บรรพชาอุปสมบท ๘๔ รูป ณ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในห้อง 'งานบวช' ตั้งกระทู้โดย guawn, 2 ธันวาคม 2009.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    敕賜普頌皇恩寺[FONT=典匠粗楷]啟建首次剃度傳戒法會[/FONT]​

    ปฐมบรรพชาอุปสมบท ๘๔ รูป ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<O:p</O:p


    ณ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์<O:p</O:p


    ( วัดเล่งเน่ยยี่ 2) ตลาด บางบัวทอง จ.นนทบุรี<O:p</O:p


    วันที่ ๑๐ - ๑๘ มกราคม ๒๕๕๓ ( ๙ วัน )
    <O:p</O:p


    <O:p</O:p


    วัตถุประสงค์การบรรพชาอุปสมบท<O:p</O:p

    1. เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาจิต สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและน้อมถวายเป็นพระราชกุศล<O:p</O:p
    แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<O:p</O:p
    2. เป็นการบรรพชาอุปสมบทครั้งปฐมฤกษ์ ฉลองพัทธสีมาอุโบสถ<O:p</O:p
    3. เพื่อการสืบทอดพระพุทธศาสนามหายาน คณะสงฆ์จีนนิกาย ให้จำเริญวัฒนาสถาพรยิ่งขึ้นไป <O:p</O:p
    4. เพื่อเป็นการให้กุลบุตร ได้สร้างมหาบุญบารมี เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐในศาสนา<O:p</O:p
    5. เพื่อเป็นการให้กุลบุตรได้มีโอกาสศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์จีนนิกาย<O:p</O:p
    และจะได้นำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม จริยธรรม<O:p</O:p
    ก่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจอันยังประโยชน์ให้เกิดกับตนเอง สังคม และประเทศชาติ

    <O:p</O:p

    <O:p</O:p


    คุณสมบัติผู้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท<O:p</O:p

    1. เป็นชาย อายุ 20 ปีขึ้นไป<O:p</O:p
    2. ไม่มีคุณลักษณะต้องห้ามตามพระธรรมวินัย <O:p</O:p
    3. เป็นพุทธศาสนิกชน (นับถือศาสนาพุทธเท่านั้น)<O:p</O:p
    4. ได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้ปกครอง หรือหน่วยงานต้นสังกัด <O:p</O:p
    5. มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่ต้องคดีตามกฎหมายบ้านเมือง<O:p</O:p
    6. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีความผิดปกติทางจิต หรือ ทุพพลภาพ ตลอดจนเป็นโรคติดต่อร้ายแรง<O:p</O:p
    อันเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติศาสนกิจของสงฆ์<O:p</O:p
    7. ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดทุกประเภท
    <O:p</O:p</O:p

    หลักฐานในการสมัคร<O:p</O:p

    1. รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ<O:p</O:p
    2. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ชุด<O:p</O:p
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1ชุด<O:p</O:p

    <O:p</O:p


    <O:p</O:p



    กำหนดการ<O:p</O:p

    - วันที่ 8 ม.ค. 53 เวลา 08.00 น.<O:p</O:p
    ลงทะเบียนเข้ารับการบรรพาอุปสมบท ณ ห้องประชาสัมพันธ์ชั้น 1 <O:p</O:p
    ผู้ขอบรรพชาอุปสมบทเข้ารับการฝึกขานนาค อบรมจริยาวัตรคณะสงฆ์จีนนิกาย<O:p</O:p
    ฝึกการกราบนมัสการพระ มหาอิริยาบถ ๔ ตลอดจนกฎระเบียบข้อวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ <O:p</O:p
    - วันที่ 9 ม.ค. 53 เวลา 09.00 น. พร้อมกัน ณ จุดประชาสัมพันธ์ ชั้น 1<O:p</O:p
    เวลา 12.00 น. ขอเชิญร่วมรับประทานอาหารเจ<O:p</O:p
    เวลา 13.00 น. พิธีขอขมากรรมองค์พระอุปัชฌาย์ , บุพการี และพิธีปลงผม<O:p</O:p
    เวลา 15.00 น. พิธีขอขมากรรมพระรัตนตรัย ณ อุโบสถ<O:p</O:p
    เวลา 19.00 น. พิธีทำขวัญนาค<O:p</O:p
    - วันที่ 10 ม.ค. 53 เวลา 09.00 น. พร้อมกัน ณ จุดประชาสัมพันธ์ ชั้น 1<O:p</O:p
    เวลา 10.00 น. พิธีถวายพุทธบูชา<O:p</O:p
    เวลา 12.00 น. ขอเชิญร่วมรับประทานอาหารเจ<O:p</O:p
    เวลา 12.30 น. นำนาคเวียนประทักษิณารอบอุโบสถ 3 รอบ<O:p</O:p
    เวลา 13.00 น. เริ่มพิธีบรรพชาอุปสมบท<O:p</O:p
    - วันที่ 18 ม.ค. 53 พิธีมอบใบบุญญานุสรณ์แก่ผู้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ข้อปฏิบัติระหว่างการเข้ารับการอบรมและบรรพชาอุปสมบท<O:p</O:p

    1. ต้องสวมใส่ชุดขาวมาวัดทุกครั้งที่เข้ารับการอบรม<O:p</O:p
    2. ห้ามนำหนังสือบันเทิงอ่านเล่นทุกประเภท มาในระหว่างเข้ารับการอบรมและการบวช<O:p</O:p
    3. ห้ามนำโทรศัพท์มือถืออุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด มาในระหว่างเข้ารับการอบรมและการบวช <O:p</O:p
    4. ห้ามนำอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์เพื่อความบันเทิงทุกชนิด มาในระหว่างเข้ารับการอบรมและการบวช<O:p</O:p
    5. ห้ามนำบุหรี่และสิ่งเสพติดทุกชนิดเข้ามาในวัดโดยเด็ดขาด<O:p</O:p
    6. ห้ามนำวัตถุมีคมหรืออาวุธมาโดยเด็ดขาด<O:p</O:p
    7. ห้ามนำของมีค่าและเครื่องประดับติดตัวมาระหว่างบวชโดยเด็ดขาด
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p


    สถานที่รับสมัคร<O:p</O:p


    สมัครด้วยตนเองได้ที่ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ฯ ( เล่งเน่ยยี่ 2)<O:p</O:p


    ตลาดบางบัวทอง จ. นนทบุรี ห้องประชาสัมพันธ์ชั้น 1 เวลา 08.30 – 17.00 น.
    ของทุกวัน ตั้งแต่บัดนี้จนถึง วันที่ 8 มกราคม 2553

    ติดต่อสอบถาม โทร. 02-571-1155, 02-571-0654 <O:p</O:p


    พิธีบรรพชาอุปสมบทครั้งนี้ทางวัดเป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์ทั้งสิ้น<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2009
  2. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ใบบอกบุญครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    [​IMG]
     
  4. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    [​IMG]
     
  5. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    [​IMG]
     
  6. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    [​IMG]
     
  7. พระอดุลย์ อตุโล

    พระอดุลย์ อตุโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    912
    ค่าพลัง:
    +1,162
    ธรรมะเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาค้นคว้าและเข้าถึงโดยวิถีทางอย่างวิทยาศาสตร์มิใช่โดยทาง ตรรกะ -นยะ -คณิตศาสตร์ -หรือฟิโลโซฟี่ ที่ต้องใช้สมมติฐาน(HYPOTHESIS) หากแต่ต้องใช้ปัญญาโดยตรง ที่รู้สึกอยู่ในจิตเป็นวัตถุสำหรับศึกษาพิสูจน์ทดลองขออนุโมทนาสาธุ
    http://palungjit.org/threads/ร่วมทำบุญกับผู้ปฏิบัติธรรม900-ชีวิตที่มานอนกลดปฏิบัติธรรมถือธุดงควัตร-211364.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2009
  8. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    มหายาน

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    อาจริยวาท หรือ มหายาน เป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนาที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย เนปาล จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่พระนิพพาน ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน

    ความหมายของมหายาน

    มหายาน (สันสกฤต : महायान, จีน: 大乘; ญี่ปุ่น: 大乗; เวียดนาม: Đại Thừa; เกาหลี :대승) มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤต มหา + ยาน แปลว่า พาหนะที่ใหญ่ เป็นคำเรียกที่อาศัยการเปรียบเทียบ จากคำว่า หีนยาน ซึ่งแปลว่า พาหนะที่เล็ก ๆ มหายานยังมีความหมายว่า “ยานที่สูงสุด” ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน คำว่ามหายาน ไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่และสูงสุดเท่านั้น หากเป็นยานที่รื้อขนสรรพสัตว์ได้ทุกประเภททุกวัย รวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนาม เพื่อไปสู่พระนิพพาน และยานนี้ยังหมายถึงยานที่จะไปถึงพุทธภูมิ แล้วสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    คำว่า มหายาน จึงเป็นการเปรียบเทียบหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากกว่าสาวกยาน ในคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ คุรุนาคารชุน ปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้อธิบายความหมายของมหายานไว้ว่า “พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุตติ ความรอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเพื่อตัวเอง ชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย” อันหมายความว่า ฝ่ายสาวกยานมุ่งเพียงความหลุดพ้นเป็นอรหันต์สิ้นกิเลสเฉพาะตน ไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นด้วย แต่ฝ่ายมหายานย่อมมีอุคมคติตรงกันข้าม กล่าวคือ ย่อมมุ่งพุทธภูมิมีปณิธานจะตรัสรู้เป็นพระพุทธะเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมดสิ้น อธิบายว่า พุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปมุ่งแต่อรหัตภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สาวกยาน ส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานย่อมมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้น จึงมีอีกชื่อว่า โพธิสัตวยาน หรือ พุทธยาน
    ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ได้อธิบายความหมายของมหายานว่า “ถ้าสรรพสัตว์ได้สดับธรรมจากพระผู้มีพระภาค แล้วบังเกิดศรัทธาความเชื่อ ปสาทะความเลื่อมใส ได้วิริยะบำเพ็ญบารมีเพื่อสัพพัญญุตญาณอันเป็นธรรมชาติ ญาณอันปราศจากครูอาจารย์ ญาณแห่งพระตถาคต กำลังความกล้าหาญ มีความกรุณาปรารถนาต่อความสุขของสรรพสัตว์ บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์ต่อทวยเทพและมนุษย์ โปรดสรรพนิกรให้พ้นทุกข์ นั่นชื่อว่า มหายาน”
    นอกจากนี้ พระนาคารชุนได้กล่าวไว้ในทวาทศนิกายศาสตร์อีกว่า “มหายานคือยานอันประเสริฐกว่ายานทั้ง 2 เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหายาน' พระพุทธเจ้าทั้งหลายอันใหญ่ยิ่ง ทรงอาศัยซึ่งยานนี้ และยานนี้จะสามารถนำเราเข้าถึงพระองค์ได้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง ปวงพระพุทธเจ้าผู้มหาบุรุษได้อาศัยยานนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหา' และอีกทั้งสามารถดับทุกข์อันไพศาลของสรรพสัตว์และประกอบประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้ถึงพร้อม เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งปวง มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราปต์โพธิสตว์ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระกษิติครรภโพธิสัตว์ เป็นต้น ปวงมหาบุรุษได้ทรงอาศัย เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง เมื่ออาศัยยานนี้แล้ว ก็ย่อมเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา'”
    นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อความที่ยกย่องมหายานอีกเป็นจำนวนมากในคัมภีร์ของมหายาน เช่นเรียกว่า อนุตรยาน (ยานอันสูงสุด) , โพธิสัตวยาน (ยานของพระโพธิสัตว์) , พุทธยาน (ยานของพระพุทธเจ้า) , เอกยาน (ยานอันเอก) เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำว่า ยาน ในพระพุทธศาสนาจึงเป็นดั่งคำเปรียบเปรยของมรรควิถีอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันนั่นเอง

    กล่าวโดยสรุป ยานในพระพุทธศาสนาได้แบ่งออกเป็น 3 (ตามมติฝ่ายมหายาน) คือ
    1. สาวกยาน คือยานของพระสาวก ที่มุ่งเพียงอรหัตภูมิ รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
    2. ปัจเจกยาน คือยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
    3. โพธิสัตวยาน คือยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีน้ำใจกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า 2 ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม
    [แก้] พัฒนาการของพุทธศาสนามหายาน

    [​IMG] [​IMG]
    พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าและพุทธเกษตรในคติมหายาน


    หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>
    ในกาลต่อมาต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เกิดการสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด อย่างไรก็ตาม การสังคายนาแต่ละครั้งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางความคิดในหมู่สงฆ์ จนก่อให้เกิดการแยกฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันในส่วนหลักธรรมและข้อวัตรปฏิบัติ
    กล่าวกันว่า มูลเหตุของการแยกนิกายในพุทธศาสนามาจากในคราวใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้” (มหาปรินิพพานสูตร 10/141) พุทธดำรัสดังกล่าวไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้เกิดมีปัญหาในการตีความว่า สิกขาบทไหนเรียกว่าเล็กน้อย เป็นเหตุให้พระภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับการสังคายนาครั้งหลัง ๆ อีกหลายครั้ง เป็นเหตุให้มีกลุ่มที่แยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางลัทธิและนิกาย แต่ก็มิได้ถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด
    หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ 100 ปี อันเป็นช่วงเวลาที่มีการสังคายนาครั้งที่ 2 ได้มีคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งเรียกว่า มหาสังฆิกะ ซึ่งมีจำนวนมาก ได้แยกตนออกไปต่างหากจากกลุ่มเถรวาทเดิม การแยกตัวของมหาสังฆิกะนี้มีมูลเหตุจากความเห็นที่แตกต่างเรื่องหลักปฏิบัติของภิกษุ หลังจากนั้นมหาสังฆิกะได้แยกกลุ่มนิกายย่อยออกไปอีก 18 นิกาย เนื่องจากมีทัศนะ อุดมคติ การตีความหลักธรรม และวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นภิกษุบางรูปในนิกายทั้ง 18 นี้ ได้แยกตนออกมาตั้งคณะใหม่โดยถือปรัชญาและหลักจริยวัตรของตน กระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ 5 จึงได้เกิดกลุ่มคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ที่เรียกตนเองว่า "มหายาน" ขึ้น แม้จะมีที่มาไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่าพัฒนาจากนิกายมหาสังฆิกะ ผสมผสานกับปรัชญาของนิกายพุทธศาสนาอื่นทั้ง 18 นิกาย รวมทั้งนิกายเถรวาทด้วย ก่อกำเนิดเป็นลัทธิมหายาน
    แม้ไม่อาจกำหนดให้แน่ชัดลงไปได้ว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัดคือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ศตวรรษที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกพระองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานอย่างมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราชของฝ่ายเถรวาท
    [แก้] แนวคิดเรื่องตรีกาย


    หลักการสำคัญประการหนึ่งของมหายานอยู่ที่หลักเรื่อง ตรีกาย อันหมายถึงพระกายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า ในกายตรัยสูตรของมหายาน พระอานนท์ทูลถามถึงเรื่องพระกายของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ตถาคตมีกายเป็น 3 สภาวะคือตรีกาย อันได้แก่
    • นิรมาณกาย หมายถึง กายที่เปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพของสังขารในฐานะที่เป็นมนุษย์ พระศากยมุนีผู้ท่องเที่ยวอยู่บนโลก สั่งสอนธรรมแก่สาวกของพระองค์ และดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา
    • สัมโภคกาย หมายถึง กายแห่งความบันเทิง มีลักษณะเป็นทิพยภาวะรุ่งเรืองแผ่ซ่านปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
    • ธรรมกาย หมายถึง กายแท้จริงอันเป็นสภาวธรรม ในฐานะเป็นสภาพสูงสุด หลักแห่งความรู้ ความกรุณา และความสมบูรณ์
    มหายานชั้นแรกดูเหมือนจะมีทัศนะตรงกับเถรวาทที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระกายเพียง 2 เท่านั้นคือ ธรรมกาย และ นิรมานกาย ธรรมกายนั้นมีพระพุทธวจนะที่ตรัสโดยตรงในบาลีอัคคัญญสูตรแห่งทีฆนิกาย ส่วนนิรมาณกายนั้นได้แก่พระกายของพระศาสดาที่ประกอบด้วยขันธ์ 5 ในคัมภีร์ฝ่ายมาธยมิกชั้นแรก ก็ยังไม่พบกายที่ 3 ธรรมกาย ตามนัยแห่งเถรวาทหมายถึงพระคุณทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า อันได้แก่ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ มหายานได้สร้างแนวความคิดตรีกายขึ้นด้วยวิธีเพิ่มกายอีกกายหนึ่งเข้าไป คือ สัมโภคกาย ซึ่งเป็นกายของพระพุทธองค์อันสำแดงปรากฏให้เห็นเฉพาะหมู่ พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ เป็นทิพยภาวะมีรัศมีรุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป เพราะฉะนั้น แม้จนกระทั่งบัดนี้ พระโพธิสัตว์ก็ยังอาจจะเห็นพระศากยมุนีพุทธเจ้าได้ในรูปสัมโภคกาย พระพุทธองค์ยังทรงอาจสดับคำสวดมนต์ต์ของเรา แม้พระองค์จะดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ดี ทั้งนี้ก็ด้วยการดับขันธปรินิพพานนั้นเป็นเพียงการสำแดงให้เห็นปรากฏในรูปนิรมานกายเท่านั้น ส่วน ธรรมกาย นั้น ก็เป็นสภาวะอมตะ ไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด แผ่คลุมอยู่ทั่วไป ความคิดเรื่องสัมโภคกายนี้ มหายานได้รับจากนิกายมหาสังฆิกะ และในหมู่คณาจารย์ของมหายานก็ไม่มีความเห็นพ้องกันในเรื่องนี้
    อันที่จริง พระพุทธองค์มิใช่มีถึง 3 กาย คงมีแต่เพียงกายเดียว ตรีกายนั้นเป็นเพียงลักษณะของพระพุทธเท่านั้น ถ้ากล่าวตามทัศนะในแง่ความสมบูรณ์ ความเป็นสากล พระองค์ก็คือธรรมกายอันสูงล้ำ หรือถ้ามองจากทัศนะความเป็นอุดมคติ พระองค์ก็คือสัมโภคกายผู้สั่งสอนพระโพธิสัตว์ และช่วยเหลือพระโพธิสัตว์ในการทำงานปลดเปลื้องสรรพสัตว์จากกองทุกข์ อนึ่ง เมื่อพิจารณาตามทัศนะนิรมานกายพระองค์คือพระศากยมุนีผู้ประสูติ ณ สวนลุมพินี ได้ตรัสรู้สัจธรรม ภายใต้ต้นโพธิ์ และดับขันธปรินิพพาน เมื่อได้เผยแผ่พระพุทธธรรมตามพระปณิธานที่ได้ตั้งไว้ พระศากยมุนีนั้น มิใช่เป็นการสำแดงรูปของธรรมกายในรูปนิรมาณกายพุทธ เพราะการสำแดงรูปนิรมานกายนั้นมีมากหลาย ดุจมีบุคคลอุดมคติมากหลายของสัมโภคกาย แต่ธรรมกายพุทธที่สมบูรณ์นั้นมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว
    [แก้] มหาปณิธาน 4


    นอกจากดังที่กล่าวมาแล้ว พระโพธิสัตว์ยังต้องมีมหาปณิธานอีก 4 ซึ่งถือเป็นหลักการของผู้ดำเนินตามวิถีมหายาน ดังนี้
    1. เราจะละกิเลสทั้งปวงให้สิ้น
    2. เราจะศึกษาพระธรรมให้เจนจบ
    3. เราจะโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้
    4. เราจะต้องบรรลุพุทธภูมิอันประเสริฐ
    [แก้] จุดมุ่งหมายของมหายาน

    หลักสำคัญของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือหลักแห่งพระโพธิสัตวภูมิซึ่งเป็นหลักที่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแต่ละนิกายยอมรับนับถือ มหายานทุกนิกายย่อมมุ่งหมายโพธิสัตวภูมิ ซึ่งเป็นเหตุที่ให้บังเกิดพุทธภูมิ บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จะบรรลุถึงพุทธภูมิได้ ต้องผ่านการบำเพ็ญจริยธรรมแห่งพระโพธิสัตว์มาก่อน เพราะฉะนั้น จึงถือว่าโพธิสัตวภูมิเป็นเหตุ พุทธภูมิเป็นผล เมื่อบรรลุพุทธภูมิเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมโปรดสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นได้กว้างขวาง และขณะบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ยังสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในสังสารวัฏได้มากมาย อุดมคติอันเป็นจุดหมายสูงสุดของมหายานจึงอยู่ที่การบำเพ็ญบารมีตามแนวทางพระโพธิสัตว์ เพื่อนำพาสรรพสัตว์สู่ความหลุดพ้นจากวัฏสงสารให้หมดสิ้น


    [แก้] คัมภีร์ของมหายาน

    <TABLE id=links style="BORDER-RIGHT: #f8f8f8 1px solid; PADDING-RIGHT: 1px; BORDER-TOP: #f8f8f8 1px solid; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; BORDER-LEFT: #f8f8f8 1px solid; PADDING-TOP: 1px; BORDER-BOTTOM: #f8f8f8 1px solid; TEXT-ALIGN: left; text-valign: middle"><TBODY><TR><TD>[​IMG] ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมิได้ปฏิเสธ พระไตรปิฎกดั้งเดิม หากแต่ถือว่าอาจยังไม่เพียงพอ เนื่องจากเกิดมีแนวคิดว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นโลกุตรสภาวะ ไม่อาจดับสูญ ที่ชาวโลกคิดว่าพระพุทธองค์ดับสูญไปแล้วนั้นเป็นเพียงภาพมายาของรูปขันธ์ แต่พระธรรมกายอันเป็นสภาวธรรมของพระองค์เป็นธาตุพุทธะบริสุทธิ์ยังดำรงอยู่ต่อไป มหายานถือว่ามนุษย์ทุกคนมี พุทธธาตุ เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า หากมีกิเลสอวิชชาบดบังธาตุพุทธะจึงไม่ปรากฏ หากกิเลสอวิชชาเบาบางลงเท่าใดธาตุพุทธะก็จะปรากฏมากขึ้นเท่านั้น มหายานมีแนวคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิและมีความสามารถที่จะบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ และสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ หากฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยเมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายานจึงมีมากมาย แม้พระพุทธเจ้าก็มีปริมาณที่ไม่อาจคาดคำนวณได้ และพระโพธิสัตว์ทุกองค์ย่อมโปรดสรรพสัตว์เช่นเดียวกับจริยาของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก ในพุทธศาสนามหายานจึงมีคัมภีร์สำคัญระดับเดียวกับพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก เพื่อให้เหมาะสมกับจริตและอินทรีย์ของสรรพสัตว์แต่ละจำพวก อีกทั้งเพื่อเป็นกุศโลบายในการสั่งสอนพุทธธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อเจตจำนงจะเกื้อกูลสรรพชีวิตทั้งมวลให้ถึงพุทธรรมและบรรลุความหลุดพ้นจากสังสารวัฏ คัมภีร์ของมหายานดั้งเดิมเขียนขึ้นด้วยภาษาสันสกฤต แต่ก็มิใช่สันสกฤตแท้ หากเป็นภาษาสันสกฤตที่ปะปนกับภาษาปรากฤตตลอดจนบาลีและภาษาท้องถิ่นอื่นๆ เรียกว่าภาษาสันสกฤตทางพุทธศาสนา คัมภีร์เหล่านี้กล่าวในฐานะเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าบ้าง คำสอนพระโพธิสัตว์บ้าง หรือแม้แต่ทวยเทพต่างๆ โดยมีเนื้อหาหลากหลาย สันนิษฐานว่าพระสูตรปรัชญาปารมิตา เป็นพระสูตรมหายานรุ่นเก่าที่สุด และได้มีการเขียนพระสูตรขึ้นต่อมาอีกอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยคุปตะ พระสูตรบางเรื่องก็เกิดขึ้นในประเทศจีน และในหมู่คณาจารย์ของมหายานเองก็เขียนคัมภีร์ที่แสดงหลักปรัชญาอันลึกซึ้งของตน เรียกว่าศาสตร์ซึ่งเทียบได้กับอภิธรรมของฝ่ายเถรวาท ที่มีชื่อเสียงคือ มาธยมกศาสตร์, โยคาจารภูมิศาสตร์, อภิธรรมโกศศาสตร์, มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ในประเทศต่างๆ ที่นับถือมหายาน ก็มีการรจนาคัมภีร์ขึ้นเพื่อสั่งสอนหลักการของตนเองอีกเป็นอันมาก คัมภีร์ของมหายานจึงมีมากมายเท่าๆกับความหลากหลายและการแตกแยกทางความคิดในหมู่นักปราชญ์ของมหายาน
    นิกายมหายานเคารพในพระธรรมซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และเคารพในพระไตรปิฎกเช่นเดียวกับเถรวาท จึงมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอ เนื่องจากเกิดสำนึกร่วมขึ้นมาว่า นามและรูปของพระพุทธองค์เป็น โลกุตตระ ไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญไปนั้นเป็นเพียงภาพมายา พระธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุอันบริสุทธิ์ยังคงมีอยู่ต่อไป
    มนุษย์ทุกคนมีธาตุพุทธะร่วมกับพระพุทธเจ้า ถ้ามีกิเลสมาบดบังธาตุพุทธะก็ไม่ปรากฏ มนุษย์ทุกคนจึงมีศักยภาพที่จะ เป็นพระโพธิสัตว์ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า ถ้าได้รับการฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์จึงมีจำนวน มหาศาล และมีหน้าที่ส่งเสริมงานของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก ด้วยสำนึก เช่นนี้ ฝ่ายมหายานจึงมีคัมภีร์เกิดขึ้นมากมาย และให้ความเคารพเทียบเท่าพระไตรปิฎก
    [แก้] พระวินัยปิฎกมหายาน

    แม้นว่ามหายานจะมีทั้งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม แต่พระวินัยของมหายานนั้น นอกจากจะมี 250 ข้อแล้ว ยังไม่ได้เป็นหมวดหมู่แบบเถรวาท สังฆกรรมต่าง ๆ ของฝ่ายมหายานต้องใช้คัมภีร์วินัยของสรวาสติวาท ธรรมคุปตะ มหาสังฆิกะ และมหิศาสกะ

    สิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ 250 ข้อ ของฝ่ายมหายาน มีดังนี้ คือ
    1. ปาราชิก 4
    2. สังฆาทิเสส 13
    3. อนิยต 2
    4. นิสสัคคียปาจิตตีย์ 30
    5. ปาจิตตีย์ 90
    6. ปาฏิเทสนีย์ 4
    7. เสขิยะ 100
    8. อธิกรณสมถะ 7
    สิกขาบทของมหายานได้เพิ่มวินัยของพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่กล่าวไว้ในพรหมชาลสูตร เรียก พรหมชาลโพธิสัตวศีล และ ยคโพธิสัตวศีล ซึ่งอยู่ในคัมภีร์โยคาจารภูมิศาสตร์ปกรณ์พิเศษของนิกายวิชญาณวาทิน และมีข้อที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ วินัยของโพธิสัตว์นั้นแม้จะต้องครุกาบัติ เป็นปาราชิกในโพธิสัตว์สิกขาบทก็สามารถ สมาทานใหม่ได้ ไม่เหมือนกับภิกขุปาฏิโมกข์ ซึ่งทำคืนอีกไม่ได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าสิกขาบทของภิกขุอยู่ในขอบเขตจำกัด ของปัจจุบันชาติ ส่วนสิกขาบทของโพธิสัตว์นั้นไม่จำกัดชาติ
    ดังนั้น กุลบุตรฝ่ายมหายานเมื่ออุปสัมปทากรรมแล้วก็จะต้องรับศีลโพธิสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมพรหมชาล โพธิสัตว์ศีลมากกว่า โยคะโพธิสัตวศีล และศีลพระโพธิสัตว์นี้ได้ห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ของสดคาว และหัวหอม หัวกระเทียม เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วย ส่งเสริมให้เกิดกำหนัดราคะกางกั้นจิตมิให้บรรลุสมาธิ และการกินเนื้อสัตว์นี้อาจกินถูกเนื้อบิดามารดาในชาติก่อน ๆ ของตน ผู้รับศีลโพธิสัตว์จึงต้องถือมังสะวิรัติอย่างเคร่งครัด พระสงฆ์มหายานของจีนได้รับการยอมรับกันว่า ปฏิบัติในข้อนี้ได้เคร่งครัด กว่าพวกมหายานในประเทศอื่น ๆ
    ลัทธิมหายานมิได้มีภิกขุปาฏิโมกข์เป็นเอกเทศ คงปฏิบัติวินัยบัญญัติตามพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายสาวกยาน แต่มีแปลกจากฝ่ายสาวกยานคือ โพธิสัตวสิกขา เพราะลัทธิมหายานสอนให้มุ่งพุทธิภูมิ บุคคลจึงต้องประพฤติโพธิจริยา มีศีลโพธิสัตวเป็นที่อาศัย วินัยโพธิสัตวนี้สาธารณทั่วไปแม้แก่ฆราวาสชนด้วย มีโพธิสัตวกุศลศีลสูตร 9 ผูก, พุทธ ปิฏกสูตร 4 ผูก, พรหมชาลสูตร (ต่างฉบับกับบาลี) 2 ผูก, โพธิสัตวศีลมูลสูตร 1 ผูก และอื่นๆ อีก พึงสังเกตว่าเรียกคัมภีร์เหล่านี้ว่า ?สูตร? มิได้จัดเป็นปิฎกหนึ่งต่างหาก อรรถกถาพระสูตรของคันถรจนาจารย์อินเดีย
    [แก้] พระสุตตันตปิฎกมหายาน


    ชื่อพระสูตรสำคัญของมหายานที่คนส่วนใหญ่รู้จัก รวบรวมจากหนังสือของคณะสงฆ์จีนนิกายมี ดังนี้
    1. ปรัชญาปารมิตา
    2. อวตังสกะสูตร
    3. คัณฑวยุหสูตร
    4. ทศภูมิกสูตร
    5. วิมลเกียรตินิทเทศสูตร
    6. ศูรางคมสมาธิสูตร
    7. สัทธรรมปุณฑริกสูตร
    8. ศรีมาลาเทวีสูตร
    9. พรหมชาลสูตร
    10. สุขาวดีวยุหสูตร
    11. ตถาคตครรภสูตร
    12. อสมปูรณอนุสูตร
    13. อุตรสรณสูตร
    14. มหาปรินิรวาณสูตร
    15. สันธินิรโมจนสูตร
    16. ลังกาวตารสูตร
    17. พระสูตร 42 บท หรือ พระพุทธวจนะ 42 บท ชาวมหายานเชื่อว่าเป็นสูตรแรกที่ได้รับการแปลสู่พากย์จีน โดยท่านกาศยปะมาตังคะ และท่านธรรมรักษ์ เมื่อ พ.ศ. 612 รัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเม่งเต้ แห่งราชวงศ์ฮั่น
    18. โมหมาลาหรือร้อยอุทาหรณ์สูตร ซึ่งพระสิงหเสนเถระคัดมาจากนิทานที่ปรากฏในพระสูตร แล้วยกขึ้นมาตั้งเป็นอุทาหรณ์ (คณะสงฆ์จีนนิกายมหายาน. ม.ป.ป. : 225)
    ในบรรดาพระสูตรเหล่านี้ ปรัชญาปารมิตาสูตรจัดว่าเป็นสูตรดั้งเดิมที่สุด เป็นมูลฐานทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องศูนยตา นอกจากนี้ก็มีอวตังสกสูตร เป็นสูตรสำคัญที่สุดของนิกายมหายาน เพราะเป็นพระสูตรที่เชื่อกันว่า พระพุทธองค์ทรง สั่งสอนเองเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในขณะที่พระองค์เข้าสมาธิ เข้าใจกันว่า ใจความสำคัญขอ'พระสูตรนี้ น่าจะเป็นของ พระโพธิสัตว์มากกว่า ซึ่งเราจะพิจารณาได้จากข้อความในหนังสือพระพุทธศาสนานิกายมหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย (ม.ป.ป. : 228-229)
    นอกจากนี้ก็มีพระสูตรที่สำคัญอีกเช่นกันคือ วิมลเกียรตินิทเทศสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีปรัชญาเป็นมูลฐาน นิกายเซ็น ( Zen ) จึงชอบและนิยมมากที่สุด และพระสูตรที่สำคัญที่สุดซึ่งนิกายมหายานในจีนและญี่ปุ่นนับถือกันมากคือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร คำสั่งสอนในนิกายเท็นได นิจิเร็น ล้วนอาศัยพระสูตรนี้เป็นรากฐานทั้งสิ้น และวัดในนิกายเซ็น ก็ต้องสวดพระสูตรนี้เป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่า พระสูตรนี้เป็นพระสูตรสุดท้ายของพระพุทธองค์จึงมีผู้แปลมาก โดยเฉพาะในภาษาจีนมี 3 ฉบับ แต่ที่ถือกันว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด คือ ของท่านกุมารชีพ
    พระสูตรมหายานแบ่งเป็นหมวดได้ดังนี้
    [แก้] หมวดอวตังสกะ

    หมวดนี้มีพระสูตรใหม่สูตรหนึ่งเป็นหัวใจคือ พุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร 80 ผูก และมีสูตรปกิณณะย่อยๆ อีกหลายสูตร
    [แก้] หมวดไวปุลยะ

    มีพระสูตรใหญ่ชื่อมหารัตนกูฏสูตร 120 ผูก เป็นหัวใจ มหาสังคีติสูตร 10 ผูก, มหายานโพธิสัตว์ปิฎกสูตร 20 ผูก, ตถาคตอจินไตยรหัศยมหายานสูตร 30 ผูก, สุวรรณประภาสสูตร 10 ผูก, กรุณาปุณฑริกสูตร 11 ผูก, มหายานมหาสังคีติกษิติครรภทศจักรสูตร 10 ผูก, มหาไวปุลยมหาสังคีติโพธิสัตวพุทธานุสสติสมาธิสูตร 10 ผูก,จันทร ประทีปสมาธิสูตร 11 ผูก, ลังกาวตารสูตร 7 ผูก, สันธินิรโมจนสูตร 5 ผูก, วิเศษจินดาพรหมปุจฉาสูตร 4 ผูก, อักโษภยพุทธเกษตรสูตร 2 ผูก, ไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสปูรวประณิธานสูตร 2 ผูก, ลมโยปมสมาธิสูตร 3 ผูก, ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร 1 ผูก, อมิตายุรธยานสูตร 1 ผูก, มหาสุขาวดีวยูหสูตร 2 ผูก, อจินไตยประภาสโพธิสัตวนิทเทสูตร 1 ผูก, ศูรางคมสมาธิสูตร 3 ผูก, วิมลกีรตินิทเทศสูตร 3 ผูก และอื่นๆ อีกมากสูตรนัก ฯลฯ
    อนึ่งคัมภีร์ฝ่ายลัทธิมนตรยานก็จัดสงเคราะห์ลงในหมวดไวปุลยะนี้ มีพระสูตรสำคัญ เช่น มหาไวโรจนสูตร 7 ผูก, เอกอักขระพุทธอุษฯราชาสูตร 6 ผูก, มหามณีวิปุลยะวิมาน วิศวศุภประดิษฐานคุหยปรมรหัสยะกัลปราชธารณีสูตร 3 ผูก, สุสิทธิกรสูตร 3 ผูก, วัชร เสขรสูตร 7 ผูก, โยคมหาตันตระราชาสูตร 5 ผูก, มหามรีจิโพธิสัตวสูตร 7 ผูก, วัชรเสข ระประโยคโหมตันตระ 1 ผูก, มหาสุวรรณมยุรีราชาธารณีสูตร 2 ผูก ฯลฯ
    [แก้] หมวดปรัชญา

    มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรัชญาปารมิตาสูตร 600 ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น ราชไมตรีโลกปาลปารมิตาสูตร 2 ผูก วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร 1 ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ
    [แก้] หมวดสัทธรรมปุณฑริก

    มีพระสูตรใหญ่ ชื่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร 8 ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น อนิวรรตธรรมจักรสูตร 4 ผูก, วัชรสมาธิสูตร 2 ผูก, มหาธรรมเภรีสูตร 2 ผูก, สมันตภัทรโพธิสัตวจริยธรรมธยานสูตร 1 ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ
    [แก้] หมวดปรินิรวาณ

    มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรินิรวาณสูตร 40 ผูก เป็นหัวใจ มีสูตรปกิณณะ เช่น มหากรุณาสูตร 5 ผูก, มหามายาสูตร 2 ผูก, มหาเมฆสูตร 4 ผูก, อันตรภาวสูตร 2 ผูก เป็น อาทิ ฯลฯ
    [แก้] อรรถกถาสุตตันตปิฎกมหายาน

    มี 33 ปกรณ์ เช่น มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ 100 ผูก แก้คัมภีร์มหาปรัชญาปารมีตาสูตร, ทศภูมิวิภาษาศาสตร์ 15 ผูก, สัทธรรมปุณฑริกสูตรอุปเทศ 2 ผูกเป็นอาทิ อรรถกถาพระสูตรของคันถรจนาจารย์จีน
    มี 38 ปกรณ์ เช่น อรรถกถาพุทธาวตังสกมหาไพบูลยสูตร 60 ผูก และปกรณ์ ประเภทเดียวกันอีก 5 คัมภีร์ นอกนั้นมีอรรถกถาลังกาวตารสูตร 8 ผูก, อรรถกถาวิมล กีรตินิทเทศสูตร 10 ผูก, อรรถกถาสุวรรณประภาสสูตร 6 ผูก, อรรถกถาสัทธรรม ปุณฑริกสูตร 20 ผูก, อรรถกถามหาปรินิรวาณสูตร 33 ผูก เป็นอาทิ
    ปกรณ์วิเศษของคันถรจนาจารย์อินเดีย มี 104 ปกรณ์ เช่น โยคาจารภูมิศาสตร์ 100 ผูก, ปกรณารยวาจาศาสตร์การิกา 20 ผูก, มหายานอภิธรรมสังยุกตสังคีคิศาสตร์ 16 ผูก, มหายานสัมปริครหศาสตร์ 3 ผูก, มัธยานตวิภังคศาสตร์ 2 ผูก เหตุวิทยาศาสตร์ 1 ผูก, มหายสนศรัทโธตปาทศาสตร์ 2 ผูก, มาธยมิกศาสตร์ 2 ผูก, ศตศาสตร์ 2 ผูก, มหายานวตารศาสตร์ 2 ผูก, มหายาน โพธิสัตวศึกษาสังคีติศาสตร์ 11 ผูก, มหายานสูตราลังการ 15 ผูก, ชาตกมาลา 10 ผูก, มหาปุรุษศาสตร์ 2 ผูก, สังยุกตอวทาน 2 ผูก ทวาทศทวารศาสตร์ 1 ผูก นอกนั้นก็เป็นปกรณ์สั้นๆ เช่น วิฃญาณมาตราตรีทศศาสตร์, วีศติกวิชญานมาตราศาสตร์, อลัมพนปริกษ ศาสตร์, อุปายหฤทัยศาสตร์, หัตถธารศาตร์, วิชญานประวัตรศาสตร์, วิชญานนิทเทศ ศาสตร์, มหายานปัญจสกันธศาสตร์เป็นอาทิ
    [แก้] พระอภิธรรมปิฎกมหายาน

    ส่วนพระอภิธรรมของมหายาน กำเนิดขึ้นเมื่อล่วงได้ 500 ปี นับแต่พุทธปรินิพพาน ในครั้งแรกไม่จัดเข้าเป็นปิฎก แต่พึ่งมาจัดเข้าในภายหลัง เรียกว่า ศาสตร์ เป็นนิพนธ์ของคณาจารย์อินเดีย เช่น นาคารชุน เทวะ อสังคะวสุพันธุ สถิรมติ ธรรมปาละ ภาวิเวก และทินนาค เป็นต้น ศาสตร์ของพวกมหายานส่วนใหญ่เป็นของฝ่ายวิชญาณวาทิน และศูนยตวาทิน ศาสตร์ที่ใหญ่และยาวที่สุด คือ โยคาจารภูมิศาสตร์
    [แก้] วิสุทธิภูมิหรือพุทธเกษตร

    มหายานมีมติว่า พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์มีจำนวนมากมายดุจเมล็ดทรายในคงคานที และในจักรวาลอันเวิ้งว้างนี้ ก็มีโลกธาตุที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติแสดงพระสัทธรรมเทศนาอยู่ทั่วไปนับประมาณมิได้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แม้ในโลกธาตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แต่ในขณะนี้ ณ โลกธาตุอื่นก็มีพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และกำลังสั่งสอนสรรพสัตว์ โลกธาตุที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัตินั้น บางทีเรียกว่า “พุทธเกษตร” บางพุทธเกษตรบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยทิพยภาวะน่ารื่นรมย์ สำเร็จแล้วด้วยอำนาจปณิธานของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็มี สำเร็จแล้วด้วยกรรมนิยมของสัตว์ก็มี เป็นสถานที่สรรพสัตว์ในโลกธาตุอื่น ๆ ควรมุ่งไปเกิด พุทธเกษตรสำคัญที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางในหมู่พุทธศาสนิกชนคือ สุขาวดีพุทธเกษตร ของพระอมิตาภะพุทธะ อยู่ทางทิศตะวันตกแห่งโลกธาตุนี้ พุทธเกษตรของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา อยู่ทางทิศตะวันออก เป็นพุทธเกษตรซึ่งมีรัศมีไพโรจน์แล้วด้วยมณีไพฑูรย์ พุทธเกษตรของพระอักโษภยะแห่งหนึ่ง และมณฑลเกษตรของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ในดุสิตสวรรค์อีกแห่งหนึ่ง เกษตรทั้ง 4 นี้ ปรากฏว่าสุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะ เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานมากที่สุด ถึงกับสามารถตั้งเป็นนิกายโดยเอกเทศต่างหาก
    วิสุทธิภูมิเป็นหลักการสำคัญของมหายาน โดยนับเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะยังสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ด้วยวิธีตั้งจิตประณิธานพึ่งอำนาจพุทธบารมีแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อไปอุบัติยังแดนพุทธเกษตรเหล่านั้น หากสรรพสัตว์มีศรัทธาเชื่อมั่นในพุทธบารมีย่อมสามารถไปอุบัติ ณ พุทธเกษตร เมื่อได้สดับธรรมะต่อเบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ ดินแดนนั้นแล้ว ย่อมบรรลุนิรวาณอันสงบ มหายานอธิบายว่าวิธีการหลุดพ้นจากสังสารวัฏเป็นได้ 2 กรณี คือพึ่งอำนาจตนเอง และพึ่งอำนาจผู้อื่น (คือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์) การมุ่งขัดเกลากิเลสด้วยตนเองอาจเป็นไปได้ยากสำหรับปุถุชนสามัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคเสื่อมของพระสัทธรรม ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดจะนำสรรพสัตว์ถ้วนหน้าไปสู่ความหลุดพ้นก็คือการพึ่งอำนาจบารมีพระพุทธองค์ รับสรรพสัตว์เหล่านั้นไปสู่วิสุทธิภูมิเพื่อปฏิบัติธรรมและตรัสรู้ ณ ดินแดนนั้น อันเอื้ออำนวยต่อการหลุดพ้นมากกว่าโลกนี้ อย่างน้อยที่สุด ณ พุทธเกษตรเหล่านั้นก็จะไม่มีความทุกข์ใด ๆ ทุกผู้ทุกนามที่มีจิตตั้งมั่นอธิษฐานอุทิศขอไปเกิดยังพุทธเกษตรก็ย่อมได้อุบัติในพุทธเกษตรทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็ด้วยปณิธานแห่งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ณ พุทธเกษตรเหล่านั้นนั่นเอง ผู้ที่อุบัติในพุทธเกษตรย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เวียนลงต่ำ ย่อมไม่เกิดในโลกมนุษย์ตลอดจนภูมิที่ต่ำลงมาอีกแล้ว มุ่งตรงต่อพระนิรวาณอย่างเที่ยงแท้ หลักการนี้จึงมีคำกล่าวว่า "มหายานสำหรับมหาชน" กล่าวคือสามารถรื้อขนสรรพสัตว์ไปสู่ความหลุดพ้นได้โดยเสมอภาคนั่นเอง
    อย่างไรก็ตาม ในหมู่คณาจารย์ของนิกายมหายานก็ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไปในประเด็นนี้ เช่น นิกายสุขาวดีถือว่าพระอมิตาภะมีอยู่จริงและสุขาวดีอยู่ทางทิศตะวันตกของโลกนี้อย่างแน่นอน ขณะที่คณาจารย์บางท่านอธิบายว่าพระอมิตาภะแท้จริงแล้วก็คือพุทธภาวะที่บริสุทธิ์มีในสรรพสัตว์ และถือว่าวิสุทธิภูมินั้นก็อยู่ภายในจิตของเราเอง ดังที่ท่านเว่ยหล่างแห่งนิกายเซนกล่าวว่า "คนหลงสวดภาวนาถึงพระอมิตาภะปรารถนาไปอุบัติยังสุขาวดี แต่บัณฑิตพึงชำระจิตของตนให้สะอาด..." และในวิมลกีรตินิรเทศสูตรก็มีข้อความว่า "เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว พุทธเกษตรก็ย่อมบริสุทธิ์" ดังนี้เป็นต้น
    [แก้] การบำเพ็ญบารมี (ทศปารมิตา)


    โพธิสัตวยาน คือยานของพระโพธิสัตว์ ได้แก่ผู้บำเพ็ญบารมีธรรม ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม หลักพระโพธิสัตวยานนั้น ถือว่าจะต้องโปรดสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นทุกข์เสียก่อนแล้วตัวเราค่อยหลุดพ้นทุกข์ทีหลัง คือจะต้องชักพาให้สัตว์โลกอื่น ๆ ให้พ้นไปเสียก่อน ส่วนตัวเราเป็นคนสุดท้ายที่จะหลุดพ้นไป เป็นหลักแห่งโพธิสัตวยาน ซึ่งพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญ ทศปารมิตา คือบารมี 10 ของฝ่ายมหายาน ได้แก่
    • ทานปารมิตา หรือ ทานบารมี
    • ศีลปารมิตา หรือ ศีลบารมี
    • กฺษานฺติปารมิตา หรือ ขันติบารมี
    • วีรฺยปารมิตา หรือ วิริยบารมี
    • ธฺยานปารมิตา หรือ ฌานบารมี
    • ปฺรชฺญาปารมิตา หรือ ปัญญาบารมี
    • อุปายปารมิตา หรืออุบายบารมี
    • ปฺรณิธานปารมิตา หรือประณิธานบารมี
    • พลปารมิตา หรือ พลบารมี
    • ชฺญานปารมิตา หรือ ญาณบารมี
    [แก้] นิกายย่อยของมหายาน


    พุทธศาสนามหายานแตกเป็นนิกายย่อยๆต่างกันไปในแต่ละประเทศดังนี้
    [แก้] มหายานในประเทศไทย

    [แก้] ดูเพิ่ม

    [แก้] อ้างอิง

    1. ^ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ ปัญจสติกขันธกะ (เรื่องพระมหากัสสปเถระ สังคายนาปรารภคำของพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต). พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52
    • คณะสงฆ์จีนนิกาย.พระพุทธศาสนามหายาน.กรุงเทพ ฯ : ธนาคารกรุงเทพพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ,2531.
    • ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม.โอเดียนสโตร์. 2548
    • เสฐียร พันธรังษี.พุทธศาสนามหายาน.กรุงเทพ ฯ : สุขภาพใจ,2543.
    • เสถียร โพธินันทะ.ปรัชญามหายาน.กรุงเทพ ฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย,2541.
    • อภิชัย โพธิประสิทธิศาสตร์.พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพ ฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย,2539.
    • Conze, Edward. Buddhist Scripture. London : Penguin Book, 1973.
    • D.T.Suzuki.Outline of Mahayana Buddhism.New York : Schocken Book,1973.
    • Davids, Rhys. Buddhism India. Patna :Indological Book House,1973.
    • Dayal H. The Bodhisattva Doctrine In Buddhist Sanskrit Literature. Delhi: Motilal Banarasidas,1970.
    • Dutt, Nalinaksha. Mahayana Buddhism. Delhi : Motilal Banarasidas,1977.
    • Kimura, Ryukan. History of Term Hinayana and Mahayana and The Origin of Mahayana Buddhism. Patana : Indological Book,1978.
    • McGovern,W.M.An Introduction to Mahayana Buddhism.Vanarasi : Sahityaratan Malakarijalaya,1967.
     
  9. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->[​IMG]
    คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย เป็นคณะสงฆ์นิกายมหายาน ถือกำเนิดมาจากชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบนผืนแผ่นดินไทย ได้นำเอาวัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อดั้งเดิมของตนเข้ามาประพฤติปฏิบัติ แรกเริ่มที่ยังไม่มีพระภิกษุ ชาวจีนได้สร้างศาลเจ้าขึ้นก่อนเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและเป็นศูนย์กลางในการประกอบพิธีกรรม ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระภิกษุจีนแถบมณฑลกวางตุ้งจาริกเข้ามาปฏิบัติศาสนกิจมากขึ้น นำไปสู่การจัดระเบียบการบริหารการปกครอง คณะสงฆ์จีนได้ถือกำเนิดขึ้นบนแผ่นดินไทยและมีความเจริญสืบเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน
    <TABLE class=toc id=toc sizset="0" sizcache="0"><TBODY sizset="0" sizcache="0"><TR sizset="0" sizcache="0"><TD sizset="0" sizcache="0">เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>[แก้] ประวัติ

    [​IMG] [​IMG]
    พระอาจารย์สกเห็ง


    นับจากราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา ชนชาติไทยและจีนได้มีการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้า จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรสุโขทัยได้ก่อตั้งขึ้น ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศก็เพิ่มพูนขึ้น ชาวจีนจากมณฑลกวางตุ้ง และฮกเกี้ยน ได้ทะยอยมาทำมาหากินในไทย แม้จนกษัตริย์แห่งสุโขทัยได้ไปนำเทคนิคการทำกระเบื้องเคลือบ (สังคโลก)มาสู่ประเทศไทย
    ถึงสมัยอยุธยา ชาวจีนในไทยมีมากขึ้น จนเกิดเป็นย่านชาวจีนขึ้น และมีชาวจีนเข้ารับราชการในราชสำนักไทย จนอยุธยาเสียแก่ข้าศึก พระยากำแพงเพชร (ตากสิน) ผู้มีบิดาเป็นชาวจีนได้นำทหารไทย-จีน ฝ่าวงล้อมข้าศึกและกอบกู้เอกราชไทยได้สำเร็จ โดยตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรี ในระหว่างสมัยทั้งสามที่ผ่านมา ชาวจีนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า ปะปนกัน คงมีเพียงศาลเจ้าแบบจีน ยังไม่มีการสร้างวัดขึ้น ชาวจีนคงอาศัยทำบุญในวัดไทยนั่นเอง
    สมัยกรุงธนบุรี ประเทศเวียดนามเกิดกบฏ ชาวเวียดนามอพยพมาไทย จำนวนมาก ชาวจีนและญวน ในครั้งนี้ได้ร่วมกันสร้างวัดให้พระสงฆ์อนัมนิกายจำพรรษาขึ้นหลายแห่ง จนมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สถาปนาเมื่อปี 2325 ในรัชกาลที่1 ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพระยาราชาเศรษฐี และพวกจีน โดยโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายพวกจีนไปอยู่ที่บริเวณ วัดสัมพันธวงศ์ (ปัจจุบันที่เรียกว่าสำเพ็ง) สมัยรัชกาลที่ 3 ทั้งสองประเทศมีการติดต่อกันทางด้านศิลปกรรมเพิ่มขึ้นเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดสร้างพระอาราม และยังโปรดศิลปพระราชนิยมแบบจีน
    จวบจนสมัยรัชกาลที่ 5 พระอาจารย์สกเห็ง พระเถระนิกายฌานหรือนิกายเซ็นสาขาหลินฉี (วิปัสสนากรรมฐาน)ชาวจีน จาริกมาจากประเทศจีน ราวก่อนปี พ.ศ. 2414 และพำนักจำพรรษาที่วิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ร้าง กวนอิม ชื่อ “ ย่งฮกอำ ” มีป้ายชื่อลงปีรัชกาลเฉียนหลง ปีอิกเบ้า (ค.ศ. 1795 ) ตรงกับ พ.ศ. 2338 กล่าวกันว่าสร้างโดยชาวจีนในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนสร้างวัดกุศลสมาคร ฝ่ายอนัมนิกาย (วัดญวน) ได้มีพระอนัมมาอาศัยพักอยู่ชั่วคราว เมื่อสร้างวัดเสร็จจึงย้ายไปอยู่วัดญวน
    สาธุชนชาวจีนได้เห็นจริยาวัตรท่านน่าเลื่อมใสศรัทธาจึงช่วยท่านปฏิสังขรณ์วิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น “ ย่งฮกยี่ ” มีป้ายชื่อลงปี พ.ศ. 2430 (รัชกาลกวงสู ปีที่ 13 ค.ศ. 1887 ) แล้วกราบบังคมทูลขอพระราชทานนามวัดจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระราชทานนามวัดว่า “ วัดบำเพ็ญจีนพรต ” (ปัจจุบันยังมีป้ายพระราชทานนามวัดประดิษฐานอยู่ด้านหน้าอุโบสถ) และทรงโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ พระอาจารย์สกเห็งเป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปแรก
    นอกจากนี้ยังมีพระภิกษุไฮซัน ชาวมณฑลหูหนาน จาริกมาพำนัก ในอารามร้าง ต.บ้านหม้อ ต่อมาได้บูรณะเป็นวัดทิพยวารีวิหาร (กำโล่วยี่)
    กาลต่อมาเมื่อพระสงฆ์ฝ่ายจีนมีมากขึ้น พระอาจารย์สกเห็งเห็นควรขยายอารามให้พอเหมาะแก่จำนวนพระสงฆ์ จึงได้สร้างวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่)ขึ้น ปรากฏเป็นอารามฝ่ายจีนนิกายที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในครั้งนั้น รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการบริหาร ปกครอง คณะสงฆ์จีนนิกาย
    ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้สถาปนา พระอาจารย์สกเห็ง เป็นที่ พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ดูแลบริหารปกครองพระสงฆ์จีนนิกายในประเทศไทย ทั้งตำแหน่งปลัดซ้าย ปลัดขวา เพื่อช่วยบริหารปกครอง และมีพัดยศพร้อมสมณบริขารประกอบสมณศักดิ์ด้วย
    [แก้] ลำดับเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายจีนนิกาย

    [​IMG] [​IMG]
    พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก)เจ้าคณะใหญ่รูปปัจจุบัน


    รูปที่ 1 พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร (สกเห็ง) ปฐมบูรพาจารย์ วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) , วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) , วัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) ฉะเชิงเทรา, มีศิษย์รูปสำคัญคือ พระอาจารย์กวยหงอ, พระอาจารย์กวยล้ง
    รูปที่ 2 พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร (กวยหงอ) เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส รูปที่ 2มีศิษย์รูปสำคัญ คือ พระอาจารย์ตั๊กฮี้
    รูปที่ 3 พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร (โล่วเข่ง) เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส รูปที่3 ต่อมาลาออกและเดินทางกลับประเทศจีน พระภิกษุฟุกยิ้นรักษาการเจ้าอาวาสแทน ยุคนี้ พระอาจารย์ ตั๊กฮี้ได้สร้างวัดเทพพุทธาราม(เซียนฮุดยี่) จ.ชลบุรี และบรรพชาศิษย์จำนวนมากรูปสำคัญได้แก่ พระอาจารย์เซี่ยงหงี พระอาจารย์ เซี่ยงกี , พระอาจารย์เซี่ยงซิว
    รูปที่ 4 พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร (ย่งปิง) เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส รูปที่ 4
    รูปที่ 5 พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร (เซี่ยงหงี) ก่อนได้รับการสถาปณาเป็นเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสร และวัดเทพพุทธาราม มาก่อนหลังจากได้รับการสถาปณาแล้วจึงย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส รูปที่ 5 ยุคนี้พระอาจารย์เซี่ยงกี ศิษย์ผู้พี่ได้จาริกไปสร้างวัด เชงจุ้ยยี่ (ถ้ำประทุน) , เชงฮงยี่ เขาพระพุทธบาท สระบุรี ,สำนักสงฆ์มี่กัง กรุงเทพฯ พระอาจารย์เซี่ยงกี บรรพชากุลบุตร สืบสายคณะสงฆ์จีนนิกาย ที่สำคัญ คือ พระอาจารย์ ซุ่นเคี้ยง , พระอาจารย์อิ้วเคียม (ล่งง้วน)
    รูปที่ 6 พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) บรรพชาในสำนัก พระอาจารย์ อิ้วเคียม ณ วัดเชงจุ้ยยี่ ท่านเป็นผู้พัฒนาคณะสงฆ์ จีนนิกาย สู่ยุคใหม่เป็นปฐมบูรพาจารย์ วัดโพธิ์เย็น กาญจนบุรี , วัดโพธิ์แมนคุณาราม, กรุงเทพฯ, วัดโพธิ์ทัตตาราม ชลบุรีและ สำนักสงฆ์หลับฟ้ากรุงเทพฯ, รวมทั้งวางรากฐาน อุปสมบทกรรม บูรณะปฏิสังขรณ์ พระอารามจีนนิกาย จำนวนมาก ท่านได้วางรากฐาน ความมั่นคงของคณะสงฆ์จีนนิกายจนเป็นปึกแผ่น
    รูปที่ 7 พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระอาจารย์โพธิ์แจ้งมหาเถระ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสงฆ์จีนนิกาย เจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณารามและบุกเบิกสร้างวัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม เพื่อวางรากฐานการศึกษาศาสนาแก่คณะสงฆ์ในภาคเหนือของไทย
    [แก้] บูรพาจารย์ผู้สืบทอดมหายานในประเทศไทย

    นอกจากเจ้าคณะใหญ่ที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีคณาจารย์รูปอื่น ๆ ที่มีการบันทึกประวัติ และผลงานไว้ดังนี้
    • พระอาจารย์กวยหลง เป็นผู้ช่วยพระอาจารย์สกเห็ง เจ้าคณะใหญ่ ลำดับที่ ๑ มีความรู้แตกฉานทางด้านมหายาน ได้ช่วยเหลือในการสร้างวัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดนี้
    • พระอาจารย์ตั๊กฮี้ บรรพชา ณ สำนักวัดมังกรกมลาวาส โดยมีพระอาจารย์จีนวังสมาธิวัตร (กวยหงอ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และศึกษาธรรม ณ วัดมังกรกมาลาวาส ต่อมาได้ธุดงค์วัตร มาที่ ฉะเทริงเทรา และได้เป็นกำลังสำคัญในการก่อสร้างวัดจีนประชาสโมสร ต่อมาได้รับแต่ตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสรรูปต่อมา ได้เคยแสดงธรรมแก่ประชาชนชาวจีน ณ สำนักสงฆ์เต๊กฮ่วยตึ้ง จังหวัดเพชรบุรี เป็นประจำ ก่อนมาเป็นเจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสร ได้ทำการบรรพชาอุปสมบทศิษย์ จำนวน ๓๐ กว่ารูป ซึ่งต่อมาได้เป็นพระอาจารย์จีนที่มีชื่อหลายรูปด้วยกัน ต่อมาท่านได้จาริกแสดงธรรมมาถึงจังหวัดชลบุรี และได้สร้างวัดเทพพุทธาราม ขึ้น ชาวจีนเรียกว่า วัดเซียนฮุดยี่ เนื่องจากท่านเคยถือคติลัทธิเต๋ามาก่อน เพื่อมาบวชในพุทธศาสนาแล้วจึงให้ชื่อวัดดังกล่าวเพื่อเป็นอนุสรณ์
    พระอาจารย์ตั๊กฮี้ ก่อนท่านดับขันธ์ท่านได้เข้าฌานสมาบัติดับขันธ์ปัจจุบันสรีระธาตุท่าน ประดิษฐาน ณ วิหารบูรพาจารย์วัดเทพพุทธาราม


    • พระอาจารย์เซี่ยงหงี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในฝ่ายเถรวาท ที่วัดต้นไทร จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรในนิกายจีน เป็นศิษย์พระอาจารย์ตั๊กฮี และต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในสำนักพระอาจารย์กวยหงอ แล้วเดินทางไปบูชาปูชนียสถานในประเทศจีน เมื่ออายุได้ ๓๕ ปี ได้เดินทางมาประเทศไทยอีก และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสร ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส และได้เป็นพระอุปัชฌาย์จีนนิกาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒
    พระอาจารย์เซี่ยงหงี ก่อนดับขันธ์ท่านได้เข้าฌานสมาบัติดับขันธ์ ปัจจุบันสรีระธาตุท่านประดิษฐาน ณ วิหารบูรพาจารย์ วัดจีนประชาสโมสร
    • พระอาจารย์เซี่ยงซิว เป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ได้เป็นกำลังช่วยพระอาจารย์ตั๊กฮี ในการสร้างถาวรวัตถุ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีสะพานและถนน เป็นต้น เป็นผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติด้านกัมมัฏฐาน และได้ออกจาริกเทศนาสั่งสอนประชาชนด้วยความเมตตากรุณา

    • พระอาจารย์เซี่ยงกี่ เป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ได้ออกบวชในสำนักพระอาจารย์ตั๊กฮีที่วัดจีนประชาสโมสร ได้ออกธุดงควัตรไปที่เขาพระพุทธบาท สระบุรี เข้าไปปฏิบัติโยคะธรรมที่ถ้ำประทุน และได้นำประชาชน สร้างวัดเซ็งจุ้ยยี่ขึ้น มีศิษย์หลายรูปที่มีชื่อเสียง เช่น พระอาจารย์โพธิแจ้ง เป็นต้น

    • พระอาจารย์ฮ่งเล้ง เดิมชื่อฮ่งเล้ง แซ่เตีย เป็นชาวจังหวัด เยี่ยวเพ้ง มณฑลมณฑลกวางตุ้ง เมื่อเดินทางมาประเทศไทยได้บวชที่วัดเช็งจุ้ยยี่ สมาทานธุดงควัตรตลอดเวลากว่า ๑๐ ปี แล้วกลับไปสักการะปูชนียสถานที่มาตุภูมิกับพระมาหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้งมาหาเถระ) ในระหว่างการเดินทางได้แวะสักการะพระเจดีย์ เซี้ยงฮู้ (เซี่ยงฮู้ถะ) ตั้งอยู่บนยอดเขา กูซัว ที่ตำบล ฮับซัว อำเภอ เตี้ยเอี้ย มณฑล กวางตุ้ง ขณะที่ท่านได้สักการระพระเจดีย์อยู่นั้นท่านทัศนาเห็นปวงทิพย์ชนแห่ลอยลงมาต้อนรับท่าน ตัวท่านเองในขณะนั้นได้เข้าสมาธิเกิดปิติตัวลอยขึ้นไปอยู่บนเจดีย์นั้น ท่ามกลางสายตาของประชาชนเป็นจำนวนมาก ท่านได้ทำการสวดมนต์ต์ต์ต์สรรเสริญคุณพระพุทธคุณแห่งพระศาสดาศากยะมุนีพุทธเจ้า และสักการะและทักษิณาวัตรพระธาตุบนเจดีย์แล้ว ก็กระเหาะลงมาจากยอดพระเจดีย์ลงมาเบื้องล่าง ร่างของท่านเมื่อเหยียบถึงพื้นดินบริเวณพื้นดินที่ท่านได้เหยียบลงไปนั้นกลายเป็นวงกลมมีเม็ดทรายสีทองขึ้นมาและท่านยืนแน่นิ่งไม่เอนเอียง หันหน้าไปทางทิศตะวันตกถึงแก่กาลดับขันธ์ลง สรีระของท่านตั้งมั่นอยู่เช่นนั้น 7 วัน 7 คืน ประชาชนจึงถวายนามท่านว่าพระลิบผู่สัก ซึ่งหมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้สำเร็จธรรมในท่ายืน ปัจจุบันสรีระธาตุของท่านไม่เน่าเปื่อย และยังคงประดิษฐานอยู่ ณ เจดีย์เซี้ยงฮู้ มลฑลกวางตุ้ง

    • พระมหาคณจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิแจ้งมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปที่ ๖ เป็นพระราชาคณะสัญญาบัตร (เทียบชั้นธรรมพิเศษ) ฝ่ายวิปัสสนา พระอาจารย์โพธิ์แจ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้เดินทางมาประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เพื่อศึกษาหลักธรรม และสักการะปูชนียสถานต่าง ๆ และได้ขอบรรพชา ณ สำนักสงฆ์ถ้ำประทุน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ มีฉายาว่า โพธิแจ้ง ได้ออกบำเพ็ญเพียรศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ ๖ พรรษา จนแตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาพุทธบริษัทมาก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้เดินทางไปประเทศจีน เพื่อเข้ารับการอุปสมบท แล้วอยู่ศึกษาธรรมเพิ่มเติมอีก ๒ ปี จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เดินทางไปประเทศจีนอีกครั้งหนึ่ง และได้จาริกไปถึงแคว้นคามธิเบตตะวันออก เพื่อศึกษาลัทธิมนตรยาน ณ อารามรินโวเช่ และท่านได้ศึกษาพระคัมภีร์จนแตกฉาน และได้รับเกียตริสูงสุดในการถ่ายทอดตำแหน่งเป็นสังฆนายก องค์ที่ 18 แห่งนิกายมนตรายาน จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย และในปีต่อมาได้เดินทางไปประเทศจีนเป็นครั้งที่สาม ได้รับแต่งตั้งเป็น พระปรมัตตาจารย์ จากประมุขเจ้านิกายวินัยของประเทศจีน ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งสังฆนายกนิกายวินัย องค์ที่ 19 เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็น หลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์ ตำแหน่งปลัดซ้าย เจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์จีนนิกาย
    พระมาหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ ก่อนถึงกาลดับขันธ์ท่านรู้ด้วยฌานสมาบัติ และได้เข้าฌานสมาบัตินั่งสมาธิดับขันธ์ ปัจจุบันสรีระธาตุท่านประดิษฐาน ณ วิหารบูรพาจารย์ วัดโพธิ์แมนคุณาราม
    [แก้] ความเจริญของคณะสงฆ์จีนนิกาย

    ไฟล์:po3tung.gif ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง (โผ๋วเจ๋งไต่ซือ)ขณะรับมอบตำแหน่งสังฆราช ประมุขเจ้านิกายวินัยองค์ที่ 19 แห่งประเทศจีน


    การดำเนินงานและการปกครองของคณะสงฆ์จีนนิกาย ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เจริญดีขึ้น หลายประการด้วยกัน อาทิ
    • ภายหลังจากท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งได้รับตำแหน่งสังฆนายกนิกายวินัย แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน แล้วท่านได้ธุดงค์กลับประเทศไทย ท่านได้นำพระคัมภีร์ต่าง ๆ กลับมาเมืองไทย และมีการเริ่มแปลพระคัมภีร์ต่าง ๆ เป็นภาษาไทย และมีการแปลพระวินัย สิกขาบทของฝ่ายมหายาน ขึ้น เพื่อให้ภิกษุในสำนักฝ่ายมหายาน ซึ่งมีวัดโพธิ์เย็นเป็นศูนย์กลางการศึกษา ของนิกายวินัย และนิกายมนตรายาน ได้เรียนรู้และเข้าใจหลักพระวินัย และยึดถืออย่างเคร่งครัด
    • เกิดมีระเบียบการบรรพชาอุปสมบทในฝ่ายสงฆ์จีนนิกายขึ้น เนื่องจากแต่เดิมพระสงฆ์ จีนล้วนอุปสมบทมาจากประเทศจีนทั้งสิ้น เพราะที่ประเทศไทยไม่มีสีมามณฑลอันชอบด้วยวินัยนิยมตามคติของฝ่ายจีน ดังนั้นจึงมีแต่การบรรพชาสามเณรในไทยได้เท่านั้น ครั้นเมื่อสร้างวัดโพธิเย็นขึ้น ที่ตลาดลูกแก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี พระอาจารย์โพธิแจ้งผู้สร้างก็ได้ประกอบพิธี สังฆกรรมผูกพัทธสีมา ตามวินัยนิยม จึงเป็นวัดจีนวัดแรกในประเทศไทย ที่ให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรได้ ครั้งนั้น พระสาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดมกุฎกษัตริยาราม สั่งการแทนสมเด็จพระสังฆนายก ได้กำหนดระเบียบพระอุปัชฌาย์ และระเบียบการบรรพชาอุปสมบทฝ่ายสงฆ์จีนนิกาย กล่าวคือ ผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณรก็ดี จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุก็ดี ต้องมาขอบรรพชาอุปสมบทต่อ พระอุปัชฌาย์จีน ที่สมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งขึ้นเท่านั้น และพระอาจารย์โพธิแจ้ง ก็ได้รับบัญชาแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์จีนรูปแรก ให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร ที่สวัดโพธิเย็นเป็นแห่งแรก ปรากฏว่ามีกุลบุตรชาวจีน เข้ามาขอบรรพชาอุปสมบท ในปีหนึ่งเป็นจำนวนมาก การบรรพชาอุปสมบท ในคณะสงฆ์จีนนิกาย ก็เป็นไปเช่นเดียวกับการบรรพชาอุปสมบทของพระสงฆ์ไทย กล่าวคือการบวชและการลาสิกขาเป็นไปตามความสมัครใจ ไม่ได้มีการบังคับว่า เมื่อบวชแล้วจะต้องอยู่ในสมณเพศตลอดไป
    • เริ่มมีกรรมการคณะสงฆ์จีนนิกาย นับตั้งแต่มีวัดจีนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ภิกษุจีนบางรูปได้ทำการสร้างสำนักสงฆ์อยู่กระจัดกระจายทั่วไปในกรุงเทพ ฯ ท่านเจ้าคณะใหญ่จึงได้ กราบทูลสมเด็จพระสังฆนายก เพื่อพิจารณาแต่งตั้งกรรมการสงฆ์จีนนิกาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตติโสภณเถระ) แห่งวัดเบญจมบพิตร ผู้เป็นสังฆนายก จึงได้มีพระบัญชาแต่งตั้งพระเถระฝ่ายจีนนิกาย ขึ้นเป็นคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกาย เพื่ออำนวยการปกครองดูแลวัด และสำนักสงฆ์จีนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบ ซึ่งในคณะกรรมการ ฯ ครั้นนั้นมีพระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิแจ้ง) เป็นประธาน
    • ได้มีการฟื้นฟูพิธีถวายผ้ากฐินทานขึ้น ซึ่งความจริงสังฆกรรมทุกอย่างในฝ่ายมหายานนั้น ก็มีตรงกับสังฆกรรมฝ่ายเถรวาท แต่อาศัยความเหมาะสมกับกาลเทศะ และประเพณีบ้านเมือง ทางฝ่ายมหายานจึงคัดเอาแต่ที่อนุโลมกันได้มาปฏิบัติ ครั้นเมื่อพระสงฆ์จีนเข้ามาตั้งนิกายขึ้นในประเทศไทย พระคณาจารย์จีนจึงฟื้นฟูสังฆกรรมบางอย่างที่ละเว้นไปนานขึ้นมาปฏิบัติใหม่ ในสมัยเจ้าคณะใหญ่ลำดับที่ ๑ และที่ ๒ วัดมังกรกมลาวาส ก็เคยมีพิธีทอดกฐินเช่นดียวกับวัดไทย แต่เมื่อสิ้นสมัยของท่านทั้งสองแล้ว พิธีนี้ก็ได้หยุดชะงักไปช้านานประมาณ ๔๐ ปี จนมาถึงเจ้าคณะใหญ่ลำดับที่ ๖ (โพธิแจ้ง) จึงได้มีการฟื้นฟูสังฆกรรมนี้ขึ้นมาใหม่ ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่ง หลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์ ที่วัดโพธิเย็นเป็นวัดแรก และเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส ก็ได้มีพุทธบริษัทไทย - จีน ร่วมกันจัดกฐินสามัคคีขึ้น นับเป็นงานประจำปีที่สำคัญงานหนึ่ง ของคณะสงฆ์จีนนิกาย ในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้นมา
    [แก้] ทำเนียบวัดและสำนักสงฆ์

    เจ้าอาวาส พระมหาคณาจาร์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) - เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
    รองเจ้าอาวาส พระอาจารย์จีนวินยานุกร (เย็นอี่) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายขวาจีนนิกาย
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลวงจีนปลัดธรรมสมาธิวัตร (เย็นกุง) - คณานุกรมเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
    เลขที่ 323 ถนนสาธุประดิษฐ์ 19 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 โทร. 02 - 2112363 , 02 - 2117885 โทรสาร 02 - 2127777
    เจ้าอาวาส พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) รองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
    เลขที่ 423 ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทร. 02 - 2223975 , 02 - 2266533
    • 3. วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม (บ่วงฮุกฉื่ออึ่งยี่) 萬佛慈恩寺
    รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลวงจีนธรรมนาทจีนประพันธ์ (เย็นจี่) ปลัดซ้ายจีนนิกาย
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลวงจีนธรรมธร (เสี่ยย้ง) คณานุกรมเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
    เลขที่ 80 หมู่ที่ 9 บ้านป่าไร่ ถนนสายบ้านกิ่วพร้าว-ปงน้อย ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 57110 โทร. 053-767040
    รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) รองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
    เลขที่ 75 ถนนเทศบาลสาย 9 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 ติดต่อวัดมังกรกมลาวาส โทร. 02-2223975
    • 5. วัดโพธิ์เย็น (โผวเย่งยี่) 普仁寺
    เจ้าอาวาส พระอาจารย์จีนวินยานุกร (เย็นอี่) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายขวาจีนนิกาย
    เลขที่ 33 ตลาดลูกแก ตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 71120 โทร.034-566004, 034-566454
    • 6. วัดฉื่อฉาง (ฉื่อฉางยี่) 慈善寺
    เจ้าอาวาส พระอาจารย์จีนธรรมานุกร (เย็นเฮ้า) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้ายจีนนิกาย
    เลขที่ 118 ถนนศุภสารรังสรรค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร.074-245348
    • 7. วัดโพธิทัตตาราม (โผวเต็กยี่) 普德寺
    เจ้าอาวาส พระอาจารย์จีนคณาณัติจีนพรต (เย็นเกา) ปลัดขวาจีนนิกาย
    เลขที่ 102 ถนนสุรศักดิ์ 1 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20110 โทร.038-311484
    ผู้ปกครองดูแลวัด หลวงจีนใบฎีกา (เย็นเมี้ยง)
    เลขที่ 686 ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000 โทร. 038 - 282940
    • 9. วัดทิพยวารีวิหาร (กัมโล่วยี่) 甘露寺
    เจ้าอาวาส หลวงจีนธรรมรัตจีนประจักษ์ (เย็นงี้) ผู้ช่วยปลัดขวาจีนนิกาย เลขานุการเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลวงจีนธรรมรักษ์จีนประจิต (เย็นอี่) ผู้ช่วยปลัดซ้ายจีนนิกาย
    เลขที่ 119 ซอยทิพยวารี ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02 - 2225988
    รักษาการแทนเจ้าอาวาส หลวงจีนธรรมรักษ์จีนประจิต (เย็นอี) ผู้ช่วยปลัดซ้ายจีนนิกาย
    เลขที่ 324 ตรอกเต้า ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100 โทร. 02 - 2224789
    • 11.วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ (ฉื่อปีซานผู่ทียี่) 慈悲山菩提寺
    เจ้าอาวาส หลวงจีนปลัด (เย็นหมง)
    หมู่ที่ 7 ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71120 โทร.01-2156882
    รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระอธิการเย็นจุง
    เลขที่ 291 ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 โทร. 038 - 511069
    • 13.วัดมังกรบุปผาราม (เล่งฮั้วยี่) 龍華寺
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลวงจีนเสี่ยคัง (จี้เซ้ง)
    ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 22130 โทร.039-397210
    • 14.วัดเล่งจิ๋วเจงเสี่ย 靈鷲精舍
    รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระอธิการเสี่ยปึ้ง (จี้เจี่ย)
    เลขที่ 40 ซอยสมปรารถนา ถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10320 โทร. 02-2451032
    • 15. สำนักสงฆ์สุธรรม
    หลวงจีนเสี่ยเจียว
    เลขที่ 354 หมู่บ้านเศรษฐกิจ ซอย 10 แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กทม. 10160 โทร 02-4211236
    • 16. สำนักสงฆ์กวงเม้งเจงเสี่ย
    เจ้าสำนักสงฆ์ หลวงจีนเจียงฮุ้ง
    เลขที่ 149 ถนนวรจักร แขวงเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบ กทม. 10100 โทร. 02-2234671
    • 17. สำนักสงฆ์กั๊กฮึ้งเนี่ยมฮุกลิ้ม
    เจ้าสำนักสงฆ์ หลวงจีนปึงจง
    เลขที่ 192 ซอยแม้นศรี 1 ถนนบำรุงเมือง เขจป้อมปราบฯ 10100 โทร. 02-2235996
    [แก้] อ้างอิง

    • คณะสงฆ์จีนนิกาย.พระพุทธศาสนามหายาน.กรุงเทพ ฯ : ธนาคารกรุงเทพพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ,2531.
    • ธีรยุทธ สุนทรา.พุทธศาสนามหายานในประเทศไทย จีนนิกายและอนัมนิกาย.กรุงเทพ ฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2540.
    • วัดมังกรกมลาวาส.ประวัติคณะสงฆ์จีนนิกาย.กรุงเทพ ฯ :โรงพิมพ์รุ่งนคร,2512.
    • วัดมังกรกมลาวาส.มหามังคลานุสรณ์.กรุงเทพ ฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย,2536.

    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

     

แชร์หน้านี้

Loading...