บทเรียนเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาและสร้างสรรค์สังคมไทย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 27 มีนาคม 2012.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]



    อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ค่ะhttp://www.watnyanaves.net/uploads/F...d_revised).pdf

    เครดิต pantip.com/cafe/religious/topic/Y11882329/Y11882329.html<!-- google_ad_section_end -->
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความรู้เรื่องพระไตรปิฏก
    ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
    ปาฐกถาโดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
    <HR width="50%" color=#800000 SIZE=1>............คำว่า เถรวาท แปลว่า วาทะของพระเถระ หมายความว่า พระอานนท์และพระเถระอื่นๆ ได้ประชุมกันรวบรวมพระพุทธพจน์ที่กระจัดกระจายอยู่ในที่นั้นๆ เอามาจัดเป็นหมวดหมู่แล้วก็ท่องจำสืบต่อกันมา ต่อมาได้มีนิกายย่อยๆ เกิดขึ้นมากหลาย ประมาณร้อยปีนั้น มีนิกายที่แตกแยกออกไปถึง ๘ นิกาย แต่ว่านิกายเหล่านั้นแตกแยกออกไปแล้ว ในที่สุดก็สลายตัวหมด คงเหลือแต่เถรวาท มาภายหลังเมื่อเกิดมหายาน ขึ้น มหายานก็เลยเรียกเถรวาท หรือพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมนี้ว่าเป็นหินยาน แล้วก็เรียกตัวเองว่า มหายาน แปลว่า ยานใหญ่ ส่วนหินยาน แปลว่า ยานเลวหรือว่ายานเล็กๆ น้อยๆ คือสมัยที่เกิดการแก่งแย่งกันขึ้นเลยเรียกเถรวาทด้วยชื่อที่ไม่ดี
    แต่ว่าในครั้งหลังเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เรามีการรวบรวมพุทธศาสนิกชนที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลกบรรดามีมาประชุมร่วมกัน ที่เรียกว่าพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The World Fellowship of Buddhist) ในครั้งแรกนั้น ก็ได้มีการเสนอญัตติขอให้เลิกเรียกคำว่าหินยานเพราะว่าเป็นการเรียกแบบดูหมิ่นกัน หรือว่าเป็นการแสดงความแข่งขันทะเลาะวิวาทกัน ให้คงเรียกเถรวาทตามเดิมคือวาทะของพระเถระที่ท่องจำพระพุทธวจนะสืบต่อกันมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า เราจะเห็นได้ว่า พระพุทธวจนะที่นำสืบต่อกันมาทางสายเถรวาทนี้ ได้พยายามรักษาของเก่าดั้งเดิมไว้ทุกอย่างไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทนี้ในปัจจุบันก็มีอยู่คือ ประเทศไทย ประเทศลังกา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา รวม ๕ ประเทศด้วยกัน ส่วนประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายมหายานนั้นก็ได้แก่ธิเบต ญวน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จำนวนก็จะพอๆ กัน แต่ว่าวิธีการทางฝ่ายมหายานนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้มีการแต่งตำราขึ้นมาใหม่บ้าง ดัดแปลงของเก่าบ้าง และก็มีวิวัฒนาการไปไกลมาก ถึงขนาดญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ ภิกษุเกือบจะทุกนิกายก็มีครอบครัวได้ มีภรรยาได้ ก็คงจะมีอยู่บางนิกายเท่านั้นที่ไม่มีครอบครัว นี่ก็เป็นวิวัฒนาการของฝ่ายมหายาน แต่ในฝ่ายเถรวาทซึ่งท่านใช้ภาษาบาลีเป็นหลักนั้นยังพยายามรักษาแบบแผน จะเรียกว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือคอนเซอร์เวตีฟก็ได้
    ทีนี้มีปัญหาว่า พระไตรปิฎกนี้มีมาตั้งแต่ครั้งไหน เดิมทีเดียวไม่ได้เรียกพระไตรปิฎก ในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่เรียกว่าธรรมกับวินัยเป็นพื้น แม้เมื่อตอนที่จะนิพพานตรัสสั่งสอนพระอานนท์ไว้ ก็ยังสั่งว่า “ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วงไปแล้ว ธรรมแลวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ก็จักเป็นศาสดาแทนเรา”นี่แปลว่าแม้เมื่อใกล้จะปรินิพพานก็ทรงเรียกว่าธรรมกับวินัย ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วได้มีการประชุมทำสังคายนา แต่ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องทำสังคายนาภายหลังพุทธปรินิพพาน จะขอพูดเท้าความว่ามีเหตุการณ์หลายอย่างที่ก่อให้เกิดความกังวลใจขึ้นในพระพุทธศาสนาเอง คือพระจุนทะ น้องชายพระสารีบุตรซึ่งเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เป็นห่วงเป็นใยเมื่อเห็นเหตุการณ์เกิดขึ้นในศาสนาอื่นแล้ว คือศาสนานิครนถ์ เกิดแตกแยกกันมากมาย ทะเลาะวิวาทกันเองในหมู่ศิษย์ของนิครนถนาฏบุตร ท่านเป็นผู้ไปหาพระอานนท์ก่อน ในฐานะที่พระอานนท์เป็นผู้ใกล้ชิดของพระพุทธเจ้า พระอานนท์ก็พาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแนะว่าควรจะทำสังคายนา หลักฐานอันนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะอย่างนั้นก็แปลว่าทรงเห็นการณ์ไกลว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สาวกควรจะได้รวบรวมคำสั่งสอนของพระองค์ให้เป็นหมวดเป็นหมู่ที่เรียกว่าการร้อยกรอง หรือการทำสังคายนา และเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ท่านพระสารีบุตรก็เคย คือตอนที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสารีบุตรเทศน์พระภิกษุแทนพระองค์ท่าน ในขณะที่ทรงแสดงธรรมในเวลากลางคืน และก็ทรงพักผ่อนให้พระสารีบุตรแสดงธรรมแทน พระสารีบุตรก็ชวนภิกษุทั้งหลายให้ช่วยกันทำสังคายนา
    นี่เป็นครั้งแรกที่แสดงว่ามีการรู้สึกว่าเป็นการจำเป็นแล้ว ที่จะต้องรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้เป็นหมวดหมู่ แต่ก่อนที่จะมีการรวบรวมนั้น คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นมาอย่างไร ก็ปรากฏในหลักฐานทางพระไตรปิฎกเองว่า การท่องจำมีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าแล้ว คือ พระโสณะกุฏิกัณณะ ซึ่งท่านบวชทางอินเดียภาคใต้ ท่านได้เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระอานนท์ก็จัดให้พักในกุฎีเดียวกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสถามถึงความเป็นไปต่างๆ แล้วก็ตรัสขอร้องให้ พระโสณะกุฏิกัณณะ นี่เองสวดหรือลองกล่าวพุทธวจนะให้ฟัง พระโสณะกุฏิกัณณะ ท่านท่องมาอย่างแม่นยำจากอุปัชฌาย์ของท่านแล้วคือ พระมหากัจจายนเถระ ท่านก็ว่าให้ฟังปากเปล่ามากมายหลายสูตรทีเดียว เป็นสูตรในสุตตนิบาต พระพุทธเจ้าทรงฟังแล้วก็ทรงชมเชยว่าเสียงดี อักขระชัดเจนดี ชัดถ้อยชัดคำดี ทรงยกย่องพระโสณะกุฏิกัณณะ นี่แปลว่าการท่องจำมีมาแล้ว แม้ในครั้งพุทธกาล
    เมื่อมาถึงสมัยพระอานนท์ๆ เป็นผู้ยอดเยี่ยมในการท่องจำ คือว่าบางครั้งท่านก็จำได้โดยไม่ต้องท่อง เป็นบุคคลที่มีความจำประเสริฐอย่างนี้ นับเป็นผู้ที่หาได้ยาก แล้วนอกจากนั้นท่านยังมีข้อสัญญากับพระพุทธเจ้าไว้ว่า อันไหนถ้าท่านไม่ทราบ คือพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมที่อื่นแล้วกลับมา ถ้าท่านไม่ได้อยู่ในที่นั้นด้วย ก็มีเงื่อนไขว่าจะต้องทรงเล่าให้พระอานนท์ฟัง เพื่อพระอานนท์จะได้ตอบแก่คนอื่นได้ว่า มีใครมาถามว่าเรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ไหน พระพุทธเจ้าต้องทรงยอมรับเงื่อนไขที่พระอานนท์ทูลขอร้อง นี้ก็แปลว่า การทรงจำพระไตรปิฎกได้มีมาแล้วในครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วได้สามเดือน พระเถระผู้ใหญ่ก็มีการประชุมกันทำสังคายนาครั้งแรก อันนั้นเป็นสังคายนาที่ทางฝ่ายมหายานและเถรวาทรับรองต้องกัน การทำสังคายนาครั้งแรกก็คือ จัดหมวดหมู่ แต่ว่าในครั้งนั้นเอง เมื่อดูตามประวัติศาสตร์ที่กล่าวในพระไตรปิฎก เป็นที่น่าประหลาดว่าประวัติการทำสังคายนาไปอยู่ในพระไตรปิฎก ก็แสดงให้เห็นว่า ได้เพิ่มประวัติศาสตร์เข้ามาในพระไตรปิฎก เมื่อประมาณสังคายนาครั้งที่สาม ที่มีการเพิ่มประวัติศาสตร์เข้าในพระไตรปิฎกด้วย เชื่อว่าเป็นการชี้ให้คนรุ่นหลังได้รู้ความเป็นมาในระยะแรกๆ ภายหลังพุทธปรินิพพาน คือในวินัยปิฎกเล่ม ๗ ฉบับไทยเล่าประวัติการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ และในประวัติตอนนั้นใช้คำว่า ธรรมและวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาธรรม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาวินัย คือเป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวแก่วินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาธรรมะ คำว่าธรรมะในที่นี้ก็หมายรวมทั้งพระสูตรพระอภิธรรม แต่ตามคัมภีร์มหายานฝ่ายธิเบต ท่านที่รับพิมพ์ได้แปลไว้จากฉบับธิเบต ถือว่าได้เรียกเป็นพระไตรปิฎก ตั้งแต่สมัยสังคายนาครั้งแรกแล้ว นี่ฝ่ายมหายานเรียกอย่างนั้น แต่ทางฝ่ายเถรวาทถึงตอนนั้นก็ยังไม่มีเรียกว่าพระไตรปิฎก มีการบันทึกไว้ว่าเรียกพระไตรปิฎกในชั้นพระอรรถกถา คือหนังสืออธิบายพระไตรปิฎกที่แต่งประมาณพันปี ภายหลังพุทธปรินิพพาน ต่อมาเมื่อถึงการสังคายนาครั้งที่สองก็ไม่กล่าวอีกว่าเรียกพระไตรปิฎก แต่เรียกพระธรรมพระวินัยตามเดิม เพราะฉะนั้นเห็นได้ว่าจากสำนวนในภาษาบาลี หรือในภาษาบาลีนั้น คำว่าพระไตรปิฎกนี่มีมาในสังคายนาครั้งที่ ๑
    เมื่อพูดถึงเรื่องสังคายนานี้ .......... ทำไมพม่าจึงเรียกว่าฉัฏฐสังคายนา คือ สังคายนาครั้งที่ ๖ แล้วไทยเราไปเกี่ยวข้องกับพม่าอย่างไร ในลังกาสังคายนากี่ครั้ง คือว่าประเทศเพื่อนบ้านเราเหล่านี้ ต่างรับรองหรือไม่รับรองกันและกันอย่างไร เพราะพม่านั้นสืบสายการสังคายนานั้นไม่ตรงกับไทยเรา แต่ว่าไม่ใช่หมายความว่ามีอะไรผิดเกิดขึ้น การสังคายนาครั้งที่ ๑ ได้กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้เพียง ๓ เดือน

     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความรู้เรื่องพระไตรปิฏก
    ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
    ปาฐกถาโดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ

    <HR width="50%" color=#800000 SIZE=1>ครั้งที่ ๒ ภายหลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๑๐๐ ปี ครั้งที่ ๓ ภายหลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๒๓๕ หรือ ๒๓๖ ปี อันนี้เป็นสังคายนาในอินเดีย แต่ว่าในสังคายนาครั้งที่ ๑ นั้น ทางฝ่ายมหายานเริ่มแตกแยกออกไปแล้ว เพราะฉะนั้นฝ่ายมหายานไม่รับรองสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่ทำในอินเดีย มีกล่าวถึงสังคายนาที่ยอมรับร่วมกันจากพระไตรปิฎกฉบับธิเบต ที่มีฝรั่งชาวอเมริกันแปลไว้เพียง ๒ ครั้งคือ ครั้งแรกพุทธปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน กับครั้งที่ ๒ ครั้งพุทธปรินิพพานล่วงแล้ว ๑๐๐ ปีเท่านั้น ส่วนสังคายนาครั้งที่ ๓ นั้นถือว่าเป็นการแยกกันแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสนับสนุนให้มีการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เมื่อพุทธศักราชประมาณ ๒๓๕ หรือ ๒๓๖ ปี ทีนี้ทางฝ่ายมหายาน ก็แยกไปทำในภายหลังที่พระเจ้ากนิษกะทำในประเทศอินเดีย ภายหลังจากนั้น พอสังคายนาครั้งที่ ๓ เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว พระเจ้าอโศกก็ส่งสมณทูตออกไปในที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา สมณทูตรุ่นนั้นคงจะเดินทางมาถึงทางสุวรรณภูมินี้ด้วย แต่ว่าจะพูดถึงสมณทูตรุ่นแรกที่ไปยังลังกา เพราะทางฝ่ายพระพุทธศาสนาเราถือว่ามีความสัมพันธ์กับลังกา พม่าก็ยอมรับรองลังกาเหมือนกัน พอทำสังคายนาสามครั้งในอินเดียเสร็จแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชก็ให้ลูกของท่านคือ พระมหินทเถระเดินทางไปยังประเทศลังกา ไปเผยแผ่ศาสนาในประเทศลังกา ซึ่งอันนี้สืบทราบว่าเป็นสังคายนาครั้งแรกในลังกา ซึ่งไทยเรายอมรับเป็นครั้งที่ ๔ ต่อจากในอินเดีย คืออินเดียสามครั้งแล้ว พอไปถึงลังกาได้สองสามปีก็สังคายนาอีก ทำไมจึงสังคายนาบ่อยนัก ก็เห็นได้ว่าเพื่อปรับภาษาให้เข้ากับภาษาชาวเกาะ หรือภาษาลังกานั้นเอง ต่อมาอีกที่นับว่าเป็นครั้งสำคัญ คือเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ ๔๓๓ ปี สังคายนาครั้งแรกในลังกา หรือนับเป็นครั้งที่ ๔ ต่อจากอินเดีย พุทธศักราชประมาณ ๒๓๘ ปี ทีนี้ล่วงมาจนถึงพุทธศักราช ๔๓๓ ปี บางฉบับว่า ๔๕๐ ปีนั้น เป็นสังคายนาครั้งสำคัญ ที่มีความหมายแก่พวกเรามากก็คือว่า ในครั้งนั้นปรารภความทรงจำของประชาชนว่าจะเสื่อมลง ก็เริ่มให้มีการจารึกลงในใบลาน อันนี้เองพม่าไม่ยอมรับสังคายนาครั้งแรกในลังกาที่ว่า พระมหินเถระไปใหม่ๆ ก็สังคายนา แต่พม่ายอมรับสังคายนาครั้งที่จารึกลงเป็นตัวอักษร ที่นับเป็นครั้งที่สองในลังกาหรือนับเป็นครั้งที่ ๕ ต่อจากอินเดีย คืออินเดียสามครั้ง ลังกาสองครั้ง พม่าก็นับในอินเดียสามครั้ง ในลังกาเอาครั้งหลังเลยทีเดียว ที่จารึกลงในคัมภีร์ใบลานเป็นครั้งที่ ๔ แล้วต่อมาพม่าก็ได้รับพระไตรปิฎกโดยตรงจากลังกา เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๔๐ เศษ พ.ศ. ๒๔๑๔ พม่าก็เริ่มสังคายนาครั้งที่ ๕ เพราะว่า พม่ายอมรับสังคายนาในลังกาเพียงครั้งเดียว เอามาต่อจากอินเดีย ๓ ครั้ง เป็น ๔ ครั้ง เรื่อยมาจนถึงศักราช ๒๔๑๔ พระเจ้ามินดงของพม่า โปรดให้มีการสังคายนาจารึกพระไตรปิฎกลงในแผ่นหินอ่อน ในกรุงมัณฑะเล ซึ่งท่านที่เคารพทั้งหลายคงจะเห็นมาบ้างแล้ว ๗๒๙ แผ่น หินอ่อนแผ่นใหญ่ๆ จารึกเป็นอักษรพม่า นี่เป็นครั้งที่ ๕ ที่พม่ารับรองเป็นครั้งแรกในประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ คือพม่าถือว่าต่อจากลังกาแล้วก็ไปพม่า แล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ เมื่อใกล้ๆ กับ ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่พม่าเริ่มสังคายนาครั้งที่ ๖ ที่ เรียกว่าฉัฏฐสังคายนา ฉลองกันเป็นการใหญ่โต ร่วมกับการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ อันนี้ถือว่าเป็นครั้งสำคัญที่สุด เพราะพม่าได้เชิญประเทศฝ่ายเถรวาทหลายประเทศ รวม ๕ ประเทศ ให้ไปเป็นประธานสังคายนาแต่ละครั้ง ตกลงว่า ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก ถ้าพูดถึงทางประเทศพม่าๆ ยอมรับว่าอินเดียมีสามครั้ง ลังกามีหนึ่งครั้ง ที่จารึกลงในใบลานคือ เมื่อ พ.ศ. ๔๓๓ แล้วต่อจากนั้น พ.ศ. ๒๔๑๔ มาเป็นครั้งแรกในพม่า ซึ่งจารึกลงในหินอ่อน พอครั้งที่ ๖ ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งหลังสุดใน ประเทศพม่า ถือว่าเป็นสังคายนาครั้งที่ ๖ ส่วนประเทศไทยเรา เราถือว่า ๙ ครั้งแล้ว ที่ถือว่า ๙ ครั้งนี่ เป็นงานของท่านสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ท่านรจนามาเป็นภาษาบาลีไว้ เล่าประวัติ คือครั้งนั้นรัชกาลที่ ๒ ทรงปรารภจัดทำสังคายนา พระเถระก็รวบรวมเรื่องเล่าประวัติถวายว่า มาแต่ครั้งไหนๆ ฝ่ายไทยที่นับว่า ๙ ครั้งนั้น เพราะเรายอมรับนับถือในลังกาหลายครั้งเหลือเกิน แต่ว่าเป็นเรื่องมีประโยชน์ เพราะว่าทำให้เราได้รู้ความเป็นมาของอรรถกถา คือคำอธิบายพระไตรปิฎกที่ฝรั่งเรียก Commentary และความเป็นมาของฎีกาเป็นคำอธิบายอรรถกถาอีกต่อเรียกว่า Sub-commentary ฝ่ายไทยยอมรับสังคายนา ๔ ครั้ง ในอินเดีย ๑, ๒, ๓ แล้ว แล้วก็ครั้งที่ ๔ ที่พระมหินทเถระนำไปในลังกาสดๆ ร้อนๆ ท่านก็นับเป็นครั้งที่ ๔ ซึ่งพม่าไม่ยอมรับครั้งนี้ ครั้งที่ ๕ คือ พ.ศ. ๔๓๓ ที่ว่าจารึกลงในคัมภีร์ใบลานเป็นครั้งแรกนี่ ทางฝ่ายไทยยอมรับด้วยก็เป็น ๕ ครั้ง มาครั้งที่ ๖ ที่เป็นครั้งจัดทำอรรถกถา คือสมัยพระพุทธโฆษะ เมื่อ พ.ศ. ๙๕๖ ไทยเรายอมรับทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นการจัดทำอรรถกถา คือคำอธิบายพระไตรปิฎก ไม่ใช่ตัวพระไตรปิฎกแท้ ไทยเราก็ยอมรับอีกเพราะว่าเชื่อว่าคงจะได้มีการแก้ไขตัวพระไตรปิฎกบ้าง พอต่อมาอีกในลังกาเมื่อ พ.ศ. ๑๕๘๗ มีสังคายนาในลังกา ที่ไทยเรายอมรับเป็นครั้งที่ ๖ นั่น พ.ศ. ๙๕๖ พอมาครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๑๕๘๗ ไทยเรายอมรับครั้งนี้ด้วย ครั้งนี้เป็นการแต่งฎีกา คือคำอธิบายอรรถกถาอีกต่อหนึ่ง อรรถกถานั้นเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก ฎีกานั้นอธิบายอรรถกถาไปอีกต่อหนึ่ง ไทยเราก็ยอมรับว่าเป็นสังคายนาเหมือนกัน เพราะถือว่าเป็นงานใหญ่มาก เมื่อเป็นเช่นนี้ไทยเราก็รับว่า ในอินเดียมี ๓ ครั้ง ในลังคามี ๔ เพราะเราติดต่อกับลังกาใกล้ชิดอยู่เหลือเกิน มีการส่งสมณทูตแลกเปลี่ยนไปจนกระทั่งถึงกับไทยเราไปเป็นอุปัชฌายะตั้งศาสนวงศ์ ในลังกาที่ยังมีพระอุบาลีวงศ์อยู่จนทุกวันนี้ พอได้ ๗ ครั้งนั่นแล้ว ก็มาถึงไทยเราเองบ้าง เราไม่มีการติดต่อกับพม่าเราก็นับจากสายลังกามาหาไทยใน พ.ศ. ๒๐๒๐ โปรดเทียบเคียงดูสังคายนาครั้งแรกในพม่า พ.ศ. ๒๔๑๔ ครั้งแรกในพม่าที่จารึกในหินอ่อน แต่ครั้งแรกในประเทศไทยคือที่ลานนา เชียงใหม่นั่น พระเจ้าติโลกราช ทรงโปรดให้มีการสังคายนาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ก่อนครั้งแรกในพม่าเกือบ ๔๐๐ ปี แล้วเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่สังคายนาครั้งแรกในประเทศไทยนี้ มีตัวอักษรลานนาซึ่งเรายังอุตส่าห์เก็บเอาไว้ได้ นั่นถือเป็นครั้งที่ ๘ เพราะนับจากลังกามาเป็น ๗ ครั้ง พอมาถึงครั้งที่ ๙ คือในรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๑ ทรงอุปถัมภ์ให้มีการทำสังคายนาแล้วก็ได้จารึกลงในลานทองฉบับหลวงที่เรียกว่าลานทอง คือลงทองไว้งดงามมาก ทรงอุปการะถึงขนาดเสด็จไปทั้งเช้าทั้งกลางวัน ถ้าเสด็จไปไม่ได้ด้วยพระองค์เอง ก็ให้วังหน้าเสด็จ คือพระอนุชา แล้วตอนเย็นยังเสด็จไปถวายน้ำอัฐบาลภิกษุสงฆ์ แปลว่าทรงปลื้มปีติเพียงไรในการสนับสนุนสังคายนาครั้งนั้น ซึ่งพวกเราเป็นหนี้บุญคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อย่างมากทีเดียวที่เริ่มสังคายนา คือชำระพระไตรปิฎกให้เรียบร้อย ต่อมาก็ถึงสมัยการพิมพ์ของไทยในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งถือว่าการสังคายนาในรัชกาลที่ ๑ นั่น นับเป็นสังคายนาครั้งที่ ๒ เพราะในประเทศไทยถือเป็นสังคายนาครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๓๓๑ ก็ยังนับว่าทำก่อนพม่าอยู่ดี เพราะครั้งแรกของพม่า ครั้งที่สองของไทยก็ยังก่อนครั้งแรกของพม่า มาในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงจะนับว่าหลังพม่าหน่อย แต่ว่าทั้งนี้เราก็เรียกว่าพิมพ์พระไตรปิฎกเท่านั้น ในรัชกาลที่ ๕ เริ่มแต่ พ.ศ. ๒๔๓๑ แล้วก็มาในสมัยรัชกาลที่ ๗ ทรงพิมพ์พระไตรปิฎกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายรัชกาลที่ ๖ นี่ก็เป็นเรื่อความเป็นมาในประเทศไทย เมื่อฟังดูอย่างนี้แล้ว ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายก็คงจะเห็นได้ว่า การที่ไทยเรานับสังคายนา ๙ ครั้ง จนถึงครั้งรัชกาลที่ ๑ นั้น เพราะว่าเรามีสายติดต่อกับลังกามาตลอด เราจึงยอมรับนับถือการทำสังคายนาของลังกาถึง ๔ ครั้ง แต่พม่าติดต่อกับลังกาน้อย ก็รับนับถือของลังกาเพียงครั้งเดียว ทางฝ่ายลังกานั้น ที่เป็นทางการจริงๆ เขานับถือเพียงครั้งแรกที่พระมหินทเถระไป ถ้าถึงวันที่พระมหินทเถระไปลังกาเมื่อไหร่ ลังกามีการจุดประทีปโคมไฟ มีการตั้งดอกไม้แจกฟรี ผู้รับไม่ต้องเสียงสตางค์ ที่ประตูวัดมีดอกไม้กองไว้ มีเครื่องสักระกองไว้ให้สาธุชนเข้าไป แล้วก็ได้รับดอกไม้นั้น เข้าไปบูชาเจดีย์สถานถือว่า“โกศลเดย์”คือวันกลางเดือน ๗ ที่พระมหินทเถระไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกา ถือเป็นงานเอิกเกริกของลังกาทีเดียว แล้วก็ลังกายอมรับสังคายนาครั้งที่ ๒ คือที่จารึกลงในใบลานเมื่อปี พ.ศ. ๔๓๓ นั่นครั้งหนึ่ง แล้วนอกจากนั้นลังกาไม่ยอมรับ มามีอีกครั้งหนึ่งเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีมานี้ คือพระในลังกาทำขึ้น แต่ก็ไม่มีใครรู้ นี่เขาก็บันทึกไว้อีกครั้งหนึ่ง ตกลงลังกาเองยอมรับสังคายนาของตนเองประมาณ ๓ ครั้งเท่านั้น

    http://mahamakuta.inet.co.th/tipitaka/tipitaka4/tipi~242.htm
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความรู้เรื่องพระไตรปิฏก
    ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
    ปาฐกถาโดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ

    <HR width="50%" color=#800000 SIZE=1>ทีนี้ก็มีปัญหาว่าเพียงเท่านั้นหรือ ที่พระไตรปิฎกได้แพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย พม่า ลังกา แล้วจะไปที่ไหนอีก ขอเรียนว่าประเทศกัมพูชากับประเทศลาวนี่เป็นประเทศที่นับว่าเป็นพี่น้องของไทยได้ อย่างวินัยปิฎกของกัมพูชาฉบับราชบรรณาลัยนี่ ด้านหนึ่งแสดงเป็นตัวอักษรบาลี ด้านหนึ่งเป็นภาษาเขมร ความจริงก็ได้ใช้ฉบับไทยเป็นหลัก พระเถระที่ไปทำในกัมพูชา ท่านก็เคยมาเรียนอยู่ในเมืองไทย เคยมาอยู่ในเมืองไทย และแม้ฉบับลาวนั่นก็พึ่งพิมพ์ เมื่อยังไม่มีตัวเรียงพิมพ์ก็อุตส่าห์เขียนเอา แล้วก็ไปถ่ายรูปทำบล็อก แต่ที่น่าสรรเสริญความอุตสาหะของพระรามัญคือ พระมอญที่ตั้งพระไตรปิฎกฉบับมอญ บางฉบับบอกจุลศักราช เขียนอักษรมอญแต่เป็นภาษาไทย จุลศักราชเท่านั้น ร.ศ. เท่านี้ที่พิมพ์พระไตรปิฎกเล่มนี้ขึ้น แล้วมีพระภิกษุอีกท่านหนึ่ง ท่านอุตส่าห์ไปตั้งโรงพิมพ์ของท่านเอง พิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาอักษรมอญได้ตั้ง ๓๙ เล่ม แปลว่าเมืองไทยเป็นแหล่งผลิตพระไตรปิฎกอักษรมอญด้วย ก็แปลว่า แหล่งกลางคือไทยนี่ได้แพร่ออกไปหลายทางเหมือนกัน อีกอย่างหนึ่งพูดถึงพระไตรปิฎกฉบับลังกาคือ ลังกานั้นก็น่าเห็นใจ เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในปกครองของหลายประเทศ ปอร์ตุเกสก็เคยปกครอง อังกฤษก็เคยปกครอง ถึงเปลี่ยนแปลงกันเรื่อยๆมา ลังกาพิมพ์พระไตรปิฎกเหมือนกัน แต่ว่ากระท่อนกระแท่น เคยไปสืบค้นหาจะซื้อเอามา แต่ว่าหาไม่ได้ ตกลงได้ความว่า พระลังกาท่านใช้พระไตรปิฎกภาษาไทยที่ส่งๆไป พระเถระในลังกาที่อ่านพระไตรปิฎกกันก็ใช้พระไตรปิฎกภาษาไทย เวลานี้เริ่มจะมีของลังกาเองบ้างแล้ว
    พูดไปถึงพระไตรปิฎกที่ไปสู่ตะวันตก อันนี้น่าแปลกใจที่ว่าในปัจจุบันแหล่งผลิตพระไตรปิฎกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น อีกแห่งหนึ่งอยู่ในประเทศ อังกฤษคือPali Text Society สมาคมบาลีปกรณ์ คนไทยเราเคยได้บริจาคเงินกัน คนละเล็กละน้อย นำไปให้แก่สมาคมนี้ช่วยในการพิมพ์ ความจริงคนไทยให้กันเรื่อยๆ มา รัชกาลที่ ๕ พระราชทานหลายคราวแล้ว เขาก็พิมพ์จารึกไว้ด้วย เช่น ดิกชันนารีภาษาบาลี-อังกฤษ นี้ รัชกาลที่ ๕ ก็พระราชทานอยู่ถึง ๕๐๐ ปอนด์ แล้วการพิมพ์พระไตรปิฎกนั้น รัชกาลที่ ๕ ก็พระราชทานอยู่หลายคราว เวลานี้เรามีพระไตรปิฎกฉบับโรมันที่เกือบสมบูรณ์ พระไตรปิฎกก็นับว่าดีมาก แล้วคำแปลก็เกือบสมบูรณ์ นับว่าหายากทีเดียวที่ทำกันเป็น หลักฐานหลายสิบเล่ม มีขนาดโตอย่างที่ท่านกล่าวว่า โตกว่า Encyclopedia Britannica มากทีเดียว ที่สมาคมบาลีปกรณ์ในประเทศอังกฤษ จัดทำคือทำเป็นสองชุด ชุดหนึ่งพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ที่อ่านแล้วเป็นภาษาบาลี เหมือนอย่างฉบับที่ไทยเราพิมพ์ แต่ว่าอีกชุดหนึ่ง พิมพ์คำแปลเป็นภาษาอังกฤษ นักปราชญ์ฝ่ายเขาเป็นผู้แปล แต่ที่น่าสังเกตก็คือ มีสุภาพสตรีอยู่หลายคนทำหน้าที่แปลพระไตรปิฎกแล้ว ในปัจจุบันสุภาพสตรีเป็นผู้แปลพระไตรปิฎก และเป็นนายกสมาคมบาลีปกรณ์ด้วย เมื่อก่อนเป็นแต่เพียงเหรัญญิกอุปนายก ปัจจุบันเป็นผู้นำในการแปลพระไตรปิฎก เคยเล่ามาว่าขายดีมาก พิมพ์เท่าไหร่ๆ เดี๋ยวหมด ประเทศต่างๆ ทั่วโลกสั่งกันมาทั้งนั้น เว้นไว้แต่ รัสเซียไม่ได้สั่งพระไตรปิฎกแปล ทีนี้นับได้ว่าสมาคมบาลีปกรณ์ประเทศอังกฤษ ได้เป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งในปัจจุบันที่พิมพ์พระไตรปิฎก ทั้งภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน และภาษาบาลีแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสกำลังเริ่มงานแปลโดย สมาคมสหายพระพุทธศาสนา มีสุภาพสตรีหลายท่านไปเป็นกำลังแรงงาน คือบางท่านก็เป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต แต่ว่ากลับไปเลื่อมใส พระพุทธศาสนาแล้วก็ไปช่วยกันในงานนี้ เป็นที่น่าพอใจว่าสมาคมบาลีปกรณ์ในประเทศอังกฤษนั้นมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๗ แปลว่า พระไตรปิฎกนี่มีการแปลมาแล้วกว่า ๑๐๐ ปี นี่เป็นภาษาอังกฤษ แล้วภาษาเยอรมัน ก็น่ายินดีที่เก่าไม่น้อยกว่าอังกฤษเหมือนกัน คือเยอรมันมีนักปราชญ์ภาษาบาลีหลายคนที่แปลพระไตรปิฎกได้ มีทั้ง แมคซมึนเล่อร์ มีทั้ง โฮลเดนเบอร์ก ที่แปลพระไตรปิฎก ภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษ แล้วก็มีอยู่ฉบับหนึ่งที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน นอกจากนี้ยังมีชาวเดนมาร์คกับชาวเยอรมันร่วมกันแปล คือชาวเยอรมันแปลธรรมบท และชาวเดนมาร์คแปลสุตตนิบาต ขาวเดนมาร์คก็ทำดิกชันนารีภาษาบาลีที่พิสดารที่สุดในโลก ราชบัณฑิตยสถานของเดนมาร์คร่วมกันจัดทำเป็นพจนานุกรมบาลี ที่พิสดารที่สุดในโลก เพียงอักษร "อ" เท่านั้น หนาเท่านี้ยังไม่จบ ก็นึกว่าถ้าจะยังไม่มีวันจบได้ เพราะว่าพยายามเก็บจะไม่ให้มีตกหล่นเลย ตัวอังกฤษทั้งชุดหนาเท่านี้ แต่ว่าของเดนมาร์ค เฉพาะตัว “อ” หนาเท่ากับของอังกฤษแสดงให้เห็นว่า พระไตรปิฎกเราได้เดินทางไปหลายประเทศเพียงไร
    ที่นี้จะกล่าวถึงพระไตรปิฎกที่ไปสู่อเมริกา น่ายินดีว่าอเมริกาเขามีมหาวิทยาลัยที่จัดพิมพ์พระไตรปิฎกแปล มาหลายสิบปีแล้วเหมือนกัน มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดจัดพิมพ์ นอกจากนั้นชาวอเมริกันคนหนึ่งเป็นเลขานุการโทสถานทูตอเมริกันในจีน ที่เป็นผู้แปลพระไตรปิฎก ฉบับภาษาธิเบตเป็นภาษาอังกฤษ เลือกเอาเฉพาะที่จำเป็นจะต้องรู้เป็นพุทธประวัติ จนกระทั่งประวัติพระพุทธศาสนาในธิเบต นับเป็น หนังสือที่หายากมาก นี่ก็แสดงให้เห็นว่าพระไตรปิฎกของเราได้เป็นมา นอกจากในประเทศไทยแล้ว ก็แพร่หลายไปต่างประเทศเพียงไร ในปัจจุบันในเยอรมันมีพระไตรปิฎกบางฉบับ มีการแปลใหม่คือ ของฮอลันดาแปลมัชฌิมนิกายไว้ ก็พิมพ์มาแล้ว ก็ยังมีนักปราชญ์บาลี อีกคนจะพิมพ์แปลใหม่อีกสำนวนใหม่ มัชฌิมนิกาย เป็นหนังสือแปลยากอย่างประหลาด ในอังกฤษมีแบบนี้เหมือนกันคือ คนเดิมแปลไว้แล้ว นี่คนที่สองผู้หญิงแปลจบแล้ว พิมพ์เสร็จแล้ว คนเดิมเป็นผู้ชายแปลไว้แล้วก็เห็นว่าผิดมาก แปลใหม่พิมพ์อีกครั้ง ก็แปลว่าในต่างประเทศได้มีการสนใจในเรื่องพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทนี่ไม่น้อยเหมือนกัน แต่ฝ่ายมหายานจะไม่กล่าวถึงในขณะนี้
    สำหรับพระไตรปิฎกฉบับไทย กล่าวได้ว่าในปัจจุบันฉบับไทยก็นับว่าสมบูรณ์หรือจะเรียกว่าสมบูรณ์ที่สุด ในการพิมพ์ซ่อมคราวต่อๆ ไป พระเถระท่านก็พยายามที่จะทำสารบาญค้นคำให้ดีขึ้น อันนี้พวกอินเดียบ่นว่าเราทำไว้ไม่ค่อยเรียบร้อยเวลาเขาเอาไปค้น ก็เพราะว่าหลายๆ ท่านด้วยกันทำไม่ได้เป็นแบบเดียวกัน มายุคหลังพระเถระที่ท่านแก้ไขในการพิมพ์ซ่อมฉบับที่หมดๆ คราวต่อไปนี่ ท่านก็พยายามทำสารบาญค้นธรรมให้ดียิ่งขึ้น แต่พระไตรปิฎกที่แปลเป็นภาษาต่างประเทศ คือแปลจากภาษาบาลีไปแล้วที่สมบูรณ์ที่สุด อยากจะให้เป็นภาษาไทย คือของที่เป็นภาษาอังกฤษเองเวลานี้ยังไม่หมด อยากให้เป็นที่สองของไทย แต่พม่าพอสังคายนาเสร็จแล้ว เวลานี้กำลังรุดหน้าใหญ่ในการทำแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาพม่าแต่ยังไม่เสร็จ ที่สมบูรณ์รองจากของไทยก็คือของอังกฤษ บางครั้งเขายังต้องขอให้ทางประเทศไทยคัดลอกจากคัมภีร์ใบลาน คือบางคัมภีร์ที่ยังไม่มีในประเทศอังกฤษ เป็นอักษรไทยก็ไม่ว่าละ คัดไปแล้วเขาไปอ่านเองไปจัดเป็นอักษรโรมันเอง คือเขาทำงานกันจริงเหมือนกันแม้ว่าในการคัดลอกนั้น จะต้องจ้างต้องลงทุนลงแรง เขายอมเสียสละเพื่อที่จะแปลพระไตรปิฎกให้ครบชุดให้ได้ แต่ว่าในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเราเป็นประเทศเดียวในโลก ที่มีพระไตรปิฎกแปลครบสมบูรณ์ เพราะว่าพระไตรปิฎกนี่มากมายเหลือเกิน อย่างฉบับไทยเรามี ๔๕ เล่ม นี่ถ้าจะแปลกันจริงๆ ไม่ใช่เล็กน้อยทีเดียว ลองเอาไปเทียบกับเอนไซโคลปีเดียแล้ว เพียงแต่ตัวพระไตรปิฎกเราก็เกินเอนไซโคลปีเดียไปเท่าไหร่ Britannica ก็มี ๒๔ หรือ ๒๕ เล่ม ทีนี้ก็ยังมีแปลกันจนจบ ทั้งของคุณสม พ่วงภักดี และของกรมการศาสนา ที่นับว่าเป็นการแปลอย่างมากที่สุด
    เราน่าจะภาคภูมิใจว่าประเทศไทยเราได้มีพระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ ปัญหาสำคัญมีอยู่ข้อหนึ่งคือปัญหาที่ว่า การทรงจำพระไตรปิฎกนั้น จะทำได้แค่ไหน เมื่อสังคายนาครั้งที่ ๑ เสร็จแล้ว ได้มีการมอบงานกัน คือว่าองค์นี้พร้อมทั้งลูกศิษย์ช่วยกันจำส่วนนี้ องค์นี้พร้อมทั้งลูกศิษย์ช่วยกันจำส่วนนี้ แบ่งงานกันทำเพื่อจะได้จำได้สมบูรณ์ คือว่าไม่ใช่จำคนเดียวหมด ๔๕ เล่มนี้ ท่องหมดก็ไม่ไหว เพียงเล่มเดียวก็นึกว่าแย่เหมือนกัน แต่ทีนี้ท่านแบ่งกันท่องจำ แล้วก็เพราะในสมัยนั้นไม่มีการจดก็ต้องใช้การจำ คือถ้ามีการจดเข้าเมื่อไหร่ การจำก็ไม่ค่อยจำเป็น ในสมัยที่ยังไม่มีการจด การจำเป็นของจำเป็นมาก เราก็ได้มีตัวอย่างการจำ อย่างในประเทศพม่า พระเถระที่จะสอบได้ชั้นสูงๆ นั้น ต้องว่าพระไตรปิฎกได้จบเป็นเล่มๆ พระลังกาที่ท่านได้เคยมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณสาธุศีลสังวร มาอยู่ในประเทศไทย เวลาเรามีอะไรสงสัยก็เคยไปถามท่านเหมือนกัน แล้วท่านก็ว่าปากเปล่าให้ฟัง มีการจำเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเรื่องการจำพระไตรปิฎก ไม่ใช่เป็นเรื่องเหลวไหล เป็นเรื่องที่แบ่งงานกัน จึงมีสำนักอาจารย์ที่เรียกว่า อาจารย์นี้ท่องจำพระไตรปิฎกหมวดยาวคือ พระสูตรยาวๆ อาจารย์นี้ท่องจำพระไตรปิฎกขนาดพระสูตรปานกลาง โดยนัยนี้การนำพระไตรปิฎกสืบต่อมาก็มีทางที่จะเป็นไปได้ ในปัจจุบันก็มีการท่องจำแบบที่ว่าทำอย่างไรจึงจะจำได้โดยไม่ต้องท่อง คือว่าถ้าท่องๆ ให้แต่น้อย และถ้าไม่ต้องท่องจะมีวิธีจำอย่างไร ถึงจะจำข้อความบางทีตั้ง ๕๐-๖๐ เรื่อง ติดต่อกันไม่ให้สับลำดับ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

    http://mahamakuta.inet.co.th/tipitaka/tipitaka4/tipi~243.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2012
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 25 มีนาคม 2555 08:00
    สวรรค์ของพระ
    โดย : เรื่อง - มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ ภาพ - อุทร ศรีพันธ์
    [​IMG]

    คนต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่รู้ว่า จะถวายอาหารอย่างไร จะทำบุญอย่างไร นี่คือหนึ่งภารกิจของสงฆ์ชาวต่างประเทศสมญานามว่า พระอาจารย์ธีระธัมโม

    พุทธศักราช 2555 นอกจากจะเป็นปีที่หลวงพ่อชา สุภัทโท หนึ่งในบูรพาจารย์ พระป่าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ละสังขารผ่านไป 20 ปีแล้ว ยังเป็น 2600 ปีพุทธชยันตี ที่ชาวโลกพร้อมใจกันปฏิบัติธรรม ลด ละกิเลส เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงมีชัยเหนือกิเลสมารทั้งปวงด้วย

    ประเทศไทยเป็นหนึ่งในโลกที่น้อมรับพระพุทธศาสนามากกว่า 700 ปี นับแต่สร้างกรุงสุโขทัยนับเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กระทั่งศาสนาวัตถุนิยมได้เข้ามาครอบครองพื้นที่ในใจของผู้คนไม่น้อย ขณะเดียวกัน ในดินแดนตะวันตก ที่ไม่เคยได้ลิ้มรสพระธรรมจากพุทธศาสนา กลับเป็นพื้นที่เปิดรับธรรมะจากฝั่งตะวันออกไปกว่า 100 ปี ดังที่หลวงพ่อชาเคยกล่าวไว้ว่า ดอกบัวกำลังจะบานทางทิศตะวันตก ตอนนี้เป็นจริงแล้ว


    ทายาท ผู้สืบทอดพุทธศาสน์

    พระอาจารย์ธีระธัมโม (Tiradhammo) เจ้าอาวาส วัดโพธิญานาราม (Bohinyanarama) ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นหนึ่งในชาวตะวันตกที่เกิดในประเทศแคนาดา ปี พ.ศ. 2492 และในขณะศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ก็พบว่าไม่ได้ทำให้ท่านมีความสุขที่แท้จริง จึงออกแสวงหาความหมายในชีวิตเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน ท่านเคยกล่าวไว้ว่า...

    "ขณะเรียนวิชาธรณีวิทยา ตอนนั้น อาตมาเห็นความไม่มั่นคงในอิฐ หิน ดิน ทราย และความเสื่อมที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ ทำให้ตัดสินใจละการศึกษาในมหาวิทยาลัย แล้วออกแสวงหาความหมายที่แท้จริงของชีวิต ด้วยการขี่จักรยานจากปากีสถานมายังศรีลังกา ปฏิบัติสมาธิภาวนากับ Bhikkhu Sivoli และศึกษามหาวิทยาลัยชีวิตไปจนถึงประเทศอินเดีย แล้วเดินทางมาบวชอยู่ทางเหนือในประเทศไทย"

    กระทั่งได้ยินชื่อหลวงพ่อชา จึงออกตามหาไปถึงวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานีในปี 2518 หลังจากนั้น ชีวิตใหม่ของท่านก็เริ่มต้นที่นี่ ในช่วง 35 พรรษาแรก ท่านได้รับนิมนต์ไปช่วยงานก่อตั้งวัดป่าสาขาหนองป่าพง ในประเทศอังกฤษ 5 ปี รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นระยะเวลาประมาณ 18 ปี .ในพรรษาที่ 36 จนถึงปัจจุบัน ท่านได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิญานาราม กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ และเตรียมเกษียณตัวเองในเร็ววันเพื่อที่จะธุดงค์ไปทั่วโลก

    เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นวันละสังขารของหลวงปู่ชา ท่านได้กลับมาอาจาริยบูชาที่วัดหนองป่าพง และรับนิมนต์ไปบรรยายธรรมที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กรุงเทพฯ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน เราจึงขอน้อมนำธรรมะที่ท่านฝากไว้ให้กับชาวไทยมาแบ่งปันกัน ในวันที่โลกกำลังร้อนรุ่มไปด้วยกิเลสตัณหา และมนุษย์โลกกำลังจะละทิ้งความสุขทางใจไปบูชาเงินยิ่งกว่าสิ่งใด

    พระอาจารย์ธีระธัมโมบอกว่า ลิ้นท่านขึ้นสนิมแล้ว เพราะอยู่ต่างประเทศนาน แต่ธรรมที่ออกมาจากการปฏิบัติของท่านนั้น คมกริบ พร้อมตัดกิเลสอาสวะที่นอนเนื่องในจิตได้อย่างฉับพลันทันที อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ระลึกถึงพระธรรม ขุมทรัพย์ที่เรามีอยู่ และหันกลับมาขุดกันเพื่อดับความร้อนทางใจก่อนที่โลกจะลุกเป็นไฟมากไปกว่านี้

    ท่านเล่าให้ฟังว่า ...

    เคยอยู่หลายประเทศ ปัจจุบันจำวัดอยู่ที่นิวซีแลนด์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถ้านั่งเครื่องบินก็ห่างจากประเทศไทยประมาณ 12 ชั่วโมง บินกันจนเครื่องบินจะหมดน้ำมันพอดีก็ถึง

    "นิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อยมาก แต่ไม่มีงู ไม่มีแมงป่อง เป็นประเทศที่เดินในป่าไม่ต้องระมัดระวังอะไร แต่ทำให้เราประมาท อาตมาอยู่เมืองไทยหลายปี ลืม บางทีคิดว่าอยู่นิวซีแลนด์ไม่ยอมใช้ไฟฉาย บางทีก็เจองูบ้าง แต่ไม่เป็นไร ต่างคนต่างอยู่ นิวซีแลนด์มีป่าไม้มาก มีพลเมือง 4 ล้านคน เป็นประเทศที่เป็นคริสต์ เขาไม่เชื่อเรื่องพุทธ เห็นพระยังตกใจอยู่ แม้แต่อาตมาเอง "


    รับรส "อุบาย" หลวงพ่อชา

    พระอาจารย์ธีระธัมโม เล่าว่า ท่านมีประสบการณ์ทางพุทธจากมหาวิทยาลัย จากการอ่านหนังสืออย่างเดียวที่แคนาดา เรื่องฝึกจิต ต้องไปประเทศอื่น ท่านก็ไปอินเดีย แล้วก็มาเมืองไทย มีคนหนึ่งบอกว่า มีอาจารย์กัมมัฏฐานหลายองค์ ปัญหาอันหนึ่งคืออาจารย์กัมมัฏฐาน ท่านไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ พระอาจารย์ต้องอาศัยหนังสืออ่าน ตอนหลังมีข้อสงสัยเกิดขึ้น เมื่อได้อ่านหนังสือของหลวงพ่อชาที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ อ่านแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องของศาสนาพุทธ แต่เป็นเรื่องของการฝึกจิต

    การฝึกจิต คือ เราควรจะนอนกี่ชั่วโมงในเวลากลางคืน เมื่อได้พบหลวงพ่อชาในภายหลัง ได้ถามท่านว่า ในพระไตรปิฎกบอกว่า นอนสี่ชั่วโมง แต่ความจริงแล้วเราควรจะนอนเท่าไร ท่านตอบว่า แล้วแต่โยมนะ อาตมาก็เลยมีกำลังใจในการปฏิบัติคำสั่งสอนของหลวงพ่อชา เป็นคำสั่งสอนที่มีปัญญามาก ไม่ใช่คำสอนที่ออกจากหนังสือ แต่เป็นคำสอนที่ออกมาจากปัญญาจริงๆ ให้รู้กาย รู้ใจ

    พระอาจารย์เดินทางมาอยู่ที่เชียงใหม่ 3 ปี แล้วก็ไปอุบลราชธานี เพื่อพบหลวงพ่อชา ที่วัดหนองป่าพง ตอนที่ไปถึงครั้งแรก มาถึงแล้วมืดแล้ว ก็พยายามถามคนว่า วัดหนองป่าพงอยู่ที่ไหน ทุกคนก็รู้จัก เขาก็บอกว่า ให้ไปทางโน้น พอดีมืด เขาเลยเอาขึ้นรถมาส่งที่วัด มาถึงหน้าประตู มีคนเฝ้าประตู ชื่อพ่อทิพย์ ตาบอด

    หลวงพ่อชามีอุบายสอนคนหลายอย่าง ให้คนตาบอดมาเฝ้าประตู เขาไม่เห็นรถ เราเข้ามาแล้ว เขาก็พยายามพูดกับอาตมา อย่ามาที่นี่มืดๆ ประตูปิดแล้ว อาตมาก็ขออภัย ไม่รู้ภาษา ก็ถามเขาว่า หลวงปู่ชาอยู่ไหน เขาก็ชี้ไปทางนั้น ในป่า อาตมาก็เดินไปชนต้นไม้ ไม่มีไฟฉาย ลืมไปว่า เขาตาบอดไม่ต้องใช้ไฟฉาย

    "วันนั้นไม่มีพระฝรั่งสักคนหนึ่ง พอพบหลวงพ่อชา ท่านพูดคำเดียว เป็นภาษาอังกฤษว่า sleep แต่ไม่มีที่นอน อาตมาต้องนอนข้างนอกกุฏิ แต่อาตมาก็รู้สึกว่า เข้าวัดป่าพงแล้ว อยู่ตรงไหนก็รู้สึกสบายใจ อย่างหนึ่งอาตมาเคยอ่านพระสูตรในสมัยพุทธกาล พระก็อยู่ป่า อยู่กุฏิในป่า ที่วัดหนองป่าพงเหมือนในสมัยพุทธกาลเลย"

    หลวงพ่อชา พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่รู้จักภาษาธรรมะ ท่านสอนด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่พูดมาก เรื่องพุทธ หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องโบราณ หลวงพ่อชาเป็นตัวอย่างให้เราเห็นความทันสมัย ไม่ใช่สมัยพระพุทธเจ้าอย่างเดียว ตอนนี้ทั่วโลกกำลังสนใจพุทธศาสนา หลายแนว

    บางคน ได้เคยฝึกโยคะ เขาเห็นว่า ทำสมาธิได้สุขภาพที่ดีขึ้น หัวใจสบาย สุขภาพดีขึ้น บางคนเข้าใจปัญหา และมีทางออก สมัยนี้ คนต้องเรียนหนังสือมากๆ เพื่อให้ได้อาชีพ เรียนมากๆ ก็คิดมากๆ ไปเรียนมหาวิทยาลัย เรียนเรื่องคิดมาก ให้ปรุงแต่ง มหาวิทยาลัยเขาไม่ได้สอนวิธีระงับความคิด

    "อาตมาก็เหมือนกัน อ่านหนังสือกลางวัน กลางคืนปรุงแต่งไม่หยุดเลย แต่นั่งสมาธิทำให้จิตสบาย ตอนฝึกที่เมืองไทย คิดว่า ฝึกจิตเดือนหนึ่ง ตรัสรู้แล้วจะกลับบ้าน พอฝึกไปเดือนหนึ่ง ยังไม่ตรัสรู้ ก็ขอต่ออีกเดือนหนึ่ง ผ่านไป 9 ปี ก็ต้องเรียนต่อไปอีก อาจจะต้องหลายชาติก็ได้ อยู่เมืองนอกก็พยายามฝึก เพราะอยู่ประเทศไทยฝึกง่าย ไทยเป็นประเทศสวรรค์ของพระ ไปที่ไหน คนไทยถวายปัจจัยสี่ให้เรียบร้อย อยู่ต่างประเทศ คนมองเราแปลก เอาบาตรไปเดินตามถนน เขาคิดว่าเราจะตีกลอง เขาเห็นเราแปลกประหลาด"

    หลังจากนั้น ได้รับนิมนต์ไปสวิตเซอร์แลนด์ เดินบิณฑบาต 3 ปี ได้อาหาร 3 ครั้ง ครั้งแรก เป็นคนมาที่วัด อีกคนเป็นชาวฝรั่งเคยบวชที่เมืองลาว อีกคนเป็นชาวอังกฤษ พระอาจารย์เดินบิณฑบาต เขาถามว่าทำอะไร ท่านบอกว่า กำลังขออาหาร เขาบอกว่า เดี๋ยวก่อน รอก่อน แล้วก็ไปเอาแอปเปิลมาใส่บาตรให้ แต่ท่านไม่ได้อดนะ ในสวิตเซอร์แลนด์มีคนไทยหลายคน เขาก็มาวัดเสาร์อาทิตย์ เอาอาหารมาไว้ในวัด แล้วท่านก็ไปบิณฑบาตที่โรงครัว

    "อาตมาเคยไปเดินธุดงค์ในประเทศไทย กับชาวเขาที่เชียงใหม่ ไปเดินบิณฑบาต อาตมาพูดกับชาวเขาไม่ได้ ใช้ภาษามือ ทำมือเอาอาหารเข้าปาก เขาเป็นคนฉลาด เขาก็เอาอาหารให้ ในเมืองนอก บางครั้งต้องสู้กับหิมะ บางที่มีพระบิณฑบาตกลางหิมะ ต้องใส่รองเท้าบูต อยู่เมืองไทย ใส่รองเท้าไม่ได้ เราต้องสู้กับสิ่งแวดล้อม ต้องมีความอดทนคือ อยู่เมืองไทยอดทนความร้อน อยู่เมืองนอกอดทนความหนาว แต่ตอนนี้ที่เราต้องต่อสู้มากที่สุดคือวัตถุนิยม"


    ศาสนา VS วัตถุนิยม

    พระอาจารย์ธีระธัมโมสังเกต เมืองไทยมีวัตถุสิ่งของ มันเจริญมาก ไม่มีที่สิ้นสุด เมืองนอก วัตถุนิยม ไม่ได้สอนให้จิตใจสบายที่สุด แต่ให้เราสบายชั่วคราว เพราะมีความสุขจากของต่างๆ แต่ถ้าของต่างๆ พังไปจิตใจจะเป็นอย่างไร

    ศาสนาวัตถุนิยมไม่ได้สอนไว้ อย่าง ตอนนี้มีไอโฟนห้า คนที่มีไอโฟนสี่ ก็ไม่สบายใจแล้ว ต้องเอาเครื่องไปเปลี่ยนใหม่ เมืองนอกไม่มีคำสอนที่ให้จิตใจสบาย นอกจากวัตถุนิยมอย่างเดียว คนไม่รู้จักอย่างอื่น เขาไม่รู้ว่า ความสงบเป็นอย่างไร จะฝึกปฏิบัติอย่างไร ถ้าเราไปตามวัตถุนิยมมากเกินไปจะเจอโทษ เพราะหลายคนไม่รู้จักลักษณะของจิตจริงๆ เวลามีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น เช่นไม่สบายใจ ถ้าไม่รู้จักลักษณะของอารมณ์ว่ามันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะทุกข์กับมัน

    "เราจะสอนกัมมัฏฐานให้ชาวตะวันตกยากหน่อย เพราะเขาติดอารมณ์ เวลานั่งสมาธิสบายหน่อย แล้วพอความสบายหายไป เขาก็ไม่เอาแล้ว"

    วิปัสสนากัมมัฏฐานมีหลายแนว มีอุบายมาก อาตมามาอยู่กับหลวงพ่อชา อยากจะได้อุบายกับท่าน อะไรปฏิบัติแล้ว เร็วที่สุด ดีที่สุด ท่านไม่ให้ บอกว่า ไม่มี (หัวเราะ) ท่านก็มีปัญญารู้ คนสมัยนี้ อยากจะได้อะไรไวๆ มันเป็นกิเลส มันเป็นความโลภ ไม่ใช่เรื่องของพระธรรม

    หลวงพ่อชา ไม่ให้วิธีลัด แต่ท่านมีวิธีที่จะให้มีความสงบ คือปล่อยวางอารมณ์ต่าง และต้องปล่อยวาง ความปล่อยวางด้วย ตอนแรกท่านให้ยึดอารมณ์ความดี ทำความดีก็ให้ยึดอันนี้ไว้ก่อน ให้จิตได้มีอะไรยึด ตอนหลังท่านสอนให้เรารู้จักอารมณ์ในการฝึกจิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดี หรืออารมณ์ไม่ดี เราก็ต้องปล่อยวางทั้งสอง

    "การปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง เรามีหน้าที่รดน้ำเท่านั้น ส่วนการเจริญเติบโตเป็นเรื่องของเขา ตอนนี้ สาขาของวัดหนองป่าพง ขยายไปทั่วโลก หลวงพ่อสุเมโธก็ปลดเกษียณแล้ว อาตมาก็จะปลดเกษียณเหมือนกัน แล้วจะธุดงค์ไปทั่วโลก การธุดงค์สมัยนี้ไม่ใช่อาศัยเดินอย่างเดียว อาตมามีมือถือ รู้จักวัดสาขาหนองป่าพงทั่วโลก จะไปออสเตรเลีย แคนาดา ก็คงไม่อดข้าว"

    พระอาจารย์เล่าต่อว่า สมัยท่านเดินธุดงค์ในประเทศไทย ตอนเช้าไปบิณฑบาต ทุกบ้านมีคนมาใส่บาตร แต่ที่ต่างประเทศ ได้ฝึกเยอะ เพราะเขาไม่มีวัฒนธรรมการใส่บาตร แต่คนคริสต์เขาจะนิมนต์ไปฉันอาหารที่บ้าน เขาก็อยากจะทำบุญเหมือนกับชาวพุทธ แต่ถ้าไปเดินบิณฑบาตอาจจะอดบ้าง

    "อาตมาก็เลยมีวิธีใหม่ อาจจะทันสมัย เราจะไปเดินบิณฑบาตที่เมืองนอก คนไม่รู้จัก ไม่มีใครใส่บาตร มีพระองค์หนึ่ง ท่านจะไปบิณฑบาต ท่านคิดใหม่ ท่านไปยืนอยู่หน้าบ้านโยม พอโยมออกจากบ้านไปถามพระ พระรูปนั้นก็บอกว่า กำลังจะขอทาน เขาบอกว่า เดี๋ยวก่อน แล้วก็ไปซื้ออาหารมาให้ คนต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่รู้ว่า จะถวายอาหารอย่างไร จะทำบุญอย่างไร เพราะฉะนั้น เราต้องสอนคนไปด้วยเรื่องการทำทาน"

    ท่านบอกต่อว่า คนส่วนมาก เป็นคนใจดี ไม่ใช่ว่า เขาจะรังเกียจเรา เมื่อเขาเข้าใจ เขาก็อยากทำบุญเหมือนกัน ดังนั้น เราต้องค่อยๆ ศึกษา เมื่อเรารู้ เราต้องเข้าใจคนว่า ทุกคนใจดี แล้วค่อยๆ ให้เขารู้จักประเพณี แล้วเขาก็จะอยากปฏิบัติ เราต้องค่อยๆ สอน แม้ว่าเขาไม่ใช่พุทธ เขาจะปฏิบัติตามประเพณีของเขา ตอนนี้พุทธขยายออกไปมาก ทั้งเถรวาทและมหายาน เพราะทุกคนอยากพ้นทุกข์ เราต้องหาอุบายที่จะช่วยเขาให้พ้นจากทุกข์ นั่นคือความเมตตาและกรุณานี่เอง

    http://www.bangkokbiznews.com/home/d...%E0%B8%B0.html<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระไตรปิฎก (อังกฤษ: Tripiṭaka, สิงหล: ත්‍රිපිටකය, เทวนาครี: त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม คำว่าพระไตรปิฎกมาจากภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฏก หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) สันนิษฐานว่าที่มาของคำว่าพระไตรปิฎกน่าจะมาจากการที่พระภิกษุจดจารึกคัมภีร์ใส่ลงในใบตระกูลปาล์มและใส่ลงในตระกร้า ถ้าอาศัยหลักฐานทางวิชาการ เชื่อว่าไตรปิฎกเป็นชื่อที่ใช้กันมาก่อนจะสังคายนาครั้งที่ 3 เพราะมีการใช้คำพูดว่า "ไตรปิฎก" ในประวัติศาสตร์ยุคพระเจ้าอโศกก่อนการสังคายนาครั้งที่ 3 จึงเชื่อได้ว่าหลังสังคายนาครั้งที่ 2 พระสงฆ์มีการแยกพระอภิธรรมออกจากพระสูตรแล้วเมื่อสังคายนาครั้งที 3 จึงแยกอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจริง ซึ่งคำสอนสามหมวดนี้ ได้แก่
    • พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี
    • พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร ได้แก่ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ
    • พระอภิธรรมปิฎก หรือ พระอภิธรรม ได้แก่ประมวลคำสอนที่เป็นหลักวิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ
    พระไตรปิฎกมีเนื้อหารวมทั้งสิ้น 84,000 ธรรมขันธ์ ฉบับพิมพ์ภาษาไทยนิยมจัดแยกเป็น 45 เล่ม เพื่อหมายถึงระยะเวลา 45 พรรษาแห่งพุทธกิจ
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ครั้งหนึ่งว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ภายหลังที่พระองค์ล่วงลับไปแล้ว<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B9.82.E0.B8.A2.E0.B9.82.E0.B8.A7_1-0>[2]</SUP> พระไตรปิฎกจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์ และเป็นที่ที่ชาวพุทธสามารถเข้าเฝ้าพระศาสดาของตน <SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP> พุทธศาสนิกชนสามารถศึกษาปริยัติศาสน์จากพระไตรปิฎก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้พ้นจากความทุกข์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป
    พระไตรปิฎกมีจุดเริ่มต้นมาจากการจัดรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า ออกเป็นหมวดหมู่ และซักซ้อมทบทวนกันจนลงตัว ในระยะแรก พระไตรปิฎกถ่ายต่อกันมาโดยการท่องจำปากเปล่า จนกระทั่งราว พ.ศ. 460 จึงมีการจารึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาสืบทอดมาพร้อมกับพระไตรปิฎก จากสมัยพุทธกาลจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 2,500 ปี พระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และถูกต้องแม่นยำที่สุด ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน

    หมวดหมู่ในพระไตรปิฎก
    ในพระไตรปิฎก นอกจากจะเป็นที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังได้จัดหมวดหมู่คำสอนเหล่านั้นให้เป็นระเบียบพร้อมๆ กันไปด้วย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการท่องจำ ความง่ายต่อการแบ่งหน้าที่รักษา และความไม่ลำบากในการศึกษาค้นคว้า

    คำสอนทั่วไปในพระพุทธศาสนาสามารถแบ่งได้กว้างๆ เป็น วินัย และ ธรรม โดย วินัย จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับบทบัญญัติของคณะสงฆ์ สำหรับเป็นข้อบังคับในการปฏิบัติตัวของผู้ออกบวชเท่านั้น ส่วน ธรรม เป็นคำสอนที่ครอบคลุมพุทธบริษัททั้งหมด ซึ่งสามารถแยกได้อีกเป็นสองชนิด คือ
    • ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไปตามกาลเทศะ โต้ตอบกับบุคคลต่างๆ เป็นเรื่องๆ ในแต่ละเรื่องจะเรียกว่า สุตตะ หรือ สูตร หนึ่งๆ ในพระไตรปิฎกจะรวบรวมธรรมแบบนี้ไว้พวกหนึ่ง เรียกว่า สุตตันตะ หรือ พระสูตร
    • ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไปตามเนื้อหา ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือเหตุการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น เรียกว่าเป็นวิชาการล้วนๆ เช่น เมื่อยกเรื่องขันธ์ 5 มา ก็อธิบายโดยละเอียดว่าขันธ์ 5 คืออะไร แบ่งออกเป็นอะไรบ้าง แต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร จนจบเรื่องขันธ์ 5 ธรรมที่แสดงเอาเนื้อหาเป็นหลักอย่างนี้ ในพระไตรปิฎกจะจัดอยู่ในประเภท อภิธัมมะ หรือ พระอภิธรรม
    เมื่อรวม พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก เข้าด้วยกัน ก็จะเกิดสามหมวดหมู่ใหญ่ ประกอบกันได้กลายเป็นพระไตรปิฎกขึ้นมา

    ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
    สมัยพุทธกาล
    การรวบรวมคำสอนของพระพุทธศาสนาเริ่มมีขึ้นเมื่อครั้งที่นิครนถนาฏบุตร ศาสดาของศาสนาเชนสิ้นชีวิตลง และสาวกของท่านไม่ได้เก็บรวบรวมคำสอนไว้ ทำให้เหล่าผู้นับถือศาสนาเชนจึงเกิดการแตกแยก และถกเถียงกันว่าแท้จริงแล้วศาสดาของตนสอนไว้เช่นไร พระจุนทเถระทราบเรื่องจึงนำความขึ้นกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์จึงได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวงร่วมกันทำสังคายนา<SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP> เพื่อรักษาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป<SUP class=reference id=cite_ref-4>[5]</SUP>
    เมื่อพระสารีบุตรทราบถึงเรื่องราวปัญหาของศาสนาเชน ก็ได้แสดงวิธีสังคายนาไว้เป็นตัวอย่างต่อหน้าที่ประชุมคณะสงฆ์ โดยรวบรวมข้อธรรมต่างๆ ให้อยู่ตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบ เมื่อพระสารีบุตรแสดงธรรมจบแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานสาธุการแก่หลักธรรมที่พระสารีบุตรแสดงไว้<SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP>
    ทั้งนี้ ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพระไตรปิฎก แต่ก็มีคำเรียกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า พฺรหฺมจริย หรือพรหมจรรย์<SUP class=reference id=cite_ref-6>[7]</SUP> และ ธมฺมวินย หรือธรรมวินัย <SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B9.82.E0.B8.A2.E0.B9.82.E0.B8.A7_1-1>[2]</SUP>

    ปฐมสังคายนา

    การทำสังคายนาครั้งแรก เกิดขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 3 เดือน ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู โดยมีพระมหากัสสปเถระทำหน้าที่เป็นประธาน และเป็นผู้คอยซักถาม มีพระอุบาลีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย และมีพระอานนท์เป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อธรรม การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระอรหันต์มาประชุมร่วมกันทั้งหมด 500 รูป ดำเนินอยู่เป็นเวลา 7 เดือน จึงเสร็จสิ้น
    มูลเหตุในการทำสังคายนาครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อพระมหากัสสปเถระทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าหลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน บรรดาลูกศิษย์พระมหากัสสปเถระ เมื่อได้ทราบข่าวต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญ แต่มีภิกษุอยู่รูปหนึ่งชื่อสุภัททะ ซึ่งเป็นภิกษุแก่ กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะร้องไห้กันไปทำไม เมื่อสมัยที่พระพุทธเจ้ายังอยู่ พระองค์ทรงเข้มงวดกวดขัน คอยชี้ว่านี่ถูก นี่ผิด นี่ควร นี่ไม่ควร ทำให้พวกเราลำบาก บัดนี้พระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พวกเราจะได้ทำอะไรตามใจชอบเสียที เมื่อพระมหากัสสปเถระได้ฟังดังนี้ก็รู้สึกสลดใจ ดำริว่าแม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปใหม่ๆ ยังปรากฏผู้มีใจวิปริตจากธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ถ้าปล่อยไว้นานเข้า คำสอนทางพระพุทธศาสนาอาจถูกบิดเบือนไปได้ จึงริเริ่มวางแผนการทำสังคายนา

    การสังคายนาครั้งที่สอง

    การทำสังคายนาครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 100 ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย โดยมีพระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พระเถระผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมทำสังคายนาครั้งนี้ได้แก่ พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระขุชชโสภิตะ พระวาสภคามิกะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาจีนกะ) พระเรวตะ พระสัมภูตะ สาณวาสี พระยสะ กากัณฑกบุตร และพระสุมนะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาฐา) ในการนี้พระเรวตะทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม และพระสัพพกามีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 700 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 8 เดือน จึงเสร็จสิ้น
    ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พระยสะ กากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของภิกษุวัชชีบุตร เช่น ควรเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อรับประทานได้ ควรฉันอาหารยามวิกาลได้ ควรรับเงินทองได้ เป็นต้น พระยสะ กากัณฑกบุตรจึงชวนพระเถระต่างๆ ให้ช่วยกันวินิจฉัย แก้ความถือผิดครั้งนี้
    โดยรายละเอียดของปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สอง มีกล่าวถึงในพระวินัยปิฎก จุลลวรรค แม้ในวินัยปิฎกจะไม่กล่าวถึงคำว่าพระไตรปิฎกในการปฐมสังคายนา และการสังคายนาครั้งที่สองเลย แต่ในสมันตัปปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาอธิบายวินัยปิฎกนั้น บอกว่าการจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธศาสนา ให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างพระไตรปิฎกนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนาแล้ว

    การสังคายนาครั้งที่สาม

    การทำสังคายนาครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 235 ที่อโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย โดยมีพระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 1,000 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 9 เดือน จึงเสร็จสิ้น
    ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ มีพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้วแสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ จึงได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อกำจัดความเห็นของพวกเดียรถีย์ออกไป
    ในการทำสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ ได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมไว้ด้วย และเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว ก็มีการส่งคณะทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ในที่นี้มีพระมหินทเถระ ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่นำพระพุทธศานาไปประดิษฐานในลังกา รวมทั้งพระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ ที่นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังดินแดนสุวรรณภูมิด้วย

    การสังคายนาครั้งที่สี่

    การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 643 ที่เมืองชาลันธร แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าทำที่กัศมีร์หรือแคชเมียร์ การสังคายนาครั้งนี้มีลักษณะของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเข้ามาผสม ทำให้ฝ่ายเถรวาทไม่นับว่าเป็นหนึ่งในการสังคายนา

    การสังคายนาครั้งที่ห้า

    การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 460 ที่อาโลกเลณสถาน มตเลชนบท ประเทศศรีลังกา โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้เพื่อต้องการจารึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากที่มีการพัฒนาด้านภาษาเขียน จากตัวอักษร อนักษระ (ภาษารูปภาพ)มาเป็นอักษระ(ภาษาเขียนเลียนแบบเสียงพูด) ซึ่งภาษาอนักษระพระอรหันต์ในอดีตเห็นถึงความไม่เหมาะสมในการบันทึกไว้เพราะจะให้พระพุทธคลาดเคลื่อนเสื่อมสูญได้ ถึงจัดหมวดหมู่แบ่งกันรับผิดชอบท่องจำทรงกันเอาไว้ เมื่อภายหลังมีภาษาเขียนแบบอักษระจึงเห็นควรให้จารึกเป็นลายลักอักษร

    ปัญหาการนับครั้งการสังคายนา


    การนับครั้งการสังคายนามีความแตกต่างกันในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นอกจากนี้ แม้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกันเองก็ยังนับครั้งการสังคายนาไม่ตรงกัน ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
    • ประเทศศรีลังกา นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และการสังคายนาที่ประเทศตนเองอีก 3 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายกระทำเมื่อ พ.ศ. 2408 โดยการสังคายนาครั้งนี้เป็นที่รู้กันเฉพาะในประเทศศรีลังกาเท่านั้น
    • ประเทศพม่า นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และนับการสังคายนาครั้งที่ 2 ที่ลังกาเป็นครั้งที่ 4 ที่ประเทศพม่า และนับการสังคายนาที่ประเทศตนเองอีก 2 ครั้ง โดยครั้งสุดท้าย หรือครั้งที่ 6 ในพม่า มีชื่อเรียกว่าฉัฏฐสังคายนา เริ่มกระทำเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 การทำสังคายนาครั้งนี้ทำขึ้นเนื่องในโอกาสฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อพิมพ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และคำแปลเป็นภาษาพม่า โดยได้เชิญพุทธศาสนิกชนจากหลายประเทศเข้าร่วมพิธี โดยเฉพาะจากประเทศ พม่า ศรีลังกา ไทย ลาว และกัมพูชา
    • ประเทศไทย นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และครั้งที่ 1-2 ที่ลังกา แต่ในหนังสือสังคีติยวงศ์ หรือประวัติแห่งการสังคายนา ของสมเด็จพระวันรัต ได้นับเพิ่มอีก 4 ครั้ง คือ
    พระไตรปิฎก - วิกิพีเดีย
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ประวัติศาสนาพุทธ

    ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจาก ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายาน
    นิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

    ชาติกำเนิดของพระพุทธเจ้า
    ชาติกำเนิดของพระพุทธเจ้า

    พระพุทธรูป รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้าของชาวพุทธ



    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ พระโคตมพุทธเจ้า
    </DD></DL>พระโคตมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และ พระนางสิริมหามายา ประสูติในราชตระกูลศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงออกผนวชเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา บำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี จึงตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา และทรงประกาศพระศาสนาอยู่ 45 ปี จึงเสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP> ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการนับปีพุทธศักราช
    หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน จึงเกิดขึ้นแก่พระโกณฑัญญะ จนทำให้บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระโกณฑัญญะจึงกราบทูลขออุปสมบทในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งนับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก<SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP> และพระรัตนตรัยจึงเกิดขึ้นในโลกเช่นกันในวันนั้น ต่อมา พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอื่น ๆ เพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์ที่เหลืออีก 4 องค์ จนบรรลุเป็นพระโสดาบันทั้งหมด หลังจากพระปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระโสดาบันหมดแล้ว พระองค์ทรงแสดงธรรมอนัตตลักขณสูตร ซึ่งทำให้พระปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
    ต่อจากนั้น พระองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระยสะและพวกอีก 54 ท่าน จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ในครั้งนั้นจึงมีพระอรหันต์รวมทั้งพระองค์ด้วยทั้งสิ้น 61 พระองค์ พระพุทธเจ้าจึงพระดำริให้พระสาวกออกประกาศศาสนา โดยมีพระปฐมวาจาในการส่งพระสาวกออกประกาศศาสนาว่า
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    ดูกรพระภิกษุทั้งหลาย เราหลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ และของมนุษย์ แม้พวกเธอได้หลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวงทั้งของทิพย์และของมนุษย์เช่นกัน พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน 2 รูป จงแสดงธรรมให้งามในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุเพียงเล็กน้อยมีอยู่ แต่เพราะโทษที่ยังไม่ได้สดับธรรม จึงต้องเสื่อมจากคุณที่พึงจะได้รับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึงธรรมมีอยู่ แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP>
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR></TBODY></TABLE>
    จึงทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง และแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิม แล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นโดยลำดับและเผยแผ่ต่อมาจนถึงปัจจุบัน
    พุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพาน

    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนายังเจริญในอินเดียสืบมา ความเจริญของพุทธศาสนาขึ้นกับว่าได้รับการส่งเสริมจากผู้มีอำนาจในสมัยนั้นหรือไม่ ถ้ามีก็มีความรุ่งเรืองมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลากาลล่วงไป ความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกันได้เกิดขึ้นในหมู่พระสงฆ์ จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป
    การสังคายนาครั้งที่ 1

    การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำขึ้น หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ โดยพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม และพระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระวินัย มีพระอรหันต์เข้าร่วมในการสังคายนา 500 รูป กระทำ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ <SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP>
    การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง 7 วัน ทำให้พระมหากัสสปะ ดำริจัดสังคายนาขึ้น ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิม
    เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร 500 รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ พระปุราณะแสดงความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตามเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยกในคณะสงฆ์<SUP class=reference id=cite_ref-4>[5]</SUP> แต่ไม่ถือว่าเป็นสังฆเภท เนื่องจากพระปุราณะยึดถือตามพุทธานุญาตที่ทรงให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้
    การสังคายนาครั้งที่ 2 : การแตกนิกาย

    เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงไป 100 ปี ภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ 10 ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้มีทั้งภิกษุที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนเกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์ พระยสกากัณฑบุตร ได้จาริกมาเมืองเวสาลี และทราบเรื่องนี้ ได้พยายามคัดค้าน แต่ภิกษุชาววัชชีไม่เชื่อฟัง ภิกษุที่สนับสนุนพระยสกากัณฑบุตรจึงนำเรื่องไปปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ในขณะนั้นได้แก่ พระเรวตะ พระสัพกามีเถระ เป็นต้น จึงตกลงให้ทำการสังคายนาขึ้นอีกครั้ง
    ภิกษุชาววัชชีไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการสังคายนานี้ แต่ไปรวบรวมภิกษุฝ่ายตนประชุมทำสังคายนาต่างหาก เรียกว่า มหาสังคีติ และเรียกพวกของตนว่า มหาสังฆิกะ<SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP> ทำให้พุทธศาสนาในขณะนั้นแตกเป็น 2 นิกาย คือ ฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนาเรียก เถรวาท ฝ่ายที่ถือตามมติของอาจารย์ของตนเรียก อาจาริยวาท<SUP class=reference id=cite_ref-6>[7]</SUP> <SUP class=reference id=cite_ref-7>[8]</SUP>
    อีกราว 100 ปีต่อมา สงฆ์ทั้ง 2 ฝ่ายมีการแตกนิกายออกไปอีก หลักฐานฝ่ายภาษาบาลีว่าแตกไป 18 นิกาย หลักฐานฝ่ายภาษาสันสกฤตว่า แตกไป 20 นิกาย ได้แก่<SUP class=reference id=cite_ref-8>[9]</SUP>
    <TABLE class="" style="WIDTH: 100%; BACKGROUND-COLOR: transparent" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="50%">[แก้] หลักฐานฝ่ายบาลี

    </TD><TD vAlign=top align=left width="50%">[แก้] หลักฐานฝ่ายสันสกฤต

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    การสังคายนาครั้งที่ 3

    เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา มีพระโมคคัลลีบุรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา 9 เดือนจึงสำเร็จในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง<SUP class=reference id=cite_ref-9>[10]</SUP>
    หลังจากการสังคายนาสิ้นสุดลง พระเจ้าอโศกฯได้ส่งสมณทูต 9 สายออกเผยแผ่พุทธศาสนา คือ
    1. คณะพระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์และแคว้นคันธาระ
    2. คณะพระมหาเทวะ ไป มหิสกมณฑล ซึ่งคือ แคว้นไมซอร์และดินแดนลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ในอินเดียใต้ปัจจุบัน
    3. คณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นบอมเบย์ในปัจจุบัน
    4. คณะพระธรรมรักขิต ไป อปรันตกชนบท แถบทะเลอาหรับทางเหนือของบอมเบย์
    5. คณะพระมหาธรรมรักขิต ไปแคว้นมหาราษฎร์
    6. คณะพระมหารักขิต ไปโยนกประเทศ ได้แก่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน และเตอร์กิสถาน
    7. คณะพระมัชฌิมเถระ ไปแถบเทือกเขาหิมาลัย คือ เนปาลปัจจุบัน
    8. คณะพระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า มอญ
    9. คณะพระมหินทระ ไปลังกา
    <H2>กำเนิดมหายาน</H2><DL><DD>ดูบทความหลักที่ มหายาน
    </DD></DL>พระพุทธศาสนามหายานเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 โดยเป็นคณะสงฆ์ที่มีความเห็นต่างจากนิกายเดิมที่มีอยู่ 18 - 20 นิกายในขณะนั้น แนวคิดของมหายานพัฒนามาจากแนวคิดของนิกายมหาสังฆิกะและนิกายที่แยกไปจากนิกายนี้ จุดต่างจากนิกายดั้งเดิมคือคณะสงฆ์กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการเป็นพระโพธิสัตว์และเน้นบทบาทของคฤหัสถ์มากกว่าเดิม<SUP class=reference id=cite_ref-10>[11]</SUP> จึงแยกออกมาตั้งนิกายใหม่ เหตุที่มีการพัฒนาลัทธิมหายานขึ้นนั้นเนื่องจาก
    1. แรงผลักดันจากการปรับปรุงศาสนาพราหมณ์ มีการแต่งมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะเพื่อดึงดูดใจผู้อ่านให้ภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า กำหนดให้มีพระเจ้าสูงสุด 3 องค์ คือพระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ศาสนาพราหมณ์จึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ฝ่ายพุทธศาสนาจึงจำเป็นต้องปรับตัว
    2. แรงบันดาลใจจากบุคลิกภาพของพระพุทธองค์ ฝ่ายมหายานเห็นว่าพระพุทธองค์เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ ไม่ควรสิ้นสุดหลังจากปรินิพพาน ทำให้เหมือนกับว่าชาวพุทธขาดที่พึ่ง จึงเน้นคุณความดีของพระองค์ ในฐานะที่เป็นพระโพธิสัตว์ เน้นให้ชาวพุทธปรารถนาพุทธภูมิ บำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ช่วยเหลือผู้อื่น ภายหลังจึงเกิดแนวคิดตรีกายของพระพุทธเจ้า
    3. เกิดจากบทบาทของพุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์ เพราะลัทธิมหายานเน้นที่การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งพระโพธิสัตว์เป็นคฤหัสถ์ได้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คฤหัสถ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
    คณาจารย์ที่สำคัญของนิกายมหายานคือ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอสังคะ พระวสุพันธุ เป็นต้น หลังจากการก่อตัว พุทธศาสนามหายานซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเชื่อดั้งเดิมที่แตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นได้ง่ายกว่าพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมได้แพร่กระจายออกจากอินเดียไปในทวีปเอเชียหลายประเทศ<SUP class=reference id=cite_ref-11>[12]</SUP>
    <H2>การแผ่ขยายของมหายาน</H2><H2>อินเดียและความเสื่อมของพุทธศาสนาพุทธศาสนามหายานในอินเดียได้รับการสนับสนุนโดยราชวงศ์กุษาณ เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์กุษาณ พุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์โดยราชวงศ์คุปตะ มีการสร้างศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา คือ มหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น พระนาคารชุน พุทธศาสนาในสมัยนี้ได้แพร่หลายไปยังจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่ง การสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์คุปตะจากการรุกรานของชาวฮั่นในพุทธศตวรรษที่ 11<SUP class=reference id=cite_ref-12>[13]</SUP>
    บันทึกของหลวงจีนอี้จิงที่มาถึงอินเดียในพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า พุทธศาสนารุ่งเรืองในอันธระ ธันยกตกะ และ ฑราวิฑ ปัจจุบัน คือรัฐอันธรประเทศและทมิฬนาดู<SUP class=reference id=cite_ref-13>[14]</SUP> ยังมีชาวพุทธในเนปาล และสสันภะ ในอาณาจักรคังทา (รัฐเบงกอลตะวันตกในปัจจุบัน) และ หรรษวรรธนะ เมื่อสิ้นสุดยุคอาณาจักรหรรษวรรธนะ เกิดอาณาจักรเล็กๆขึ้นมากมาย โดยมีแคว้นราชปุตให้การอุปถัมภ์พุทธศาสนา
    จนกระทั่ง ยุคจักรวรรดิปาละในเบงกอล พุทธศาสนามหายานรุ่งเรืองอีกครั้ง และได้แพร่หลายไปยังสิกขิมและภูฏาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17 เมื่อจักรวรรดิปาละปกรองด้วยกษัตริย์ราชวงศ์เสนะที่นับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธจึงเสื่อมลง
    ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงอย่างช้า ๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ความเสื่อมในอินเดียตะวันออกเริ่มตั้งแต่จักรวรรดิปาละหันไปส่งเสริมศาสนาฮินดูไวษณพนิกาย ส่วนในอินเดียเหนือเริ่มเสื่อมตั้งแต่ พ.ศ. 1736 เมื่อชาวเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลาม นำโดยมูฮัมหมัด คิลญี บุกอินเดียและเผามหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งแต่ พ.ศ. 1742 เป็นต้นไป ศาสนาอิสลามแพร่เข้าสู่พิหาร ทำให้ชาวพุทธโยกย้ายไปทางเหนือเข้าสู่เทือกเขาหิมาลัยหรือลงใต้ไปที่ศรีลังกา นอกจากนั้น ความเสื่อมของศาสนาพุทธยังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของศาสนาฮินดู ภายใต้การนำของขบวนการต่าง ๆ เช่น อัธไวตะ ภักติ และการเผยแผ่ศาสนาของนักบวชลัทธิซูฟี<SUP class=reference id=cite_ref-14>[15]</SUP>
    <H3>พุทธศาสนาในเอเชียกลาง


    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ พุทธศาสนาในซินเจียงอุยกูร์ และเอเชียกลาง
    </DD></DL>ดินแดนเอเชียกลางได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีกล่าวในเอกสารของฝ่ายเถรวาทว่าพ่อค้าสองคนจากแบกเทรีย คือ ตปุสสะและภัลลิกะ ได้พบพระพุทธเจ้าและปฏิญาณตนเป็นอุบาสก เมื่อกลับไปบ้านเมืองของตนได้สร้างวัดในพุทธศาสนาขึ้น<SUP class=reference id=cite_ref-15>[16]</SUP>
    เอเชียกลางเป็นดินแดนสำคัญในการติดต่อระหว่างจีน อินเดีย และเปอร์เซีย การุกรานของชาวฮั่นโบราณใน พ.ศ. 343 ไปทางตะวันตกเข้าสู่ดินแดนที่ได้รับอารยธรรมจากกรีกโดยเฉพาะอาณาจักรแบกเทรียทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมขึ้น<SUP class=reference id=cite_ref-16>[17]</SUP> การขยายตัวของพุทธศาสนาขึ้นสู่ทางเหนือทำให้เกิดอาณาจักรพุทธในเอเชียกลาง เมืองบนเส้นทางสายไหมหลายเมืองเป็นเมืองพุทธที่ต้อนรับนักเดินทางทั้งจากตะวันตกและตะวันออก
    พุทธศาสนาเถรวาทแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนของชาวเติร์กก่อนที่จะผสมผสานกับนิกายมหายานที่แพร่หลายเข้ามาภายหลัง ดินแดนดังกล่าว คือ บริเวณที่เป็นประเทศปากีสถาน รัฐแคชเมียร์ อัฟกานิสถาน อิหร่านตะวันออกและแนวชายฝั่ง อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน อาณาจักรโบราณในสมัยนั้น คือ แคว้นคันธาระ แบกเทรีย พาร์เทีย และซอกเดีย ศาสนาพุทธในบริเวณนี้ได้แพร่ต่อไปยังจีน อิทธิพลของความเชื่อท้องถิ่นทำให้ศาสนาพุทธในบริเวณนี้แตกเป็นหลายนิกาย นิกายที่โดดเด่น คือ นิกายธรรมคุปตวาทและนิกายสรวาสติวาทิน<SUP class=reference id=cite_ref-17>[18]</SUP>
    ศาสนาพุทธในเอเชียกลางเสื่อมลงเมื่อศาสนาอิสลามแพร่หลายเข้ามาในบริเวณนี้ มีการทำลายสถูปจำนวนมากในสงครามในพุทธศตวรรษที่ 12 ศาสนาพุทธมีท่าทีว่าจะฟื้นตัวขึ้นอีกเมื่อเจงกีสข่านรุกรานเข้ามาในบริเวณนี้ มีการจัดตั้งดินแดนของอิลข่านและชะกะไตข่าน เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 แต่อีก 100 ปีต่อมา ชาวมองโกลส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้ศาสนาอิสลามแพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง
    พุทธศาสนาในพาร์เทีย

    ศาสนาพุทธแพร่ไปทางตะวันตกถึงพาร์เทียอย่างน้อยถึงบริเวณเมิร์บในมาร์เกียนาโบราณ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเติร์กเมนิสถาน ชาวพาร์เทียจำนวนมากมีบทบาทในการแพร่กระจายของพุทธศาสนาโดยนักแปลคัมภีร์ชาวพาร์เทียจำนวนมากแปลคัมภีร์พุทธศาสนาเป็นภาษาจีน
    พุทธศาสนาในที่ราบตาริม

    บริเวณตะวันออกของเอเชียกลาง (เตอร์เกสถานของจีน ที่ราบตาริม และเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์) พบศิลปะทางพุทธศาสนาจำนวนมาก ซึ่งแสดงอิทธิพลของอินเดียและกรีก ศิลปะเป็นแบบคันธาระ และจารึกเขียนด้วยอักษรขโรษฐี<SUP class=reference id=cite_ref-18>[19]</SUP>
    ดินแดนเอเชียกลาง เป็นตัวเชื่อมสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาพุทธไปทางตะวันออก ผู้แปลคัมภีร์เป็นภาษาจีนรุ่นแรกๆ เป็นชาวพาร์เทีย ชาวกุษาณ หรือชาวซอกเดีย การติดต่อแลกเปลี่ยนพุทธศาสนาระหว่างเอเชียกลางกับเอเชียตะวันออกพบมากในพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้ศาสนาพุทธเข้าไปตั้งมั่นในจีนจนปัจจุบัน
    พุทธศาสนาในจีน

    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ พุทธศาสนาในประเทศจีน
    </DD></DL>คาดว่าพุทธศาสนาเข้าสู่จีนเมื่อพุทธศตวรรษที่ 6 โดยผ่านเอเชียกลาง (แม้จะมีเรื่องเล่าว่ามีพระภิกษุเข้าไปถึงประเทศจีนตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) จนในพุทธศตวรรษที่ 13 จีนจึงกลายเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของพุทธศาสนา
    ใน พ.ศ. 610 มีการก่อตั้งศูนย์กลางการเผยแผ่พุทธศาสนาในจีนโดยพระภิกษุสององค์ คือพระกาศยปะมาตังคะ และ และพระธรรมรักษ์<SUP class=reference id=cite_ref-19>[20]</SUP> ใน พ.ศ. 611 พระเจ้าหมิงตี้แห่งราชวงศ์ตงฮั่นได้สร้างวัดม้าขาวซึ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน อยู่ใกล้กับเมืองหลวง คือ เมืองลั่วหยาง คัมภีร์ทางพุทธศาสนามหายานแปลเป็นภาษาจีนครั้งแรกโดยพระภิกษุจากกุษาณ โลก๊กเสมา ในเมืองลั่วหยาง ระหว่าง พ.ศ. 721- 732<SUP class=reference id=cite_ref-20>[21]</SUP>ศิลปะทางพุทธศาสนายุคแรก ๆ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบคันธาระ
    พุทธศาสนาในจีนรุ่งเรืองมากในยุคราชวงศ์ถัง<SUP class=reference id=cite_ref-21>[22]</SUP> ราชวงศ์นี้ได้เปิดกว้างต่อการรับอิทธิพลจากต่างชาติ และมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอินเดีย มีพระภิกษุจีนเดินทางไปอินเดียมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-16 เมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ถัง คือ ฉางอาน กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของพุทธศาสนาและเป็นแหล่งเผยแผ่ศาสนาต่อไปยังเกาหลีและญี่ปุ่น
    อย่างไรก็ตาม อิทธิพลจากต่างชาติกลายเป็นผลลบในตอนปลายของราชวงศ์ถัง ใน พ.ศ. 1388 จักรพรรดิหวู่ซุง ประกาศให้ศาสนาจากต่างชาติ ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ผิดกฎหมาย หันไปสับสนุนลัทธิเต๋าแทน ในสมัยของพระองค์มีการทำลายวัด คัมภีร์และบังคับให้พระภิกษุสึก ความรุ่งโรจน์ของพุทธศาสนาจึงสิ้นสุดลง พุทธศาสนานิกายสุขาวดีและนิกายฌานยังคงรุ่งเรืองต่อมา และกลายเป็นนิกายเซนในญี่ปุ่น นิกายฌานในจีนมีอิทธิพลในสมัยราชวงศ์ซ้อง
    พุทธศาสนาในเกาหลี

    พุทธศาสนาเข้าสู่เกาหลีเมื่อราว พ.ศ. 915 เมื่อราชทูตจากจีนนำคัมภีร์และภาพวาดไปยังอาณาจักรโคกูรยอ<SUP class=reference id=cite_ref-22>[23]</SUP> ศาสนาพุทธรุ่งเรืองในเกาหลีโดยเฉพาะนิกายเซนในพุทธศตวรรษที่ 12 จนกระทั่ง ถึงยุคของการฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อในสมัยราชวงศ์โชซอนตั้งแต่ พ.ศ. 1935 ศาสนาพุทธจึงเสื่อมลง
    พุทธศาสนาในญี่ปุ่น

    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ พุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น
    <DD>ดูบทความหลักที่ เซน
    </DD></DL>ญี่ปุ่นได้รับพุทธศาสนาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 11 โดยพระภิกษุชาวเกาหลีนำคัมภีร์และศิลปะทางพุทธศาสนาเข้าสู่ญี่ปุ่น เมื่อสิ้นสุดยุคของเส้นทางสายไหม พร้อมๆกับการเสื่อมของพุทธศาสนาในอินเดีย เอเชียกลางและจีน ญี่ปุ่นยังคงรักษาความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาไว้ได้ ตั้งแต่ พ.ศ. 1253 เป็นต้นมา มีการสร้างวัดและรูปเคารพจำนวนมากในเมืองหลวงคือเมืองนารา โดยการนำแบบแผนทางวัฒนธรรมจีนเข้ามาผสมผสานในศิลปะแบบญี่ปุ่นจากการเดินทางมาของหลวงจีนเจี้ยนเจิน พุทธศิลป์แบบญี่ปุ่นรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 – 18 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 พุทธศาสนานิกายเซนรุ่งเรือง รวมทั้งศิลปะที่สืบเนื่องจากนิกายเซนด้วย พุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองในญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน
    พุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6 การค้าทางบกผ่านเส้นทางสายไหมถูกจำกัดเนื่องจากการขยายตัวในตะวันออกกลางของจักรวรรดิเปอร์เซีย และการเป็นศัตรูกับโรม ชาวโรมันที่ต้องการสินค้าจากตะวันออกไกลจึงทำการค้าทางทะเล ติดต่อระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับจีน ผ่านอินเดีย ในช่วงเวลานี้เองอินเดียมีอิทธิพลเหนือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก ตั้งแต่ภาคใต้ของพม่า ภาคกลางและภาคใต้ของไทย กัมพูชาตอนล่างและภาคใต้ของเวียดนาม การค้าชายฝั่งเจริญขึ้นมาก
    ผลจาการเผยแผ่อารยธรรมอินเดียเข้าสู่บริเวณนี้ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตแพร่เข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน ศาสนาพราหมณ์ได้เผยแผ่เข้ามาในบริเวณนี้เช่นกัน พร้อมกับวรรณคดีสำคัญ คือ รามายณะและมหาภารตะ
    ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 – 18 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจักรวรรดิที่รุ่งเรืองทางด้านพุทธศาสนาและศิลปะอยู่สองแห่ง ความเชื่อสำคัญในยุคนี้เป็นแบบมหายาน จักรวรรดิที่มีอิทธิพลทางใต้บริเวณหมู่เกาะ คือ อาณาจักรศรีวิชัย ส่วนทางเหนือ คือ อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ ที่มีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์มาก
    อาณาจักรศรีวิชัย

    นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่มี่ปาเล็มบัง บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย<SUP class=reference id=cite_ref-23>[24]</SUP> นับถือพุทธมหายานหรือวัชรยานภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่าที่ปาเล็มบังมีภิกษุมากกว่า 10,000 รูป ท่านอตีศะเคยมาศึกษาที่นี่ ก่อนเข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนาในทิเบต
    ศิลปะทางพุทธศาสนาของศรีวิชัยแพร่หลายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า ศิลปะศรีวิชัย ส่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ คือ บุโรพุทโธ (สร้างเมื่อราว พ.ศ. 1323) ในเกาะชวา อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลงเนื่องจากความขัดแย้งกับราชวงศ์โจฬะในอินเดีย ก่อนจะรับอิทธิพลอารยธรรมอิสลามในพุทธศตวรรษที่ 18
    อาณาจักรขอม

    ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 - 18 พุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดูรุ่งเรืองในอาณาจักรขอม มีการสร้างศาสนสถานมากมายทั้งในไทยและกัมพูชา รวมทั้งนครวัด มหายานรุ่งเรืองที่สุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างนครธม มหายานเสื่อมลงในพุทธศตวรรษที่ 16 ไล่เลี่ยกับความเสื่อมของมหายานในอินเดีย จากนั้น พุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์เข้ามามีอิทธิพลแทนที่
    กำเนิดวัชรยาน

    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ วัชรยาน
    <DD>ดูบทความหลักที่ พุทธศาสนาในทิเบต
    </DD></DL>พุทธศาสนานิกายวัชรยาน หรือ พุทธศาสนาลัทธิตันตระ กำเนิดขึ้นครั้งแรกทางตะวันออกของอินเดีย เมื่อราว พ.ศ. 700 - 1200<SUP class=reference id=cite_ref-24>[25]</SUP> บางครั้งจัดเป็นส่วนหนึ่งของมหายานแต่บางครั้งก็แยกตัวเองออกมาต่างหาก หลักปรัชญาของวัชรยานเป็นแบบเดียวกับมหายาน แต่มีวิธีการหรือ "อุปาย" ต่างไป โดยมีการใช้ญาณทัศน์และโยคะอื่น ๆ เข้ามา การฝึกเหล่านี้ได้อิทธิพลจากลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู วัชรยานในทิเบต ก่อตั้งโดยท่านปัทมสัมภวะ
    วัชรยานยุคแรก ผู้ฝึก เรียกว่า มหาสิทธา มักอยู่ตามป่า จนกระทั่งราว พ.ศ. 1400 วัชรยานจึงแพร่เข้าสู่มหาวิทยาลัยทางพุทธศาสนาในยุคนั้น คือ มหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา<SUP class=reference id=cite_ref-25>[26]</SUP> วัชรยานเสื่อมจากอินเดียเมื่อราว พ.ศ. 1700 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการรุกรานอินเดียของชาวมุสลิม ทำให้ขาดผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนา วัชยานได้แพร่หลายไปสู่ทิเบตและกลายเป็นพุทธศาสนานิกายหลักที่นั่น บางส่วนได้แพร่หลายต่อไปยังจีนและญี่ปุ่นเกิดเป็นนิกายเชนเหยน หรือมี่จุงในจีน และนิกายชินกอนในญี่ปุ่น

    การฟื้นฟูนิกายเถรวาท
    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ เถรวาท
    <DD>ดูบทความหลักที่ พุทธศาสนาในประเทศไทย
    </DD></DL>ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ราว พ.ศ. 1600 - 1700 เนื่องมาจากการทำสงครามกับชาวมุสลิมที่เข้ามารุกรานอินเดีย ซึ่งทำให้การนับถือพุทธศาสนามหายานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสื่อมลงด้วย ในช่วงเวลานั้น การค้าขายทางทะเลระหว่างตะวันออกกลางไปยังจีนผ่านทางศรีลังกาเริ่มเฟื่องฟูขึ้น และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีการฟื้นฟูนิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลีที่ศรีลังกาอีกครั้ง นิกายนี้จึงแพร่หลายไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    พระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิพม่าครั้งแรกเป็นผู้รับพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์นี้เข้าสู่พม่า มีการสร้างเจดีย์ในเมืองหลวงมากมาย<SUP class=reference id=cite_ref-26>[27]</SUP> แม้ในกาลต่อมา อำนาจของพม่าเสื่อมถอยลงเพราะถูกมองโกลรุกราน และไทยมีอำนาจขึ้นแทน พุทธศาสนานิกายเถรวาทก็ยังคงเป็นนิกายหลักในพม่า
    พุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกาแพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทยที่นครศรีธรรมราชและสุโขทัยเมื่อราว พ.ศ. 1800<SUP class=reference id=cite_ref-27>[28]</SUP> และยังคงนับถือสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน พุทธศาสนานิกายเถรวาทได้แพร่หลายจากไทยไปยังลาวและกัมพูชา ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของไทยมาก่อน ส่วนดินแดนในเขตหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยนับถือนิกายมหายานเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามเกือบทั้งหมด
    พุทธศาสนาในโลกตะวันตก

    มีหลักฐานว่าพุทธศาสนาแพร่หลายไปถึงตะวันตกมานาน ชาดก ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนา มีผู้แปลเป็นภาษาซีเรียค และภาษาอาหรับ เช่น Kalilag and Dammag พุทธประวัติแปลเป็นภาษากรีกโดย จอห์นแห่งดามัสกัส ได้เป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวคริสต์ในนามของบาร์ลาอัมและโยซาฟัต เรื่องนี้เป็นที่นิยมของชาวคริสต์ จนกระทั่ง เมื่อประมาณ พ.ศ. 1800 ชาวคริสต์ยกย่องโยซาฟัตให้เป็นนักบุญแห่งนิกายคาทอลิก
    ความสนใจในพุทธศาสนาเริ่มขึ้นอีกครั้งในยุคอาณานิคม เมื่อมหาอำนาจตะวันตกได้มีโอกาสศึกษาศาสนาในรายละเอียดมากขึ้น ปรัชญาในยุโรปสมัยนั้นได้รับอิทธิพลจากศาสนาในตะวันออกมาก การเปิดประเทศของญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2396 ทำให้มีการยอมรับศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่น รวมทั้งวัฒนธรรมเกี่ยวกับศาสนาพุทธด้วย งานแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเป็นภาษาตะวันตกเริ่มขึ้นโดย Max Muller ผู้จัดพิมพ์ Scared Books of the East "คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งตะวันออก" มีการจัดตั้งสมาคมบาลีปกรณ์เพื่อจัดพิมพ์พระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพุทธศาสนาอื่นๆ แต่ความสนใจยังจำกัดในหมู่ปัญญาชน <SUP class=reference id=cite_ref-28>[29]</SUP>
    ศาสนาพุทธเริ่มเป็นที่สนใจของชาวยุโรปอย่างกว้างขวาง ในพุทธศตวรรษที่ 25 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2เป็นต้นมา ความเชื่อทางศาสนาของชาวตะวันตกเปลี่ยนไปเน้นที่ความเชื่อของปัจเจกบุคคลมากขึ้น ทำให้ศาสนาพุทธเป็นที่ดึงดูดใจ จากการที่มีข้อพิสูจน์ให้พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติด้วยตนเอง มีการตั้งองค์กรทางพุทธศาสนาระดับโลกโดยชาวพุทธจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือรวม 27 ประเทศที่ศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2493 ในชื่อองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก<SUP class=reference id=cite_ref-29>[30]</SUP>
    <H3>ประเทศอังกฤษ</H3><DL><DD>ดูบทความหลักที่ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอังกฤษ
    </DD></DL>พุทธศาสนาเข้าสู่อังกฤษครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2448 โดย J.R. Jackson เป็นผู้ก่อตั้งพุทธสมาคมในอังกฤษ และ Charls Henry Allen Bernett ผู้ซึ่งต่อมาบวชเป็นพระภิกษุในพม่า มีฉายาว่า "อานันทเมตเตยยะ" เป็นพระภิกษุชาวอังกฤษคนแรก <SUP class=reference id=cite_ref-30>[31]</SUP> คณะสงฆ์ไทยส่งคณะทูตไปเผยแผ่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2507 และได้สร้างวัดไทยชื่อวัดพุทธปทีปในลอนดอน
    <H3>ประเทศเยอรมนี</H3>มีการตั้งสมาคมเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2446 ต่อมามีชาวเยอรมันไปบวชเป็นพระภิกษุที่ศรีลังกา การเผยแผ่พุทธศาสนาในเยอรมันชะงักไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และถูกห้ามในสมัยของฮิตเลอร์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีการฟื้นฟูพุทธศาสนาโดยพระภิกษุจากพม่า และมีการติดต่อกับพุทธสมาคมในศรีลังกา มีวัดไทยในเบอร์ลินเช่นกัน <SUP class=reference id=cite_ref-31>[32]</SUP>
    <H3>สหรัฐอเมริกา</H3><DL><DD>ดูบทความหลักที่ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา
    </DD></DL>พุทธศาสนาเข้าสู่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2448 โดยเป็นพุทธศาสนาจากจีนและญี่ปุ่น ในยุคต่อมาจึงเป็นพุทธศาสนาแบบทิเบต ใน พ.ศ. 2504 มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเปิดสอนปริญญาเอกสาขาพุทธศาสตร์เป็นแห่งแรกในสหรัฐ คณะสงฆ์ไทยสร้างวัดไทยแห่งแรกในสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2515 <SUP class=reference id=cite_ref-32>[33]</SUP>
    <SUP></SUP>
    <SUP>ประวัติศาสนาพุทธ - วิกิพีเดีย</SUP>






    </H2>

    </H3>
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <CENTER>[SIZE=+1]| หน้าแรก | พระวินัยปิฎก | พระสุตตันตปิฎก |[/SIZE]</CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>
    [SIZE=+2]พระไตรปิฎก[/SIZE] [SIZE=+1]

    <DD>[/SIZE]เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ

    1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
    2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
    3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ
    แผนผังพระไตรปิฎก

    พระวินัยปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ

    1.
    มหาวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัยที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของพระภิกษุ เป็นศีลของภิกษุที่มาในปาติโมกข์

    2. ภิกษุณีวิภังค์
    ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัย ของพระภิกษุณี</B>
    3. มหาวัคค์
    ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรก และพิธีกรรมทางพระวินัย แบ่งออกเป็นขันธกะ
    10 หมวด
    4. จุลลวัคค์ ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัย ความเป็นมาของพระภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา แบ่งออกเป็นขันธกะ 12 หมวด

    5. บริวาร ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญหาใน 4 เรื่องข้างต้น

    พระสุตตันตปิฎก
    มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ
    1. ทีฆนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว มี 34 สูตร

    2. มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดกลาง ไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป

    มี 152 สูตร
    3. สังยุตตนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลธรรมะไว้เป็นพวก ๆ เรียกว่า สังยุต เช่นกัสสปสังยุต ว่าด้วยเรื่องของพระมหากัสสป โกศลสังยุต ว่าด้วยเรื่องในแคว้นโกศล มัคคสังยุต ว่าด้วยเรื่องมรรคคือข้อปฎิบัติ เป็นต้น มี 7,762 สูตร

    4. อังคุตตรนิกาย ว่าพระพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเป็นข้อ ๆ ตามลำดับจำนวน เช่น ธรรมะหมวด 1 ธรรมะหมวด 2 ธรรมะหมวด 10 แต่ละข้อก็มีจำนวนธรรมะ 1, 2, 10 ตามหมวดนั้น

    มี 9,557 สูตร
    5. ขุททกนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด รวมทั้งภาษิตของพระสาวก ประวัติต่าง ๆ และชาดก รวบรวมหัวข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน 4 หมวดข้างต้น แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่มี 15 เรื่อง

    พระอภิธรรมปิฎก
    แบ่งออกเป็น 7 เรื่องด้วยกันคือ
    1. ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะ รวมเป็นหมวดเป็นกลุ่ม

    2. วิภังค์ ว่าด้วยธรรมะแยกเป็นข้อ ๆ

    3. ธาตุกถา ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสำคัญโดยถือธาตุเป็นหลัก

    4. ปุคคลบัญญัต ว่าด้วยบัญญัติ 6 ชนิด และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล

    5. กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรม จำนวนหนึ่งประมาณ 219 หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรม

    6. ยมก ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นคู่ ๆ

    7. ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุน 24 อย่าง

    ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

    1. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป

    2. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

    3. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่

    4. พระอานนท์ เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวรนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า 8 ประการ ในเงื่อนไขประการที่ 7 และประการที่ 8 มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ

    ประการที่ 7 ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
    ประการที่ 8 ถ้าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์
    ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ 8 อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้
    ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน
    ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ
    5. พระอุบาลี เป็นผู้ที่สนใจและจดจำพระธรรมพระวินัยได้เป็นพิเศษ มีความเชี่ยวชาญใน พระวินัย ในการทำสังคายนาครั้งแรก พระอุบาลีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับ พระวินัยปิฎก

    6. พระโสณกุฎิกัณณะ เป็นผู้ที่ทรงจำได้ดีมาก เคยท่องจำบางส่วนของ พระสุตตันตปิฎก เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ได้รับสรรเสริญว่าทรงจำได้ดีมาก รวมทั้งท่วงทำนองในการกล่าว ว่าไพเราะ สละสลวย แสดงให้เห็นถึง การท่องจำพระธรรมวินัย ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้า

    การสังคายนาพระไตรปิฎก

    <DD>พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ สมัยเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
    ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย กล่าวว่า การสังคายนามี 9 ครั้ง
    <DD>การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 รูป พระมหากัสสปเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระเจ้าอชาติศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 7 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้มีปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฎก
    <DD>การสังคายนาครั้งที่ 2 กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 700 รูป พระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พร้อมพระผู้ใหญ่อีก 8 รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบปัญหาทางพระวินัย ที่เกิดขึ้น กระทำอยู่ 8 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ มีปรากฎในพระวินัยปิฎก
    <DD>การสังคายนาครั้งที่ 3 กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย กระทำเมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 235 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 1,000 รูป พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นหัวหน้า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 9 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งกถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมเพิ่มขึ้น เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้วได้ส่ง คณะทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระมหินทเถระได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา
    <DD>การสังคายนาครั้งที่ 4 กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. 643 มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม 21 พระองค์ มีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท
    การนับสังคายนาของไทย
    <DD>ไทยเรายอมรับรองการสังคายนาครั้งที่ 1,2 และ 3 ในอินเดีย และครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 ในลังกา ซึ่งกระทำเมื่อ พ.ศ. 238, พ.ศ. 433, พ.ศ. 956 และ พ.ศ. 1587 รวมกันเป็น 7 ครั้ง <DD>การสังคายนาครั้งที่ 8 ทำในประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2020 พระเจ้าติโลกราช

    แห่งเชียงใหม่ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูปช่วยกันชำระพระไตรปิฎกที่วัดโพธาราม ใช้เวลา 1 ปี จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 1 ในประเทศไทย
    <DD>การสังคายนาครั้งที่ 9 ทำในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์ 218 รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก 32 คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลาน แล้วเสร็จใน 5 เดือน นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
    การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
    <DD>สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึก คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา ซึ่งคล้ายกับอักษรพม่า <DD>สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาวและอักษรรามัญ เป็นอักษรขอม ใส้ตู้ไว้ใน หอมณเฑียรธรรม และถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง <DD>สมัยที่ ๓ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๖ ได้คัดลอกตัวอักษรขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย และชำระแก้ไข แล้วพิมพ์เป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม มีการประกาศสังคายนา แต่คนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา พิมพ์ออกมา ๑,๐๐๐ ชุด นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย ในการพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด ยังไม่ได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม มาพิมพ์เพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ <DD>สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ อีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก
    ผลจากการส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อให้สามารถ อ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้ และได้มีภิกษุชาวเยอรมันเขียนหนังสือสดุดีไว้ว่า พระไตรปิฎกฉบับ ของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษ เป็นอันมาก
    ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
    <DD>[SIZE=+1]พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๑ เรียกว่า พระบาล <DD>อรรถกถาหรือวัณณนา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๒ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ <DD>ฎีกา เป็นคำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้น ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗ <DD>อนุฎีกา เป็นคำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔
    การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
    การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ได้กระทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแปลไว้เป็นจำนวนมาก ในรัชสมัยต่อ ๆ มา การแปลก็ยังคงดำเนินไปเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะแปลพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย สำนวนโวหารในการแปลก็ผิดกันมาก เพราะต่างยุคต่างสมัย
    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ผู้ใคร่ศึกษาต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง จึงจะศึกษาได้สมประสงค์ แม้มีผู้รู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่บ้าง ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน ไม่ตลอดเรื่อง ถ้าสามารถแปลจบครบบริบูรณ์ ก็จะเป็นอุปการคุณแก่ พุทธบริษัทชาวไทยอย่างใหญ่หลวง ในต่างประเทศ ได้มีนักปราชญ์อุตสาหะแปลบาลีพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ออกเป็นภาษาของเขาแล้ว สำหรับฝ่ายมหายานนั้น ได้มีการแปลพระไตรปิฎก จากฉบับภาษาสันสกฤต ออกเป็นภาษาของชาวประเทศที่นับถือลัทธิมหายาน มาแล้วช้านาน การที่นักปราชญ์ดังกล่าวจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของเขา ก็ด้วยเห็นประโยชน์ที่มหาชนชาวประเทศนั้น ๆ จะพึงได้รับการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ จึงเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง ที่จะคิดจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้ตลอดสาย จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์ และประเทศไทยให้ปรากฎไปในนานาประเทศ แต่เนื่องด้วยการนี้เป็นการใหญ่ เกินวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะทำให้สำเร็จได้ จึงขอให้กระทรวงธรรมการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้ ให้กรมธรรมการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์ พระไตรปิฎกเป็นสมุดตีพิมพ์และลงในใบลาน เพื่อเผยแพร่แก่พุทธบริษัทสืบไป
    คณะกรรมการแปลพระไตรปิฎก เริ่มดำเนินการแปลตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
    ๑. แปลโดยอรรถ ตามความในบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ สำหรับพิมพ์เป็นเล่มสมุด เรียกว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทย"
    ๒. แปลโดยสำนวนเทศนา สำหรับพิมพ์ลงใบลาน เป็นคัมภีร์เทศนา เรียกว่า "พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง" แบ่งออกเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ โดยถือเกณฑ์พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เมื่อคราวจตุรงคสันนิบาตในสมัยพุทธกาล เป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์ พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์ พิมพ์ลงใบลานเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒
    ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยดำริจะจัดทำพิธีฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
    คณะสังฆมนตรีพิจารณาเห็นสมควร จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาไทย ซึ่งคณะสงฆ์ได้ตั้งกรรมการจัดแปล และกำลังตรวจสำนวน ทำต้นฉบับสำหรับพิมพ์อยู่แล้วนั้น เพื่อเป็นอนุสาสนีย์เนื่องในงานนั้นด้วย
    จึงได้กำหนดจำนวนหนังสือที่จะพิมพ์ จากจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ๑,๐๐๐ จบ เป็น ๒,๕๐๐ จบ เพื่อให้เหมาะสมแก่งานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กรมศาสนาได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าจำนวนเล่มที่พิมพ์ ครั้งแรกชุดละ ๘๐ เล่ม เพื่อให้ไม่หนาเกินไป และมีจำนวนเล่มเท่าจำนวนพระชนมายุของพระพุทธเจ้า แต่ทำให้การอ้างอิงไม่ตรงกับเล่มในฉบับบาลี ซึ่งมีอยู่ ๔๕ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งนี้จึงพิมพ์จบละ ๔๕ เล่ม และประจวบกับปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นับเป็นมหามงคลสมัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาบรรจบครบ ๒๕ ปี ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษก ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง" จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ จบ จบละ ๔๕ เล่ม
    [SIZE=+1]</DD><DD>
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หวังคงมีความรู้เพิ่มขึ้นนะคราบ

    พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาแต่โบราณกาล ปวงชนชาวไทย มากกว่าร้อยละ ๙๕ นับถือพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ตามโบราณราชประเพณี พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานชีวิตจิตใจ และเป็นแกนของวัฒนธรรมไทยทุกสาขา ชายไทยทุกคนมีประเพณีว่า ควรได้บวชเรียนก่อนมีครอบครัว การบวชเรียนมีความหมายอยู่ในตัวเอง แล้วว่า เป็นการเข้าถือเพศเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา และศึกษาพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อันประกอบด้วยพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ซึ่งเรียกว่าศึกษาพระปริยัติธรรม เราจะพบอยู่เสมอว่า ผู้ที่มีความรู้ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี จะได้รับการยกย่องเคารพนับถือจากมหาชนทั่วไปว่า เป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ซึ่งไม่จำเป็นว่าเป็นพระภิกษุเท่านั้น แม้แต่สามเณรก็มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยที่ได้รับเกียรติอันนี้มาแต่โบราณกาล ดังเช่น สามเณรแก้ว ในเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น บรรพชิตหรือภิกษุในพระพุทธศาสนา มีภาระหน้าที่ที่จะต้องศึกษาพระไตรปิฎก เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เพื่อให้สมประโยชน์ที่เป็นหนึ่งในพุทธบริษัทสี่ อันประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นบรรพชิต ไม่มีกิจอื่นเหมือนชาวบ้าน ดังนั้น กิจของบรรพชิตซึ่งต้องอุทิศตนให้แก่พระศาสนาอย่างถูกต้อง ตรงทาง โดยเต็มความสามารถ เพื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา คือ ความสิ้นสุดแห่งทุกข์ และเพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ในระดับที่มีคุณภาพพอที่จะสั่งสอนผู้อื่น ให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ ก็จะต้องกระทำเพื่อธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงสถาพรยิ่ง ๆ ขึ้นไป อันจะเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่มวลมนุษยชาติ การศึกษาพระปริยัติธรรมที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คันถธุระ เป็นหน้าที่ของ พระอุปัชฌาย์อาจารย์จะต้องสั่งสอนแก่ สัทธิวิหาริก และอันเตวาสิก ของตน พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติ ทรงอุปถัมภ์การศึกษาของคณะสงฆ์ โดยจัดให้มีการสอบไล่ความรู้ทางพระปริยัติธรรม ของพระภิกษุ และสามเณร ยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถ ให้ปรากฏด้วยการพระราชทานวิทยฐานะ สมณศักดิ์ ตลอดจนจตุปัจจัย เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร ผู้มีความรู้ ความสามารถ ตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้ดำรงคงอยู่ในพระพุทธศาสนาด้วยดี เพื่อสืบพระศาสนาต่อไปอย่างถูกต้อง และมีคุณภาพตามพระธรรมวินัย การศึกษาพระปริยัติธรรมในครั้งพุทธกาล สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงวางระบบศึกษาไว้เป็นสามขั้นตอนด้วยกันคือ ขั้นปริยัติ ขั้นปฏิบัติ และขั้นปฏิเวธ ขั้นปริยัติ เป็นการศึกษาพระธรรมวินัย ให้มีความรู้ในพระธรรมคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า รวมทั้งพระวินัย คือข้อบัญญัติต่าง ๆ ที่จะต้องประพฤติ ให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องถ่องแท้ เพื่อจะได้นำมาประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตรงทาง และยังสามารถแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ให้มีความรู้ความเข้าใจ ในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ขั้นปฏิบัติ เป็นการนำเอาพระธรรมวินัยที่ได้ศึกษามาจนรอบรู้ และเข้าใจถ่องแท้ดีแล้ว มาประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา และใจ ในสองข้อแรก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นไปในกรอบของพระวินัย คือศีลนั่นเอง ส่วนข้อที่สามเป็นการเจริญภาวนา อันได้แก่การฝึกสัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา มิใช่สมาธิโดยทั่วไป รายละเอียดในการนำไปสู่สัมมาสมาธิมีอยู่พร้อมมูล และชัดเจนแล้วในพระไตรปิฎก เมื่อได้สัมมาสมาธิในระดับที่จะนำไปใช้ปฏิบัติวิปัสนาได้ ก็น้อมนำไปสู่การทำวิปัสนาอันเป็นอุบายให้เกิดปัญญา ที่ได้รู้เห็นความเป็นไปต่าง ๆ ของโลกตามความเป็นจริง ขั้นปฏิเวธ เป็นขั้นที่แสดงผลของการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยในระดับต่าง ๆ ในเรื่องต่าง ๆ ตามลำดับ จนถึงขั้นทำที่สุดแห่งทุกข์ อันเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่พระสงฆ์สาวกเป็นประจำทุกวัน นอกจากนั้น พุทธกิจประจำวันอีกประการหนึ่งคือ ทรงสอดส่องดูเวไนยสัตว์ที่พระองค์ควรไปแสดงธรรม เพื่อให้ผู้นั้นได้สำเร็จมรรคผล ตามควรแก่อุปนิสัยของเวไนยสัตว์นั้น ๆ นอกจากพระภิกษุสงฆ์แล้ว บรรดาพุทธศาสนิกชนก็พากันไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์ โดยตรงในตอนเย็นเป็นประจำทุกวัน พระภิกษุรูปใดหรือหมู่คณะใดฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า ซึ่งบางครั้งทรงแสดงแต่โดยย่อ ทำให้ยังเข้าใจไม่แจ่มแจ้ง ก็พากันไปไต่ถามพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิให้อธิบายโดยพิศดารให้ฟัง พระเถระดังกล่าวมีพระสารีบุตร พระมหากัจจานะ และพระมหากัสสปะ เป็นต้น แล้วทรงจำไว้ เมื่อมีโอกาสก็กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พระธรรมเทศนาเรื่องนั้น ๆ พระมหาเถระองค์นั้น ๆ ได้อธิบายโดยพิศดารเป็นอย่างนั้น ๆ พระพุทธองค์ก็ทรงรับรองว่าคำอธิบายนั้นถูกต้อง แม้พระองค์จะอธิบาย ก็จะอธิบายอย่างนั้น การศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า การศึกษาพระปริยัติธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้ามีองค์ ๙ ประการ เรียกว่านวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และเวทัลละ การศึกษาพระปริยัติธรรมก็เพื่อรักษาพุทธวจนะ ให้ดำรงอยู่ พระพุทธเจ้าใช้ ภาษามคธ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาบาลี ในการแสดงพระธรรมเทศนา เนื่องจากเป็นภาษาที่คนทั่วไปในมัชฌิมประเทศ ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย ดังนั้นแม้ว่าจะมีการแปลพระธรรมวินัย ออกเป็นภาษาต่าง ๆ ในระยะต่อมา แต่ต้องไม่ทิ้งพุทธวจนะเดิมที่เป็นภาษาบาลี เพื่อจะได้ไว้เป็นหลักฐาน ในการตรวจสอบความหมายที่แท้จริง ป้องกันความวิปลาสคลาดเคลื่อนจากการแปลความหมายไปสู่ภาษาต่าง ๆ การศึกษาพระปริยัติธรรมหลังพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว บรรดาพระสงฆ์ก็ใช้วิธีท่องจำพระธรรมวินัยด้วยปาก เรียกว่า มุขปาฐะ ต่อ ๆ กันมา โดยการท่องจำเป็นคณะ เป็นการแบ่งกันทรงจำ ผู้ที่ชำนาญทางพระวินัยก็ศึกษาพระวินัย เรียกว่า พระวินัยธร ผู้ชำนาญทางพระสูตร ก็ศึกษาพระสุตคันตปิฎก เรียกว่า พระสุตตันติกะ ผู้ที่ชำนาญทางพระอภิธรรมก็ศึกษาพระอภิธรรม เรียกว่า พระอภิธัมมิกะ ทั้งหมดใช้ภาษาบาลีทั้งสิ้น ท่านเหล่านั้นต้องมีความรู้ในภาษาบาลีเป็นอย่างดี ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ที่อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ ได้ทรงจัดให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ ๓ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ส่งพระสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในแว่นแค้วนต่าง ๆ รวม ๙ คณะ คณะของพระโสณะ และพระอุตตระ ได้มายังสุวรรณภูมิ อันได้แก่ พื้นที่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศไทยปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง โดยมีนครปฐม เป็นราชธานี เมื่อประมาณปี พ.ศ.๓๐๓ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย ในยุคแรก เมื่อปี พ.ศ.๓๐๓ ดังกล่าวแล้ว เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ยุคที่สอง เมื่อปี พ.ศ.๗๖๐ พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จากแคว้นกัสมิระ ได้เผยแพร่มาทางดินแดนทางใต้ของสุวรรณภูมิคือ เกาะสุมาตรา ชวา และกัมพูชา ล่วงมาถึงประมาณปี พ.ศ.๑๓๐๐ ก็ได้แพร่ขยายขึ้นมาถึงปัตตานี สุราษฎร์ธานี ที่ไชยา ยุคที่สาม เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๖๐๐ พุทธศาสนาแบบพุกาม ได้แพร่เข้ามาถึงอาณาจักรลานนา และอาณาจักรทวาราวดี ยุคที่สี่ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๐๐ พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้แผ่จากลังกาเข้ามาทางภาคใต้ของไทย คือที่ นครศรีธรรมราช เรียกว่า ลัทธิลังกาวงศ์ การศึกษาประปริยัติธรรมสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นที่กรุงสุโขทัยได้ทรงอาราธนาพระเถระ ผู้เชี่ยวชาญและแตกฉานในพระไตรปิฎก ฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์มาสถิตที่กรุงสุโขทัย ทรงส่งเสริมให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างกว้างขวาง ได้จัดให้มีการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแก่พระสงฆ์ในพระราชวัง ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจากผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกหลายท่าน ทั้งที่เป็นบรรพชิตและฆราวาสจนแตกฉาน จนสามารถรจนาเตภูมิกถา หรือที่เรียกกันว่า ไตรภูมิพระร่วง มีชื่อเสียงตราบจนถึงทุกวันนี้ การศึกษาพระปริยัติธรรมในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ด้วยการยกย่องพระสงฆ์ ที่ทรงความรู้ในพระไตรปิฎก ให้มีสมณศักดิ์ ผู้ที่มีความรู้ภาษามคธดี เคยบวชเรียนมาแล้วก็โปรดเกล้า ฯ ให้รับราชการในตำแหน่งราชบัณฑิต มีการบอกหนังสือพระในพระบรมมหาราชวัง ในสมัยอยุธยา อาณาจักรลานนาซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของไทย มีเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง เป็นต้น ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกในสมัยพระเจ้าดิลกราช แห่งเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๒๐ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา นับเป็นการสังคายนาครั้งแรกในประเทศไทย การศึกษาพระไตรปิฎกในยุคนี้นับว่าสูงส่งมาก มีพระเถระหลายรูปของเชียงใหม่และลำพูน ได้รจนาคัมภีร์พระพุทธศาสนาหลายคัมภีร์ด้วยกัน เช่น พระสิริมังคลาจารย์ ได้รจนามังคลทีปนี พระญาณกิตติ ได้รจนาโยชนาพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และสัททาวิเสส ได้จัดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมเป็นทางการ โดยใช้วิธีแปลพระไตรปิฎกด้วยปากเปล่า ผู้ที่สอบได้ พระมหากษัตริย์ทรงยกย่องให้เป็นบาเรียน และให้มีสมณศักดิ์เป็นพระมหา นำหน้าชื่อ บาเรียนดังกล่าวมีอยู่หลายขั้นด้วยกันคือ บาเรียนตรี บาเรียนโท และบาเรียนเอก โดยผู้ที่แปลได้พระสูตรตามที่กำหนดเป็น บาเรียนตรี ผู้ที่แปลได้พระสูตรและพระวินัยเป็น บาเรียนโท ผู้ที่แปลได้ทั้งพระสูตร พระวินัย และพระปรมัตถ์ เป็นบาเรียนเอก การศึกษาพระปริยัติธรรมในสมัยนี้มีการบอกหนังสือ ทั้งในวัดและในวัง สำหรับการไล่หนังสือ ก็จัดให้มีเป็นครั้งคราว ตามแต่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้า ฯ ให้มีการสอบ พระสงฆ์ผู้เล่าเรียนจนมีความรู้ ก็จะเป็นอาจารย์ บอกหนังสือต่อ ๆ กันไป โดยไม่จำเป็นต้องมุ่งเข้าไปสอบ การศึกษาพระปริยัติธรรมในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา บ้านเมืองอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ผู้คนต่างหนีเอาตัวรอด เมื่อพระเจ้าตากสิน ฯ ได้รวบรวมกำลังกู้เอกราชของชาติกลับคืนมาได้จนเป็นปึกแผ่นแล้ว ในปีเดียวกันนั้นคือปี พ.ศ.๒๓๑๐ ก็ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปกติสุขเช่นที่เคยเป็นมาก่อน จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระศรีภูริปรีชา ให้สืบเสาะหาพระเถระผู้รู้อรรถรู้ธรรมให้มาประชุมกันที่ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) พระเจ้าตากสิน ฯ ได้ทรงตั้งพระอาจารย์ดี วัดประดู่กรุงเก่า ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้สูงและมีอายุพรรษามากด้วย ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระพระเถระอื่น ๆ ขึ้นเป็นพระราชาคณะฐานานุกรมน้อยใหญ่ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยาให้สถิตอยู่ในพระอารามต่าง ๆ ในกรุงธนบุรี ให้สั่งสอนคันถธุระและวิปัสสนาธุระ แก่ภิกษุสามเณรโดยทั่วไป เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา นอกจากบ้านเมือง ปราสาทราชวัง วัดวาอาราม จะถูกเผาพลาญโดยสิ้นเชิงแล้ว บรรดาคัมภีร์พระไตรปิฎกก็พลอยถูกเผาสูญหายหมดสิ้นไปด้วย พระองค์จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สืบหารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกที่หลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงกรุงกัมพูชา แล้วเอามาคัดลอกสร้างเป็น พระไตรปิฎกฉบับหลวงไว้ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน ________________________________________ การศึกษาพระปริยัติธรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ทรงทำนุบำรุงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ จากสภาพที่บอบช้ำ เสียหายจากภัยสงคราม ต่อจากพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชาธิราช ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง แม้ว่าบ้านเมืองยังอยู่ในภาวะที่ต้องทำศึกสงครามขนาดใหญ่อยู่ตลอดเวลา พระองค์มีพระราชปณิธานอันแรงกล้าที่จะสร้างชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นในทุกด้าน ดังปรากฎหลักฐานที่ชัดเจน ในพระราชนิพนธ์ของพระองค์ตอนหนึ่งดังนี้ "ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา ป้องกันขอบขัณฑสีมษ รักษาประชาชนและมนตรี" งานสำคัญในส่วนของพระปริยัติธรรม คือการสังคายนาพระไตรปิฎก ทรงเห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก ที่สร้างไว้สมัยกรุงธนบุรี ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีการประชุมสงฆ์ เพื่อชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวง ที่ทำไว้ให้ถูกต้อง โดยให้พระสงฆ์ ๑๐๐ รูป มีสมเด็จพระสังฆราชสีเป็นประธาน ประชุมกันที่พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก โดยแบ่งงานกันทำดังนี้.- พระสงฆ์ผู้คันถธุระ ๒๑๘ รูป กับราชบัณฑิต ๓๒ คน จัดแบ่งออกเป็น ๔ กอง กองที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราชสี วัดระฆัง ฯ เป็นแม่กองชำระพระสุตตันตปิฎก กองที่ ๒ พระพนรัตสุข วัดพระศรีสรรเพชญ์ ฯ เป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก กองที่ ๓ พระพิมลธรรม วัดพระเชตุพน ฯ เป็นแม่กองชำระพระสัททาวิเสส กองที่ ๔ พระพุฒาจารย์เป้า เป็นแม่กองชำระพระปรมัตถปิฎก การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองของไทย ได้ทำการสังคายนาที่วัดมหาธาตุ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๑ การเรียนพระปริยัติธรรม คงดำเนินการเช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระบาทสมด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย คือบอกหนังสือพระทั้งภิกษุและสามเณรในพระบรมมหาราชวัง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จ้างอาจารย์บอกพระปริยัติธรรมทุกพระอารามหลวงเพิ่มเติม จากในพระบรมมหาราชวังที่ทำอยู่เดิม การศึกษาบาลีในครั้งนั้นเริ่มจากการอ่านเขียนอัษรขอม เมื่ออ่านออกแล้วจึงให้อ่านหนังสือพระมาลัย แล้วท่องสูตรมูลกัจจายน์ เรียนสนธิ เรียนนาม อาขยาตกิตก์ อุณณาทการก จบแล้วขึ้นคัมภีร์เรียนอรรถกถา ธัมมบทมังคลทีปนี สารัตถสังคหะ ปฐมสมันตปาสาทิกา วิสุทธิมัคค์ฎีกาสารัตถทีปนี เมื่อเรียนจบคัมภีร์ดังกล่าวแล้วก็จะมีขีดความสามารถที่จะอ่านพระไตรปิฎกให้เข้าใจได้ ล่วงมาถึงปี พ.ศ.๒๔๓๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตั้งมหาธาตุวิทยาลัย การบอกพระปริยัติธรรม จึงย้ายมาบอกที่มหาธาตุวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ฯ การเรียนพระปริยัติธรรม แต่เดิมเรียนภาษามคธเป็นภาษามคธ วิธีการนี้ศึกษาได้จากการดูอัตถโยชนา ซึ่งเป็นหนังสือบอก คำแปลจากภาษามคธเป็นภาษามคธ การสอบความรู้ เพื่อที่จะเป็นเครื่องวัดว่ามีความรู้อ่านพระคัมภีร์พระไตรปิฎก แปลเป็นภาษาไทยได้ถูกต้อง ตามศัพท์และไวยากรณ์หรือไม่ การสอบนี้เรียกกันว่าไล่หนังสือ หรือแปลหนังสือ หรือแปลพระปริยัติธรรม เดิมสามปีสอบครั้งหนึ่ง โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นอธิบดีในการสอบ การเข้าสอบอาจารย์จะเป็นผู้ส่งเข้าสอบ ต่อมาเรียกว่า สำนักเรียน เป็นผู้รับรองนักเรียนของตนในการส่งชื่อเข้าสอบ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้า ฯ เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักสูตรการเรียน การสอบ และการสอบใหม่ ตามคำถวายพระพรของสมเด็จพระสังฆราชมี โดยจัดชั้นบาเรียนเป็นประโยค กำหนดไว้ ๙ ประโยค ดังนี้ ประโยค ๑,๒ และ ๓ สอบคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ในการสอบต้องสอบให้ได้ทั้งสามประโยคในครั้งเดียวกัน จึงจะได้เป็นบาเรียน ๓ ประโยค จัดเป็นบาเรียนจัตวา หรือบาเรียนสามัญ ประโยค ๔ สอบคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ชั้นต้น เดิมเป็นบาเรียนตรี ต่อมาถือเป็นบาเรียนโทชั้นต้น ประโยค ๕ สอบคัมภีร์มุตตกวินัยวินิจฉัย ต่อมาเปลี่ยนเป็นสอบคัมภีร์สารัตถสังคหะ เป็นบาเรียนโท ประโยค ๖ สอบคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ชั้นปลาย ยังคงเป็นบาเรียนโท ประโยค ๗ สอบคัมภีร์ปฐมสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย เป็นบาเรียนเอกสามัญ ประโยค ๘ สอบคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นบาเรียนเอกมัชฌิมาหรือบาเรียนเอกมัธยม ประโยค ๙ สอบคัมภีร์สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัย ต่อมาเปลี่ยนเป็นสอบคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี ฏีกาพระอภิธัมมัตถสังคหะ เมื่อสอบได้บาเรียน ๓ ประโยค พระมหากษัตริย์จึงทรงตั้งเป็น "มหา" สถานที่สอบ แต่เดิมจะสอบที่วัดอันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมสอบในพระบรมมหาราชวังเป็นบางครั้ง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะทรงฟังการแปลพระไตรปิฎก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมสอบในพระบรมมหาราชวังทุกครั้ง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็น บาเรียนแบบมหามงกุฎราชวิทยาลัยขึ้น มีการสอบบาลีไวยากรณ์และภาษาไทย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๔ ได้เลิกการสอบบาเรียนแบบมหามงกุฎราชวิทยาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นแม่กองกลาง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นแม่กองเหนือ และสมเด็จพระวันรัตเป็นแม่กองใต้ ประชุมสอบ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม การศึกษาพระปริยัติธรรมในปัจจุบัน โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ตามพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร มีการยกเว้นสามเณรผู้รู้ธรรมไม่ต้องเข้าเกณฑ์ทหาร ทางเถรสมาคมจึงได้กำหนดองค์ของสามเณรผู้รู้ธรรมขึ้น และจัดการสอบไล่ เพื่อให้สามเณรที่กำลังเรียนบาลีไม่ต้องสึกไปเป็นทหาร จึงเป็นต้นกำเนิดของการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงรจนานวโกวาท เพื่อทรงสอนพระภิกษุใหม่ผู้บวชชั่วคราว ระหว่างพรรษาเป็นเวาลา ๓ เดือน และเพื่อให้ได้ประโยชน์ทั่วไป จึงได้ให้ใช้หนังสือนวโกวาทเป็นแบบเรียน สำหรับนักธรรมชั้นตรี ทรงรจนาธรรมวิภาคปริจเฉท ๒ เป็นแบบเรียนสำหรับนักธรรมชั้นโททรงรจนาวินัยมุขกับพุทธประวัติเล่ม ๑,๒,๓ เป็นแบบเรียนสำหรับนักธรรมชั้นเอกรวมทั้งได้ให้มีการแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม เพื่อให้นักเรียนรู้จักแต่งเทศน์และแสดงธรรมเป็น ในชั้นต่อมาเมื่อคฤหัสถ์มีความประสงค์จะเรียน และสอบความรู้นักธรรมชั้นบ้าง ทางคณะสงฆ์ก็ได้จัดให้มีการสอบธรรม สำหรับคฤหัสถ์ เรียกว่า ธรรมศึกษา แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ธรรมศึกษาตรี - โท - เอก ในส่วนของพระภิกษุสามเณรเรียกว่านักธรรม มีนักธรรมตรี - โท - เอก นักธรรมตรีจัดเป็นนวกภูมิเป็นบุพภาคของการเรียนบาลีประโยค ๓ นักธรรมโทจัดเป็นมัชฌิมภูมิ เป็นบุพภาคของการศึกษาบาลี ในชั้นประโยค ๔ ถึง ประโยค ๖ นักธรรมเอกจัดเป็นเถรภูมิเป็นบุพภาคของการศึกษาบาลีประโยค ๗ ถึงประโยค ๙ และเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า เปรียญธรรม (ป.ธ.) ซึ่งได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ มหามงกุฎราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ ในอันที่จะให้พระภิกษุสามเณรได้มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ของพระพุทธศาสนา จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาในส่วนของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย พระราชทานนามว่า มหามงกุฎราชวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ โดยเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัย ซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๒ การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลี ก่อนปี พ.ศ.๒๔๖๙ การสอบพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลี ผู้ที่เข้าสอบต้องเข้าสอบต่อหน้าคณะกรรมการ ต่อหน้าพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง โดยการจับฉลาก แล้วเข้าไปแปลบาลีด้วยปากเปล่า ซึ่งเรียกต่อกันมาว่า สมัยแปลด้วยปากเปล่า คณะกรรมการตัดสินให้คะแนนและรู้ผลกันในวันนั้น ผู้ที่สอบได้จะได้รับพระราชทานไตรจีวร แพร ซึ่งเป็นของที่มีค่ามากในสมัยนั้น มีพระเปรียญธรรม ๙ ประโยค (ป.ธ.๙) เท่าที่พอมีหลักฐานที่รวบรวมได้ดังนี้ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้แก่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่ ป.ธ.๙) เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๖ บวชอยู่ที่วัดราชบูรณะ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระอมรโมลี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๕ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่) มรณะภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๖ อายุ ๘๑ ปี เป็นเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส นานที่สุดถึง ๔๑ ปี รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้แก่ พระอุดมปิฏก นามเดิม สอน ฉายา พุทฺธสโร เป็นชาวจังหวัดพัทลุง เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดหงสาราม รูปที่ ๕ เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระอุดมปิฏก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ ด้วยเหตุที่ท่านเคยคัดค้านการตั้งคณะธรรมยุตินิกาย จึงได้ลาออกจากเจ้าอาวาส กลับไปอยู่ที่ภูมิลำเนาเดิม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้อาราธนามาในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงรับสั่งว่า "ท่านเดินทางมาแต่ไกล นานปีจึงได้พบกัน ขอจงให้พระดยมให้ชื่นใจทเถิด" เมื่อท่านได้รับอนุญาตจากสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ท่านก็ตั้งพัดยศขึ้นถวาพระพรเป็นภาษาบาลีว่า อติเรกวสฺสสตํ ชีว อติเรกวสฺสสตํ ชีว อติเรกวสฺสสตํ ชีว ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ สุขิโต โหตุ ปรมินฺทมหาราชา สิทฺธิ กิจฺจํ สิทธิกมฺมํ สิทฺธิลาโภ ชโย นิจฺจํ ปรมินฺทมหาราชาวรสฺส ภวตุ สพฺพทา ขอถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสดับ แล้วทรงโปรดคำถวายพระพรบทนี้มาก จึงทรงสั่งให้ถือเป็นธรรมเนียม ให้พระสงฆ์ใช้พรบทนี้ถวายพระมหากษัตริย์ ในพระราชพิธีทั้งปวง จนถึงทุกวันนี้ โดยทรงเติมคำว่า ชีว เป็น ชีวตุ เท่านั้น และได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบมาว่า พระภิกษุผู้ที่จะถวายอดิเรกได้นั้น ต้องมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๐ ทางการคณะสงฆ์จึงได้อนุญาตให้พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ซึ่งถือพัดยศเปลวเพลิง เป็นผู้ถวายอดิเรกได้โดยอนุโลม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่ ๓ ท่านด้วยกันคือ สมเด็จพระสังฆราช (สา) ปุสฺสเทวมหาเถร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพ ฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นามเดิม สา ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๖ ภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๐ อายุ ๑๔ ปี สอบได้ ๒ ประโยค ได้เป็นเปรียญวังหน้า เนื่องจากการสอบพระปริยัติธรรมสมัยนั้น ต้องสอบให้ได้ ๓ ประโยคในคราวเดียวกัน จึงถือว่าสอบได้เปรียญ ครั้งนั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ ทรงอุปการะพระภิกษุสามเณรที่สอบได้ตั้งแต่ ๒ ประโยค จนกว่าจะสอบได้เปรียญ ๓ ประโยค ดังนั้นผู้ที่สอบได้ ๒ ประโยค จึงเรียกกันว่า เปรียญวังหน้า เมื่อท่านอายุได้ ๑๘ ปี ได้เข้าสอบอีกครั้งหนึ่ง สอบคราวเดียวได้ ๙ ประโยค เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ นับเป็นสามเณรเปรียญ ๙ ประโยครูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่ออุปสมบทได้ ๖ พรรษา ได้เป็นพระราชคณะที่พระอมรโมลี ต่อมาได้ลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพอย่างคฤหัสถ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ เมื่ออายุได้ ๓๙ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ท่านกลับเข้ามาอุปสมบทใหม่ ท่านได้สอบเปรียญ ๙ ประโยคอีกครั้งหนึ่ง จึงมีนามว่า พระมหาสา ปุสฺสเทโว เปรียญธรรม ๑๘ ประโยค เพราะในสมัยนั้น ภิกษุสามเณรเปรียญ หรือนักธรรมรูปใดลาสิกขาไป เมื่อกลับเข้ามาบวชใหม่ต้องสอบใหม่หมดตั้งแต่ต้น ระเบียบดังกล่าวได้ยกเลิกไป เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒ พระชนมายุได้ ๘๗ พรรษา เป็นสมเด็จพระสังฆราชได้ ๖ ปี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) วัดโมลีโลกยาราม ภายหลังย้ายไปอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ท่านแตกฉานในภาษาบาลีมาก ได้แต่งคาถาภาษาบาลีถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีคำขึ้นต้นว่า ยํยํ เทวมนุสฺสานํ ซึ่งทางคณะสงฆ์ยังคงใช้สวดในพระราชพิธีจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธศิริ) วัดโสมนัสวิหาร ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๙ อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๙ ได้เปรียญ ๙ ประโยค เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๙ ย้ายจากวัดราชาธิวาสไปครองวัดโสมนัสวิหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น ที่พระอริยมุนี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ มรณะภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๔ อายุ ๘๖ ปี รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี อโนมสิริ) สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงผนวช เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ความรู้ของท่านถึงภูมิเปรียญธรรม ๙ ประโยค จึงพระราชทานเพิ่มเติมให้อีกหนึ่งประโยค รวมเป็น ๙ ประโยค และทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะฤกษ์ ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔ ที่พระวรญาณมุนี และทรงเปลี่ยนเป็น พระอโนมามุนี ในปีเดียวกัน ปีต่อมาโปรดให้ท่านเป็นหัวหน้าคณะสมณทูตไปลังกาทวีป และโปรดให้ย้ายจากวัดบวรนิเวศไปเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๔๔๕ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโนทัย) สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๕ สถิตย์อยู่วัดสระเกศ ท่านเป็นพระมหาเปรียญที่สอบได้ ๙ ประโยค เป็นรูปแรกในรัชกาลนี้ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้รถหลวงนำไปส่งถึงพระอาราม และได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันว่า ภิกษุสามเณรที่สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ทางสำนักพระราชวังจะจัดรถหลวงนำส่งถึงวัด (ในกรุงเทพฯ) ทุกรูป ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระปิฎก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ พระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา พ.ศ.๒๔๔๕ พระมหาเหรียญ วัดสุทัศย์เทพวราราม ท่านเป็นเปรียญ ๙ ประโยค ของสำนักเรียนธรรมวัดสุทัศน์ ฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะที่พระศรีสุทธิวงศ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗ มรณะภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ อายุ ๓๙ ปี พรรษา ๑๘ พ.ศ.๒๔๔๖ พรมหาไคล อุตโม วัดสุทัศน์เทพวราราม ไดัรับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะที่พระอมรเมธาจารย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ ถึงแก่มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ รวมอายุ ๕๓ ปี พรรษา ๓๓ พ.ศ.๒๔๔๖ พระมหาอยู่ เขมจาโร (อุดมศิลป์) วัดเทพศิรินทราวาส ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะที่พระอมราภิรักขิต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ ลาสิกขาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๙เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการเป็นพนักงานราชบัณฑิต ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระธรรมนิเทศทวยหาญ ได้โอนไปเป็นหัวหน้าอนุศาสนาจารยืในกองทับบก เป็นอนุศาสนาจารย์คนแรกของกองทัพไทย จนเษียณอายุราชการ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ พ.ศ.๒๔๔๗ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๕ เป็นสมเด็จพระวันรัตน์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ พ.ศ.๒๔๔๘ สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศากยบุตติยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๔ เป็นสมเด็จพระวันรัต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองรูปแรก ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ท่านมรณะภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ อายุ ๗๒ ปี พระมหาหรุ่ม พฺรหฺมโชติโก ป.ธ.๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระอมรโมลี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙ ได้ลาสิกขาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕ พระมหาอำพัน อรุโณ ป.ธ.๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระกวีวงศ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ ภายหลังลาสิกขาเมื่อใดไม่ปรากฏ พ.ศ.๒๔๕๑ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สอบได้ ป.ธ.๙ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานมาก ทรงให้จัดรถเข้าขบวนแห่นำส่งถึงพระอาราม ต่อมาทรงอุปถัมภ์จัดการให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง และได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบมาจนถึงปัจจุบันว่า สามเณรรูปใดสอบได้ ป.ธ.๙ ทรงรับสามเณรรูปนั้นไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เข้าอุปสมบทเป็นนาคหลวงเป็นกรณีพิเศษ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะที่พระศรีสุทธิวงศ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค พ.ศ.๒๔๕๓ พระมหาทวี สุวฑฺฒโน วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นรูปแรกของวัด เมื่ออุปสมบทได้ ๘ พรรษา ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะที่อมรโมลี พรรษาที่ ๑๒ ได้ขอลาสิกขา ออกไปรับราชการที่กระทรวงธรรมการ และกระทรวงการคลังตามลำดับ เป็นกรรมการชำระปทานุกรม (พจนานุกรม) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเทพดรุณานุศิษฎ์ (ทวี ธรรมธัช) ยศเป็นรองอำมาตย์เอก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๙ ทางการคณะสงฆ์ได้กำหนดวิธีการสอบเป็นแบบข้อเขียน และเพิ่มเป็นสามวิชาคือ ๑. วิชาเขียนไทยเป็นมคธ โดยออกข้อสอบเป็นภาษาไทย ให้ผู้เข้าสอบเขียนตอบเป็นภาาามคธ ๒. วิชาแปลไทยเป็นมคธ ข้อสอบแปลมาจากภาษามคธเป็นภาษาไทย ให้ตอบเป็นภาษามคธ ๓. วิชาแปลมคธเป็นไทย ออกข้อสอบเป็นภาษามคธให้ตอบเป็นภาษาไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๑ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๒ เป็นเวลา ๕๑ ปี ไม่ปรากฎว่ามีสามเณรรูปใดสอบได้ ป.ธ.๙ เลย ผู้ที่สอนได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยค ขึ้นไปยังคงเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดยศเปรียญ และไตรจีวรในพระบรมมหาราชวัง ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนวันวิสาขบูชา ๑ วัน เป็นประจำทุกปี เรียกว่า วันทรงตั้งพระเปรียญ พระภิกษุที่สอบได้ประโยค ป.ธ.๓ แล้ว ถ้ายังไม่ผ่านพ้นวัน จะยังไม่ใช้คำนำหน้าชื่อว่า พระมหาไม่ได้ คงใช้เช่นเดียวกับสามเณร คือ มีคำว่าเปรียญตามหลังชื่อ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๘ เป็นต้นมา มีพระภิกษุามเณรสอบได้มากขึ้น จึงทรงมอบหมายให้สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงดำเนินการแทนพระองค์ ยกเว้นผู้ที่สอบได้ ป.ธ.๖ และ ป.ธ.๙ ยังคงโปรดให้เข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดยศเปรียญและไตรจีวร เหมือนเดิม และยังคงให้รถหลวงนำส่งเฉพาะผู้ที่สอบได้ ป.ธ.๙ หลังจากปี พ.ศ.๒๕๑๐ ทางคณะสงฆ์โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาารย์ (ฟื้น ชุตินธรมหาเถระ ป.ธ.๙) วัดสามพระยา ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปัญญาบดี แม่กองบาลีสนามหลวง ได้จัดให้มีการสอบเปรียญธรรมประโยค ๑ - ๒ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่คณะสงฆ์ได้ยกเลิกการสอบประโยค ๑ - ๒ ไปชั่วระยะหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดองค์นักธรรมขึ้นครบทั้งสามชั้น แล้วในปี พ.ศ.๒๔๕๔ ได้เปิดสอบนักธรรมตรีขึ้นเป็นปีแรก พระปลัดแบน คณฺฐาภรโณ อายุ ๒๗ พรรษา ๗ วัดบวชนิเวศวิหาร สมัครสอบเป็นรูปแรกและสอบได้เป็รูปแรก ภายหลังท่านได้เป็นที่พระรัตนธัชมุนี พระราชาคณะชั้นธรรม ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้เปิดสอบนักธรรมโท พ.ศ.๒๔๖๕ เปิดสอบนักธรรมเอก ได้มีการจัดให้สอดคล้องกับการศึกษาบาลี เดิมดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้นในเรื่องของนวกภูมิ มัชฌิมภูมิ และเถรภูมิ จึงนิยมเรียกผู้ที่สอบบาลีได้ ป.ธ.๓ ว่า เปรียญตรี ผู้ที่สอบ ป.ธ. ๔ - ๕ - ๖ ว่า เปรียญโท และเรียกผู้ที่สอบได้ ป.ธ.๗ - ๘ - ๙ ว่า เปรียญเอก






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2012
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ด้วยจิตน้อมระลึกถึงคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานเขียน โดย
    ท่านพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)
    ซึ่งท่านได้กล่าวถึง
    " เหตุให้พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย"
    ไว้อย่างน่าฟัง และเป็นประโยชน์ในการน้อมรับ
    มาพิจารณาอย่างยิ่ง
    อนึ่ง หากมีความผิดพลาดประการใด
    ผู้คัดลอก ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
    *******************

    ****เหตุให้พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย****

    " ข้อที่ควรจะกล่าวในที่นี้สักหน่อย เป็นคติในทางธรรม
    ก็คือ เรื่องพระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย
    ควรกล่าวถึงเหตุทั้งหลายที่ให้พุทธศาสนา
    ต้องสูญสิ้นไปจากประเทศอินเดีย
    ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ชัดเจน เมื่อ พ.ศ. ๑๗๐๐
    ๑. เหตุอันแรกที่เราเห็นได้ พูดง่าย ๆ ว่า
    ชาวพุทธเราใจกว้าง แต่ศาสนาอื่นเขาไม่ใจกว้างด้วย
    นี่ก็เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไป
    เพราะว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นนั้น
    ก็สอนแต่เพียงหลักธรรมเป็นกลาง ๆ
    ให้คนประพฤติดี ทำความดี
    จะนับถือหรือไม่นับถือก็ไม่ได้ว่าอะไร
    ถ้าเป็นคนดีแล้วก็ไปสู่คติที่ดีหมด
    ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นชาวพุทธจึงจะไปสวรรค์ได้
    หรือว่า ชาวพุทธที่มานับถือแล้วทำตัวไม่ดีก็ไปนรกเหมือนกัน
    อะไรทำนองนี้
    เมื่อชาวพุทธได้เป็นใหญ่ เช่น อย่างพระเจ้าอโศกมหาราช
    ครองแผ่นดินก็อุปถัมภ์ ทุกศาสนาเหมือนกันหมด
    แต่ผู้ที่ได้รับอุปถัมภ์เขาไม่ได้ใจกว้างตามด้วย
    เพราะฉะนั้น พวกอำมาตย์พราหมณ์ของราชวงศ์อโศกเอง
    ก็เป็นผู้กำจัดราชวงศ์อโศก
    จะเห็นว่าอำมาตย์ที่ชื่อ "ปุษยมิตร"
    ก็ได้ปลงพระชนม์พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นหลานของพระเจ้าอโศก
    แล้วตั้งชื่อราชวงศ์ใหม่ที่กำจัดชาวพุทธ อย่างที่เล่าเมื่อกี้
    แต่ก็กำจัดไม่เสร็จสิ้น มีมาเรื่อย จนกระทั่งถึง
    "พระเจ้าหรรษวรรธนะ" ครองราชย์
    อำมาตย์ที่เป็นฮินดูก็กำจัดพระองค์เสียอีก
    ก็เป็นมาอย่างนี้ จนในที่สุด มุสลิมก็เข้ามาบุกกำจัดเรียบไปเลย
    เมื่อ พ.ศ. ๑๗๐๐ นี้ ก็เป็นเหตุอันหนึ่งที่เห็นได้ง่าย
    ยังมีเหตุอื่นอีก ชาวพุทธเองก็เป็นเหตุด้วย
    อย่าไปว่าแต่คนอื่นเขา

    **ใจกว้างจนลืมหลัก เสียหลักจนถูกกลืน**

    ในด้านหนึ่ง ความใจกว้างของชาวพุทธนั้น
    บางทีก็กว้างเลยเถิดไป จนกลายเป็นใจกว้างลืมหลัก
    หรือใจกว้างอย่างไม่มีหลัก ไม่ยืนหลักของตัวไว้
    กว้างไปกว้างมาเลยกลายเป็นกลมกลืนกับเขา
    จนศาสนาของตัวเองหายไปเลย
    ที่หายไปให้เห็นอย่างชัดเจน ก็คือ
    ไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดู ตอนที่มุสลิมยังไม่เข้ามา
    ศาสนาพุทธเราก็อ่อนมากแล้ว
    เพราะไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดูมาก
    ปล่อยให้ความเชื่อถือของฮินดูเข้ามาปะปน
    อย่างในถ้ำอชันตานั้น เป็นที่แสดงประวัติพุทธศาสนา
    ได้อย่างดี
    จะเห็นได้ตั้งแต่เจริญจนถึงเสื่อม
    ตอนต้นจะเห็นว่าเดิมก็บริสุทธิ์ดี เป็นพุทธศาสนาเถรวาท
    ต่อมาก็กลายเป็นมหายาน มีคติความเชื่อของทางฮินดูเข้ามา
    ปะปนมากขึ้น ผลที่สุดพุทธหมด จะเห็นได้ที่เอลโลร่า
    ผลที่สุดเหลือแต่ถ้ำฮินดู ถ้ำพุทธถูกกลืนหมด
    เพราะฉะนั้น ก็เป็นคติสอนใจอันหนึ่งที่ว่าใจกว้างจนลืมหลัก
    ไม่ยืนรักษาหลักของตัวเองไว้ กลมกลืนจนกระทั่งตัวเองสูญหายไป
    ในความใจกว้างและกลมกลืนนั้น
    มีเรื่องหนึ่งที่น่าจะกล่าวไว้ คือ
    ลักษณะการกลมกลืนกับศาสนาฮินดู
    ศาสนาฮินดูนั้น มีลักษณะสำคัญ คือ
    การเชื่อเรื่องฤทธิ์ เรื่องปาฏิหาริย์
    เรื่องการดลบันดาลของเทพเจ้า
    ตอนที่คณะเดินทาง โยมจะได้ยินท่านพระครูทวี
    เล่าถึงนิทานของฮินดูมากมาย
    มีแต่เรื่องเทพเจ้าองค์นั้นมีฤทธิ์อย่างนั้น
    ดลบันดาลอย่างนั้น สาปกันอย่างนั้น
    เอาฤทธิ์มาใช้ทำลายกันต่าง ๆ
    โดยมากเป็นเรื่องของโลภะ โทสะ โมหะ
    พุทธศาสนาในยุคหลังก็ทำให้คนไปหวังพึ่งเรื่องฤทธิ์
    เรื่องเทพเจ้าอะไรต่ออะไรมากขึ้น จนลืมหลักของตัวเอง


    ๒. ในทางพุทธศาสนานั้นจะเห็นว่า
    พระพุทธเจ้าก็มีฤทธิ์เหมือนกัน เป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง
    ในบรรดาปาฏิหาริย์ ๓ แต่ต้องยืนหลักไว้เสมอว่า
    ปาฏิหาริย์ที่สำคัญที่สุด คือ อนุศาสนีปาฏิหาริย์*
    ปาฏิหาริย์ที่เป็นหลักคำสอน
    ไม่ใช่ ปาฏิหาริย์ที่เป็นการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ
    ในทางพุทธศาสนาให้ถือการกระทำของเราเป็นหลัก
    ส่วนฤทธิ์ หรือ เทพเจ้านั้น จะมาเป็นตัวประกอบ
    หรือช่วยเสริมการกระทำของเรา
    จะต้องเอาการกระทำของตัวเองเป็นหลักเสียก่อน
    ถ้าหากว่าเราไม่เอาการกระทำ หรือ กรรมเป็นหลัก
    เราก็จะไปหวังพึ่งการดลบันดาลของเทพเจ้า
    หวังพึ่งฤทธิ์ของผู้อื่น มาทำให้ ไม่ต้องกระทำด้วยตนเอง
    ก็งอมืองอเท้า มันก็มีแต่ควมเสื่อมไป
    จุดที่เสื่อม ก็คือ ตอนที่ชาวพุทธลืมหลักธรรม
    ไม่เอาการกระทำของตัวเองเป็นหลัก
    ไปหวังพึ่งเทพเจ้า ไปหวังพึ่งฤทธิ์ พึ่งปาฏิหาริย์
    ตราบใดที่เรายืนหลักได้ คือ
    เอากรรม เอาการกระทำ เป็นหลักแล้ว
    ถ้าจะไปนับถือฤทธิ์ปาฏิหาริย์บ้าง
    ฤทธิ์ปาฏิหาริย์นั้น ก็มาประกอบมาเสริมการกระทำ
    ก็ยังพอยอม
    แต่ถ้าใครใจแข็งพอก็ไม่ต้องพึ่งฤทธิ์ ไม่ต้องพึ่งปาฏิหาริย์
    อะไรทั้งสิ้น เพราะพุทธศาสนานั้น
    ถ้าเราเอากรรม หรือ การกระทำเป็นหลักแล้ว
    ก็จะยืนหยัดอยู่ได้เสมอ..

    **เฉยมิใช่ไร้กิเลส แต่เป็นเหตุให้พระศาสนาสิ้น**

    ๓. อีกอย่างหนึ่งที่ควรระวัง คือ
    พอมีภัย หรือ เรื่องกระทบกระเทือนส่วนรวม
    ชาวพุทธไม่น้อยมีลักษณะที่วางเฉย
    ไม่เอาเรื่อง แล้วเห็นลักษณะนี้เป็นดีไป
    เห็นว่าใครไม่เอาเรื่องเอาราว
    มีอะไรเกิดขึ้นก็เฉย ๆ ไม่เอาเรื่อง กลายเป็นดี
    ไม่มีกิเลส เห็นอย่างนี้ไปก็มี
    ในทางตรงข้าม ถ้าไปยุ่งก็แสดงว่ามีกิเลส
    อันนี้ อาจจะพลาดจากคติพุทธศาสนาไปเสียแล้ว
    และจะกลายเป็นเหยื่อเขา
    ในทางพุทธศาสนานั้น ผู้ไม่มีกิเลสท่านยุ่งกับเรื่องที่
    กระทบกระเทือนกิจการส่วนรวม
    แต่ การยุ่งของท่านมีลักษณะที่ไม่เป็นไปด้วยกิเลส
    คือ ทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ทำเป็นคติไว้แล้ว
    ตั้งแต่สมัยพุทธกาล..
    กิจการส่วนรวมเป็นเรื่องที่จะต้องร่วมกันพิจารณาเอาใจใส่
    นี้ เป็นคติทางพุทธศาสนา
    แต่ในบางยุค บางสมัยเราไปถือว่าไม่เอาธุระ
    จะมีเรื่องราวกระทบกระเทือน
    มีภัยเกิดกับส่วนรวมก็ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวอะไรต่างๆ
    แล้วเห็นเป็นว่าไม่มีกิเลสไปก็มี
    อย่างนี้เป็นทางหนึ่งของความเสื่อมในพระพุทธศาสนา
    คติที่ถูกต้องนั้น สอดคล้องกับหลักความจริงที่ว่า
    พระอรหันต์ หรือ ท่านผู้หมดกิเลสนั้น
    เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนสมบูรณ์แล้ว
    หมดกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเองแล้ว
    จึงมุ่งแต่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น
    ขวนขวายในกิจของส่วนรวมอย่างเต็มที่
    **************
    **โจรเข้ามาปล้นศาสน์ เลยยกวัดให้แก่โจร**

    ๔. อีกอย่างหนึ่ง คือ การฝากศาสนาไว้กับพระ
    ชาวพุทธจำนวนมากทีเดียว ชอบฝากศาสนา
    ไว้กับ พระ อย่างเดียว แทนที่จะถือตามคติของพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า " พระศาสนานั้นอยู่ด้วยบริษัททั้ง ๔ คือ
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
    ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่จะต้องช่วยกัน"
    ทีนี้ พวกเรามักจะมองว่า พระศาสนาเป็นเรื่องของพระ
    บางทีเมื่อมีพระประพฤติไม่ดี ชาวบ้านบางคนบอกว่า
    ไม่อยากนับถือแล้วพุทธศาสนา อย่างนี้ก็มี
    แทนที่จะเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นของเรา
    พระองค์นี้ประพฤติไม่ดี เราต้องช่วยกันแก้
    ต้องเอาออกไป แทนที่จะคิดอย่างนั้น
    กลับกลายเป็นว่าเรายกศาสนาให้พระองค์นั้น
    เหมือนโจรผู้ร้ายเข้ามาปล้นบ้านของเรา
    แทนที่จะรักษาทรัพย์สมบัติของเรา
    กลับยกสมบัตินั้นให้โจรไปเสีย
    พระ องค์ที่ไม่ดีก็เลยดีใจ กลายเป็นเจ้าของศาสนา
    เรายกให้แล้ว บอกไม่เอาแล้วศาสนานี้ เป็นอย่างนี้ก็มี
    นี่เป็นทัศนคติที่ผิด
    ชาวพุทธเราทั่วไปไม่น้อย มีความคิดแบบนี้
    ทำเหมือนกับว่าพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของพระ
    เราก็ไม่ต้องรู้ด้วย


    ข้างต้น..ลอกมาล้วนๆครับลิฟท์

    _/l\_ ครับ
    ****เหตุให้พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย****
    1.ใจกว้างจนลืมหลัก เสียหลักจนถูกกลืน
    2.คลาดหลักธรรม ไปคลำหาฤทธิ์
    สรุป
    อย่าเสียแนวหลักธรรม อย่ามัวคลำหาฤทธิ์

    ทำไม อินเดีย จึงสูญเสียศาสนาพุทธไปจากชาติครับ - มีคำตอบ - กูรู
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทำไม พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมจากอินเดีย

    สาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจากประเทศอินเดียนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น การเสื่อมทางด้านศีลธรรม, การแตกแยกและการขัดแย้งกันทางนิกาย, การถูกศาสนาพราหมณ์กลืน, การทำลายล้างของมุสลิม เป็นต้น ในที่นี้ขอแสดงเฉพาะหัวข้อ "การทำลายล้างของมุสลิม" ก่อน เพราะเห็นว่าเหมาะสมกับสถานะการปัจจุบัน...

    การทำลายล้างของมุสลิม
    ************************
    ในปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ขุนพลอิสลามชื่อ "โมฮัมหมัดเบนกาซิม" ได้ยกทัพเข้ามาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ได้เข้าโจมตีแคว้นสินธุ์และแคว้นมลดาล แล้วเข้ายึดครองบริเวณนี้ไว้ ตั้งราชวงศ์อิสลามขึ้นเป็นเวลา 3 ศตวรรษ พระพุทธศาสนาที่อยู่ในบริเวณนี้ก็ถูกทำลายลงสิ้นบรรดาเจ้าครองนครฮินดูทั้งหลาย ได้ผนึกกำลังกันต่อต้านอย่างเหนียวแน่นเพื่อไม่ให้กองทัพอิสลามล้ำเข้ามาในลุ่มแม่น้ำคงคา วีรกรรมของชาวอินเดียผู้รักชาติเหล่านี้ จะเห็นได้จากพวก "ราชบุตร" (คือ ชนเผ่าอารยัน ปัจจุบันมีอยู่มากในแคว้นราชสถาน) เช่น ครั้งหนึ่ง ในยุทธสงครามในแคว้นราชสถานพวกราชบุตรตายในที่รบหมด ส่วนบรรดามเหสีเมื่อทราบข่าวก็ไม่ยอมตกเป็นเชลยของอิสลาม พวกนางได้ก่อไฟบนเชิงเทินแล้วกระโดดเข้ากองไฟหมดทุกคน ผู้ที่ได้รับความย่อยยับมาก คือ คณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เพราะอินเดียภาค
    ตะวันตกมีวัดวาอารามเป็นเรือนหมื่น วัดเหล่านี้ถูกพวกอิสลามเผาพลาญหมด ปล้นสะดมเอาทรัพย์สมบัติไป พระสงฆ์ได้อพยพหนีภัยเข้าสู่แคว้นมคธและแคว้นเบงกอลเป็นจำนวนแสน

    เมื่อบรรดาเจ้าครองนครฮินดูเลิกอิจฉาริษยากันเองหันมาจับมือกัน ก็สามารถยับยั้งความบ้าเลือดของศัตรูไว้ได้เป็นเวลาถึง 3 ศตวรรษ แต่เมื่อความสงบเกิดขึ้น พวกเจ้านครฮินดูก็ตั้งตนอิจฉาริษยากันเองอีก บางองค์ถึงกับชักศึกเข้าบ้าน เช่น เจ้าครองนครกัญญากุพชะไปขอธิดาของพระเจ้าปฤฐวีราช กษัตริย์แห่งเดลฮี เมื่อถูกปฏิเสธก็เจ็บแค้น ได้ขอให้กองทัพอิสลามมาช่วงตีพระเจ้าปฤฐวีราช พวกอิสลามจึงถือโอกาสเข้ายึดเดลฮีไว้ได้ในพุทธศวรรษที่ 15

    กษัตริย์อิสลามชาวอาฟกานิสถาน ชื่อ "มหหมุด" ได้กรีธาทัพไปปล้นอินเดียถึง 17 ครั้ง มหหมุดได้ประกาศคำขวัญไว้สำหรับทหารมุสลิม (ผู้นับถืออิสลาม เรียกว่ามุสลิม) ว่า "จงไปบูชาลงโทษพวกบูชารูปเคารพ จงทำลายโบสถ์วิหารของมัน จงให้มันกลับใจมานับถือพระอัลลาห์" เพราะฉะนั้นกองทัพอิสลามภายใต้การนำของมหหมุด เมื่อไปถึงไหน พระพุทธศานาและศาสนาพราหมณ์ก็ฉิบหายย่อยยับในที่นั้น ประชาชนถูกบังคับให้ยอมรับนับถือศาสนาใหม่ ที่ไม่ยอมก็ถูกประหาร ในการสงคราม 17 ครั้งของทรราชผู้นี้ในอินเดียมีอยู่ครั้งเดียวที่แพ้ คือ สงครามแคว้นแคชเมียร์ กษัตริย์แห่งแคชเมียร์ได้อาศัยภูมิประเทศอันเป็นปราการธรรมชาติสะกดทัพของอิสลามไว้ได้ แต่อีก 16 ครั้ง อิสลามเป็นฝ่ายชนะ

    การฆาตกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดมี 2 ครั้ง คือ เมื่อมหหมุดโจมตีเมืองกัญญากุพชะ ได้ฆ่าคนในเมืองประมาณแสนคน จับเป็นเชลย 8 หมื่นคน เชลยเหล่านี้มหหมุดเอาไปขายเป็นทาสคนหนึ่ง 2 รูปีเท่านั้น นครกาบูลในอาฟกานิสถานของมหหมุดกลายเป็นตลาดค้าทาสที่ใหญ่ที่สุดในครั้งนั้น

    ในพุทธศตวรรษที่ 16 ขณะที่อินเดียภาคเหนือส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้ปกครองของพวกอิสลาม ราชวงศ์กษัตริย์ส่วนมากแม้จะยังมิได้นับถืออิสลามเลยทีเดียว แต่ก็ไม่มีราชวงศ์ใดนับถือพระพุทธศาสนา ยกเว้นราชวงศ์ปาละในมคธและเบงกอล ราชวงศ์ปาละจึงเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดียซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ราชวงศ์นี้ได้ตั้งต้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 มาสุดเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18

    ภายใต้การอุปถัมถ์ของราชวงศ์นี้ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาในมครและเบงกอลหลายแห่ง คือ "นาลันทา" "วิกรมศิลา" "โสมบุรี" และ "อุทันตบุรี" จึงยังสามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ในขอบเขตอันหนึ่ง ในบรรดามหาวิทยาลัยเหล่านี้ มหาวิทยาลัยนาลันทาใหญ่ที่สุด เก่าแก่ที่สุด และมีชื่อเสียงที่สุด มีนักศึกษาเป็นจำนวนหมื่น มีอาจารย์บรรยาย 1,500 รูป มีห้องประชุมขนาดใหญ่ ซึ่งบรรจุผู้ฟังได้ถึง 1,000 คนขึ้นไป 8 ห้อง มีห้องเรียน 300 ห้อง นักศึกษาทั้งหมดกินอยู่ในมหาวิทยาลัย

    ในรัชกาลพระเจ้ายักษปาละ เสนาบดีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ "ราวเสน" เป็นขบถ ได้ทำลายราชวงศ์ปาละลง แล้วตั้ง "ราชวงศ์เสนะ" ขึ้น พระพุทธศาสนาจึงไม่มีแคว้นใดเลยในอินเดียที่นับถือเป็นทางราชการนับแต่นั้นมา เพราะราชวงศ์เสนะเป็นฮินดู ในไม่ช้าอิสลามภายใต้การนำของขุนทัพ "บักตยาร์ ขัลจิ" ก็ยกทัพบุกทะลวงมคธในปี พ.ศ. 1743 (ค.ศ. 1200) แล้วได้ทำลายมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา อันเป็นมหาวิทยาลัยที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาวพุทธ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เป็นที่รวมของวัด 108 วัด มีอาจารย์บรรยาย 800 ท่าน มีนักศึกษาจำนวนหมื่น จดหมายเหตุของธิเบตได้กล่าวไว้ว่า "พวกอาจารย์ขลังแห่งนิกายมัตรยานในวิกรมศิลา ได้ใช้เวทมนตร์ขับไล่พวกอิสลามถอยไปหลายครั้ง แต่ข้าเท็จจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะปรากฏว่ากองทัพอิสลามเพียงจำนวน 700 คนก็สามารถทำลายวิกรมศิลาหมด พวกอาจารย์ขลังบางคนก็ถูกฆ่า บางคนหนีไปได้ รูปปฏิมาพระโพธิสัตว์ตารกะที่ถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดก็ถูกอิสลามทำลาย"

    กองทัพอิสลามได้ยกเข้าล้อมมหาวิทยาลัยนาลันทาไว้แล้วได้ใช้ไฟเผามหาวิทยาลัยเสียเรียบ ขนเอาทรัพย์สมบัติไปมหาศาล แล้วปล้นเอาทรัพย์สมบัติตามวัดต่างๆ ฆ่าฟันพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปที่พบเห็น พระพุทธศาสนาซึ่งเหลือที่มั่นสำคัญแหล่งสุดท้ายอยู่ที่นี่เพียงแห่งเดียว ก็เลยถูกถอนรากถอนโคนไม่มีอะไรเหลืออีก พระสงฆ์ที่รอดตายได้หนีเข้าไปในเนปาลและธิเบต และไม่มีผู้ใดกล้ากับมาอินเดียอีกเลย

    พระพุทธศาสนาซึ่งเกิดในอินเดีย และเจริญในอินเดียเป็นเวลา 1,700 ปีกว่า จึงถึงกาลอวสานด้วยสาเหตุหลายประการดังที่กล่าวมาแล้ว ก่อให้เกิดความสลดใจและความสะเทือนใจแก่ชาวพุทธทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง และเป็นบทเรียนที่มีค่ามากที่สุดสำหรับชาวพุทธทั่วโลก

     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พุทธศาสนายุคอังกฤษปกครอง พ.ศ. ๒๒๐๐-๒๔๙๐
    (Buddhism in British's time B.E.2200-2490)
    <HR> เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๗๖ สมัยพระเจ้าออรังเซบ พ่อค้าชาวยุโรปเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับอินเดีย คือชาวยุโรปมีชาติโปรตุเกส ฮอลันดาฝรั่งเศสและอังกฤษ การมาของชาวยุโรปนั้นจุดประสงค์แรกก็เพื่อการค้าขายเป็นสำคัญ ยังไม่มีความคิดที่จะยึดเป็นเมืองขึ้นแต่อย่างใด และเพื่อรักษาการค้าของตนเองไม่ให้ถูกโจมตีทั้งจากชาวยุโรปด้วยกันและคนท้องถิ่น หลายบริษัทได้ตั้งกองทหารขึ้นโดยใช้ทหารพื้นเมืองอินเดียเอง และต่อมาอังกฤษก็เข้ายึดครองอินเดียทีละรัฐ จนเข้าครอบครองอินเดียได้เกือบทั่วประเทศ ในระยะนี้อังกฤษได้นำเอาศาสนาของตนคือคริสตศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในอินเดียด้วย อังกฤษก็นำชาวอินเดียให้หันมานับถือคริสตศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในอินเดียด้วย อังกฤษก็นำชาวอินเดียให้หันมานับถือศาสนาของตนได้บ้าง
    สมัยนี้ศาสนามุสลิมอ่อนกำลังลงไปบ้าง ศาสนาฮินดูกลับเจริญขึ้น ศาสนาเชนก็มีอยู่บ้างประปรายซึ่งโดยมากมีผู้นับถืออยู่แคว้นบอมเบย์ ในหมู่พวกพ่อค้าชาวคุชราตที่แคว้นเบงกอล และแคว้นพิหารบ้างบางส่วน ศาสนาเชนนั้นแม้จะมีคนนับถือกันน้อย แต่เชนศาสนิกโดยมากก็เป็นคนร่ำรวย วัดของศาสนาเชนสะอาดและสวยงามทุกแห่ง ไม่เหมือนกับวัดฮินดูซึ่งโดยมากสกปรก ส่วนพุทธศาสนานั้นได้ถูกทอดทิ้งลบเลือนไปจากความทรงจำของชาวอินเดียอย่างสนิท
    <TABLE height=25 width="100%" background=../../pics/bg_ef1.gif border=0><TBODY><TR><TD>๑. การมาของฝรั่งเศส (France Arrival)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผรั่งเศสเป็นชาติยุโรปชาติสุดท้ายที่เข้ามาค้าขายกับอินเดีย แม้ว่าจะมีความร่ำลือถึงความมั่งคั่งของตะวันออกปานใดก็ตาม ก่อนหน้านั้นมีพ่อค้าชาวโปรตุเกสชื่อว่าวาสโก ดา กามา ได้แล่นเรือมาถึงอินเดียเป็นคนแรก ต่อมาจึงมีหลายชาติเดินทางเข้ามาค้าขายกับอินเดีย เช่น โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา เดนมาร์ก แต่ที่มีแนวคิดจะยึดอินเดียเป็นเมืองขึ้นของตนอย่างจริงจัง คือฝรั่งเศสและอังกฤษ
    พ.ศ. ๒๒๐๗ ฝรั่งเศสได้ก่อตั้งบริษัทตะวันออกไกลขึ้น เพื่อค้าขายกับชาวตะวันออก บริษัทนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากรัฐบาลเพราะนำความมั่งคั่งมาหาชาติของตน ฝรั่งเศสจัดตั้งสถานีขึ้นครั้งแรกที่เมืองสุรัต ทางภาคตะวันตกของอินเดีย พ.ศ. ๒๒๑๒ จึงสร้างเพิ่มที่นาคปัฏฏินัมเมืองท่าทางภาคใต้ โดยได้รับอนุญาตจากสุลต่านโกลคุณดา ต่อมาฝรั่งเศส ต้องต่อสู้กับฮอลันดา เพื่อแย่งเมืองเซนทอมใกล้มัทราส สุดท้ายฝรั่งเศสจำต้องลงนามสละเมือง แต่อย่างไรก็ตามฝรั่งเศสก็สามารถยึดเมืองชายทะเลบางเมืองได้และตั้งสถานีสำหรับขนถ่ายสินค้าที่เมืองจันทรนครในพ.ศ.๒๒๓๓
    ต่อมาราวพ.ศ.๒๒๘๕ ฝรั่งเศสโดยการนำของ กัปตันดูแปลง เริ่มคิดการด้านการเมืองโดยหวังยึดอินเดียแข่งกับอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกัฮอลันดา เมื่อทั้งสองชาติยุโรปแข่งขันกันมากขึ้นทั้งทางด้านการค้าขาย การทหารและการเมือง จึงได้เกิดปะทะกันขึ้นโดยการรบกินเวลา ๗ ปี ทั้งสองฝ่ายเสียทหารและไพร่พลเป็นจำนวนมากในที่สุดชัยชนะเป็นของอังกฤษเพราะได้ผู้นำที่มีความสามารถ คือ โรเบิร์ต ไครพ์ ฝรั่งเศสต้องยอมจำนนตามสัญญาปารีส พ.ศ. ๒๓๐๖ ในสนธิสัญญานี้ ฝรั่งเศสจำต้องยกเขตคานาดาให้อังกฤษ และต้องถอนตัวออกจากอินเดียด้วย แม้จำต้องถอนตัวจากอินเดียอย่างเจ็บปวด แต่ก็ยังรักษาเมืองท่าสำหรับค้าขายไว้ ๕ เมืองโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปอนดิเชอรี่ (Pondicherry)

    <TABLE height=25 width="100%" background=../../pics/bg_ef1.gif border=0><TBODY><TR><TD>๒. การมาของอังกฤษ (British Arrival)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลังจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (East Ibdian Company) เมื่อ พ.ศ.๒๑๔๓ แล้ว บริษัทอังกฤษแห่งนี้ก็เริ่มค้าขายในตะวันออกไกล บริษัทนี้เป็นของเอกชนที่ทำหน้าที่ค้าขายเครื่องเทศและสินค้าทั่วไป และ พ.ศ. ๒๑๕๑ บริษัทอินเดียตะวันออกโดยการนำของกับตันฮอร์กิันส์ ก็เริ่มเข้ามาค้าขายกับอินเดียได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิชาฮังคีร์ที่เดลลี และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสถานีค้าขายที่เมืองสุรัตได้ จากเมืองเล็ก ๆ สุรัตกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของอังกฤษต่อมา
    จนถึงสมัยพระเจ้าชาลส์ที่ ๒ ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโปรตุเกส เมืองท่าบอมเบย์ (Bombay) ในยุคนั้นกลายเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ดังนั้นโปตุเกสจึงถวายเมืองบอมเบย์แก่พระเจ้าชาลส์เพื่อเป็นสินสมรส ต่อมาอังกฤษได้สร้างป้อม จัดตั้งกองทหาร จัดหาอาวุธเพื่อคุ้มครองการค้าจากศัตรูที่เป็นชาวพื้นเมืองและชาวยุโรปด้วยกันจนกองทหารของพวกเขาเข้มแข็งขึ้นกว่ากองทัพแห่งชาติของโมกุลเอง เพราะอาวุธและเครื่องยุทธภัณฑ์ที่ทันสมัยกว่า
    <TABLE width=175 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    โรเบิร์ต ไคลว์ (Robert Cile)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในช่วงนี้ โรเบิร์ต ไคลว์ (Robert Cile) กัปตันชาวอังกฤษได้เข้ามาอินเดียและแย่งอิทธิพลกับฝรั่งเศส เมื่อมีเหตุการณ์ขัดแย้งกันเอง ระหว่างผู้ปกครองในอินเดียทั้งอังกฤษและผรั่งเศสจะไปถือหางคนละฝ่าย เช่น กรณีขุนนางจันทา สาหิบ และโมหัมหมัด อาลี ต้องการขึ้นครองราชบัลลังก์ที่อาโกท และทั้งสองต่างเตรียมต่อสู้ ฝรั่งเศสเข้าฝ่ายโมหัมหมัด อาลีสุดท้ายฝ่ายอังกฤษชนะ จันทา สาหิบจึงถูกจับและสังหาร โมหัมหมัด อาลีจึงเป็นเจ้าผู้ครองนครแทน แต่เขาก็เป็นแต่ในนามเท่านั้น เพราะอำนาจสั่งการอยู่ที่อังกฤษ ทำให้ฝรั่งเศสเสียอิทธิพลอย่างมาก จนต้องต้องล้มแผนการยึดอินเดียเป็นอาณานิคมในที่สุด ในที่สุดอังกฤษก็เริ่มยึดดินแดนของอินเดียทีละน้อยจนที่สุดก็ยึดได้ทั้งประเทศราว พ.ศ.๒๓๐๐
    ในปี พ.ศ.๒๒๕๐ ในเดลลีเมืองหลวง บหาดูร์ ชาห์ (Bahadur Shah) ก็ขึ้นครองราชสมบัติแทนออรังเซบผู้บิดา ยุคนี้จักวรรดิโมกุลเสื่อมถอยลงอย่างมาก เมื่อส่วนมากแยกตัวมาปกครองตนเอง อำนาจรัฐบาลกลางจึงเหลือแค่เดลลีและภาคกลางเท่านั้น บหาดูร์ ชาห์ปกครองมาจนถึง พ.ศ.๒๒๕๕ นับเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๗ ของราชวงศ์โมกุล
    พ.ศ. ๒๒๕๕ กษัตรย์โมกุลชื่อบหาดูร์ ชาห์สวรรคตแล้ว ชหันดาร์ชาห์ (Jahandar Shah) โอรสก็ขึ้นนั่งบัลลังก์แทน แต่มีอาณาเขตที่เหลือน้อยแล้วยังเหลือแค่รอบ ๆ เมืองเดลลีเท่านั้น นอกนั้นได้กลายเป็นรัฐเอกราชแล้วชหันดาร์ ชาห์ ปกครองมาจนถึง พ.ศ.๒๒๙๘ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๘ แห่งราชวงศ์โมกุล รวม ๓๙ ปี
    พ.ศ. ๒๒๙๘ อลัมคีร์ ที่ ๒ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากชหันตาร์ ชาห์จนถึง พ.ศ. ๒๓๐๒ เป็นองค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์โมกุล รวมเวลา ๔ ปี
    พ.ศ.๒๓๐๒ แม้อังกฤษจะเริ่มยึดอินเดียมามากแล้ว แต่ราชวงศ์โมกุลก็ยังไม่ถูกยุบ ยังพอมีอำนาจบ้าง สมัยนี้พระเจ้าชาห์ฮาลัมที่ ๒ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากชหันดาร์ ชาห์ ปกครองจนถึง พ.ศ.๒๓๔๙ เป็นองค์ที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์โมกุล รวมเวลา ๔๗ ปี
    ต่อมาพ.ศ.๒๓๔๙ อักบาร์ที่ ๒ ขึ้นครองบัลลังก์แทน จนถึงพ.ศ.๒๓๘๐ เป็นองค์ที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์โมกุล รวม ๓๑ ปี
    <TABLE width=175 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>บหาร์ดูร์ ชาร์ ซาฟา กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โมกุล</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในสมัยนี้ฮินดูได้มีนักปราชญ์หลายคนพยายามฟื้นฟูศาสนาตนเองขึ้น แต่งพุทธศาสนาไม่อาจทำเช่นนั้นได้ เพราะชาวพุทธได้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว ยังเหลือเฉพาะแถวอัสสัม หิมาจัลประเทศ ลาดักเท่านั้น จึงเหลือเฉพาะฮินดู อิสลามและซิกซ์ต่อสู้กันเองในแผ่นดินอินเดีย
    พ.ศ.๒๓๘๐ บหาร์ดูร ชาห์ ซาฟาร์ (Bahadur Shah Safar) ขึ้นครองบัลลังก์แทนพระเจ้าอักบาร์ที่ ๒ เป็นเวลา ๒๒ ปี มาถึงยุคนี้จักวรรดิของโมกุลได้หดหายไปเกือบหมดแล้วคงเหลือแต่เดลลีเมืองหลวงและบริเวณรอบนอกเท่านั้น จนถึง พ.ศ.๒๔๐๒ จึงถูกอังกฤษเนรเทศไปกักตัวไว้ที่เมืองมัณฑเลย์ของพม่า และสิ้นพระชนม์ที่นั้นพร้อมพระญาติ โดยไม่มีโอกาสกลับอินเดียอีกเลย ราชวงศ์โมกุลก็เป็นอันสิ้นสุดในองค์ที่ ๑๒ นี้ ตลอดระยะเวลาที่ราชวงศ์มุสลิมปกครองประเทศอินเดียยาวนานถึง ๖๖๓ ปี พุทธศาสนาถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงโดยไม่มีโอกาสกลับมาฟื้นได้ในช่วงนี้ แม้กระทั่งโบราณสถานทางพุทธศาสนาก็ถูกปกครองมุสลิมทำลายลงอย่างหนัก





    <TABLE height=25 width="100%" background=../../pics/bg_ef1.gif border=0><TBODY><TR><TD>๓. กบฏซีปอย (The Sepoy Mutiny)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    กบฏนี้เกิดพ.ศ. ๒๔๐๐ เป็นการกบฏที่ไม่มีการเตรียมการมาก่อนโดยหวังจะต่อสู้กับอังกฤษผู้เป็นนาย คำว่าซีปอย เพี้ยนมาจากภาษาเปอร์เซียว่า ซีปาร์ หมายถึงทหาร ต่อมาเป็นชื่อก่องทหารอินเดียที่อยู่ในการบังคับบัญชาของอังกฤษ ได้รับการฝึกแบบอังกฤษ และขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาที่เป็นชาวอังกฤษโดยตรง สาเหตุการกบฏมาจากสาเหตุหลายประการคือ
    ๓.๑ ด้านการเมือง ข้าหลวงอังกฤษชื่อ ดัลเฮาลี ได้ออกกฎหมายยกที่ดินที่เจ้าผู้ปกครองเมืองได้ที่ไม่มีทายาทโดยตรงให้เป็นของอังกฤษ การผนวกแคว้นอูฐ (ปัจจุบันคือรัฐอุตตประเทศ) เป็นของอังกฤษ โดยตรงการกำจัดราชวงศ์โมกุล, การปฏิเสธเงินบำนาญแก่นานาซาเห็บ บุตรบุญธรรมของบาจี ราโอที่ อดีตกษัตริย์ฮินดูแห่งเปชวาร์
    ๓.๒ ด้านเศรษฐกิจ สาเหตุมาจากอังกฤษปฏิรูปที่ดิน โดยยกเลิกที่ดินของขุนนาง, อังกฤษเลิกจ้างข้าราชบริพารของพระราชา, การรับที่ดินที่เจ้าของไม่สามารถแสดงหลักฐานที่ชัดเจนให้กลายเป็นของอังกฤษ
    ๓.๓ ด้านศาสนา การยกเลิกประเพณีสตี การยกเลิกการฆ่าทารกแม้จะเป็นเรื่องดี แต่ชาวฮินดูหัวเก่าก็ต่อต้านอย่างรุนแรง, การสร้างทางรถไฟ โทรเลข การศึกษาแบบตะวันตก ล้วนกระทบกับประเพณีวัฒนธรรมของชาวฮินดู, การให้ความคุ้มครองผู้เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูมาเป็นคริสเตียน นอกจากนี้ยังเกิดข่าวลือว่าปืนไรเฟิลชนิดใหม่ใช้น้ำหันหมูซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิม และน้ำมันจากไขวัวซึ่งเป็นพระเจ้าของฮินดูจึงเกิดการไม่พอใจอย่างมากทั้งทหารมุสลิมและฮินดู
    การกบฏเริ่มต้นที่บารักปอร์ใกล้กัลกัตตา และเมียรุต ใกล้เดลลีพวกกบฏได้ยึดคุกและปล่อยพวกเดียวกันออกจากคุก และได้รับชัยชนะหลายครั้ง แต่ที่ปัญจาป กุหลาบ สิงห์ (Gulab Singh) หัวหน้าชาวซิกซ์และสินเธีย (Sindhia) ได้ช่วยชาวอังกฤษไว้ นอกจากนี้ยังมีเซอร์สาลาจัง (Sir Sala Jang) เสนาบดี ไฮเดอราบาด เซอร์จัง บฮาดูร์ (Sir Jang Bahadur) แห่งเนปาล ด้วยความช่วยเหลือของบุคคลเหล่านี้ ในที่สุดอังกฤษก็ปราบได้ในเวลา ๕ เดือน การกบฎครั้งนี้แม้ว่าทหารพื้นเมืองซีปอยจะพ่ายแพ้แต่ก็ปลุกชนวนชาตินิยมให้เกิดแก่ชาวอินเดียเป็นจำนวนมาก ที่จะปลดปล่อยตัวเองจากนักล่าเมืองขึ้น ชาวตะวันตก


    <TABLE height=25 width="100%" background=../../pics/bg_ef1.gif border=0><TBODY><TR><TD>๔. อังกฤษกลุมพินีให้เนปาล (British offered Lumbini to Nepal)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=175 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    สวนลุมพิลี เนปาล​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พ.ศ.๒๓๙๔ เมื่อการเกิดกบฏซีปอยรุนแรงขึ้น จนยากต่อการควบคุมอังกฤษจึงขอกำลังจากเนปาลให้ช่วยปราบกบฏ พระเจ้าสุเรนทระกษัตริย์เนปาลตอบตกลง จึงส่งทหารเข้าช่วยกองทัพอังกฤษ ทหารกรุข่าของเนปาลสามารถยึดเมืองโครักขปูร์ เมืองลัคเนาว์และอีกหลายเมืองในแคว้นอูธ (รัฐอุตตระประเทศในปัจจุบัน) กลับคืนมาได้ และในที่สุดอังกฤษก็สามารถปราบกบฏสำเร็จ ในการรบครั้งนี้ทหารกรุข่าของเนปาลทำการรบอย่างกล้าหาญจนชื่อเสียงเลื่องลือไปไกล เพื่อเป็นการตอบแทนที่เนปาลส่กองทัพเข้ามาช่วยเหลืออังกฤษปราบกบฎซีปอยได้ราบคาบ อังกฤษจึงตอบแทนเนปาลโดยยกแผ่นดินพื้นที่ราบใหญ่กว้างขวาง บางส่วนของแคว้นอูธ ให้ขึ้นกับเนปาลเป็นรางวัลตอบแทน และพื้นที่ที่ยกให้นี้มีความสำคัญกับชาวพุทธมาก เพราะเป็นที่ประสูติของพระบรมศาสดาคือสวนลุมพินี, เมืองกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ พุทธสถานเหล่านี้ จึงตกอยู่ภายใต้ การยึดครองของเนปาลตั้งแต่นั่น เป็นต้นมา ก่อนหน้านั้นพื้นที่เหล่านี้อยู่ในรัฐอูธของอินเดีย ดังนั้นการเดินทางไปจาริกแสวงบุญจึงมีความลำบากมากขึ้น เพราะนักแสวงบุญหรือนักท่องเที่ยวจะต้องข้ามพรมแดนไปอีกประเทศและปัจจุบัน จะต้องจ่ายเงินจำนวนมากให้เนปาล เพื่อขอวีซ่าเข้าประเทศ
    พ.ศ.๒๔๐๑ หลังเหตุการณ์ทหารซีปอยก่อกบฏ ๑ ปี อังกฤษก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ โดยยุบบริษัทอินเดียตะวันออกที่ปกครองอินเดียเสีย แล้วโอนการปกครองอินเดียให้รัฐบาลอังกฤษโดยตรง โดยมีสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียเป็นหัวหน้ารัฐบาล และองค์ประมุขของอินเดีย เป็นการสิ้นสุดการปกครองอินเดียในนามเอกชน รวมเวลาที่บริษัทอินเดียตะวันออกปกครองอินเดียราว ๑๐๐ ปี

    <TABLE height=25 width="100%" background=../../pics/bg_ef1.gif border=0><TBODY><TR><TD>๕. ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลังจากอินเดียถูกปกครองโดยอังกฤษมาหลายร้อยปี ความคิดชาตินิยมก็เริ่มก่อตัวขึ้นโดยมีแรงผลักดันมาจากการปฏิวัติในประเทศต่าง ๆ เช่น ในฝรั่งเศส และการให้การศึกษาของอังกฤษที่สอนเกี่ยวกับลัทธิเสรีภาพ และความเจ็บปวดที่ได้รับจากการปกครองของอังกฤษโดยออกหนังสือพิมพ์ รณรงค์หาเสียงคือ เนาโรจี, ติลัก, ภคัท ซิงห์, โมหัน รอย, โกฆะเลสุภาส จันทรโพส และที่สำคัญที่สุดคือ มหาตมา คานธี
    พ.ศ.๒๔๑๒ เป็นปีที่เด็กชายโมหันทาส กรามจันทะ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) กำเนิดขึ้น ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามมหาตมา คานธี เขาเป็นบุตรของเสนาบดีรัฐคุชราด เกิดในตระกูลแพศย์ อายุ ๑๓ ปีก็แต่งงานกับนางสาวกัสตูบา และอายุ ๑๙ ปี ก็เดินทางไปศึกษากฎหมายที่อังกฤษ จบแล้วไปใช้วิชากฎหมายช่วยเหลือคนอินเดียที่อัฟริกาใต้ที่ได้รับความอยุติธรรมเป็นอย่างมาก

    พ.ศ.๒๔๕๘ จึงกลับมาเป็นแกนนำเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ โดยยึดนโยบายอหิงสาคือการไม่เบียดเบียน โดยคานธีมีความเชื่อว่า อังกฤษเป็นชาติสุภาพบุรุษสมเป็นผู้ดี ถ้าไม่ถูกทำร้ายก่อนแล้วจะไม่ทำร้ายก่อน และอินเดียไม่มีกำลังทหารจึงไม่มีทางที่จะเอาชนะอังกฤษได้ด้วยกำลัง มาตรการในการต่อต้านอังกฤษของคานธีนั้น มีทั้งดื้อแพ่งไม่ยอมปฏิบัติตามและอดข้าวประท้วง เลิกซื้อสินค้าทุกอย่างของอังกฤษไม่ยอมจ่ายภาษีและไม่เชื่อฟังกฎหมาย ในการทำตามคานธีได้มีผู้คนถูกอังกฤษจับติดคุกเป็นจำนวนมาก แต่อังกฤษก็ไม่มีข้ออ้างที่จะมาทำร้ายคานธีเพราะเป็นการประท้วงแบบสันติได้แต่จับแกนนำเข้าห้องขัง และคานธีก็อดข้าวประท้วง สุดท้ายก็จำเป็นต้องปล่อยเพราะจะเกิดความวุ่นวาย ในการใช้มาตรการแบบนี้กับอังกฤษมีคนเห็นด้วยเป็นจำนวนมาก จึงมีผู้ฝากตัวเป็นศิษย์จำนวนมาก รวมทั้งเนห์รูด้วย คานธีเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๑ หลังที่ได้เห็นเอกราชที่สมบูรณ์ของอินเดียเพียงปีเดียว โดยถูกมือปืนสังหารเพราะไม่เห็นด้วยที่ให้แยกปากีสถานออกจากอินเดีย

    <TABLE height=25 width="100%" background=../../pics/bg_ef1.gif border=0><TBODY><TR><TD>๖. การค้นพบจารึกที่เมืองกิลลกิต (Ancient Manuscript in Gilgit)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=175 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>ส่วนหนึ่งของคัมภีร์ที่ค้นพบที่เมืองกิลกิต ภาษาสันสฏฤต อักษรขโรษฐิ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ รัฐบาลอังกฤษในอินเดียได้ขุดค้นโบราณสถานในเมืองกิลกิต (Gilgit) ตอนเหนือของรัฐแคชเมียร์หลายแห่ง ได้พบซากพุทธสถานมากมาย มีสถูปหลายแห่งค่อนข้างสมบูรณ์ปรากฎอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะองค์สถูปที่อยู่ใกล้เชิงเขา ห่างจากเมืองกิลกิตไป ๓ ไมล์ และอีกองค์ระหว่างเมืองจัลต์และเมืองบินาปิน อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์นอกจากเจดีย์แล้ว ยังมีการค้นพบพระพุทธรูปหลายแห่ง เช่น พระพุทธรูปแกะสลักหิน ที่ทางเข้ากีรการ์ นาล์ลาห์ ห่างเมืองกิลลกิตไป ๓ ไมล์ ทางตะวันตกและพระพุทธรูป พร้อมทั้งพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองยาซิน และที่สำคัญที่สุดก็คือการค้นพบบางส่วนของคัมภีร์ใบลานภาษาสันสกฤตอักษรขโรษฐิที่เก่าแก่ในถ้ำ เป็นคัมภีร์พระวินัยคือ วินัยวัสดุ ปราติโมกษสูตรกรรมวากยะ และปรัชญาปารมิตา เป็นต้น
    ผู้ค้นพบคือ ศาสตราจารย์นาลินักศะทัตตะ (Nalinaksha Dutt) พร้อมคณะ คัมภีร์เหล่านี้เหลือรอดจากการทำลายล้างหลายยุคหลายสมัยมาได้ เพราะเก็บไว้อย่างมิดชิดในภาชนะที่ปิดผนึกอย่างดี เมื่อตรวจสอบอายุและมีอายุเก่าแก่ถึงพันปีเศษ เมืองกิลกิตเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ของอินเดียตอนเหนือ แต่ปัจจุบันอยู่ในเขตแคชเมียร์ของปากีสถาน เมืองกิลกิตและแคว้นแคชเมียร์ เป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่พุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชจนถูกทำลายลงในยุคมุสลิมเข้ายึดครอง

    <TABLE height=25 width="100%" background=../../pics/bg_ef1.gif border=0><TBODY><TR><TD>๗. สาเหตุที่พุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลายท่านสงสัยว่า เพราะเหตุใดพุทธศาสนาจึงเสื่อมโทรมไปจากประเทศอินเดียอันเป็นดินแดนเกิดของพุทธศาสนา ปัญหานี้มีคนสงสัยกันมากแต่ก็มีส่วนน้อยที่สนใจปัญหานี้อย่างแท้จริง มูลเหตุของการเสื่อมของพุทธศาสนามาจากสาเหตุหลายประการคือ

    ๗.๑ เพราะแตกสามัคคี
    เพราะพระภิกษุสงฆ์เกิดแตกสามัคคีไม่มีความปรองดองกันแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเป็นใหญ่ หลงในลาภยศสักการะ ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัยเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสอนอันดั้งเดิมเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ทำให้เกิดสัทธรรมปฏิรูปซึ่งได้เกิดขึ้น แม้แต่สมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เช่นเรื่องการแตกสามัคคีของพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี และพระเทวทัต เป็นต้นและได้มีสืบต่อ ๆ กันมาไม่ขาดราะยันับว่าเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งในวงการของพุทธศาสนาอันเป็นเหตุให้ศาสนาอื่น ๆ ฉวยโอกาสโจมตีได้เท่ากับเป็นการเปิดประตูบ้านให้พวกโจรเข้าลักของในบ้าน สังคายนาแต่ละครั้งที่ทำในอินเดียจึงมีมูลเหตุมาแต่การแตกแยกของพระภิกษุสงฆ์เป็นส่วนใหญ่
    ๗.๒ ขาดผู้อุปถัมภ์
    พุทธศาสนาเจริญและดำรงมาได้ก็เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินให้ความอุปถัมภ์บำรุง เมื่อสิ้นพระเจ้าอโศก พระเจ้ามิลินท์ พระเจ้ากนิษกะ พระเจ้าหรรษวรรธนะ พระเจ้าธรรมปาละ พระเจ้าเทวปาละ ผู้มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาแล้วทำให้พุทธศาสนาต้องขาดผู้อุปถัมภ์ ไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริมซึ่งพอจะเห็นได้ว่าพุทธศาสนาได้เจริญในรัชกาลของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นี้ทรงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนามาก เมื่อขาดผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนาก็เหมือนกับไม้ขาดน้ำและปุ๋ย และพระมหากษัตริย์บางพระองค์นอกจากไม่คุ้มครองและยังทำลายพุทธศาสนาอย่างย่อยยับ เช่น กษัตริย์สสางกะ ปุษยมิตร เป็นต้น

    ๗.๓ เพราะถูกศาสนาฮินดูเบียดเบียน
    ศาสนาฮินดูได้เป็นคู่แข่งของพุทธศาสนามาเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธการล จนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบันนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พวกพราหมณ์หรือฮินดูก็ได้เริ่มประกาศคำสอนของตนเป็นใหญ่ ส่วนพระสงฆ์ในพุทธศาสนามีแต่ตั้งรับ บางครั้งก็เปิดช่องว่างให้เขาหรือไม่ก็หลอมตัวเข้าหาเขา จึงเท่ากับว่าทำลายตัวเองด้วยและถูกคนอื่นทำลายด้วย ถ้าหากพระสงฆ์และชาวพุทธยังยึดมั่นอยู่ในคำสอนและรักษาความสามัคคีในหมู่คณะไว้ได้ดีแล้ว คนอื่นหรือศาสนาอื่นก็ทำอะไรได้ยาก เพราะพุทธศาสนาย่อมได้เปรียบศาสนาอื่นหรือศาสนาอื่นก็ทำอะไรได้ยาก เพราะพุทธศาสนาย่อมได้เปรียบศาสนาอื่นในหลักคำสอนอยู่แล้ว การทำลายของศาสนาฮินดูใช้ทั้งไม้อ่อนและไม่แข็งไม้อ่อนคือโจมตีด้วยคำสอน ลอกเลียนแบบคำสอน ลอกเลียนแบบคำสอน นำพระพุทธเจ้ามาเป็นอวตาร ไม้แข็งคือทำลายวัด ยึดวัดพุทธมาเป็นฮินดู วัดส่วนมากกลายเป็นฮินดูเช่นในอินเดียภาคใต้ พุทธคยา ตโปธาราม ราชคฤห์, วาลุการามที่สังคายนาครั้งที่ ๒, วัดถ้ำที่อินเดียภาคใต้ , โบสถ์พระรามที่อโยธยา ก็กลายมาเป็นสมบัติชาวฮินดูไปนอกนั้นยังซ้ำเติมยามพลั้งพลาด เช่น พราหมณ์กลุ่มหนึ่งหลังมุสลิมเติร์ก กลับจากเผามหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ก็กลับมาเผาซ้ำอีก

    ๗.๔ ถูกมุสลิมทำลาย
    เมื่อสมัยที่มุสลิมเข้ามามีอำนาจในอินเดียกษัตริย์มุสลิมใด้แผ่อำนาจไปในส่วนต่าง ๆ ของอินเดียราว ๆ พ.ศ.๑๗๐๐ กองทัพมุสลิมได้ทำลายวัดวาอาราม รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ฆ่าฟันพระสงฆ์อย่างมากมาย จนพระสงฆ์และชาวพุทธต้องหนีกันออกนอกประเทศอินเดีย เข้าไปอาศัยในเนปาล สิกขิม ธิเบต ต่อมาเมื่อมุสลิมยึดอินเดียได้อย่างเด็ดขาด อิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้แผ่ตามไปด้วย เป็นเหตุให้พุทธศาสนาพลอยได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักจนสูญหายไปในที่สุด หลายฝ่ายเชื่อว่าถ้าไม่ถูกมุสลิมถอนรากถอนโคน พุทธศาสนาวัดว่าอารามก็คงเลืออยู่เต็มอินเดีย เฉพาะรัฐพิหารรัฐเดียวก็มีเป็นหมื่นวัด จนกลายมาเป็นชื่อรัฐในปัจจุบัน พุทธศาสนาก็คงอยู่ได้แต่อาจจะลดจำนวนลงบ้าง และอาจจะปฏิรูปเข้ากับศาสนาฮินดูบ้าง การมาของมุสลิมเหมือนกับลมพายุกระหน่ำต้นไทรที่ผุข้างในบ้างแล้วให้ล้มลง
    ๗.๕ พุทธศาสนามีคำสอนที่สวนกระแส
    เพราะคำสอนของพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่สวนกระแส คือ ดิ่งสู่ความเป็นจริง เป็นการฝืนใจคนอินเดียในสมัยนั้น แนวคำสอนของพุทธศาสนาเรื่องการไม่สนับสนุนการอ้อนวอน ก็ขัดความรู้สึกคนสมัยนั้น ที่นิยมการอ้อนวอนบูชาบวงสรวงสิ่งที่ไกลตัว เพื่อหวังลาภสักการะหวังเป็นที่พึ่ง แนวคำสอนของพุทธศาสนาดึงคนเข้ามาหาหลักไม่ใช่ดึงหลักเข้ามาหาคน ไม่บัญญัติไปตามความชอบพอของคนบางคน ทำให้ปุถุชนผู้เบาปัญญา เกิดความเบื่อหน่าย และหันไปนับถือศาสนาอื่นได้ นอกจากนั้นหลักคำสอนเกี่ยวกับการปฏิเสธวรรณะของคนชั้นสูงและคนชั้นต่ำ ผู้ยึดมั่นอยู่ในลัทธิประเพณีพวกคนคิดเห็นของของคนชั้นสูงก็ไม่อยากให้มีการเลิกการถือชั้นวรรณะ คนชั้นต่ำก็ไม่ต้องการให้ล้มเลิกลัทธิประเพณีของเขา คนชั้นต่ำมิได้นับถือศาสนาด้วยปัญญา แต่นับถือด้วยการยึดมั่นอยู่พิธีกรรมจึงทำให้เป็นการขัดต่อความเชื่อถือของเขา

    ๗.๖ ถูกฮินดูแต่งกายเลียนแบบ
    ในสมัยต่อมานักบวชฮินดู ได้เปลี่ยนแนวการสอนใหม่จากเดิมที่ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง มาเป็นการตั้งสำนัก จากไม่มีองค์กรคณะสงฆ์ ก็ตั้งคณะสงฆ์ จากนักบวชพราหมณ์ที่นุ่งห่มสีขาว กลายมาเป็นแต่งชุดเหลืองเหมือนพระสงฆ์ในพุทธศาสนา นักบวชที่แต่งชุดเหลืองถูกเรียกว่า สาธุ แม้พระสงฆ์ไทยเมื่อไปอยู่อินเดียก็ถูกเรียกว่า สาธุ เช่นกัน และคิดเหมาเอาว่าเป็นฮินดูทั้งหมด เมื่อฮินดูปฏิรูปการนุ่งห่มทำให้ความแตกต่างลดน้อยลง และการกลืนก็เป็นไปง่ายขึ้น
    ๗.๗ เลียนแบบลัทธิตันตระในศาสนาฮินดู
    เมื่อ พ.ศ.๑๕๐๐ พุทธศาสนาได้รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูมาปฏิบัติแล้วเรียกในชื่อใหม่ว่า พุทธตันตระ ซึ่งเป็นการขัดต่อคำสอนของพุทธศาสนาดั้งเดิม คำว่าพุทธตันตระหมายเอาพุทธศาสนาในยุคหลัง อันมีมนตรยาน วัชรยานและสหัสยาน ลัทธินี้ก่อนที่จะเสื่อมจากอินเดียได้ไปเจริญรุ่งเรืองในประเทศธิเบต เนปาล และภูฐาน เมื่อพุทธศาสนาถือเอาลัทธิตันตระมาผสมผสานกับศาสนาของตนจึงไม่มีความแตกต่างจากฮินดู ทำให้ห่างจากหลักการเดิมออกไปทุกที
    ๗.๘ ถูกทำลายจากกษัตริย์ต่างศาสนา
    ยามที่ผู้ปกครองนับถือพุทธศาสนา ศาสนาทุกศาสนาจะได้รับการปกป้องคุ้มครองเสมอ เพราะชาวพุทธมีความเมตตาอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ แต่เมื่อคราใดที่ผู้ปกครองนับถือศาสนาอื่น เช่น ฮินดู หรือ มุสลิมแล้ว พุทธศาสนามักจะถูกทำลายเสมอ เช่น ในสมัยของพระเจ้าศศางกะ พระเจ้าปุษยมิตร พระเจ้ามิหิรกุล ทั้งสามนับถือศาสนาฮินดู ได้ทำลายพุทธศาสนาลงอย่างมากในสมัยที่ตนเองปกครองอยู่ ต่อมาเมื่อกองทัพมุสลิมเข้ายึดครองแล้ว พุทธศาสนาก็ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง เช่น โมฮัมหมัด เบนกาซิม โมฮัมหมัด ขิลจิ ,บาบูร์ เป็นต้น

    <TABLE cellPadding=10 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หัวข้อกระทู้ :ทำไมพุทธศาสนาจึงหมดจากอินเดีย


    ตามหลักไตรลักษณ์ข้อหนึ่งที่ว่า ใด ๆ ในโลกล้วนอนิจจัง คือไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ศาสนาพุทธก็เช่นกัน ครั้งหนึ่งเคยเกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย ในสมัยนั้นเรียกว่า ชมพูทวีป และเรียกว่า มหาชนบท ประกอบด้วยแคว้น 16 แคว้น คือ
    อังคะ (นครจัมปา) มคธะ (ราชคฤห์) กาสี (พาราณสี) โกศละ (สาวัตถี) วัชชี (ไพศาลี) มัลละ (กุสินารา) เจตี (สุกติมติ) วังสะ (โกสัมพี) กุรุ (อินทปัต) ปัญจาละ (ฉัตรวดี) มัจฉะ () สุระเสนะ (มถุรา) อัสสกะ (โปตนะ) อวันตี (อุชเชนี) คันธาระ (ตักศิลา) และกัมโพชะ (ทวารกา)
    ชื่อแคว้นและเมืองสำคัญเหล่านี้เปลี่ยนแปลงตลอด จนถึงสมัยพุทธกาลแคว้นบางแคว้นก็หายไปมีแคว้นใหม่เกิดขึ้น เช่น แคว้นสักกะ ที่มีเมืองกบิลพัสดุ์นั้นก็เกิดขึ้นภายหลัง ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาหิมาลัย เขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน
    ในแคว้นเหล่านี้ที่กล่าวอ้างเดิมทีมีศาสนาพราหมณ์เกิดขึ้นก่อนแล้ว โดยศาสนานี้จะนับถือพระเจ้าองค์เดียวคือพระพรหม พระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง
    ในหลักศาสนาเหล่านี้จะมีการแบ่งวรรณเป็น ๔ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ ศูทร ทั้งสี่วรรณะมีศักดิ์ลดหลั่นกันมา และหากมีการแต่งงานข้ามวรรณะแล้วมีบุตรจะกลายเป็นจัณฑาล คือพวกนอกวรรณะทันที
    การอุบัติขึ้นของพุทธศาสนา ได้ลบล้างวรรณะทั้งสี่ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับนักบวชศาสนาพราหมณ์เป็นอย่างมากจนเกิดการทำลายล้างภายหลัง โดยพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
    มนุษย์จะประเสริฐได้เพราะการกระทำหาใช่เพราะวรรณะ หรือชาติกำเนิดไม่
    หลักการสอนของพุทธศาสนามุ่งให้เกิดการปฏิบัติยึดถือตามหลักของกรรม คือการกระทำและเจตนา และให้เรียนรู้ที่ตนเอง และนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุดคือนิพพาน
    การเสื่อมสลายของศาสนาพุทธในอินเดียเกิดจากปัจจัย ๒ ประการคือ
    ปัจจัยภายใน คือการย่อหย่อนของพุทธบริษัท ที่นับถือคำสอนและวัตรปฏิบัติที่เลอะเลือน ทำให้ความหมาย จุดมุ่งหมายที่แท้จริงเปลี่ยนไป เช่น จุดมุ่งหมายการหลุดพ้นคือการปฏิบัติตามมรรคองค์ ๘ ก็กลายเป็นการสวดอ้อนวอนพระพุทธเจ้า และในที่สุดก็หลงลืมคำสั่งสอนที่แท้จริงไปเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาความขัดแย้งของความเชื่อมและการปฏิบัติของพระสงฆ์ทำให้เกิดนิกายต่าง ๆ มากมาย
    ปัจจัยภายนอก คือ การคุกคามของศาสนาอื่นและลัทธิอื่น มีทั้งการทำลายล้างอย่างโหดเหี้ยม เช่น ให้เลือกระหว่าง ดาบ กับการนับถือพระเจ้า (การทำลายล้างมหาวิทยาลัยนาลันทาของมุสลิมเติร์ก) หรือ การทำลายพุทธศาสนาของกษัตริย์ปุษยมิตร โดยกษัตริย์องค์นี้เป็นพราหมณ์ในราชวงศ์โมริยะของพระเจ้าอโศก ซึ่งไม่พอใจที่พระเจ้าอโศกสั่งห้ามไม่ให้มีการบูชายัญเกิดขึ้น และกษัตริย์นับถือพุทธศาสนา และเมื่อราชวงศ์โมริยะอ่อนแอลงพราหมณ์ปุษยะมิตรจึงล้มลางกษัตริย์เดิมแล้วตั้งราชวงศ์ใหม่ชื่อราชวงศ์ ศุงคะ แล้วให้รื้อฟื้นพิธีบูชายัญใหม่ โดยจัดให้มีพิธีอัศวเมธ คือปล่อยม้าอุปราการผ่านเมืองไปเมืองใดแล้วถ้ามีการขัดขืนก็ทำสงคราม ถ้าไม่ขัดขืนก็ต้องยอมรับเป็นเมืองขี้น จนครบ ๑ ปีจึงกลับและฆ่าม้าที่ส่งออกไประหว่างนี้จะมีการเฉลิมฉลองตลอดระยะเวลาที่ส่งม้าออกไป (มีความเชื่อว่ากษัตริย์องค์ใดสามารถทำพิธีอัศวเมธได้ครบ ๑๐๐ ครั้งจะสามารถครอบครองจักรวาลได้ ซึ่งคงไม่มีใครสามารถทำได้ เพราะต้องใช้เวลาถึง ๑๐๐ ปี)
    นอกจากนี้กษัตริย์ปุษยะมิตรได้สั่งประหารผู้นับถือศาสนาพุทธเป็นอันมาก แต่ไม่สามารถล้มล้างได้ เพราะรากฐานที่กษัตริย์อโศกมหาราช ได้วางไว้นั้นหยั่งรากลึกแน่น ทั่วทั้งชมพูทวีปเสียแล้ว
    ในยุคราชวงศ์ศุงคะนี้เองได้เกิดสถูปสาญจีอันสำคัญ และเกิดศิลปเกี่ยวกับศาสนาพุทธอีกเป็นจำนวนมาก โดยการทำลายล้างไม่สามารถทำได้จึงเลิกราไป
    ต่อมาหลังพุทธกาลประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าปี มีการกลืนศาสนาพุทธ์ให้เป็นศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระพรหม แต่ภายหลังเพิ่มพระเจ้าขึ้นมาอีกหลายองค์จึงเปลี่ยนจากพราหมณ์มาเป็นฮินดู) โดยนำเอาคำสอนหลาย ๆ อย่างของศาสนาพุทธไปดัดแปลงเป็นคำสอนของตน และการแต่งกาย การปฏิบัติเลียนแบบหลายอย่าง
    ยุคนั้นผู้นำศาสนาฮินดูที่นำการต่อต้านศาสนาพุทธจนสามารถกำจัดให้หมดไปจากอินเดียคือ ศังกราจารย์ ซึ่งชาวฮินดูบางคนเชื่อว่าเป็นพระศิวะอวตารลงมาเพื่อปราบพวกมาร คือผู้นับถือศาสนาพุทธ และศังกราจารย์นี่แหละที่อ้างถึงการกำเนิดของพระพุทธเจ้าว่าเป็นนารายณ์อวตารปางที่ ๙
    ด้วยเหตุปัจจัยหลัก ๆ เหล่านี้จึงทำให้พุทธศาสนาในอินเดียสูญสิ้นอย่างน่าใจหาย และเป็นไปตามกฎธรรมชาติ
    ในปัจจุบันนี้สถานการณ์พุทธศาสนาในประเทศไทยก็ไม่ต่างจากอินเดียในอดีตสักเท่าใดนัก เพราะพระสงฆ์บางส่วนยังแยกยะไม่ออกว่าสิ่งไหนคือหลักคำสอนที่แท้จริงของศาสนาพุทธ อันไหนคือสิ่งที่กลายพันธ์มาจากศาสนาฮินดู ตัวอย่างง่าย ๆ บางวัดยังสร้างพระพิฆเนศแจกจ่ายให้ประชาชนนับถือ โดยไม่รู้ว่าพระพิคเนศนั้นเป็นเทพเจ้าในศาสนาอื่น และบางรูปยังคงยอมรับว่าพุทธและพราหมณ์เป็นศาสนาใกล้เคียงเลยยอมรับทั้งสองอย่างเสียเลย (ไม่แน่ใจว่าอาจจะมีพระบางรูปกราบไหว้พระพิฆเนศเสียด้วยซ้ำ)
    พระบางรูปยังคงท่องสาธยายพุทธมนต์เพื่ออ้อนวอนพระพุทธเจ้ามากกว่าจะท่องเพื่อรักษาพุทธพจน์และการศึกษาความหมายเพื่อนำมายึดปฏิบัติ
    สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นลางบอกอนาคตของพุทธศาสนาเป็นอย่างดี เพียงแต่เราท่านบางคนมองไม่เห็นว่าเป็นภัยอันจะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมไปจากประเทศ...
    อ่านเพิ่มเติม:
    การเสื่อมของพุทธศาสนาในอินเดีย, กำเนิดพระโพธิสัตว์, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, มูลเหตุการเสื่อมสูญพุทธศาสนาในอินเดีย

    option=com_ccboard&view=postlist&forum=4&topic=28&Itemid=18
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อิทธิพลของพุทธศาสนาในอินเดีย
    [​IMG]

    พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นท่ามกลางสังคมอินเดียทีมีความหลากหลายด้านความเชื่อ ศาสนา ลัทธิต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นก่อนพระพุทธศาสนา และที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ตลอดจนลัทธิที่เกิดขึ้นมาภายหลังอีกมากมาย แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นมาในดินแดนชมพูทวีป หรืออินเดียเหมือนกับลัทธิศาสนาต่าง ๆ เหล่านั้น แต่พุทธศาสนามีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากลัทธิศาสนาต่าง ๆ ได้แก่การอุบัติขึ้นมาพร้อมกับการปฏิรูปสังคมอินเดียเสียใหม่ คือพุทธศาสนาได้เสนอหลักทฤษฎีใหม่ ซึ่งหักล้างกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวอินเดียไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการที่แตกต่างจากศาสนาพราหมณ์โดยสิ้นเชิง เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อพุทธศาสนาเคยได้เจริญรุ่งเรืองในอินเดียมาก่อน ย่อมจะทำให้สังคมอินเดียได้รับอิทธิพลด้านความคิด ความเชื่อจากพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน เมื่อความคิด ความเชื่อ หรือทัศนคติของคนอินเดียเป็นอย่างไร ก็ย่อมส่งผลให้สังคมเป็นไปอย่างนั้นด้วย แม้ว่าปัจจุบันนี้จะเหลือแต่ภาพเก่า ๆ ของพุทธศาสนาในความทรงจำของผู้คน หรืออาจจะลืมไปแล้วก็ตามสำหรับคนอินเดีย แต่อิทธิพลของของพุทธศาสนาที่เคยมีบทบาทต่อสังคมอินเดียนั้น ยังปรากฏอยู่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

    อิทธิพลของพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล

    หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ภารกิจอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์คือ [​IMG] การชี้นำแนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องแก่มวลประชากร เพื่อความสุขสงบแก่ชีวิตและสังคม แม้ว่าจะยากลำบากเพียงใดก็ตาม พระองค์ใช้เวลาที่มีอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ ๔๕ พรรษา เผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนจนพุทธศาสนาแพร่หลายในแคว้นต่าง ๆ มีประชาชนศรัทธาเลื่อมใสและอุทิศตนเป็นพุทธสาวก นับถือพระพุทธศาสนาจำนวนมากมาย

    พระพุทธองค์มิได้จำกัดบุคคลในการเทศน์สอน ว่าเป็นชนชั้นวรรณะใด เพศใด อาชีพใด หรืออายุวัยใด ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลทุกระดับ ไม่จำกัดขอบเขต หากเขามีความสามารถที่จะรับรู้ธรรมได้ ก็ทรงให้โอกาสเสมอ จนมีพุทธศาสนิกชนทุกระดับ ตั้งแต่พระราชามหากษัตริย์ จนถึงคนอนาถา ทั้งวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร และจัณฑาล พุทธธรรมได้แทรกซึมอยู่ในบุคคลทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ สิทธิเสรีภาพของบุคคลได้ถูกเปิดออกโดยหลักการของพุทธศาสนา เพราะเมื่อก่อนได้ถูกครอบงำ [​IMG] ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพโดยความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ ประชาชนส่วนมากได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาในการดำเนินชีวิต เช่นการมีความเชื่อเรื่องกรรม แทนความเชื่อเรื่องพระพรหมลิขิต การถวายทาน การปฏิบัติตามศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น แม้พระราชาผู้ปกครองแว่นแคว้นก็ทรงปกครองโดยทศพิธราชธรรม ดังปรากฏว่ามีพระราชาหลายพระองค์ที่ทรงเป็นพุทธสาวก เช่นพระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธ พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชาแห่งแคว้นโกศล เป็นต้น ทรงเป็นพุทธมามกะ และได้ปกครองบ้านเมืองด้วยหลักธรรมทางพุทธศาสนา ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนา ด้วยการทนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้สร้างวัดวาอารามต่าง ๆ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ด้วย

    อิทธิพลของพระพุทธศาสนายุคหลังพุทธปรินิพพาน

    เมื่อภายหลังพุทธปรินิพพาน พระพุทธศาสนาได้มีความเจริญรุ่งเรืองไปในแคว้น ต่าง ๆ ได้มีนิกายต่าง ๆ เกิดขึ้นทั้งนิกายดั้งเดิมและนิกายใหม่ ทำให้พุทธศาสนาแพร่หลายไปพร้อมกับความเสื่อมที่ตามมากับความแพร่หลายนั่นเอง ด้วยเหตุผลหลายประการที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย จะได้กล่าวไว้ตอนหลัง ซึ่งนับว่าพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ตั้งแต่บัดนั้นมาพระพุทธศาสนาก็ได้เสื่อมจากอินเดีย โดยถูกครอบงำจากอิทธิพลของศาสนาฮินดู
    ระยะกาลอันยาวนานของพุทธศาสนาที่มีต่อวิถีชีวิตคนอินเดียกว่า ๑ พันปี จะเห็นว่าพุทธศาสนามีบทบาทต่อสังคมอินเดียในสมัยต่าง ๆ ดังนี้

    เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาเถรวาทมาก ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองบ้านเมืองให้สงบร่มเย็น ประชาชนอยู่กันอย่างสงบสุข บทบาทสำคัญของพระเจ้าอโศกมหาราชที่มีต่อพระพุทธศาสนาคือทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ ขจัดภัยร้ายของพระพุทธศาสนาด้วยการขจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวช และส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในดินแดนประเทศต่าง ๆ รวมถึง ๙ สายด้วยกัน

    เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๑ ราชวงศ์คุปตะทางอินเดียตอนเหนือเจริญรุ่งเรือง ในสมัยราชวงศ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองทางศาสนา วรรณคดี ศิลปกรรม และปรัชญา แม้ว่าพระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์นี้จะเป็นฮินดูส่วนมาก แต่ก็ทรงอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะฝ่ายมหายาน จนเจริญรุ่งเรืองไปสู่ประเทศใกล้เคียง กษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ พระเจ้าจันทรคุปต์ พระเจ้าสมุทรคุปต์ พระเจ้าวิษณุคุปต์ และพระเจ้าสกันธคุปต์

    ในยุคนี้ พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้รจนาคัมภีร์ขึ้นมากมาย ด้านศิลปกรรมทางพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เช่นศาสนสถาน และศาสนวัตถุ ได้สร้างขึ้นอย่างงดงาม พระพุทธรูปศิลปะสมัยคุปตะมีหลายขนาด หลายปาง แม้พระพุทธรูปสมัยทวาราวดีก็ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยคุปตะ ส่วนด้านปรัชญา ได้มีนักปรัชญาทางพุทธศาสนาหลายท่าน เช่นท่านนาคารชุน ท่านอสังคะ และท่านวสุพันธ์ ท่านเหล่านี้ประกาศ

    พุทธปรัชญาให้เป็นที่สนในแก่ประชาชน โดยเฉพาะนักคิดนักปรัชญาทั้งหลาย แม้ว่าจะเป็นปรัชญาฝ่ายมหายาน แต่ก็ได้มีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อของชาวอินเดียไม่น้อย

    ในด้านการศึกษาพระพุทธศาสนา ราว พ.ศ. ๑๐๐๐ การศึกษาทางพุทธศาสนาได้ก้าวหน้าไปมาก ถึงกับขยายการจัดการศึกษาไปเป็นรูปแบบมหาวิทยาลัย จึงได้เกิดมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลกขึ้น คือมหาวิทยาลัยนาลันทา และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ขยายตามมาอีก คือ มหาวิทยาลัยวัลภี มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มหาวิทยาลัยโสมบุรี และมหาวิทยาลัยชคัททละ มหาวิทยาลัยเหล่านี้ได้กระจายอยู่ในอินเดียตอนเหนือ มหาวิทยาลัยนาลันทาได้มีคณาจารย์สั่งสอนธรรมมีถึง ๑๕๐๐ ท่าน นักศึกษาจำนวนนับหมื่น มีทั้งชาวอินเดีย และชาวต่างชาติ เช่น จีน ธิเบต อินโดนีเซีย เตอรกี ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท และศาสนาอื่น ๆ การศึกษาพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง

    พ.ศ. ๑๑๐๐ พระเจ้าหรรษวรรธนะ (พระเจ้าศีลาทิตย์) ราชวงศ์วรรธนะ แห่งวรรณะแพศย์ ได้กำจัดอำนาจราชวงศ์คุปตะแห่งวรรณะพราหมณ์ลงได้ และขึ้นครองราชเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนามหายาน ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

    และอุปถัมภ์บำรุงมหาวิทยาลัยนาลันทาด้วย จนทำให้ชาวฮินดูขัดเคืองว่าบำรุงพุทธศาสนามากกว่าฮินดู จึงวางแผนปลงพระชนม์พระเจ้าหรรษะจนสำเร็จ ในยุคนี้ได้มีพระภิกษุชาวจีนท่านหนึ่งชื่อหลวงจีนเหี้ยนจังหรือยวนฉาง (พระถังซัมจั๋ง) ได้จาริกสู่ชมพูทวีป[​IMG] นอกจากท่านมาศึกษาพระพุทธศาสนาและแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนเพื่อนำไปยังประเทศจีนแล้ว ท่านยังได้เขียนจดหมายเหตุไว้เพื่อบันทึกเรื่องราวและสภาพของสังคมด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาในภายหลัง

    หลังจากพระเจ้าศีลาทิตย์สวรรคตแล้ว อินเดียได้เข้าสู่ความระส่ำระสายเป็นเวลาประมาณ ๑ ศตวรรษ พระพุทธศาสนาได้เสื่อมถอยจากอินเดียตามลำดับนับตั้งแต่หลังราชวงศ์วรรธนะ (พระเจ้าศีลาทิตย์ ) ด้วยสาเหตุมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกคือ

    ๑) ปัจจัยภายใน ได้แก่ความอ่อนแอ ความแตกแยก ขาดความเป็นปึกแผ่นของคณะสงฆ์ ประกอบกับการรับเอาลัทธิตันตระของพราหมณ์มาปฏิบัติ เกิดเป็นนิกายใหม่เรียกว่านิกายพุทธตันตระ ซึ่งขัดกับหลักการเดิมของพุทธศาสนาอย่างรุนแรง

    ๒) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ความระส่ำระสายของบ้านเมือง อันเนื่องมาจากการคุกคามจากชนชาติอื่น จนแตกแยกเป็นรัฐน้อยใหญ่ และการคุกคามจากศาสนาอื่น เช่นศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม

    - ขาดผู้อุปถัมภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมือง เมื่อกษัตริย์ที่นับถือศาสนาอื่นแล้วไม่ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนาแล้ว ก็จะทำให้พุทธศาสนาไม่อาจมั่นคงถาวรได้

    เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๐ สังคมอินเดียกำลังอยู่ในความอ่อนแอ กองทัพเตอร์กมุสลิมได้เข้ามารุกรานอินเดีย ทำลายล้างพุทธศาสนาที่มีอยู่ในอินเดียอย่างราบคาบ ได้ฆ่าพระสงฆ์ เผาคัมภีร์ ทำลายศาสนสถานเช่นวัดวาอาราม มหาวิทยาลัยนาลันทา เผาตำราทิ้งจนไม่มีเหลือ พระสงฆ์บางส่วนที่หนีทัน ได้ลี้ภัยไปอยู่ที่เนปาล และธิเบต พระพุทธศาสนาได้สูญสิ้นไปจากอินเดียตั้งแต่บัดนั้นมา

    ระยะกาลยาวนานกว่า ๑ พันปี ที่พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในอินเดีย และได้สูญสิ้นไปจากอินเดียโดยสิ้นเชิง ที่ยังเหลืออยู่ก็มีเพียงประชากรเพียงน้อยนิด ไม่ถึง ๑% ของประชากรทั้งหมดของอินเดีย และคนที่ยังนับถือพุทธศาสนาอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนมากก็จะอยู่ในวรรณะต่ำ

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลอินเดียได้จัดงานฉลองพุทธยันตี ๒๕๐๐ปีพระพุทธศาสนา [​IMG]
    รัฐบาลอินเดียได้ฟื้นฟูส่งเสริมพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยได้จัดตั้งสถาบันการศึกษาขึ้นที่นาลันทา ได้จัดให้มีการศึกษาพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และปรับปรุงบำรุงสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา แต่ก็ยังจำกัดอยู่ในขอบเขต เพราะประชากรส่วนใหญ่ของอินเดียยังคงเป็นฮินดูอยู่

    ในปีเดียวกันนั้น ได้มีประชาชนวรรณะศูทรจำนวนนับล้านปฏิญาณตนนับถือพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ที่เมืองนาคปุระ แคว้นบอมเบย์ โดยการนำของ ดร. เอมเบดการ์ อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนแรกของอินเดีย ซึ่งเป็นคนวรรณะศูทร ดร. เอมเบดการ์ ได้มีบทบาทต่อสังคมอินเดียอย่างมาก พยายามปฏิรูปสังคมอินเดียให้มีความเสมอภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ และสันติภาพ เพราะมองว่าความเชื่อทางศาสนาฮินดูเป็นความเชื่อที่ทำให้สังคมอินเดียขาดความเป็นปึกแผ่น เพราะการถือเรื่องชาติวรรณะของฮินดู ท่านได้รับอิทธิพลทางความคิดจากพุทธศาสนาในการดำเนินการต่าง ๆ ทางสังคมได้ตั้งวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อสอนวิชาการต่าง ๆ มากมายหลายแห่ง เช่นสิทธารถวิทยาลัยทางนิติศาสตร์ เป็นต้น นับว่าเป็นความพยายามที่จะปฏิรูปสังคมอินเดียของ ดร. เอมเบดการ์ โดยใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา แต่ความพยายามในการเป็นผู้นำของท่านก็ไปได้ไม่เท่าไร ก็ต้องหยุดชะงักลง เพราะท่านได้ถึงแก่กรรมหลังจากการประกาศตนเป็นชาวพุทธได้ไม่นาน

    พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อสังคมอินเดียในด้านต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลายาวนาน พระพุทธเจ้าเป็นชาวอินเดียที่ปฏิรูปสังคมอินเดียขึ้นมาในรูปแบบหนึ่ง กลุ่มชนที่ยอมรับการปฏิรูปตามแนวทางของพระองค์เรียกว่า “พุทธศาสนิกชน” หรือ พุทธศาสนา ด้วยอิทธิพลของพุทธศาสนาที่ยืนหยัดในหลักการของตนนี้เอง ทำให้หลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาแทรกซึมอยู่ในสังคมอินเดียในด้านต่าง ๆ ได้แก่

    ๑. ด้านสังคม

    ๑.๒ ความเชื่อเรื่องระบบวรรณะได้ถูกปฏิเสธ และเสนอหลักการที่หักล้างระบบวรรณะโดยสิ้นเชิง พุทธศาสนายกเลิกระบบวรรณะในหมู่สงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ทำให้แนวคิดนี้แพร่หลายไปในบุคคลกลุ่มต่าง ๆ จนถึงมีการจารึกลงในรัฐธรรมนูญแห่งอินเดียไว้ โดยให้ยกเลิกระบบวรรณะในอินเดีย แนวคิดเรื่องความเสมอภาพของมนุษย์ ที่เชื่อว่ามนุษย์มีคุณค่าหรือไร้ค่าอยู่ที่การกระทำมิใช่มาจากชาติตระกูล โดยมีทัศนะและวิธีปฎิบัติต่อเรื่องวรรณะดังนี้

    ก. ในทางทฤษฎี คัดค้านความเชื่อเรื่องวรรณะโดยเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของโลกและสังคม โดยการกระทำของมนุษย์ แทนทฤษฎีการสร้างโลกและบันดาลโดยพระเจ้า ถือว่าทุกคนมีสิทธิในการทำดีและทำชั่วเท่ากัน คนจะดีจะชั่วอยู่ที่การกระทำ มิใช่ชาติกำเนิด

    ข. ในทางปฏิบัติ ตั้งสถาบันสงฆ์โดยปราศจากวรรณะ ไม่มีแบ่งแยก ปฏิบัติกับทุกคนเสมอเท่าเทียมกัน

    ๑.๒ ด้านการศึกษา ได้มีการจัดการศึกษาขึ้นในวัด เช่นมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งเป็นการให้การศึกษาแก่กุลบุตร กุลธิดา ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ทั่วไป ไม่จำกัดศาสนา เชื้อชาติใด ๆ เป็นการจัดการศึกษาแบบให้เปล่า จากการบันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจังว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๐๐๐ การศึกษามีความเจริญมาก มีนักศึกษาจำนวนนับหมื่นท่าน

    ๑.๓ ด้านศิลปกรรม ได้มีการสร้างวัดวาอารามและพระพุทธรูปมากมาย ล้วนเป็นศิลปะยุคราชวงศ์คุปตะ ที่จัดว่าเป็นยุคที่เกิดศิลปกรรมทางพุทธศาสนามากมาย

    ๑.๔ ด้านวัฒนธรรม อินเดียเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมอารยธรรมเก่าแก่[​IMG] พุทธศาสนามีอิทธิพลต่ออินเดียทั้งที่เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุและทางจิตใจ ได้มีสถาปัตยกรรม และปติมากรรมทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากมาย ล้วนมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่นสังเวชนียสถานอันเป็นสถานที่สำคัญที่ชาวพุทธทั่วโลกไปกราบนมัสการ ส่วนวัฒนธรรมทางจิตใจนั้นมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียอยู่ไม่น้อย เช่นความเชื่อเรื่องอหิงสา เป็นต้น

    ๑.๕ ด้านสาธารณูปการและสังคมสงเคราะห์ คำสอนทางพุทธศาสนาได้สอนถึงหลักการสงเคราะห์ ช่วยเหลือกันและกันตามสังคหวัตถุ ๔ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์ หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนาทรงทำการปฏิวัติการปกครองบ้านเมือง และจัดสาธารณูปโภคให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เช่นขุดบ่อน้ำ สระน้ำ สร้างถนน คูคลอง สร้างโรงพยาบาลคนและโรงพยาบาลสัตว์ ปลูกสมุนไพร เพื่อความผาสุกแก่ประชาชน ในครั้งพุทธกาลก็ได้มีอุบาสกอุบาสิกาผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้สงเคราะห์ประชาชนคนยากไร้อยู่หลายท่าน เช่นเศรษฐีอนาถบิณฑิกะ หรือสุทัตตเศรษฐี เป็นต้น

    ๒. ด้านการเมืองการปกครอง

    การปกครองจะเป็นแบบราชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยก็ตาม ผู้นำที่ดีจะต้องมีความสามารถในการปกครองบ้านเมืองให้สงบร่มเย็น ประชาชนมีความเป็นอยู่โดยผาสุกได้ พุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับชนชั้นปกครองมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระราชาทรงเป็นพุทธมามกะ และปกครองแผ่นดินโดยธรรม ใช้หลักธรรมาธิปไตยในการปกครอง ปฏิบัติตนตามคุณธรรมของนักปกครอง ได้แก่ทศพิธราชธรรม เช่นพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นต้น รัฐธรรมนูญของอินเดียปัจจุบันได้ให้สิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกัน ไม่มีการจำกัด หรือเลือกปฏิบัติ ให้ยกเลิกระบบวรรณะในอินเดีย บุคคลสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ ดร. เอมเบดการ์ ซึ่งเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

    ๓. ด้านเศรษฐกิจ

    อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสถาบันเศรษฐกิจนั้น ไม่ปรากฏชัดเจนนัก เนื่องจากพุทธศาสนามุ่งสอนให้เกิดสันติสุขแก่ชีวิตและสังคม กระบวนการทางเศรษฐกิจเป็นกิจกรรมทางโลก มิใช่หน้าที่ของศาสนา

    แต่หน้าที่และบทบาทของศาสนาที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้น คือ การชี้แนะแนวทางความถูกต้องในกิจกรรมทางเศรษฐกิจว่า ควรจะทำอย่างไร เป้าหมายที่แท้จริงคืออะไร และเสนอแนะแนวทางแก้ไขทางจริยธรรมให้ เช่นหลักธรรมเกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ ได้แก่สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพโดยชอบ เป็นส่วนหนึ่งของอริยมรรคมีองค์ ๘ และหลักธรรมข้ออื่น ๆ อีก เช่น หลักหัวใจเศรษฐี ๔ คือ

    ๑. อุฏฐานสัมปทา มีความขยันหมั่นเพียร
    ๒. อารักขสัมปทา รู้จักรักษาเก็บออมทรัพย์
    ๓. กัลยาณมิตตตา การรู้จักเลือกคบคนดี ไม่คบคนพาลอันจะนำพาให้ทรัพย์สินฉิบหาย
    ๔. สมชีวิตา การรู้จักประมาณในการใช้จ่าย รู้ฐานะทางการเงินของตนเองใช้จ่ายแต่พอดี

    ส่วนข้อห้ามปฏิบัติในการค้าขายได้แก่ มิจฉาวณิชชา การค้าขายที่ผิดศีลธรรม ได้แก่

    ๑. การค้าขายอาวุธ
    ๒. การค้าขายมนุษย์
    ๓. การค้าขายเนื้อสัตว์ (พระอรรถกถาจารย์แก้ว่า การค้าขายสัตว์มีชีวิต)
    ๔. การค้าขายน้ำเมา ยาเสพติด
    ๕. การค้าขายยาพิษ

    หลักธรรมที่ตรัสสอนเรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อันมีอิทธิพลทางด้านจริยธรรม นอกจากนั้นยังมีข้อบัญญัติทางกฎหมาย บางข้อที่เกี่ยวกับหลักศีลธรรมทางศาสนา เช่นห้ามฆ่าสัตว์ ขายเนื้อในวันพระ เป็นต้น



    สรุป

    อิทธิพลทางพุทธศาสนาต่อประเทศอินเดีย เป็นลักษณะผสมผสานกับอิทธิพลของศาสนาอื่น โดยเฉพาะศาสนาฮินดู เนื่องจากศาสนาฮินดูเป็นศาสนาดั้งเดิมที่วิวัฒนาการมาจากศาสนาพราหมณ์ ที่อยู่กับชาวอินเดียมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน อิทธิพลของฮินดูฝังรากลึกอยู่ในวิถีชีวิตของชาวอินเดียมาช้านาน ส่วนอิทธิพลของพุทธศาสนามีอยู่ใน ๒ ลักษณะ คือ

    ๑. อิทธิพลของคำสอนที่ปนอยู่ในคัมภีร์ของศาสนาฮินดู เนื่องจากศาสนาฮินดูพยายามกลืนพุทธศาสนา โดยเอาหลักธรรมทางพุทธศาสนาไปประยุกต์กับศาสนาฮินดู โดยเอาพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งในอวตารของพระณารายณ์ คำสอนของพุทธศาสนาจึงปะปนอยู่ในคัมภีร์ของฮินดู พิธีรีตองส่วนมากซึ่งเกี่ยวเนื่องกับคัมภีร์พระเวท ตลอดจนรูปแบบของศาสนาที่แพร่หลายเป็นที่นิยมของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะก็คือประเพณีการสังเวยเทพเจ้าด้วยชีวิตสัตว์ได้สูญสลายไป ความคิดเรื่องอหิงสาซึ่งมีปรากฏอยู่แล้วในคัมภีร์พระเวทและคัมภีร์อุปนิษัท ได้รับการเน้นหนักจากพุทธศาสนา

    ๒. อิทธิพลของพุทธศาสนาดั้งเดิม มีอิทธิพลต่อสังคมอินเดียในสมัยที่พุทธศาสนารุ่งเรืองอยู่ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงหลังพุทธปรินิพพาน กระทั่งจนพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย ราว ศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๗

    นับว่าประวัติศาสตร์อันยาวนานของพุทธศาสนาที่เคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในอินเดีย แต่ปัจจุบันกลับไปเจริญในดินแดนอื่น ส่วนในอินเดียก็มีเพียงชาวพุทธกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มน้อยของประชากรอินเดียที่นับถือพระพุทธศาสนาอยู่

    อ่านประวัติวัดไทยในอินเดีย

    เอกสารอ้างอิง

    ๑. กรุณา เรืองอุไร กุศลาศัย. อินเดีย อนุทวีปที่น่าทึ่ง. กรุงเทพฯ: ศยาม. พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๓๘
    ๒. ปิ่น มุทุกันต์, พ.อ. บทเรียนจากอินเดีย. กรุงเทพฯ: ป. พิศนาคะการพิมพ์. ๒๕๑๐.
    ๓. พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ มูลนิธิโกมลคีมทอง. พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๓๒.
    ๔. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ. ธรรมสภา, ๒๕๔๐
    ๕. พระราชธรรมนิเทศ,(ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ. มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
    ๖. พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๓๔. ๗. พอล, จันดาร์ ซาดีส. ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ไทย- อินเดีย. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๗.
    ๘. เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๑ กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๕.
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในอินเดีย

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
    มูลเหตุที่ทำให้พระศาสนาเสื่อม
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง มูลเหตุที่ทำให้ พระศาสนาเสื่อม เพราะพระสัทธรรม เลอะเลือน ดังนี้:-
    1) พวกภิกษุเล่าเรียน สูตรอันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะ และความหมาย อันคลาดเคลื่อน.
    2) พวกภิกษุ เป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือน โดยความเคารพหนักแน่น.
    3) พวกภิกษุที่เป็นพหูสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวัจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) แต่ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้เอาใจใส่ บอกสอนใจความ แห่งสูตรทั้งหลาย แก่คนอื่นๆ
    เมื่อท่านเหล่านั้น ล่วงลับดับไป สูตรทั้งหลาย ก็เลยขาด ผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป.
    4) พวกภิกษุชั้นเถระ ทำการสะสมบริกขาร ประพฤติย่อหย่อน ในไตรสิกขา เป็นผู้นำ ในทางทราม ไม่เหลียวแล ในกิจแห่งวิเวก
    ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ผู้บวชภายหลัง ได้เห็นพวกเถระ เหล่านั้น ทำแบบแผน เช่นนั้นไว้ ก็ถือเอา เป็นแบบอย่าง.
    และยังทรงย้ำเสมอๆว่า พระพุทธศาสนา จะเสื่อมสูญจนหายไปนั้น มีเหตุที่สำคัญที่สุด เกิดจากพุทธบริษัท 4 ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา.
    จึงเป็นหน้าที่ข องพุทธบริษัททุกคน ต้องร่วมกันรับผิดชอบ ในการสืบทอด พระพุทธศาสนานี้ เพื่อให้ลูกหลาน ได้ยึดเป็นสรณะที่พึ่ง ที่ระลึกต่อไป.

    ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา
    พระราชวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวัณโณ) ได้เรียบเรียงเรื่องว่า “ทำไมพระพุทธศาสนา จึงเสื่อมไปจากอินเดีย” ดังนี้
    พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น และเจริญรุ่งเรือง ในประเทศอินเดีย เป็นเวลานานถึง 1500 ปี จากนั้น ก็เสื่อมลงเรื่อยๆ จนมาถึง พุทธศตวรรษที่ 17 พระพุทธศาสนาส่วนใหญ่ ก็สูญหายไปจาก ประเทศอินเดีย เหลืออยู่แต่เฉพาะใน ลาดัก หิมจัล อัสสัม เบงกอล และโอริสสา เท่านั้น.
    ปัจจุบัน เหลือไว้แต่ปูชนียสถาน และวัตถุโบราณ ที่เป็นภาพสะท้อน ความเจริญรุ่งเรือง ในอดีตสมัยเท่านั้น.
    พระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่3
    นับตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 3 ในสมัยพระเจ้า อโศกมหาราช เป็นต้นไป พระพุทธศาสนา ได้เริ่มเผยแพร่ จากประเทศอินเดีย ไปสู่ประเทศต่างๆ เกือบทั่วทวีปเอเซีย.

    ความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ
    แต่แล้วต่อมา ก็เกิดภัยคุกคามขึ้น ทั้งภายในและภายนอก จนทำให้ พระพุทธศาสนา ต้องเสื่อมไปจาก ประเทศต่างๆ เช่น เปอร์เซีย อาฟกานิสถาน เตอรกีสถาน ของรัสเซีย อินเดีย ปากีสถาน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จนเกือบจะหมด.
    ครั้งหนึ่ง ที่พระพุทธศาสนา ในประเทศศรีลังกา และญี่ปุ่น ก็เกือบจะสูญสิ้นไป ดีแต่ว่า พุทธศาสนิกที่สำคัญ หลายท่าน ได้ช่วยกันกอบกู้ ต่อสู้กับ การรุกราน ของศาสนาอื่นๆ เอาไว้ได้.

    พระพุทธศาสนากำลังจะเสื่อมไปจากอีกหลายประเทศ
    ในขณะนี้ พระพุทธศาสนา ก็กำลังจะเสื่อมไปจาก มองโกเลีย ธิเบต จีนแผ่นดินใหญ่ เวียดนามเหนือ และเกาหลีเหนือ ส่วนในเวียดนามใต้ เขมร และลาว ก็กำลังถูกกระทบ กระเทือนอย่างหนัก.

    พระพุทธศาสนาในอีกหลายประเทศกำลังถูกภัยต่างๆคุกคาม
    ในปัจจุบัน แม้แต่พระพุทธศาสนา ในประเทศไทย พม่า เกาหลีใต้ ลังกา ไต้หวัน ญี่ปุ่น เนปาล ภูฐาน สิกขิม ก็กำลังถูกภัยต่างๆ คุกคามอยู่เช่นกัน.
    เหตุความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในอินเดีย
    ความเสื่อม ของพระพุทธศาสนา ในอินเดีย เกิดจากภัยใหญ่ๆ 2 ประเภท คือ
    1) ภัยภายใน
    2) ภัยภายนอก

    ภัยภายใน
    ภัยภายใน เกิดขึ้นจาก พุทธบริษัททั้งสี่ โดยตรง มี 3 ประการ คือ:-
    1) การเสื่อม ทางด้านศีลธรรม และการเสื่อมจากการได้ บรรลุมรรคผล และคุณวิเศษต่างๆ ของชาวพุทธ
    การประพฤติย่อหย่อน ในเรื่องสิกขาบทวินัย ที่พระพุทธองค์ ทรงบัญญัติไว้ ซึ่งไม่เคยมีมา ในประวัติศาสตร์ พุทธศาสนายุคต้นๆเลย
    แต่ในราว พุทธศตวรรษที่ 10 เป็นต้นไป จึงได้เริ่มปรากฏขึ้น ดังจดหมายเหตุ ของพระถังซัมจั๋ง (หลวงจีนเฮียงจัง) ว่า
    “พระในนิกายสัมมติยะ แห่งแคว้นสินธุ (ปัจจุบัน อยู่ในปากีสถาน) ใช้ชีวิตอย่างชาวโลก และไม่ถูกต้อง ตามพระวินัยบัญญัติ.
    พระเหล่านั้นเกียจคร้าน เป็นคนที่ไร้ค่า และเที่ยวเตร่ ถึงแม้ว่าพระเหล่านั้น จะห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แต่ก็ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เลี้ยงปศุสัตว์ และมีลูก มีเมีย”
    (แม้ในปัจจุบัน สถาบันพระมีเมีย ก็ยังมีปรากฏว่า นิยมกันในประเทศ เนปาล เกาหลี ธิเบต และญี่ปุ่น).
    นอกจากนี้ ท่านยังได้กล่าวว่า “พระพุทธศาสนา จะบริสุทธิ์ หรือเศร้าหมอง ก็ขึ้นอยู่กับญาณทัศนะ และความสามารถ ทางด้านจิตใจ ของชาวพุทธเอง”
    จดหมายเหตุ ของหลวงจีนอี้จิง ได้รำพันว่า “วัดส่วนมาก ในอินเดีย ทำไร่ เลี้ยงวัว และมีคนรับใช้ในวัด. บางวัดก็ตระหนี่ ถี่เหนียว ไม่ยอมแบ่งผลผลิต ให้ใครๆ. วัดบางวัด จะมีทรัพย์สมบัติ มากมาย มียุ้งฉาง เต็มไปด้วย ข้าวเปลือกที่เสีย (มีมาก กินไม่ทัน แต่ไม่ยอมแจกจ่าย ปล่อยทิ้งไว้จนเสีย) มีคนใช้หญิงชาย มีเงินทอง และทรัพย์สมบัต ที่เก็บเอาไว้เฉยๆ โดยไม่ใช้ประโยชน์อะไรเลย”
    มีพวกขอทาน ที่ปลอมตัวเป็นพระ โดยเพียงแต่ ยอมลงทุนโกนหัว และครอง จีวรเท่านั้น ก็สามารถเข้าไป รับอาหารได้อย่างฟรีๆ.

    2) การแตกแยกนิกาย และการขัดแย้งกัน ทางนิกาย
    การเข้าใจผิด ในหลักธรรม ขั้นสำคัญๆ ได้ก่อให้เกิด ความขัดแย้ง ทะเลาะโต้เถียงกัน อย่างรุนแรงมาก ในระหว่างนิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนา จนทำให้ชาวพุทธ ต่างแยกกันอยู่ และต่างก็มุ่งร้ายต่อกัน จนทำลายซึ่งกันและกัน.
    ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 2 พระพุทธศาสนา ก็แตกแยกออกเป็น 18 นิกาย และแต่ละนิกาย ต่างก็อ้างว่า ตนเหนือกว่า ประเสริฐกว่า นิกายอื่นๆ.
    นิกายมหายาน เกิดขึ้นใน พุทธศตวรรษที่ 6 โดยถือว่า ตนเองมีจิตใจกว้างขวาง มุ่งพระโพธิญาณ ขนสัตว์ข้ามโอฆสงสาร ได้มาก.
    นิกายฝ่ายสาวกยาน หรือนิกายหินยาน เพราะยานนี้ ส่วนใหญ่ มุ่งอรหัตตผล มุ่งช่วยตนเอง ให้พ้นจากทุกข์ก่อน แล้วจึงจะช่วยคนอื่นทีหลัง จึงเป็นยานที่แคบ และขนสัตว์ได้น้อย ปัจจุบันฝ่ายหินยาน เหลือเพียงนิกายเดียว คือ เถรวาท.
    การแตกออก เป็นนิกายต่างๆ ทำให้พระพุทธศาสนา ได้เสื่อมลงมาก เพราะการขัดแย้งกัน ทางปรัชญา ความเห็น อันแตกต่างกัน ทางหลักคำสอน ของชาวพุทธ ทำให้เกิดการโจมตี ซึ่งกันและกัน เช่น
    ท่านปรัชญาคุปตะ อันเป็นคณาจารย์ ที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่ง ของนิกายสาวกยาน ได้แต่งคำประพันธ์ 700 โศลก โจมตีคัดค้านมหายาน. ส่วนท่านถังซัมจั๋ง (ท่านเฮียงจัง) เองก็ได้ประพันธ์ 1600 โศลก เพื่อแก้ความเข้าใจผิด.
    ส่วนท่านสันติเทวะ ก็ได้ประพันธ์คาถา เป็นจำนวนมาก ไว้ในหนังสือ พุทธิจริยาวตาร เพื่อคัดค้านระบบอภิธรรม และ นิกายวิชญาณวาท.
    ส่วนท่านจันทรกิรติ ก็โจมตีนิกายอื่นๆ ที่ไม่ใช ่นิกายมัธยมิก อย่างเผ็ดร้อน.
    ส่วนท่านสันติรักษิต ก็ได้ประพันธ ์ในหนังสือ ตัตตวสังครหะ เพื่อทำลายล้าง มติคำสอนของ นิกายวาตสิปุตริยะ.
    ส่วนท่านสันติรักษิต และ ท่านกามศีละประกาศว่า “พวกนิกาย ปุทคลวาทิน ไม่มีสิทธิที่จะอ้างว่า เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า”
    การขัดแย้ง และทำลายกันเอง ในระหว่างต่างนิกาย ในศาสนาพุทธเดียวกันนี้ ทำให้ศาสนาเสื่อมลง ยิ่งเสียกว่า การขัดแย้ง ของระหว่างศาสนาอื่นๆ.

    3) ลัทธิมหายาน และ ลัทธิตันตระ
    ความเสื่อมของ พระพุทธศาสนา ในอินเดีย เกิดจากข้อเสีย ของนิกายมหายาน มากกว่า นิกายหินยาน เพราะการที่นิกายมหายาน เจริญแพร่หลายขึ้น ในอินเดีย ก่อให้เกิดการเพิ่ม ปริมาณศาสนิก ให้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน คุณภาพของศาสนิก ก็เสื่อมลงตามลำดับด้วย.
    พอถึงพุทธศตวรรษที่ 13 มหายานในอินเดีย เหลือแต่เพียงการบูชา พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย การสวดอ้อนวอน และการประกอบ พิธีกรรมอันโอ่อ่า โดยมหายาน ได้แต่งเรื่องความเชื่อเก่าๆ แต่โบราณขึ้น เป็นจำนวนมาก. ชาวพุทธมหายาน ในสมัยนั้น จึงขยับเข้าใกล้ชิด ลัทธิฮินดู เข้าไปมากขึ้นทุกทีๆ.จนในที่สุด ได้ทำลายความแตกต่าง ระหว่างพุทธศาสนา มหายาน และลัทธิฮินดูลง. ฆราวาสในอินเดียยุคนั้น มองไม่เห็นความแตกต่าง ในการบูชาพระพุทธเจ้า กับ พระวิษณุ และ พระอวโลกิเตศวร กับ พระศิวะ และนางตารา กับนางปารวตี (ชายาพระศิวะ). แล้วลัทธิโพธิสัตว์ยาน ก็ดูเหมือนว่า จะกำเนิดสถาบันพระมีเมียด้วย.ลัทธิตันตระได้แตกออกมาจาก นิกายมหายาน เจริญอยู่ในอินเดีย ในระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 11-15 แล้วแพร่หลาย เข้าไปอยู่ในธิเบต. พระในลัทธิตันตระมีเมียได้ เพราะมุ่งบำเพ็ญตน เป็นพระโพธิสัตว์ ในฐานะคฤหัสถ์มุนี. นิกายตันตระนี้มีหลายชื่อ เช่น พุทธตันตรยาน มันตรยาน คุยหยาน สหัชชยาน วัชรยาน พระนี้ ก็ไม่ได้เรียกว่าภิกษุ แต่เรียกว่า “นักสิทธะ” และถือว่า การปฏิบัติตน ตามอำนาจของราคะ กุลบุตรผู้บำเพ็ญตน เป็นพระโพธิสัตว์ ย่อมกระทำได้.การปรากฏ ของลัทธิตันตระนั้น ได้ทิ้งหลักธรรมแท้ๆ ของพระพุทธศาสนา ดั้งเดิมที่บริสุทธิ์ ไปเกือบหมด มีแต่การยกย่อง เวทมนตร์ อาคมขลัง พิธีมหาลาภ พิธีลงเลขเสกเป่าต่างๆ. เรื่องไสยศาสตร์ และเรื่องกามศาสตร์ ของลัทธิตันตระกับฮินดูนั้น มีลักษณะที่เหมือนกัน.หลักจริยธรรม ขั้นมูลฐาน และหลักธรรม ที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ในพระพุทธศาสนา ได้ถูกลัทธิวัชรยาน เปลี่ยนแปลงไปเสียใหม่ โดยสิ้นเชิง จนเป็นสัทธรรมปฏิรูป (พระธรรมปลอม) เช่นตัณหา ซึ่งถือกันว่า เป็นตัวอกุศลมูล ที่ต้องควบคุม ไม่ให้มันเกิดขึ้นนั้น. พวกวัชรยาน ถือว่าตัณหา นั้นคือสิ่งที่ดี ถูกต้อง ที่ตัวสื่อกลาง ให้เกิดความเจริญ ในจิตใจขึ้นมา,ส่วนการปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้น จากทุกข์ ในเรื่องของ พระนิพพานนั้น ซึ่งต้องเข้าถึงโดยศีล สมาธิ ปัญญา ด้วย อริยมรรคมีองค์แปดนั้น. พวกวัชรยาน กลับกล่าวว่า เข้าถึงได้ ด้วยการเสพกาม อันศักดิ์สิทธิ์กับโยนิ และวัชรยานถือว่า เมถุนธรรมนั้นแหละ เป็นบรมสุข.สำหรับศีล 5 ก็ไปเปลี่ยนแปลง เป็น ม. 5 ตัว ให้นักสิทธะ ควรได้รับบำรุง จากสิ่งห้า คือ 1.มัทยะ น้ำเมา, 2.มางสะ เนื้อ, 3.มัศยาปลา, 4.มุทรา การยั่วให้กำหนัด, 5.ไมถุนธรรม เมถุนธรรม เป็นต้น.สัทธรรมปฏิรูป ในนิกายวัชรยานนี้ อาจเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้พุทธศาสนา เสื่อมหายไปได้.

    ภัยภายนอก
    ภัยภายนอก เกิดจากการมุ่งร้าย ของศาสนาอื่นๆ ดังนี้:-

    1) การมุ่งร้ายของพวกพราหมณ์
    ในขณะที่ ศาสนาพราหมณ์ ยึดมั่นในการแบ่ง ชั้นวรรณะ 4. กลับถูกท้าทายด้วย หลักคำสอน ทางพระพุทธศาสนาที่ว่า “คนจะประเสริฐได้ เพราะการกระทำ หาใช่เพราะวรรณะ ชาติตระกูลไม่”
    ทำให้พวกพราหมณ์ มีความโกรธแค้น พุทธบริษัทมาก. นอกจากนี้ ยังมีหลักคำสอนอื่นๆ ของพระพุทธศาสนา ที่ไปขัดต่อ คำสอนของ พวกพราหมณ์มาก จนทำให้พวกพราหมณ์ ไม่พอใจพวกพุทธ เป็นอย่างยิ่ง จึงมองพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา ด้วยความจงเกลียดจงชัง.
    มีการกล่าวโจมตีต่างๆ นานา เช่น คัมภีร์อัคนิปุราณะ ประกาศว่า “โอรสของ พระเจ้าสุทโธทนะ ได้ใช้มายากล หลอกลวงพวกไทตยะ เพื่อให้เป็นชาวพุทธ”
    ส่วนวายุปุราณะ กล่าวว่า “เพียงด้วยมีฟันขาว สำรวมตา มีหัวโล้น และมีเครื่องนุ่งห่มสีแดง พวกศูทร ก็ทำหน้าที่ ทางศาสนาได้”
    ส่วนวิษณุปุราณะ กล่าวว่า “มหาโมหะ นักลวงคนให้หลง ด้วยมายากล ผู้ซึ่งอุบัติมาในโลก ก็เพื่อลวงพวกมาร ให้หลง ได้สอนหลักอหิงสา และหลักนิพพาน และชักนำประชาชน ให้ละเว้นจากการปฏิบัติ พิธีกรรมทางศาสนา ของฝ่ายพระเวท พวกสาวกของ มหาโมหะนั้น ในที่สุด จะต้องถูกเทพเจ้าทั้งหลาย ทำลาย”
    ส่วนมาก นักปราชญ์ของพราหมณ์ ก็มักจะกล่าวโจมตี วิพากษ์วิจารณ์ พระพุทธศาสนา ด้วยความเคียดแค้น และริษยาอันปวดร้าว เช่นกุมาริล นักปราชญ์คนสำคัญ ได้ต่อต้านพระพุทธศาสนา อย่างหนัก ลงในหนังสือ โศลกกวารตติก และยังได้ ยุยงให้พระเจ้าสุทธันวัน แห่งอุชเชนี ทำลาย ประหัตประหารชาวพุทธ และผู้นี้เป็นบุคคลสำคัญ คนหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเหตุ ที่ทำให้พระพุทธศาสนา เสื่อมไปจากอินเดีย.
    ศังกราจารย์ เป็นนักบวชฮินดู ที่มีชื่อเสียงมาก อยู่ในราว พ.ศ. 1331 เป็นผู้ที่คัดค้าน และกล่าวโจมตีคำสอน ในศาสนาพุทธ อย่างรุนแรง, แต่ตัวเขา ก็กลับนำเอาคำสอน ในพุทธศาสนา มาปฏิรูป ให้เป็นหลักธรรม คำสอนของ ศาสนาพราหมณ์ ดังที่ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์เวทานตะ ซึ่งในปัจจุบัน ศาสนาฮินดู ได้นับถือตาม หลักคำสอนของศังกราจารย์นี้. ส่วนตัวเขาเอง กลับไปอธิบาย ระบบคำสอนใน พระพุทธศาสนาว่าเป็น ไวนาสิกะ หรือ สรฺวไวนาสิกะ (คือถือว่าทุกสิ่งสูญหมด) นอกจากนี้เขายังโจมตี ปรัชญามัธยามิก ของท่านนาคารชุน ว่าเป็นสิ่ง ไม่มีคุณค่า ควรแก่การพิจารณา (ท่านนาคารชุน เป็นนักปราชญ์ ที่สำคัญท่านหนึ่ง ของพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิด นิกายสุญญวาท ในพุทธศตวรรษที่ 7 ซึ่งคำสอนเรื่อง สุญญตา หรือ ปรัชญามัธยามิก ของท่าน เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในวงการพระพุทธศาสนา)ศังกราจารย์ ยังได้นำทัพ ทำสงครามศาสนา ต่อต้านและ ย่ำยีพระพุทธศาสนา จนทำให้ พระภิกษุสงฆ์ กระจัดกระจายสับสน ตั้งแต่ เชิงผาหิมพานต์ ลงมาจนถึง คาบมหาสมุทรอินเดีย.จึงถือได้ว่า ทั้งศังกราจารย์ และกุมาริล เป็นบุคคลสำคัญ ที่ทำให้พุทธศาสนา เสื่อมไปจากอินเดีย.

    2) การฟื้นฟูใหม่ของศาสนาพราหมณ์
    พวกคณาจารย์ ของพราหมณ์ ซึ่งเห็นว่า พระพุทธศาสนา กำลังเจริญรุ่งเรือง และแผ่ขยายออกไป อย่างกว้างขวาง ทั้งภายใน และภายนอก ประเทศอินเดีย. แต่ศาสนาพราหมณ์ กลับเสื่อมโทรมลง ดังนั้น เขาจึงพยายาม ปรับปรุงคำสอน และวิธีการในศาสนา เสียใหม่.เดิมพราหมณ์ได้นับถือ พระพรหม ว่าเป็นผู้สร้างทุกอย่าง แต่พระพรหม ไม่ใช่เพศหญิง ไม่ใช่เพศชาย ดูไม่น่าเกรงขาม หรือน่ามีอำนาจ เขาจึงไปเกณฑ์ให้ พระพรหมเป็นเพศชายเสีย แล้วมีเมียเสียด้วย จากนั้น ก็นำเทพองค์อื่นๆ ขึ้นมายกย่อง เช่น พระศิวะ มีอำนาจทำลายโลก วิษณุ มีอำนาจ ในการคุ้มครองโลก.ในครั้งพุทธกาล หรือในพระไตรปิฎกนั้น มีกล่าวถึง แต่พระพรหมเท่านั้น ส่วนพระศิวะ และพระนารายณ์ หรือวิษณุนั้น เพิ่งจะมีขึ้นใน สมัยหลังพุทธกาล ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 3 และเมื่อมีเทพเจ้าหลายองค์ ไม่ใช่พระพรหมเท่านั้น จึงต้องเปลี่ยนชื่อศาสนา เป็นฮินดู แทนที่จะเป็น ศาสนาพราหมณ์.พวกพราหมณ์ ได้แต่งพระคัมภีร์ต่างๆ ขึ้น เพื่อฟื้นฟู ยกย่อง และพิทักษ์ศาสนาของตน และชี้ให้เห็นว่า “พวกที่ทอดทิ้ง หลักธรรมเรื่องวรรณะ และหลักอาศรมนั้น จะต้องถูกฆ่า เช่นเดียวกับเวณะ”

    3) การถูกศาสนาพราหมณ์กลืนพระพุทธศาสนา
    แม้ว่าพระพุทธศาสนา ดูว่าได้เสื่อมไปจากอินเดียแล้ว ก็ตาม แต่เนื้อหา และหลักธรรม กลับไปปรากฏ อยู่ในศาสนาพราหมณ์ ที่ปรับปรุงใหม่ (คือฮินดู) ทั้งนี้เพราะ พระพุทธศาสนา ถูกศาสนาพราหมณ์กลืนเข้าไป และศาสนาฮินดู ได้อ้างเอาหลักธรรมสำคัญ จำนวนมาก ของพระพุทธศาสนา มาเป็นศาสนาของตนเสีย.
    พวกฮินดูได้ถือ พระพุทธเจ้าว่า เป็นปางหนึ่ง ของนารายณ์อวตาร ดังปรากฏใน คัมภีร์มัตสยาปุราณะ ในพุทธศตวรรษที่ 11 ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ชาวฮินดู มาฟังคำสอน ของพระพุทธเจ้า และยุยงชาวพุทธ ให้เลิกนับถือ พระพุทธองค์.
    เมื่อพวกพราหมณ์ ยกเอาพระพุทธเจ้า ผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา ว่าเป็นเทพเจ้า ในศาสนาของเขาเสียแล้ว ชาวพุทธทั้งหมด ก็เท่ากับว่า เป็นพราหมณ์ไปด้วย โดยไม่จำเป็น ต้องเปลี่ยนศาสนา ซึ่งวิธีนี้ เป็นการกลืน พระพุทธศาสนา อย่างแนบเนียนที่สุด.
    ศังกราจารย์ ได้จัดตั้งสถาบัน ของพระฮินดูขึ้น มีวัดโดยเฉพาะ สำหรับสาวกของตน โดยลอกเลียนแบบ วัดในพระพุทธศาสนา มีความเป็นอยู่ และรูปลักษณะคล้ายกับ พระสงฆ์ของพุทธศาสนา กล่าวคือ โกนหัว โกนหนวดเครา และนุ่งห่มผ้าสีเหลือง เป็นต้น แล้วเรียกตัวเองว่า “สาธุ”
    การลอกเลียนแบบนี้ เพื่อกู้ชื่อเสียง ของศาสนาของตนไว้ และเพื่อแข่งขันกับ พระพุทธศาสนา.
    นอกจากนี้ ศังกราจารย์ ยังได้ใช้ศัพท์ปรัชญา โดยเฉพาะ หลักธรรมใน เรื่อง มายาและหลักไวตะ ให้เหมือนกับ การบัญญัติศัพท์ทางปรัชญา ของพระพุทธศาสนา นิกายธัมยานิก (คือนิกายสุญญวาท) ของท่านนาคารชุน เกือบทุกอย่าง. ทั้งนี้เพื่อลอกแบบหลักธรรม ในพระพุทธศาสนา ไปใช้ในศาสนาพราหมณ์ นั่นเอง.

    4) การขาดราชูปถัมภ์
    เมื่อไม่มีกษัตริย์ หรือกองทัพเป็นผู้ปกป้อง จึงมีการฆ่าทำลายล้าง พุทธศาสนิกกันมาก เช่น ในคราวที่ถูก พวกศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาอิสลาม ยกทัพมาถล่มนาลันทา ในพุทธศตวรรษที่ 17 ฆ่าๆๆๆ จนพระภิกษุ ซึ่งไม่มีอาวุธ ในการป้องกันตนเอง ตายลงเกือบหมด
    ส่วนที่เหลือ ต้องหนีกระจัดกระจาย ไปยังเนปาล และธิเบต เป็นต้น, จนทำให้พระภิกษ ุในพระพุทธศาสนา เกือบไม่เหลือ อยู่ในอินเดีย.

    5) การทำลายล้างของกษัตริย์นอกพระพุทธศาสนา
    ในบางยุค กษัตริย์นอกศาสนา ได้ปฏิบัติต่อ พระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา อย่างโหดร้ายทารุณ ตลอดจน ได้ทำลาย รื้อปูชนียสถาน ทางพระพุทธศาสนาไป เป็นจำนวนมาก โดยหวังจะทำลายล้าง พระพุทธศาสนานี้ ให้หมดไป ซึ่งได้เกิดขึ้น หลายยุคหลายสมัย.

    5.1) การทำลายล้างของพระเจ้าปุษยมิตร
    เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ครองราชย์อยู่ราว 40 ปี โอรสรัชทายาท ที่จะครองราชย์ ที่แท้จริงคือ เจ้าชายกุณาละ ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์เสียก่อน.
    เจ้าชายสัมปทิ ซึ่งเป็นนัดดา จึงครองราชย์แทน แต่เนื่องจาก เป็นคนมิจฉาทิฏฐิ ได้ยุบการปกครอง แบบพระเจ้าอโศกเสีย ไม่ทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา จึงมีพระราชาสืบต่อไปอีก 4 พระองค์เท่านั้น ก็สิ้นราชวงศ์โมริยะ.
    กษัตริย์องค์สุดท้าย ของราชวงศ์โมริยะ ได้ถูกพราหมณ์ชื่อ ปุษยมิตร สำเร็จโทษ และตั้งตนเองขึ้น เป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ศุงคะ ได้เริ่มทำพิธีบูชายัญ ที่เรียกว่า “อัศวเมธ” ปล่อยม้าอุปการ พร้อมกองทัพ ใช้กำลังเข้าบังคับ เมืองต่างๆ ให้เป็นเมืองขึ้น.
    ในส่วนการทำลาย พระพุทธศาสนา ได้ออกกฎหมายว่า จะให้รางวัล 100 ดินาร์ แก่ผู้ตัดศีรษะ พระภิกษุรูปหนึ่งมาให้ จนทำให้พระภิกษุ กลัวภัย พากันหนีจากแคว้นมคธ ไปอยู่ยังแคว้นคันธาระบ้าง กัษมีระบ้าง อันธระบ้าง.

    5.2) การข่มเหงของพระเจ้าวิกรมาทิตย์ ได้ข่มเหงนักพุทธปรัชญา
    พระเจ้าวิกรมาทิตย์ ทรงอิจฉาริษยา พระมโนรถ ผู้เป็นอาจารย์ของ พระวศุพันธ์ (เป็นนักปราชญ์เรืองนาม ของพระพุทธศาสนา นิกายโยคาจาร)
    ที่ว่าพระมโนรถ ร่ำรวยนัก ต้องการให้ท่านได้อับอาย. จึงได้สั่งให้นักปราชญ์ นอกพุทธศาสนา 100 คน มาเผชิญหน้า โต้วาทีกับพระมโนรถ ถ้าพระ ในพุทธศาสนาแพ้ จะต้องถูกกำจัดออกไปทันที.
    พระมโนรถสามารถ ชนะการโต้วาทีมาได้ 99 ครั้งแล้ว พอถึงครั้งที่ 100 ก็ถูกกลั่นแกล้ง ก่อกวนต่างๆนานา. ท่านจึงกัดลิ้น ของตนเองขาด แล้วเขียนจดหมายถึง พระวศุพันธ์ ผู้เป็นศิษย์ มีความตอนหนึ่งว่า “ไม่มีความยุติธรรม ในกลุ่มคน ที่มีความลำเอียง” แล้วท่านก็มรณภาพ.
    ต่อมา พระเจ้าวิกรมาทิตย์ ถูกโค่นอำนาจลง ภายใต้กษัตริย์องค์ใหม่ ที่ทรงคุณธรรม. ท่านวศุพันธ์ได้ล้างอาย ให้กับอาจารย์ โดยสามารถ เอาชนะพวกมิจฉาทิฏฐิ ต่างๆได้.

    5.3) การทำลายล้างของพระเจ้ามิหิรกุล
    พระเจ้ามิหิรกุล เป็นกษัตริย์พวกหูณะ เป็นชนเผ่ามองโกล ที่รุกรานอินเดีย. ท่านบูชาพระศิวะ และอุปถัมภ์พราหมณ์. ท่านโกรธแค้น ที่คณะสงฆ์ได้ส่ง พระชั้นผู้น้อย ไปสอนพระพุทธศาสนา ให้แก่ท่าน จึงได้ทำลายล้าง พระพุทธศาสนา อย่างป่าเถื่อน โหดร้ายที่สุด โดยสั่งรื้อทำลาย วัดทางพระพุทธศาสนา ทั่วพระราชอาณาจักร.
    แต่พระเจ้าพาลาทิตย์ แห่งแคว้นมคธ (ซึ่งเป็นพุทธมามกะ ที่เคร่งครัด) ไม่ยอม จึงเกิดสงครามกันขึ้น.
    ในที่สุดพระเจ้ามิหิรกุล พ่ายแพ้ ถูกพระเจ้าพาลาทิตย์ จับขัง แล้วเนรเทศไปเสีย.
    ท่านไปอยู่ที่แคชเมียร์ ไม่นานก็ชิงบัลลังก์ ตั้งตัวเป็น กษัตริย์ได้อีก แล้วสั่งทำลาย พระพุทธศาสนา ทุกรูปแบบ, สั่งให้รื้อสถูป และทำลาย สังฆารามรวม ทั้งสิ้นกว่า 1600 แห่ง, สั่งให้ฆ่าชาวพุทธ ในแคว้นนั้นเสีย เป็นจำนวนมาก ปลงพระชนม์สมเด็จ พระสังฆราชองค์ที่ 23 คือท่านสถวีรสิงหะ และทำลายบาตร ของพระพุทธองค์ ซึ่งเก็บรักษาไว้ ที่แคชเมียร์เสีย.
    ในคัมภีร์ราชตรังคิณี กล่าวว่า “พระเจ้ามิหิรกุล ทรงฆ่ามนุษย์ถึง 3 โกฏ ไม่มีความปรานี แม้แต่คนของพระองค์เอง. และแล้วในที่สุด ก็ได้ปลงพระชนม์ชีพ ของพระองค์เอง โดยการกระโดด เข้าในกองไฟ”

    5.4) การทำลายล้างของพระเจ้าศศางกะ
    พระเจ้าศศางกะ เป็นกษัตริย์แห่ง เกาทะ (แคว้นเบงกอล) เป็นคนวรรณะพราหมณ์ นับถือนิกายไศวะ ได้ทรยศ โดยสำเร็จโทษ พระเจ้าราชยวรรธนะ แห่ง ถาเณศวร (ซึ่งเป็นพุทธมามกะ). ในจดหมายเหตุ ของพระถังซัมจั๋งบันทึกว่า
    “พระเจ้าศศางกะ ได้กำจัดพระภิกษุสงฆ์ ในอาณาบริเวณ เมืองกุสินารา อันเป็นผลให้ สังฆมณฑล ในกุสินารา ได้ถูกทำลายจนหมดสิ้น”
    แล้วยังได้ โยนรอยพระพุทธบาท ซึ่งทำด้วยศิลา ที่เมืองปาฏลีบุตร ลงทิ้งในแม่น้ำคงคา.
    นอกจากนั้น ยังได้โค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา จนเหลือแต่ราก แล้วเอาไฟสุม โดยหวังทำลายล้าง ให้สิ้นซาก.
    จากนั้นจึงทำลาย พระพุทธรูปทิ้ง แล้วเอาศิวลึงค์ เข้าไปตั้งไว้ในวิหารแทน ทำความปวดร้าว ให้กับชาวพุทธ ผู้เดินทางไปแสวงบุญ เป็นอย่างยิ่ง.
    ครั้นต่อมา ศศางกะได้กระอักเลือดตาย เพราะเสียรู้เสนาบดี ในเรื่องที่ถูกหลอกว่า ได้ทำลายพระพุทธรูป หินทรายแกะสลัก ปางมารวิชัย ในมหาเจดีย์พุทธคยา ตามคำสั่งแล้ว.

    6) การทำลายล้างของพวกมุสลิม
    6.1) การทำลายล้างของ โมฮัมหมัด เบนกาซิม
    ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ขุนพลมุสลิมชื่อ โมฮัมหมัด เบนกาซิม ได้ยกทัพ เข้ามาทางด้าน ตะวันตกเฉียงเหนือ ของอินเดีย โจมตีแคว้นสินธุ และแคว้น มลตาน ได้, แล้วยึดครอง ตั้งราชวงศ์มุสลิมขึ้น.
    ตลอดระยะเวลา อันยาวนานกว่า 3 ศตวรรษ ที่พระพุทธศาสนา ที่อยู่ในบริเวณนี้ ถูกพวกมุสลิม ทำลายลงจนสิ้น ซึ่งในบริเวณนี้ มีวัดวาอาราม ในพระพุทธศาสนา เป็นเรือนหมื่น ได้ถูกเผาผลาญ อย่างย่อยยับ
    ปล้นสะดมภ์ เอาทรัพย์สมบัติไป ส่วนพระภิกษุสงฆ์ ต่างพากันหนีอพยพ ไปยังแคว้นมคธ และ แคว้นเบงกอล เป็นจำนวนแสน.

    6.2) การทำลายล้างของ มหหมุด
    กษัตริย์มุสลิม ชาวอาฟกานิสถานชื่อ มหหมุด ได้ยกทัพ รุกรานอินเดีย 17 ครั้ง และได้ออกคำสั่งว่า “จงไปลงโทษ พวกที่บูชารูปเคารพ จงทำลาย โบสถ์วิหารของมัน จงให้มันกลับใจ มานับถือพระอัลลาห์”.
    กองทัพมุสลิม ไปถึงที่ไหน พระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ ก็ย่อยยับที่นั่น ประชาชนถูกบังคับ ให้ยอมรับนับถือ ศาสนาอิสลาม ถ้าไม่ยอม ก็ถูกประหารทิ้งสิ้น.
    ฆาตกรรม ครั้งที่ใหญ่ที่สุดคือ เมื่อมหหมุดโจมตี เมืองกัญญากุพชะ ได้ฆ่าคน ในเมืองไป ประมาณแสนคน จับเอาไปเป็นเชลย 8 หมื่นคน เชลยเหล่านี้ มหหมุดสั่งให้เอาไป ขายเป็นทาส ราคาคนละ 2 รูปี เท่านั้น. นครกาบูล ในอาฟกานิสถาน ของมหหมุด จึงเป็นตลาดค้าทาส ที่ใหญ่ที่สุด.

    6.3) การทำลายล้างของ บักตยาร์ ขัลจิ
    ราชวงศ์ปาละ ในแคว้นมคธ และเบงกอล เป็นราชวงศ์สุดท้าย ในอินเดีย ที่นับถือพระพุทธศาสนา.
    ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งในขณะนั้น ได้มีมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนา ในมคธ และเบงกอล หลายแห่ง คือ นาลันทา วิกรมศิลา โสมบุรี และอุทันตบุรี.ครั้นต่อมา เมื่อมุสลิมเข้ารุกราน จนได้ยึดครองอินเดียแล้ว ก็มักจะทำลายล้าง ศาสนาอื่นๆ จนสิ้น ดังกรณีของ ขุนทัพบักตยาร์ ขัลจิ ได้บุกเข้าทำลาย มหาวิทยาลัยนาลันทา ที่ใหญ่ที่สุด เก่าแก่ที่สุด มีชื่อเสียงมากที่สุด มีนักศึกษา เป็นจำนวนหมื่น มีพระอาจารย์ บรรยาย 1500 รูป มีห้องประชุม ขนาดใหญ่ ซึ่งบรรจุผู้ฟัง ได้ถึงพันคนขึ้นไป มี 8 ห้อง มีห้องเรียนกว่า 300 ห้อง มีหอพักนักศึกษา ในมหาวิทยาลัย. พร้อมได้เผาตำราทั้งหมดทิ้ง ได้ฆ่าฟันทำลาย ชีวิตพระภิกษุสงฆ์ ไปเป็นจำนวนมาก ส่วนพระสงฆ์ ที่รอดตาย ได้หนีเข้าในเนปาล และธิเบตแล้วมุสลิม ได้ปล้นสดมภ์ ขนเอาทรัพย์ อันสมบัติอันมหาศาล ของชาวพุทธไป.
    นอกจากนี้ มุสลิมยังได้ยกทัพ ทำลายมหาวิทยาลัย วิกรมศิลา ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำคงคา เป็นที่รวมของวัด 108 วัด มีอาจารย์บรรยาย 800 ท่าน มีนักศึกษาจำนวนหมื่น.
    พระพุทธศาสนาได้เสื่อมหายไปจากอินเดีย
    นับจาก พุทธศตวรรษที่ 17 นี้ไป พระพุทธศาสนา จึงได้เสื่อมหายไป จากประเทศอินเดีย ซึ่งก่อให้เกิด ความสะเทือนใจ แก่ชาวพุทธทั้งหลาย เป็นอย่างยิ่ง และเป็นบทเรียน ที่มีค่ายิ่งสำหรับ ชาวพุทธทั่วโลก.
    ความเห็นของอาจารย์เสถียรโพธินันทะ
    เหตุที่ทำให้ พระพุทธศาสนา ในอินเดียเสื่อมไปหมด เพราะ
    1) ในขณะที่ พระพุทธศาสนา รุ่งเรืองสูงสุด แม้ในสมัย พุทธกาลเอง ประชาชนชาวอินเดีย ก็นับถือศาสนาพราหมณ์ มั่นคงอยู่ ศาสนาพราหมณ์ ส่วนใหญ่ ยังไม่ได้เสื่อมไป.
    2) ในสมัยหลังพุทธกาล แม้จะมีพระมหากษัตริย์ ที่เป็นองค์อุปถัมภ์ พระพุทธศาสนา เช่นพระเจ้าอโศกมหาราช ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เบียดเบียน ศาสนาอื่นๆ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการล้มล้าง ศาสนาพราหมณ์ หรือการใช้อำนาจ ทางการเมือง เพื่อฝังรากศาสนา ลงในใจของประชาชน ทั้งหมด.
    แตกต่างจาก ศาสนาคริสเตียน หรือศาสนาอิสลาม แผ่ไปถึงไหน ก็ใช้อำนาจครอบงำ บังคับให้วัฒนธรรมเดิม ถูกถอนราก ถอนโคนออก แล้วบังคับให้ นับถือศาสนาของตนแทน.
    ส่วนพุทธศาสนา ที่แผ่ไปถึงไหน ก็อะลุ้มอะล่วย ปรองดองกับ ศาสนาถิ่นเดิม เกลือกกลั้ว ผสมผสานกันได้.
    3) หลักการ ในพระพุทธศาสนา ให้เสรีภาพแก่บุคคล มิได้มีการเรียกร้อง ความภักดีพลีชีวิต เพื่อศาสนาของตน ดังเช่นศาสนาอื่นๆ ความรู้สึก ของชาวพุทธ ในเรื่องการปกป้อง รักษา พระศาสนาของตนเอง จึงมิได้รุนแรง ไม่มากพอ เหมือนศาสนา ที่รบเร้าเรื่อง ความภักดีเป็นใหญ่.
    4) ความเสื่อม ภายในคณะสงฆ์เอง มีการแตกแยกออก เป็นหลายหมู่ หลายเหล่า ต่างถือพวก ถือหมู่วิวาทกัน.
    5) พระสัทธรรมดั้งเดิม ได้ถูกบรรดาคณาจารย์ ของนิกายต่างๆ ทั้งมหายาน และหินยาน อรรถาธิบาย ทำให้เป็นของยากขึ้น ทำให้เป็น อภิปรัชญามากขึ้น สำหรับการโต้เถียง ประเทืองปัญญา ตีโวหารกัน มากกว่า ใช้สำหรับปฏิบัติกันจริงๆ ในชีวิต.
    พุทธศาสนา จึงกลายเป็นของยาก สำหรับสามัญชนไป กลายเป็นสมบัติ ของนักปราชญ์กลุ่มหนึ่ง ในกำแพงวัดเท่านั้น ชาวบ้านทั่วไป ไม่รู้ว่าพุทธศาสนาคืออะไร?
    วัฒนธรรม ทางพระพุทธศาสนา มีอยู่เฉพาะ แต่ภายในวัดทั้งหลาย เท่านั้น ไม่ได้มีปฏิบัติการ เกี่ยวกับฆราวาสเลย
    และเมื่อวัดเหล่านี้ ถูกรุกรานทำลาย หรือขาดราชูปถัมภ์ ก็จะถูกทอดทิ้ง ให้เสื่อมโทรมไป แล้วพระพุทธศาสนา ก็จะเสื่อมไปด้วย.
    6) ในสมัยราชวงศ์คุปตะ พวกพราหมณ์ เห็นว่าจะเอาชนะพวกพุทธ โดยตรงไม่ได้ ก็ใช้วิธี การกลืนพุทธอย่างสุขุม โดยอ้างว่า พระพุทธเจ้า เป็นนารายณ์อวตาร ผู้นับถือพุทธ ก็คือผู้นับถือฮินดูนั่นเอง ส่วนผู้ที่นับถือฮินดูอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเปลี่ยน เป็นศาสนาพุทธ ทำให้ฮินดูมีมากขึ้น ในขณะที่พุทธมีน้อยลง.
    7) ชาวพุทธเองกลับยอม ลดคุณภาพของตน โดยไปเอาลัทธิฮินดู เข้ามาปฏิบัติ เกิดเป็นลัทธิมนตรยาน เป็นต้น เท่ากับเป็นการยอมแพ้ อย่างสิ้นเชิง.
    8) เมื่อพ้นสมัยคุปตะแล้ว ฝ่ายฮินดู มีนักปราชญ์เก่งๆ เกิดขึ้นหลายคน ฝ่ายพุทธ ไม่มีผู้สามารถ โต้วาทีชนะได้ ฐานะของพุทธ จึงตกต่ำลงมาก.
    9) ครั้นเมื่อ ศาสนาอิสลามรุกราน ได้ทำลายล้างทั้งชีวิต และทรัพย์สิน อย่างบ้าเลือดป่าเถื่อน จนไม่มีใครต้านทานได้ ต้องหลบหนี ออกจากอินเดียไปจนหมด.
    10) พวกพราหมณ์ มีทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต เป็นผู้รับถ่ายทอดความรู้ ทางพระเวท จึงสามารถสืบต่อ กันไปได้นาน ส่วนพระพุทธศาสนา ความรู้ทั้งหมด ไปอยู่กับพระภิกษุเท่านั้น เมื่อสถาบันสงฆ์ ถูกทำลาย เช่นถูกห้ามไม่ให้บวช ถูกฆ่าตาย ความรู้ในทางศาสนา จึงไม่มีผู้สืบต่อ และหมดสิ้นลง ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพียงไม่กี่ชั่วคน.เหตุผลทั้งหมดนี้ จึงทำให้พระพุทธศาสนา เสื่อมไปจากอินเดีย.

    การป้องกันพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมไปจากประเทศของตน
    พุทธบริษัททั้งหลาย คงจะต้องหาทาง ป้องกันพระพุทธศาสนา ไม่ให้เสื่อมสูญ ไปจากประเทศของตน และต้องช่วยกันสืบต่อ พระสัทธรรมที่แท้จริง
    โดยเพียรพยายาม ทำตนให้ได้รับคุณวิเศษ บรรลุมรรคผลนิพพาน ตามครรลองแห่ง พระสัทธรรมที่แท้จริง ที่สามารถดับทุกข์ได้จริง ตามกฏแห่งอริยสัจสี่
    คัดมาจาก http://www.pharm.chula.ac.th/computer/web_india_2/idia6_20_destroy/20_destroy.htm
    เครดิต
    สาเหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย 2 - Buddhistphilo1
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ยุคมืดพระพุทธศาสนาในอินเดีย
    <!--MsgIDBody=0-->พระพุทธศาสนาหลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช


    พระเจ้าอโศกมหาราชครองราชย์อยู่ 41 ปี สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 311 เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว ผู้สืบสันติวงศ์ของพระองค์ก็เสื่อมอำนาจลงจนแตกกระจัดกระจาย พระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อ ๆ มาไม่สามารถจะรักษาอำนาจไว้ได้ การบำรุงพระพุทธศาสนาไม่แข็งแรงเหมือนสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อประมาณ พ.ศ. 359 กษัตริย์วงศ์ของพระเจ้าอโศกมหาราชก็เสื่อมอำนาจลง พระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ สมัยนี้มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า ศุงศ์ ได้ชิงราชสมบัติจากกษัตริย์วงศ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช


    แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์พระนามว่า ปุษยมิตร กษัตริย์พระองค์นี้เลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์มาก
    สมัยนี้ ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีพระเจ้าปุษยมิตรเป็นราชูปถัมภ์ ก็ได้กระเตื้องขึ้นมามาก พระพุทธศาสนาซบเซาลง วัดวาอารามถูกทำลาย พระภิกษุสามเณรถูกฆ่า มีการตั้งรางวัลเป็นเงินจำนวนมากแก่ผู้ตัดศีรษะพระภิกษุได้ ภิกษุจำนวนมากหวั่นเกรงภัยได้หนีจากแคว้นมคธไปอยู่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของของอินเดีย ขณะที่พระพุทธศาสนาในแคว้นมคธอันเป็นภาคกลางของอินเดียกำลังถูกมรสุมอย่างหนักนั้น พระพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาทิน กำลังรุ่งโรจน์อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และนิกายมหาสังฆิกะกำลังรุ่งเรืองอยู่ทางอินเดียใต้


    พุทธศักราช 500 - 800 ปี
    พระพุทธศาสนาหยุดชะงักการการเผยแผ่ไปในอินเดีย


    ในขณะที่พระพุทธศาสนาได้หยุดชะงักไปชั่วคราวจากอินเดีย เพราะขาดผู้อุปถัมภ์ และได้รับการเบียดเบียนจากพระเจ้าปุษยมิตรนั้น ดินแดนนอกอาณาจักรของพระเจ้าแผ่นดินที่นับถือศาสนาฮินดูนั้น ก็ได้ต้อนรับเอาพระพุทธศาสนาเข้าไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นบากเตรียน ซึ่งมีพระราชาชาติกรีกปกครองอยู่นั้น พระพุทธศาสนาก็ได้ตั้งมั่นและเจริญขึ้นตามลำดับมีพระสงฆ์ปกครองกับเป็นหมวดหมู่


    พระเจ้ามิลินท์ประกาศศาสนา


    พระพุทธศาสนามาเจริญเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่งสมัยพระเจ้ามิลินท์ หรือพระเจ้าเมนันเดอร์ (Menander) ซึ่งเป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกที่มาปกครองอินเดียอยู่ระยะหนึ่ง เล่าความย้อนไปสักเล็กน้อยว่า เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพเข้ารุกรานอินเดีย และเลิกทัพกลับไปนั้น แคว้นที่ทรงตีได้แล้วก็ได้โปรดให้แม่ทัพนายกองของพระองค์ปกครองดูแล ทิ้งกองทหารกรีกไว้บางส่วน ฝรั่งชาติกรีกเหล่านี้ได้ตั้งเป็นอาณาจักรอิสระขึ้น เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สวรรคตแล้ว อาณาจักรที่มีกำลังมากคืออาณาจักรซีเรียและบากเตรีย ปัจจุบันคือเตอรกีสถานและอัฟกานิสถาน ซีเรียเป็นอาณาจักรมหาอำนาจเป็นสื่อเชื่อมอารยธรรมกรีกกับอินเดียอยู่เป็นเวลานานถึง 247 ปี จึงถูกโรมันตีแตก ส่วนบากเตรียเดิมทีอยู่ในอำนาจของซีเรีย มาสถาปนาเป็นรัฐอิสระได้เมื่อ พ.ศ. 287 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในมุมนี้ของโลกสับสนวุ่นวายด้วยการแย่งชิงอำนาจกันอยู่ประมาณร้อยปีเศษ จนกระทั่งลุถึง พ.ศ. 392 พระราชาเชื้อสายกรีกพระองค์หนึ่ง พระนามว่า เมนันเดอร์ หรือที่เรียกในคัมภีร์บาลี พระเจ้ามิลินท์ ยกกองทัพตีเมืองต่าง ๆ แผ่พระราชอำนาจลงมาถึงตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำคงคา เดิมทีมิได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงขัดขวางการขยายตัวของพุทธศาสนาด้วยซ้ำไป เนื่องจากทรงแตกฉานในวิชาไตรเพท (ของพราหมณ์)


    และศาสนาปรัชญาต่าง ๆ รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย จึงประกาศโต้วาทีกับนักบวชลัทธิศาสนาต่าง ๆ ในเรื่องศาสนาและปรัชญา ปรากฏว่าไม่มีใครสู้พระองค์ได้ เวลานั้นพระเจ้ามิลินท์ประทับอยู่ที่นครสาคละ พระภิกษุสามเณรต่างครั่นคร้ามในวาทะของพระเจ้ามิลินท์ อยู่ไม่เป็นสุขในเมืองสาคละพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นเสียหมดสิ้น เมืองสาคละว่างพระสงฆ์สามเณรอยู่ถึง 12 ปี จนกระทั่งคณะสงฆ์สมัยนั้นเลือกสรรพระเถระผู้สามารถรูปหนึ่งมายังเมืองสาคละ เพื่อสนทนาเรื่องศาสนาและปรัชญากับพระเจ้ามิลินท์ ท่านผู้นั้นคือพระนาคเสน พระเจ้ามิลินท์ทรงทราบข่าวนั้นเสด็จไปสนทนาเป็นเชิงปุจฉาวิสัชนา อภิปรายกันขึ้นเป็นเวลาหลายวัน ผลปรากฏว่าพระเจ้ามิลินท์ยอมแพ้พระนาคเสน ข้อสนทนาระหว่างนักปราชญ์ทั้ง 2 ท่านได้รวบรวมไว้เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง เรียกว่า “มิลินทปัญหา”


    พระเจ้ามิลินท์ได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาตั้งแต่ภูเขาฮินดูกูฎจนกระทั่งลุ่มแม่น้ำสินธู สมัยนี้พระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้นมากในกรีก รวมทั้งซีเรียด้วย ซึ่งเราทราบได้จากหลักฐานต่าง ๆ เช่น เหรียญตราที่ทำเป็นรูปธรรมจักร และซากปรักหักพังของวัดวาอารามทางพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองที่สุดในดินแดนแห่งนี้


    ยุคมืดพระพุทธศาสนาในอินเดีย?


     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้ากนิษกะ
    เมื่อกษัตริย์วงศ์ ของพระเจ้าอโศกมหาราชเสื่อมอำนาจลง อินเดียก็เริ่มปั่นป่วน ชนชาติในทวีปเอเซีย ชื่อ ตาต ได้ยกทัพข้ามแม่น้ำสินธูเข้าไปหลายครั้ง มีการรบพุ่งกันหลายครั้งหลายคราว พระพุทธศาสนาที่อ่อนกำลังอยู่แล้วก็ยิ่งอ่อนกำลังลงอีก ต่อมาเกิดมีอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่า กุษาณ กษัตริย์พระองค์แรกของวงศ์นี้คือ พระเจ้ากัทพิเสส หรือ กุชุล กะสะ กษัตริย์พระองค์นี้เป็นเผ่ากุษาณะ ซึ่งเป็นเผ่าหนึ่งของเผ่าง้วยจี ชนเผ่านี้เดิมได้อาศัยอยู่ในเตอรกีสตานของจีน (ปัจจุบันคือ มณฑล ซินเกียง)
    ครั้นต่อมาพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ในวงศ์กุษาณได้ขึ้นครองราชสมบัติ ตกราว พ.ศ. 621 – 643 กษัตริย์พระองค์นี้ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้แผ่เดชานุภาพไปในดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือโดยตลอด จนถึงแคว้นคันธาระ แคชเมียร์ สินธู และบางส่วนของมัธยมประเทศ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจราชศักดิ์ยิ่งใหญ่ เรียกกันว่าอโศกองค์ที่ 2
    ในรัชสมัยของพระองค์นี้ พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้แผ่เข้าสู่เอเซียกลางและจีนอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง วรรณคดีพระพุทธศาสนาภาษาสันตกฤตได้เจริญขึ้นแทนภาษาบาลีมีพระภิกษุผู้ทรงความรู้เป็นจำนวนมาก เช่น ท่านปารศวะ ท่านอัศวโฆษ ท่านวสุมิตร เป็นต้น ท่านเหล่านี้ได้รจนาตำราพระพุทธศาสนาเป็นภาษาสันตกฤตเป็นจำนวนมาก ในด้านศิลปกรรมการแกะสลักแบบคันธาระซึ่งเป็นศิลปกรรมอันสวยงาม ก็ได้เจริญขึ้นอย่างสุดขีด ได้มีการสร้างพระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ขึ้น พระเจ้ากนิษกะได้รับสั่งให้สร้างวัด อาราม วิหาร พระสถูป และพระเจดีย์มากมาย พระเจดีย์องค์หนึ่งมีความสูง 400 ฟิต มีฐาน 5 ชั้น และฐานสูง 150 ฟิต
    นอกจากนี้แล้วพระองค์ยังได้โปรดให้ชุมนุมสงฆ์ทำสังคายนา ซึ่งมหายานถือว่าเป็นการทำสังคายนาครั้งที่ 4 (ฝ่ายเถรวาทไม่ได้ยอมรับสังคายนาครั้งนี้) ได้กระทำกันอยู่ที่เมืองชาลันธระในแคว้นแคชเมียร์ ปรากฏว่ามีพระภิกษุมาประชุมกันมากเกินไป จึงได้คัดเลือกเอาพระอรหันต์เพียง 499 รูปเท่านั้น ยังไม่ครบจำนวน 500 รูป ที่ประชุมได้ลงมติคัดเลือกเอาท่านวสุมิตรเข้าร่วมประชุมให้ครบจำนวน 500 รูป ซึ่งขณะนั้นท่านยังไม่ได้บรรลุอรหัตเพราะยังปรารถนาโพธิสัตวภูมิอยู่ ซึ่งครบจำนวน 500 รูปพอดี และได้เลือกท่านเป็นประธานของที่ประชุม

    พุทธศักราช 800 – 1100 ปี
    ราชวงศ์คุปตะได้เกิดขึ้นทางอินเดียตอนเหนือเมื่อประมาณ พ.ศ. 800 กว่าปี ราชวงศ์นี้มีอำนาจแผ่ไปในที่ต่าง ๆ อย่างไพศาล และยืนนานมาได้เป็นเวลา 150 ปี จึงเสื่อม สมัยนี้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้น และได้มีการต่อสู้กันระหว่างลัทธิสากลนิยมพระพุทธศาสนาซึ่งจัดอยู่ในลัทธิสากลนิยมก็ถูกบีบคั้น เบียดเบียนและทำลายแล้วก็เสื่อมไป ส่วนศาสนาฮินดูกลับเจริญขึ้นสุดขีด
    ต่อมา เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงได้ประมาณ 900 ปี ชาติฮั่นหรือตาตมงคล พวกหนึ่งได้เข้ามามีอำนาจปกครองประเทศอินเดียเป็นเวลาประมาณ 50 ปี ได้ทำการทารุณกรรมต่อชาวอินเดีย ทำลายวัดวาอาราม ศาสนา และพระภิกษุสงฆ์ จึงทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงไปกว่าเดิมอีก เมื่อปี พ.ศ. 1070 อินเดียจึงสามารถขับไล่ชาติฮั่นออกไปจากอินเดียได้
    เมื่อประมาณ พ.ศ. 940 - 957 นักจิกแสวงบุญของจีนชื่อฟาเหียน ได้เดินทางไปแสวงบุญในอินเดียและได้บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาไว้อย่างละเอียด ซึ่งเราสามารถรู้ความเคลื่อนไหวของพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยนี้ ก็เพราะได้อาศัยหลักฐานจากการรายงานของท่านเป็นส่วนมากท่านฟาเหียน ได้บันทึกไว้ว่า ท่านได้พบพระพุทธศาสนาเจริญในที่ทุกแห่งที่ผ่านไป เว้นแต่ที่ กาโนช กบิลพัสดุ์ รามคาม เวสาลี และ คยา ณ สถานที่เหล่านี้ ที่กาโนช มีวัดฝ่ายเถรวาทอยู่เพียง 2 วัด ส่วนกบิลพัสดุ์ ได้กลายเป็นสภาพไปเป็นเมืองร้าง มีพระไม่กี่รูปดูแลรักษาสถานที่ และมีประชาชนอยู่ประมาณ 10 ครอบครัว ที่รามคามมีเพียงวัดเดียว ที่เวสาลีมีเหลืออยู่แต่มหาวันวิหาร แห่งเดียว ที่คยามีแต่วัดร้าง ที่อาฟกานิสถาน มีพระอยู่ถึง 3,000 รูป ทั้งเถรวาทและมหายาน ที่มถุรา พระพุทธศาสนาเจริญมาก ประชาชนให้ความเคารพนับถือพระอย่างสูง
    เมื่อประมาณ พ.ศ. 1100 กว่าปี พระเจ้าหรรษวรรธนะ ทรงตั้งราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองกานยกพุทธ์ (ได้แก่กาโนช) ในปัจจุบัน อยู่ทางทิศเหนือของอินดีย พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา หรือพราหมณ์พอ ๆ กัน ได้บำรุงศาสนาทั้งสองเสมอกัน พระองค์ทรงบำรุงมหาวิทยาลัยนาลันทามากกว่ากษัตริย์องค์ใด ๆ
    สมัยนี้ พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูได้เจริญพอ ๆ กัน แต่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้นได้หลอมตัวให้เข้ากับฮินดูได้ในบางประการ เช่นถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นประดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง จึงเป็นเหตุให้มีรูปพระโพธิสัตว์ขึ้น พวกพราหมณ์ฮินดูในสมัยนั้นกล่าวอ้างว่า พระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานไปแล้ว พระองค์ได้จากไปโดยไม่มีความเยื่อใย ไม่สามารถที่จะกลับมาช่วยมนุษย์ได้อีก ส่วนพระเจ้าของฮินดูนั้น ยังตามปกปักรักษาให้ความร่มเย็นเป็นสุขอยู่เสมอ ดังนั้น จึงไม่นับถือพระพุทธศาสนา
    เพราะถือเสียว่า เมื่อเจ้าของศาสนาหมดแล้วก็เป็นอันแล้วไป เพื่อที่จะแก้ข้อกล่าวหานี้ มหายานจึงกล่าวว่า แม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แต่ยังมีพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นประดุจกับเทพเจ้าผู้มีความการุณย์ต่อมนุษย์ จะต้องขนสัตว์ทั้งหลายข้ามวัฏสงสารให้หมดเสียก่อน เมื่อคิดเช่นนี้จึงสร้างรูปพระโพธิสัตว์ขึ้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับพระเจ้าของฮินดูมาก แสดงว่า สมัยนี้พุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้นได้หลอมตัวเข้าหาศาสนาฮินดูมากที่สุด นอกจากนี้แล้ว ในด้านวรรณคดียังยอมรับเอาภาษาสันตกฤตเป็นภาษาวรรณคดีตามฮินดูด้วย

    พุทธศักราช 1172 – 1187 ปี
    ท่านสมณะเฮี้ยนจัง ภิกษุชาวจีน เดินทางไปในประเทศอินเดีย เมื่อประมาณพุทธศักราช 1172 - 1187 ได้กล่าวไว้ในบันทึกของท่านว่า สมัยนั้น พระพุทธศาสนาในอินเดียเริ่มเสื่อมแล้ว สถานที่สำคัญต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนาอยู่ในสภาพทรุดโทรมที่เมืองเวสาสี มีวัดอยู่ประมาณ 100 วัด ซึ่งโดยมากได้ทรุดโทรมไปมากแล้ว มีเทวาลัยอยู่ 10 แห่ง และมีวัดพวกนิครนธ์มากมายที่กาโนช มีพุทธศาสนิกชน และพวกเดียรถีย์จำนวนพอ ๆ กัน มีวัดพระพุทธศาสนาอยู่ 100 วัด มีพระภิกษุอยู่ 1,000 รูป มีเทวาลัยอยู่ 200 แห่ง และมีพวกเดียรถีย์อยู่หลายพันคนที่มถุรา มีวัดพระพุทธศาสนาอยู่ 20 วัด มีพระภิกษุ 2,000 รูป ที่มติปุระ สรุงคะ พรหมปุระ ปรายาค โกสัมพี วิสาขะ และสาวัตถี มีวัดพุทธศาสนาอยู่แห่งละ 5 วัด ถึง 10 วัด และตามสถานที่เหล่านี้ มีพวกเดียรถีย์อยู่เป็นจำนวนมาก เช่นที่ สรุงคะ มีวัดพระพุทธศาสนาอยู่เพียง 5 วัด มีเทวาลัยอยู่ 140 แห่ง ที่ปรายาค มีวัดพุทธศาสนาอยู่เพียง 2 วัด มีเทวาลัยอยู่มากมาย ที่โกสัมพีมีวัดพระพุทธศาสนาอยู่ 10 วัด มีเทวาลัยอยู่ 50 แห่ง ที่วิสาขะ มีวัดพระพุทธศาสนาอยู่ 20 วัด มีพระภิกษุ 3,000 รูป ซึ่งสังกัดอยู่ในนิกายเถรวาท มีเทวาลัยอยู่ 50 แห่งที่มหาวิทยาลัยนาลันทา มีพระภิกษุนักศึกษา เป็นจำนวนหมื่น ล้วนแต่เป็นนิกายมหายานที่เมืองพาราณสี มีวัดพระพุทธศาสนาน้อย จำนวนพุทธศาสนิกชนน้อย มีผู้นับถือพระศิวะมากมายที่ปาฏลีบุตร มีพระและวัดน้อย สถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนาชำรุดทรุดโทรมปราศจากผู้รักษาที่เปษวาร์ ซึ่งเป็นนครหลวงของพระเจ้ากนิษกะ และเป็นมาตุภูมิของพระอสังคะ และวสุพันธุ กำลังตกอยู่ในความยึดครองของพวกฮั่น
    พระพุทธศาสนาได้รับความกระทบกระเทือน ถูกทำลายโดยพวกฮั่นอย่างย่อยยับ มีวัดพระพุทธศาสนาอยู่ 1,000,000 วัด แต่อยู่ในสภาพหักพัง ถูกทอดทิ้งที่ตักสิลา มีวัดพระพุทธศาสนาอยู่มาก แต่ก็ถูกพวกฮั่นทำลายย่อยยับเช่นกันที่แคชเมียร์ มีวัดพระพุทธศาสนา 100 วัด มีพระภิกษุ 5,000 รูป ซึ่งวัดเหล่านี้เป็นผลิตผลของพระเจ้าอโศกมหาราช และพระเจ้ากนิษกะจึงอาจกล่าวได้ว่า ในสมัยที่ท่านภิกษุเฮี้ยนจังเดินทางไปอินเดียนั้น พระภิกษุกำลังจะหมดไปจากอินเดีย และวัดของพระพุทธศาสนาขาดผู้อุปถัมภ์ ตกอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ส่วนศาสนาฮินดูนั้นได้เจริญขึ้นแทนที่
    พุทธศักราช 1300 - 1500 ปี
    เมื่อประมาณ พ.ศ. 1300 ปี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ สังกราจารย์ ซึ่งเป็นนักปราชญ์และนักสอนศาสนาคนสำคัญของฮินดู ได้ประกาศศาสนาฮินดูอย่างเอาจริงเอาจัง ท่านผู้นี้ได้เอาหลักปรัชญาของศาสนาต่าง ๆ ในอินเดีย รวมทั้งของพระพุทธศาสนาด้วย เข้าผสมผสานกัน แล้วได้ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นเป็นนารายณ์อวตารอีกปางหนึ่ง คือ ปางที่ 9 แล้วกล่าวอ้างว่า พระพุทธศาสนากับศาสนาฮินดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ครั้งนี้ ศาสนาพุทธถูกศาสนาพราหมณ์กลืนเสียสนิท ประชาชนได้หันไปนับถือศาสนาฮินดูมากขึ้นตามลำดับ จนลืมพระพุทธศาสนา
    ท่านสังกราจารย์ ผู้นี้ได้เดินทางเข้าไปประกาศศาสนาในประเทศเนปาลด้วย และได้ทำให้พระพุทธศาสนาในเนปาลอ่อนกำลังไปมาก
    ประมาณ ปี พ.ศ. 1500 พระพุทธศาสนาได้ผสมกับลัทธิตันตระ ของฮินดู ซึ่งเป็นลัทธิของคนชั้นต่ำ พระพุทธศาสนาในยุคนี้จึงได้ชื่อว่า “พุทธตันตระ” เกิดสัทธรรมปฏิรูปกับศาสนาฮินดู ทำให้พระพุทธศาสนาถึงแก่ความเสื่อม
    พระพุทธศาสนาที่ผสมกับลัทธิตันตระของฮินดูได้นำเอาประเพณี พิธีกรรมอันลึกลับน่ากลัว และลามกอนาจารมาปฏิบัติ เช่นข้อปฏิบัติ 5 ประการ ซึ่งขึ้นต้นด้วย ม ได้แก่
    1. มางสะ ได้แก่การกินเนื้อ
    2. มัตสยา ได้แก่การกินปลา
    3. มุทรา ได้แก่การแสดงท่ายั่วยวนให้เกิดกิเลสตัณหา
    4. มัทยะ ได้แก่การดื่มน้ำเมา
    5. ไมถุน ได้แก่การเสพเมถุนธรรมโดยวิธีที่สกปรก
    หนังสือ ศรีสมาช (คุยหสมาช) สาธนมาลา และชญานุสิทธิ เป็นต้น ซึ่งเป็นคัมภีร์ของนิกายวัชรยาน ได้สอนให้มีการเหยียบย่ำแม้กระทั่งศีล 5 สนับสนุนให้มีการฆ่า การลัก การเสพเมถุนธรรม และการดื่มน้ำเมา
    ผู้ที่จะเข้าพิธีตามลัทธิตันตระจะต้องปฏิบัติ 5 ข้ออย่างเคร่งครัด ถือว่าเป็นการบูชาพระศักติ ในสถานที่บางแห่ง เมื่อผู้หญิงจะไหว้พระจะต้องเปลื้องเครื่องแต่งตัวออกทั้งหมดแล้วแสดงการร่ายรำไปจนเสร็จพิธี เมื่อเสร็จพิธีใหม่ ๆ จะมีการเล่นกันอย่างลามกที่สุด
    นักปฏิบัติ ยอมรับว่า ลัทธิ 5 ข้อนี้ไม่ดี เป็นมายา และเป็นเครื่องกีดกันไม่ให้คนไปสวรรค์นิพพานได้ คนโดยมากมักจะติดอยู่ในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น จึงต้องหาความชำนาญในสิ่งเหล่านี้ให้มากเท่าที่จะมากได้ เมื่อนาน ๆ เข้าก็จะเกิดเบื่อไปเอง เมื่อยังไม่รู้ไม่ชำนาญและยังมิได้มีประสบการณ์มาด้วยตนเอง อย่างช่ำชองแล้ว ก็จะเป็นการยากที่จะเกิดความเบื่อหน่ายได้ ต้องเล่นวิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง
    มีนักปฏิบัติบางท่านถือยิ่งขึ้นไปว่า ผู้ที่ยังไม่ผ่านการเสพเมถุนธรรมจะไปนิพพานไม่ได้ เพราะจิตใจยังลังเลอยู่ ต้องเสพเมถุนธรรมให้ถึงที่สุดจนเกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพาน
    อย่างไรก็ตาม ลัทธิตันตระ นี้มีผู้ปฏิบัติแพร่หลายอยู่ทางอินเดียตะวันออก คือใน แคว้นเบงกลอล อัสสัม โอริสสา และ บิฮาร์ มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา เป็นศูนย์ศึกษาลัทธินี้ และต่อมาลัทธินี้ได้แผ่เข้าไปสู่ประเทศธิเบตด้วย
    พุทธศักราช 1700 ปี
    ในขณะที่ลัทธิพุทธตันตระ กำลังได้รับการปฏิบัติอย่างแพร่หลายในอินเดียทางเหนือ และทิศตะวันออกในหมู่ชนชั้นต่ำ พระพุทธศาสนาดั้งเดิมก็ถึงแก่ความเสื่อม เกิดสัทธรรมปฏิรูปผสมผสานกันเข้า จนแทบหาความบริสุธิ์ไม่ได้นั้น กษัตริย์มุสลิมก็ได้เคลื่อนกองทัพอันเกรียงไกรเข้ายึดอินเดียทางทิศเหนือไว้ได้ครอบครองโดยเด็ดขาด ชาวมุสลิมได้ทำลายวัดวาอาราม และสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนา ฆ่าพระภิกษุสามเณรตายนับจำนวนพัน ๆ กองทัพม้าของมุสลิมได้เข้าบุก และเผามหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นอย่างราบเรียบ มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ได้กลายเป็นสุสานของพระภิกษุสามเณรไปในชั่วพริบตาเดียว พระภิกษุสงฆ์ถูกบังคับให้สึก รูปใดไม่สึกก็จะต้องถูกประหารชีวิต หรือไม่ก็หลีกหนีไปอยู่ในประเทศใกล้เคียง ซึ่งโดยมากได้ไปอาศัยอยู่ที่เนปาล และธิเบต
    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระพุทธศาสนาก็ได้เสื่อมและหมดไปจากอินเดียโดยไม่มีอะไรเหลือให้ปรากฎ นอกจากซากปรักหักพังของสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนา และพระพุทธรูปที่ถูกทำลายเป็นส่วนมาก และสิ่งเหล่านี้ก็ได้ถูกทอดทิ้งลบเลือนไปจากความทรงจำของชาวอินเดีย มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 800 ปี จึงไม่เป็นการแปลกเลยว่า เพราะเหตุไรชาวอินเดียทุกวันนี้จึงไม่รู้จักพระพุทธศาสนา
    พุทธศักราช 2100 ปี
    เมื่อประมาณ พ.ศ. 2100 ปีเศษ ชาวยุโรป มีชาติโปรตุเกส วิลันดา และอังกฤษ ได้เดินทางเข้ามาค้าขายติดต่อกับอินเดียและในที่สุดอังกฤษก็เข้าครอบครองอินเดียได้ ในระยะนี้อังกฤษก็ได้นำศาสนาของตนคือคริสตศาสนา เข้ามาเผยแพร่ในอินเดียด้วย อินเดียได้ต้อนรับเอาศาสนาใหม่อีกศาสนาหนึ่ง แต่คริสตศาสนาก็ไม่สามารถที่จะกลืนศาสนาฮินดูได้ เพราะอังกฤษมุ่งอำนาจในการเมืองมากกว่าทางศาสนา สมัยนี้ศาสนามุสลิมอ่อนกำลังลงไปบ้าง ศาสนาฮินดูกลับเจริญขึ้นสุดขีด ศาสนาเชนก็มีบ้างประปราย ซึ่งโดยมากมีผู้นับถือที่แคว้นบอมเบย์ ในหมู่พวกพ่อค้าชาวกุชราตี ที่แคว้นเบงกอลและแคว้นพหารบ้างบางส่วน ศาสนาเชนนั้น แม้จะมีคนนับถือกันน้อย แต่เชนศาสนิกโดยมากก็เป็นคนร่ำรวย วัดของศาสนาเชนสะอาดและสวยงามทุกแห่ง ไม่เหมือนกับวัดฮินดู ซึ่งโดยมากสกปรก ส่วนพระพุทธศาสนานั้นได้ถูกทอดทิ้งลบเลือนไปจากความทรงจำของชาวอินเดียอย่างสนิท

    ยุคมืดพระพุทธศาสนาในอินเดีย?
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย
    สาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดียนั้น มีหลายท่านได้ตั้งข้อสงสัย ว่าทั้ง ๆ ที่อินเดียเป็นแดนเกิดของพระพุทธศาสนา ทำไมพระพุทธศาสนาจึงได้ได้เสื่อมไปจากประเทศอินเดีย ปัญหานี้มีคนสงสัยกันมาก แต่ก็มีน้อยคนที่ได้สนใจในปัญหานี้กันอย่างแท้จริง และก็มีจำนวนมากที่ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงสมควรที่จะค้นหาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุ ในเรื่องนี้ ซึ่งพอจะกล่าวโดยย่อได้ดังนี้
    เหตุภายใน
    1. ความเสื่อมศีลธรรมของพุทธบริษัท หมายถึงผู้ที่นับถือพุทธศาสนาเองทั้งภิกษุและฆราวาสไม่สนใจต่อการประพฤติธรรมเหินห่างจากศีลธรรม มีหลักฐานปรากฏว่า “พระไม่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย อยู่อย่างเกียจคร้าน อยู่อย่างไร้ค่า ใช้ชีวิตอย่างชาวโลก ชอบเที่ยวเตร่หาความแพลิดเพลิน แม้จะห่มผ้ากาสาวพัตร์ แต่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เลี้ยงปศุสัตว์ และมีเมีย มีลูก”
    เหตุการณ์ที่กล่าวนี้เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 ตามบันทึกของท่านสมณะเฮี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง)ถอยหลังไปอีก 2 ศตวรรษ คือพุทธศตวรรษที่ 10 มีบันทึกหลักฐานตามประวัติศาสตร์ของแคว้นจัมมูและแคชเมียร์ว่า“ครึ่งหนึ่งของวัดบางวัดในแคว้นแคชเมียร์ จัดให้เป็นที่อยู่ของพระที่มีความประพฤติดีและไม่มีเมีย ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของวัดจัดให้เป็นที่อยู่ของพระที่มีลูกเมียและมีทรัพย์สมบัติมาก”
    ในต้นพุทธศตวรรษที่ 13 ท่านสมณะอีจิง ภิกษุชาวจีนที่ไปสืบศาสนาในอินเดีย และใช้เวลาอยู่ในอินเดียนานถึง 25 ปี ได้บันทึกไว้ว่า “วัดส่วนมากในอินเดียทำไร่ เลี้ยงวัวมีคนรับใช้ในวัด บางวัดก็ตระหนี่ถี่เหนียวไม่ยอมแบ่งผลผลิตให้ใคร เป็นการไม่สมควรที่วัดจะมีทรัพย์สมบัติมากมาย มียุ้งฉางเต็มไปด้วยข้าวเปลือก (เก็บไว้จนเสีย) มีคนใช้ชายหญิงมีเงินทองและทรัพย์สมบัติที่เก็บไว้เฉย ๆ ไม่ได้ใช้มันให้เป็นประโยชน์” รวมความว่าพระภิกษุในอินเดียเวลานั้นไม่อยู่ในศีลในธรรม ฆราวาสทั่วไปก็เป็นเช่นเดียวกัน
    2. การแตกแยกนิกาย และการขัดแย้งกันในเรื่องลัทธินิกาย ได้แตกแยกออกเป็น 18 นิกาย มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 2 นิกายเหล่านี้ต่างทะเลาะวิวาทกันด้วยทิฏฐิที่แต่ละนิกายยึดถืออยู่ ไม่กลมเกลียวสามัคคีกัน นำมาซึ่งความเสื่อมแก่หมู่คณะเปิดทางให้ผู้มุ่งร้ายทำลายได้โดยง่าย
    ความแตกสามัคคี ไม่มีความปรองดองกัน แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเป็นใหญ่ หลงใหลในลาภยศสักการะ ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย ติดอยู่ในพิธีกรรมมากกว่าการศึกษาและปฏิบัติธรรม เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสอนอันดั้งเดิม เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป ซึ่งได้เกิดขึ้นแม้แต่สมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เช่น เรื่องการแตกสามัคคีของพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี และพระเทวทัตต์ เป็นต้น และได้มีสืบต่อ ๆ กันมา ไม่ขาดระยะ นับว่าเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งในวงการของพระพุทธศาสนาอันเป็นเหตุให้ศาสนาอื่น ๆ ฉวยโอกาสโจมตีได้
    3. คำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่ทวนกระแส คือตรงดิ่งสู่ความเป็นจริง เป็นการฝืนใจคน ต้องดึงคนเข้าหาหลัก มิใช่ดึงหลักเข้าหาคน ไม่บัญญัติหรือสอนไปตามความชอบพอของคนบางคนแต่สอนไปตามความจริงอย่างตรงไปตรงมา จึงทำให้ผู้มักง่ายเกิดความเอือมระอา พากันไปหาคำสอนที่ถูกกับอัธยาศัยของเขา
    4. หลักคำสอนเกี่ยวกับการปฏิเสธวรรณะของพระพุทธศาสนา ทำให้ขัดต่อความคิดเห็นของคนชั้นสูงและคนชั้นต่ำ ผู้ยึดมั่นอยู่ในลัทธิประเพณี พวกคนชั้นสูงก็ไม่อยากให้มีการเลิกการถือชั้นวรรณะ คนชั้นต่ำก็ไม่ต้องการให้ล้มเลิกลัทธิประเพณีของเขา คนชั้นต่ำไม่ได้นับถือศาสนาด้วยปัญญา แต่นับถือด้วยการยึดมั่นอยู่ในพิธีกรรม จึงทำให้เป็นการขัดต่อความเชื่อถือของเขา พระพุทธศาสนาจึงเหมาะสมกับคนชั้นกลางมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ (หมายถึงชาวอินเดีย)
    5. เพราะพระพุทธศาสนารับเอาลัทธิตันตระของฮินดูมาปฏิบัติ ซึ่งเป็นการขัดต่อคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา

    เหตุภายนอก
    1. การมุ่งร้ายของพวกลัทธิศาสนาพราหมณ์ ซึ่งหาโอกาสทำลายพระพุทธศาสนาอยู่ตลอดเวลา คัมภีร์ปุราณะของพราหมณ์ได้ประกาศออกมาว่า “การเห็นพระในพุทธศาสนาทุกครั้งแม่แต่ในความฝัน เป็นอัปมงคล ควรหลีกเลี่ยงเสีย” และได้วางกฎไว้ว่า “การเข้าไปในบ้านของชาวพุทธถือเป็นบาปหนักของพวกพราหมณ์”ในยุคหลัง ๆ นักปราชญ์ทางฮินดูหลายคนโจมตีพระพุทธศาสนาอย่างรุนแรง นักปราชญ์เหล่านั้นเป็นที่นิยมนับถือของชาวอินเดียส่วนใหญ่ คนส่วนมากเชื่อถือ จึงเลื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนาไปด้วย พวกที่ไม่เลื่อมใสอยู่แล้วก็หันหลังให้ทีเดียว
    2. ถูกศาสนาพราหมณ์กลืน เมื่อศาสนาพราหมณ์ฟื้นฟูแล้ว เอาหลักธรรมสำคัญ ๆ ของพระพุทธศาสนาไปสั่งสอน และอ้างว่าเป็นหลักธรรมของพราหมณ์ เพราะศาสนาพราหมณ์มีมาก่อน ดังที่พราหมณ์ชื่อสังกราจารย์ ซึ่งเป็นนักปราชญ์และนักสอนศาสนาคนสำคัญของฮินดู ท่านผู้นี้ได้เอาหลักปรัชญาของศาสนาต่าง ๆ ในอินเดีย รวมทั้งของพระพุทธศาสนาด้วย เข้าผสมผสานกัน แล้วได้ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นเป็นนารายณ์อวตารอีกปางหนึ่ง คือ ปางที่ 9 แล้วกล่าวอ้างว่า พระพุทธศาสนากับศาสนาฮินดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ครั้งนี้ ศาสนาพุทธถูกศาสนาพราหมณ์กลืนเสียสนิท ประชาชนได้หันไปนับถือศาสนาฮินดูมากขึ้นตามลำดับ จนลืมพระพุทธศาสนากษัตริย์อินเดียในยุคนั้น แม้จะนับถือพระพุทธศาสนาก็หาได้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเดียวไม่ นับถือพราหมณ์ควบคู่ไปด้วย สร้างเทวรูปและพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในที่เดียวกัน และรูปพระโพธิสัตว์ของมหายานมีลักษณะคล้ายเทวรูปของพราหมณ์มาก พระเจ้าหรรษะวรรธนะ ซึ่งเป็นอุปถัมภกองค์สำคัญของพระพุทธศาสนานั้นนอกจากบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ยังบูชาพระศิวะและรูปพระอาทิตย์ด้วย กษัตริย์ราชวงศ์ปาละของเบงกลอลก็ทำนองเดียวกัน แม้จะอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา แต่ก็ไม่เคยห่างลัทธิพราหมณ์เลยรวมความว่าพุทธกับพราหมณ์ในสมัยนั้น สับสนปนเปกันจนไม่รู้ไหนพุทธไหนพราหมณ์ ในที่สุดสิ่งที่ใหญ่กว่าก็กลืนสิ่งที่เล็กกว่า คือพุทธศาสนาถูกกลืนหายเข้าไปในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู
    3. ขาดผู้อุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาเจริญและดำรงมาได้ก็เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินให้ความอุปถัมภ์บำรุง เมื่อสิ้นกษัตริย์ผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว ทำให้พระพุทธศาสนาต้องขาดผู้อุปถัมภ์ ไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริม ซึ่งพอจะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนาได้เจริญในรัชกาลของพระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้ามิลินท์ และพระเจ้ากนิษกะ เป็นต้น ซึ่งกษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์นี้ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก

    4. การทำลายล้างของกษัตริย์นอกพระพุทธศาสนา ข้อนี้ได้ทำเป็นระยะ ไ ไม่ได้ทำติดต่อกัน เริ่มตั้งแต่พระเจ้าปุษยมิตร มาจนถึงการการทำลายล้างของพวกฮั่นหรือตาต เผ่ามองโกลที่เข้ามารุกรานอินเดีย กษัตริย์องค์หนึ่งของพวกฮั่น มีนิสัยโหดร้ายทารุณ นับถือศาสนาพราหมณ์นิกายไศวะ บูชาพระศิวะ ไม่พอใจพระพุทธศาสนา ทำลายล้างพุทธศาสนสถานเสียถึง 1,600 แห่ง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 ตอนปลายพระเจ้าศศางกะอีกองค์หนึ่ง เป็นกษัตริย์ที่มุ่งทำลายล้างพระพุทธศาสนา เป็นคนในวรรณะพราหมณ์ นับถือศาสนาพราหมณ์นิกายไศวะ ทรยศปลงพระชนม์พระเจ้าราชยวรรธนะ แห่งแคว้นเบงกอลแล้วขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายทารุณ ได้กำจัดพระสงฆ์ในนครกุสินาราเสียสิ้น นอกจากนี้ยังโยนรอยพระพุทธบาทซึ่งทำด้วยศิลาที่เมืองปาฏลีบุตรลงแม่น้ำคงคา และโค่นต้นศรีมหาโพธิ์ (ต้นที่ 2) ที่พุทธคยาจนถึงรากแล้วยังเอาไฟสุมส่วนที่เหลือเพื่อไม่ให้งอกขึ้นอีก ทรงให้ย้ายพระพุทธรูปสำคัญออกจากพุทธคยานั้น แล้วให้เอาศิวลึงค์เข้าไปประดิษฐานไว้ท่ามกลางวิหาร (ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2500 นี่เอง รัฐบาลอินเดียจึงให้เอาศิวลึงค์ออกไป แล้วนำพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้อย่างเดิม) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นราวกลาง ๆ พุทธศตวรรษที่ 12
    5. การทำลายล้างของพวกมุสลิม ตกปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ดมฮัมหมัดเบนกาซิม ขุนพลอิสลามได้ยกกองทัพจากด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย เข้าโจมตีแคว้นสินธุและแคว้นมลตาน เข้ายึดครองบริเวณนี้ไว้ตั้งราชวงศ์อิสลามขึ้นเป็นเวลานานถึง 3 ศตวรรษ เจ้าครองนครของอินเดียเวลานั้น ได้ผนึกกำลังกันต่อต้านการบุกของอิสลามอย่างเหนียวแน่น เพื่อมิให้กองทัพอิสลามล่วงล้ำเข้าไปในลุ่มแม่น้ำคงคาคราวหนึ่งที่แคว้นราชสถาน สงครามระหว่างฮินดูกับอิสลามระเบิดขึ้น พวกเจ้าราชบุตร คือพวกวรรณะกษัตริย์ชาวฮินดูได้ต่อสู้อย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยวตามอุดมคติที่ว่าต้อนรับมิตรอย่างดีที่สุด ไม่หันหลังให้ศัตรู ไม่รู้จักคำว่ายอมแพ้ ถือสัตย์ยิ่งกว่าชีวิต แต่พวกราชบุตรพ่ายแพ้ตายในที่รบหมด ชายาของท่านเหล่านั้นไม่ยอมตกเป็นเชลยของอิสลาม ได้ก่อไฟขึ้นแล้วกะโดดเข้ากองไฟหมดทุกคนคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนาก็พลอยย่อยยับไปด้วย วัดในพระพุทธศาสนาในภาคตะวันตกของอินเดียมีเป็นจำนวนหมื่นถูกพวกอิสลามเผาผลาญหมด ทรัพย์สมบัติใดที่พอขนเอาได้ก็เอาไป พระสงฆ์จำนวนแสนหนีเข้าแคว้นเบงกอลและมคธ
    พุทธศตวรรษที่ 15 อิสลามยึดเดลฮีได้ พุทธศตวรรษที่ 16 อินเดียภาคเหนือส่วนใหญ่ตกอยู่ใต้อำนาจของอิสลาม ราชวงศ์อินเดียส่วนมาก แม้จะยังไม่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็มิได้นับถือพระพุทธศาสนา มีแต่ราชวงศ์ปาละในมคธและเบงกอลเท่านั้นที่ยังนับถือพระพุทธศาสนาอยู่ ราชวงศ์ปาละเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะการอุปถัมภ์ของราชวงศ์นี้ มหาวิทยาลัยสงฆ์หลายแห่งในมคธและเบงกอลจึงยังพอทรงตัวอยู่ได้เช่น มหาวิทยาลัยนาลันทา วิกรมศิลา โอทันตบุรี
    ที่ 16 อินเดียภาคเหนือส่วนใหญ่ตกอยู่ใต้อำนาจของอิสลาม ราชวงศ์อินเดียส่วนมาก แม้จะยังไม่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็มิได้นับถือพระพุทธศาสนา มีแต่ราชวงศ์ปาละในมคธและเบงกอลเท่านั้นที่ยังนับถือพระพุทธศาสนาอยู่ ราชวงศ์ปาละเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะการอุปถัมภ์ของราชวงศ์นี้ มหาวิทยาลัยสงฆ์หลายแห่งในมคธและเบงกอลจึงยังพอทรงตัวอยู่ได้เช่น มหาวิทยาลัยนาลันทา วิกรมศิลา โอทันตบุรี
    พระเจ้ายักษปาละเป็นกษัตริย์สุดท้ายของราชวงศ์ปาละ พราหมณ์เสนาบดีผู้หนึ่งชื่อราวเสนเป็นกบฏทำลายราชวงศ์ปาละลง ตั้งเสนวงศ์ขึ้น ราชวงศ์เสนะเป็นฮินดู พระพุทธศาสนาจึงขาดผู้ครองเมืองอุปถัมภ์ เวลาใกล้ ๆ กันนั้นเองกองทัพอิสลามภายใต้การนำของแม่ทัพชื่อ ภักติยาร์ และขิลจี บุตรชาย ได้บุกมคธ เผามหาวิทยาลัยนาลันทา วิกรมศิลา ปล้นเอาทรัพย์สินสมบัติของวัดต่าง ๆ ฆ่าฟันภิกษุสงฆ์ทุกรูปที่พบเห็น พระพุทธศาสนาซึ่งเหลืออยู่เป็นจุดสุดท้ายในแห่งนี้ถูกถอนรากถอนโคนจนไม่มีอะไรเหลืออีก ภิกษุสงฆ์ที่รอดตายได้หนีไปในเนปาลและธิเบต ไม่มีผู้ใดกล้ากลับมาอินเดียอีก
    พุทธศาสนาซึ่งเกิดในอินเดีย เจริญและเสื่อมอยู่ในอินเดียเป็นเวลา 1,700 ปี ก็อวสานลงด้วยภัยต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว

    ยุคมืดพระพุทธศาสนาในอินเดีย?
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ศาสนาพุทธลัทธิตันตระ

    ลัทธิพุทธตันตระ เป็นนิกายที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู นิกายนี้ถือกำเนิดในราวสมัยราชวงศ์คุปตะ แต่มาแพร่หลายหลังพุทธศตวรรษที่ 10-11 โดยซึมซาบเอาความเชื่อดั้งเดิมในจารีตวรรณกรรม และผสมปรัชญาพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาแบบตันตระถือเป็นวิวัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ในอินเดียมีชื่ออื่นอีก เช่น มนตรยาน รหัสยาน คุยหยาน สหัชยาน เน้นเวทมนตร์คาถามากกว่านิกายอื่นๆ
    ลัทธิพุทธตันตระมีคำสอนที่ต่างจากพุทธศาสนาแบบเดิมมากขึ้น ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะจะดึงศาสนิกจากฮินดูให้มานับถือด้วย แต่การกระทำเช่นนี้ทำให้คุณภาพของศาสนิกเสื่อมลง กลายเป็นว่าศาสนิกเริ่มเบื่อกับคำสอน และท้ายที่สุด คือถูกฮินดูกลืนจนแยกไม่ออกว่าเป็นชาวพุทธหรือชาวฮินดู จนศาสนิกไม่เห็นความแตกต่างระหว่างการนับถือฮินดูหรือพุทธ

    การพัฒนาการ 3 ระดับของพุทธแบบตันตระ
    • ระยะที่ 1 มันตรยาน
    <DL><DD>เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9- 10 จากนั้นก็พัฒนาการนำสิ่งใหม่เข้ามาสู่พุทธศาสนามีพิธีกรรมทางไสยศาสตร์เพื่อการบรรลุธรรม โดยนำเอา มันตระ มุทรา มัณฑละ และเทพเจ้าเข้ามาในพุทธศาสนาอย่างไม่เป็นระบบ เช่น การท่องบ่นมนต์ หรือ ธารณีแตกต่างกัน บูชาเทพเจ้า หรือพระโพธิสัตว์องค์ใดก็ได้ แล้วทำเครื่องหมาย มุทรา หรือนิ้วมือให้ถูกต้องก็จะศักดิ์สิทธิ์หรือสำเร็จผลได้ </DD></DL>
    • ระยะที่ 2 วัชรยาน
    <DL><DD>พระพุทธศาสนานิกายนี้ได้พัฒนาคำสอนเป็นระบบตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 โดยผสมผสานกับคำสอนเดิมทุกสายกับหลักของพระเจ้า 5 พระองค์ มีอาทิพุทธะ เป็นต้น หลักการปฏิบัติเด่นชัด คือ สหัชญาณ เหมือนกับพุทธนิกายเซนในจีน คือเน้นการปฏิบัติ รู้แจ้งภายใน ถ่ายทอดผ่านคำปริศนาไม่ผูกมัดตัวเองด้วยคำสอนเก่า หรือคำสอนจำกัดแบบตายตัว วัชรยานนี้มีในทิเบต และภูฏานในปัจจุบัน </DD></DL>
    • ระยะที่ 3 กาลจักร หรือ กาฬจักร
    <DL><DD>หมายถึงวงล้อแห่งเวลา เป็นพัฒนาการยุคสุดท้ายของพุทธศาสนาแบบตันตระ โดยประสานความคิดที่แตกแยกกัน และเน้นโหราศาสตร์ ถือว่ามีศักติประจำพระพุทธเจ้า พระอิศวรปางดุร้าย และพระโพธิสัตว์ปางดุร้ายพร้อมกับมีธรรมบาล หรือยิดัมคุ้มครองรักษา กาฬจักรนี้เคยรุ่งเรืองในอินโดนีเซียมาก่อนศาสนาอิสลามจะมีอิทธิพล </DD></DL>หลักธรรมสำคัญ

    การเปลี่ยนศีล 5 เป็น ม.ทั้ง 5

    การปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นในนิพพานนั้น ต้องเข้าถึง ศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยอริยมรรคเป็นองค์แปดนั้น วัชรยานถือว่าการหลุดพ้นคือการเสพกามอันศักดิ์สัทธิ์กับโยนิ นักสิทธะควรบำรุงด้วย ม.ทั้ง 5 คือ
    1. มัทยะ คือ น้ำเมา
    2. มางสะ คือ เนื้อ
    3. มัศยา คือ ปลา
    4. มุทรา คือ การยั่วให้เกิดกำหนัด
    5. ไมถุนธรรม คือ เมถุนธรรม
    ในหนังสือคุรุมาสได้สอนให้มีการเหยียบย่ำแม้กระทั่งศีล 5 สนับสนุนให้มีการฆ่า การลัก การเสพเมถุนธรรม และการดื่มน้ำเมา ผู้ที่จะเข้าทำตามพิธีลัทธิตันตระจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะถือว่าเป็นการบูชาศักติ ในสถานที่บางแห่ง เมื่อผู้หญิงจะไหว้พระ จะต้องเปลื้องเครื่องแต่งตัวออกทั้งหมด แล้วแสดงการร่ายรำไปจนเสร็จพิธี
    พระสงฆ์ในลัทธิ

    พระในที่นี้ไม่เรียกว่าภิกษุ แต่เรียกว่า นักสิทธะ และถือว่า การปฏิบัติตนตามอำนาจของราคะบุตรผู้บำเพ็ญตนเป็นโพธิสัตว์ย่อมกระทำได้ พุทธศาสนายุคนี้ ได้เกิดสัทธรรมปฏิรูปมากกว่าเดิม พระสงฆ์ทำตนเหมือนพ่อมดหมอผีขมังเวทย์มากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของชาวบ้านธรรมดา ที่ไม่เห็นคุณค่าหลักธรรมที่แท้จริง สิทธะทื่มีชื่อเสียงในยุคนั้น คือ สิทธะมาตังคี สิทธะอานันทวันทะวัชระ สิทธะญาณปาทะ เป็นต้น ต่อมาสิทธะได้แยกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
    • กลุ่มทักษิณาจารี
    <DL><DD>ทักษิณาจารี แปลว่า ผู้ประพฤติด้านขวา พวกนี้ยังประพฤติตนตามพระธรรมวินัย ยังรักษาพรหมจรรย์ ยังรักษาสถานะความเป็นสงฆ์ได้มากพอสมควร </DD></DL>
    • กลุ่มวามจารี
    <DL><DD>วามจารี แปลว่า ผู้ประพฤติด้านซ้าย พวกนี้ ประพฤติตนเลอะเลือนไม่รักษาพรหมจรรย์ มีภรรยามีครอบครัว ทำตนเป็นพ่อมดหมอผีมากขึ้น ชอบอาศัยอยู่ในป่าช้า ใช้หัวกะโหลกเป็นบาตร มีภาษาลึกลับใช้สื่อสาร เรียกว่า สนธยาภาษา เกณฑ์ให้พระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ มีศักติ คือ ภรรยาคู่บารมี พระพุทธปฏิมาก็มีปางกอดศักติ พวกเขาถือว่า การที่จะบรรลุพระนิพพานได้ ต้องมีธาตุชาย และหญิงมาผสมผสานกัน คือ ธาตุชายเป็นอุบาย ธาตุหญิงเป็นปรัชญา เพราะฉะนั้นอุบายต้องบวกกับปรัชญา จึงจะบรรลุพระนิพพานได้ </DD></DL>พุทธตันตระในประเทศต่างๆ

    ทิเบต:วัชรยาน

    บทความหลัก: วัชรยาน
    ในทิเบต คำสอนเกี่ยวพุทธตันตระได้พัฒนาไปเป็นวัชรยาน โดยมีการแบ่งเป็นนิกายย่อยๆอีกมาก
    จีน: นิกายเชนเหยนหรือมี่จุง

    ผู้นำคำสอนนิกายพุทธตันตระเข้าสู่ประเทศจีนคือ ศุกรสิงหะซึ่งเข้าสู่จีนเมื่อ พ.ศ. 1259 ต่อมาได้มีคณาจารย์สำคัญเช่น วัชรโพธิ์ และอโมฆวัชระเข้ามาเผยแพร่คำสอนอีก นิกายนี้ได้รับการส่งเสริมมากเมื่อมองโกลเข้ามามีอำนาจในจีน จากนั้นได้เสื่อมไป
    ญี่ปุ่น: นิกายชินงอน

    ก่อตั้งโดยคูไค ซึ่งมีนามว่า โคโบ ไดจิหลังจากมรณภาพ โดยรับคำสอนผ่านทางนิกายเชนเหยนในจีน ได้รวมเอาความเชื่อในศาสนาชินโตเข้าไว้ด้วย

    ศาสนาพุทธลัทธิตันตระ - วิกิพีเดีย
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พุทธศาสนานิกายตันตระ คืออะไร เกี่ยวข้องกับการล่มสลายของพุทธศาสนาในอินเดียอย่างไร

    พุทธศาสนานิกายตันตระ คืออะไร เกี่ยวข้องกับการล่มสลายของพุทธศาสนาในอินเดียอย่างไร
    พุทธศาสนานิกายตันตระ เป็น นิกายที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู นิกายนี้ถือกำเนิดในราวสมัยราชวงศ์คุปตะ แต่มาแพร่หลายหลังพุทธศตวรรษที่ 10-11 โดยซึมซาบเอาความเชื่อดั้งเดิมในจารีตวรรณกรรม และผสมปรัชญาพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาแบบตันตระถือเป็นวิวัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ในอินเดียมีชื่อ อื่นอีก เช่น มนตรยาน รหัสยาน คุยหยาน สหัชยาน เน้นเวทมนตร์คาถามากกว่านิกายอื่นๆ พุทธตันตระมีคำสอนที่ต่าง จากพุทธศาสนาแบบเดิมมากขึ้น ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะจะดึงศาสนิกจากฮินดูให้มานับถือด้วย แต่การกระทำเช่นนี้ทำให้คุณภาพของศาสนิกเสื่อมลง กลายเป็นว่าศาสนิกเริ่มเบื่อกับคำสอน และท้ายที่สุด คือถูกฮินดูกลืนจนแยกไม่ออกว่าเป็นชาวพุทธหรือชาวฮินดู จนศาสนิกไม่เห็นความแตกต่างระหว่างการนับถือฮินดูหรือพุทธ
    เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก มีอาทิในประเทศอินเดีย อียิปต์ ประเทศจีนยุคกลาง ในตะวันออกกลาง ยุโรป สหรัฐอเมริกา (ล่าสุดในญี่ปุ่น ได้แก่กรณี อัมชินริเกียว - Aum Shinrikyo ซึ่งได้สร้างความหายนะทั้งในชีวิตและทรัพย์สินแก่ชาวญี่ปุ่นอย่างมหาศาล) ชี้ให้เราเห็นว่า ความเชื่อลัทธิทางศาสนานั้น มีอิทธิพลอย่างมากมายต่อพฤติกรรมในชีวิตของมนุษย์ พิธีกรรมหรือวัตรปฏิบัติ อันเกิดจากความเชื่อทางศาสนามากมายหลายกรณี ซึ่งแรกเริ่มเดิมที เกิดจากเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อันดีงาม เป็นบุญกุศล แต่พอกาลเวลาล่วงเลยไป กิเลสของคนกลับแปรเปลี่ยนให้พิธีกรรมหรือ วัตรปฏิบัติเหล่านั้น หันเหไปในทางที่เลวทรามต่ำช้าสุดที่จะพรรณนา พุทธตันตระเองก็เป็นวิวัฒนาการขั้นต่อมาในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน อาจกล่าวได้ว่า ตันตระเป็นลัทธิความเชื่อและวัตรปฏิบัติที่นำ พุทธศาสนาไปสู่ความหายนะขั้นสุดท้ายในประเทศอินเดีย
    ตันตระประกอบด้วยคำสอนหลัก ๕ ประการ ที่มีชื่อว่า “๕ ม” มี (๑) มัทยะ - เหล้า (๒) มางสะ - เนื้อ (๓) มัตสยะ - ปลา (๔) มุทรา - ท่าทาง ยั่วให้เกิดกำหนัดราคะ ความต้องการทางเพศ(๕) ไมถุน - การเสพสังวาส
    ผู้ที่เชื่อในหลักคำสอนของตันตระจะต้องใช้ “๕ ม” นี้ประกอบ และต่อมาเกิดการบูชากราบไหว้ ทรงเจ้า เข้าผี คาถาอาคม กันมาก พระสงฆ์ พุทธศาสนิกชน ไม่สนใจปฏิบัติตามแก่นธรรม จึงเกืดภาวะผุกร่อนภายในพระพุทธศาสนาเอง เป็นอันว่าพุทธตันตระยานเป็นสาเหตุภายในเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามพุทธธรรมคำสอน แต่ไปปฏิบัติตามไสยศาสตร์ หรือทำพิธี มัวเมาในลาภสักการะ ด้วยเหตุนี้ พุทธตรันตระจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมและสูญไปจากอินเดียพุทธศาสนาในอินเดียจึงถึงซึ่งกาลอวสานด้วยตันตระ ตันตระนั้นคือลัทธิที่สอนให้คนเชื่อในเวทย์มนต์คาถาอาคม การทรงเจ้าเข้าผี ตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่างที่รวมอยู่ในไสยศาสตร์ ไสยเวท อันมีกำเนิดจากคัมภีร์อาถรรพเวทของพราหมณ์ และอยู่นอกเหนือวิสัยของปุถุชนคนธรรมดา อาจกล่าวได้ว่า ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๘ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ชาวอินเดียทั้งประเทศซึ่งเดิมเคยนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ ต่างก็ตกอยู่ในความครอบงำของลัทธิตันตระอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทั้งนี้ไม่เฉพาะแต่สามัญชนคนธรรมดาเท่านั้น หากชนชั้นสูงรวมทั้งชนชั้นผู้ปกครองด้วยก็เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนาในอินเดียจึงได้ดำเนินไปถึงจุดเสื่อมและล่มสลายในที่สุด
    อ้างอิง
    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำค้น พุทธศาสนาลัทธิตันตระ
     

แชร์หน้านี้

Loading...