บทบาทของช้างกับพระธรรม

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย brushed, 15 สิงหาคม 2008.

  1. brushed

    brushed เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    497
    ค่าพลัง:
    +648
    บทบาทของช้างกับพระธรรม หรือพระธรรมเทศนาต่างๆ
    ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พุทธบริษัท 4 คือ
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
    ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลา 45 พรรษา
    ที่พระพุทธองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายเพื่อเผยแผ่พระศาสนานั้นเรื่องราวของ
    ช้างมักถูกหยิบยกนำมาสอนพุทธสาวกเป็นประจำ


    --ใช้เรียกบุคคลที่ชื่อว่านาคะ (ช้างตัวประเสริฐ)
    คำว่านาค แปลว่า ช้าง งู ผู้ประเสริฐ เป็นไปในอรรถ 3 ประการ
    อนึ่ง นาค ในความหมายว่างูนั้นั้งฝ่ายพราหมณ์ และพุทธศาสนาถื่อว่า
    ชาติของงูมีภพอยู่ใต้บาดาล โดยเฉพาะพุทธศาสนา โดยปรกติจะเป็นงู
    แต่สามารถจำแลงเป็นมนุษย์ได้ตามใจและชอบ
    เล่าเรื่องไว้ในที่นั้นๆเป็นอันมากว่า ซึ่งมีเจ้าแห่งนาคนี้
    มีชื่อว่า ท้าววิรูปักข์
    ส่วน นาค ในความหมายของช้าง หมายถึง ช้างพลายหรือ ช้างตัวประเสริฐ
    ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาแบ่งออกได้ 10 ตระกูล
    และในบรรดาช้างทั้ง 10 ตระกูลนั้น
    ตระกูลที่มีความสำคัญ
    มี่อยู่ 2 ตระกูล ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นช้างที่ประเสริฐกว่าตระกูลอื่นๆ คือ
    ช้างตระกูลอุโบสถหัตถี และตระกูลฉัททันต์ และ นาค
    ในความหมายว่าประเสริฐหรือสูงสุดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
    จะทรงนำมาอธิบายตามแนวคิดของพระพุทธศาสนา
    ซึ่งความหมายดังกล่าวนี้ถือว่ามีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาได้แก่
    เรียกบุคคลที่ชื่อว่า นาค เพราะไม่มีทิฏฐิ หรือ ความเห็นผิด
    และ เพราะไม่ยึดมั่นในมิจฉาทิฏฐิเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ดังที่สมเด็จพระสัมมามัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า
    " บุคคลที่ชื่อว่านาค สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก
    บุคคลชื่อว่า นาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว ดอกบัวมีก้านขรุขระ
    เกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่เข้าไปติดฉันใด
    มุนีผู้กล่าว ความสงบ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ฉันนั้น "

    จากพุทธพจน์ข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสยกย่อง
    บุคคลที่ชื่อว่านาค เพราะมีความหมาย 2 ประการ คือ
    ---เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิ หรือ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ที่
    เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ ในการดำรงชีวิต ดังที่ท่านได้อธิบายไว้
    คำว่าสงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก มีความหมายว่า
    คำว่าเหล่าใด ได้แก่ทิฏฐิทั้งหลาย คำว่าสงัดแล้ว ความว่า สงัด
    ว่างเปล่าเปล่าจากกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ เป็นต้น
    อกุสลาภิสังขารทั้งปวง คำว่าพึงเทียวไป ความว่า
    พึงเที่ยวไปอยู่ผลัดเปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง
    ยังชีวิตให้เป็นไป คำว่า ในโลก ได้แก่ ในมนุษย์โลก เพราะฉะนั้นจึงว่า
    สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก.
    --- เป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
    อย่างใดอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต
    ซึ่งคำว่า นาค ในความหมายนี้ มีความหมาย 3 ประการ
    คือ ไม่ทำความชั่ว ไม่ถึง ไม่มา

    -บุคคลชื่อว่า "นาค" เพราะไม่ทำความชั่วหรือไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง
    -บุคคลชื่อว่า "นาค" เพราะไม่ดำเนินชีวิตไปตามอคติ
    -บุคคลชื่อว่า นาค เพราะอรรถว่า ไม่ถึง อย่างไร ?
    -บุคคลชื่อว่า นาค ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ
    ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งราคะ ชื่อว่านาคเพราะ
    อรรถว่าไม่ถึงอย่างนี้.
    -บุคคลชื่อว่า "นาค " เพราะอรรถว่า ไม่มา อย่างไร?
    กิเลสเหล่าใดอันบุคคลได้ละแล้วด้วยโสดาปัตติมรรค
    บุคคลนั้นย่อมไม่มา ไม่ย้อนมา ไม่กลับมา สู่กิเลสเหล่านั้นอีก
    กิเลสเหล่าใดอันบุคคลละได้แล้ว ด้วย สกิทาคามิมรรค
    ด้วยอนาคามิมรรค ด้วยอรหัตตมรรค บุคคลนั้นย่อมไม่มา
    ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก
    บุคคลนั้นชื่อว่า " นาค "เพราะอรรถว่า ไม่มาอย่างนี้
    อนึ่ง นอกจากจะเรียกบุคคลว่า นาค แล้วท่านยังเรียก
    พระปัจเจกพุทธเจ้า ว่า นาค อีกด้วย.

    เรียกพระองค์เองว่า "นาค " ( ช้างตัวประเสริฐ )คือ
    - ชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทรงทำชั่ว

    - ชื่อว่า นาคะ เพราะมีคุณธรรมเปรียบด้วยอวัยวะของช้างตัวประเสริฐ
    เช่นมี โสรัจจะ และอวิหิงสาเป็นเท้าหน้าทั้งสอง
    มีตบะและพรหมจรรย์เป็นเท้าหลังทั้งสอง เป็นต้น

    - ชื่อว่า นาคะ เพราะทรงมีฌาน ทรงยินดีในลมอัสสาสะ ปัสสาสะ(ผลสมาบัติ)
    มีจิตตั้งมั่นทุกขณะ และสำรวมในทวารทั้งปวง

    - ชื่อว่า นาคะ เพราะเสวยแต่สิ่งไม่มีโทษ ทรงตัดสังโยชน์ทั้งปวง

    - ชื่อว่า นาคะ เพราะไม่มีกิเลสและตัดอาสวะทั้งปวง เมื่อละสรีระจักปรินิพพาน

    เปรียบพระองค์เองด้วยช้าง
    -เปรียบพระองค์เองด้วยช้างที่มีความอดทน
    ข้ออุปมานี้เป็นพุทธดำรัสที่ตรัสกับพระอานนท์เถระ
    อันสืบเนื่องมาจากพระนางมาคันทิยาอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน
    มีความอาฆาตแค้นกับพระพุทธเจ้า
    ในคราวที่พระพุทธองค์ตรัสปฏิเสธพราหมณ์บิดามารดาของพระนาง
    ที่นำตนเองไปถวายให้เป็นภรรยาของพระผู้มีพระภาค
    แต่พระองค์กลับตรัสปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่อใยว่า

    "เรามิได้พอใจในเมถุน เพราะเห็นนาง ตัณหา
    นางอรดีและนางราคา ไฉนเล่า จักมีความพอใจเพราะเห็นธิดาของท่านนี้
    ซึ่งเต็มไปด้วยมูตร และ กรีส เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องธิดาของท่าน
    นี้แม้ด้วยเท้า"

    แม้พราหมณ์และพราหมณี ผู้เป็นบิดา มารดา ของนางจะบรรลุ อนาคามิผล
    แต่นางกลับมีความโกรษและอาฆาตแค้นพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้น
    ยิ่งเมืองนางได้เป็นอัครมเหสีของพระราชา และพระนางสามาวดี
    ผู้อัครมเหสีอีกพระองค์ของพระราชา
    เป็นพุทธสาวิกาของพระพุทธองค์อีกด้วยแล้วพระนางก็ยิ่งโกรษแค้นยิ่งขึ้น
    จึงปราถนาที่จะทำลายพระนางสามาวดีและพระพุทธเจ้า
    เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในนครโกสัมพีก็ได้ว่าจ้างชาวเมืองให้บริภาษ(ด่า) พระพุทธองค์ต่างๆนานา ด้วยวัตถุ 10 ประการ
    มีเจ้าเป็นโจร เป็นพาล เป็นบ้า เป็นต้น จนพระอานนท์เถระ
    ทนไม่ไหวกราบทูลให้เสด็จหนีไปยังพระนครอื่น แต่พระองค์กลับตรัสว่า
    การกระทำอย่างนั้นไม่ควร อธิกรณ์เกิดขึ้นที่ใด ก็ให้สงบในที่นั้น
    ประชาชนทั้งหลายจักด่าพระองค์ได้เพียงเจ็ดวันเท่านั้น
    ในวันที่ เจ็ด ก็จักสงบหายไปเอง
    เพราะอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ไม่เกิน เจ็ด วันเท่านั้น
    แล้วตรัสสอนพระอานนท์ด้วยอุปมาของช้างในสงครามว่า

    " อานนท์ เราเป็นเช่นกับช้างก้าวลงสู่สงคราม ก็การอดทนลูกศรอันมาจากสี่ทิศ
    ย่อมเป็นภาระของช้างซึ่งก้าวลงสู่สงครามฉันใด
    ชื่อว่าการอดทนต่อถ้อยคำอันคนทุศีลเป็นอันมากกล่าวแล้ว
    ก็เป็นภาระของเราฉันนั้นเหมือนกัน "

    จากนั้นจึงปรารภพระองค์ แสดงธรรมภาษิตด้วย คาถา3 เหล่านี้ในนาควรรคว่า

    " เราจักอดกลั้นถ้วยคำล่วงเกิน ดังช้างอดทนลูกศร
    ซึ่งตกไปจากแล่งในสงคราม เพราะคนอันมากเป็นผู้ทุศีล
    ราชบุรุษทั้งหลาย ย่อมนำพาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม
    พระราชาย่อมเสด็จขึ้นพาหนะที่ฝึกแล้ว
    ในหมู่มนุษย์ผู้ใดอดกลั้นถ้วยคำล่วงเกินได้
    ผู้นั้นชื่อว่าฝึก(ตน)แล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุด
    ม้าอัสดรที่ฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ ม้าอาไนย ม้าสินธพ
    ที่ฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ
    พระยาช้างชาติกุญชรที่ฝึกแล้ว ก็เป็นสัตว์ประเสริฐ(แต่)
    ผู้ฝึกตนเองได้แล้วประเสริฐกว่านั้น "

    -เปรียบเทียบพระปัจเจกพุทธเจ้าละออกจากหมู่เหมือนช้างตัวประเสริฐ
    ละออกจากโขลง
    " พระปัจเจกพระพุทธเจ้าละแล้วซึ่งหมู่ทั้งหลาย
    มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีธรรมดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง
    ย่อมอยู่ในป่าภิรมย์เหมือนนาคะ
    ละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย มีขันธ์เกิดขึ้นพร้อมแล้ว
    มีตัวดังดอกบัวเป็นผู้ยิ่ง อยู่ในป่าตามอภิรมย์
    พึงเทียวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น "

    ภาษิตดังกล่าวข้างต้นมีอรรถอธิบายไว้ว่า ช้างตัวประเสริฐท่านเรียกว่า
    นาคะ อนึ่งพระปัจเจกพระพุทธเจ้าชื่อว่า นาคะ
    เพราะเหต่ว่าไม่กระทำความชั่ว เพราะเหตุว่าไม่ถึงและเพราะเหตุว่าไม่มา.

    เปรียบพระอริยาบถของพระพุทธเจ้าเหมือนช้าง
    บรรดาพระอริยาบถเหล่านั้นที่มีปรากฏตามหลักฐานทางพระพุทธศาสนาได้แก่
    เปรียบการแลดูเหมือนอย่างช้าง(นาคาวโลกน์)
    อาการนาคาวโลกน์คือ การชำเลืองดูโดยอาการอย่างช้างตัวประเสริฐนี้
    เป็นพระอริยาบถของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์เท่านั้น
    ด้วยลักษณะพิเศษทางสรีรวิทยาที่แตกต่างจากมหาชน
    และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั่วไป
    กล่าวคือ กระดูกต้นคอของชนทั่วไปจะมีปลายจดกันอยู่และของพระปัจเจกพุทธเจ้า
    ตรงปลายเป็นขอ จึงสามารถเอี้ยวคอไปมองข้างหลังได้
    แต่สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เป็นอย่างนั้น
    เพราะกระดูกตรงต้นพระศอจะเป็นพืดเดียวกันหมด
    จึงไม่สามารถเอี้ยวพระศอได้ ต้องหมุนร่างกายทั้งหมดแลดู เหมือนกับพญาช้าง.
    สำหรับพระสมณโคดม สัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา
    ก็ทรงกระทำอิริยาบถนี้เช่นกันซึ่งถือว่าเป็นการกระทำเพียงครั้งเดียว
    ตลอดพระชนม์ชีพ80พรรษา กล่าวคือ
    หลังจากเสวยอาหารมื้อสุดท้ายแล้ว
    พระพุทธเจ้าทรงมีพระอาการประชวรถึงขั้นอาเจียน
    พระวรกายอ่อนล้าลงมาก มีรับสั่งท่ามกลางสงฆ์ว่า
    " อีก 7 วันตถาคตจะปรินิพพาน " แล้วแข็ง
    พระทัยเสด็จนำสงฆ์สาวกเหล่านั้นเสด็จกลับกรุงราชคฤห์
    พอเสด็จพ้นประตูเมือง ภาพที่ทำให้สงฆ์ผู้ตามเสด็จต้องตกตลึงไปตามๆกัน
    พระภิกษุที่ยังไม่บรรลุต่างร้องให้ระงมไปหมด
    คือการกระทำ " นาคาวโลกน์ " ของพระพุทธองค์
    ตามปรกติพระพุทธเจ้าจะประทับสำรวมในทุกอิริยาบถ
    จะทอดสายพระเนตรในแนวพระอังสะ(ไหล่) เท่านั้น
    เมื่อจะเหลียวไปทอดพระเนตรสิ่งใด ทิศทางใดจะหันไปทั้งพระวรกาย
    แต่วันนั้นขณะเสด็จพ้นประตูเมืองราชคฤห์
    ซึ่งทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ของพระชนมายุประทับอยู่
    ทรงเอี้ยวพระศอเหลียวกลับไปทอดพระเนตร
    ประหนึ่งจะทรงสั่งลาและทอดพระเนตร
    เป็นครั้งสุดท้ายพระธรรมบทใช้บรรยายพระอิริยาบถนี้ว่า " นาคาวโลกน์"
    อันหมายถึงอาการเหลียวหลังของช้าง.
     
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,684
    ค่าพลัง:
    +9,239
    "พระยาช้างชาติกุญชรที่ฝึกแล้ว ก็เป็นสัตว์ประเสริฐ(แต่)
    ผู้ฝึกตนเองได้แล้วประเสริฐกว่านั้น "
    ขออนุโมทนาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...