยามบ่าย เงาต้นไม้ยังทอดอยู่ตรง นางนมและพี่เลี้ยงกลับมาเห็นความอัศจรรย์แล้วไปกราบทูล พระราชารีบเสด็จมาทอดพระเนตร และทรงไหว้พระราชบุตรเป็นครั้งที่ ๒[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระราชบิดาทรงเพียรพยายามใส่ใจดูแลเพื่อให้พระโอรสรักและผูกพันกับโลกียสุขให้มากที่สุด ทรงให้ขุดสระโบกขรณี สร้างปราสาท ๓ ฤดู คัด สรรหาสตรีที่คู่ควร จนถูกตั้งคำถามว่าเจ้าชายผู้หมกมุ่นในโลกีย์จะรู้ศิลปะอะไร เมื่อไม่รู้ศิลปะจะคู่ควรกับสตรีงามได้อย่างไร เจ้าชายทรงแสดงศิลปะการยิงธนูลักษณะต่างๆ ให้ชม พวกบิดามารดาจึงยินดียกธิดาให้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ ราชบิดาทรงจัดพิธีราชาภิเษกให้เป็นเอกอัครราชาธิราช (กษัตริย์ผู้เลิศเพียงหนึ่งเดียว) มีพระนางพิมพา เป็นพระอัครมเหสีคู่พระทัย เสวยสุขอยู่ในปราสาท ๓ ฤดู พร้อมเหล่าสตรีสี่หมื่น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>


     
  8. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๖ มหาภินิกขมนปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๖[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]มหาภินิกขมนปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ บรมโพธิสัตว์เสด็จประพาสอุทยานนอกพระนครรวม ๔ วัน แต่ละวันนั้น เทวดาได้เนรมิตเทวทูตวันละหนึ่งอย่างให้ทอดพระเนตร การได้พบเห็นบรรพชิตในวันที่ ๔ ยิ่งเพิ่มความเบื่อหน่ายกามคุณ มีพระทัยน้อมไปในบรรพชาเพศอย่างแรงกล้า[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เวลา เย็น ได้เสด็จลงสระน้ำสรงสนานพระวรกายภายในพระราชอุทยาน เป็นการสรงสนานและแต่งพระองค์ครั้งสำคัญ ซึ่งแม้แต่พระอินทร์ก็ยังส่งเทพบุตรผู้เชี่ยวชาญแปลงกายมาถวายงาน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ก่อน เสด็จเข้าสู่ปราสาท พระนางกีสาโคตมีทอดพระเนตรพระรูปโฉมแล้ว ตรัสชื่นชมว่าราชกุมารท่านนี้เป็นบุตรหรือเป็นสามีของใคร มารดาบิดาและภรรยานั้นก็อาจดับความทุกข์ได้ พระโพธิสัตว์ทรงสดับแล้วทรงดำริว่า แล้วจะดับทุกข์ได้อย่างไร[/FONT][FONT=&quot]? ทรง รู้ประจักษ์ในขณะนั้นว่า จะต้องดับไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ความทุกข์จึงจะอันตรธานสิ้นยิ่งเพิ่มกำลังพระทัยที่จะเสด็จออกบรรพชาใน วันนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] ราตรี ของวันนั้นตรงกับอาสาฬหบูรณมี ชีวิตภายในปราสาทราชนิเวศน์ยังดุจเดิม คือ ทรงได้รับการบำรุงบำเรอด้วยอาหาร ดนตรี และการขับฟ้อน ต่างแต่ทรงตื่นบรรทมขึ้นมากลางดึกแล้วทอดพระเนตรอากัปกิริยาของเหล่านาง กำนัลด้วยพระทัยปราศจากปฏิพัทธ์เสน่หา ไม่อาจค้นหาคุณของสังสารวัฏพบ จึงตัดสินพระทัยแน่วแน่ที่จะออกจากภพทั้งปวง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ตรัส ให้นายฉันนะไปจัดเตรียมม้า ส่วนพระองค์เสด็จไปเพื่อต้องการยลโฉมพระพักตร์ของราหุลราชกุมาร แต่ก็ไม่อาจยลได้ดังหวัง ด้วยเกรงพระพิมพาราชเทวีจะตื่นบรรทม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ มหาบุรุษเสด็จลงจากปราสาทประทับบนหลังม้ากัณฐกะ นายฉันนะจับหาง มีเหล่าเทพคอยปิดกั้นเสียงเท้าและเสียงร้องของพญาม้า ทั้งเทพยดายังเปิดประตูใหญ่ที่พระราชบิดาทรงออกแบบเพื่อปิดกั้นการออกบวช[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แม้ พระยามารวัสวดีจะปรากฏกายทูลขอร้องให้รอเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็มิได้สนพระทัย ทรงเห็นจักรพรรดิสมบัติเป็นดุจก้อนเขฬะ (น้ำลาย) ถ่มแล้ว[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พญา ม้าพามาไกล ๓๐ โยชน์ ถึงแม่น้ำอโนมาแล้วกระโดดพาข้ามไปอีกฝั่ง ณ ที่นี่ ทรงตัดพระเกศาและพระเมาฬี มีพระอินทร์รับนำไปดาวดึงส์ มีฆฏิการมหาพรหมนำอัฏฐบริขาร ๘ มาถวาย ทรงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นทรงไตรจีวร แล้วมอบพระภูษาคู่ให้ท้าวมหาพรหมนำไปยังพรหมโลก[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>


     
  9. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๗ ทุกรกิริยาปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๗[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ทุกรกิริยาปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระโพธิสัตว์บำเพ็ญทุกรกิริยา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ โพธิสัตว์ตรัสให้นายฉันนะนำเครื่องแต่งองค์และม้ากัณฐกะกลับไปกรุงกบิลพัส ดุ์ แล้วให้ทูลพระราชบิดาและปวงพระญาติ ถึงความไม่มีพระโรค และเหตุผลการออกบวช มิใช่เป็นคนอกตัญญู แต่เพราะทรงเห็นภัย คือ ชาติ ชรา มรณะที่หมู่สัตว์ประสบอยู่ ถ้าตรัสรู้ได้ก็จะช่วยพ้นภัยได้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แม้ นายฉันนะจะวิงวอนขอบวชด้วยก็ไม่ทรงอนุญาต เพราะรู้ว่าเหล่าชนในพระนครกำลังโศกเศร้ากับการตัดสินพระทัยเช่นนี้ นายฉันนะจำต้องทูลขอขมาแล้วจูงม้าไปได้ไม่ไกล ม้ากัณฑฐกะอาลัยนายเจ้า ก็หัวใจแตกตายเกิดเป็นเทพบุตร[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อ พวกเจ้าศากยะได้รับข่าวอันนายฉันนะนำทูลแล้ว ก็มีความเบาพระทัยเฝ้ารอคอยข่าวตรัสรู้ ฝ่ายโกณฑัญญพราหมณ์ทราบข่าวการผนวชแล้ว ก็เชิญชวนบุตรพราหมณ์ที่ร่วมทำนายพระลักษณะออกบวชได้ ๔ คน เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ คือพวกห้า มีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ติดตามไปเฝ้ารับใช้พระมหาบุรุษที่อุรุเวลประเทศ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เป็น ครั้งแรกแห่งพระชนม์ชีพ ที่พระโพธิสัตว์อยู่พระองค์เดียว ทรงทดลองงดอาหารนาน ๗ วัน แต่ไม่ทำให้พระกายลดความงดงามไป วันที่ ๘ ได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระรูปโฉมนั้นสร้างความแตกตื่นให้แก่ชาวพระนครไปทั่ว พระเจ้าพิมพิสารทรงส่งคนติดตามดูกิจวัตร ทำให้ทราบว่า ที่แท้บุคคลนี้เป็นมนุษย์ ทั้งยังเป็นพระสหายที่ยังไม่เคยได้เห็นกันมาก่อนด้วย จึงตรัสเชื้อเชิญให้ครองราชย์ร่วมกัน แต่พระมหาบุรุษปฏิเสธว่ามิใช่เป้าหมายแห่งการบรรพชา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ มหาบุรุษเสด็จเข้าศึกษาในสำนักของสองดาบส ทรงบรรลุสมาบัติ ๗ และสมาบัติที่ ๘ ในเวลาไม่นาน แต่ก็ทรงพบว่าสิ่งที่ได้ยังมิใช่การตรัสรู้ ทรงออกจากสำนักนั้น เริ่มเสวยพระกระยาหารบ้าง ไม่เสวยบ้าง จนถึงไม่เสวยเลย สลับไปมาเช่นนี้นาน ๖ ปี พระกายทรุดโทรมสิ้นเรี่ยวแรงสลบล้มลง มีเทวดาไปทูลพระราชบิดาว่าพระราชโอรสสวรรคตแล้ว แต่พระราชบิดาหาทรงเชื่อไม่[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แม้ จะทรงได้รับทุกขเวทนาสาหัสจากการประพฤติทรมานตน แต่ก็ไม่ทรงคิดที่จะกลับไปเสวยสุขในราชสมบัติอีก ยังคงมุ่งมั่นพระทัยด้วยการกลั้นลมหายใจให้นานที่สุด เชื่อว่านี้แหละหนทางตรัสรู้ พระยามารเองก็เชื่อเช่นนั้น จึงปรากฏกายทูลให้ล้มเลิกความเพียร และพรรณนาคุณของจักรพรรดิสมบัติ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทรงคำนึงว่าทำถึงอย่างนี้ก็ยังไม่ตรัสรู้จะปฏิบัติอย่างใดต่อไปดี[/FONT][FONT=&quot]? ที่ สุดก็ทรงพระดำริว่า สิ่งที่ประพฤติอยู่เป็นความตึงเกิน พระโพธิญาณจะไม่ได้มาด้วยวิธีนี้แน่ ทรงกลับมาเสวยโภชนะเพื่อรักษาชีวิต พวกปัญจวัคคีย์ก็หมดความเชื่อถือ ลาจากพระองค์ไป[/FONT]


    <hr>


     
  10. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๘ พุทธบูชาปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๘[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พุทธบูชาปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]มธุปายาสและการบูชาจากปวงเทพ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วัน เพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่นางสุชาดากำหนดหมายจะถวายพลีกรรมแก้บวงสรวงเทวดา เมื่อหลายปีก่อนนางได้บนบานขอกับต้นไทรไว้ ๒ ข้อ ขอให้เทวดาช่วยให้ได้แต่งงานกับชายที่ตระกูลเสมอกัน และขอให้บุตรคนแรกเป็นชาย นางสมประสงค์แล้วจึงกำหนดวันแก้บน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ก่อน หน้านั้นหนึ่งวัน นางได้วางแผนปรุงข้าวมธุปายาส ให้คนนำโค ๕๐๐ ตัว ไปบริโภคผลชะเอม แล้วให้โคนมกินน้ำนมจากแม่โคต่อๆ กัน จนเหลือแม่โคนม ๘ ตัว เพื่อจะรีดนมตอนใกล้รุ่ง ถึงเวลารีดนมก็เกิดเหตุอัศจรรย์ น้ำนมโคไหลลงภาชนะรองเอง ตอนเคี่ยวนม น้ำนมก็เกิดหมุนเวียนขวาในกระทะและฟืนในเตาไฟก็ไม่มีเขม่าควันปรากฏเลย นางสุชาดาเห็นอัศจรรย์แล้วมั่นใจว่าเทวดาคงรอพลีกรรมอยู่แน่ สั่งให้นางบุณณทาสีรีบไปทำความสะอาดโคนต้นไทรไว้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] และ ในราตรี ๑๔ ค่ำนั้น พระมหาบุรุษก็ทรงพระมหาสุบิน (ฝันใหญ่) ๕ ประการ อันเป็นนิมิตว่า วันนี้จักตรัสรู้แน่ ทรงตื่นตอนใกล้รุ่ง ชำระพระสรีรกิจแล้วเสด็จไปประทับนั่งยังโคนต้นไทร เป็นเวลาเดียวกับนางทาสีมา หญิงรับใช้เห็นแล้วคิดว่า เทวดามารอพลีกรรม จึงรีบกลับไปรายงานให้นายหญิงนำมธุปายาสใส่ถาดทองมูลค่าหนึ่งแสนไปถวายแก้บน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ โพธิสัตว์ทรงรับถาดมธุปายาสแล้ว ทรงทำประทักษิณต้นไทร ๓ รอบ แล้วเสด็จไปสรงสนานในแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จขึ้นแล้วทรงปั้นข้าวเป็น ๔๙ ปั้น แล้วเสวยจนหมด จากนั้นทรงอธิษฐานว่า “หากจะตรัสรู้ก็ขอให้ถาดทองลอยทวนน้ำ” ปล่อยถาดลงน้ำแล้วถาดนั้นลอยทวนน้ำไปไกล ๘๐ ศอก หยุดแล้วจมลงไปรองถาดของพระพุทธเจ้าในอดีต ๓ พระองค์ ณ นาคพิภพนั้น แล้วเสด็จมุ่งสู่ต้นมหาโพธิ์ ทรงรับหญ้าคา ๘ กำจากโสตถิยพราหมณ์ มีพรหมและเหล่าเทพเป็นต้น ติดตามแวดล้อมบูชาด้วยทิพยเศวตฉัตร ดนตรี และดอกไม้ทิพย์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทรง เลือกประทับนั่งหันหลังให้ต้นโพธิ์ มีพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงอธิษฐานจะไม่ลุกขึ้นจากพระที่นั่งจนกว่าจะตรัสรู้ และยังคงมีเทพเทวาสักการะบูชาอยู่เนืองแน่น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  11. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๙ มารวิชัยปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๙[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]มารวิชัยปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระโพธิสัตว์ชนะหมู่มาร[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อพระมหาโพธิสัตว์ทรงได้พระที่นั่ง “วชิรอาสน์” อันมั่นคงโคนต้นโพธิพฤกษ์แล้ว ทรงปรารภมหาปธานและทรงรวบรวมพระกำลังทั้งหลายอยู่ พระยาวัสวดีมารเห็นว่าถ้าไม่รีบทำอันตรายขัดขวาง พระสิทธัตถะก็จะพ้นอำนาจเราไปได้ จึงประกาศระดมพลเสนามารมา ตรัสให้โจมตีด้วยการแปลงร่างเป็นมารแบบต่างๆ อันน่าเกลียด น่าสะพรึงกลัว หมายให้พระมหาบุรุษลุกจากที่นั่งให้ได้ แม้ตนเองก็เนรมิตแขนเพิ่มเป็นข้างละพัน นั่งบนคอช้างซึ่งเทพบุตรแปลงเป็นช้างคิริเมขล์สูง ๑๕๐ โยชน์ ประกาศลั่นให้เข้าไปจับพระโพธิสัตว์ออกมาให้ได้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ใน ขณะที่พวกเสนามารมุ่งเข้าไปก็เกิดเหตุมหัศจรรย์คล้ายเป็นลางร้ายว่าหมู่มาร จะพ่ายแพ้ คือ มีอุกกาบาตตกลงกระทบพื้นปฐพี ฝุ่นควันฟุ้งตลบขึ้นบนอากาศ ความมืดปกคลุม น้ำในมหาสมุทรก็ถาโถมเข้าหาฝั่งดังลั่น แม่น้ำไหลทวน พายุใหญ่พัดทำลายยอดเขา พวกมารไม่อาจเข้าใกล้ได้ เป็นเหมือนหมู่แมลงวันบินแวดล้อมก้อนเหล็กร้อนแดงจ้า[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] หมู่ เทพยดาพรหมที่แวดล้อมบูชามาจากเนรัญชรานทีต่างหนีหาย พระมหาบุรุษทรงโดดเดี่ยว ปราศจากมิตรสหายหรือหมู่พระญาติ ทรงเห็นว่ามีแต่พระบารมี ๓๐ ประการที่บำเพ็ญบ่มเพาะเลี้ยงดูมา ๔ อสงไขยแสนมหากัปเป็นที่พึ่งพำนักได้ จึงทรงรวบรวมพระบารมี ๓๐ และพลธรรม ๗ อันทรงอบรมมาตลอดกาลยาวนาน พระอัชฌาศัยจึงมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งที่หมู่มารแสดง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระยา มารบันดาลฝน ๙ อย่าง เช่น ฝนน้ำและฝนก้อนหินให้ตกใส่ แต่พระมหาบุรุษก็ไม่เปียก ไม่ถูกก้อนหิน ฝนร้ายกลายเป็นผ้าและดอกไม้ทิพย์ เมื่อไล่ด้วยเทวฤทธิ์ไม่สำเร็จ จึงเจรจาอ้างว่าบัลลังก์เป็นของตน มีเสนามารเป็นพยาน พระมหาสัตว์ทรงอธิบายว่าพระองค์ถึงบารมีธรรมเพียงผู้เดียว บารมีธรรมมิได้มีแก่คนทั่วไป กุศลของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เทียบไม่ได้แม้แต่เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งกุศลธรรมของพระองค์ ซึ่งเป็นทั้งกองทัพและอาวุธ ทำให้พระองค์ทรงกล้าหาญ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทรง อ้างดินเป็นพยาน เพราะปฐพีอยู่คู่โลกย่อมรู้เห็นการบำเพ็ญบารมีในกาลยาวนานของพระองค์ ซึ่งเทพผู้รักษาปฐพีก็ปรากฏกายเป็นนางเทพธรณีทูลว่า ตนเองเห็นการสั่งสมพระบารมี อย่างน้ำที่เต็มชุ่มผมของตนเอยู่นี้ก็คือน้ำที่ทรงหลั่งสมัยบำเพ็ญทาน แล้วบีบมวยผม มีสายน้ำใหญ่ไหลท่วมเสนามาร พระยามารเห็นแล้วเกิดครั่นคร้ามกลัวพระบารมี ทำอัญชลีนมัสการด้วยสองพันมือ ทูลสรรเสริญบารมีทั้งหลาย และด้วยความเลื่อมใสนี้ ในอนาคตจะได้ตรัสรู้ปัจเจกโพธิญาณ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  12. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑๐ อภิสัมโพธิปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑๐[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]อภิสัมโพธิปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ลำดับการบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้ยิ่ง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ มหาโพธิสัตว์ทรงชนะหมู่เทวปุตมารแล้ว พลันเข้าสู่พลบค่ำ พวกเทพเทวาที่หลบลี้หนีมารไปไกลได้หวนกลับมาแวดล้อมบูชาสักการะอีกครา พระมหาบุรุษทรงบรรลุสมาบัติ ๘ แล้วยังอภิญญาให้บังเกิด คือ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ในปฐมยามแห่งราตรี ก็ทรงได้บุพเพนิวาสานุสติญาณ เป็นพระญาณช่วยระลึกชาติย้อนหลังไป นับแต่ก่อนมาสถิตบนบัลลังก์ใต้มหาโพธิ์จนถึงพระชาติไกลโพ้น พร้อมรายละเอียดในพระชาตินั้นๆ [/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ถึงมัชฌิมยามก็ทรงได้ทิพยจักษุญาณ เป็นดวงตาทิพย์เหนือดวงตามนุษย์ ทรงเห็นสัตว์ตายจากที่หนึ่ง เกิดยังที่หนึ่ง ตามอำนาจทุจริตกรรมบ้าง สุจริตกรรมบ้าง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ครั้น เข้าสู่ปัจฉิมยามก็ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทหรือปัจจยาการ ทรงพิจารณาเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นของทุกข์ที่อิงแอบอาศัยกันและกันไป ทำให้ทุกข์ไม่สิ้นสุด และทุกข์จะสิ้นสุดได้เมื่อทำวิชชาให้เกิดขึ้น พร้อมๆ กับอรุณวันใหม่ปรากฏ ก็ทรงสามารถประหานกิเลสได้เป็นสมุจเฉทประหาน เรียกว่า ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ (พระบาลีเรียกบรรลุอาสวักขยญาณ – ญาณเป็นเหตุสิ้นอาสวะ)[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จากนั้นตรัสปฐมอุทานทักตัณหาว่า “เรา พบช่างสร้างเรือนแล้ว นายช่างก็คือตัณหา แต่กาลก่อนไม่ได้พบจึงปล่อยให้สร้างเรือนคืออัตภาพเรื่อยมา บัดนี้ทั้งตัวนายช่างและบรรดาองค์ประกอบเรือนที่เกิดจากนายช่าง ต่างถูกเราทำลายแล้ว”[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] และ พร้อมกับกาลตรัสรู้นั้นแล ก็เกิดความอัศจรรย์ขึ้นมากมาย เช่น แผ่นดินไหว ดอกไม้ทิพย์โปรยปรายลงจากสวรรค์ สัตว์ล้วนมีเมตตาจิตต่อกัน สัตว์ที่ถูกพันธนาการหลุดพ้นจากการควบคุม และคนตาบอดเกิดดวงตามองเห็นได้ เป็นต้น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ครั้ง นั้น แม้โลกมนุษย์จะดูสงบเงียบ แต่ชาวสวรรค์แสนจะปีติโสมนัสจนโกลาหล ล้วนแสดงออกซึ่งความยินดีกับอดีตเทพที่พวกตนอัญเชิญจุติ บัดนี้เทพองค์นั้นได้วิมุตติเศวตฉัตรแล้ว[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  13. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑๑ โพธิสัพพัญญูปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑๑[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]โพธิสัพพัญญูปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]เจ็ดสัปดาห์หลังตรัสรู้สัพพัญญุตญาณ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แม้ ตรัสรู้แล้ว แต่พระสัมมาสัมพุทธะยังคงประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ ทรงเข้าอนุบุพพวิหาร ๙ ตลอด ๗ วัน จากนั้นเสด็จไปยังทิศอีสาน (บูรพา) ประทับยืนเพ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีพระเนตรไม่กระพริบ สิ้น ๗ วัน เรียกที่ตรงนี้ว่าอนิมมิสเจดีย์ หรืออนิมิสเจดีย์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] สัปดาห์ที่ ๓ ทรงเนรมิตสถานที่จงกรมทำด้วยรัตนะขึ้นทางทิศอุดร (เหนือ) ของพระมหาโพธิ์แล้วเสด็จดำเนินไปมาตลอด ๗ วัน เรียกที่นี่ว่ารัตนจงกรมเจดีย์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] สัปดาห์ ที่ ๔ เสด็จประทับนั่งในเรือนแก้ว ทรงพิจารณาพระธรรมหลายประการรวมถึงพระไตรปิฎก แต่พระสรีรกายยังไม่ทรงมีพระฉัพพรรณรังสีปรากฏ จนกระทั่งทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์ที่ ๗ คือมหาปัฏฐานจึงเกิดพระฉัพพรรณรังสี ๖ ประการ เรียกที่ตรงนี้ว่ารัตนฆรเจดีย์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] สัปดาห์ ที่ ๕ เสด็จประทับนั่งโคนต้นอัชปาลนิโครธ ช่วงนั้นพระยามารรู้เห็นแล้ว ได้ปลีกตัวมานั่งอยู่ในหนทางใหญ่แห่งหนึ่ง รำพึงด้วยความเสียใจว่าพระสิทธัตถราชกุมารก้าวพ้นอำนาจมารไปได้ ครุ่นคิดถึงสิ่งพระราชกุมารมีแต่ตนเองไม่มี ๑๖ ข้อ นึกได้ข้อหนึ่งก็ใช้เล็บขีดแผ่นดิน ๑ รอย ไล่เรียงไปจนถึงรอยที่ ๑๖ ธิดามาร ๓ นาง ติดตามหาจนพบพระบิดา สอบถามรู้ความเสียใจนั้น จึงขออาสาไปนำพระสิทธัตถะกลับมา แล้วไปแปลงกายเป็นสตรีงดงามในวัยต่างๆ หลอกล่อหมายให้ลุ่มหลง แต่ก็ถูกตรัสขับไล่ให้ไปยั่วยวนบุรุษอื่น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] สัปดาห์ ที่ ๖ เสด็จประทับ ณ ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) เกิดฝนนอกฤดูกาลตกกระหน่ำ พระยาอหินาคราชได้เห็นพระฉัพพรรณรังสีรู้ว่าบุรุษนี้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ต้องการบุญกุศลจึงขนดกาย ๗ รอบ โอบล้อมแล้วแผ่พังพานป้องพระวรกาย ปิดกั้นลมฝนถวายตลอด ๗ วัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]สัปดาห์ ที่ ๗ เสด็จประทับยังต้นราชายตนะ (ต้นเกด) พระอินทร์เห็นว่าควรที่จะเสวยพระกระยาหารได้แล้ว จึงถวายผลสมอทิพย์ให้เสวยระบายความหมักหมม ครั้นทรงพระบังคนแล้วก็ถวายน้ำให้ทรงบ้วนพระโอษฐ์ ไม่นานก็มีพ่อค้าสองพี่น้องนำเกวียน ๕๐๐ เล่มมา มีเทวดาอดีตญาติใช้ฤทธิ์ทำให้ติดหล่มบริเวณนั้น แล้วปรากฏตัวบอกให้เข้าเฝ้าถวายสัตตุก้อนสัตตุผง สองพี่น้องก็ได้ทำตามนั้น พระพุทธเจ้าทรงได้บาตรจากท้าวจตุโลกบาลรับข้าวนั้นแล้วเสวย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] สองพ่อค้ากราบทูลขอถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง ทั้งสองจึงเป็นปฐมอุบาสก เป็นเทววาจิกสรณคมน์ เป็นอุบาสกในพระศาสนาตลอดชีวิต แล้วทูลขอสิ่งของไว้สักการะบูชา พระศาสดาทรงพระราชทานพระเกศาให้ไป ๘ เส้น[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>


     
  14. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑๒ พรหมัชเฌสนปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑๒[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พรหมัชเฌสนปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ท้าวสหัมบดีพรหมทูลอาราธนาให้ทรงแสดงพระธรรม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ผ่าน ช่วงเสวยวิมุตติสุข ๔๙ วันแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปประทับยังต้นอัชปาลนิโครธ ทรงพิจารณาแล้วไม่พบว่าจะมีผู้ใดเป็นครูอาจารย์ของพระองค์ได้นอกจากพระ โลกุตรธรรม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จาก นั้นทรงพิจารณาพระธรรมที่ตรัสรู้แล้ว ทรงพบว่ามีความสุขุมคัมภีรภาพมาก สัตว์ทั่วไปไม่อาจรู้ตามได้ง่าย นอกจากบัณฑิตที่มีความพร้อมอันอุดม เพราะสัตว์ส่วนมากติดลึกอยู่ในกิเลส ถ้าประกาศธรรมไปก็จะเหน็ดเหนื่อยเปล่า จึงทรงพระดำริขวนขวายน้อย (เรียกว่า อัปโปสุกกิจ) จะไม่ทรงสอน ซึ่งเป็นพุทธประเพณีของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ เนื่องจากทรงรู้ว่าดำริเช่นนี้แล้ว ท้าวมหาพรหมที่โลกบูชาจะมาทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรมและเมื่อชาวประชารู้ แล้วจะพากันเคารพพระธรรม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระดำรินั้นล่วงรู้ถึงท้าวสหัมบดีพรหม ผู้ที่โลกเชื่อกันว่าเป็นพระผู้สร้างโลก มหาพรหมถึงกับเปล่งคำว่า “โลกจักฉิบหายแล้ว” เหล่าเทพได้สดับแล้วตกใจรีบมาสอบถาม รู้แล้วก็ปรึกษากันว่าควรที่จะไปเข้าเฝ้ากราบทูลอาราธนาให้ทรงประกาศธรรม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เหตุผล ในการกราบทูลให้แสดงธรรม คือ บุคคลผู้พร้อมตรัสรู้ตามมีอยู่ หากไม่ตรัสธรรม พวกเขาก็ย่อมเสียโอกาส และพระธรรมที่มีอยู่ในมคธรัฐตอนนี้นั้น ไม่บริสุทธิ์ มีมลทิน ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่ออมตมหานฤพาน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสดับคำทูลอาราธนาแล้ว ทรงพิจารณาเห็นจริงตามนั้น แล้วพิจารณาต่อไปถึงบุคคลประเภทต่างๆ ทรงจำแนกบุคคลเป็น ๔ ประเภท เทียบกับดอกบัว ๔ เหล่า อันมีจริตต่างๆ กัน บุคคลเหล่านั้นมีทั้งผู้ที่รู้ได้เพราะพระองค์ก็มี รู้ได้เพราะพระสาวกก็มี[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แล้วตรัสคำอาราธนาว่า “บัดนี้ เราเปิดมหาอัครทวารแล้ว ขอให้สัตว์ที่มีหู มีโสตวิญญาณ จงปล่อยศรัทธาตั้งจิตคอยฟัง”[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  15. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑๓ ธัมมจักกปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑๓[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ธัมมจักกปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]การแสดงพระปฐมเทศนาธรรมจักร[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับที่จะแสดงพระธรรมแล้ว ทรงพระดำริว่าจะแสดงธรรมแก่ใครก่อน[/FONT][FONT=&quot]? ทรง นึกถึงท่านอาฬารดาบส เทวดาก็มาทูลว่าเสียชีวิตได้ ๗ วันแล้ว ทรงนึกถึงอุทกดาบสเทวดาก็มาทูลว่า เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อวานนี้ ทรงรำพึงว่าเป็นความฉิบหาย เพราะทั้งสองไปเกิดในอรูปภพ เป็นพรหมไม่มีรูปร่างกาย ทั้งมีอายุยืนยาว ไม่อาจจะฟังพระสัทธรรมได้ สองดาบสจึงเสื่อมจากเอกันตสุข[/FONT]
    [FONT=&quot] ทรง นึกถึงพวกปัญจวัคคีย์ ทรงเห็นว่าพวกเขาเหมาะที่จะฟังธรรม เพราะเคยดูแลอุปัฏฐากมาถึง ๖ ปี และท่านโกณฑัญญะก็มีอุปนิสัยตามความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมเป็นคนแรกอยู่แล้ว[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จึง เสด็จด้วยพระบาทไกล ๑๘ โยชน์ จากต้นอัชปาลนิโครธ เขตอุรุเวลประเทศ มุ่งไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันเขตเมืองพาราณสี ไม่เสด็จด้วยการเหาะอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ เพราะทรงต้องการโปรดอาชีวกชื่ออุปกะ ทรงทราบว่าเมื่อแล้วต่อไปท่านอุปกะจะออกบวชเป็นภิกษุ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทรง ได้พบกับเขาในหนทางระหว่างคยากับต้นมหาโพธิ์ เขาตะลึงในพระฉัพพรรณรังสี เพ่งดูรู้ว่าเป็นมนุษย์ จึงชมเชยและถามว่า มีผิวพรรณผ่องใส บวชมาสำนักใด มีใครเป็นครู[/FONT][FONT=&quot]? ตรัส ตอบว่า ผิวพรรณดีเพราะไม่มีกิเลส ไม่มีใครเป็นครู เพราะรู้ยิ่งเอง อาชีวกจึงชมว่าถ้าอย่างนั้นท่านก็ควรชื่อว่า พระอนันตชินะ (ผู้ชนะอย่างไม่มีที่สิ้นสุด) ซึ่งพระศาสดาก็ทรงรับชื่อนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] เสด็จ พระพุทธดำเนินถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเวลาเย็น ปัญจวัคคีย์ยังฝังใจอยู่ว่า หนทางตรัสรู้มีอยู่เพียงทางเดียว คือทรมานตน จึงกล่าวต้อนรับกึ่งดูแคลนว่า “อาวุโสโคดม” ก็ไม่ทรงกริ้ว ตรัสด้วยพระกรุณาว่า บัดนี้พระองค์ตรัสรู้แล้ว ให้ตั้งใจฟังที่เราจะพูด เมื่อพวกเขาไม่เชื่อจึงตรัสให้ทบทวนว่าคำที่ว่า “ตรัสรู้แล้ว” เคยพูดที่ไหนบ้าง[/FONT][FONT=&quot]? นั่นแหละ พวกเขาจึงมีใจเป็นธรรม มีจิตอ่อนโยน ฟังพระปฐมเทศนา “ธัมมจักกัปปวัตนะ” ว่าด้วยการหมุนไปแห่งกงล้อธรรม ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถหมุนกลับได้ ตรัสอธิบายถึงทางที่ไม่ควรปฏิบัติ กับทางที่ควรปฏิบัติ ได้แก่ การทำกิจในอริยสัจ ๔ ให้รอบด้านอย่างที่ตรัสว่า รู้ปริวัฏ ๓ อาการ ๑๒ นั่นแหละญาณทัศนะ นั่นแหละการตรัสรู้[/FONT]
    [FONT=&quot] จบพระธรรมเทศนา ท่านโกณฑัญญะและหมู่พรหม ๑๘ โกฏิ บรรลุโสดาปัตติผล[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  16. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑๔ ยสบรรพชาปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑๔[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ยสบรรพชาปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]ยสกุลบุตรและเหล่าสหายออกบวช[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วัน อาสาฬหบูชา ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ กราบทูลขอบวชและได้รับการบรรพชาอุปสมบทจากพระบรมศาสดาด้วยเอหิภิกขุวิธีแล้ว พระศาสดาทรงให้ธัมโมวาทเนืองๆ ปัญจวัคคีย์อีก ๔ ท่าน คือ พระวัปปะ พระภัททยะ พระมหานามะและพระอัสสชิ ก็ได้บรรลุธรรมตามลำดับวัน คือ จากวันแรม ๑ ค่ำ จนถึงแรม ๔ ค่ำ, วันแรม ๕ ค่ำ ก็ตรัสแสดงอนัตตลักขณสูตร ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ทั้งห้าท่านได้บรรลุพระอรหัต เป็นพระอรหันต์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] มี ครอบครัวมหาเศรษฐีพาราณสีอยู่ไม่ไกลจากป่าอิสิปตนมฤคทายวันนัก ท่านมหาเศรษฐีรักและเอาใจใส่ยสกุลบุตร บุตรชายคนเดียวมาก ให้อยู่กับสตรีในปราสาท ๓ ฤดูทุกวัน เพลานั้นกำลังย่างเข้าฤดูฝน เขาจึงพำนักอยู่ในปราสาทฤดูฝน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ราตรี วันหนึ่ง กุศลกรรมที่เคยเผาศพหญิงตายท้องกลมรุมเร้า เขาตื่นขึ้นมองเห็นเหล่าสตรีผู้หลับใหลอยู่ คืนนี้เขาไม่พบความงามดังคืนก่อนๆ เป็นดุจตัวเองกำลังอยู่ในป่าช้าผีดิบ เกิดความเบื่อหน่ายฆราวาสวิสัยมาก เดินรำพึงว่าที่นี่วุ่นวาย ลงจากปราสาทเข้าไปในป่าได้พบกับพระพุทธเจ้า ทรงเชื้อเชิญว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ให้เขานั่งลงฟังอนุบุพพิกถาและอริยสัจ ๔ เขาบรรลุธรรมจักษุเป็นพระโสดาบัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เวลา เช้ามารดาไม่เห็นเขา บอกให้บิดาออกตามหาจนมาพบ พระศาสดาทรงบันดาลไม่ให้บิดาเห็นบุตรแล้วทรงแสดงธรรมนั้น จบพระเทศนา เศรษฐีผู้เป็นบิดาได้เป็นพระโสดาบัน และเป็นอุบาสกคนแรกที่ถึงสรณะ ๓ ส่วน ยสกุลบุตรฟังธรรมนั้นซ้ำก็ได้เป็นพระอรหันต์ ทรงคลายฤทธิ์ทำให้บิดาได้เห็นบุตร แล้วชักชวนให้กลับบ้านหามารดา ตรัสแจ้งว่าบัดนี้ยสะไม่ควรจะเป็นฆราวาสต่อไปเพราะเป็นพระอรหันต์แล้ว บิดาเข้าใจดีชื่นชมว่าเป็นลาภอันประเสริฐของยสะ แล้วทูลนิมนต์ทั้งสองให้ไปฉันอาหารที่เรือน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] บิดากลับไปแล้วท่านยสะก็บวชเป็นภิกษุด้วยเอหิภิกขุวิธี[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] หลัง เสวยภัตแล้ว พระศาสดาได้ตรัสอนุบุพพิกถาและอริยสัจ ๔ แก่มารดาและอดีตภรรยาของพระยสะ นางทั้งสองเป็นพระโสดาบันและเป็นอุบาสิกาคู่แรก[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ข่าว การบวชของพระยสะแพร่กระจายไป เพื่อนๆ อีก ๕๔ คน เชื่อมั่นการตัดสินใจของเพื่อน จึงกราบทูลขอบวช และทุกรูปก็ได้เป็นพระอรหันต์เช่นกัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>


     
  17. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑๕ อุรุเวลคมนปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑๕[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]อุรุเวลคมนปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]อุรุเวลกัสสปชฎิลเจ้าลัทธิบูชาไฟออกบวชเป็นพระสาวก[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] หลัง ทรงมีพระพุทธดำรัสส่งพระอรหัตนสาวก ๖๐ องค์ จาริกออกไปประกาศพระศาสนาแล้ว องค์พระศาสดาก็เสด็จจาริกเพียงพระองค์เดียวมุ่งไปยังอุรุเวลประเทศ ผ่านไร่ฝ้ายแห่งหนึ่ง ทรงได้พบกับบรรดาพระราชกุมาร ๓๐ องค์ ผู้มีพระราชบิดาองค์เดียวกับพระปเสนทิโกศลราชกุมาร[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เจ้า ชายหนุ่มองค์หนึ่งถูกหญิงโสเภณีลักขโมยเครื่องประดับไป ทั้งหมดจึงออกติดตามหา ได้พบพระศาสดาเสด็จมา พวกท่านถามว่าเห็นสตรีหนีมาทางนี้บ้างไหม[/FONT][FONT=&quot]? ตรัสถามว่า ระหว่างการแสวงหาสตรี กับการแสวงหาตน อะไรประเสริฐกว่ากัน? พวกท่านนั่งลงฟังอนุบุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ทั้งหมดได้บรรลุธรรมทุกองค์ แต่ไม่มีท่านใดบรรลุถึงพระอรหันต์[/FONT]
    [FONT=&quot] ทั้ง ๓๐ ท่าน (เรียกว่ากลุ่มภัททวัคคีย์) ออกบวชเป็นภิกษุแล้วไปอยู่ที่เมืองปาวาย (กรุงปาวา) หลายปีต่อมาก็คือกลุ่มภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภถึงความลำบากในฤดูฝน จึงทรงอนุญาตให้มีการกรานกฐิน เพื่ออานิสงส์จะได้ไม่ลำบากที่จะต้องนำจีวรติดตัวไปนาน ๔ เดือน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จาก นั้นเสด็จไปขอพำนักในโรงบูชาไฟของอุรุเวลกัสสปชฎิล ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นประธานแห่งหมู่ชฎิลกว่าพันคน ท่านอุรุเวลกัสสปะนี้ถือตนว่าตัวเองคือพระอรหันต์ แม้พระพุทธเจ้าจะทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ถึง ๓,๕๐๐ วิธี แสดงให้เขาเห็นว่าพระองค์เหนือว่า มีฤทธิ์มีอานุภาพมากกว่า ซึ่งเขาก็ยอมรับทุกอย่าง แต่มีอยู่หนึ่งอย่างที่เขามั่นใจคือพระมหาสมณะผู้มากด้วยฤทธิ์นี้ยังไม่ใช่ พระอรหันต์เหมือนตัวเรา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทรง รอคอยให้มานะความถือตัวของเขาเพลาลง จิตใจมีธรรมดีงามเปล่งประกายแล้ว จึงตรัสตรงประเด็นว่าเขาไม่ได้เป็นพระอรหันต์ และไม่รู้วิธีที่จะเป็นพระอรหันต์ด้วย เขายอมรับก้มกราบพระบาทขอบวช ตรัสให้ปรึกษาบอกกล่าวพวกศิษย์ ๕๐๐ คนก่อน ซึ่งทั้งหมดพร้อมใจกันบวชเป็นภิกษุ ลอยบริขารที่เคยใช้สอย เช่น ชฎา และสาแหรก ลงแม่น้ำไป พวกน้องชายสองคนและบริวารอีก ๕๐๐ เห็นบริขารแล้วมาสอบถาม ที่สุดทั้งหมดก็ออกบวชและได้ฟังพระธรรมเทศนา “อาทิตตปริยายสูตร” ล้วนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป สมกับกุศลกรรมที่บำเพ็ญมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปุสสะ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทรงพาภิกษุอดีตชฎิลทั้งหมดไปยังสวนลัฏฐิวัน ทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสารให้เป็นพระโสดาบัน ตามที่ทรงเคยรับปากไว้ก่อนตรัสรู้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ณ ที่นี้ พระอุรุเวลกัสสปะได้ประกาศให้ชาวอังคะและมคธ (ที่เคยนับถือท่าน) รู้ทั่วกันว่า บัดนี้ ตัวท่านเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าแล้ว[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>


     
  18. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑๖ อัครสาวกบรรพชาปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑๖[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]อัครสาวกบรรพชาปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะออกบวช[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เช้า วันใหม่ ชาวกรุงราชคฤห์ ๑๘ โกฏิ มีใจตรงกันในอันจะยลพระรูปโฉมของพระบรมศาสดา พวกเขาเดินทางออกจากรุงมุ่งสู่สวนลัฏฐิวันจนหนทางเนืองแน่นด้วยประชาชนยาว ๓ คาวุต เป็นผลให้พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์เดินทางเข้าไปเสวยในพระราชนิเวศน์ของพระ ราชาไม่ได้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ร้อน ถึงพระอินทร์เทวราชาของเทพชั้นดาวดึงส์ ต้องแปลงโฉมเป็นชายหนุ่มอันพวกมนุษย์ไม่เคยเห็นมาก่อน เสด็จนำทางพลางกล่าวคำสรรเสริญพระพุทธเจ้า ชาวกรุงจึงเปิดทางให้พระพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์เสด็จเข้าไปเสวยได้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ครั้น เสวยเสร็จแล้ว พระราชาทรงต้องการเห็นและฟังธรรมทุกวัน จึงน้อมถวายสวนไผ่ให้เป็นอารามที่ประทับ พระราชาทรงปลาบปลื้มกุศลทานครั้งนี้ แต่หมู่เปรตที่เคยเป็นพระญาติต่างผิดหวัง พวกเขารอคอยการอุทิศส่วนกุศลมานาน ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากกุสันธะ เมื่อผิดหวังจึงแสดงเสียงและรูปอันน่ากลัวให้พระราชาฟังและเห็น รุ่งขึ้นได้ตรัสเล่าให้พระศาสดาทรงสดับ พระศาสดาตรัสเล่าความจริงให้พระราชาเบาพระทัย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ ราชาทรงถวายมหาทานอีกแล้วอุทิศส่วนกุศลแด่พวกเปรต ทำให้เปรตมีความสุขพ้นทุกข์หลายประการ แล้วพระศาสดาก็ตรัสแสดงติโรกุฑฑสูตร พระธรรมว่าด้วยความหวังของผู้ละโลกนี้ไปแล้ว และกิจอันผู้ยังมีชีวิตพึงบำเพ็ญญาติธรรม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ใน เขตกรุงราชคฤห์นั้นมีหมู่บ้านเล็กๆ ๒ แห่ง คือ อุปติสคามและโกลิตคาม เป็นบ้านเกิดของพระอัครสาวก คือ พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ทั้งสองท่านมีชีวิตที่สุขสบายในวัยเด็กและวัยหนุ่ม แต่สาวกบารมีญาณที่แก่กล้ามากก็กระตุ้นให้มองไม่เห็นสาระของความสนุกสนาน จึงออกบวชเป็นปริพพาชกค้นหาโมกขธรรม (ธรรมหลุดพ้น) แต่ไม่ได้คำตอบที่เป็นไปเพื่อโมกขธรรมในสำนักปริพพาชก จนวันหนึ่ง สารีบุตรก็ได้พบและฟังธรรมย่อๆ จากพระอัสสชิเถระแล้วได้บรรลุธรรมจักษุ เมื่อนำความไปบอกโมคคัลลานะก็ได้บรรลุเหมือนกัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทั้ง สองท่านนำบริวาร ๒๕๐ คน บวชเป็นภิกษุ พระมหาโมคคัลลานะใช้เวลาบำเพ็ญเพียรเป็นพระอรหันต์ ๗ วัน ส่วนพระสารีบุตรมีปัญญาพิจารณามาก จึงใช้เวลามากถึง ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา เลิศทางปัญญา พระมหาโมคคัลลานะได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เลิศทางฤทธิ์ สมดังปณิธานที่กระทำไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าอโนมทัสสี[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    <hr>


     
  19. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑๗ กปิลวัตถุคมนปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑๗[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]กปิลวัตถุคมนปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]การเสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ พุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ว่าจะในฐานะพระศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก หรือในฐานะคนในตระกูลศากยะ ก็ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลให้แก่หมู่พระประยูรญาติ และในฐานะที่ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงบัญญัติพระธรรมวินัยเพื่อสาวกทั้งปวงจะได้รับประโยชน์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ เจ้าสุทโธทนะทรงสดับข่าวพระราชโอรสตรัสรู้แล้วทรงบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ชาว โลก อยู่ที่กรุงราชคฤห์ ทรงปรารถนาจะได้พบกับพระพุทธเจ้าสักครั้งก่อนสวรรคต ทรงส่งอำมาตย์และคณะไปเพื่อกราบทูลเชิญเสด็จกลับเมือง (เสด็จนิวัติ) ถึง ๙ คณะ ๙ ครั้ง รวมคนถึง ๙,๐๐๐๙ คน ทุกคณะได้ฟังธรรมแล้วบรรลุธรรมต่างออกบวช ไม่มีท่านใดจะกราบทูลตามพระราชสาสน์เลย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ใน ครั้งที่ ๑๐ ทรงส่งกาฬุทายีอำมาตย์ (อดีตพระสหายผู้เป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า) และคณะเดินทางไปกรุงราชคฤห์ ครั้งนี้พระราชาทรงมั่นพระทัยมากว่าเขาจะทำสำเร็จแน่ จึงทรงอนุญาตให้บวชได้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อ ฟังธรรมบรรลุเป็นพระอรหันต์ และบวชเป็นภิกษุแล้ว พระกาฬุทายีเถระก็ไม่ลืมพระราชสาสน์ คอยพิจารณาความเหมาะสมที่จะกราบทูลเชิญเสด็จอยู่เสมอ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] จน วันเพ็ญเดือน ๔ ก็ได้โอกาสกราบทูลพรรณนาถึงเส้นทางเสด็จ และคนที่รอคอยการไปของพระองค์อยู่ ท่านร้อยเรียงคำทูลเชิญเสด็จอันไพเราะถึง ๖๔ คาถา และพระโลกนาถก็ตรัสรับคำทูลเชิญ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ พุทธบิดาและหมู่พระญาติศากยะได้สร้างนิโครธารามรับเสด็จ ทั้งได้ฟังคุณความดีของพระพุทธเจ้าทุกวันจากพระกาฬุทายี และได้ถวายภัตแด่พระพุทธเจ้ามีพระเถระนำไปด้วยฤทธิ์ทุกวัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ทรง ใช้เวลา ๒ เดือนเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๒ หมื่น ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้พวกเจ้าศากยะที่มากด้วยทิฏฐิมานะยอมรับความเป็น พระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง พระพุทธบิดาทรงไหว้เป็นครั้งที่ ๓ และเกิดฝนโบกขรพรรษตกลงมาเช่นเดียวกับครั้งสมัยที่พระองค์เป็นพระเวสสันดร[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] รุ่งเช้าก็ทรงนำภิกษุสงฆ์บิณฑบาตไปตามลำดับเรือนในพระนคร อันเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     
  20. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ปริจเฉทที่ ๑๘ พิมพาพิลาปปริวรรต
    [FONT=&quot]ตอนที่ ๑๘[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พิมพิลาปปริวรรต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]พระนางพิมพาตัดพ้อพระพุทธเจ้า[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=&quot]เนื้อความย่อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เช้า วันแรกแห่งการเสด็จนิวัติพระนคร พระศาสดาเสด็จบิณฑบาตไปตามถนนพร้อมด้วยหมู่ภิกษุ ชาวพระนครทราบข่าวแล้วแตกตื่น อยากเห็นเจ้าชายสิทธัตถะจนเกิดความโกลาหล พระนางยโสธราหรือพิมพาราชเทวีทรงทราบการเสด็จนั้นจากนางกำนัล ทรงเศร้าพระทัยว่า สมัยก่อนพระลูกเจ้าไปไหนก็เสด็จด้วยช้าง ม้าหรือด้วยพระเกี้ยว บัดนี้เที่ยวไปดังพวกจัณฑาล แล้วสลดสังเวช เข้าพระทัยตนเองเป็นหญิงกาฬกิณีจึงต้องเผชิญกับความเป็นหม้าย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ เมื่อได้ทอดทัศนาพระศาสดาทางสีหบัญชรแล้ว ทรงปลื้มพระทัยในความองอาจงดงามดุจราชสีห์แห่งอดีตพระสวามี และด้วยความไม่เคยเห็นการขออาหารเช่นนั้น จึงทูลแด่พระพุทธบิดา พระราชาก็ทรงขัดเคืองที่ไปขอชาวบ้านอย่างนั้น รีบเสด็จไปห้าม พระศาสดาทรงชี้แจงว่านี่เป็นกิจของพระพุทธเจ้า เป็นประเพณีของพุทธวงศ์มิใช่ศากยวงศ์อีกแล้ว และตรัสพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธบิดาสำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระราชาทรงเข้าใจพุทธจริยาวัตรนั้นแล้วทูลนิมนต์ให้นั่งเสวยในพระมหาปราสาท[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วัน ที่สองหลังเสวยแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนายังพระน้านางมหาปชาบดีโคตมีให้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ส่วนพระราชาทรงสดับอยู่ด้วยก็บรรลุเป็นพระสกทาคามี[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] วัน ที่สามพระราชาสดับพระธรรมอีกก็ได้บรรลุอนาคามิผล พระพุทธบิดาตรัสให้นางกำนัลไปเชิญพระนางพิมพาราชสุณิสามา พระนางไม่มาแต่ฝากความในใจ เช่น ความทุกข์ในการเป็นหม้าย และความสุขที่ทรงเคยได้รับจากพระสวามี เป็นต้น ให้นางกำนัลนำมากราบทูล พระพุทธบิดาก็ช่วยกราบทูลความจงรักภักดีและคุณความดีอื่นๆ ในที่สุดพระบรมศาสดาก็เสด็จไปยังห้องที่ทรงเคยบรรทม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] พระ นางจูงพระราหุลกุมารเสด็จมา พลางร่ำไห้เข้ากอดข้อพระบาทแล้วรำพันถึงการรอคอยที่ยาวนาน และตัดพ้อชีวิตที่ไม่มีความสุขอย่างที่พวกพราหมณ์เคยทำนายไว้เลย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อสร่างโศกแล้ว พระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนาจันทกินนรชาดก จบแล้วอดีตพระอัครมเหสีได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]


    <hr>


     

แชร์หน้านี้

Loading...