นิทานชาดกพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 3 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุณาลชาดก ว่าด้วยนางนกดุเหว่า 5

    คราวนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นพระเจ้าพกะ เพราะเหตุนั้น เมื่อจะนำเรื่องที่ตนได้ทราบมาแล้วมาแสดง จึงกล่าวว่า

    พระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรีย์หมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วนแล้ว ภริยาของท่านยังประพฤติล่วงกับคนใช้ใกล้ชิดและอยู่ในอำนาจอีก มีหรือที่หญิงจะไม่ประพฤติล่วงคนอื่นนอกจากคนนั้นอีก.

    ยังมีเรื่องอื่นอีกมาก

    ในอดีตกาล อัครมเหสีพระเจ้าพรหมทัตมีนามว่า ปิงคิยานี เปิดสีหบัญชรแลดูไปเห็นคนเลี้ยงม้ามงคล ก็มีจิตปฏิพัทธ์ ครั้งเมื่อ พระเจ้าพรหมทัตบรรทมหลับ ก็ลอบลงทางหน้าต่าง ประพฤติล่วงกับคนเลี้ยงม้าแล้วกลับขึ้นปราสาท ประพรมสรีระด้วยของหอมแล้ว ก็เข้าไปนอนกับพระเจ้าพรหมทัต ต่อมาพระเจ้าพรหมทัตทรงดำริว่า เพราะเหตุอะไรหนอ เวลาเที่ยงคืนสรีระของพระเทวีจึงเย็นเสมอ เห็นทีจะต้องสะกดรอยดู วันหนึ่ง ทรงแสร้งทำอาการเหมือนหลับ พอนางลุกไปพระองค์ก็เสด็จตามไปข้างหลัง ทอดพระเนตรเห็นนางประพฤติล่วงกับคนเลี้ยงม้า แล้วก็เสด็จกลับขึ้นสู่ที่บรรทม ส่วนปิงคิยานีประพฤติล่วงแล้วก็กลับมานอนอยู่ที่นอนน้อย รุ่งเช้า พระเจ้าพรหมทัตให้หานางปิงคิยานีมาแล้ว ทรงชี้โทษให้เห็นแจ้งแล้วตรัสว่า หญิงทั้งปวง ย่อมมีธรรมดาลามกดังนี้แล้ว พระองค์ทรงงดโทษฆ่า จองจำ ตัด ทำลายให้เป็นแต่ถอดออกจากตำแหน่งแล้ว ทรงตั้งหญิงอื่นเป็นพระอัครมเหสี ต่อไป.

    คราวนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต เพราะเหตุนั้น เมื่อจะแสดงถึงเหตุที่ตนเห็นมาเอง จึงกล่าวว่า

    นางปิงคิยานีภรรยาที่รักของพระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นใหญ่แห่งปวงสัตว์โลก ได้ประพฤติล่วงแก่คนเลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิด และเป็นไปในอำนาจแล้ว นางผู้ใคร่ต่อกามนั้น ก็ไม่ได้ประสบกับความใคร่ทั้งสองราย.

    พญานกกุณาละกล่าวโทษหญิงทั้งหลายว่า มีธรรมอันลามกอย่างนี้ อย่างนี้ ดังกับเรื่องอดีตที่ได้พรรณนามาแล้ว เมื่อจะกล่าวโทษแห่งหญิงทั้งหลาย โดยปริยายอื่นอีก จึงกล่าวว่า

    บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ไม่ควรเชื่อหญิงทั้งหลายผู้หยาบช้า ใจเบา อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร หญิงเหล่านั้นไม่รู้จักอุปการคุณที่คนอื่นทำแล้วแก่ตน ไม่รู้จักกิจที่ตนควรทำ

    ไม่รู้จักมารดาบิดาหรือพี่น้อง คือหญิงเหล่านี้ละทิ้งญาติแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ย่อมไม่รู้จักแม้มารดาเป็นต้น เพราะคอยติดตามบุรุษที่ตนมีจิตรักใคร่ผู้เดียวเท่านั้น
    ไม่มีความละอาย ล่วงเสียซึ่งธรรม ย่อมเป็นไปตามอำนาจจิตของตน

    เมื่อมีอันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น ย่อมละทิ้งสามีแม้จะอยู่ด้วยกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่อนุเคราะห์แม้เสมอด้วยชีวิต

    เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย จริงอยู่ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เหมือนเงาไม้ หัวใจของหญิงไหวไปไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน

    เมื่อใด หญิงทั้งหลายผู้มุ่งหวัง เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ เมื่อนั้น ก็ใช้วาจาอ่อนหวานชักนำบุรุษไปได้ เหมือนชาวกัมโพชลวงม้าด้วยสาหร่าย ๑ ฉะนั้น

    เมื่อใด หญิงทั้งหลายผู้มุ่งหวังไม่เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรถือเอาได้ เมื่อนั้น ย่อมละทิ้งบุรุษนั้นไป เหมือนคนข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วละทิ้งแพไป ฉะนั้น
    หญิงทั้งหลายเปรียบด้วยเครื่องผูกรัด กินทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ มีมายากล้าแข็งเหมือนแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว ย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่น่ารักทั้งที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่เลือกฝั่งนี้และฝั่งโน้น ฉะนั้น

    หญิงทั้งหลายไม่ใช่ของบุรุษคนเดียวหรือสองคน ย่อมรับรองทั่วไปเหมือนร้านตลาด ผู้ใดสำคัญมั่นหมายหญิงเหล่านั้นว่า ของเรา ก็เท่ากับดักลมด้วยตาข่าย
    แม่น้ำ หนทาง ร้านเหล้า สภาและบ่อน้ำ ฉันใด หญิงในโลกก็ฉันนั้น เขตแดนของหญิงเหล่านั้นไม่มี

    หญิงทั้งหลายเสมอด้วยไฟกินเปรียง ๒ เปรียบด้วยงูเห่า ๓ ย่อมเลือกคบแต่บุรุษที่มีทรัพย์ เหมือนโคเลือกกินหญ้าที่ดี ๆ ในภายนอก ๔ ฉะนั้น

    ไฟกินเปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระราชาผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ๑ หญิงทั้งปวง ๑ สิ่งทั้ง ๕ นี้ นรชนพึงคบด้วยความระวังเป็นนิตย์ เพราะสิ่งทั้ง ๕ นี้ มีความแน่นอนที่รู้ได้ยากแท้

    หญิงที่งามเกินไป ๑ หญิงที่คนหมู่มากรักใคร่ ๑ หญิงที่เหมือนมือขวา ๕ ๑ หญิงที่เป็นภรรยาคนอื่น ๑ หญิงที่คบหาด้วยเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ๑ หญิง ๕ จำพวกนี้ ไม่ควรคบ.

    ๑ ได้ยินว่า เมื่อชาวกัมโพชทั้งหลายปรารถนาจะจับม้าจากป่า จึงกั้นคอกลงในที่แห่งหนึ่ง ตกแต่งประตูแล้วเอาน้ำผึ้งทาสาหร่ายที่ลอยอยู่บนน้ำ ที่พวกม้าป่าเคยกิน แล้วทอดหญ้าบนฝั่งให้ต่อเนื่องกับสาหร่ายต่อ ๆ ไปจนถึงประตูคอกทาน้ำผึ้งตลอดมา พวกม้าป่าลงไปดื่มน้ำแล้วเที่ยวกินหญ้าทาน้ำผึ้ง ด้วยติดใจในรส ก็ย่อมเข้าไปสู่ที่นั้นโดยลำดับ พวกชาวกัมโพชเหล่านั้น ล่อม้าด้วยสาหร่ายนำไปสู่อำนาจได้ ฉันใด แม้หญิงเหล่านี้เห็นทรัพย์ แล้วย่อมชักนำบุรุษไปสู่อำนาจ ด้วยถ้อยคำอันละเอียดอ่อนหวานเพราะ ต้องการจะเอาทรัพย์นั้นด้วยประการฉะนี้

    ๒ คำว่า เสมอด้วยไฟอันกินเปรียง อธิบายว่า ไฟย่อมไม่อิ่ม ด้วยเชื้อ ฉันใด แม้หญิงเหล่านี้ ก็ย่อมไม่อิ่มด้วยความยินดีในกิเลส ฉันนั้นเหมือนกัน

    ๓ คำว่า อุปมาเหมือนงูเห่า อธิบายว่า หญิง ทั้งหลายเช่นกับหัวงูเห่า ด้วยเหตุ ๕ ประการเหล่านี้ คือ เป็นผู้มักโกรธ ๑ มีพิษร้าย ๑ ผูกโกรธไว้ ๑ มีลิ้นชั่ว ๑ มักจะประทุษร้ายมิตร ๑ บรรดาเหตุ ทั้งหลาย ๕ อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีพิษร้ายเพราะมีความกำหนัดมาก มี ลิ้นชั่ว เพราะคำกล่าวส่อเสียดประทุษร้ายมิตร เพราะมักประพฤตินอกใจสามี

    ๔ คำว่า เหมือนโคที่เลือกกินหญ้าในภายนอก อธิบายว่า โคทั้งหลายละทิ้ง สถานที่ซึ่งตนเคยหากินก็เหมือนกัน ย่อมละทิ้งบุรุษที่หมดทรัพย์สิน แล้วคบ กับชายที่มีทรัพย์คนอื่นต่อไปอีก

    ๕ คำว่า หญิงที่เหมือนมือขวา หมายถึงหญิงที่สันทัดในการฟ้อนรำและการขับร้อง จริงอยู่ หญิงเช่นนั้นย่อม มีคนปรารถนามาก มีเพื่อนมาก เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรคบ

    เมื่อพญานกกุณาละกล่าวอย่างนี้แล้ว มหาชนได้ฟังคาถาอันไพเราะ ของมหาสัตว์ ก็ให้สาธุการว่า น่าชมเชย ท่านกล่าวดีจริง ๆ แม้พญานกกุณาละนั้นได้กล่าวโทษของหญิงทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล้วก็นิ่งอยู่

    พญาแร้งชื่อว่า อานนท์ ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนพญานกกุณาละผู้เป็นสหาย แม้ข้าพเจ้าก็จักขอกล่าวโทษของพวกหญิงตามกำลังความรู้ของข้าพเจ้าบ้าง ว่าแล้วก็ปรารภกถาแสดงโทษต่อไป.

    ถ้าบุรุษจะพึงให้แผ่นดินอันเต็มด้วยทรัพย์นี้ แก่หญิงที่ตนนับถือไซร้ หญิงนั้นได้โอกาสก็จะพึงดูหมิ่นบุรุษนั้น เราจึงไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจของพวกหญิงเผอเรอ
    เมื่อมีอันตรายและเมื่อกิจธุระเกิดขึ้น หญิงย่อมละทิ้งผัวหนุ่มผู้หมั่นขยัน มีความประพฤติไม่เหลาะแหละ เป็นที่รักเป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย

    บุรุษไม่ควรวางใจว่าหญิงคนนี้ปรารถนาเรา ไม่ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ร้องไห้กระซิกกระซี้เรา เพราะว่า หญิงทั้งหลายย่อมคบได้ทั้งบุรุษที่น่ารัก ทั้งบุรุษที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งโน้นฝั่งนี้ ฉะนั้น

    ไม่ควรวิสาสะกับใบไม้ลาดที่เก่า ๖ ไม่ควรวิสาสะกะมิตรเก่าที่เป็นโจร ไม่ควรวิสาสะกะพระราชา เป็นเพื่อนของเรา ไม่ควรวิสาสะกะหญิงแม้จะมีลูก ๑๐ คนแล้ว ไม่ควรวิสาสะในหญิงที่กระทำความยินดีให้ เป็นผู้ล่วงศีลไม่สำรวม
    ถึงแม้ภรรยาจะพึงเป็นผู้มีความรักแน่นแฟ้น ก็ไม่ควรวางใจ เพราะว่าหญิงทั้งหลายเสมอเหมือนกับท่าน้ำ หญิงทั้งหลายพึงฆ่าชายก็ได้ พึงตัดเองก็ได้ พึงใช้ให้ผู้อื่นตัดก็ได้ พึงตัดคอแล้วดื่มเลือดกินก็ได้

    อย่าพึงกระทำความสิเนหาในหญิงผู้มีความรักใคร่อันเลวทราม ผู้ไม่สำรวม ผู้เปรียบเหมือนด้วยท่าน้ำ.คำเท็จของหญิงเหมือนคำจริง คำจริงของหญิงเหมือนคำเท็จ

    หญิงทั้งหลายย่อมเลือกคบแต่ชายที่มีทรัพย์ ดังโคเลือกกินหญ้าที่ดี ๆ ในภายนอก หญิงทั้งหลายย่อมประเล้าประโลมชายด้วยการเดิน การจ้องดู ยิ้มแย้ม นุ่งผ้าหลุด ๆ ลุ่ย ๆ และพูดเพราะ

    หญิงทั้งหลายเป็นโจรหัวใจแข็งดุร้าย เป็นน้ำตาลกรวด ย่อมไม่รู้อะไร ๆ ว่าเป็นเครื่องล่อลวงในมนุษย์ ธรรมดา

    หญิงในโลกเป็นคนลามก ไม่มีเขตแดน กำหนัดนักทุกเมื่อและคะนองกินไม่เลือก เหมือนเปลวไฟไหม้เชื้อทุกอย่าง

    บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็ไม่มี.เพราะหญิงทั้งหลายย่อมคบหาบุรุษได้ทั้งที่รักทั้งที่ไม่น่ารักเหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น.

    บุรุษขึ้นชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็ไม่มี หญิงย่อมผูกพันชายเพราะต้องการทรัพย์ เหมือนเถาวัลย์พันไม้

    หญิงทั้งหลายย่อมติดตามชายที่มีทรัพย์ ถึงจะเป็นคนเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค คนจัณฑาลสัปเหร่อ คนเทหยากเยื้อก็ช่าง

    หญิงทั้งหลายย่อมละทิ้งชายผู้มีตระกูลแต่ไม่มีอะไร เหมือนซากศพ แต่ติดตามชายเช่นนั้นได้ เพราะเหตุแห่งทรัพย์.

    ๖ คำว่า ใบไม้ลาดที่เก่า อธิบาย ว่า บุรุษไม่พึงวิสาสะกับใบไม้ลาดซึ่งเก่าที่เขาลาดไว้แล้ว เมื่อวานนี้ หรือในวันก่อน ๆ เมื่อยังมิได้ลองตบ ๆ ดูก่อน หรือยังมิได้พิจารณาแล้ว ไม่พึงใช้สอย ด้วยว่าสัตว์เลื้อยคลานพึงเข้าไปอาศัยอยู่ หรือว่าศัตรูพึงซุกศาสตราไว้ในเครื่องลาดนั้น

    พญาแร้ง ชื่อว่าอานนท์ ดำรงอยู่ในความรู้ของตนกล่าวโทษ แห่ง หญิงทั้งหลายอย่างนี้แล้วก็นิ่งอยู่ นารทฤษีได้ฟังคำของพญาแร้งอานนท์นั้น แล้ว ก็ดำรงอยู่ในญาณของตน กล่าวโทษแห่งหญิงเหล่านั้นบ้าง.จึงกล่าวคาถา เหล่านี้ในเวลานั้นว่า

    ดูก่อนพญานกทิชัมบดี ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้ากล่าว

    มหาสมุทร ๑ พราหมณ์ ๑ พระราชา ๑ หญิง ๑ ทั้งหลาย ๔ อย่างนี้ย่อมไม่เต็ม
    แม่น้ำสายใดสายหนึ่ง อาศัยแผ่นดินไหลไปสู่มหาสมุทร แม่น้ำเหล่านั้นก็ยังมหาสมุทรให้เต็มไม่ได้ เพราะฉะนั้น มหาสมุทรชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง
    ส่วนพราหมณ์เรียนเวทอันมีการบอกเป็นที่ ๕ได้แล้ว ยังปรารถนาการเรียนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง

    พระราชาทรงชนะแผ่นดินทั้งหมด อันบริบูรณ์ด้วยรัตนะนับไม่ถ้วน พร้อมทั้งมหาสมุทรและภูเขา ครอบครองอยู่ ก็ยังปรารถนามหาสมุทรฝั่งโน้นอีก เพราะฉะนั้น พระราชาจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง

    หญิงคนหนึ่ง ๆ มีสามีคนละ ๘ คน สามีล้วนเป็นคนแกล้วกล้า มีกำลังสามารถนำมาซึ่งรสกามทุกอย่าง หญิงยังกระทำความพอใจในชายคนที่ ๙ อีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น หญิงจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง.

    หญิงทุกคนกินทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ พาไปได้ทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ เหมือนกิ่งไม้มีหนาม ย่อมละชายไปเพราะเหตุแห่งทรัพย์

    ชายใดพึงวางความรักทั้งหมดในหญิง ชายนั้นเหมือนดักลมด้วยตาข่าย เหมือนตักน้ำใส่มหาสมุทรด้วยมือข้างเดียว จะพึงได้ยินแต่เสียงมือของตน.

    ภาวะของหญิงที่เป็นโจร รู้มาก หาความจริงได้ยาก เป็นอาการที่ใคร ๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยทางปลาในน้ำ ฉะนั้น หญิงไม่มีความพอ อ่อนโยน พูดเพราะ เต็มได้ยากเสมอแม่น้ำ ทำให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้แล้วพึงเว้นเสียให้ห่างไกล

    หญิงเป็นเหมือนน้ำวน มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ทำให้ล่มจม บุคลรู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล

    เมื่อหญิงคบบุรุษใดเพราะความพอใจ หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ย่อมเผาบุรุษนั้นโดยพลัน เหมือนไฟป่าเผาสถานที่เกิดของตนฉะนั้น.

    เมื่อนารทฤษีประกาศโทษของหญิงทั้งหลายอย่างนี้แล้ว พญานกกุณาละจึงแสดงโทษของหญิงเหล่านั้นให้วิเศษขึ้นไปอีก.

    จึงภาษิตคาถานี้ ในเวลานั้นว่า

    บัณฑิตพึงเจรจากับบุรุษผู้ถือดาบอย่างคมกล้า พึงเจรจากับปีศาจผู้ดุร้าย แม้จะพึงเข้าไปนั่งใกล้งูพิษร้าย แต่ไม่ควรเจรจากับหญิงตัวต่อตัว เพราะว่าหญิงเป็นผู้ย่ำยีจิตของโลก ถืออาวุธ คือ การฟ้อนรำขับร้องและการเจรจา ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้ไม่ตั้งสติไว้ เหมือนหมู่รากษสที่เกาะเบียดเบียนพวกพ่อค้าฉะนั้น

    หญิงไม่มีวินัย ไม่มีสังวร ยินดีในน้ำเมาและเนื้อสัตว์ ไม่สำรวม ผลาญทรัพย์ที่บุรุษหามาได้โดยยากให้ฉิบหาย เหมือนปลาติมิงคละกลืนกินมังกรในทะเลฉะนั้น

    หญิงมีกามคุณ ๕ อันน่ายินดีเป็นทำเลหากิน เป็นคนหยิ่ง จิตไม่เที่ยงตรง ไม่สำรวม ย่อมเข้าไปหาชายผู้ประมาทเหมือนแม่น้ำทั้งหลาย อันไหลไปสู่มหาสมุทร ฉะนั้น

    หญิงได้ชื่อว่าฆ่าชายด้วยราคะและโทสะ เข้าไปหาชายคนใด เพราะความพอใจเพราะความกำหนัด หรือเพราะต้องการทรัพย์ ย่อมเผาชายเช่นนั้นเสีย เช่นดังเปลวไฟ

    หญิงรู้ว่าชายมั่งคั่งมีทรัพย์มาก ย่อมเข้าไปหาชาย ยอมให้ทั้งทรัพย์และตนเอง ย่อมเกาะชายที่มีจิตถูกราคะย้อม เหมือนเถาย่านทรายเกาะไม้สาละในป่า ฉะนั้น

    หญิงประดับร่างกายหน้าตาให้สวย เข้าไปหาชายด้วยความพอใจมีประการต่าง ๆ ทำยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ใช้มารยาตั้งร้อยเหมือนดังคนเล่นกลและอสุรินทราหู
    หญิงประดับประดาด้วยทอง แก้วมณี และมุกดาถึงจะมีคนสักการะและรักษาไว้ในตระกูลสามี ก็ยังประพฤตินอกใจสามีดังหญิงที่อยู่ในทรวงอกประพฤตินอกใจทานพ ฉะนั้น

    จริงอยู่ นรชนผู้มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา แม้จะมีเดช มีมหาชนสักการะบูชา ถ้าตกอยู่ในอำนาจของหญิงแล้ว ย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับฉะนั้น

    โจรผู้มีจิตโกรธคิดประทุษร้าย พึงกระทำแก่โจรอื่น ซึ่งเป็นข้าศึกที่มาประจัญหน้า ส่วนผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ไม่มีอุเบกขา ย่อมเข้าถึงความพินาศยิ่งกว่านั้นอีก

    หญิงถึงจะถูกชายฉุดกระชากลากผม และหยิกข่วนด้วยเล็บ คุกคามทุบตีด้วยเท้าด้วยมือ และท่อนไม้ ก็กลับวิ่งเข้ามาหา เหมือนหมู่แมลงวันที่ซากศพฉะนั้น
    บุรุษผู้มีจักษุคือปัญญาปรารถนาความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสีย เหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม

    ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณอันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจากเทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น

    บุรุษผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้ง ๆพลาด ๆ โดยไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกงย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น

    ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิงย่อมเข้าถึงนรก เป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอันมีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรต และอสุรกาย

    หญิงย่อมทำลายความเล่นหัว ความยินดีความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย

    ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์และนางเทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย

    ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่งกามธาตุ รูปธาตุสมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะโดยไม่ยากเลย

    ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาดพึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยากเลย.

    พระมหาสัตว์ ยังเทศนาให้จบจนถึงอมตมหานิพพานอย่างนี้แล้ว สัตว์ทั้งหลายเป็นต้นว่า กินนรและพระนานาคในป่าหิมพานต์และเทวดาที่อยู่ใน อากาศก็พากันให้สาธุการว่า น่าอัศจรรย์จริง พญานกกุณาละกล่าวอย่างลีลาของพระพุทธเจ้าดีมาก.

    พญาแร้งชื่อว่าอานนท์ พราหมณ์ฤๅษีชื่อนารทะ และพญานกปุณณมุขะดุเหว่าขาว ก็พาบริวารของตน ๆ ไปสู่ที่อยู่เดิม แม้พระมหาสัตว์ก็กลับไปยังที่อยู่ของตนเช่นเดียวกัน ฝ่ายพวกที่กล่าวมาแล้วนอกนี้ ย่อมไปมาหาสู่กันเสมอ และตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ ก็ย่อมมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

    พระศาสดาครั้งทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว เมื่อจะทรงประชุมชาดก จึงตรัสว่า

    พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาว เป็นพระอุทายี พญาแร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤๅษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็นพุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล.

    ฝ่ายพระภิกษุราชกุมารทั้งหลาย เวลาจะไปก็ไปด้วยอานุภาพของพระศาสดา แต่เวลามานั้น มาด้วยอานุภาพของตน คือ พระศาสดาทรงแสดงกัมมัฏฐานให้ภิกษุเหล่านั้นในป่ามหาวัน พระภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุพระอรหัตในวันนั้นเอง และได้มีเทวดาสมาคมใหญ่ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงมหาสมันสูตร เมื่อจบลงเทวดาทั้งหลายได้บรรลุมรรคผลมีพระโสดาบันเป็นต้น.
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุททาลชาดก ว่าด้วยความชนะที่ดี

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระจิตหัตถสารีบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.

    <table class="MsoTableGrid" style="border: medium none ; background: rgb(243, 243, 243) none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"> <tbody><tr> <td style="border: 1.5pt solid maroon; padding: 0cm 5.4pt; width: 100%;" valign="top" width="568" height="100%"> ได้ยินว่า พระจิตหัตถสารีบุตร เป็นเด็กที่เกิดในตระกูล ผู้หนึ่งในพระนครสาวัตถี อยู่มาวันหนึ่งไถนาแล้ว ขากลับได้เข้าไปสู่วิหาร ได้โภชนะประณีตอร่อย มีรสสนิทจากบาตรพระเถระองค์หนึ่ง คิดว่า ถึงแม้เราจะกระทำงานต่าง ๆ ด้วยมือของตน ตลอดคืนตลอดวัน ก็ยังไม่ได้อาหารอร่อยอย่างนี้ แม้เราก็สมควรจะเป็นสมณะ ดังนี้ เขาบวชแล้วอยู่มาได้ประมาณครึ่งเดือน เมื่อไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ตกไปในอำนาจกิเลส จึงสึกไป พอลำบากด้วยเรื่องอาหารก็มาบวชอีก เรียนพระอภิธรรม ด้วยอุบายนี้ สึก แล้วบวชถึง ๖ ครั้ง ในความเป็นภิกษุครั้งที่ ๗ เป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์ ได้บอกธรรมแก่ภิกษุเป็นอันมาก บำเพ็ญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตถ์แล้ว
    ครั้งนั้นภิกษุผู้เป็นสหายของท่าน พากันเยาะเย้ยว่า อาวุโส จิตหัตถ์ เดี๋ยวนี้กิเลสทั้งหลายของเธอไม่เจริญเหมือนเมื่อก่อนดอกหรือ ? ท่านตอบว่า ผู้มีอายุ ตั้งแต่บัดนี้ไป ผมไม่เหมาะเพื่อความเป็นคฤหัสถ์ ก็เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เกิดโจทย์กันขึ้น ในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่ออุปนิสัยแห่งพระอรหัต เห็นปานนี้มีอยู่ ท่านพระจิตหัตถสารีบุตร ต้องสึกถึง ๖ ครั้ง โอ ! ความเป็นปุถุชน มีโทษมากดังนี้
    พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอสนทนากันด้วย เรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าจิตของปุถุชน เมา ข่มได้ยาก คอยไปติดด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ ลงติดเสียครั้งหนึ่งแล้ว ก็ไม่อาจปลดเปลื้องได้โดยเร็ว การฝึกฝนจิตเห็นปานนี้ เป็นความดี จิตที่ฝึกฝนดีแล้วเท่านั้น จะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้

    ครั้นแล้วตรัสต่อไปว่า ก็เพราะเหตุที่จิตนั้นข่มได้โดยยาก บัณฑิตทั้งหลาย แม้ในกาลก่อนอาศัยจอบเล่มเดียว ไม่อาจทิ้งมันได้ ต้องสึกถึง ๖ ครั้ง ด้วยอำนาจความโลภ ในเพศแห่งบรรพชิต ครั้งที่ ๗ ทำฌานให้เกิดขึ้นแล้ว จึงข่มความโลภนั้น ได้ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :

    </td> </tr> </tbody></table> ​

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคนปลูกผัก ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ได้นามว่า "กุททาลบัณฑิต" ท่านกุททาลบัณฑิต กระทำการฟื้นดินด้วยจอบ เพาะปลูกพืชพันธ์และผัก มีน้ำเต้า ฟักเขียว ฟักเหลือง เป็นต้น เก็บผักเหล่านั้นขายเลี้ยงชีพ


    แท้จริงท่านกุททาลบัณฑิต นอกจากจอบเล่มเดียวเท่านั้น ทรัพย์สมบัติอย่างอื่นไม่มีเลย ครั้นวันหนึ่งท่านดำริว่า จะมีประโยชน์ อะไรด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวช ดังนี้ ครั้นวันหนึ่ง ท่านซ่อนจอบนั้นไว้ในที่ซึ่งมิดชิด แล้วบวชเป็นฤๅษี ครั้นหวนนึกถึงจอบเล่มนั้นแล้ว ก็ไม่อาจตัดความโลภเสียได้ เลยต้องสึก เพราะอาศัยจอบกุด ๆ เล่มนั้น แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้ง ที่ ๓ ก็เป็นอย่างนี้ เก็บจอบนั้นไว้ในที่มิดชิด บวช ๆ สึก ๆ รวมได้ถึง ๖ ครั้ง ในครั้งที่ ๗ ได้คิดว่า เราอาศัยจอบกุด ๆ เล่มนี้ ต้องสึกบ่อยครั้ง คราวนี้เราจักขว้างมันทิ้งเสียในแม่น้ำใหญ่แล้วบวช ดังนี้แล้ว เดินไปสู่ฝั่งแม่น้ำ คิดว่า ถ้าเรายังเห็นที่ตกของมัน ก็จักต้องอยากงมมันขึ้นมาอีก แล้วจับจอบที่ด้าม ท่านมีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง ควงจอบเหนือศีรษะ ๓ รอบ หลับตาขว้างลงไปกลางแม่น้ำ แล้วบันลือเสียงกึกก้อง ๓ ครั้งว่า "เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว".

    ในขณะนั้น พระเจ้าพาราณสี ทรงปราบปรามปัจจันตชนบทราบคาบแล้ว เสด็จกลับ ทรงสนานพระเศียรในแม่น้ำนั้น ประดับพระองค์ด้วยเครื่องอลังการครบเครื่อง เสด็จพระดำเนินโดยพระคชาธาร ทรงสดับเสียงของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงระแวงพระทัยว่า บุรุษผู้นี้กล่าวว่า เราชนะแล้ว ใครเล่าที่เขาชนะ จงเรียกเขามา แล้วมีพระดำรัสสั่งให้เรียกมาเฝ้า แล้วมีพระดำรัสถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ เรากำลังชนะสงคราม กำความมีชัย มาเดี๋ยวนี้ ส่วนท่านเล่าชนะอะไร ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถึงพระองค์จะทรงชนะสงครามตั้งร้อย ครั้งตั้งพันครั้ง แม้ตั้งแสนครั้ง ก็ยังชื่อว่าชนะไม่เด็ดขาดอยู่นั่นเอง เพราะยังเอาชนะกิเลสทั้งหลายไม่ได้ แต่ข้าพระองค ์ข่มกิเลสในภายในไว้ได้ เอาชนะกิเลสทั้งหลายได้ กราบทูลไป มองดูแม่น้ำไป ยังฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ให้เกิดขึ้นแล้ว นั่งในอากาศด้วยอำนาจของฌานและสมาบัติ เมื่อจะแสดงธรรมถวายพระราชา จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :

    <table class="MsoTableGrid" style="border: medium none ; background: rgb(243, 243, 243) none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"> <tbody><tr> <td style="border: 1.5pt solid maroon; padding: 0cm 5.4pt; width: 100%;" valign="top" width="568" height="100%"> "ความชนะที่บุคคลชนะแล้ว กลับแพ้ได้นั้น มิใช่ความชนะเด็ดขาด
    (ส่วน) ความชนะที่บุคคลชนะแล้ว ไม่กลับแพ้นั้นต่างหาก
    จึงชื่อว่าเป็นความชนะเด็ดขาด" ดังนี้.
    </td> </tr> </tbody></table> ​

    ก็เมื่อพระราชาทรงสดับธรรมอยู่นั่นเอง ทรงละกิเลสได้ด้วยอำนาจ ตทังคปหาน พระทัยน้อมไปในบรรพชา ถึงพวกหมู่โยธาของพระองค์ ก็พากันละได้เช่นนั้นเหมือนกัน พระราชา ตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า บัดนี้พระคุณเจ้าจักไปไหน เล่า ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์ จักเข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี พระราชารับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น แม้ข้าพเจ้าก็จะบรรพชา แล้วเสด็จพระราชดำเนิน ไปพร้อมกับพระโพธิสัตว์ พลนิกายทั้งหมด คือ พราหมณ์ คฤหบดี และทวยหาญ ทุกคนประชุมกันในขณะนั้น เป็นมหาสมาคม ออกบรรพชา พร้อมกับพระราชาเหมือนกัน


    ชาวเมืองพาราณสี สดับข่าวว่า พระราชาของเราทั้งหลาย ทรงสดับพระธรรมเทศนาของกุททาลบัณฑิตแล้ว ทรงบ่ายพระพักตร์ มุ่งบรรพชา เสด็จออกทรงผนวชพร้อมด้วยพลนิกาย พวกเราจักทำอะไรกันในเมืองนี้ ดังนี้แล้ว บรรดาผู้อยู่ในพระนครทั้งนั้น ต่างพากันเดินทางออกจากกรุงพาราณสี อันมีปริมณฑลได้ ๑๒ โยชน์ บริษัทก็ได้มีปริมณฑล ๑๒ โยชน์ พระโพธิสัตว์พาบริษัทนั้นเข้าป่าหิมพานต์ ในขณะนั้นอาสนะที่ประทับนั่งของท้าวสักกเทวราช สำแดงอาการร้อน ท้าวเธอทรงตรวจดู ทอดพระเนตรเห็นว่า กุททาลบัณฑิต ออกสู่มหาภิเนกษกรม แล้วทรงพระดำริว่า จักเป็นมหาสมาคม ควรที่ท่านจะได้สถานที่อยู่ แล้วตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมา ตรัสสั่งว่า พ่อวิสสุกรรม กุททาลบัณฑิตกำลังออกสู่มหาภิเนกษกรม ท่านควรจะได้ที่อยู่ ท่านจงไปหิมวันตประเทศ เนรมิต อาศรมบท ยาว ๓๐ โยชน์ กว้าง ๑๕ โยชน์ ณ ภูมิภาคอันราบรื่น วิสสุกรรมเทพบุตร รับเทวบัญชาว่า ข้าแต่เทพยเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า จะกระทำให้สำเร็จดังเทวบัญชา แล้วไปทำตามนั้น นี้เป็นความสังเขปในอธิการนี้ ส่วนความพิสดาร จักปรากฏในหัตถิปาลชาดก แท้จริงเรื่องนี้ และเรื่องนั้น เป็นปริเฉทเดียวกันนั่นเอง.

    ฝ่ายวิสสุกรรมเทพบุตร เนรมิตบรรณศาลาในอาศรมบท แล้ว ก็ขับไล่ เนื้อ นก และ อมนุษย์ที่มีเสียงชั่วร้ายไปเสีย แล้ว เนรมิตหนทางเดินจงกรมตามทิสาภาคนั้น ๆ เสร็จแล้ว เสด็จกลับไปยังวิมานอันเป็นสถานที่อยู่ของตนทันที.

    ฝ่ายกุททาลบัณฑิต พาบริษัทเข้าสู่ป่าหิมพานต์ ลุถึง อาศรมบทที่ท้าวสักกะทรงประทาน ถือเอาเครื่องบริขารแห่งบรรพชิต ที่วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ให้ บวชตนเองก่อน ให้บริษัทบวชทีหลัง จัดแจงแบ่งอาศรมบทให้อยู่กันตามสมควร มีพระราชาอีก ๗ พระองค์ สละราชสมบัติ ๗ พระนคร ติดตาม มาทรงผนวชด้วย อาศรมบท ๓๐ โยชน์ เต็มบริบูรณ์ กุททาลบัณฑิต ทำบริกรรมในกสิณที่เหลือ เจริญพรหมวิหารธรรม บอกกรรมฐานแก่บริษัท บริษัททั้งปวงล้วนได้สมาบัติ เจริญพรหมวิหารแล้ว พากันไปสู่พรหมโลกทั่วกัน ส่วนประชาชน ที่บำรุงพระดาบสเหล่านั้น ก็ล้วนได้ไปสู่เทวโลก.

    พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า จิตนี้ ติดด้วยอำนาจของกิเลสแล้ว เป็นธรรมชาติปลดเปลื้องได้ยาก โลภธรรมทั้งหลายที่เกิดแล้ว เป็นสภาวะละได้ยาก ย่อมกระทำท่านผู้เป็นบัณฑิตเห็นปานฉะนี้ ให้กลายเป็นคน ไม่มีความรู้ไปได้ ด้วยประการฉะนี้

    ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย เมื่อจบสัจจะ ภิกษุทั้งหลาย บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคาม ีบางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกบรรลุพระอรหัต พระบรมศาสดา ทรงประชุมชาดกว่า พระราชา ในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ บริษัทในครั้งนั้น ได้มาเป็น พุทธบริษัท ส่วนกุททาลกบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

    จบ กุททาลชาดก
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุนตินีชาดก ว่าด้วยการเชื่อมมิตรภาพ

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ นางนกกะเรียนซึ่งอยู่อาศัยในพระราชวังของพระเจ้าโกศล จึงตรัส พระธรรมเทศนานี้ มีดังนี้

    <table class="MsoTableGrid" style="border: medium none ; background: rgb(243, 243, 243) none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"> <tbody><tr style="height: 287.8pt;"> <td style="border: 1.5pt solid maroon; padding: 0cm 5.4pt; width: 80%; height: 287.8pt;" valign="top" width="568"> ได้ยินว่า นางนกกะเรียนนั้นเป็นผู้จำทูลพระราชสาสน์ของพระราชา นางนกนั้นมีลูกนกอยู่ ๒ ตัว พระราชาทรงให้นางนกนั้น ถือพระราชหัตถเลขาไปส่งแก่พระราชาองค์หนึ่ง ในเวลาที่นางนกนั้นไปแล้ว พวกทารกในราชสกุลพากันเอามือบีบลูกนกเหล่านั้นจนตายไป นางนกนั้นกลับมาแล้วเห็นลูกนกเหล่านั้นตายแล้วจึงถามว่า ใครฆ่าลูกฉันตาย ? เขาบอกว่า เด็กคนโน้นและเด็กคนโน้นฆ่า

    ก็ในเวลานั้น ในราชสกุล มีเสือโคร่งที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่งดุร้ายหยาบช้า มันอยู่ได้โดยการล่ามไว้ ทีนั้นพวกเด็กเหล่านั้น ได้ไปเพื่อจะดูเสือโคร่งนั้น นางนกนั้นก็ได้ไปกับเด็กเหล่านั้น คิดว่า เราจักกระทำเด็กเหล่านี้ให้เหมือนกับที่มันฆ่าลูกของเรา จึงพาเด็กเหล่านั้นไปทำให้ล้มลงใกล้เท้าเสือโคร่ง เสือโคร่งเคี้ยวกินกร้วมๆ นางนกนั้นคิดว่า บัดนี้ ความปรารถนาของเราสำเร็จแล้ว จึงบินไปยังหิมวันตประเทศทันที
    ภิกษุทั้งหลายได้สดับเหตุนั้นแล้วจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า นางนกกะเรียนในราชสกุล กระตุ้นพวกเด็กที่ฆ่าลูกของตนให้ล้มลงที่ใกล้เท้าเสือโคร่ง แล้วบินไปยังหิมวันตประเทศเลยทีเดียว พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องที่สนทนากันอยู่ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้ เท่านั้น แม้ในกาลก่อนนางนกกะเรียนนี้ก็กระตุ้นพวกเด็กผู้ฆ่าลูกของตนให้ล้ม แล้วไปสู่หิมวันตประเทศเหมือนกัน แล้วทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
    </td> </tr> </tbody></table> ​

    ในอดีตกาล เมื่อพระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติในนครพาราณสี โดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ในพระราชนิเวศน์ มีนางนกกะเรียนตัวหนึ่ง เป็นผู้จำทูลพระราชสาสน์ ข้อความทั้งหมดเช่นกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง ส่วนความต่างกันมีดังต่อไปนี้ :


    นางนกกะเรียนนั้นเมื่อทำให้เสือโคร่งฆ่าเด็กทั้งหลายแล้วก็คิดว่า บัดนี้ เราไม่อาจอยู่ในที่นี้เราจักต้องไป แต่เมื่อจะไป ถ้ายังไม่กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบก่อนก็จักไม่ไป นางนกกะเรียนนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาย พวกเด็กฆ่าลูก ๆ ของข้าพระองค์ เพราะความพลั้งเผลอของพระองค์ ข้าพระองค์เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธ จึงฆ่าเด็กพวกนั้นตอบแทน บัดนี้ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่ในที่นี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:

    [๖๗๐] หม่อมฉันได้อาศัย อยู่ในพระราชนิเวศของพระองค์ พระองค์ทรงอุปถัมภ์
    บำรุงมาเป็นอย่างดีมิได้ขาด มาบัดนี้ พระองค์ผู้เดียวได้ก่อเหตุขึ้น ข้าแต่
    พระราชา มิฉะนั้น หม่อมฉันจะขอทูลลาไปป่าหิมพานต์.

    หมายความว่า พระองค์นั่นแหละให้ข้าพระองค์ถือพระราชหัตถเลขาไปส่ง ไม่ทรงปกป้องบุตรทั้งหลายของข้าพระองค์ เพราะความประมาทของพระองค์ ชื่อว่าทรงก่อเหตุที่ทำให้ให้ข้าพระองค์ต้องไป
    พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า:


    [๖๗๑] ผู้ใดแล เมื่อคนอื่นทำกรรมอันชั่วร้ายให้แก่ตนแล้ว และตนก็ได้ทำตอบ
    แทนแล้ว ย่อมรู้สึกได้ว่า เราได้ทำตอบแก่เขาแล้ว เวรของผู้นั้น ย่อม
    สงบไปด้วยอาการเพียงเท่านี้ ดูกรนางนกกระเรียน ท่านจงอยู่ก่อนเถิด
    อย่าเพิ่งไปเลย.

    คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า บุคคลใด เมื่อคนอื่นกระทำกรรมอันชั่วร้าย เช่นฆ่าบุตรของตน เมื่อตนกระทำกรรมอันชั่วร้ายตอบต่อบุคคลนั้น ย่อมรู้สึกว่า เราทำตอบเขาได้แล้ว เวรนั้นย่อมสงบไปด้วยอาการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น นางนกกะเรียนเอ๋ย เจ้าจงอยู่เถิด อย่าไปเลย

    นางนกกะเรียนได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:

    [๖๗๒] มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย ย่อมเชื่อมกันไม่ติดอีก ใจของ
    หม่อมฉันไม่ยอมให้อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ เพราะเหตุนั้น
    หม่อมฉันขอทูลลาไป.

    พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๔ ว่า:

    [๖๗๓] มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย ย่อมกลับเชื่อมติดกันได้อีก
    เฉพาะพวกบัณฑิตด้วยกัน ย่อมเชื่อมกันไม่ติดอีก เฉพาะพวกชนพาล
    ดูกรนางนกกระเรียน ท่านจงอยู่ก่อนเถิด อย่าเพิ่งไปเลย.

    คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า สำหรับพวกนักปราชญ์ ไมตรีของบุคคลผู้ถูกกระทำ และบุคคลผู้กระทำย่อมเชื่อมกันได้อีก ส่วนสำหรับพวกคนพาลย่อมเชื่อมกันไม่ได้ แตกกันคราวเดียวแล้ว ย่อมเป็นอันแตกไปเลย เพราะฉะนั้น นางนกกะเรียนเอ๋ย เจ้าจงอยู่เถิดอย่าไปเลย

    แม้เมื่อตรัสห้ามอยู่อย่างนั้น นางนกก็ยังทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาย ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่พระเจ้าข้า จึงถวายบังคมพระราชา แล้วบินไปยังหิมวันตประเทศทีเดียว

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ในกาลนั้นนางนกกะเรียนนั่นแหละ ได้มาเป็นนางนกกะเรียนในบัดนี้ ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล

    จบ กุนตินีชาดก
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุมภการชาดก เหตุให้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร

    พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ การข่มกิเลสแล้ว ตรัสเรื่องนี้ดังนี้



    <table class="MsoTableGrid" style="border: medium none ; background: rgb(243, 243, 243) none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"> <tbody><tr style="height: 281.3pt;"> <td style="border: 1.5pt solid maroon; padding: 0cm 5.4pt; width: 100%; height: 100%;" valign="top" width="568"> ก็กาลครั้งนั้น ที่นครสาวัตถี มีสหาย ๕๐๐ คนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้ออกบวชแล้วพักอยู่ภายในโกฏิสัณฐาร ในเวลาเที่ยงคืนได้ตรึกถึงเรื่องกามวิตก โดยปกติพระศาสดาจะทรงตรวจดูสาวกของพระองค์ทั้งคืนทั้งวันรวม ๖ ครั้ง คือ กลางคืน ๓ ครั้ง กลางวัน ๓ ครั้ง ทรงพิทักษ์รักษาเหมือนนกกะต้อยติวิดรักษาไข่ จามรีรักษาขนหาง มารดารักษาลูกน้อยที่น่ารัก และเหมือนคนตาข้างเดียว รักษาตาที่เหลืออยู่ ฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงข่มกิเลสที่เกิดขึ้นของสาวกทั้งหลายในขณะนั้น


    วันนั้น เวลาเที่ยงคืน พระองค์กำหนดตรวจดูพระเชตวันอยู่ ทรงทราบว่าวิตกของภิกษุเหล่านั้นกำลังฟุ้งขึ้น ทรงดำริว่า กิเลสนี้เมื่อฟุ้งขึ้นในภายในของภิกษุเหล่านี้ จักทำลายเหตุแห่งอรหัตผลเสีย เราตถาคตจักข่มกิเลสแล้วมอบให้ซึ่งอรหัตผลแก่ภิกษุเหล่านั้นเดี๋ยวนี้แหละ แล้วเสด็จออกจากพระคันธกุฎี รับสั่งให้เรียกพระอานนท์เถระมาแล้วตรัสสั่งให้ประชุมว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงให้ภิกษุผู้อยู่ภายในโกฏิสัณฐารทั้งหมดมาประชุมกัน เมื่อพระสงฆ์ทั้งนั้นมาแล้ว จึงเสด็จประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรเป็นไปในอำนาจของกิเลสที่เป็นไปแล้วในภายใน ด้วยว่ากิเลสเมื่อเจริญขึ้น ย่อมให้ถึงความพินาศมากเหมือนปัจจามิตร ธรรมดาภิกษุ กิเลสแม้มีประมาณเล็กน้อยก็ควรข่มไว้ บัณฑิตในกาลก่อน เห็นอารมณ์ ประมาณเล็กน้อย ก็ข่มกิเลสที่เป็นไปแล้วในภายในไว้ให้ปัจเจกโพธิญาณเกิดขึ้น แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:
    </td> </tr> </tbody></table> ​

    เรื่องของพระปัจเจกพุทธเจ้า องค์ที่ ๑

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในตระกูลช่างหม้อ ในหมู่บ้านใกล้ ประตูนครพาราณสี เจริญวัยแล้วได้ครอบครองสมบัติ มีบุตรชาย ๑ คน บุตรหญิง ๑ คน เลี้ยงบุตรภรรยาโดยอาศัยการทำหม้อ ในกาลครั้งนั้น พระราชาทรงพระนามว่า กรกัณฑะ ในทันตปุรนคร แคว้นกลิงคะมีพระราชบริพารมาก เมื่อเสด็จไปพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงใกล้ประตูพระราชอุทยาน มีผลเป็นพวงน่าเสวยเต็มไป เมื่อทรงประทับบนคอช้างต้นนั้นเองก็ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกไปเก็บผลมะม่วงพวงหนึ่ง แล้วเสด็จเข้าไปพระราชอุทยาน ประทับนั่งบนมงคลศิลาอาสน์ พระราชทานแก่คนที่ควรพระราชทาน แล้ว จึงเสวยผลมะม่วง


    นับแต่แต่เวลาที่พระราชาทรงเก็บผลมะม่วงแล้ว ตามธรรมดาคนที่เหลือทั้งหลาย ก็ต้องพากันเก็บเหมือนกัน ดังนั้น อำมาตย์บ้าง พราหมณ์และคหบดีบ้าง จึงพากันเขย่าผลมะม่วงให้หล่น แล้วรับประทานกัน ผู้ที่มาหลังๆ ก็ขึ้นต้นใช้ไม้ค้อนฟาดทำให้กิ่งหัก ทะลายลงกินกัน แม้แต่ผลดิบๆ ก็ไม่เหลือ ฝ่ายพระราชาทรงกรีฑา ในพระราชอุทยานตลอดทั้งวันแล้ว ตอนเย็นเมื่อทรงประทับนั่งบนคอช้างต้นที่ตกแต่งแล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงนั้นจึง เสด็จลงจากคอช้างแล้วเสด็จไปที่โคนต้นมะม่วง ทรงมองดูลำต้นพลางทรงดำริว่า ต้นมะม่วงต้นนั้นเมื่อเช้านี้เอง เต็มไปด้วยผลเป็นพวงสง่างาม ทำความอิ่มตาให้แก่ผู้ดูทั้งหลายยืนต้นอยู่ บัดนี้ เขาเก็บผลหมดแล้ว หักห้อยรุ่งริ่งยืนต้นอยู่ไม่งาม


    เมื่อทรงมองดูต้นอื่นอีกได้ทรงเห็นต้นมะม่วงต้นอื่นที่ไม่มีผล แล้วประทับยืนที่ควงไม้นั่นเอง ทรงทำต้นมะม่วงมีผลให้เป็นอารมณ์ว่า ต้นไม้ต้นนั้นยืนต้นสง่างามเหมือนภูเขาแก้วมณีเพราะตัวเองไม่มีผล ส่วนมะม่วงต้นนี้ถึงความย่อยยับอย่างนี้เพราะออกผล การเป็นคฤหัสถ์นี้ก็เช่นกันกับต้นมะม่วงที่ออกผล ส่วนการบรรพชาเป็นเช่นกับต้นไม้ที่ไม่มีผล ผู้มีทรัพย์นั่นแหละมีภัย ส่วนผู้ไม่มีทรัพย์ไม่มีภัย เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผลดังนี้แล้ว ทรงกำหนดไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนายังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ทรงรำลึกอยู่ว่า บัดนี้เราทำลายกระท่อมคือท้องของมารดาแล้ว การปฏิสนธิในภพทั้ง ๓ เราตัดขาดแล้ว ส้วมแหล่งอุจจาระ คือสงสาร เราล้างแล้ว ทะเลน้ำตาเราวิดแห้งแล้ว กำแพงกระดูกเราพังแล้ว เราจะไม่มีการปฏิสนธิอีกดังนี้ ได้ทรงแต่งองค์ด้วยเครื่องประดับทั้งหมดประทับยืนอยู่ อำมาตย์ทั้งหลายได้ทูลพระองค์ว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จประทับยืนนานเกินไปแล้ว


    พระราชา เราไม่ใช่พระราชา แต่เราเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า


    อำมาตย์ ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดา พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย จะไม่เป็นเหมือนกับพระองค์เช่นนี้


    พระราชา ถ้าเช่นนั้นเป็นอย่างไร?


    อำมาตย์ โกนผมโกนหนวด ปกปิดร่างกายด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ มีส่วนเปรียบเทียบด้วยดวงจันทร์ที่พ้นจากปากพระราหู พำนักอยู่ที่เงื้อมนันทมูลในป่าหิมพานต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นนี้


    ในขณะนั้น พระราชาทรงยกพระหัตถ์ขึ้นลูบพระเกษา ในทันทีนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานไป เพศสมณะก็ปรากฏขึ้น สมณบริขารทั้งหลายที่พระองค์ตรัสถึงอย่างนี้ว่า:


    ไตรจีวร บาตร มีดโกน เข็ม รัดประคตพร้อมด้วยกระบอก กรองน้ำ ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นบริขารของภิกษุผู้ประกอบความเพียร ได้ปกปิดพระกายของพระองค์ทันที พระองค์ประทับที่อากาศ ประทานพระโอวาทแก่มหาชนแล้ว ได้เสด็จไปสู่เงื้อมนันทมูลนั่นแหละ


    เรื่องของพระปัจเจกพุทธเจ้า องค์ที่ ๒

    ฝ่ายพระราชาทรงพระนามว่านัคคชิ ในนครตักกศิลา ที่แคว้นคันธาระ เสด็จไปที่ท่ามกลางพระราชบัลลังก์ เบื้องบนปราสาท ทอดพระเนตรเห็นหญิงคนหนึ่ง ในมือแต่ละข้างประดับกำไลแก้วมณี คือหยก ข้างละอัน นั่งบดของหอมอยู่ไม่ไกล ประทับนั่งทอดพระเนตร พลางดำริว่า กำไลแก้วมณี คือหยกเหล่านั้นไม่กระทบกัน ไม่มีเสียงดัง เพราะเป็นข้างละอัน คือแยกกันอยู่ ภายหลังนางเอากำไลแขนจากข้างขวามาสวมไว้ที่ข้างซ้ายรวมกัน แล้วเริ่มเอามือขวาดึงของหอมมาบด กำไลแก้วมณีคือหยกที่มือซ้ายมากระทบกำไลข้างที่ ๒ จึงมีเสียงดังขึ้น


    พระราชาทอดพระเนตรเห็นกำไลแขนทั้ง ๒ ข้างเหล่านั้นกระทบกัน อยู่มีเสียงดัง จึงทรงดำริว่า กำไลแขนนี้เวลาอยู่ข้างละอันไม่กระทบกัน แต่อาศัยข้างที่ ๒ กระทบกันก็มีเสียงดังฉันใด แม้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แต่ละคนๆ ไม่กระทบกัน ก็ไม่ส่งเสียง แต่พอ มี ๒ - ๓ คนขึ้นไปก็กระทบกันทำการทะเลาะกัน ส่วนเราวิจารณ์ราษฎรในราชสมบัติ ๒ แห่ง ในกัสมิระและคันธาระ เราควรจะเป็นเหมือนกำไลแขนข้างเดียว ไม่วิจารณ์คนอื่น วิจารณ์ตัวเองเท่านั้น อยู่ ดังนี้แล้ว ทรงทำการกระทบกันแห่งกำไลให้เป็นอารมณ์แล้ว ทั้งๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนา แล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิด ข้อความที่เหลือเป็นเช่นกับข้อความแต่ ก่อนนั่นแหละ


    เรื่องของพระปัจเจกพุทธเจ้า องค์ที่ ๓

    ที่มิถิลานครในวิเทหรัฐ พระเจ้านิมิราช เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว มีคณะอำมาตย์แวดล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรถนนทางสีหบัญชรที่เปิดไว้ ครั้งนั้น เหยี่ยวตัวหนึ่ง คาบเอาชิ้นเนื้อจากเขียงที่ตลาดแล้วบินขึ้นฟ้าไป นกทั้งหลายมีแร้งเป็นต้น บินล้อมเหยี่ยวตัวนั้น ข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง ใช้จะงอยปากจิก ใช้ปีกตี ใช้ เท้าเฉี่ยวไป เพราะเหตุแห่งอาหาร มันทนการรังแกเช่นนี้ไม่ไหว จึงทิ้งก้อนเนื้อก้อนนั้นไป นกตัวอื่นก็คาบเอาเนื้อก้อนนั้นไป นกเหล่าอื่นก็พากันละเหยี่ยวตัวนี้ติดตามนกตัวนั้นไป ถึงนกตัวนั้นปล่อยแล้ว ตัวอื่นก็คาบไป นกทั้งหลายก็พากันรุมตีนกแม้ตัวนั้นอย่างนั้นเหมือนกัน


    พระราชาทรงเห็นนกเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า นกตัวใดๆ คาบก้อนเนื้อ นกตัวนั้นๆ นั่นแหละมีความทุกข์ ส่วนนกตัวใดๆ ทิ้งสละก้อนเนื้อนั้นทิ้ง นกตัวนั้นๆ นั่นแหละมีความสุข แม้กามคุณทั้ง ๕ เหล่านี้ผู้ใดๆ ยึดถือไว้ ผู้นั้นๆ นั่นแหละ มีความทุกข์ ส่วนผู้ไม่ยึดถือนั่นแหละ มีความสุข เพราะว่ากามเหล่านี้เป็นของสาธารณะสำหรับคนจำนวนมาก ก็แล เรามีหญิงหมื่นหกพันนาง เราควรจะละกามคุณทั้ง ๕ แล้วเป็นสุขเหมือนเหยี่ยวตัวที่ทิ้งก้อนเนื้อฉะนั้น พระองค์ทรงมนสิการโดย แยบคายอยู่ทั้งๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญ วิปัสสนาแล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น ข้อความที่เหลือเป็นเช่นกับ ข้อความแต่ก่อนนั่นแหละ


    เรื่องของพระปัจเจกพุทธเจ้า องค์ที่ ๔

    แม้ในแคว้นอุตตรปัญจาละในกปิลนคร พระราชาทรงพระนามว่า ทุมมุขะ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ทรงประดับเครื่องอลังการพร้อมสรรพ มีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรพระลานหลวงทางสีหบัญชรที่เปิดไว้ ในขณะนั้นคนเลี้ยงวัวทั้งหลายต่าง ก็เปิดประตูคอกวัว พวกวัวตัวผู้ออกจากคอก แล้วก็ติดตามวัวตัวเมียตัวหนึ่งไปด้วยอำนาจกิเลส ในจำนวนวัวเหล่านั้น โคถึกใหญ่ตัวหนึ่งเขาคม เห็นวัวตัวผู้อื่นกำลังเดินมา มีความเห็นแก่ตัว คือหึงด้วยอำนาจกิเลสครอบงำ จึงใช้เขาแหลมขวิดที่ระหว่างขา ใส้ใหญ่ทั้งหลายของวัวตัวนั้น ทะลักออกมาทางปากแผล มันถึงความสิ้นชีวิต ณ ที่นั้นนั่นเอง


    พระราชา ทรงเห็นเหตุการณ์นั้นแล้ว ทรงดำริว่า สัตว์โลกทั้งหลายตั้งต้นแต่สัตว์เดียรัจฉานประสบทุกข์ด้วยอำนาจกิเลส วัวผู้ตัวนี้อาศัยกิเลสถึงความสิ้นชีวิต สัตว์แม้เหล่าอื่นก็หวั่นไหว เพราะกิเลสทั้งหลายนั่นเอง เราควรจะประหารกิเลสที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายหวั่นไหว พระองค์ประทับ ยืนอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนา แล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น ข้อความที่เหลือ เหมือนกับข้อความในตอนก่อน นั่นเอง


    อยู่มาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๔ องค์เหล่านั้นกำหนด เวลาภิกขาจารแล้ว ก็เสด็จออกจากเงื้อมนันทมูลทรงเคี้ยวไม้ชำระฟันนาคลดา ที่สระอโนดาด ทรงทำการชำระพระวรกายแล้ว ประทับยืนบนพื้นมโนศิลา ทรงนุ่งสบงแล้วถือเอาบาตรและจีวร เหาะขึ้นไปบนอากาศด้วยฤทธิ์ ทรงย่ำเมฆ ๕ สีไปแล้ว เสด็จลง ณ ที่ไม่ไกล หมู่บ้านใกล้ประตูนครพาราณสี ทรงห่มจีวรในที่สำราญแห่งหนึ่ง ทรงถือบาตรเสด็จเข้าไปในหมู่บ้านใกล้ประตูเมือง เที่ยวบิณฑบาต ลุถึงประตูบ้านพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เห็นพระปัจเจกเหล่านั้นแล้วดีใจ นิมนต์ให้ท่านเข้าไปในบ้านให้นั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ถวายทักขิโนทก อังคาสด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งไหว้พระสังฆเถระแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบรรพชาของพระองค์ทั้งหลายงามเหลือเกิน อินทรีย์ทั้งหลายของพระองค์ผ่องใส ฉวีวรรณก็ผุดผ่อง พระองค์ทรงเห็นอารมณ์อะไรหนอจึงทรงเข้าถึงการบรรพชาด้วยอำนาจภิกขาจารวัตร และได้เข้าไปทูลถามพระเถระที่เหลือเหมือนทูลถามพระสังฆเถระ ท่านทั้ง ๔ เหล่านั้นจึงได้ตรัส บอกเรื่องการออกบวชของตนๆ แก่พระโพธิสัตว์นั้นองค์ละ ๑ คาถาว่า:


    [๑๐๕๗] อาตมภาพได้เห็นมะม่วงอันงอกงามออกช่อและผลเขียวไปทั้งต้น ใน


    ระหว่างป่ามะม่วง เวลากลับ อาตมภาพได้เห็นมะม่วงต้นนั้นหักย่อยยับ


    เพราะผลเป็นเหตุ จึงได้เที่ยวประพฤติภิกขาจาริยวัตร


    [๑๐๕๘] นางนารีคนหนึ่งสวมกำไรมือหินคู่หนึ่ง เกลี้ยงกลม อันนายช่างผู้


    ชำนาญทำแล้ว ไม่มีเสียงดัง เพราะอาศัยข้างที่สอง จึงเกิดมีเสียงดังขึ้น


    ได้ อาตมภาพได้เห็นอย่างนี้ จึงได้เที่ยวประพฤติภิกขาจาริยวัตร


    [๑๐๕๙] นกจำนวนมากพากันล้อมรุมตามจิก ตีนกตัวหนึ่งซึ่งกำลังคาบก้อนเนื้ออยู่


    ได้ก้อนเนื้อแล้วบินไป เพราะอาหารเป็นเหตุ อาตมภาพได้เห็นอย่างนี้


    จึงได้เที่ยวประพฤติภิกขาจาริยวัตร


    [๑๐๖๐] อาตมภาพได้เห็นวัวหนึ่งตัวอยู่ในท่ามกลางฝูง มีวลัยเป็นเครื่องประดับ


    ประกอบด้วยสีสรรและกำลังมาก ได้ขวิดเอาวัวตัวหนึ่งตาย เพราะกาม


    เป็นเหตุ อาตมภาพได้เห็นอย่างนี้ จึงได้เที่ยวประพฤติภิกขาจาริยวัตร


    พระโพธิสัตว์ครั้นได้สดับคาถาแต่ละคาถา ได้ทำการสดุดีพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส อารมณ์นั่นเหมาะสมสำหรับเหล่าข้าพระองค์ทีเดียว ก็แล พระโพธิสัตว์ครั้นสดับธรรมกถานั้น ที่ท่านทั้ง ๔ ทรงแสดงแล้ว เป็นผู้ไม่มีเยื่อใยในฆราวาส เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไปแล้ว รับประทานอาหารเช้าแล้ว นั่งสำราญอยู่ ได้เรียกภรรยามาพูดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์นี้ สละราชสมบัติออกผนวชไม่มีกังวล ไม่มีห่วงใยให้กาลเวลาล่วงไปด้วยความสุขเกิดจากการบรรพชา ส่วนเราเลี้ยงชีพด้วยค่าจ้าง เราจะประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน เธอจงสงเคราะห์ คือเลี้ยงดูลูกอยู่ในบ้านเกิด แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า:


    [๑๐๖๑] พระเจ้ากรันฑกะของชาวกลิงครัฐ พระเจ้านัคคชิของชาวคันธารรัฐ


    พระเจ้าเนมิราชของชาววิเทหรัฐ และพระเจ้าทุมมุขะของชาวปัญจาลรัฐ


    ทั้งสี่พระองค์นี้ต่างพากันทรงละรัฐออกผนวช หาความห่วงใยมิได้


    [๑๐๖๒] แม้พระราชาเหล่านั้นทุกๆ พระองค์ เปรียบด้วยเทพเจ้า มาพร้อมหน้ากัน


    ย่อมสง่างามไปด้วยคุณ เหมือนไฟอันงามสว่างไสวฉะนั้น ดูกรนางภัควิ


    แม้เราเองจะสละกามทั้งหลายตามส่วนของตนๆ แล้วจะออกบวชเที่ยว


    ไปแต่ผู้เดียว


    ภรรยานั้นครั้นได้ฟังถ้อยคำของเขาแล้ว จึงพูดว่า ข้าแต่นาย ตั้งแต่เวลาได้ฟังธรรมกถาของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว แม้ฉันเองใจก็ไม่สถิตอยู่ในบ้าน แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า:


    [๑๐๖๓] เวลานี้เท่านั้น เวลาอื่นจากนี้เป็นไม่มี ภายหลังบุคคลผู้สอนดิฉันจะไม่มี


    ข้าแต่ท่านผู้มีส่วนความดี แม้ดิฉันก็จะขอพ้นจากมือของบุรุษเที่ยวไป


    ผู้เดียว ดังนางนกที่พ้นจากมือของบุรุษ ฉะนั้น


    พระโพธิสัตว์ครั้นได้ฟังคำของนางแล้ว ได้นิ่งอยู่ ส่วนนางประสงค์จะลวงพระโพธิสัตว์เพื่อจะได้ออกบวชก่อน จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ฉันจักไปท่าน้ำดื่ม ขอให้ท่านจงดูลูกไว้ แล้วจึงถือเอาหม้อน้ำทำทีเป็นเหมือน เดินไปท่าน้ำแล้วหนีไป ถึงสำนักของพวกดาบสที่ใกล้นครแล้วก็บวช


    พระโพธิสัตว์ทราบว่า นางไม่มาจึงเลี้ยงเด็กเอง ต่อมาเมื่อเด็กเหล่านั้น เติบโตขึ้นหน่อยหนึ่ง ถึงความเป็นผู้รู้ดีและชั่วแล้ว เพื่อจะทดลองเด็กว่าโตพอที่จะรู้เช่นนั้นหรือไม่ วันหนึ่งพระโพธิสัตว์ เมื่อหุงข้าวสวย ก็ได้หุงให้ดิบไปหน่อย วันหนึ่งแฉะไปหน่อย วันหนึ่งไหม้ วันหนึ่งปรุงอาหารจืดไป วันหนึ่งเค็มไป เด็กทั้งหลายพูดว่า วันนี้ข้าวดิบ วันนี้แฉะ วันนี้ไหม้ วันนี้จืด วันนี้เค็มไป พระโพธิสัตว์คิดว่า บัดนี้ เด็กเหล่านี้รู้จักดิบ สุก จืดและเค็มจัดแล้ว จักสามารถเลี้ยงชีพตามธรรมดาของตน เราควรจะออกบวชละ


    ต่อมาท่านได้มอบเด็กเหล่านั้นให้พวกญาติพูดว่า ดูก่อนพ่อและแม่ ขอจงเลี้ยงเด็กเหล่านี้ให้ดีเถิด แล้วเมื่อพวกญาติกำลังโอดครวญอยู่นั่นเอง ก็ได้ออกจากพระนครไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ใกล้ๆ พระนครนั่นเอง


    อยู่มาวันหนึ่ง นางปริพาชิกาคือภริยาเก่า ได้เห็นท่านกำลังเที่ยวภิกขาจารในนครพาราณสี ไหว้แล้วจึงพูดว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ท่านทำให้เด็กคือลูกทั้งหลายพินาศแล้ว พระมหาสัตว์ตอบว่า เราไม่ได้ให้เด็ก คือลูกพินาศ เราออกบวชในเวลาที่พวกเขาสามารถรู้ความเจริญ และความเสื่อม คือดีชั่วของตนแล้ว เธออย่าคิดถึงพวกเขา จงยินดีในการบวชเถิด แล้วได้กล่าวคาถาสุดท้ายว่า:


    [๑๐๖๔] เด็กสองคนนั้นย่อมรู้จักว่านี่ข้าวดิบ นี่ข้าวสุก และรู้จักว่านี่เค็ม นี่ไม่


    เค็ม ฉันเห็นอย่างนี้แล้วจึงออกบวช ท่านจงประพฤติภิกขาจาริยวัตร


    เถิด ถึงฉันก็จะประพฤติภิกขาจาริยวัตรเช่นเดียวกัน


    พระโพธิสัตว์ตักเตือนปริพาชิกา ด้วยประการอย่างนี้แล้ว ฝ่ายปริพาชิการับโอวาทไหว้พระมหาสัตว์แล้ว จึงไปสู่สถานที่ ตามที่ชอบใจ ได้ทราบว่านอกจากวันนั้นแล้ว ทั้ง ๒ ท่านนั้นก็ไม่ได้พบเห็นกันอีก ฝ่ายพระโพธิสัตว์ให้ฌานและอภิญญาเกิดขึ้นแล้ว ได้ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก


    พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ได้ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลายในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุ ๕๐๐ รูป ดำรงอยู่แล้วในอรหัตผล แล้วประชุมชาดกไว้ว่า ธิดาในครั้งนั้นได้แก่ อุบลวรรณาเถรีในบัดนี้ บุตรได้แก่พระราหุลเถระ ปริพาชิกา ได้แก่มารดาพระราหุลเถระ ส่วนปริพาชก คือเราตถาคต ฉะนี้แล


    จบ กุมภการชาดก
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุมภชาดก ว่าด้วยโทษของสุรา

    พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ หญิงนักดื่มสุรา ๕๐๐ คน ผู้เป็นสหายของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีดังนี้.


    <table class="MsoTableGrid" style="border: medium none ; background: rgb(243, 243, 243) none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"> <tbody><tr style="height: 461.85pt;"> <td style="border: 1.5pt solid maroon; padding: 0cm 5.4pt; width: 100%; height: 100%;" valign="top" width="568"> ได้ยินว่า เมื่อเขาประกาศเรื่องมหรสพสุราในพระนครสาวัตถี หญิง ๕๐๐ คนเหล่านั้น จัดเตรียมสุรามีรสเข้มไว้ เพื่อสามีที่ไปเล่นมหรสพ แล้วปรึกษากันว่า เราทั้งหลายจะไปเล่นมหรสพ ดังนี้แล้ว ทุกคนจึงพากันไปยังสำนักของนางวิสาขากล่าวชักชวนว่า สหายรัก พวกเราไปเล่นมหรสพกันเถิด เมื่อนางวิสาขาปฏิเสธว่า มหรสพนี้เป็นมหรสพสุรา เราจักไม่ดื่มสุราเลย จึงพากันกล่าวว่า ท่านจงถวายทานแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด พวกเราจักเล่นมหรสพกัน นางวิสาขารับคำว่าดีแล้ว จึงส่งคนไปทูลเชิญพระบรมศาสดาถวายมหาทานแล้วถือเอาของหอมและดอกไม้เป็นอันมาก ห้อมล้อมด้วยหญิงเหล่านั้น ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร เพื่อสดับพระธรรมกถาในเวลาเย็น



    หญิงเหล่านั้นดื่มสุราไปพลาง เดินทางร่วมไปกับนางวิสาขา ยืนดื่มสุราที่ซุ้มประตู แล้วจึงได้เข้าไปยังสำนักพระศาสดาพร้อมกับนางวิสาขา นางวิสาขาถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่งลง ณ ส่วนข้างหนึ่ง บรรดาหญิงเหล่านั้น บางพวกก็ฟ้อนรำ บางพวกก็คะนองมือคะนองเท้า จนทะเลาะวิวาทกัน ในสำนักของพระศาสดานั่นเอง พระบรมศาสดาจึงทรงเปล่งพระรัศมี ออกจากขนพระโขนง โดยพระประสงค์จะให้หญิงเหล่านั้นเกิดความสังเวช หญิงเหล่านั้นตกใจกลัว ถูกมรณภัยคุกคาม ด้วยเหตุนั้น หญิงเหล่านั้นจึงสร่างเมา พระศาสดาทรงอันตรธานหายไปจากบัลลังก์ที่ประทับ ทรงยืนอยู่ ณ ยอดสิเนรุบรรพต เปล่งพระรัศมีออกจากพระอุณาโลม เป็นประหนึ่งว่าได้มีพระจันทร์ และพระอาทิตย์อุทัยขึ้นถึงพันดวง พระศาสดาประทับยืน ณ ยอดสิเนรุบรรพต นั่นเอง โดยพระประสงค์จะให้หญิงเหล่านั้นเกิดความสังเวช จึงตรัสพระคาถานี้ ความว่า


    ท่านทั้งหลายจะมัวร่าเริง บันเทิงกันอยู่ทำไม


    ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิตย์ ท่านทั้งหลาย


    อันความมืดมิดหุ้มห่อแล้ว ยังไม่พากันแสวงหาประทีป


    คือที่พึ่ง (อีกหรือ?)


    ในเวลาจบพระคาถา หญิงทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้นก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระศาสดาเสด็จมาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ใต้ร่มเงาพระคันธกุฎี ลำดับนั้น นางวิสาขาถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำดื่มที่ชื่อว่าสุราอันเป็นเครื่องทำลายหิริโอตตัปปะนี้ เกิดแล้วแต่ครั้งไร พระเจ้าข้า เมื่อพระศาสดาจะตรัสบอกแก่นาง จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัส ดังต่อไปนี้


    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติใน พระนครพาราณสี มีนายพรานป่าผู้หนึ่งชื่อว่า สุระ เป็นชาวแคว้นกาสี ได้ไปสู่ป่าหิมพานต์ เพื่อต้องการแสวงหาสิ่งของในป่าหิมพานต์นั้น มีต้นไม้ต้นหนึ่ง ลำต้นตั้งตรง ที่ฐานสูงประมาณชั่วบุรุษหนึ่งได้แตกออกเป็นสามค่าคบ ระหว่างค่าคบ ๓ แห่งของต้นไม้นั้น ได้มีโพรงใหญ่ขนาดเท่าตุ่ม เมื่อฝนตกก็เต็มไปด้วยน้ำ ได้มีต้นสมอ มะขามป้อม และเถาพริกไท ขึ้นล้อมรอบต้นไม้นั้น ผลของต้นไม้นั้น ๆ สุกแล้วก็หลุดออกจากขั้ว ตกลงไปในโพรงนั้น ใกล้ๆ ต้นไม้นั้น มีข้าวสาลีเกิดขึ้นเอง และนกแขกเต้าทั้งหลายมาคาบเอารวงข้าวสาลีจากที่นั้น แล้วก็บินไปจับกินอยู่บนต้นไม้นั้น เมื่อนกแขกเต้าพากันจิกกินอยู่ เมล็ดข้าว เปลือกก็ดี เมล็ดข้าวสารก็ดี หลุดหล่นลงไปในโพรงนั้น น้ำในโพรงนั้นถูก แสงแดดแผดเผา ก็เกิดมีรส มีสีแดง ๆ ด้วยประการฉะนี้ ในฤดูร้อนฝูงนกทั้งหลายที่ระหายน้ำ บินมากินน้ำนั้น ก็มึนเมาพลัดตกลงไปที่โคนต้นไม้ ม่อยไปหน่อยหนึ่งแล้วส่งเสียงคูขันบินไป ถึงสุนัขป่าและลิงเป็นต้น ก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้



    พรานป่าเห็นดังนั้นก็หลากใจคิดว่า ถ้าน้ำนี้เป็นพิษ สัตว์เหล่านี้คงตาย แต่นี่มันม่อยไปหน่อยหนึ่งแล้วก็บินไปได้ตามสบาย น้ำนี้คงไม่มีพิษ เขาจึงลองดื่มเอง ก็เกิดมึนเมา และอยากจะกินเนื้อสัตว์ ลำดับนั้นเขาจึงก่อไฟให้โชนขึ้น แล้วฆ่านกที่พลัดตกไปที่โคนไม้ มีนกกระทาและไก่เป็นต้นตาย ย่างเนื้อที่ถ่านเพลิง มือหนึ่งฟ้อนรำ มือหนึ่งถือเนื้อกัดกิน อยู่ในที่นั้นวันหนึ่ง ถึงสองวัน



    ณ ที่ใกล้บริเวณนั้น มีดาบสรูปหนึ่งชื่อ วรุณะ นายพรานป่าเดินไปยังสำนักพระดาบสนั้น โดยธุระอย่างอื่น เขาได้เกิดความคิดว่า เราจักดื่มน้ำนี้ร่วมกับพระดาบส เขาจึงตักน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่อันหนึ่งจนเต็ม หิ้วไปกับเนื้อย่าง ถึงบรรณศาลาแล้วกล่าวชวนว่า ท่านขอรับ จงลองดื่มน้ำนี้ดูเถิด แล้วทั้งสองก็บริโภคเนื้อดื่มน้ำด้วยกัน ด้วยประการฉะนี้ น้ำดื่มนั้นเลยเกิดมีชื่อว่า สุราบ้าง วรุณีบ้าง เพราะนายพรานสุระและพระวรุณดาบส พบเห็นเข้า.


    ฝ่าย สุรพราน กับวรุณดาบส ทั้งสองคนคิดได้ว่า มีอุบายทำมาหากินได้อยู่ จึงตักสุราใส่กระบอกไม้ไผ่จนเต็ม แล้วพากันหาบไปจนถึงปัจจันตนคร ให้คนกราบทูลพระราชาว่า มีคนทำน้ำดื่มมาเฝ้า พระราชาจึงตรัสสั่งให้คนทั้งสองเข้าเฝ้า เขาจึงนำน้ำดื่มเข้าไปถวาย พระราชาทรงเสวยได้สอง สามครั้งก็ทรงมึนเมา แต่น้ำเมานั้น พอเสวยได้เพียงวันสองวันเท่านั้น ต่อมาพระราชาตรัสถามคนทั้งสองว่า น้ำชนิดนี้ มีอยู่ที่อื่นบ้างไหม?



    เขาพากันกราบทูลว่า ขอเดชะมีอยู่ พระเจ้าข้า



    พระราชาตรัสถามว่า มีอยู่ที่ไหน?



    เขาทูลว่า ที่ป่าหิมพานต์ พระเจ้าข้า



    พระราชาตรัสสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งสองจงไปเอามา



    ชนทั้งสองไปนำเอามาคราว สองคราว แล้วปรึกษากันว่า พวกเราไม่อาจเอามาบ่อย ๆ ได้ จึงกำหนดจดจำเครื่องปรุงทั้งปวงไว้ แล้วเอาเปลือกเป็นต้น ของต้นไม้นั้นมาใส่ปนลงในเครื่องปรุงทุกอย่าง ปรุงสุราขึ้นในพระนคร ชาวพระนครพากันดื่มสุราจนถึงความประมาทมัวเมา เลยยากจน เข็ญใจไปตาม ๆ กัน พระนครก็ได้เป็นเหมือนเมืองร้าง ด้วยเหตุนั้น คนทำน้ำดื่มทั้งสองจึงหลบหนีออกจากพระนครนั้น ไปยังเมืองพาราณสี ให้กราบทูลพระราชาว่า คนทำน้ำดื่มมาเฝ้า พระเจ้าพาราณสีตรัสสั่งให้คนทั้งสองเข้าเฝ้า แล้วพระราชทานเสบียงแก่คนทั้งสอง เขาช่วยกันจัดการปรุงสุราขึ้น แม้ในพระนครพาราณสีนั้น ถึงพระนครนั้นก็พินาศไปเช่นนั้นอีก เขาทั้งสองจึงหนีออกจากเมืองนั้นไปเมืองสาเกต หนีออกจากเมืองสาเกตไปยังเมืองสาวัตถี



    ครั้งนั้น พระเจ้าสัพพมิตต์ได้เป็นกษัตริย์ พระนครสาวัตถี ท้าวเธอทำการสงเคราะห์แก่คนทั้งสองนั้น แล้วตรัสถามว่า พวกเจ้าต้องการสิ่งใดบ้าง เมื่อเขากราบทูลว่า ต้องการรากไม้สำหรับปรุง แป้งข้าวสาลี และตุ่ม ห้าร้อย ดังนี้ ก็ตรัสสั่งให้ประทานครบทุกอย่าง พรานสุระ และวรุณดาบสทั้งสอง ปรุงสุราใส่ตุ่ม ๕๐๐ ใบตั้งไว้แล้ว ประสงค์จะป้องกันโดยเกรงว่าหนูจะรบกวน จึงผูกแมวไว้ข้างๆ ตุ่มใบละตัว แมวเหล่านั้น พากันดื่มสุราที่ไหลลงก้นตุ่ม ในเวลาที่ต้มแล้วตักใส่ตุ่ม จนมึนเมาหลับไป พวกหนูมาแทะ หู จมูก หนวด และหางแมว แล้วพากันวิ่งหนีไป พวกอายุตตกบุรุษ (คนสอดแนม) คิดว่า แมวดื่มสุราพากันตายหมด จึงไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ



    พระเจ้าสัพพมิตต์ ทรงเห็นว่า ชนทั้งสองนี้จักทำยาพิษ จึงตรัสสั่งให้ตัดศีรษะคนทั้งสองเสีย คนทั้งสอง พร่ำทูลขอร้องว่า ขอเดชะ ดื่มสุรามีรสอร่อย พระเจ้าข้า ดังนี้ จนขาดใจตาย ครั้นพระราชาตรัสสั่งให้ประหารชีวิตคนทั้งสองแล้ว มีพระราชโองการให้ทำลายตุ่มเสีย ฝ่ายแมวทั้งหลายเมื่อฤทธิ์สุราสร่าง จางไป ก็ลุกขึ้นวิ่งเล่นได้ พวกราชบุรุษเห็นดังนั้น จึงกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ พระราชาทรงพระดำริว่า ถ้าน้ำสุราเป็นพิษ แมวคงตาย ชะรอยจะมีรสอร่อย เราจะลองดื่มดู แล้วตรัสสั่งให้ประดับตกแต่งพระนคร ให้สร้างมณฑปขึ้นที่หน้าพระลาน เสร็จแล้วประทับนั่งบนราชบัลลังก์ ซึ่งยกเศวตฉัตรขึ้นไว้บนมณฑปที่ประดับตบแต่งแล้ว แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์มุขมนตรี เริ่มจะเสวยสุรา.


    ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงตรวจดูสัตวโลกว่า ชนเหล่าไหนบ้างหนอ ไม่ประมาทในการบำรุงมารดาบิดาเป็นต้น บำเพ็ญสุจริต ๓ ให้เต็มบริบูรณ์ ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้าสัพพมิตต์นั้น ประทับนั่งเพื่อจะดื่มสุรา จึงทรงพระดำริว่า ถ้าพระเจ้าสัพพมิตต์นี้จะดื่มสุราไซร้ สกลชมพูทวีป จักพินาศฉิบหาย เราจักต้องแก้ไข โดยวิธีที่จะให้ท้าวเธองดดื่ม แล้วทรงวางหม้อที่เต็มไปด้วยสุราใบหนึ่งไว้ที่พระหัตถ์ จำแลงเพศเป็นพราหมณ์ เสด็จมายืนอยู่ในอากาศ ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าสัพพมิตต์ แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อหม้อใบนี้ พระเจ้าสัพพมิตตราชทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์จำแลง ยืนพูดอยู่บนอากาศอย่างนั้น ทรงสงสัยว่า พราหมณ์นี้มาจากไหนกัน หนอ เมื่อจะทรงสนทนากับพราหมณ์นั้น ได้ตรัสพระว่า


    ท่านเป็นใคร มาจากดาวดึงสพิภพหรือ จึงเปล่งรัศมีสว่างไสวอยู่ในนภากาศ เหมือนพระจันทร์ส่องสว่างในยามรัตติกาลฉะนั้น รัศมีแผ่ซ่านออกจากตัวท่านดุจสายฟ้าแลบในเวหาสฉะนั้น.


    ท่านเหยียบลมหนาวในอากาศได้ เดินและยืนในอากาศได้ ฤทธิ์ของท่านที่อบรมดีแล้ว คล้ายฤทธิ์ของทวยเทพ ผู้ชื่อว่าไม่ต้องเดินทางไกล เพราะไม่ต้องใช้เท้าเดินไปในทางไกล


    ท่านเป็นใครมายืนอยู่ในอากาศ ร้องขายหม้ออยู่ หรือว่าหม้อของท่านนี้ ใช้ประโยชน์อะไรได้ ดูก่อนพราหมณ์ ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.


    ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง เมื่อจะทรงแสดงโทษของสุรา จึงตรัสว่า


    หม้อใบนี้มิใช่หม้อเนยใส มิใช่หม้อน้ำมัน มิใช่หม้อน้ำผึ้ง โทษของหม้อใบนี้มีอยู่มิใช่น้อย ท่านจงฟังโทษเป็นอันมากที่มีอยู่ในหม้อใบนี้.


    บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว เดินโซเซตกลงไปยังบ่อ ถ้ำ หลุมน้ำครำและหลุมโสโครก พึงบริโภคของที่ไม่ควรบริโภคเป็นอันมากได้ ท่านจงซื้อหม้อนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ไม่มีกฎเกณฑ์ในใจ เที่ยวหยำเปไป เหมือนโคกินกากสุรา ฉะนั้น เป็นเหมือนขาดที่พักพิง ย่อมฟ้อนรำได้ ขับร้องได้ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว แก้ผ้าเปลือยกาย เที่ยวไปตามตรอกตามถนน ในบ้านเหมือนชีเปลือย มีจิตลุ่มหลง นอนตื่นสาย ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ลุกขึ้นโซเซโคลงศีรษะและยกแขนขึ้นร่ายรำ เหมือนรูปหุ่นไม้ ฉะนั้น ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว นอนจนถูกไฟไหม้และกินอาหารที่เหลือเดนสุนัขได้ ย่อมถึงการถูกจองจำถูกฆ่า และความเสื่อมแห่งโภคะ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว พูดคำพูดที่ไม่ควรพูดนั่งพร่ำในที่ประชุม ปราศจากผ้าผ่อน เลอะเทอะนอนจมอยู่ในอาเจียนของตน มีแต่เรื่องฉิบหาย ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว วางมาดเป็นคนสำคัญนัยน์ตาขุ่นขวาง เข้าใจว่าบ้านเมืองเป็นของเราคนเดียวพระราชาแม้มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบขัณฑสีมา ก็ไม่เสมอเรา ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ถือตัวจัด ก่อการทะเลาะวิวาท ยุยงส่อเสียด มีผิวพรรณน่าเกลียดเปลือยกายวิ่งไป อยู่อย่างนักเลงเก่า ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    น้ำชนิดนี้ ทำตระกูลทั้งหลายในโลกนี้ อันมั่งคั่งบริบูรณ์ มีเงินทองตั้งหลายพันให้ขาดทายาทได้ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    ข้าวเปลือก ทรัพย์สิน เงินทอง ไร่ นา โคกระบือ ในสกุลใดย่อมพินาศไป ตระกูลที่มั่งมีทั้งหลายขาดสูญไป เพราะดื่มน้ำชนิดใด ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    บุรุษดื่มน้ำชนิดใดแล้ว เป็นคนหยาบช้า ด่ามารดาบิดาได้ แม้ถึงเป็นพ่อผัวก็พึงหยอกลูกสะใภ้ได้ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    นารีดื่มน้ำชนิดใดแล้ว กลายเป็นคนกักขฬะหยาบช้า ด่าพ่อผัว แม่ผัว และสามีได้ แม้เป็นทาสเป็นคนใช้ พึงรับเป็นสามีของตนได้ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    บุรุษดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ฆ่าสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมได้ พึงไปสู่อบาย เพราะกรรมนั้นเป็นเหตุ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา หรือทางใจได้ ย่อมไปสู่นรกเพราะประพฤติทุจริต ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    ชนทั้งหลายแม้จะยอมสละเงินเป็นอันมาก มาอ้อนวอนบุรุษใด ซึ่งไม่เคยดื่มสุรา ให้พูดเท็จ ย่อมไม่ได้ บุรุษนั้นครั้นดื่มสุราแล้วย่อมพูดเหลาะแหละเหลวไหลได้ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    คนรับใช้ดื่มน้ำชนิดใดแล้ว เมื่อถูกเขาใช้ไปในกรณียกิจรีบด่วน ถูกซักถามก็ไม่รู้เนื้อความ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ถึงจะเคยมีความละอายใจอยู่ ก็ย่อมจะทำความไม่ละอายให้ปรากฏได้ถึงแม้จะเป็นคนมีปัญญาก็อดพูดมากไม่ได้ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว นอนคนเดียวไม่มีเพื่อน คล้ายลูกสุกรนอนเดียวดาย ด้วยชาติกำเนิดอันต่ำฉะนั้น อดข้าวปลาอาหาร ย่อมเข้าถึงการนอนเป็นทุกข์อยู่กับแผ่นดิน สิ้นสง่าราศรี และต้องครหานินทา ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ย่อมนอนคอตกหาเป็นเหมือนโคที่ถูกลงปฏักฉะนั้นไม่ ฤทธิ์สุราย่อมทำให้คนอดทนได้ (ไม่กินข้าวกินน้ำ) ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเว้นดื่มน้ำชนิดใด อันเปรียบด้วยงูมีพิษร้าย นรชนคนใดเล่า ควรจะดื่มน้ำชนิดนั้นอันเป็นเช่นยาพิษมีในโลก ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    โอรสทั้งหลายของท้าวอันธกเวณฑะ ดื่มสุราแล้ว พาหญิงไปบำเรออยู่ที่ริมฝั่งสมุทร ประหารกันและกันด้วยสาก ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.


    บุรพเทพ คืออสูรทั้งหลาย ดื่มน้ำชนิดใดแล้วเมามาย จนจุติจากไตรทิพย์ คือดาวดึงสเทวโลก ยังสำคัญตนว่าเที่ยง เป็นไปกับด้วยอสุรมายา ดูก่อนมหาราชเจ้า บุรุษผู้ฉลาดเช่นกับพระองค์ เมื่อทราบว่าน้ำดื่มชนิดนี้เป็นน้ำเมา หาประโยชน์มิได้ จะดื่มทำไม?


    ในหม้อใบนี้ ไม่มีเนยข้น หรือน้ำผึ้ง พระองค์รู้อย่างนี้แล้ว จงซื้อเสีย ดูก่อนท่านสัพพมิตต์ สิ่งที่อยู่ในหม้อนี้ ข้าพเจ้าบอกแก่ท่านแล้วตามความเป็นจริงอย่างนี้แหละ.


    พระเจ้าสัพพมิตต์ ทรงสดับดังนั้น ก็ทรงทราบโทษของสุรา ดีพระทัย เมื่อจะทรงชมเชยท้าวสักกเทวราช ได้ตรัสพระว่า


    ท่านมิใช่เป็นบิดา หรือมารดาของข้าพเจ้า เป็นคนชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มุ่งเกื้อกูลอนุเคราะห์ปรารถนาประโยชน์อย่างยิ่งแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักกระทำตามถ้อยคำของท่านในวันนี้.


    ข้าพเจ้าจักให้บ้านส่วยห้าตำบล ทาสีหนึ่งร้อยโคเจ็ดร้อย และรถเทียมด้วยม้าอาชาไนยสิบคันเหล่านี้แก่ท่าน ขอท่านผู้ปรารถนาประโยชน์จงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าเถิด.


    ท้าวสักกเทวราช ทรงสดับเช่นนั้น เมื่อจะทรงแสดงอัตภาพของเทพยดาให้พระเจ้าสัพพมิตต์ทรงรู้จักพระองค์จึงประทับยืนบนอากาศ ได้ตรัสพระว่า


    ดูก่อนพระราชา ทาสี บ้านส่วย โค และรถอันเทียมด้วยม้าอาชาไนย จงเป็นของพระองค์ตามเดิมเถิด เราเป็นท้าวสักกะจอมเทพ ของชาวไตรทิพย์.พระองค์จงเสวยพระกระยาหาร เนยใส และข้าวปายาส พึงเสวยขนมกุมมาสอันโอชารส ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์จงทรงยินดีในธรรม เมื่อพระองค์เสวยโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ อย่างนี้ จงเว้นการดื่มสุรา ละทุจริต ๓ อย่าง เป็นผู้ยินดีในสุจริตธรรม ๓ ประการ อันใคร ๆ ไม่ติเตียนแล้ว จงเข้าถึงสวรรคสถานเถิด


    ท้าวสักกะครั้นทรงประทานโอวาทแก่พระเจ้าสัพพมิตต์ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็เสด็จไปยังสถานวิมานของพระองค์ทันที ฝ่ายพระเจ้าสัพพมิตต์ ก็ไม่ทรงดื่มสุรา ตรัสสั่งให้ทำลายภาชนะสุราสิ้น แล้วทรงสมาทานศีล บริจาคทาน ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า การดื่มสุราเกิดนิยมกันอย่างกว้างขวาง แม้ในชมพูทวีปติดต่อสืบเนื่องมาจนบัดนี้


    พระบรมศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนท้าวสักกเทวราช ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.


    จบกุมภชาดก
     
  6. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    เดี่ยวบลูจะอ่านออกเสียงอัดไว้ .......
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุมภีลชาดก คุณธรรมเครื่องให้เจริญ

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

    พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :

    ผู้ใดมีคุณธรรมอันเป็นเครื่องให้ความเจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ

    สัจจะ ๑ ธรรม ๑ ธิติ ๑ จาคะ ๑ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้

    ส่วนผู้ใดไม่มีคุณธรรมอันเป็นเครื่องให้เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ

    สัจจะ ๑ ธรรม ๑ ธิติ ๑ จาคะ ๑ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูไม่ได้

    ข้อความทั้งหมดที่เหลือในชาดกนี้พร้อมทั้งประชุมชาดก มีนัยดังกล่าวแล้วใน กุมภีลชาดก ในหนหลังแล

    จบ กุมภีลชาดก
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุมมาสปิณฑชาดก ว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ พระนางมัลลิกาเทวี จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR style="HEIGHT: 648.25pt"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; HEIGHT: 100%" vAlign=top width=568>ความพิสดารว่า พระนางเป็นธิดาของหัวหน้านายมาลาการคน หนึ่ง ในนครสาวัตถี มีรูปโฉมเลอเลิศ มีปัญญามาก เวลาพระนางมี พระชนมายุ ๑๖ พรรษา วันหนึ่ง กำลังไปสวนดอกไม้พร้อมกับหญิง สาวทั้งหลาย หยิบเอาขนมกุมมาส ๓ ก้อน วางไว้ในกระเช้าดอกไม้ เดินไป เวลาออกไปจากพระนคร พระนางเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งรัศมีแห่งพระสรีระ มีพระภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม กำลังเสด็จเข้าพระนคร จึงน้อมก้อนขนมกุมมาสเหล่านั้นเข้าไปถวาย พระศาสดาทรงยื่นบาตรที่ท้าวจาตุมหาราชถวายออกรับ ฝ่ายพระนางวันทาพระบาทของพระตถาคตด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้ยึดเอาปิติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ยืนอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง พระศาสดาเมื่อทรงทอดพระเนตรนาง ได้ทรงกระทำการแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ

    ท่านพระอานนท์เถระ จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในการแย้มสรวลของพระตถาคตเจ้า ?

    ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถึงเหตุแห่งการทรงแย้มแก่พระอานนท์ ว่า ดูก่อนอานนท์ กุมาริกาคนนี้จักได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล ในวันนี้ทีเดียว เพราะผลแห่งการถวายก้อนขนมกุมมาสเหล่านี้

    ฝ่ายนางกุมาริกาไปสวนดอกไม้แล้ว วันนั้นเอง พระเจ้าโกศลทรงรบกับพระเจ้าอชาตสัตรู ทรงปราชัยในการรบแล้ว เมื่อทรงล่าถอยได้ทรงม้าต้นเสด็จมา ทรงสดับเสียงเพลงขับของนางทรงมีพระทัยปฏิพัทธ จึงทรงควบม้าต้นมุ่งหน้าสู่สวนนั้น กุมาริกาผู้ถึงพร้อมด้วยบุญ เห็นพระราชาแล้วไม่หนีเลย มาจับเชือกบังเหียนม้าทรงไว้ พระราชาประทับนั่งบนหลังม้าทรงนั่งเอง ตรัสถามว่า เธอมีสามีหรือยัง ? เมื่อทรงทราบว่ายังไม่มีสามี จึงได้เสด็จลงจากหลังม้าต้น ทรงอิดโรย เพราะลมและแดด ทรงบรรทมม่อยหลับไปงีบหนึ่งบนตักของนาง แล้วให้นางนั่งบนหลังม้าทรง มีพลนิกายแวดล้อมเสด็จเข้าพระนคร ทรงส่งนางไปยังเรือนของผู้มีตระกูลของตน

    เวลาเย็น ทรงส่งยานไป ให้นำเอานางมาจากเรือนของผู้มีสกุล ด้วยสักการะสัมมานะมาก ให้นั่งใกล้กองรัตนะ ทรงทำการอภิเษกแล้ว ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นอัครมเหสี นับแต่แต่นั้นมา พระนางทรงเป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระราชา ทรงเป็นเทพดาของผัวผู้ประกอบด้วยกัลยาณธรรม ๕ ประการ มีการตื่นก่อนเป็นต้น ได้ทรงเป็นผู้ใกล้ชิดแม้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    การที่พระนางทรงถวายขนมกุมมาส ๓ ก้อนแด่พระศาสดา แล้วได้ทรงประสบสมบัตินั้น ได้ระบือไปทั่ว พระนคร ภายหลังอยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายพากันตั้งข้อสนทนากันขึ้นที่ธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโส พระนางมัลลิกาเทวี ทรงถวาย ขนม ๓ ก้อนแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยผลของการถวายขนมเหล่านั้น ทรงได้รับอภิเษกในวันนั้นเอง ความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่น่าอัศจรรย์จริง

    พระศาสดาเสด็จมา แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องที่สนทนากัน แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์เลย การที่พระนางมัลลิกาเทวีทรงถวายขนมกุมมาสแก่พระสัพพัญญูพุทธเจ้าพระองค์เดียว แล้วทรงได้รับความเป็นพระมเหสีของพระเจ้าโกศล เพราะเหตุไร ? เพราะพระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรงเป็นผู้มีพระคุณมาก ส่วนบัณฑิตในปางก่อน ได้ถวายขนมกุมมาสจืด ไม่ผสมเกลือ ไม่มีน้ำมัน ไม่ผสมน้ำอ้อย แก่พระปัจเจกพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วได้รับสิริราชสมบัติ ในแคว้นกาสีประมาณ ๓ โยชน์ ในอัตภาพที่ ๒ เพราะผลการถวายขนมนั้น น่าอัศจรรย์แท้ ดังนี้ แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลของคนยากจนตระกูลหนึ่ง เติบโตแล้วอาศัยเศรษฐีคนหนึ่ง ทำงานรับจ้างเลี้ยงชีวิต อยู่มาวันหนึ่ง เขาถือขนมกุมมาส ๔ ก้อนมาจากตลาด โดยคิดว่า ขนมเหล่านี้จักเป็นอาหารเช้าของเรา เมื่อเดินไปทำงาน ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์ กำลังเสด็จมา บ่ายพระพักตร์ไปนครพาราณสี เพื่อประโยชน์แก่ภิกษาจาร จึงคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ เสด็จไปนครพาราณสีเพื่อต้องการภิกษาจาร เราก็มีขนมกุมมาส ๔ ก้อนนี้ ถ้ากระไรแล้ว เราควรถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ แล้วเข้าไปเฝ้าท่านทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีขนมกุมมาสในมือ ๔ ก้อน ข้าพระองค์ ขอถวายขนมเหล่านี้แก่พระองค์ทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระองค์ทั้งหลายจงทรงรับเถิด แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ บุญนี้จักมีแก่ข้าพระองค์ เพื่อประโยชน์และความสุขตลอดกาลนาน

    และเมื่อได้ทราบการทรงรับนิมนต์ของพระองค์ท่านแล้ว ก็ตกแต่งอาสนะ ๔ ที่โดย พูนทรายขึ้นลาดกิ่งไม้และผ้าเปลือกไม้ไว้บนกองทรายเหล่านั้น นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าให้ประทับนั่งตามลำดับแล้ว เอากระทงใบไม้ตักน้ำมา หลั่งทักขิโณทก วางขนมกุมาส ๔ ก้อนลงในบาตร ๔ ใบ นมัสการแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยผลแห่งการถวายขนมกุมมาสเหล่านั้น ขึ้นชื่อว่าการเกิดในเรือนคนจน ขอจงอย่ามีเลย ขอให้การถวายทานนี้ จงเป็นปัจจัยแห่งการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

    พระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลายก็เสวยทันที ในที่สุดแห่งการเสวย ทรงทำอนุโมทนาแล้ว ได้ทรงเหาะไปสู่เงื้อมเขานันทมูลนั่นเอง พระโพธิสัตว์ประคองอัญชลี แล้วเอาปิติที่ไปในพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นละสายตาไปแล้ว ก็ไป ณ ที่ทำงานของตน แม้ท่านทำกรรมเพียงเท่านี้ แต่รำลึกถึงทานนั้นตลอดอายุถึงแก่กรรมแล้ว ก็ถือกำเนิดในพระอุทรของพระอัครมเหสี ของพระเจ้าพาราณสี พระญาติทั้งหลายได้ ถวายพระนามว่า พรหมทัตกุการ ท้าวเธอนับแต่แต่เวลาที่ตนเสด็จดำเนินไปด้วยพระบาท ทรงเห็นกิริยาอาการของตนในชาติก่อนปรากฏชัด ด้วยความรู้ระลึกชาติได้เหมือนเห็นเงาหน้าในกระจกเงาที่ใสว่า เราได้เป็นลูกจ้างในนครนี้นั่นเอง เมื่อเดินไปทำงานได้ถวายขนมกุมมาส ๔ ก้อน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ถือกำเนิดในที่นี้ เพราะผลของกรรมนั้น

    ท้าวเธอทรงเจริญวัย แล้วเสด็จไปยังนครตักกศิลา ทรงเรียนศิลปะทุกอย่าง แล้วเสด็จกลับมา ทรงแสดงศิลปะที่ทรงศึกษามาแล้ว แก่พระราชบิดา แล้วพระราชบิดาทรงพอพระราชหฤทัย ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมาโดยสิ้นรัชกาลของพระราชบิดา ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ

    ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลาย พากันนำพระราชธิดาของพระเจ้าโกศลผู้ทรงเลอโฉม มาถวายให้เป็น พระอัครมเหสีของพระองค์ ก็ในวันฉัตรมงคลของพระองค์คนทั้งหลาย ได้พากันตบแต่งพระนครทั้งนครให้เหมือนเทพนครก็ปานกัน พระองค์เสด็จเลียบพระนคร แล้วเสด็จขึ้นปราสาทที่ตบแต่ง แล้วเสด็จขึ้นพระราชบัลลังก์ ที่ยกเศวตรฉัตรขึ้นไว้ ณ ท่ามกลางชั้นที่กว้างใหญ่ ประทับนั่งแล้ว ทอดพระเนตรพสกนิกรทั้งหลายที่พากันยืนเฝ้า ด้านหนึ่งเป็นอำมาตย์ ด้านหนึ่งเป็นคหบดี มีพราหมณ์คหบดีเป็นต้น ผู้มีสมบัติต่างๆ กัน มีความรุ่งเรืองสุกใสด้วยสิริวิลาส ด้านหนึ่งเป็นประชาชนชาวกรุง มีมือถือเครื่องบรรณาการนานาชนิด ด้านหนึ่งเป็นคณะหญิงฟ้อนจำนวนหมื่นหกพันนาง ปานประหนึ่งสาวอัปสร ผู้ตบแต่งแล้ว ฉะนั้น และสิริราชสมบัตินี้เป็นที่รื่นรมย์พระทัยยิ่งนัก ทรงรำลึกถึงกุศลกรรมที่ตนบำเพ็ญไว้ในปางก่อนแล้ว ทรงรำลึกถึง พระคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายว่า สิริสมบัติแม้ทั้งหมดนี้ คือ ห่อทองห่อนี้ ๑ ดอกไม้ทอง ๑ เศวตรฉัตร ๑ ช้างม้าและรถที่เป็น ราชพาหนะเหล่านี้ จำนวนหลายพัน ๑ ห้องคลังที่เต็มด้วยแก้วมณี และแก้วมุกดาเป็นต้น ๑ แผ่นดินใหญ่ที่เต็มไปด้วยธัญชาตินานาชนิด ๑ เหล่านารีที่เทียบเคียงกับสาวอัปสร ๑ เป็นสมบัติของเรา ไม่ใช่ของคนอื่น แต่เป็นสิ่งที่อาศัยการถวายขนมกุมมาส ๔ ก้อน แก่พระปัจเจก ๔ องค์นั่นเอง สมบัตินั้นเราได้มาเพราะอาศัยพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ดังนี้ แล้วได้กระทำกรรมของตนให้ปรากฏแล้ว เมื่อพระองค์ทรงรำลึกถึงผลกรรมนั้นแล้ว พระสรีระทั้งสิ้นเต็มเปี่ยมไปด้วยปิติ พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยชุ่มเย็นด้วยปิติ เมื่อทรงขับเพลงที่ทรงอุทานออกมา ที่ท่ามกลางมหาชน ได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ว่า:

    [๑๑๐๗] ได้ยินว่า การทำสามีจิกรรมในพระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าอโนมทัสสี มีคุณไม่น้อยเลย เชิญดูผลแห่งก้อนขนมกุมมาสแห้ง ไม่มีรสเค็ม ส่งผลให้เราได้ช้าง ม้า วัว ทรัพย์ ข้าวเปลือกเป็นอันมากนี้ ตลอดทั้งแผ่นดินทั้งสิ้น และนางนารีเหล่านี้เปรียบด้วยนางอัปสร เชิญดูผลแห่งก้อนขนมกุมมาส

    ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงมีปิติปราโมทย์เกิดขึ้นในวันฉัตรมงคลของตน จึงทรงร้องเพลงพระราชอุทาน ด้วยคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ นับแต่แต่นั้นมา เหล่าหญิงฟ้อนของพระโพธิสัตว์พากันร้องเพลงนั้น โดยคิดว่า เป็นเพลงที่พระราชาทรงโปรด คือเพลงพระราชนิพนธ์ และคนธรรพ์ที่เป็นนักฟ้อนทั้งหลายเป็นต้น ที่เหลือก็ดี คนภายในเมืองก็ดี คนที่อยู่ภายในพระนครทั้งหลายก็ดี คนที่อยู่ภายนอกพระนครทั้งหลายก็ดี พากันร้องเพลงนั้นเหมือนกัน ที่ร้านเครื่องดื่มภัตตาคารบ้าง ที่บริเวณชุมชนบ้าง โดยคิดว่า เป็นเพลงที่พระราชาของพวกเราทรงโปรด

    เมื่อเวลาผ่านไปนานแล้วอย่างนี้ พระมเหสีได้มีพระราชประสงค์จะทรงทราบเนื้อร้องของเพลงนั้น แต่ไม่กล้าทูลถามพระมหาสัตว์ ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาทรงเลื่อมใสในคุณงามความดีอย่างหนึ่งของพระนาง จึงตรัสว่า น้องนางเอ๋ย ฉันจะให้พรแก่เธอ ขอให้เธอจงรับพร

    พระนางจึงทูลว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม หม่อมฉันขอรับพระราชทานพระพร

    บรรดาช้างม้าเป็นต้น เราจะให้อะไรแก่เธอ

    ข้าแต่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ไม่มีอะไรที่หม่อมฉันไม่มี เพราะอาศัยเสด็จพี่ หม่อมฉันไม่มีความต้องการสิ่งเหล่านั้น ถ้าหากเสด็จพี่มีพระราชประสงค์จะพระราชทานพระพร ขอจงตรัสบอกเนื้อเพลง พระราช นิพนธ์ พระราชทานหม่อมฉันเถิด

    น้องนาง เธอจะมีประโยชน์ อะไรด้วยพรนี้ เธอจงรับเอาพรอื่นเถิด

    ขอเดชะพระอาชญาไม่พ้น เกล้า หม่อมฉันไม่มีความต้องการอย่างอื่น ต้องการเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์อย่างเดียว

    น้องนาง ดีแล้ว เราจักบอกให้ แต่เราจะไม่บอกแก่เธอคนเดียวในที่ลับ จักให้ตีกลองป่าวร้องไปในนครพาราณสี ประมาณ ๑๒ โยชน์ ให้สร้างรัตนบัลลังก์ที่พระทวารหลวง ให้ลาดรัตนบัลลังก์ห้อมล้อมด้วยชาวนครทั้งหลาย มีอำมาตย์และพราหมณ์เป็นต้น และหญิงหมื่นหกพันนาง นั่งบนรัตนบัลลังก์ ท่ามกลางคนเหล่านั้น แล้วบอก

    พระนางทูลรับว่า ดีแล้ว เพคะ

    พระราชาทรงให้ทำอย่างนั้นแล้ว มีหมู่มหาชนแวดล้อม เหมือนท้าวสักกะเทวราชมีหมู่เทวดาห้อมล้อม ฉะนั้น แล้วเสด็จประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ ฝ่ายพระราชเทวี ทรงประดับประดาด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ตั้งพระภัทรบิฐทอง ทรงชำเลืองหางพระเนตรดูที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วประทับ ณ ที่ตามความเหมาะสม ทูลว่า ข้าแต่เสด็จพี่ ขอเสด็จพี่จงตรัสบอกเนื้อร้องของเพลงมงคลที่เสด็จพี่ปลื้มพระทัย แล้วทรงขับร้องแก่หม่อมฉันให้ชัดแจ้ง เหมือนให้พระจันทร์โผล่ขึ้นบนท้องฟ้าก่อน ฉะนั้น แล้วทูลคาถาที่ ๓ ว่า:

    [๑๑๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้มีอัธยาศัยเป็นกุศล ผู้บำรุงรัฐให้เจริญ พระองค์ตรัสคาถาเพลงขับเสมอๆ ขอพระองค์ผู้มีพระทัยเปี่ยมด้วยปีติอันแรงกล้า ได้โปรดตรัสบอกใจความแห่งคาถาเพลงขับที่หม่อมฉันทูลถามนั้นเถิด

    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงทำเนื้อความของคาถา ทั้งหลายให้แจ่มชัดแก่พระนาง จึงได้ภาษิตคาถา ๔ คาถา ว่า:

    [๑๑๐๙] เราเกิดในตระกูลหนึ่งในนครนี้แหละ เป็นลูกจ้างทำงานให้คนอื่น ถึงจะเป็นลูกจ้างทำการงานเลี้ยงชีวิต แต่เราก็มีศีลสังวร วันนั้นเราออกไปทำงาน ได้เห็นสมณะ ๔ รูป ผู้ประกอบไปด้วยอาจาระและศีล เป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอาสวะ เรามีจิตเลื่อมใสในสมณะเหล่านั้น จึงนิมนต์ให้ท่านนั่งบนอาสนะที่ลาดด้วยใบไม้แล้ว ได้ถวายขนมกุมมาสแก่ท่านด้วยมือของตน ผลแห่งกุศลกรรมนั้นของเราเป็นเช่นนี้ เราจึงได้เสวยราชสมบัตินี้ อันมีแผ่นดินแผ่ไพศาลไปด้วยสมบัติทุกชนิด

    เมื่อพระมหาสัตว์บอกผลกรรมของตน โดยพิสดารอย่างนี้แล้ว พระเทวีครั้นทรงสดับแล้ว ทรงมีพระทัยเลื่อมใส เมื่อจะทรงทำการสดุดีพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าว่า พระองค์ทรงทราบผลทาน โดยประจักษ์อย่างนี้แล้วไซร้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พระองค์ทรงได้ก้อนข้าวก้อนหนึ่งแล้ว ต้องถวายแก่สมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรมนั้นแหละ จึงจะเสวย ดังนี้แล้ว ได้ทูลคาถานี้ว่า:

    [๑๑๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้มีอัธยาศัยเป็นกุศล พระองค์ทรงประทานเสียก่อน จึงค่อยเสวยเอง พระองค์อย่าทรงประมาทในบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น พระองค์จงทรงยังจักร ๔ มีการอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นต้นให้เป็นไป อย่าได้ทรงตั้งอยู่ในอธรรมเลย จงทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมเถิด

    พระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงรับพระดำรัสของพระนาง จึงตรัสคาถา นี้ว่า:

    [๑๑๑๑] ดูกรพระราชธิดาของพระเจ้าโกศลผู้เลอโฉม เรานั้นจักประพฤติตามทางที่พระอริยเจ้าประพฤติมาแล้วนั้นแลเสมอๆ พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นที่พอใจของเราแท้ เราปรารถนาจะได้เห็นท่าน

    ก็แหละพระราชา ครั้นตรัสคำนี้แล้ว ทรงตรวจดูสมบัติของพระเทวี เมื่อตรัสถามว่า ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ เราบอกกุศลกรรม ของตนในภพก่อนอย่างพิสดารแก่เธอแล้ว แต่ในท่ามกลางหญิงเหล่านี้ ไม่มีหญิงแม้แต่คนเดียวที่เช่นกับเธอ โดยรูปร่างหรือโดยเยื้องกราย และกิริยาเสน่หาของหญิง เธอนั้นทำกรรมอะไรไว้ จึงได้รับสมบัตินี้ ดังนี้ จึงได้ตรัสคาถาซ้ำว่า:

    [๑๑๑๒] ดูกรนางเทวีผู้เป็นพระราชธิดาที่รักของพระเจ้าโกศล เจ้างดงามอยู่ในท่ามกลางหมู่นารี เปรียบเหมือนนางเทพอัปสรฉะนั้น เจ้าได้ทำกรรมดีงามอะไรไว้ เจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร?

    ลำดับนั้น พระราชเทวีนั้น เมื่อจะทูลบอกกรรมดี ในภพก่อน ด้วยพระญาณที่ทรงระลึกชาติได้ จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาที่เหลือว่า:

    [๑๑๑๓] ข้าแต่พระมหากษัตริย์ หม่อมฉันเป็นทาสีทำการรับใช้ของตระกูลกฏุมพี เป็นผู้สำรวมระวัง เป็นอยู่โดยธรรม มีศีล มีความเห็นชอบธรรมคราวนั้น หม่อมฉันมีจิตโสมนัส ได้ถวายอาหารที่เป็นส่วนของหม่อมฉัน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ด้วยมือตนเองผลแห่งกรรมนั้นของหม่อมฉัน เป็นเช่นนี้

    ได้ทราบมาว่า แม้พระราชเทวีนั้น ก็ทรงระลึกชาติได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระนางจึงได้ทูลพระราชา โดยทรงกำหนดด้วยพระญาณ ที่ทรงระลึกชาติของตนได้นั่นเอง

    ข้าแต่มหาราช เมื่อก่อนหม่อมฉันเป็นทาสี ของตระกูลกุฎุมพีตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในนครสาวัตถี ถือเอาภัตตาหารส่วนที่ได้แล้วเดินออกไป เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งกำลังทรงดำเนินไปบิณฑบาต ยังความยินดีของตนให้ห่อเหี่ยวลง ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีความสำรวมระวังเป็นต้น เชื่อผลของกรรมอยู่ จึงได้ ถวายภัตตาหารนั้นแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น หม่อมฉันนั้น ดำรงอยู่จนตลอดอายุถึงแก่กรรมแล้ว ได้ถือกำเนิดในพระอุทรของพระมเหสีของพระเจ้าโกศล ในนครสาวัตถีนั้น บัดนี้ กำลังบำเรอบาทของพระองค์ เสวยสมบัติเห็นปานนี้ ผลกรรมของหม่อมฉันนั้น เป็นอย่างนี้

    พระราชาและพระมเหสีทั้ง ๒ พระองค์นั้น ครั้นตรัสกรรมเก่า โดยพิสดารด้วยประการอย่างนี้แล้ว นับแต่แต่นั้นมา ทรงให้สร้างศาลา ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ที่กลางพระนคร ๑ แห่ง ที่ประตูพระราชวัง ๑ แห่ง ทรงกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้กระฉ่อน ยังมหาทานให้เป็นไป ทรงรักษาศีล รักษาอุโบสถ ในอวสานต์แห่งพระชนม์ ชีพ ได้ทรงมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า พระราชเทวีในครั้งนั้น ได้แก่ มารดาพระราหุล ส่วนพระราชา ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุรุงคมิคชาดก ว่าด้วยกวางกุรุงคะ

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภพระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 height="100%">ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา นั่งกล่าวโทษของพระเทวทัตว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัต จ้างนายขมังธนูเพื่อต้องการปลงพระชนม์พระตถาคต กลิ้งศิลา ปล่อยช้างธนปาลกะ ตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์ของพระทศพล แม้ในกาลทั้งปวง

    พระศาสดาเสด็จมาแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องการกล่าว โทษของพระเทวทัตว่า พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อปลงพระชนม์ของพระองค์

    พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าเราในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ตะเกียกตะกายเหมือนกัน ก็แต่ว่าไม่ สามารถจะฆ่าเราได้ แล้วทรงนำอดีตนิทานมาแสดง ดังต่อไปนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นกวาง เที่ยวเคี้ยวกินผลาผลทั้งหลายในราวป่าแห่งหนึ่ง ในคราวหนึ่ง กวางนั้นกิน ผลมะรื่นที่ต้นมะรื่นอันมีผลสะพรั่ง ลำดับนั้น มีพรานนั่งห้างชาวบ้านคนหนึ่ง พิจารณารอยเท้าเนื้อทั้งหลายแล้ว จึงผูกห้างบนต้นไม้ แล้วนั่งบนห้างนั้น เอาหอกแทงพวกเนื้อที่มากินผลไม้ แล้วขายเนื้อของเนื้อเหล่านั้นเลี้ยงชีวิต

    วันหนึ่ง พรานนั้นเห็นรอยเท้าของพระโพธิสัตว์ที่โคนต้นไม้นั้น จึงผูกห้างบนต้นมะรื่นนั้น แล้วบริโภคอาหารแต่เช้าตรู่ แล้วถือหอกเข้าป่าขึ้นไปยังต้นไม้นั้นแล้วนั่งห้าง ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ออกจากที่อยู่แต่เช้าตรู่มาด้วยหวังว่าจักกินผลมะรื่น แต่ก็ไม่ได้ผลุนผลันเข้าไปที่โคนต้นไม้นั้น คิดว่า บางคราวพวกพรานนั่งห้างจะผูกห้างบนต้นไม้ อันตรายเช่นนี้มีไหมหนอ จึงได้ยืนพิจารณาอยู่แต่ภายนอก

    ฝ่ายนายพรานรู้ว่าพระโพธิสัตว์ไม่เข้ามา ก็โยนผลมะรื่นจากบนห้างให้ตกลงข้างหน้าพระโพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์คิดว่า ผลเหล่านี้มาตกลงข้างหน้าเรา เบื้องบนต้นไม้นั้นมีนายพรานหรือหนอ เมื่อแลดูบ่อย ๆ ก็เห็นนายพราน แต่ทำเป็นไม่เห็นพูดว่า ต้นไม้ผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านให้ผลไม้ทั้งหลายตกลงตรง ๆ เหมือนเขย่าผลที่ห้อยอยู่ฉะนั้น บัดนี้ท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียแล้ว เมื่อท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียอย่างนี้ เราจักเข้าไปยังโคนต้นไม้ต้นอื่น แสวงหาอาหารของเรา

    ลำดับนั้น นายพรานทั้งที่นั่งอยู่บนห้างนั่นแล ก็พุ่งหอกไปเพื่อฆ่าพระโพธิสัตว์นั้น แล้วกล่าวว่า ท่านจงไปเถิด เรานี้ผิดหวังท่านยิ่งนัก พระโพธิสัตว์ก็หันกลับมายืนกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ บัดนี้ท่านผิดหวังเราก็จริง แต่ ถึงกระนั้นท่านจะไม่ผิดหวังมหานรก ๘ ขุม อุสสทนรก ๑๖ ขุม และกรรมกรณ์ทั้งหลายมีการจองจำ ๕ ประการเป็นต้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ได้ไปตามชอบใจ ฝ่ายนายพรานลงมาแล้วก็ไปตามความชอบใจของตนเช่นกัน

    แม้พระศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าเราในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ตะเกียกตะกายแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดก ว่า นาย พรานนั่งห้างในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัต ส่วนกวางในครั้งนั้นได้เป็น เราแล.
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุรุงคมิคชาดก ว่าด้วยผู้ชอบโอ้อวด

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=657 height="100%">ความย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาทรงสดับว่า พระเทวทัตพยายามจะปลงพระชนม์พระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพยายามจะปลงชีวิตของเรา มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นแม้เมื่อก่อนก็พยายามเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นกวางอาศัยอยู่ที่ละเมาะแห่งหนึ่ง ไม่ไกลสระแห่งหนึ่งในป่า ไม่ไกลสระนั้นมีนกชื่อสตปัตตะ จับอยู่ที่ยอดไม้ต้นหนึ่ง ก็ที่สระมีเต่าอาศัยอยู่ สัตว์ทั้งสามนั้นเป็นสหายกัน ต่างอยู่กันด้วยความรัก ครั้งนั้นพรานเนื้อคนหนึ่งท่องเที่ยวไปในป่า พบรอยเท้าพระโพธิสัตว์ที่ท่าลงน้ำดื่ม จึงดักบ่วงมีเกลียวแข็งแรงราวกับโซ่เหล็ก แล้วกลับไป

    พระโพธิสัตว์มาดื่มน้ำ ติดที่บ่วงตั้งแต่ยามต้น จึงร้องให้รู้ว่าติดบ่วงเข้าแล้ว นกสตปัตตะได้ยินเสียงพระโพธิสัตว์ จึงลงจากยอดไม้ เต่าก็ขึ้นจากน้ำ ปรึกษากันว่า จะควรทำอย่างไรดี นกสตปัตตะจึงบอกเต่าว่า สหายท่านมีฟันจงแทะบ่วงนี้เถิด เราจะไปคอยกันไม่ให้พรานมาได้ ด้วยความพยายามที่เราทั้งสองทำอย่างนี้ สหายของเราจักรอดชีวิต

    เต่าจึงเริ่มแทะเชือกหนัง นกสตปัตตะก็จับคอยอยู่บนต้นไม้ไม่ไกลจากบ้านที่นายพรานอยู่ นายพรานถือหอกออกแต่เช้าตรู่ นกรู้ว่านายพรานออกก็โฉบปรบปีก เอาปากจิกนายพรานผู้จะออกทางประตูหน้า นายพรานคิดว่าเราถูกนกกาลกิณีตีเข้าให้แล้ว จึงกลับไปนอนเสียหน่อยหนึ่ง แล้วลุกขึ้นถือหอกไปอีก นกรู้ว่านายพรานนี้ออกไปทางประตูหน้า บัดนี้คงจะออกไปทางประตูหลัง จึงไปจับที่เรือนด้านหลัง

    ฝ่ายนายพรานคิดว่า เมื่อเราออกทางประตูหน้าก็พบนกกาลกิณี บัดนี้เราจะออกทางประตูหลัง จึงออกไปทางประตูหลัง นกก็โฉบเอาปากจิกอีก นายพรานคิดว่า เราถูกนกกาลกิณีอีก บัดนี้นกนี้คงไม่ให้เราออก นอนรอจนอรุณขึ้น จึงถือหอกออกไปในเวลาอรุณขึ้น นกรีบไปบอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า พรานกำลังเดินมา ในขณะนั้นเต่ากัดเชือกขาดยังเหลืออีกเกลียวเดียว แต่ฟันของเต่าชักจะเรรวนจวนจะร่วง ปากก็ฟูมไปด้วยเลือด

    พระโพธิสัตว์เห็นบุตรนายพรานถือหอก เดินมาด้วยความเร็วดุจฟ้าแลบ จึงกัดเกลียวนั้นขาดเข้าป่าไป นกจับอยู่บนยอดไม้ แต่เต่าคงนอนอยู่ในที่นั้นเอง เพราะบอบช้ำมาก พรานเห็นเต่า จึงจับใส่กระสอบแขวนไว้ที่ตอไม้ต้นหนึ่ง พระโพธิสัตว์กลับมาดูรู้ว่าเต่าถูกจับไปจึงคิดว่า เราจักให้ช่วยชีวิตสหาย จึงทำเป็นคล้ายจะหมดกำลังแสดงตนให้พรานเห็น พรานคิดว่า เนื้อคงหมดแรง เราจักฆ่ามันเสียแล้วถือหอกติดตามไป พระโพธิสัตว์ไปได้ไม่ไกลไม่ใกล้นัก ล่อพรานเข้าป่าไป ครั้นรู้ว่าพรานไปไกลแล้ว จึงเหยียบรอยเท้าลวงไว้ แล้วไปเสียทางอื่นด้วยความเร็วราวกะลมพัด เอาเขาของตนยกกระสอบขึ้นแล้วทิ้งลงบนพื้นดิน ขวิดฉีกขาดนำเต่าออกมาได้ แม้นกสตปัตตะก็ลงจากต้นไม้ พระโพธิสัตว์เมื่อจะให้โอวาทแก่สัตว์ทั้งสอง จึงกล่าวว่า เราได้ชีวิตก็เพราะอาศัยพวกท่าน กิจที่ควรทำแก่สหาย พวกท่านก็ได้ทำแก่เราแล้ว บัดนี้พรานคงจะมาจับท่านอีก เพราะฉะนั้น สหายสตปัตตะท่านจงพาลูกเล็ก ๆ ของท่านไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด สหายเต่า แม้ท่านก็จงลงน้ำไปเถิด สัตว์ทั้งสองได้ทำตาม

    แม้พรานมายังที่นั้น ไม่เห็นใคร ๆ หยิบกระสอบที่ขาดขึ้นแล้วก็เสียใจ กลับเรือนของตน สัตว์ทั้งสามสหายก็มิได้ตัดความสนิทสนมกันจนตลอดชีวิต แล้วต่างก็ไปกันตามยถากรรม

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า นายพรานในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ นกสตปัตตะได้เป็นสารีบุตร เต่าได้เป็นโมคคัลลานะ ส่วนกวาง คือเราตถาคตนี้แล
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุรุธรรมชาดก ว่าด้วยให้ช้างแก่ท้าวกาลิงคราช

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=657 height="100%">มีสหาย ๒ คนชาวเมืองสาวัตถี บรรพชาในสำนักภิกษุทั้งหลายแล้วได้อุปสมบท โดยมาเที่ยวไปด้วยกัน วันหนึ่ง ภิกษุ ๒ สหายนั้นไปยังแม่น้ำอจิรวดี อาบน้ำ นั่งผิงแดดอยู่บนเนินทราย กล่าวถ้อยคำให้ระลึกกันและกันอยู่ ขณะนั้นหงส์ ๒ กันบินมาทางอากาศ ลำดับนั้นภิกษุรูปหนึ่งจับก้อนกรวดมาแล้วกล่าวว่า ผมจะดีดลูกตาของหงส์ตัวหนึ่ง ภิกษุนอกนี้กล่าวว่า ท่านจักไม่สามารถ ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่านัยน์ตาข้างนี้จงยกไว้ ผมจะดีดนัยน์ตาข้างโน้น ภิกษุนอกนี้ก็กล่าวว่า แม้นัยน์ตาข้างนี้ท่านก็จักไม่อาจดีดได้ ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านคอยดู ว่าแล้วก็หยิบก้อนกรวด ๓ เหลี่ยมมาดีดไปทางเบื้องหลังของหงส์ หงส์ได้ยินเสียงกรวดจึงเหลียวมองดู ลำดับนั้นภิกษุนั้นก็เอาก้อนกรวดอีกก้อนหนึ่งดีดหงส์นั้นที่นัยน์ตาด้านนอกทะลุออกทางนัยน์ตาด้านใน หงส์ร้องม้วนตกลงมาแทบเท้าของภิกษุทั้งสองนั้น

    ภิกษุทั้งหลายที่ยืนอยู่ในที่นั้นเห็นเข้า จึงพากันมาแล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านบวชในพระพุทธศาสนา ทำปาณาติบาตชื่อว่ากระทำกรรมอันไม่สมควร แล้วพาภิกษุผู้ดีดหงส์นั้นไปแสดงแก่พระตถาคตทันที พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระทำปาณาติบาตจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุไร เธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เป็นปานนี้ จึงได้กระทำอย่างนี้ แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลายเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น อยู่อย่างเศร้าหมองในท่ามกลางเรือน ยังกระทำความรังเกียจในฐานะทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย ส่วนเธอบวชในศาสนาเห็นปานนี้ไม่ได้กระทำแม้มาตรว่าความรังเกียจธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้สำรวมกาย วาจา และใจ มิใช่หรือ ? แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล เมื่อพระราชพระนามว่า ธนัญชัยโกรัพย์ ครองราชสมบัติอยู่ในพระนครอินทปัฏฏ์ ในแคว้นกุรุ พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชานั้น ถึงความรู้เดียงสาโดยลำดับ แล้วเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา พระบิดาทรงแต่งตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมา เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ มิได้ทรงกระทำทศพิธราชธรรมให้กำเริบ ทรงประพฤติในกุรุธรรมอยู่ ศีลห้า ชื่อว่ากุรุธรรม พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีลห้านั้นให้บริสุทธิ์ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ พระอัครมเหสี พระอุปราชผู้เป็นพระอนุชา พราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิต อำมาตย์ผู้รังวัดนา สารถี เศรษฐี มหาอำมาตยผู้ตวงข้าว นายประตู นางวัณณทาสีผู้เป็นนครโสเภณี ก็เหมือนพระโพธิสัตว์รวมความว่า ชนเหล่านี้รักษาศีลห้าเหมือนดังพระโพธิสัตว์

    ชนทั้งหมดเหล่านี้ รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ ด้วยประการดังนี้ พระราชาให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือ ที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ที่กลางเมือง ที่ประตูพระนิเวศน์ ทรงสละพระราชทรัพย์หกแสนทุกวัน ๆ ทรงบริจาคทาน กระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้ไม่ต้องทำไร่ไถนา ก็ความที่พระโพธิสัตว์นั้นมีพระอัธยาศัยยินดีในการบริจาคทาน ได้แผ่คลุมไปทั่วชมพูทวีป

    ในกาลนั้น พระเจ้ากาลิงคราชครองราชสมบัติในทันตปุรนคร ในแคว้นกาลิงคะ ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคราชนั้นฝนไม่ตก ก็เกิดความอดอยากไปทั่วแคว้น ก็เพราะอาหารวิบัติ โรคจึงเกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์ ภัย ๓ ประการ คือ ฉาตกภัย ภัยคือความอดอยาก โรคภัย ภัยคือโรค ทุพภิกขภัย ภัยคือข้าวยากหมากแพง ก็เกิดขึ้น มนุษย์ทั้งหลายที่ยึดถือ ต่างพากันจูงมือเด็ก ๆ เที่ยวเร่รอนไป ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นรวมกันไปยังพระนครทันตปุระพากันส่งเสียงร้องอยู่ที่ประตูพระราชวัง พระราชาประทับยืนพิงพระแกล ทรงสดับเสียงนั้น จึงตรัสถามว่า คนเหล่านี้เที่ยวไปเพราะเหตุไรกัน พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ภัยเกิดขึ้นทั่วแว่นแคว้นทั้งสิ้น ฝนไม่ตก ข้าวกล้าวิบัติเสียหาย เกิดความอดอยากมนุษย์ทั้งหลายกินอยู่ไม่ดีถูกโรคภัยครอบงำ หมดที่ยึดถือระส่ำระสาย พากันจูงมือลูก ๆ เที่ยวไป ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงยังฝนให้ตกเถิด พระเจ้าข้า

    พระราชาตรัสถามว่า พระราชาแต่เก่าก่อนทั้งหลาย เมื่อฝนไม่ตก ทรงกระทำอย่างไร? พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระราชาแต่เก่าก่อนทั้งหลายเมื่อฝนไม่ตก ได้ทรงบริจาคทาน อธิษฐานอุโบสถ สมาทานศีลแล้ว เสด็จเข้าสู่ห้องสิริไสยาสน์ ทรงบรรทมเหนือเครื่องลาดซึ่งทำด้วยไม้ตลอด ๗ วันในกาลนั้น ฝนก็ตกลงมา พระราชาทรงรับว่าดีละ แล้วได้ทรงกระทำอย่างนั้น แม้ทรงกระทำอย่างนั้น ฝนก็มิได้ตก พระราชาตรัสกะอำมาตย์ทั้งหลายว่า เราได้กระทำกิจที่ควรกระทำแล้ว ฝนก็ไม่ตกเราจะกระทำอย่างไรต่อไป

    พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยราชในนครอินทปัฏ มีช้างมงคลหัตถีชื่อว่าอัญชนสนิภะ ข้าแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจักนำช้างมงคลเชือกนั้นมาเมื่อเป็นเช่นนั้น ฝนก็จักตก พระราชาตรัสว่า พระราชาพระองค์นั้นทรงสมบูรณ์ด้วยพลพาหนะ ใคร ๆ จะข่มได้ยาก พวกเราจักนำช้างพระราชาพระองค์นั้นได้อย่างไร พวกอำมาตย์กราบทูลว่าข้าแต่มหาราช ไม่มีกิจที่จะต้องทำการรบกับพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยราชนั้น พระราชาพระองค์อื่น มีพระอัธยาศัยยินดีในการบริจาคทานเป็นผู้ถูกเขาขอ แม้พระเศียรอันประดับแล้วก็ทรงตัดให้ได้ แม้ดวงพระเนตรอันสมบูรณ์ด้วยประสาทก็ทรงควักให้ได้ แม้ราชสมบัติทั้งสิ้นก็ทรงมอบให้ได้ ในเรื่องช้างมงคลไม่จำต้องพูดถึงเลย ทูลขอแล้วจักทรงประทานให้แน่แท้ พระราชาตรัสว่า ใครจะสามารถไปขอช้างมงคลนั้น อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พวกพราหมณ์ พระเจ้าข้า พระราชารรับสั่งให้เรียกพราหมณ์ ๘ คนมาจากที่อยู่ของพราหมณ์แล้วทรงกระทำสักการะสัมมานะแล้วทรงส่งไปเพื่อให้ขอช้างมงคล

    พราหมณ์เหล่านั้นถือเอาเสบียงเดินทาง ปลอมเพศเป็นคนเดินทาง รีบเดินทางไป โดยพักแรมอยู่ราตรีหนึ่งในที่ทุกแห่ง บริโภคอาหารในโรงทานที่ประตูพระนคร บำรุงร่างกายให้อิ่มหนำสิ้นเวลา ๒ - ๓ วันแล้วถามว่า เมื่อไรพระราชาจักเสด็จมาโรงทาน? พวกมนุษย์บอกว่า พระราชาจะเสด็จมาในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ ตลอด ๓ วันแห่งปักษ์หนึ่ง ๆ ก็พรุ่งนี้ เป็นวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เพราะฉะนั้น พระราชาจักเสด็จมาในวันพรุ่งนี้

    วันรุ่งขึ้น พวกพราหมณ์รีบไปแต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ที่ประตูด้านทิศตะวันออก พระโพธิสัตว์ทรงสนานและลูบไล้พระวรกายแต่เช้าตรู่ ทรงประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เสด็จขึ้นคอช้างมงคลหัตถีอันประทับแล้ว เสด็จไปยังโรงทานทางประตูด้านทิศตะวันออก ด้วยบริวารอันยิ่งใหญ่ เสด็จลงจากคอช้างแล้วได้ประทานอาหารด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ แก่ชน ๗-๘ คน แล้วรับสั่งว่า พวกท่านจงให้โดยทำนองนี้นะ แล้วได้เสด็จขึ้นช้างไปยังประตูด้านทิศใต้ พวกพราหมณ์ไม่ได้โอกาสที่ประตูด้านทิศตะวันออก เพราะมีการอารักขาแข็งแรง จึงได้ไปยังประตูด้านทิศใต้เหมือนกัน ยืนอยู่ในที่สูงไม่ไกลเกินไปจากประตูคอยดูพระราชาเสด็จมา พอพระราชาเสด็จมาประจวบเข้าก็ยกมือถวายชัยมงคลว่า ขอพระมหาราชเจ้าจงทรงพระเจริญ จงมีชัยชำนะเถิดพระเจ้าข้า พระราชาทรงเอาพระแสงขอเพชรเหนี่ยวช้างให้หันกลับเสด็จไปยังที่ใกล้พราหมณ์เหล่านั้น แล้วตรัสถามว่า พราหมณ์ทั้งหลายผู้เจริญ ท่านทั้งหลายต้องการอะไร? พราหมณ์ทั้งหลายเมื่อจะพรรณนาคุณของพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวว่า :

    ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าประชาชนด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้วคิดว่า พระราชาพระองค์นั้น ทรงสมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีลอย่างนี้ จะทูลขอแล้ว จักพระราชทานช้างตัวประเสริฐมีสีเหมือนดอกอัญชัน แก่พวกเราเป็นแน่ แล้วพูดกันว่า เราทั้งหลายจักนำช้างตัวประเสริฐไปในสำนักของพระเจ้ากลิงคราช จึงเอาทรัพย์และธัญญาหารเป็นอันมากแลกกับช้างซึ่งมีสีเหมือนดอกอัญชันเชือกนี้เสมือนเป็นของ ๆ ตน คือใช้จ่ายทรัพย์และธัญญาหารเป็นอันมากและใส่ปากใส่ท้องเลี้ยงดูกัน ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะขอช้างนั้นอย่างนี้ จึงได้มาในที่นี้ขอพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐโปรดทรงทราบกิจที่จะพึงทรงกระทำในเรื่องช้างนั้น อีกนัยหนึ่งข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทราบพระคุณ คือศรัทธาคุณและศีลคุณของพระองค์จึงคิดกันว่า พระราชาผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ แม้แต่ชีวิตถูกขอแล้วก็จะประทานให้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงช้างตัวประเสริฐอันเป็นสัตว์ดิรัจฉานเล่า จึงจะขอแลกคือเปรียบเทียบทองแก่พระองค์กับช้างอันมีสีเหมือนดอกอัญชันนี้ ไปไว้ในสำนักงานของพระเจ้ากาลิงคราชด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น ข้าแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงได้มาในที่นี้

    พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงทรงเล้าโลมให้เบาใจว่าดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย หากท่านทั้งหลายใช้จ่ายทรัพย์ เพราะจะแลกเปลี่ยนช้างตัวประเสริฐเชือกนี้ เป็นการใช้จ่ายไปดีแล้ว อย่าได้เสียใจเลย เราจักให้ช้างตัวประเสริฐตามที่ประดับแล้วทีเดียวแก่ท่านทั้งหลาย

    พระมหาสัตว์ประทับอยู่บนคอช้างตัวประเสริฐ ตรัสให้ด้วยพระว่าจาอย่างนี้แล้ว กลับเสด็จลงจากคอช้าง ทรงดำเนินเวียนขวาไป ๓ รอบ ทรงพิจารณาว่า หากที่ที่ยังไม่ได้ประดับตกแต่งยังมีอยู่จักประดับตกแต่งก่อนแล้วจึงจะให้ ครั้นไม่ได้ทรงเห็นที่ที่ยังไม่ได้ตกแต่งที่ช้างนั้น จึงทรงเอางวงของช้างนั้น วางบนมือของพราหมณ์ทั้งหลาย แล้วได้เอาพระสุวรรณภิงคารพระเต้าน้ำทอง หลั่งน้ำอันอบด้วยดอกไม้และของหอมแล้วพระราชทานไป พราหมณ์ทั้งหลายรับช้างพร้อมทั้งบริวาร แล้วนั่งบนหลังช้าง ได้ไปยังทันตปุรนครถวายช้างแก่พระราชา ช้างแม้มาแล้ว ฝนก็ยังไม่ตก พระราชาจึงทรงคาดคั้นถามว่า มีเหตุอะไรหนอ ได้ทรงสดับว่า พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยราช ทรงรักษากุรุธรรม ด้วยเหตุนั้น ฝนจึงตกในแว่นแคว้นของพระองค์ ทุกกึ่งเดือน ทุก ๑๐ วัน เพราะอานุภาพแห่งคุณความดีของพระราชาดอก ฝนจึงตก ก็สัตว์ดิรัจฉานนี้ แม้มีคุณอยู่ก็จะมีสักเท่าไร จึงรับสั่งว่าถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงนำช้างตามที่ประดับแล้วนี้แล พร้อมทั้งบริวารคือไปถวายแก่พระชารา แล้วจดกุรุธรรมที่พระองค์รักษาลงในแผ่นทองแล้วนำมา แล้วทรงส่งพวกพราหมณ์และอำมาตย์ทั้งหลายไป

    พราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นไปมอบถวายแด่พระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อช้างนี้แม้ไปถึงแล้วฝนก็ยังมิได้ตกในแว่นแคว้นของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ทราบเกล้าว่า พระองค์ทรงรักษากุรุธรรม พระราชาแม้ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ทรงประสงค์จะรักษากุรุธรรมนั้น จึงทรงส่งมาด้วยรับสั่งว่า จงจดใส่ในแผ่นทองนำมา ของพระองค์จงประทานกุรุธรรมนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า

    พระโพธิสัตว์ ตรัสว่าดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรารักษากุรุธรรมนั้นจริง แต่บัดนี้ เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมนั้นอยู่ กุรุธรรมนั้นไม่ทำจิตของเราให้ยินดี เพราะฉะนั้น เราไม่อาจให้กุรุธรรมนั้นแก่ท่านทั้งหลาย ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ศีลนั้นจึงไม่ทำให้พระราชาทรงยินดี ? ตอบว่า นัยว่าในครั้งนั้นพระราชาทั้งหลาย มีการมหรสพเดือน ๑๒ ทุก ๆ ๓ ปี พระราชาทั้งหลาย เมื่อจะเล่นมหรสพนั้น ทรงประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงถือเอาเพศเป็นเทวดา ยืนอยู่ในสำนักของยักษ์ชื่อว่าจิตตราชแล้วยิงศรอันวิจิตรประดับด้วยดอกไม้ในทิศทั้ง ๔ พระราชาแม้พระองค์นี้เมื่อจะทรงเล่นมหรสพนั้น จึงประทับยืนในสำนักของจิตตรายักษ์ใกล้แนวบึงแห่งหนึ่ง แล้วทรงยิงจิตตศรไปในทิศทั้ง ๔ บรรดาลูกศรเหล่านั้น พระองค์ทรงเห็นลูกศร ๓ ลูกที่ยิงไปในทิศที่เหลือ แต่ไม่เห็นลูกศรที่ยิงไปบนหลังพื้นน้ำ พระราชาทรงรังเกียจว่า ลูกศรที่เรายิงไป คงจะตกลงในตัวปลากระมังหนอ พระองค์ทรงปรารภถึงศีลเภท เพราะกรรมคือทำสัตว์มีชีวิตในตกล่วงไป เพราะฉะนั้น ศีลจึงไม่ทำพระราชาให้ยินดี

    พระโพธิสัตว์นั้นจึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมอยู่ แต่พระมารดาของเรารักษาไว้ได้เป็นอย่างดี พวกท่านจงถือเอาในสำนักของพระมารดาเราเถิด ทูตทั้งหลายจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ไม่มีเจตนาว่าจักฆ่าสัตว์ เพราะเว้นเจตนานั้นจึงชื่อว่าไม่เป็นปาณาติบาตขอพระองค์จงให้กุรุธรรมที่ทรงรักษาแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นจงเขียนเอาเถิดพ่อ แล้วให้จารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏว่า

    ปาโณ น หนฺตพฺโพ ไม่พึงฆ่าสัตว์ ๑

    อทินฺนํนาทาตพฺพํ ไม่พึงถือสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ๑

    กาเมสุมิจฺฉาจาโรน จริตพฺโพ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ๑

    มุสาวาโท นภาสิตพฺโพ ไม่พึงกล่างคำเท็จ ๑

    มชฺขปานํ น ปาตพพํ ไม่พึงดื่มน้ำเมา ๑

    ครั้นให้จารึกแล้วจึงตรัสว่า แม้เป็นอย่างนี้ ศีลก็ยังเราให้ยินดีไม่ได้ พวกท่านจงไปเฝ้าพระมารดาของเราเถิด

    ทูตทั้งหลายถวายบังคมพระราชาแล้วไปยังสำนักของพระมารดาพระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ได้ยินว่าพระองค์ทรงรักษากุรุธรรม ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรมนั้น แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระเทวีตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรารักษกุรุธรรมก็จริงแต่บัดนี้ เราเกิดความรังเกียจในกุรุธรรมนั้น กุรุธรรมนั้นไม่ทำเราให้ยินดี เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่อาจให้แก่ท่านทั้งหลาย

    ได้ยินว่าพระเทวีนั้นมีพระโอรส ๒ องค์ คือพระราชาผู้เป็นพระเชษฐาและอุปราชผู้เป็นพระกนิษฐา ครั้งนั้น มีพระราชาองค์หนึ่งทรงส่งแก่นจันทน์อันมีค่าแสนหนึ่ง และดอกไม้ทองมีค่าพันหนึ่งมาถวายพระโพธิสัตว์ พระองค์ทรงคิดว่าจักบูชาพระมารดา จึงทรงส่งของทั้งหมดนั้นไปถวายพระราชมารดา พระราชมารดาทรงพระดำริว่าเราจักไม่ลูบไล้แก่นจันทน์ จะไม่ทัดทรงดอกไม้ จักให้แก่นจันทน์และดอกไม้นั้นแก่สะใภ้ทั้งสอง ลำดับนั้น พระเทวีได้มีความดำริดังนี้ว่า สะใภ้คนโตของเราเป็นใหญ่ ดำรงอยู่ในตำแหน่งอัครมเหสีเราจักให้ดอกไม้ทองแก่สะใภ้คนโต ส่วนสะใภ้คนเล็กเป็นคนยากจน เราจักให้แก่นจันทน์แก่สะใภ้คนเล็ก พระนางจึงประทานดอกไม้ทองแก่พระเทวีของพระราชาได้ประทานแก่นจันทน์แก่พระมเหสีของพระอุปราช ก็แหละครั้นประทานไปแล้วพระราชมารดาได้มีความรังเกียจว่า เรารักษากุรุธรรม ความที่หญิงสะใภ้เหล่านั้น ยากจนหรือไม่ยากจน ไม่เป็นประมาณสำหรับเรา ก็การกระทำเชษฐาปจายิกกรรมเท่านั้นสมควรแก่เรา เพราะความที่เราไม่ทำเชษฐาปจายิกกรรมนั้น ศีลของเราจะแตกทำลายบ้างไหมหนอ เพราะฉะนั้น พระราชมารดาจึงตรัสอย่างนั้น

    ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกราบทูลพระราชมารดาว่า ขึ้นชื่อว่าของของตนบุคคลย่อมให้ได้ตามชอบใจ พระองค์ทรงกระทำความรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ จักทรงกระทำกรรมอันลามกอย่างอื่นได้อย่างไร ธรรมดาศีลย่อมไม่แตกทำลายด้วยเหตุเห็นปานนี้ ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรมแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด แล้วถือเอากุรุธรรมในสำนักของพระราชมารดา แม้นั้นจดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ

    พระราชมารดาตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลายเมื่อเป็นอย่างนั้น กุรุธรรมก็ยังไม่ทำให้เรายินดีพอใจได้ แต่พระสุณิสาของเรารักษากุรุธรรมนั้นได้เป็นอย่างดี ท่านทั้งหลายจงถือเอากุรุธรรมในสำนักของพระสุณิสานั้นเถิด พวกทูตจึงพากันไปเฝ้าพระอัครมเหสีทูลขอกุรุธรรมโดยนัยก่อนนั้นแหละ ฝ่ายพระอัครมเหสีตรัสโดยนัยก่อนเหมือนกันแล้วตรัสว่า ชื่อว่าศีลย่อมไม่ทำเราให้ยินดีพอใจ เพราะเหตุนั้น เราไม่อาจให้พวกท่าน ได้ยินว่าพระอัครมเหสีนั้น วันหนึ่งประทับยืนที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชประทับนั่งบนหลังช้างเบื้องหลังพระราชาผู้กำลังทรงประทักษิณเลียบพระนครบังเกิดความโลภอยากขึ้น ทรงพระดำริว่า ถ้าเราได้ทำความเชยชิดกับพระมหาอุปราชนี้ไซร้ เมื่อพระเชษฐาสวรรคตไป พระมหาอุปราชนี้ดำรงอยู่ในราชสมบัติจะได้สงเคราะห์เรา ลำดับนั้น พระอัครมเหสีนั้นได้มีความรังเกียจว่า เรากำลังรักษากุรุธรรมอยู่ ทั้งเป็นผู้มีพระสวามีอยู่ยังแลดูชายอื่นด้วยอำนาจกิเลส ศีลของเราคงจะต้องแตกทำลาย เพราะฉะนั้น พระอัครมเหสีจึงได้ตรัสอย่างนั้น

    ลำดับนั้นทูตทั้งหลายจึงกราบทูลพระอัครมเหสีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ธรรมดาว่าการประพฤติล่วงละเมิด ย่อมไม่มีด้วยเหตุเพียงจิตตุปบาทเกิดความคิดขึ้น พระองค์ทรงกระทำความรังเกียจแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จักทรงกระทำความล่วงละเมิดอะไรได้ ศีลย่อมไม่แตกทำลายด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรมแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด แล้วถือเอาในสำนักของพระอัครมเหสี แม้นั้นแล้วจดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ

    พระอัครมเหสีตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลายเมื่อเป็นอย่างนั้น ศีลก็ยังไม่ทำเราให้ยินดีพอใจ เราเห็นว่ามหาอุปราชาทรงรักษากุรุธรรใมได้อย่างดี พวกท่านจงถือเอากุรุธรรมนั้นในสำนักของพระมหาอุปราชเถิด ทูตทั้งหลายจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระมหาอุปราช ทูลขอกุรุธรรมโดยนัยก่อนนั่นแหละ ก็พระมหาอุปราชนั้น เมื่อเสด็จไปยังที่บำรุงของพระราชาในเวลาเย็น เสด็จไปด้วยรถ ถึงพระลานหลวงแล้ว ถ้าทรงพระประสงค์จะเสวยในสำนักของพระราชาแล้วทรงบรรทมค้างอยู่ในที่นั้น ก็จะทรงทิ้งเชือกและปฏักไว้ระหว่างแอกรถ ด้วยสัญญาเครื่องหมายนั้น มหาชนบริวารจะกลับไปก่อน ต่อเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น จึงจะไปยืนคอยดูพระมหาอุปราชนั้นเสด็จออก ฝ่ายนายสารถีก็จะนำรถนั้นไป ต่อเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น จึงจะนำรถมาจอดที่ประตูพระราชนิเวศน์

    ถ้าทรงมีพระประสงค์จะเสด็จกลับในวันนั้น จะทรงวางเชือกและปฏักไว้เฉพาะภายในรถ แล้วเสด็จไปเฝ้าพระราชา ด้วยสัญญาณนั้น ชนบริวารจะยืนรออยู่ที่ประตูพระราชนิเวศน์นั่นเอง วันนั้นพระมหาอุปราชนั้น ก็ทรงกระทำสัญญาณไว้อย่างนั้น แล้วเสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ แต่เมื่อพระมหาอุปราชเสด็จเข้าไปเท่านั้น ฝนก็ตก พระราชาจึงตรัสว่า ฝนกำลังตก จึงไม่ให้พระมหาอุปราชนั้นเสด็จออกมา พระมหาอุปราชจึงทรงเสวยแล้วบรรทมอยู่ในพระราชนิเวศน์นั้นนั่นเอง ชนบริวารคิดว่า ประเดี๋ยวจักเสด็จออกจึงได้ยืนเปียกฝนอยู่ตลอดคืนยังรุ่ง ในวันต่อมาพระมหาอุปราชจึงเสด็จออกมา ทรงเห็นชนบริวารยืนเปียกฝนอยู่ ทรงเกิดความรังเกียจว่าเราเมื่อรักษากุรุธรรมอยู่ ยังทำชนมีประมาณเท่านี้ลำบาก ศีลของเราเห็นจะพึงแตกทำลาย ด้วยเหตุนั้น พระมหาอุปราชจึงตรัสแก่ทูตเหล่านั้นว่า เรารักษากุรุธรรมอยู่ก็จริง แต่บัดนี้ เรามีความรังเกียจอยู่ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่อาจให้แก่ท่านทั้งหลาย แล้วตรัสบอกเรื่องราวนั้นให้ทราบ

    ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงทูลถามพระมหาอุปราชว่าข้าแต่สมมติเทพ พระองค์มิได้มีความคิดว่า ชนเหล่านั้นจงลำบากกรรมที่ทำโดยหาเจตนามิได้ ไม่จัดว่าเป็นกรรม เมื่อพระองค์ทรงกระทำความรังเกียจแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ความล่วงละเมิดจักมีได้อย่างไร แล้วรับเอาศีลในสำนักของพระมหาอุปราชแม้นั้น จดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ

    พระมหาอุปราชตรัสว่า เมื่อเรื่องเกิดเป็นอย่างนั้น ศีลก็มิได้ทำเราให้ปลื้มอกปลื้มใจได้ ก็ปุโรหิตย่อมรักษาได้ดีพวกท่านจงถือเอาในสำนักของปุโรหิตนั้นเถิด พวกทูตจึงพากันเข้าไปหาปุโรหิตแล้วขอกุรุธรรม ฝ่ายปุโรหิตนั้น วันหนึ่ง ไปเฝ้าพระราชาระหว่างทางได้เห็นรถสีอ่อน ๆ งดงามเหมือนแสงอาทิตย์อ่อน ๆ ซึ่งพระราชาองค์หนึ่งทรงส่งมาถวายพระราชานั้น ถึงถามว่า นี้รถของใครได้ฟังว่านำมาถวายพระราชา จึงคิดว่า เราก็แก่แล้ว ถ้าพระราชาจะพระราชทานรถคันนี้แก่เราไซร้ เราจักขึ้นรถคันนี้เที่ยวไปอย่างสบายแล้วไปเฝ้าพระราชา

    ในเวลาที่ปุโรหิตนั้นถวายพระพรชัยแล้วยืนเฝ้าอยู่ ราชบุรุษต่างเมืองก็ทูลถวายรถแก่พระราชา พระราชาทอดพระเนตรแล้วตรัสว่า รถของเราคันนี้งามเหลือเกิน พวกท่านจงให้แก่อาจารย์ของเราเถิด ปุโรหิตมิได้ปรารถนาจะรับพระราชทาน แม้พระราชาจะตรัสอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่ปรารถนาจะรับพระราชทานเลย ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะนัยว่า ปุโรหิตนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรารักษากุรุธรรมอยู่แท้ ๆ ยังได้กระทำความโลภในสิ่งของของคนอื่น ศีลของเราจะพึงแตกทำลายไปแล้ว ปุโรหิตนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแก่พวกทูต แล้วกล่าวว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมอยู่ กุรุธรรมนั้นมิได้ยังเราให้ปลื้มอกปลื้มใจเลย เพราะฉะนั้น เราไม่อาจให้

    ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะปุโรหิตว่านาย ศีลย่อมไม่แตกทำลายด้วยเหตุเพียงเกิดความโลภอยากได้ ท่านเมื่อกระทำความรังเกียจความรังเกียจ แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้น จักกระทำความล่วงละเมิดอะไรได้ แล้วรับเอาศีลในสำนักของปุโรหิตแม้นั้นจดลงในแผ่นสุพรรณบัฏ

    ท่านปุโรหิตกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น กุรุธรรมก็ยังไม่ทำให้เรายินดีพอใจได้ ก็อำมาตย์ผู้ถือเชือกรังวัดรักษากุรุธรรมได้ดี พวกท่านจงรับเอากุรุธรรมในสำนักของอำมาตย์นั้นเถิด ทูตทั้งหลายจึงพากันเข้าไปหาอำมาตย์นั้น แล้วขอกุรุธรรม ฝ่ายอำมาตย์ผู้รังวัดนั้นก็เล่าว่า วันหนึ่ง เมื่อจะวัดเนื้อที่นาในชนบท จึงเอาเชือกผูกที่ไม้ ให้เจ้าของนาจับปลายข้างหนึ่ง ตนเองจับปลายข้างหนึ่ง ไม้ที่ผูกปลายเชือกซึ่งอำมาตย์ถือไปจรดตรงกลางรูปูตัวหนึ่ง อำมาตย์นั้นคิดว่า ถ้าเราจักปักไม้ลงในรูปู ปูภายในรูจักฉิบหาย ก็ถ้าเราจักปักลักไปข้างหน้าเนื้อที่ของหลวงก็จัดขาด ถ้าเราจักปักร่นเข้ามา เนื้อที่ของกฏุมพีก็จักขาด เราจะทำอย่างไรดีหนอ

    ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ปูคงจะไม่มีในรู ถ้ามีจะต้องปรากฏ เราจะปักไม้นั้นตรงนี้แหละ แล้วก็ปักท่อนไม้นั้นลงในรูปู ฝ่ายปูก็ส่งเสียงดังกริ๊ก ๆ ลำดับนั้น อำมาตย์นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ท่อนไม้จักปักลงบนหลังปู ปูก็จักตายและเราก็รักษากุรุธรรม เพราะเหตุนั้น ศีลของเราคงจะแตกทำลาย อำมาตย์นั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแก่ทูตทั้งหลายแล้วกล่าวว่า เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวมานี้ เราจึงมีความรังเกียจในกุรุธรรมด้วยเหตุนั้น เราจึงไม่อาจให้แก่พวกท่าน

    ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะอำมาตย์นั้นว่า ท่านไม่มีจิตคิดว่า ปูจงตาย กรรมที่ไม่มีเจตนาความจงใจไม่ชื่อว่าเป็นกรรม ท่านกระทำความรังเกียจ แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ จักกระทำความล่วงละเมิดอะไรได้ แล้วรับเอาศีลในสำนักของอำมาตย์ แม้นั้นแล้วจดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ

    อำมาตย์นั้นพูดว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ กุรุธรรมก็มีได้ทำข้าพเจ้าให้ปลื้มใจ ก็นายสารถีรักษาได้อย่างดี ท่านทั้งหลายจงรับเอากุรุธรรมในสำนักของนายสารถีนั้นเถิด ทูตทั้งหลาย จึงเข้าไปหานายสารถี แม้นั้นแล้วขอกุรุธรรม นายสารถีนั้น วันหนึ่ง นำเสด็จพระราชาไปยังราชอุทยานด้วยราชรถ พระราชาทรงเล่นในพระราชอุทยานนั้นตลอดวัน ในเวลาเย็น จึงเสด็จออกจากพระราชอุทยานเสด็จขึ้นทรงรถ เมื่อราชรถนั้นยังไม่ทันถึงพระนคร เมฆฝนก็ตั้งขึ้นในเวลาที่พระอาทิตย์จะอัสดงคต เพราะกลัวว่าพระราชาจะเปียวฝนนายสารถีจึงได้ให้สัญญาณด้วยปฏักแก่ม้าสินธพทั้งหลาย ๆ จึงควบไปด้วยความเร็ว ก็แหละตั้งแต่นั้นมา ม้าสินธพเหล่านั้น ขาไปยังพระราชอุทยานก็ดี ขามาจากพระราชอุทยานนั้นก็ดี พอถึงที่ตรงนั้นก็วิ่งควบไปด้วยความเร็ว ถามว่า เพราะเหตุอะไร ? ตอบว่า เพราะนัยว่า ม้าสินธพเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ในที่นี้ จะพึงมีภัยเป็นแน่ ด้วยเหตุนั้น นายสารถีของพวกเราจึงได้ให้สัญญาณด้วยปฏักในคราวนั้น

    ส่วนนายสารถีก็มีความคิดว่า ในเมื่อพระราชาจะเปียกฝนหรือไม่เปียกฝนก็ตาม เราย่อมไม่มีโทษ แต่เราได้ให้สัญญาปฏักแก่มาสินธพที่ฝึกหัดมาดีแล้ว ในสถานที่อันไม่ควร ด้วยเหตุนั้น ม้าสินธพเหล่านี้ วิ่งควบทั้งไปและมา ลำบากอยู่จนเดี๋ยวนี้ ด้วยเหตุนั้น ศีลของเราคงจะแตกทำลายแล้ว นายสารถีนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นให้ทราบแล้วกล่าวว่า เพราะเหตุนี้เราจึงมีความรังเกียจในกุรุธรรม เพราะฉะนั้น เราไม่อาจให้แก่พวกท่านได้

    ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะนายสารถีนั้นว่า ท่านไม่มีจิตคิดว่า ม้าสินธพทั้งหลายจงลำบาก กรรมที่ไม่มีเจตนาคือความจงใจ ไม่จัดว่าเป็นกรรม อนึ่ง ท่านกระทำความรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ จักกระทำความล่วงละเมิดได้อย่างไร จึงรับเอาศีลในสำนักของนายสารถีนั้นจดจารึกในแผ่นสุพรรณบัฏ

    นายสารถีกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้นศีลก็มิได้ทำเราให้ปลื้มใจได้ แต่ท่านเศรษฐีรักษาได้ดี พวกท่านจงรับเอากุรุธรรมในสำนักของท่านเศรษฐีนั้นเถิด พวกทูตจึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีนั้น แล้วขอกุรุธรรม เศรษฐีนั้น วันหนึ่ง ไปนำข้าวสาลีของตน พิจารณารวงข้าวสาลีที่ออกจากท้อง เมื่อจะกลับ คิดว่าจักผูกรวงข้าวให้เป็นพุ่มข้าวเปลือก จึงให้คนผูกรวงข้าวสาลีกำหนึ่ง ผูกเป็นจุกไว้ ลำดับนั้นท่านเศรษฐีได้มีความคิดดังนี้ว่า เราจะต้องให้ค่าภาคหลวงจากนานี้ แต่เราก็ได้ให้คนถือเอารวงข้าวสาลีกำหนึ่ง จากอันนาที่ยังไม่ได้ให้ค่าภาคหลวง ศีลของเราคงจะแตกทำลายแล้ว ท่านเศรษฐีนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแก่ทูตทั้งหลายแล้วกล่าวว่า เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้นเราไม่อาจให้กุรุธรรมแก่พวกท่าน

    ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านเศรษฐีว่า ท่านไม่มีไถยจิตคิดจะลัก เว้นจากไถยจิตนั้น ใคร ๆ ไม่อาจบัญญัติอทินนาทานได้ ก็ท่านกระทำความรังเกียจแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จักถือเอาของของคนอื่นได้อย่างไร แล้วรับเอาศีลในสำนักของเศรษฐี แม้นั้นแล้วจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ

    ท่านเศรษฐีกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ศีลก็ยังมิได้ทำให้เราปลื้มใจได้ แต่ท่านอำมาตย์ผู้ตวงข้าวหลวงรักษาได้ดี พวกท่านจงถือเอากุรุธรรมในสำนักของอำมาตย์ผู้ตวงข้าวนั้นเถิด ทูตทั้งหลายจึงพากันเข้าไปหาท่านอำมาตย์ผู้ตวงข้าวและขอกุรุธรรม ได้ยินว่าอำมาตย์ผู้ตวงข้าวนั้น วันหนึ่ง ให้คนนับข้าวเปลือกอันเป็นส่วนของหลวง ส่วนตนเอาข้าวเปลือกจากทองข้าวที่ยังไม่ได้นับใส่คะแนน ขณะนั้น ฝนตก มหาอำมาตย์จึงเพิ่มคะแนนข้าวเปลือก แล้วกล่าวว่าข้าวเปลือกที่นับแล้ว มีประมาณเท่านี้ แล้วโกยข้าวเปลือกที่เป็นคะแนนใส่ลงในกองข้าวเปลือกที่นับแล้ว หรือใส่ในกองข้าวที่ยังไม่ได้นับ ลำดับนั้น ท่านมหาอำมาตย์ได้มีความคิดดังนี้ว่าถ้าเราใส่ในกองข้าวเปลือกที่นับไว้แล้ว ขอหลวงก็จะเพิ่มขึ้นโดยมิใช่เหตุ ของคฤหบดีทั้งหลายก็จะขาดไป ศีลของเราจะต้องแตกทำลายแล้ว ท่านมหาอำมาตย์นั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแล้วกล่าวว่า เรามีความรังเกียจในกุรุธรรม ด้วยเหตุนี้เพราะเหตุนั้น เราไม่อาจให้แก่พวกท่าน

    ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านมหาอำมาตย์นั้นว่า ท่านไม่มีไถยจิตคิดจะลัก เว้นไถยจิตนั้นเสียใคร ๆ ไม่อาจบัญญัติอทินนาทานได้ ก็ท่านกระทำความรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อย่างไรจักถือเอาสิ่งของคนอื่นแล้วรับเอาศีลในสำนักของมหาอำมาตย์ผู้ตวงข้าวนั้น จารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ

    ท่านมหาอำมาตย์กล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ศีลก็มิได้ทำเราให้ปลื้มใจยินดีได้ แต่นายประตูรักษาได้ดี ท่านทั้งหลายจงถือเอากุรุธรรมในสำนักของนายประตูนั้นเถิด ทูตทั้งหลายจึงพากันเข้าไปหานายประตู แล้วขอกุรุธรรม ฝ่ายนายประตูนั้นวันหนึ่ง เวลาจะปิดประตูเมือง ได้ออกเสียงประกาศขึ้น ๓ ครั้ง ครั้นนั้น มีคนเข็ญใจคนหนึ่ง เข้าป่าหาฟืนและหญ้ากับน้องสาว กำลังกลับมา ได้ยินเสียงนายประตูนั้นประกาศ จึงรีบพาน้องสาวมาทันพอดี ลำดับนั้น นายประตูกล่าวกะคนเข็ญใจนั้นว่า ท่านไม่รู้ว่าพระราชามีอยู่ในพระนครนี้หรือ ท่านไม่รู้หรือว่า เขาจะต้องปิดประตูพระนครนี้ ต่อเวลายังวัน ท่านพาภรรยาของตนเที่ยวไปในป่า เที่ยวเล่นรื่นเริงตลอดวัน ครั้นเมื่อคนเข็ญใจกล่าวว่า ไม่ใช่ภรรยาฉันดอกนาย หญิงคนนี้เป็นน้องสาวของฉันเอง นายประตูนั้นจึงมีความปริวิตกดังนี้ว่า เราเอาน้องสาวเขามาพูดว่าเป็นภรรยา กระทำกรรมอันหาเหตุมิได้หนอ และเราก็รักษากุรุธรรม ด้วยเหตุนั้น ศีลของเราคงแตกทำลายแล้ว นายประตูนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแล้วกล่าวว่า เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้น เราไม่อาจให้แก่พวกท่านได้

    ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะนายประตูนั้นว่า คำนั้นท่านกล่าวตามความสำคัญอย่างนั้น ในข้อนี้ ความแตกทำลายแห่งศีลจึงไม่มีแก่ท่าน ก็ท่านรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ จักกระทำสัมปชานมุสาวาทกล่าวเท็จทั้งรู้ในกุรุธรรมได้อย่างไรแล้วถือเอาศีลในสำนักของนายประตูแม้นั้น จดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ

    นายประตูนั้นกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ศีลก็ยังไม่ทำให้เรายินดีปลื้มใจได้ แต่นางวรรณทาสีรักษาได้ดี พวกท่านจงถือเอาในสำนักของนางวรรณทาสีแม้นั้นเถิด ทูตทั้งหลายจึงพากันเข้าไปหานางวรรณทาสีนั้นแล้วขอกุรุธรรม ฝ่ายวรรณทาสีก็ปฏิเสธโดยนัยอันมีในหนหลังนั้นแหละ ถามว่า เพราะเหตุไร ?ตอบว่า เพราะได้ยิน ท้าวสักกะจอมเทวดาทรงดำริว่า จักทดลองศีลของนาง จึงแปลงเพศเป็นมาณพน้อยมาพูดว่าฉันจักมาหาแล้วให้ทรัพย์ไว้พันหนึ่ง กลับไปยังเทวโลก แล้วไม่มาถึง ๓ ปี นางวรรณทาสีนั้นไม่รับสิ่งของแม้มาตรว่าหมากพลูจากมือชายอื่นถึง ๓ ปี เพราะกลัวศีลของตนขาด นางยากจนลงโดยลำดับ จึงคิดว่า เมื่อชายผู้ให้ทรัพย์หนึ่งแก่เราแล้วไปเสีย ไม่มาถึง ๓ ปี เราจึงยากจน ไม่อาจสืบต่อชีวิตต่อไปได้ จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราควรบอกแก่มหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัยความแล้วรับเอาค่าใช้จ่าย นางจึงไปศาลกล่าวฟ้องว่า เจ้านาย บุรุษผู้ให้ค่าใช้จ่ายแก่ดิฉันแล้วไปเสีย ๓ ปีแล้ว ดิฉันไม่ทราบว่าเขาตายแล้วหรือยังไม่ตาย ดิฉันไม่อาจสืบต่อเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ เจ้านาย ดิฉันจะทำอย่างไร มหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดีกล่าวตัดสินว่า เมื่อเขาไม่มาถึง ๓ ปี ท่านจักทำอะไร ตั้งแต่นี้ท่านจงรับค่าใช้จ่ายได้ เมื่อนางวรรณทาสีนั้นได้รับการวินิจฉัยตัดสินแล้ว พอออกจากศาลที่วินิจฉัยเท่านั้น บุรุษคนหนึ่งก็น้อมนำห่อทรัพย์พันหนึ่งเข้าไปให้ ในขณะที่นางเหยียดมือจะรับ ท้าวสักกะก็แสดงพระองค์ให้เห็น นางพอเห็นท้าวสักกะนั้นเท่านั้นจึงหดมือพร้อมกับกล่าวว่า บุรุษผู้ให้ทรัพย์แก่เราพันหนึ่งเมื่อ ๓ ปีแล้ว ได้กลับมาแล้ว ดูก่อนพ่อ เราไม่ต้องการกหาปณะของท่าน ท้าวสักกะจึงแปลงร่างกายพระองค์ทันที ได้ประทับยืนอยู่ในอากาศเปล่งแสงโชติช่วงประดุจดวงอาทิตย์อ่อน ๆ ฉะนั้น พระนครทั้งสิ้นพากันตื่นเต้น ท้าวสักกะได้ประทานโอวาทในท่ามกลางมหาชนว่า ในที่สุด ๓ ปีแล้ว เราได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง เนื่องด้วยจะทดลองนางวรรณทาสีนี้ ท่านทั้งหลายชื่อว่าเมื่อจะรักษาศีล จงเป็นผู้เห็นปานนี้รักษาเถิด แล้วทรงบันดาลให้นิเวศน์ของนางวรรณทาสีเต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทรงอนุศาสน์พร่ำสอนนางวรรณทาสีนั้นว่า เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาทตั้งแต่บัดนี้ไปแล้วได้เสด็จไปยังเทวโลกนั้นแล เพราะเหตุนี้ นางวรรณทาสีนั้นจึงปฏิเสธห้ามปรามทูตทั้งหลายว่า เรายังมิได้เปลื้องค่าจ้างที่รับไว้ ยื่นมือไปรับค่าจ้างที่ชายอื่นให้ ด้วยเหตุนี้ ศีลจึงทำเราให้ยินดีปลื้มใจไม่ได้ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่อาจให้แก่ท่านทั้งหลาย

    ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะนางวรรณทาสีนั้นว่า ศีลเภทศีลแตกทำลาย ย่อมไม่มีด้วยเหตุสักว่ายื่นมือ ชื่อว่าศีลย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่งด้วยประการอย่างนี้ แล้วรับเอาศีลในสำนักของนางวรรณทาสีแม้นั้น จดจารึกลงไม่แผ่นสุพรรณบัฏ

    ทูตทั้งหลายจารึกศีลที่ชนทั้ง ๑๑ คนนั้นรักษา ลงในแผ่นสุพรรณบัฏ ด้วยประการดังนี้แล้ว ได้ไปยังทันตปุรนคร ถวายแผ่นทรงทราบ พระราชาเมื่อทรงประพฤติกุรุธรรมนั้น ทรงบำเพ็ญศีล ๕ให้บริบูรณ์ ในกาลนั้น ฝนก็ตกลงในแว่นแคว้นกาลิงครัฐทั้งสิ้นภัยทั้ง ๓ ก็สงบระงับ และแว่นแคว้นก็ได้มีความเกษมสำราญ มีภักษาหารสมบูรณ์ พระโพธิสัตว์ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้นตราบเท่าพระชนมายุ พร้อมทั้งบริวารได้ทำเมืองสวรรค์ให้เต็มบริบูรณ์

    พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศอริยสัจ ในเวลาจบอริยสัจ บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็นพระอรหันต์ แล้วทรงประชุมชาดกว่า :

    นางวรรณทาสีหญิงคณิกา ได้เป็นนางอุบลวรรณา นายประตูในครั้งนั้น ได้เป็นพระปุณณะ รัชชุคาหกะอำมาตย์ผู้รังวัด ได้เป็นพระกัจจายนะ โทณมาปกะอำมาตย์ผู้ตวงข้า ได้เป็นพระโมคคัลลานะ เศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร นายสารถีได้เป็นพระอนุรุทธะ พราหมณ์ ได้เป็นพระกัสสปเภระ พระมหาอุปราช ได้เป็นพระนันทะผู้บัณฑิต พระมเหสีในครั้งนั้น ได้เป็นราหุลมารดา พระชนนีในครั้งนั้นได้เป็นพระมายาเทวี พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ได้เป็นเราตถาคต ท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดกด้วยประการฉะนี้
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุลาวกชาดก ว่าด้วยการเสียสละ

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้ดื่มน้ำที่ไม่ได้กรอง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 height="100%">ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มสองสหาย จากเมืองสาวัตถีไปยังชนบท อยู่ในที่ผาสุกแห่งหนึ่งตามอัธยาศัย แล้วคิดว่า จักเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงออกจากชนบทนั้น มุ่งหน้าไปยังพระเชตวัน ภิกษุรูปหนึ่งมีเครื่องกรองน้ำ ส่วนรูปหนึ่งไม่มี แม้ภิกษุทั้งสองรูปก็ร่วมกันกรองน้ำดื่มแล้วจึงดื่ม

    วันหนึ่ง ภิกษุทั้งสองรูปนั้นได้ทำการวิวาทโต้เถียงกัน ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเครื่องกรองน้ำจึงไม่ให้เครื่องกรองน้ำแก่ภิกษุนี้ และใช้กรองน้ำดื่มเฉพาะของตนเองแล้วดื่ม ส่วนภิกษุนี้ไม่มีเครื่องกรองน้ำ เมื่อไม่อาจอดกลั้นความกระหาย จึงดื่มน้ำดื่มที่ไม่ได้กรอง ภิกษุแม้ทั้งสองนั้นมาถึงพระเชตวันวิหารโดยลำดับ ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง พระศาสดาทรงตรัสสัมโมทนียกถาแล้วตรัสถาม ว่า พวกเธอมาจากไหน ? ภิกษุทั้งสองนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์อยู่ในบ้านแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ออกจากบ้านนั้นมา เพื่อจะเฝ้าพระองค์ พระศาสดาตรัสถามว่า พวกเธอเป็นผู้สมัครสมานพากันมาแล้วแลหรือ ?

    ภิกษุผู้ไม่กรองน้ำกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้ กระทำการวิวาทโต้เถียงกันกับข้าพระองค์ในระหว่างทาง แล้วไม่ให้เครื่องกรองน้ำ พระเจ้าข้า ภิกษุผู้มีเครื่องกรองน้ำกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้ ไม่กรองน้ำเลย รู้อยู่ ดื่มน้ำมีตัวสัตว์ พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอรู้อยู่ ดื่มน้ำมีตัวสัตว์จริงหรือ ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ดื่มน้ำไม่ได้กรอง พระเจ้าข้า พระศาสดา ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน ครองราชสมบัติในเทพนคร พ่ายแพ้ในการรบ เมื่อจะหนีไปทางหลังสมุทร จึงคิดว่า เราจักไม่ทำการฆ่าสัตว์ เพราะอาศัยความเป็นใหญ่ ได้สละยศใหญ่ให้ชีวิตแก่ลูกนกครุฑ จึงให้กลับรถก่อน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาแสดงว่า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราชพระองค์หนึ่ง ครองราชสมบัติอยู่ในนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของตระกูลใหญ่ในบ้านมจลคามนั้นนั่นแหละ เหมือนอย่างในบัดนี้ ท้าวสักกะบังเกิดใน บ้านมจลคาม แคว้นมคธ ในอัตภาพก่อนฉะนั้น ก็ในวันตั้งชื่อพระโพธิสัตว์ นั้น ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อว่า มฆกุมาร มฆกุมารนั้นเจริญวัยแล้วปรากฏ ชื่อว่า มฆมาณพ

    ลำดับนั้น บิดามารดาของมฆมาณพนั่นนำเอานางทาริกา มาจากตระกูลที่มีชาติเสมอกัน มฆมาณพนั้นเจริญด้วยบุตรและธิดาทั้งหลาย ได้เป็นทานบดี รักษาศีล ๕ ก็ในหมู่บ้านนั้น มีอยู่ ๓๐ ตระกูลเท่านั้น และวันหนึ่งคนในตระกูลทั้ง ๓๐ ตระกูลนั้น ยืนอยู่กลางบ้าน ทำการงานในบ้าน พระโพธิสัตว์เอาเท้าทั้งสองกวาดฝุ่นในที่ที่ยืนอยู่ กระทำประเทศที่นั้นให้น่ารื่นรมย์ยืนอยู่แล้ว ครั้งนั้น คนอื่นผู้หนึ่งมายืนในที่นั้น พระโพธิสัตว์จึงกระทำที่อื่นอีกให้น่ารื่นรมย์แล้วได้ยืนอยู่ แม้ในที่นั้น คนอื่นก็มายืนเสีย พระโพธิสัตว์ได้กระทำที่อื่น ๆ แม้อีกให้น่ารื่นรมย์ รวมความว่า ได้กระทำที่ที่ยืนให้น่ารื่นรมย์แม้แก่คนทั้งปวง

    สมัยต่อมาให้สร้างปะรำลงในที่นั้น ต่อมาแม้ปะรำก็ให้รื้อออกเสียแล้วให้สร้างศาลา ปูอาสนะแผ่นกระดานในศาลานั้นแล้ว ตั้งตุ่มน้ำดื่มไว้ สมัยต่อมา ชน ๓๒ คน เหล่านั้นได้มีฉันทะเสมอกันกับพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์จึงให้ชน ๓๒ คนนั้นตั้งอยู่ในศีล ๕ ตั้งแต่นั้นไป ก็เที่ยวทำบุญทั้งหลายพร้อมกับคนเหล่านั้น ชนแม้เหล่านั้น เมื่อกระทำบุญกับพระโพธิสัตว์นั้น จึงลุกขึ้นแต่เช้ามืด ถือมีด ขวาน และสาก เอาสากทุบหินให้แตก ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่งเป็นต้น แล้วกลิ้งไป นำเอาต้นไม้ที่เกิดในทาง ซึ่งจะกระทบเพลารถทั้งหลายออกไป กระทำที่ขรุขระให้เรียบ ทอดสะพาน ขุดสระโบกขรณี สร้างศาลา ให้ทาน รักษาศีล โดยมาก ชาวบ้านทั้งสิ้น ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้วรักษาศีล ด้วยประการอย่างนี้

    ลำดับนั้น นายบ้านของชนเหล่านั้นคิดว่า ในกาลก่อน เมื่อคนเหล่านี้ดื่มสุรา กระทำปาณาติบาตเป็นต้น เรายังได้ทรัพย์ จากกหาปณะค่าตุ่ม (สุรา) เป็นต้น และด้วยอำนาจพลีค่าสินไหม แต่บัดนี้ มฆมาณพให้รักษาศีล ไม่ให้ชนเหล่านั้นกระทำปาณาติบาตเป็นต้น อนึ่ง บัดนี้ จักให้เราทั้งหลายรักษาศีล ๕ จึงโกรธเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกโจรเป็นอันมากเที่ยวกระทำการฆ่าชาวบ้านเป็นต้น พระราชาได้ทรงสดับคำของนายบ้านนั้น จึงรับสั่งว่า ท่านจงไปนำคนเหล่านั้นมา นายบ้านนั้นจึงไปจองจำ ชนเหล่านั้นทั้งหมดแล้วนำมา กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกคนที่ข้าพระบาทนำมานี้เป็นโจร พระเจ้าข้า

    ลำดับนั้น พระราชาไม่ทรงชำระกรรมของชนเหล่านั้นเลย รับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ช้างเหยียบชน เหล่านี้ แต่นั้น ราชบุรุษจึงให้ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดให้นอนที่พระลานหลวง แล้วนำช้างมา พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่ชนเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจง รำพึงถึงศีล จงเจริญเมตตาในคนผู้กระทำการส่อเสียด ในพระราชา ในช้าง และในร่างกายของตน ให้เป็นเช่นเดียวกัน ชนเหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น

    ลำดับนั้น ราชบุรุษทั้งหลายจึงนำช้างเข้าไป เพื่อต้องการให้เหยียบชนเหล่านั้น ช้างนั้นแม้จะถูกคนนำเข้าไป ก็ไม่เข้าไป ร้องเสียงลั่นแล้วหนีไป ลำดับนั้น จึงนำช้างเชือกอื่น ๆ มา แม้ช้างเหล่านั้นก็หนีไปอย่างนั้นเหมือนกัน พระราชาตรัสว่า จักมีโอสถบางอย่างอยู่ในมือของชนเหล่านี้ พวกท่านจงค้นดู

    พวกราชบุรุษตรวจค้นดูแล้วก็ไม่เห็น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ไม่มี พระเจ้าข้า

    พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ชนเหล่านี้จักร่ายมนต์อะไร ๆ พวกท่านจงถามพวกเขาดูว่า มนต์ของท่านทั้งหลายมีอยู่หรือ ?

    ราชบุรุษทั้งหลายจึงได้ถาม พระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า มี

    ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นัยว่ามีมนต์สำหรับร่าย พะย่ะค่ะ

    พระราชา รับสั่งให้เรียกชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดมาแล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงบอกมนต์ที่ท่านทั้งหลายรู้

    พระโพธิสัตว์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชื่อว่ามนต์ ของข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างอื่นไม่มี แต่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นคนประมาณ ๓๓ คน ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่กล่าวคำเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา เจริญเมตตา ให้ทาน กระทำทางให้สม่ำเสมอ ขุดสระโบกขรณี สร้างศาลา นี้เป็นมนต์ เป็นเครื่องป้องกัน เป็นความเจริญ ของข้าพระองค์ทั้งหลาย

    พระราชาทรงเลื่อมใสต่อชนเหล่านั้น ได้ทรงให้สมบัติในเรือนทั้งหมดของนายบ้านผู้กระทำการส่อเสียด และได้ทรงให้นายบ้านนั้นให้เป็นทาสของชนเหล่านั้น ทั้งได้ทรงให้ช้างและบ้านแก่ชนเหล่านั้นเหมือนกัน

    นับแต่นั้น ชนเหล่านั้นกระทำบุญทั้งหลายตามความชอบใจ คิดว่า จักสร้างศาลาใหญ่ในทาง ๔ แพร่ง จึงให้เรียกช่างไม้ มาแล้วเริ่มสร้างศาลา แต่ว่าไม่ได้ให้มาตุคามทั้งหลายมีส่วนบุญในศาลานั้น เพราะไม่มีความพอใจในมาตุคามทั้งหลาย.

    ก็สมัยนั้น ในเรือนของพระโพธิสัตว์มีสตรี ๔ คน คือ นางสุธรรมา นางสุจิตรา นางสุนันทา และนางสุชาดา บรรดาสตรีเหล่านั้น นางสุธรรมา เป็นพวกเดียวกันกับช่างไม้ กล่าวว่า พี่ช่าง ท่านจงทำฉันให้เป็นใหญ่ในศาลานี้ ดังนี้แล้วได้ให้สินบน ช่างไม้นั้นรับคำแล้ว ยังไม้ช่อฟ้าให้แห้งก่อนทีเดียว แล้วถากเจาะทำช่อฟ้าให้เสร็จแล้วจะยกช่อฟ้า จึงกล่าวว่า ตายจริง เจ้านาย ทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ได้ระลึกถึงสิ่งของอย่างหนึ่ง

    ชนเหล่านั้นถามว่า ท่านผู้เจริญ ของชื่ออะไร

    ช่างไม้กล่าวว่า การได้ช่อฟ้าจึงจะควร

    ชนเหล่านั้นกล่าวว่า ช่างเถิด เราจักนำมาให้

    ช่างไม้กล่าวว่า พวกเราไม่อาจทำด้วยไม้ที่ตัดในเดี๋ยวนี้ จะต้องได้ช่อฟ้าที่เขาตัดไว้ก่อนแล้วถาก เจาะทำสำเร็จแล้ว จึงจะควร

    ชนเหล่านั้น กล่าวว่า บัดนี้ จะทำอย่างไร

    ช่างไม้กล่าวว่า ถ้าช่อฟ้าสำหรับขายที่เขาทำไว้ เสร็จแล้วเก็บไว้ในเรือนของใคร ๆ มีอยู่ท่านต้องหาช่อฟ้าอันนั้น

    ชนเหล่านั้น เมื่อแสวงหาได้พบในเรือนของนางสุธรรมา ขอซื้อจากนาง นางก็ไม่ขายให้แต่กล่าวว่า ถ้าท่านทั้งหลายจะให้ข้าพเจ้ามีส่วนบุญด้วย ข้าพเจ้าจึงจักให้

    ชนเหล่านั้นจึงพากันกล่าวว่า พวกเราจะไม่ให้ส่วนบุญแก่มาตุคามทั้งหลาย

    ลำดับนั้น ช่างไม้จึงกล่าวกะชนเหล่านั้นว่า เจ้านายท่านทั้งหลายพูดอะไร ชื่อ ว่าที่ที่เว้นจากมาตุคามที่อื่น ย่อมไม่มี เว้นพรหมโลก ท่านทั้งหลายจงถือเอา ช่อฟ้าเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น การงานทั้งหลายของพวกเราจักถึงความสำเร็จ

    ชนเหล่านั้นกล่าวว่า ดีละ แล้วถือเอาช่อฟ้ายังศาลาให้สำเร็จแล้วปูแผ่นกระดานสำหรับนั่ง ตั้งตุ่มน้ำดื่ม เริ่มตั้งยาคูและภัตเป็นต้นเป็นประจำ ล้อมศาลาด้วย กำแพง ประกอบประตู เกลี่ยทรายภายในกำแพงปลูกแถวต้นตาลภายนอกกำแพง

    ฝ่ายนางสุจิตราให้กระทำอุทยานในที่นั้น ไม่มีคำที่จะพูดว่า ต้นไม้ที่มีดอกและไม้ที่มีผล ชื่อโน้น ไม่มีในอุทยานนั้น ฝ่ายนางสุนันทาให้กระทำ สระโบกขรณีในที่นั้นเหมือนกัน ให้ดารดาษด้วยปทุม ๕ สี น่ารื่นรมย์ แต่นางสุชาดาไม่ได้กระทำอะไร ? พระโพธิสัตว์บำเพ็ญวัตรบท ๗ เหล่านี้ คือ การ บำรุงมารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑ การกระทำความอ่อนน้อมถ่อมตนแก่คนผู้เป็น ใหญ่ในตระกูล ๑ การกล่าววาจาสัตย์ ๑ วาจาไม่หยาบ ๑ วาจาไม่ส่อเสียด ๑ และการนำไปให้พินาศซึ่งความตระหนี่ ๑ ถึงความเป็นผู้ควรสรรเสริญ

    ในเวลาสิ้นชีวิต พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นท้าวสักกเทวราช ในภพดาวดึงส์ สหายของพระโพธิสัตว์นั้นทั้งหมดพากันบังเกิดในภพดาวดึงส์นั้นเหมือนกัน.

    ในกาลนั้น อสูรทั้งหลายอยู่อาศัยในภพดาวดึงส์ ท้าวสักกเทวราชทรง ดำริว่า เราทั้งหลายจะประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติอันเป็นสาธารณะทั่วไปแก่คนอื่น จึงให้พวกอสูรดื่มน้ำสุราอันเป็นทิพย์ แล้วให้จับพวกอสูรผู้เมาแล้วที่เท้า แล้วโยนลงไปที่เชิงเขาสิเนรุ พวกอสูรเหล่านั้นจึงอาศัยอยู่ในภพอสูรที่นั่นนั้นแลโดยไม่รู้ว่าที่นั้นมิใช่ภพดาวดึงส์ ยังนึกว่าพวกตนยังอยู่ ณ ที่เดิม ชื่อว่าภพอสูรมีขนาดเท่าดาวดึงส์เทวโลกอยู่ ณ พื้นภายใต้เขาสิเนรุ ในภพอสูรนั้น ได้มีต้นไม้ตั้งอยู่ชั่วกัป ชื่อว่าต้นจิตตปาตลิ (แคฝอย) เหมือนต้นปาริฉัตตกะ ของเหล่าเทพ

    แต่เมื่อต้นจิตตปาตลิบาน พวกอสูรเหล่านั้นก็รู้ว่านี้ไม่ใช่เทวโลก ของพวกเรา เพราะว่าในเทวโลกต้นปาริฉัตตกะย่อมบาน ลำดับนั้น พวกอสูร เหล่านั้นจึงกล่าวว่า ท้าวสักกะทำพวกเราให้เมาแล้วโยนลงหลังมหาสมุทร ยึดเทพนครของพวกเรา เราทั้งหลายนั้นจักรบกับท้าวสักกะนั้นแล้วยึดเอา เทพนครของพวกเราเท่านั้นคืนมา จึงลุกขึ้นเที่ยวสัญจรไปตามเขาสิเนรุ เหมือน มดแดงไต่เสาฉะนั้น

    ท้าวสักกะทรงสดับว่า พวกอสูรขึ้นมา จึงเหาะขึ้นเฉพาะหลังสมุทรรบอยู่ ถูกพวกอสูรเหล่านั้นทำให้พ่ายแพ้ ท้าวสักกะจึงเริ่มหนีไปสุดมหาสมุทรด้านทิศเหนือ ด้วยเวชยันตราชรถมีขนาดประมาณ ๑๕๐ โยชน์ ลำดับนั้นรถของท้าวสักกะนั้นแล่นไปบนหลังสมุทรด้วยความเร็ว จึงแล่นเข้าไปยังป่าไม้งิ้ว ทำลายป่าไม้งิ้วในระหว่างหนทางที่ท้าวสักกะนั้นเสด็จผ่านไป เหมือนทำลายป่าไม้อ้อ ขาดตกลงไปบนหลังสมุทร พวกลูกนกครุฑพลัดตกลงบนหลังมหาสมุทรพากันร้องเสียงขรม ท้าวสักกะตรัสถามมาตลีสารถีว่า มาตลีผู้สหายนั่นเสียงอะไร เสียงร้องน่าสงสารยิ่งนัก ? พระมาตลีทูลว่า ข้าแต่เทพ เมื่อป่าไม้งิ้วแหลกไปด้วยกำลังความเร็วแห่งรถของพระองค์แล้วตกลงไป พวกลูกนกครุฑถูกมรณภัยคุกคาม จึงพากันร้องเป็นเสียงเดียวกัน พระมหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนมาตลีผู้สหาย ลูกนกครุฑเหล่านี้จงอย่าลำบากเพราะเราเลย เราจะไม่อาศัยความเป็นใหญ่แล้วกระทำกรรมคือการฆ่าสัตว์ ก็เพื่อประโยชน์แก่ลูกนกครุฑนั้น เราจักสละชีวิตให้แก่พวกอสูร ท่านจงกลับรถนั่น

    พระมาตลีสารถีได้ฟังคำของท้าวสักกะนั้นแล้ว จึงกลับรถหันหน้ามุ่งไปยังเทวโลก โดยหนทางอื่น ฝ่ายพวกอสูรพอเห็นท้าวสักกะกลับรถเท่านั้นคิดว่า ท้าวสักกะจากจักรวาลอื่นพากันมาเป็นแน่ รถจึงหันกลับเพราะได้กำลังพลมาเสริม พวกอสูรเมื่อคิดดังนั้นก็เป็นผู้กลัวต่อมรณภัย จึงพากันหนีเข้าไปยังภพอสูรตามเดิม ฝ่ายท้าวสักกะก็เสด็จเข้ายังเทพนคร แวดล้อมด้วยหมู่เทพในเทวโลกทั้งสอง ได้ประทับยืนอยู่ในท่ามกลางนคร ขณะนั้น เวชยันตปราสาทสูงพันโยชน์ ชำแรกปฐพีผุดขึ้น เพราะปราสาทผุดขึ้นในตอนสุดท้ายแห่งชัยชนะ เทพทั้งหลายจึงขนานนาม ปราสาทนั้นว่าเวชยันตะ ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงตั้งอารักขาในที่ ๕ แห่ง ก็เพื่อต้องการไม่ให้พวกอสูรกลับมาอีกซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า

    ในระหว่างอยุทธบุรีทั้งสอง ท้าวสักกะทรงตั้งการรักษาอย่างแข็งแรงไว้ ๕ แห่ง นาค ๑ ครุฑ ๑ กุมภัณฑ์ ๑ ยักษ์ ๑ ท้าวมหาราชทั้งสี่ ๑.

    แม้นครทั้งสอง คือ เทพนคร และอสูรนครก็ชื่อว่า อยุทธปุระ เพราะใคร ๆ ไม่อาจยึดได้ด้วยการรบ เพราะว่า ในกาลใด พวกอสูรมีกำลัง ในกาลนั้นเมื่อพวกเทวดาหนีเข้าเทพนครแล้วปิดประตูไว้แม้พวกอสูรตั้งแสนก็ไม่อาจทำอะไรได้ ในกาลใดพวกเทวดามีกำลัง ในกาลนั้น เมื่อพวกอสูรหนี ไปปิดประตูอสูรนครเสีย พวกเทวดาแม้ตั้งแสนก็ไม่อาจทำอะไรได้ ดังนั้น นครทั้งสองนี้จึงชื่อว่า อยุชฌปุระ เมืองที่ใคร ๆ รบไม่ได้

    ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทพทรงตั้งอารักขาในที่ ๕ แห่งเหล่านี้แล้วเสวยทิพยสมบัติอยู่ นางสุธรรมาจุติมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะนั่น แหละ ก็เทวสภาชื่อว่าสุธรรมามีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ได้เกิดขึ้นแก่นางสุธรรมา เพราะ ผลวิบากที่ให้ช่อฟ้า เทวสภาซึ่งเป็นที่ที่ท้าวสักกะจอมเทพประทับนั่งบนบัลลังก์ทองขนาดหนึ่งโยชน์ภายใต้เศวตฉัตรทิพย์ทรงกระทำกิจที่จะพึงกระทำแก่เทวดาและมนุษย์ ฝ่ายนางสุจิตราก็จุติมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าว สักกะนั้นเหมือนกัน และอุทยานชื่อว่าจิตรลดาวันก็เกิดขึ้นแก่นางสุจิตรานั้น เพราะผลวิบากของการกระทำอุทยาน ฝ่ายนางสุนันทาก็จุติมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะนั้นเหมือนกัน และสระโบกขรณีชื่อว่านันทาก็เกิดขึ้น แก่นางสุนันทานั้น เพราะผลวิบากของการขุดสระโบกขรณี.

    ส่วนนางสุชาดาบังเกิดเป็นนางนกยางอยู่ที่ซอกเขาในป่าแห่งหนึ่ง เพราะไม่ได้กระทำกุศลกรรมไว้ ท้าวสักกะทรงพระรำพึงว่า นางสุชาดาไม่ปรากฏ นางบังเกิด ณ ที่ไหนหนอ ครั้นทรงเห็นนางสุชาดานั้น จึงเสด็จไปที่ซอกเขานั้น พานางมายังเทวโลก ทรงแสดงเทพนครอันน่ารื่นรมย์ เทวสภาชื่อสุธรรมา สวนจิตรลดาวัน และนันทาโบกขรณี แก่นาง แล้วทรงโอวาทนางว่า หญิงเหล่านี้ได้กระทำกุศลไว้จึงมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของเรา ส่วนเธอไม่ได้กระทำกุศลไว้จึงบังเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ตั้งแต่นี้ไป เธอจงรักษาศีล แล้วให้นางตั้งอยู่ในศีล ๕ แล้วนำไปปล่อยไว้ ณ ซอกเขานั้นนั่นแหละ ฝ่ายนางนกยางนั้น ก็รักษาศีลตั้งแต่กาลนั้น โดยล่วงไป ๒ - ๓ วัน ท้าวสักกะ ทรงดำริว่า นางนกยางอาจรักษาศีลหรือหนอ จึงเสด็จไป แปลงรูปเป็นปลา นอนหงายอยู่ข้างหน้า นางนกยางนั้นสำคัญว่าปลาตายจึงได้คาบที่หัว ปลากระดิกหาง ลำดับนั้น นางนกยางนั้นจึงปล่อยปลานั้นด้วยสำคัญว่า เห็นจะเป็นปลามีชีวิตอยู่ ท้าวสักกะตรัสว่า สาธุ สาธุ เธออาจรักษาศีลได้ แล้วได้ เสด็จไปยังเทวโลก นางนกยางนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาบังเกิดในเรือนของนายช่างหม้อ ในนครพาราณสี.

    ท้าวสักกะทรงพระดำริว่า นางนกยางบังเกิด ณ ที่ไหนหนอ ทรงรู้ว่าเกิดในตระกูลช่างหม้อ จึงทรงเอาฟักทองคำบรรทุกเต็มยานน้อย แปลงเพศเป็นคนแก่นั่งอยู่กลางบ้านป่าวร้องว่า ท่านทั้งหลายจงรับเอาฟักเหลือง คนทั้งหลายมากล่าวว่า ข้าแต่พ่อ ท่านจงให้ฟักเหลืองแก่เรา ท้าวสักกะตรัสว่า เราให้แก่คนทั้งหลายผู้รักษาศีล ท่านทั้งหลายจงรักษาศีล คนทั้งหลายกล่าวว่าขึ้นชื่อว่าศีล พวกเราไม่รู้จัก ท่านจงขายให้เราเถิด ท้าวสักกะตรัสว่า เราไม่ต้องการเงิน เราจะให้เฉพาะแก่ผู้รักษาศีลเท่านั้น คนทั้งหลายกล่าวว่า นี้ฟักเหลืองอะไรกันหนอ แล้วก็หลีกไป นางสุชาดาได้ฟังข่าวนั้นแล้วคิดว่า เขาจักนำมาเพื่อเรา จึงไปพูดว่า ข้าแต่พ่อ ท่านจงให้ฟักเหลืองแก่เราเถิด ท้าวสักกะตรัสว่า แม่ เธอรักษาศีลแล้วหรือ นางสุชาดากล่าวว่า จ้ะ ฉันรักษาศีล ท้าวสักกะตรัสว่า สิ่งนี้เรานำมาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าเท่านั้น แล้ววางไว้ที่ประตูบ้านพร้อมกับยานน้อยแล้วหลีกไป.

    ฝ่ายนางสุชาดานั้น รักษาศีลจนตลอดชั่วอายุ จุติจากอัตภาพนั้นไป บังเกิดเป็นธิดาของจอมอสูรนามว่าเวปจิตติ ได้เป็นผู้มีรูปร่างงดงามด้วยอานิสงส์แห่งศีล ในเวลาธิดานั้นเจริญวัยแล้ว ท้าวเวปจิตตินั้นดำริว่า ธิดาของเรา จงเลือกสามีตามความชอบใจของตน จึงให้พวกอสูรประชุมกัน ท้าวสักกะทรงตรวจดูว่า นางสุชาดานั้นบังเกิด ณ ที่ไหนหนอ ครั้นทรงทราบว่านางเกิดในภพอสูรนั้นจึงทรงดำริว่า นางสุชาดาเมื่อจะเลือกเอาสามีตามที่ใจชอบ จักเลือกเอาเรา จึงทรงนิรมิตเพศเป็นอสูรแล้วได้ไปในที่ประชุมนั้น ญาติทั้งหลาย ประดับประดานางสุชาดาแล้วนำมายังที่ประชุมพลางกล่าวว่า เจ้าจงเลือกเอาสามีที่ใจชอบ นางตรวจดูอยู่ แลเห็นท้าวสักกะ ด้วยอำนาจความรักอันมีในกาลก่อน จึงได้เลือกเอาว่า ท่านผู้นี้เป็นสามีของเรา ท้าวสักกะจึงทรงนำนางมายังเทพนคร ทรงกระทำให้เป็นใหญ่กว่านางฟ้อนจำนวน ๒๕๐๐ โกฏิ ทรงดำรงอยู่ตลอดชั่วพระชนมายุ แล้วเสด็จไปตามยถากรรม

    พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อนครองราชสมบัติในเทวโลก ถึงจะสละชีวิตของตน ก็ไม่กระทำปาณาติบาต ด้วยประการอย่างนี้ เธอชื่อว่าบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ เหตุไรจักดื่มน้ำมีตัวสัตว์อันมิได้กรองเล่า จึงทรงติเตียนภิกษุนั้น แล้วทรงประชุมชาดกว่า มาตลีสารถีใน ครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนท้าวสักกะในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุสชาดก พระเจ้ากุสราชลุ่มหลงรูปโฉมของนางประภาวดี

    พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภภิกษุผู้ไม่ยินดีในพระธรรมวินัยมีใจคิดจะสึกรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 80%; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" bgColor=#f3f3f3 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width="100%">ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีคนหนึ่ง ได้ถวายชีวิตในพระศาสนา บรรพชาแล้ว วันหนึ่ง เธอเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เห็นสตรีนางหนึ่ง ซึ่งแต่งกายงดงาม มองดูด้วยอำนาจถือเอานิมิตอันงาม ถูกกิเลสเข้าครอบงำ จนหมดความยินดียิ่งอยู่แล้ว เธอมีผมและเล็บงอกยาวขึ้น มีจีวรเศร้าหมอง มีตัวผอมเหลือง มีกายอันสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น มีอุปมาเหมือนอย่างบุพนิมิต ๕ ประการที่ปรากฏแก่เทวบุตรทั้งหลาย ผู้มีอันจะต้องจุติเป็นธรรมดาในเทวโลก คือ พวงมาลัยย่อมเหี่ยวแห้ง ๑ ผ้านุ่งห่มเศร้าหมอง ๑ ผิวกายเกิดเศร้าหมอง ๑ เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง ๑ เทวดาไม่รื่นรมย์ในทิพยอาสน์ ๑ ฉันใด บุพนิมิต ๕ ประการก็ย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในพระธรรมวินัยมีใจคิดจะสึก ผู้จะต้องเคลื่อนจากศาสนาเป็นธรรมดา ได้แก่ ดอกไม้คือศรัทธาย่อมเหี่ยวแห้งไป ๑ ผ้าคือศีลย่อมเศร้าหมอง ๑ ผิวพรรณเกิดเศร้าหมอง ด้วยความเป็นผู้เก้อเขิน และด้วยอำนาจแห่งความไม่มียศ ๑ เหงื่อคือกิเลสทั้งหลายย่อมไหลออก ๑ ภิกษุนั้นย่อมไม่ยินดีในป่า ที่โคนต้นไม้ในเรือนอันว่างเปล่า ฉันนั้นก็เหมือนกัน นิมิตทั้งหลายปรากฏแล้วแก่ภิกษุนั้น

    ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงได้นำเธอเข้าไปในสำนักของพระศาสดาแล้ว แสดงให้ทรงทราบว่า ภิกษุรูปนี้ คิดต้องการจะสึก พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอคิดจะสึกจริงหรือ เมื่อภิกษุรูปนั้นกราบทูลตามความเป็นจริงแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธออย่าตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลสเลย ธรรมดาว่า มาตุคามนี้เป็นข้าศึก (ต่อการประพฤติพรหมจรรย์) เธอจงหักห้ามจิตที่คิดรักใคร่เยื่อใยในมาตุคามนั้นเสีย จงยินดีในพระศาสนาเถิด จริงอยู่ บัณฑิตครั้งโบราณทั้งหลาย แม้จะเป็นผู้มีเดช ย่อมต้องเสื่อมไปได้ เพราะเป็นผู้มีจิตคิดรักใคร่ในมาตุคาม และเป็นผู้หมดเดชถึงความพินาศย่อยยับเพราะมาตุคาม ดังนี้แล้ว ได้ทรงนิ่งเฉยอยู่ เมื่อได้รับการอาราธนาจากภิกษุเหล่านั้น จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในอดีตกาล พระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าโอกกากราช ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ในราชธานีชื่อกุสาวดีในแว่นแคว้นมัลละ ท้าวเธอมีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า สีลวดี ซึ่งเป็นใหญ่กว่านางสนมจำนวน ๑๖,๐๐๐ นาง พระนางสีลวดีนั้นหามีพระโอรสและพระธิดาไม่ ลำดับนั้น ชาวเมืองและชาวแว่นแคว้นทั้งหลายจึงพากันมาประชุมที่พระทวารพระราชนิเวศน์แล้ว ร้องเรียนแด่พระราชาพระองค์นั้นว่า บ้านเมืองจักพินาศ บ้านเมืองจักฉิบหาย พระราชาทรงให้เปิดสีหบัญชรออก แล้วตรัสถามว่า เมื่อเราครองรัฐอยู่ ขึ้นชื่อว่าการกระทำสิ่งอันไม่เป็นธรรมย่อมไม่มี พวกท่านจะมาร้องเรียนทำไมกัน

    พวกประชาชนกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ เป็นความจริง ขึ้นชื่อว่าการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรมมิได้มีเลย ก็แต่ว่าพระโอรสผู้จะสืบวงศ์ของพระองค์ยังไม่มี ชนเหล่าอื่นจักช่วงชิงเอาพระราชสมบัติแล้วทำบ้านเมืองให้พินาศล่มจม เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงทรงปรารถนาพระโอรสผู้สามารถจะปกครองพระราชสมบัติโดยธรรมเถิด พระเจ้าข้า

    พระราชาตรัสว่า เราก็ต้องการปรารถนาพระโอรสอยู่ แต่จะทำอย่างไรดี

    ประชาชนกราบทูลวิธีการว่า ขอเดชะ ขั้นแรก ขอพระองค์จงทรงปล่อยนางฟ้อนรุ่นเล็กสักนางหนึ่ง กระทำให้เป็นนางฟ้อนโดยธรรมไปสัก ๗ วันก่อน ถ้านางได้บุตรก็เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ต่อจากนั้น ขอให้ทรงปล่อย นางฟ้อนชั้นกลาง แต่นั้นขอให้ทรงปล่อยนางฟ้อนชั้นสูง บรรดานางสนมมีประมาณเท่านี้ นางสนมผู้มีบุญคนหนึ่งจักได้พระโอรสเป็นแน่แท้

    พระราชาทรงกระทำตามถ้อยคำของชาวเมืองเหล่านั้นทุกอย่าง ทรงอภิรมย์ตามความสุขสบายตลอด ๗ วัน จึงตรัสถามนางสนมที่พากันกลับมาแล้วว่า พวกเธอพอจะให้บุตรได้บ้างไหม ?

    หญิงทั้งหมดกราบทูลว่า ขอเดชะ หม่อมฉันทั้งหลายให้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า

    พระราชาทรงเสียพระทัยว่า โอรสจักไม่เกิดแก่เราเป็นแน่ ชาวเมืองทั้งหลายก็พากันร้องเรียนขึ้นเหมือนอย่างนั้นซ้ำอีก พระราชาตรัสว่า พวกท่านทั้งหลาย จะพากันมาร้องเรียนเอาอะไรกัน เราได้ปล่อยพวกนางฟ้อนไปตามคำของพวกท่านแล้ว จนถึงเหลือนางคนหนึ่ง ก็ยังไม่ได้บุตร บัดนี้เราจะกระทำการอย่างไรกัน

    พวกชาวเมืองกราบทูลว่า ขอเดชะ นางเหล่านั้น จักเป็นผู้ทุศีล ไม่มีบุญ นางเหล่านี้ ไม่มีบุญสำหรับจะได้บุตร เมื่อนางสนมเหล่านี้ไม่ได้บุตร พระองค์ก็อย่าทรงถอยพระอุตสาหะเสียเลย พระนางเจ้าสีลวดีพระอัครมเหสีของพระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยศีล ขอพระองค์ จงทรงปล่อยพระนางไปเสียเถิด พระนางจักได้พระโอรสเป็นแน่แท้

    ท้าวเธอทรงรับรองว่า ดีละ ดังนี้แล้วจึงรับสั่งให้คนเที่ยวตีกลองเป่าประกาศว่า ข่าวดี ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป พระราชาจะทรงนำพระนางเจ้าสีลวดี ให้เป็นนางฟ้อนรำโดยธรรมแล้วปล่อยไป บรรดาผู้ชายทั้งหลายจงมาประชุมกัน ครั้นพอถึงวันที่ ๗ จึงให้ตกแต่งประดับประดาพระนางเจ้าแล้ว ให้ลงจากพระราชนิเวศน์ปล่อยไป ด้วยเดชะแห่งศีลของพระนาง พิภพของท้าวสักกะก็แสดงอาการเร่าร้อนขึ้น ท้าวเธอจึงทรงใคร่ครวญว่า เกิดเหตุอะไรขึ้นหนอ ก็ทรงทราบว่า พระนางเจ้าปรารถนาพระโอรส จึงทรงพระดำริว่า เราควรจะให้พระโอรสแก่พระนางนี้ จึงทรงใคร่ครวญต่อไปว่า พระโอรสที่สมควรแก่พระนางนี้ในเทวโลกมีอยู่หรือไม่หนอ ก็ได้ทรงเห็นพระโพธิสัตว์.

    ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้นสิ้นอายุในภพชั้นดาวดึงส์ในกาลนั้น และเป็นผู้ใคร่จะได้เสด็จไปบังเกิดในเทวโลกเบื้องบนต่อไป ท้าวสักกเทวราช จึงเสด็จไปยังประตูวิมานของพระโพธิสัตว์นั้น ตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้เช่นเรา ท่านควรจะไปยังมนุษยโลกแล้วถือปฏิสนธิในครรภ์พระอัครมเหสีของพระเจ้าโอกกากราช เมื่อพระโพธิสัตว์ยอมรับแล้ว จึงตรัสกะเทพบุตรอีกคนหนึ่งว่า ถึงท่านก็จักต้องเป็นโอรสของพระนางนี้

    แล้วท้าวสักกะก็ได้แปลงร่างเป็นพราหมณ์แก่ เสด็จไปยังประตูพระราชนิเวศน์ของพระราชา ด้วยทรงพระดำริว่า ก็ใคร ๆ จงอย่าได้ทำลายศีลของพระนางนี้เสียเลย แม้มหาชนอาบน้ำตกแต่งร่างกายแล้ว ก็ไปประชุมที่ประตูพระราชนิเวศน์ด้วยคิดว่า เราจักรับเอาพระเทวี ครั้นเมื่อชนเหล่านั้นเห็นท้าวสักกะจึงได้กระทำการเยาะเย้ยว่า ท่านผู้เฒ่าจะมาทำไม

    ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านทั้งหลายจะติเตียนเราทำไม ถึงแม้ว่าร่างกายของเราจะแก่เฒ่าก็จริง แต่ความกระชุ่มกระชวยก็ยังไม่หมดสิ้นไป เรามาด้วยคิดว่า ถ้าเราจักได้พระนางสีลวดีก็จะพาพระนางไป

    ตรัสดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จเข้าไปยืนคอยอยู่ข้างหน้าใคร ๆ ทั้งหมดด้วยอานุภาพของตน คนอื่นไม่อาจยืนบังหน้าได้เลย ด้วยเดชแห่งท้าวสักกะนั้น พอพระนางเจ้าประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ท้าวเธอก็คว้าที่พระหัตถ์แล้วก็พาหลีกไป ลำดับนั้น ประชาชนทั้งหลายผู้อยู่ ณ ที่นั้นจึงพากันติเตียนพระนางว่า ดูเอาเถิดท่านผู้เจริญ พราหมณ์แก่พาเอาพระเทวีผู้ทรงไว้ซึ่งพระรูปโฉมอันอุดมถึงเพียงนี้ไป ตาแกช่างไม่รู้จักสิ่งที่เหมาะสมแก่ตนเสียเลย แม้พระเทวีก็มิได้ทรงขวยเขินละอายพระทัยว่า พราหมณ์แก่พาเราไป แม้พระราชาประทับยืนใกล้ช่องพระแกล ก็ทรงคอยดูอยู่ว่า ใครหนอจะพาพระเทวีไป ครั้นได้เห็นพราหมณ์แก่นั้น ก็ทรงเสียพระทัย

    ท้าวสักกะทรงพาพระนางออกจากประตูพระนคร ทรงเนรมิตเรือนขึ้นหลังหนึ่งใกล้กับประตูเมือง ทำการเปิดบานประตูไว้ และจัดแจงเครื่องลาดที่ทำด้วยไม้ไว้แล้ว ลำดับนั้น พระนางจึงตรัสถามท้าวเธอว่า นี่เรือนของท่านหรือคะ ?

    ท้าวเธอจึงตรัสตอบว่า ใช่แล้วน้องนาง แต่กาลก่อนพี่อยู่คนเดียว บัดนี้พี่กับเธออยู่ด้วยกัน ๒ คนแล้ว พี่จักต้องท่องเที่ยวไปหาข้าวสารเป็นต้นมาไว้ เชิญน้องนางนอนพักผ่อนเสียบนเครื่องลาดไม้นี้ก่อนเถิด แล้วทรงเอาพระหัตถ์อันอ่อนนุ่มค่อยลูบคลำพระนาง ทรงบันดาลให้ทิพยสัมผัสแผ่ซ่านไปทั่ว ให้พระนางบรรทมหลับใน ที่นั้น ด้วยความแผ่ซ่านแห่งทิพยสัมผัส พระนางจึงหมดความรู้สึก (หลับไป)

    ลำดับนั้น ท้าวสักกะจึงทรงอุ้มเอาพระนางไปยังพิภพชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานุภาพของตน ให้พระนางทรงบรรทมเหนือทิพยไสยาสน์ ในวิมานอันประดับประดาแล้ว ในวันที่ ๗ พระนางจึงตื่นจากบรรทมแล้ว ทอดพระเนตรเห็นสมบัตินั้น ก็ทรงทราบได้ว่า พราหมณ์คนนั้นคงไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา เห็นทีจักเป็นท้าวสักกะแน่นอน.

    ในสมัยนั้นท้าวสักกเทวราชทรงมีนางฟ้อนชั้นทิพย์แวดล้อมประทับนั่งที่โคนไม้ปาริฉัตตกะ พระนางทรงเห็นท้าวสักกะนั้นแล้วจึงเสด็จลุกออกจากที่บรรทม เสด็จเข้าไปหาท้าวเธอ ถวายบังคมแล้ว ประทับยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสกะพระนางว่า พระเทวีน้องรัก พี่จะให้พรแก่เธอสักอย่างหนึ่ง ขอเธอจงเลือกรับเอาเถิด

    พระนางทูลว่า ขอเดชะ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงประทานโอรสแก่หม่อมฉันสักพระองค์หนึ่งเถิด ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี จะว่าแต่พระโอรสคนหนึ่งเลย พี่จะให้พระโอรสสัก ๒ พระองค์แก่เธอ แต่ว่าในพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้น พระองค์หนึ่ง ทรงมีปัญญาแต่รูปร่างไม่สวยงาม พระองค์หนึ่งรูปร่างสวยงาม แต่หาปัญญามิได้ ในพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้น เธอจะปรารถนาต้องการ คนไหนก่อน

    พระนางทูลตอบว่า ขอเดชะ หม่อมฉันปรารถนาอยากได้พระโอรสที่มีปัญญาก่อน ท้าวสักกเทวราชนั้นตรัสรับว่า ดีละ ดังนี้แล้ว ทรงประทานสิ่งของ ๕ สิ่งอันได้แก่ หญ้าคา ๑ ผ้าทิพย์ ๑ จันทน์ทิพย์ ๑ ดอกปาริฉัตตก์ทิพย์ ๑ พิณชื่อโกกนท ๑ แก่พระนางแล้ว ทรงพาพระนางเหาะเข้าไปยังห้องบรรทมของพระราชา ให้พระนางบรรทมบนพระยี่ภู่ร่วมพระแท่นที่เดียวกันกับพระราชา ทรงบรรจงลูบพระนาภีของพระนางด้วยพระอังคุฏฐะ (นิ้วหัวแม่มือ) ในขณะนั้น พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนาง แล้วท้าวสักกะ ก็เสด็จไปยังสถานที่อยู่ของพระองค์ตามเดิม

    พระเทวีทรงทราบว่า พระองค์ทรงตั้งพระครรภ์ เพราะพระนางเป็นบัณฑิต ลำดับนั้น พระราชาทรงตื่นจากพระบรรทมทอดพระเนตรเห็นพระนาง จึงตรัสถามว่า ดูก่อนพระเทวี นี่ใครนะพาเธอมา

    พระเทวีทูลว่า ท้าวสักกะเพคะ

    พระราชาตรัสว่า ฉันได้เห็นประจักษ์แก่สายตาว่า ตาพราหมณ์แก่คนหนึ่งได้พาเธอไป ทำไมเธอจึงมาหลอกลวงฉัน

    พระเทวีทูลว่า ขอพระองค์จงทรงเชื่อเถิด เพคะ ท้าวสักกะพาหม่อมฉันไป ได้พาไปถึงเทวโลก พระราชาตรัสว่า ฉันไม่เชื่อเลย

    ลำดับนั้น พระเทวีจึงได้แสดงหญ้าคาที่ท้าวสักกะ ทรงประทานไว้แก่พระราชานั้น ทูลว่า ขอพระองค์ทรงเชื่อเถิด

    พระราชาตรัสว่า นั่นเรียกชื่อว่าหญ้าคา ที่ไหน ๆ ใคร ๆ ก็หาเอามาได้ ดังนี้ จึงไม่ทรงเชื่อ

    ลำดับนั้น พระนางจึงทรงนำเอาสิ่งของ ๔ สิ่งมีผ้าทิพย์เป็นต้นแสดงแก่ท้าวเธอ พระราชาพอได้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งของเหล่านั้นแล้ว จึงยอมเชื่อ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนพระนางผู้เจริญ เรื่องท้าวสักกะนำพาเธอไป จงพักไว้ก่อน ก็แต่ว่าเธอได้บุตรหรือไม่เล่า

    พระเทวีทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า หม่อมฉันได้พระโอรสแล้ว บัดนี้หม่อมฉันกำลังตั้งครรภ์ ท้าวเธอได้ทรงสดับถ้อยคำแล้ว ก็ทรงดีพระทัย จึงทรงพระราชทานเครื่องบริหารพระครรภ์แก่พระนาง พอได้ถ้วนกำหนดทศมาส พระนางเจ้าก็ประสูติพระราชโอรส พระชนกและพระชนนีมิได้ทรงขนานพระนามอย่างอื่นแก่พระราชโอรสนั้น ทรงขนานพระนามว่า กุสติณราชกุมาร

    ในกาลที่พระกุสติณราชกุมารโตถึงวัยที่เสด็จย่างพระบาทไปได้ เทพบุตรอีกองค์หนึ่ง ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอีก พอได้ครบ ๑๐ เดือนเต็ม พระนางก็ประสูติพระโอรสอีกพระองค์หนึ่ง พระชนกและพระชนนีได้ทรงขนานพระนามพระกุมารที่ประสูติใหม่นั้นว่า ชยัมบดีราชกุมาร

    พระราชกุมารทั้ง ๒ พระองค์นั้น ทรงเจริญพระชันษาด้วยพระอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ พระโพธิสัตว์เจ้าทรงมีปัญญา ไม่ต้องทรงศึกษาเล่าเรียนศิลปศาสตร์อะไร ๆ ในสำนักของพระอาจารย์ ก็ทรงถึงความสำเร็จในศิลปศาสตร์ทั้งหมดได้ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง.

    ลำดับนั้น ในกาลที่พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงเจริญพระชนมายุได้ ๑๖ พระชันษา พระราชาทรงปรารถนาจะมอบพระราชสมบัติให้ จึงรับสั่งให้พระเทวีมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนพระเทวีผู้เจริญ ฉันจะมอบราชสมบัติให้แก่ พระโอรสองค์ใหญ่ของเธอแล้ว จักให้นางฟ้อนทั้งหลายบำรุงบำเรอ ขณะที่เราทั้ง ๒ ยังมีชีวิตอยู่นี่แหละ จักได้เห็นลูกของเราครอบครองราชสมบัติ ก็ลูกของเราจะชอบใจพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์ใด ในชมพูทวีปทั้งสิ้น เราจะได้นำพระราชธิดานั้นมาสถาปนาให้เป็นอัครมเหสีของลูก เธอจงรู้จิตใจของลูกว่า จะชอบพระราชธิดาองค์ไหนกัน

    พระนางรับว่า ดีละ แล้วทรงส่งนางบริจาริกาคนหนึ่งไปโดยมีพระดำรัสว่า เจ้าจงไปบอกเรื่องนี้แก่กุมาร นางบริจาริกานั้นไปทูลเรื่องนั้นแก่พระกุมารนั้นแล้ว พระมหาสัตว์ ได้สดับถ้อยคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า เรามีรูปร่างไม่สะสวยงดงาม พระราชธิดาผู้สมบูรณ์ด้วยรูป แม้ถูกนำตัวมาพอเห็นเรา ก็จักหนีไปด้วยคิดว่า เราจะมีประโยชน์อะไร ด้วยกุมารผู้มีรูปร่างน่าเกลียด ความอับอายก็จะพึงมีแก่เรา ด้วยประการฉะนี้ ประโยชน์อะไรที่เราจะอยู่เป็นฆราวาส เราจักบำรุงมารดาบิดาผู้ยังทรงพระชนม์ไปก่อน พอท่านทั้งสองนั้นสวรรคตแล้ว ก็จักออกบวช

    พระองค์จึงตรัสบอกว่า เราไม่มีความต้องการด้วยพระราชสมบัติ ไม่ต้องการด้วยหมู่นางฟ้อน พอพระชนกและพระชนนีสวรรคตไปแล้ว เราก็จักบวช นางบริจาริกานั้น สดับพระดำรัสแล้ว จึงกลับมากราบทูลพระดำรัสของพระกุมารนั้นแด่พระเทวี แม้พระเทวีก็กราบทูลแด่พระราชาแล้ว พระราชาทรงสดับถ้อยคำทูลนั้นแล้วก็ทรงเสียพระทัย

    พอล่วงผ่านไป ๒ - ๓ วัน ก็ทรงส่งข่าวสาส์นไปอีก แม้พระกุมารนั้น ก็คัดค้านอีกเหมือนเดิม พระกุมารทรงคัดค้านอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ในครั้งที่ ๔ จึงทรงดำริว่า ธรรมดาว่าลูกจะขัดขืน คัดค้านมารดาบิดาอยู่ร่ำไป ก็ไม่เหมาะสมเลย เราจักกระทำอุบายสักอย่างหนึ่ง พระกุมารนั้นจึงเสด็จไปเรียกหัวหน้าช่างทองคนหนึ่งมาแล้ว พระราชทานทองคำไปเป็นอันมาก รับสั่งว่า ท่านจงทำรูปผู้หญิงให้สักรูปหนึ่งเถิด แล้วทรงส่งนายช่างทองนั้นไป

    เมื่อนายช่างทองนั้นไปแล้วจึงทรงเอาทองคำส่วนอื่นมาทำเป็นรูปผู้หญิงด้วยพระองค์เอง ก็ธรรมดาว่า ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จตลอดไป รูปทองที่พระโพธิสัตว์ทรงกระทำขึ้นเองนั้น ช่างงดงามเสียเหลือล้น จนไม่มีถ้อยคำจะรำพันด้วยลิ้นได้

    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงทรงแต่งตัวรูปหญิงนั้น ให้นุ่งผ้าโขมพัสตร์แล้ว ทรงให้วางไว้ในห้องอันเป็นสิริ พระมหาสัตว์นั้น ครั้นทรงเห็นรูปผู้หญิงที่หัวหน้าช่างทองนำมา จึงทรงติรูปนั้นแล้วตรัสว่า เธอจงไปนำเอารูปหญิงที่ตั้งอยู่ในห้องอันเป็นสิริของเรามาเทียบดูซิ นายช่างทองนั้นเข้าไปยังห้องอันเป็นสิริ มองเห็นรูปหญิงนั้นแล้ว สำคัญว่านางเทพอัปสรนางหนึ่ง มาร่วมอภิรมย์กับพระกุมารจึงไม่อาจจะเหยียดมือไปจับ กลับออกมากราบทูลว่า พระแม่เจ้าพระองค์ไร ประทับอยู่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในห้องอันเป็นสิริ ข้าพระองค์ไม่อาจจะเข้าไปได้

    พระราชกุมารตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ท่านจงไปนำมาเถิด รูปทองคำนี้เราทำขึ้นมาเอง แล้วทรงส่งไปอีก นายช่างทองนั้นจึงกลับเข้าไปยกออกมา พระราชกุมารให้เก็บรูปที่ช่างทองทำมานั้นไว้เสียในห้องสำหรับเก็บทอง แล้วให้คนตกแต่งรูปที่พระองค์ทรงกระทำ แล้วทรงให้ยกขึ้นวางบนรถ ส่งไป ยังสำนักของพระมารดา ด้วยพระดำรัสว่า ถ้าผู้หญิงงดงามเหมือนอย่างรูปนี้มีอยู่ หม่อมฉันจักอยู่ครอบครองเรือน.

    พระเทวีนั้น รับสั่งให้เรียกพวกอำมาตย์มาแล้ว ตรัสว่า ท่านทั้งหลาย พระโอรสของเรามีบุญมาก เป็นพระโอรสที่ท้าวสักกะประทานให้ อยากได้นางกุมาริกาที่รูปสวยเหมือนรูปนี้ พวกท่านได้หญิงมีรูปร่างเห็นปานนี้ จงพามา จงตั้งรูปนี้ไว้บนยานอันปกปิดแล้ว เที่ยวไปตลอดชมพูทวีปทั้งสิ้น ถ้าได้พบพระธิดาของพระราชาพระองค์ใด มีรูปร่างงดงามเห็นปานรูปนี้ไซร้ ก็จงถวายรูปทองนั้นแด่พระราชาพระองค์นั้นนั่นแล แล้วกราบทูลว่า พระเจ้าโอกกากราช จักกระทำอาวาหวิวาหมงคลกับพระองค์ ทูลกำหนดนัดวันแล้ว จงรีบกลับมา

    อำมาตย์เหล่านั้น รับพระราชเสาวนีย์แล้ว นำรูปนั้นออกจากเมือง พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เที่ยวเสาะแสวงหาไปถึงราชธานีใด ก็สังเกตว่า ในสถานที่ที่มหาชนมาประชุมกันในเวลาเย็นในราชธานีนั้น ก็ตกแต่งรูปหญิงนั้นด้วยเครื่องประดับ อันประกอบด้วยผ้าและดอกไม้ ยกขึ้นตั้งบนวอทองคำแล้ว ตั้งไว้ที่ริมหนทางที่จะไปยังท่าน้ำ ส่วนพวกตนต่างพากันหลบไปยืนอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง เพื่อคอยสดับฟังถ้อยคำของมหาชนผู้มาแล้ว

    ฝ่ายมหาชนครั้นมองดูรูปหญิงนั้น ไม่เข้าใจว่าเป็นรูปทองคำ จึงชวนกันชมเชยว่า หญิงนี้แม้เป็นเพียงหญิงมนุษย์ ก็ยังสวยงามอย่างที่สุดเปรียบ ประดุจนางเทพอัปสร ทำไมจึงมายืนอยู่ในที่นี้ หรือว่ามาจากไหน หญิงงามเห็นปานนี้ ในเมืองของพวกเราไม่เคยมีเลย ดังนี้แล้วก็พากันหลีกไป

    พวกอำมาตย์ได้ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว จึงปรึกษากันว่า ถ้านางทาริกางามปานรูปนี้ พึงมีในเมืองนี้ไซร้ ชนทั้งหลายพึงกล่าวว่า นางคนนี้เหมือนกับพระราชธิดาองค์โน้น นางคนนี้เหมือนธิดาของอำมาตย์คนโน้น ในเมืองนี้คงไม่มีนางผู้งามคล้ายกับรูปนี้เป็นแน่แท้ จึงถือเอารูปหญิงนั้นไปยังเมืองอื่น ๆ ต่อไปอีก

    พวกอำมาตย์เหล่านั้นเที่ยวไปอย่างนี้ จนถึงเมืองสาคละ ในแคว้นมัททะ โดยลำดับ ก็พระเจ้ามัททราช ในเมืองสาคละนี้ มีพระธิดาอยู่ ๘ พระองค์ ทรงพระรูปพระโฉมงดงามสูงสุดเปรียบประดุจนางฟ้า พระราชธิดาผู้เป็นพระพี่ใหญ่กว่าพระธิดาเหล่านั้นทั้งหมด มีพระนามว่า ประภาวดี เพราะมี พระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระสรีระของพระนาง คล้ายแสงดวงอาทิตย์อันอ่อน แม้ในเวลากลางคืน ในห้องอันมีเนื้อที่กว้างประมาณ ๔ ศอก ก็ไม่ต้องทำการตามประทีปโคมไฟ บริเวณห้องนั้นทั้งหมดจะมีแสงสว่างเสมอเป็นอันเดียวกันทีเดียว

    พระนางประภาวดีนั้น มีพระพี่เลี้ยงคนหนึ่งเป็นหญิงพิการหลังค่อม นางพี่เลี้ยงนั้นพอให้พระนางประภาวดีเสวยเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะให้นางวรรณทาสี ๘ คนถือหม้อน้ำจำนวน ๘ หม้อ ไปยังท่าน้ำในเวลาเย็น เพื่อตักน้ำไปสรงสนานพระนาง

    ครั้นในเวลาเย็น เมื่อนางวรรณทาสีเหล่านั้นไปที่ท่าน้ำ มองเห็นรูปทองคำที่ตั้งไว้ข้างริมทางที่จะเดินไปยังท่าน้ำนั้น ก็เข้าใจไปว่าเป็นพระนางประภาวดีพากันโกรธกล่าวว่า พระนางนี้ช่างว่ายากเสียจริง ๆ ตรัสว่า เราจักสรงสนานน้ำ แล้วส่งพวกเรามาตักน้ำ แต่กลับมายืนดักอยู่ที่หนทางจะไปสู่ท่าน้ำก่อนหน้าเรา แล้วจึงพากันกล่าวกับรูปทองนั้นว่า ข้าแต่พระนางเจ้าผู้ทำสกุลให้ได้รับความละอาย ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง ที่พระนางจะมายืนอยู่ในที่นี้ก่อนกว่าพวกหม่อมฉัน ถ้าพระเจ้าแผ่นดินจักทรงทราบไซร้ ก็คงจักทำพวกหม่อมฉันให้พินาศเป็นแน่ ดังนี้แล้ว จึงเอามือแตะที่ข้างแก้มของรูปเทียมนั้น ฝ่ามือก็คล้ายกับว่าจะแตกออกไป ลำดับนั้น นางจึงรู้ว่าเป็นรูปทองคำ หัวเราะขบขันอยู่ จึงไปหาพวกนางวรรณทาสีแล้วกล่าว ว่า พวกเธอจงมาดูการทำของฉัน ฉันได้แตะต้องด้วยสำคัญผิดว่า รูปนี้ คือ พระนางเจ้าของเรา รูปเปรียบนี้ จะมีค่า
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุสนาฬิชาดก ว่าด้วยประโยชน์ของการผูกมิตร

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมิตรผู้ชี้ขาดการงานของท่านอนาถบิณฑิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568>ความโดยย่อมีว่า พวกมิตรผู้คุ้นเคย ญาติพวกพ้องของท่านอนาถบิณฑิกะ ร่วมกันห้ามปรามบ่อย ๆ ว่า ท่านมหาเศรษฐี คนผู้นี้ไม่ทัดเทียมกับท่าน โดยชาติ โคตร ทรัพย์ และธัญญชาติเป็น ต้น ทั้งไม่เหมือนท่านไปได้เลย เหตุไรท่านจึงทำความสนิทสนมกับคนผู้นี้ อย่ากระทำเลย ฝ่ายท่านอนาถบิณฑิกะ กลับพูดว่า ธรรมดาความสนิทสนมกันฉันท์มิตร กับคนที่ต่ำกว่าก็ดี คนที่เสมอกันก็ดี คนที่สูงกว่าก็ดี ควรกระทำทั้งนั้น แล้วไม่เชื่อถือถ้อยคำของคนพวกนั้น เมื่อจะไปบ้านส่วย ก็ตั้งบุรุษผู้นั้นให้เป็นผู้ดูแลสมบัติแล้วจึงไป เรื่องราวทั้งหมด พึงทราบ โดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องกาฬกัณณิชาดกนั่นแล แปลกแต่ว่า ในเรื่องนี้ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกะกราบทูลเรื่องราวในเรือนของตนแล้ว พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมดามิตรที่จะเป็นคนเล็กน้อยไม่มี ก็ความเป็นผู้สามารถรักษามิตรธรรม ไว้ได้เป็นประมาณในเรื่องมิตรนี้ ธรรมดามิตร เสมอด้วยตน ก็ดี ต่ำกว่าตนก็ดี ยิ่งกว่าตนก็ดี ควรคบไว้ เหตุว่ามิตรเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ย่อมช่วยแบ่งเบาภาระที่มาถึงตนได้ทั้งนั้น บัดนี้ ท่านอาศัยมิตรผู้ชี้ขาดการงานของตน จึงเป็นเจ้าของขุมทรัพย์ ได้สืบไป ส่วนโบราณกบัณฑิต อาศัยมิตรผู้ชี้ขาด จึงเป็นเจ้าของ วิมานได้ ดังนี้ ครั้นท่านอนาถบิณฑิกะกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเทวดาอาศัยอยู่ที่กอหญ้าคา ในอุทยานของพระราชา ก็ในอุทยานนั้นแล มีต้นรุจมงคล อาศัยมงคลศิลา มีลำต้นตั้งตรง ถึงพร้อมด้วยปริมณฑล กิ่งก้านและค่าคบ ได้รับการยกย่องจากราชสำนัก เรียกกันว่า ต้นสมุขกะ(๑)บ้าง

    เทวราชผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง บังเกิดที่ต้นไม้นั้น พระโพธิสัตว์ได้มีความสนิทสนมกับเทวราชนั้น ครั้งนั้นพระราชาเสด็จประทับอยู่ในปราสาทเสาเดียว เสาของปราสาทนั้นเกิดสั่นไหวขึ้น ครั้งนั้น พวกราชบุรุษพากันกราบทูลความสั่นไหวของเสานั้นแด่พระราชา พระราชารับสั่งให้หาพวกนายช่างมาเฝ้า ตรัสว่า พ่อคุณ เสาแห่งมงคลปราสาทเสาเดียวสั่นไหวเสียแล้ว พวกเจ้าจงเอาเสาไม้แก่นมาต้นหนึ่ง มาทำเสานั้นไม่ให้สั่นไหวเถิด

    พวกช่างเหล่านั้น กราบทูลรับพระดำรัสของพระราชาว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า แล้วพากันแสวงหาต้นไม้ที่เหมาะแก่เสานั้น ไม่พบในที่อื่น จึงเข้าไปสู่อุทยาน เห็นต้นสมุขกะนั้น แล้วพากันไปสำนักพระราชา เมื่อมีพระดำรัสถามว่า อย่างไร เล่าพ่อทั้งหลาย ต้นไม้ที่เหมาะสมแก่เรานั้น พวกเจ้าเห็นแล้วหรือ ?

    จึงกราบทูลว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า ก็แต่ว่า ไม่อาจตัดต้นไม้นั้นได้

    รับสั่งถามว่า เพราะเหตุไรเล่า ?

    พากันกราบทูล ว่า พวกข้าพระองค์ ไม่เห็นต้นไม้ในที่อื่น พากันเข้าสู่พระอุทยาน ในพระอุทยานนั้นเล่า เว้นต้นมงคลพฤกษ์แล้ว ก็ไม่เห็นต้นไม้อื่น ๆ ดังนั้น โดยที่เป็นมงคลพฤกษ์ พวกข้าพระองค์จึงไม่กล้าตัดต้นไม้นั้น

    พระเจ้าข้ารับสั่งว่า จงพากันไปตัดเถิด ทำปราสาทให้มั่นคงเถิด เราจักตั้งต้นอื่นเป็นมงคลพฤกษ์แทน

    พวกช่างไม้เหล่านั้น รับพระดำรัสแล้วพากันถือเครื่องพลีกรรมไปสู่อุทยาน ตกลงกันว่า จักตัดในวันพรุ่งนี้ แล้วกระทำพลีกรรมแก่ต้นไม้ เสร็จแล้วจึงพากันออกไป รุกขเทวดารู้เหตุนั้นแล้ว คิดว่า พรุ่งนี้ วิมานของเราจักฉิบหาย เราจักพาพวกเด็ก ๆ ไปที่ไหนกันเล่า เมื่อไม่เห็นที่ควรไปได้ ก็กอดคอลูกน้อย ๆ ร่ำไห้ หมู่รุกขเทวดาที่รู้จักมักคุ้นของเทวดานั้น ก็พากันไต่ถามว่า เรื่องอะไรเล่า ? ครั้นฟังเรื่องนั้น แม้พวกตนก็มองไม่เห็นอุบายที่จะห้ามช่างไม่ได้ พากันทอดทิ้งเทวดานั้น เริ่มร้องไห้ไปตามกัน

    ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราจักไปเยี่ยมรุกขเทวดา จึงไปที่นั้น ฟังเหตุนั้นแล้ว ก็ปลอบเทวดาเหล่านั้นว่า ช่างเถิด อย่ามัวเสียใจเลย เราจักไม่ให้ตัดต้นไม้นั้น พรุ่งนี้เวลาพวกช่างมา พวกท่านคอยดูเหตุการณ์ของเราเถิด

    ครั้นรุ่งขึ้น เวลาที่พวกช่างไม้พากันมา ก็แปลงตัวเป็นกิ้งก่าวิ่งนำหน้าพวกช่างไม้ไป เข้าไปสู่โคนของมงคลพฤกษ์ กระทำประหนึ่งว่า ต้นไม้นั้นเป็นโพรง ไต่ขึ้นตามไส้ของต้นไม้ โผล่ออกทางยอด นอนผงกหัวอยู่ นายช่างใหญ่เห็นกิ้งก่านั้นแล้ว ก็เอามือตบต้นไม้นั้น แล้วตำหนิต้นไม้ใหญ่ซึ่งที่จริงมีแก่นทึบตลอดว่า ต้นไม้นี้มีโพรง ไร้แก่น เมื่อวานไม่ทันได้ตรวจถ้วนถี่ หลงทำพลีกรรมกันเสีย แล้วพากันหลีกไป รุกขเทวดาอาศัยพระโพธิสัตว์ คงเป็นเจ้าของวิมานอยู่ได้ เพื่อเป็นการต้อนรับรุกขเทวดานั้น เทวดาที่รู้จักมักคุ้นจำนวนมากประชุมกัน รุกขเทวดาดีใจว่า เราได้วิมานแล้ว เมื่อจะกล่าวคุณของพระโพธิสัตว์ ในท่ามกลางที่ประชุม เทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนเทพยเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย ชาวเราถึงจะเป็นเทวดามเหศักดิ์ ก็มิได้รู้อุบายนี้ เพราะปัญญาทึบ ส่วนเทวดากุสนาฬิ ได้กระทำให้เราเป็นเจ้าของวิมานได้ เพราะญาณสมบัติของตน ธรรมดามิตร ไม่เลือกว่าเท่าเทียมกัน ยิ่งกว่า หรือต่ำกว่า ควรคบไว้ทั้งนั้น มิตรแม้ทุก ๆ คน อาจบำบัดทุกข์ ที่บังเกิดแก่เพื่อนฝูง ให้คงคืนตั้งอยู่ในความสุขได้ ตามกำลังของตนทีเดียว

    รุจาเทวดา แสดงธรรมแก่หมู่เทวดาแล้วก็ดำรงอยู่ชั่วอายุขัย แล้วไปตามยถากรรมพร้อมกับกุสนาฬิเทวดา.

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า รุจาเทวดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ ส่วนกุสนาฬิเทวดา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุหกชาดก พูดดีได้เงินได้ทอง

    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มักหลอกลวงรูปหนึ่งตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.

    เรื่องการหลอกลวง เช่นเดียวกับเรื่องที่ปรากฏใน อุททาลกชาดก.

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ชฎิลโกงผู้หนึ่งเป็นดาบสหลอกลวง อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ตำบลหนึ่ง กุฎุมพีคนหนึ่งช่วยสร้างศาลาในป่าให้ดาบสนั้น ให้ดาบสอยู่ในบรรณศาลา ปรนนิบัติด้วยอาหารอันประณีตในเรือนของตน เขาเชื่อดาบสโกงนั้นว่าท่านผู้นี้เป็นผู้มีศีล นำเอาทองร้อยแท่งไปยังศาลาของดาบส ฝังไว้ในแผ่นดินเพราะกลัวโจร แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าพึงดูแลทองนี้ด้วย

    ครั้งนั้น ดาบสกล่าวกะเขาว่า คุณ การพูดแบบนี้ แก่พวกที่ได้นามว่า บรรพชิตไม่สมควรเลย ขึ้นชื่อว่า ความโลภในสิ่งของของผู้อื่นนั้น ไม่มีในหมู่ของพวกเราเลย

    เขากล่าวว่า ดีละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ เชื่อถ้อยคำของดาบส แล้วหลีกไป ดาบสชั่วคิดว่า เราอาจเลี้ยงชีพด้วยทรัพย์นี้ได้ ล่วงไปได้สองสามวัน ก็ยักเอาทองนั้นไปไว้ ณ ที่หนึ่ง ระหว่างทาง ย้อนมาเข้าไป ยังบรรณศาลา พอวันรุ่งขึ้น เมื่อดาบสทำภัตกิจในเรือนของกุฎุมพีเสร็จแล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราอาศัยท่านอยู่นานแล้ว ความพัวพันกันกับพวกมนุษย์ย่อมเกิดขึ้น ก็ธรรมดาว่า ความพัวพันเป็นมลทินของบรรพชิต เพราะฉะนั้นอาตมาจะขอลาไป แม้กุฏุมพีจะอ้อนวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ ก็ไม่ปรารถนาจะกลับ ครั้งนั้นกุฎุมพี จึงกล่าวกะดาบสว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็นิมนต์ไปเถิด พระคุณเจ้าข้า ดังนี้แล้ว ตามไปส่งจนถึงประตูบ้านแล้วจึงกลับ

    ดาบสเดินไปได้หน่อยหนึ่ง คิดว่า เราควรจะลวงกุฎุมพีนี้ ก็เอาหญ้าวางติดไว้ที่ชฎา แล้วย้อนกลับไปยังบ้านกุฏุมพี กุฏุมพีถามว่าพระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้ากลับมาทำไม ขอรับ ?

    ตอบว่า ผู้มีอายุ หญ้าเส้นหนึ่งเกี่ยวชฎาของฉันไปจากชายคาเรือนของพวกท่าน ขึ้นชื่อว่า อทินนาทาน ไม่สมควรแก่บรรพชิต อาตมาจึงรีบนำมันกลับมา

    กุฎุมพีกล่าวว่า จงทิ้งมันเสีย แล้วนิมนต์ไปเถิดครับ เลื่อมใสว่าพระดาบสไม่ถือเอาสิ่งของ ๆ ผู้อื่น ซึ่งแม้เพียงเส้นหญ้า โอ พระคุณเจ้าของเรา เคร่งครัดจริง ดังนี้กราบแล้ว ส่งพระดาบสไป

    ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ได้เดินทางไปยังชนบทชายแดนเพื่อต้องการสิ่งของ อาศัยพักแรมในบ้านกุฎุมพีท่านฟังคำของดาบสแล้ว คิดว่า ดาบสร้ายผู้นี้ จักต้องถือเอาอะไร ๆ ของกุฎุมพีนี้ไป เป็นแน่ จึงถามกุฎุมพีว่า ดูก่อนสหาย ท่านได้ฝากฝังอะไร ๆ ไว้ในสำนักของดาบสนั้น มีหรือไม่ ?

    กุฎุมพีตอบว่า มีอยู่สหาย เราฝากฝังทองไว้ ๑๐๐ แท่ง พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรีบไปตรวจตราดูทองนั้นเถิด เขาไปบรรณศาลาแล้วตรวจดูทองที่ฝังเอาไว้ก็ไม่เห็นทองนั้น จึงรีบกลับมาบอกพระโพธิสัตว์ว่า ทองไม่มี สหาย

    พระโพธิสัตว์บอกว่า ทองของท่านผู้อื่นไม่ได้เอาไปดอก ดาบสร้ายนั้นคนเดียวเอาไป มาเถิด เรามาช่วยกันติดตามจับดาบสนั้น แล้วรีบตามไปก็จับดาบสโกงได้ ทุบบ้าง เตะบ้าง ให้นำเอาทองมาคืน แล้วจับไว้ พระโพธิสัตว์เห็นทองแล้วกล่าวว่า ดาบสนี่ขโมยทอง ๑๐๐ แท่ง ยังไม่ข้องใจ ไพล่มาข้องใจในเรื่องเพียงเส้นหญ้า เมื่อจะติเตียน ดาบสนั้น กล่าวคาถานี้ ความว่า :

    "น้อยหรือถ้อยคำของเจ้า ช่างสละสลวยพูดจาน่านับถือจริง ๆ เจ้าข้องใจในวัตถุเพียงเส้นหญ้า แต่เมื่อขโมยทองร้อยแท่งไป ไม่ข้องใจเลยนะ" ดังนี้.

    พระโพธิสัตว์ ครั้นติเตียนดาบสนั้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ให้โอวาทแก่ดาบสว่า ดูก่อนชฎิลโกง ท่านอย่าได้ทำกรรมเห็นปานนี้ต่อไปอีก ดังนี้แล้ว ก็ไปตามยถากรรม.

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ภิกษุนี้เป็นผู้หลอกลวง แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นผู้หลอกลวงแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ดาบสโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กูฏวาณิชชาดก ว่าด้วยคนผู้เป็นบัณฑิต

    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพ่อค้าโกงผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้ :

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR style="page-break-inside: avoid"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width="100%" height="100%">ความย่อว่า คนสองคนในเมืองสาวัตถี ร่วมทุนกันทำการค้า คุมขบวนเกวียนสินค้าไปสู่ชนบท ได้ของแล้วพากันกลับ ในพ่อค้าทั้งสองนั้น พ่อค้าโกงคิดว่า พ่อค้าผู้เป็นสหายเราคนนี้ ตรากตรำด้วยการกินไม่ดี นอนลำบากมาหลายวันแล้ว คราวนี้ เขาจักกินโภชนะดี ๆ ด้วยรสเลิศต่าง ๆ ในเรือนของเขาจนพอใจ จักตายด้วยโรคอาหารไม่ย่อย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักแบ่งของนี้ออกเป็น ๓ ส่วน ให้เด็ก ๆ ของเขาส่วนหนึ่ง อีก ๒ ส่วน เราจักเอาเสียเอง เขาผัดวันอยู่ว่า จักแบ่งในวันนี้ จักแบ่งในวันพรุ่งนี้ ดังนี้แล้ว ไม่อยากจะแบ่งภัณฑะเลย ฝ่ายพ่อค้าผู้เป็น บัณฑิต ก็คาดคั้นเขาผู้ไม่ปรารถนาจะแบ่ง ให้แบ่งจนได้ แล้วไปสู่พระวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา ได้รับปฏิสันถารที่ทรงกระทำ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามว่า ดูท่านชักช้านัก มาถึงพระนครนี้แล้ว กว่าจะมาสู่ที่เฝ้าก็นาน จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่นายพาณิชนั้นเป็นพาณิชโกง แม้ในกาลก่อนก็เคยเป็นพาณิชโกงมาแล้วเหมือนกัน แต่ในครั้งนี้มุ่งจะลวงท่าน แม้ในครั้งก่อนก็ไม่อาจจะหลอกลวงบัณฑิตได้ เมื่ออุบาสกกราบทูลอาราธนาแล้วจึงทรงนำเอาเรื่องใน อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพ่อค้า ในพระนคร พาราณสี ในวันขนานนาม หมู่ญาติตั้งชื่อให้ท่านว่า บัณฑิต ท่านเจริญวัยแล้ว เข้าหุ้นกับพ่อค้าอื่นทำการค้า พ่อค้านั้นชื่อว่า อติบัณฑิต ทั้งคู่ชวนกันบรรทุกภัณฑะด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม ไปสู่ชนบท ทำการค้าได้ของมามากมาย พากันกลับมายังพระนครพาราณสี ครั้นถึงเวลาที่จะแบ่งข้าวของกัน อติบัณฑิต ก็กล่าวว่า ข้าพเจ้าควรได้สองส่วน

    พระโพธิสัตว์ถามว่า เพราะเหตุไรเล่า ?

    เขาตอบว่า ท่านชื่อบัณฑิต ข้าพเจ้าชื่ออติบัณฑิต บัณฑิตควรได้ส่วนเดียว อติบัณฑิตควรได้สองส่วน

    พระโพธิสัตว์ ถามว่า ทุนที่ซื้อของก็ดี พาหนะมีโคเป็นต้นก็ดี แม้ของทั้งสอง ก็เท่า ๆ กันมิใช่หรือ เหตุใดเล่าท่านจึงควรจะได้สองส่วน ?

    เขาตอบว่า เพราะข้าพเจ้าเป็นอติบัณฑิต

    ทั้งสองคนโต้เถียงกัน อยู่อย่างนี้ แล้วก็ทะเลาะกัน ลำดับนั้นอติบัณฑิตคิดได้ว่า ยังมีอุบายอยู่อีกอันหนึ่ง จึงให้บิดาของตนเข้าไปซ่อนอยู่ในโพรงไม้ต้นหนึ่ง สั่งไว้ว่า เวลาเราทั้งสองมาถึงละก็ คุณพ่อต้องพูดว่า อติบัณฑิตควรจะได้สองส่วนนะครับ แล้วไปหาพระโพธิสัตว์ กล่าวว่า สหายรัก รุกขเทวดานั้นย่อมรู้การที่เราควรจะได้สองส่วน หรือไม่ควร มาเถิดท่าน เราจักถามรุกขเทวดานั้นดู แล้วพากันไปที่ต้นไม้นั้นแหละ กล่าวว่า ข้าแต่รุกขเทวดา ผู้เป็นเจ้าไพร เชิญตัดสินคดีของเราด้วยเถิด

    ครั้งนั้น บิดาของเขาก็เปลี่ยนเสียงให้เพี้ยนไป พูดว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงบอกเรื่องราว อติบัณฑิตก็พูดว่า ข้าแต่เจ้าไพร ท่านผู้นี้ชื่อบัณฑิต ข้าพเจ้าชื่ออติบัณฑิต เราทั้งสองเข้าหุ้นกันทำการค้าขาย ในเรื่องนั้นเขาควรได้รับอย่างไร ? ก็ปรากฎมีเสียงดังขึ้นว่า บัณฑิตได้ส่วนหนึ่ง อติบัณฑิตได้ ๒ ส่วน พระโพธิสัตว์ฟังคดีที่เทวดาวินิจฉัยแล้วอย่างนี้ คิดว่า เดี๋ยวเถอะ จะได้รู้กันว่า เป็นเทวดา หรือไม่ใช่เทวดา แล้วไปหอบฟางมาใส่โพรงไม้จุดไฟทันที บิดาของอติบัณฑิต เวลาที่เปลวไฟถูกตนก็ร้อน เพราะสรีระเกือบจะไหม้ จึงทะลึ่งขึ้นข้างบน คว้ากิ่งไม้โหนไว้แล้วโดดลงดิน พลางกล่าวคาถาว่า

    "คนที่ชื่อบัณฑิตดีแน่ ส่วนคนที่ชื่อว่าอติบัณฑิตไม่ดีเลย เพราะว่า เจ้าอติบัณฑิตลูกเราเกือบเผาเราเสียแล้ว"

    แล้วคนทั้งสองนั้น ต่างก็แบ่งกันคนละครึ่ง ถือเอาส่วนเท่า ๆ กัน ทีเดียว แล้วต่างก็ไปตามยถากรรม.

    พระศาสดาทรงนำเอาเรื่องในอดีตนี้มาสาธกว่า แม้ในครั้งก่อน พาณิชนั้น ก็เป็นนายพาณิชโกงเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พ่อค้าโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็นพ่อค้าโกงในปัจจุบันนี้แหละ ส่วนพ่อค้าผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

    จบ กูฏวาณิชชาดก
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กูฏวาณิชชาดก หนามยอกเอาหนามบ่ง

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพ่อค้าโกงคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR style="HEIGHT: 183.1pt"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 492.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; HEIGHT: 183.1pt" vAlign=top width=657>ความพิสดารมีอยู่ว่า ชนสองคนคือพ่อค้าโกง และพ่อค้าบัณฑิต ชาวเมืองสาวัตถี เดินทางไปด้วยกัน บรรทุกสินค้าเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวทำการค้าจากทิศตะวันออกไปยังทิศต่าง ๆ ครั้นได้กำไรมากก็กลับกรุงสาวัตถี พ่อค้าบัณฑิตได้กล่าวกับพ่อค้าโกงว่า สหายเรามาแบ่งสินค้ากันเถิด พ่อค้าโกงคิดว่าพ่อค้าคนนี้ลำบากด้วยการนอน การบริโภคอันแร้นแค้นมาเป็นเวลานาน บริโภคอาหารมีรสเลิศต่าง ๆ ในเรือนของตนจักตายเพราะอาหารไม่ย่อย ทีนั้นแหละสินค้าทั้งหมดอันเป็นส่วนของเขาก็จักเป็นของเราแต่ผู้เดียว จึงกล่าวว่า ฤกษ์และวันยังไม่พอใจ พรุ่งนี้มะรืนนี้จึงค่อยรู้ แกล้งถ่วงเวลาไว้

    พ่อค้าผู้เป็นบัณฑิต บังคับให้เขาแบ่งได้แล้วจึงถือเอาของหอมและดอกไม้ไปเฝ้าพระศาสดาบูชาพระศาสดาถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามว่า ท่านมาถึงเมื่อไร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า มาได้ประมาณกึ่งเดือนพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า เพราะเหตุไรจึงล่าช้าอย่างนี้ ไม่มาสู่ที่พุทธปฐาก เขากราบทูลให้ทรงทราบ พระศาสดาตรัสว่า อุบาสกมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน พ่อค้านี้ก็เป็นคนโกงเหมือนกัน ครั้นเมื่ออุบาสกทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลอำมาตย์ ครั้นเจริญวัย ได้เป็นอำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดีของพระองค์ ในครั้งนั้นมีพ่อค้าสองคน คือพ่อค้าชาวบ้านกับพ่อค้าชาวกรุง เป็นมิตรกัน พ่อค้าชาวบ้านฝากผาล ๕๐๐ ไว้แก่พ่อค้าชาวกรุง พ่อค้าชาวกรุงขายผาลเหล่านั้นแล้วเก็บเอาเงินเสีย แล้วเอาขี้หนูมาโรยไว้ในที่เก็บผาล ครั้นต่อมาพ่อค้าชายบ้านนอกมาหากล่าวว่า ขอท่านจงคืนผาลให้เราเถิด

    พ่อค้าโกง กล่าวว่า ผาลของท่านถูกหนูกินหมดแล้ว จึงชี้ให้ดูขี้หนู

    พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า ถูกหนูกินแล้วก็ช่างเถิด เมื่อหนูกินแล้วจะทำอย่างไรได้

    จึงพาบุตรของพ่อค้าโกงนั้นไปอาบน้ำ ให้เด็กนั้นนั่งอยู่ภายในห้องในเรือนของสหายผู้หนึ่ง แล้วกล่าวว่า อย่าให้ทารกนี้แก่ใคร ๆ เป็นอันขาด แล้วตนเองก็อาบน้ำกลับไปเรือนของพ่อค้าโกง

    พ่อค้าโกงถามว่า ลูกของเราไปไหน

    พ่อค้าบ้านนอกบอกว่า ในขณะที่เราวางบุตรของท่านไว้ริมฝั่งแล้วดำลงไปในน้ำ เหยี่ยวตัวหนึ่งบินมาเอากรงเล็บโฉบบุตรของท่าน แล้วบินไปสู่อากาศ แม้เราพยายามปรบมือร้องก็ไม่สามารถให้มันปล่อยได้

    พ่อค้าโกง กล่าวว่าท่านพูดโกหก เหยี่ยวคงไม่สามารถโฉบเอาเด็กไปได้ดอก

    พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า สหายจะว่าถูกก็ถูก จะว่าไม่ถูกก็ถูก แต่เราจะทำอย่างไรได้ เหยี่ยวเอาบุตรของท่านไปจริง ๆ พ่อค้าโกงคุกคามพ่อค้าบ้านนอกว่า เจ้าโจรใจร้ายฆ่าคน คราวนี้เราจะไปศาล ให้พิพากษาลงโทษท่าน แล้วออกไป

    พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า ทำตามความพอใจของท่านเถิด แล้วไปศาลกับพ่อค้าโกงนั้น

    พ่อค้าโกงกล่าวกระพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่นาย พ่อค้าผู้นี้พาบุตรของข้าพเจ้าไปอาบน้ำ เมื่อข้าพเจ้าถามว่าบุตรของเราไปไหน เขาบอกว่า เหยี่ยวพาเอาไป ขอท่านได้โปรดวินิจฉัยคดีของข้าพเจ้าเถิด

    พระโพธิสัตว์ถามพ่อค้าบ้านนอกว่า ท่านพูดจริงหรือ

    พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า ข้าพเจ้าพาเด็กนั้นไปจริง นาย

    ถามว่า เหยี่ยวพาเด็กไปได้จริงหรือ

    ตอบว่า จริงจ้ะนาย

    ถามว่า ก็ในโลกนี้ธรรมดาเหยี่ยวจะนำเด็กไปได้หรือ

    พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า เหยี่ยวไม่สามารถพาเด็กไปในอากาศได้ แต่หนูเคี้ยวกินผาลเหล็กได้หรือ

    พระโพธิสัตว์ถามว่า นี่เรื่องอะไรกัน

    พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่าข้าแต่นาย ข้าพเจ้าฝากผาลไว้ ๕๐๐ ที่เรือนของพ่อค้านี้ พ่อค้านี้บอกว่าผาลของท่านถูกหนูกินเสียแล้วชี้ให้ดูขี้หนูว่า นี้คือขี้ของหนูที่กินผาลของท่าน ข้าแต่นาย ถ้าหนูกินผาลได้ แม้เหยี่ยวก็จักพาเอาเด็กไปได้ หากกินไม่ได้ แม้เหยี่ยวก็จะนำเด็กนั้นไปไม่ได้

    พ่อค้านี้กล่าวว่า หนูกินผาลหมดแล้ว ท่านจงทราบเถิดว่าผาลเหล่านั้นถูกหนูกินจริงหรือไม่ ขอได้โปรดพิพากษาคดีของข้าพเจ้าเถิด

    พระโพธิสัตว์ทราบว่า พ่อค้าบ้านนอกนี้ คงจะคิดโกงแก้เอาชนะคนโกง จึงกล่าวว่า ท่านคิดดีแล้ว

    ดูก่อนบุรุษผู้บุตรหาย จงคืนผาลให้แก่บุรุษผู้ผาลหายนี้เถิด ถ้าท่านไม่ให้ผาล เขาจักพาบุตรของท่านไป แต่บุรุษนี้อย่าเอาผาลของท่านไปเลย ท่านจงให้ผาลแก่เขาเสียเถิด พ่อค้าโกงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้ายอมคืนให้ ถ้าเขาจะคืนบุตรให้ข้าพเจ้า พ่อค้าบัณฑิตกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าจะคืนบุตรให้ ถ้าเขาจะคืนผาลให้ข้าพเจ้า พ่อค้าที่บุตรหายก็ได้คืนบุตร พ่อค้าผาลหายก็ได้คืนผาล แล้วทั้งสองก็ไปตามยถากรรม

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พ่อค้าโกงในครั้งนั้นได้เป็นพ่อค้าโกงในครั้งนี้ พ่อค้าบัณฑิตได้เป็นพ่อค้าบัณฑิตนี้แล ส่วนอำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดี คือเราตถาคตนี้แล
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เกสวชาดก ความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ โภชนะแห่งผู้คุ้นเคยกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR style="HEIGHT: 589.1pt"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 80%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; HEIGHT: 100%" vAlign=top width=568>ได้ยินว่า ในเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มีภัตตาหารไว้ถวายภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำ เรือนของท่านเศรษฐีจึงเป็นเสมือนบ่อน้ำของภิกษุสงฆ์อยู่เป็นนิตยกาล เรืองรองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ คลาคล่ำด้วยหมู่ฤๅษีผู้แสวงบุญ

    อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงกระทำประทักษิณพระนคร ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์ในนิเวศน์ของ เศรษฐี ทรงดำริว่า แม้เราก็จักถวายภิกษาหารเป็นประจำแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป จึงเสด็จไปวิหารทรงนมัสการพระศาสดา แล้วทรงเริ่มตั้งภิกษาหารแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำ

    นับแต่นั้นมา ก็ทรงถวายภิกษาหารในพระราชนิเวศน์เป็นประจำ โภชนะแห่งข้าวสาลีมีกลิ่นหอมซึ่งเก็บไว้ถึง ๓ ปี เป็นของประณีต แต่ผู้ถวายภิกษาหารนั้นด้วยมือของตน หรือด้วยความคุ้นเคยก็ดี หรือด้วยความสิเนหาก็ดี มิได้มี พวกข้าหลวงย่อมจัดให้ถวาย ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาที่จะนั่งฉันในพระราชนิเวศน์ ต่างก็รับเอาภัตตาหารมีรสเลิศต่างๆ เหล่านั้นแล้ว ก็ไปยังตระกูลอุปัฏฐากของตนๆ ให้ภัตตาหารที่ได้รับจากในวังแก่พวกอุปัฏฐากเหล่านั้น แล้วพากันฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากเหล่านั้นถวาย ไม่ว่าภัตตาหารเหล่านั้นจะเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม

    อยู่มาวันหนึ่ง เขานำผลาผลเป็นอันมากมาถวายพระราชา ท้าวเธอรับสั่งว่า พวกท่านจงถวายแด่ภิกษุสงฆ์ คนทั้งหลายจึงพากันไปยังโรงภัตตาหาร ไม่เห็นภิกษุสักรูปเดียว จึงกราบทูลแก่พระราชาว่า แม้ภิกษุรูปเดียวก็ไม่มี พระเจ้าข้า

    พระราชาตรัสว่า ยังไม่ถึงเวลากระมัง

    คนทั้งหลายกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้ว พระเจ้าข้า แต่ภิกษุทั้งหลายรับภัตตาหารในวังของพระองค์แล้ว ไปในเรือนแห่งอุปัฏฐากผู้คุ้นเคยของตนๆ ให้ภัตตาหารนั้นแก่อุปัฏฐากเหล่านั้น แล้วฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากเหล่านั้นถวาย จะเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม

    พระราชาทรงดำริว่า ภัตตาหารของเราประณีต เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ฉันภัตตาหารนั้น พากันฉันภัตตาหารอื่น เราจักทูลถามพระศาสดา จึงเสด็จไปพระวิหาร ทรงนมัสการ แล้วจึงทูลถามเรื่องนั้น

    พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ธรรมดา การบริโภคโภชนะมีความคุ้นเคยกันสำคัญยิ่ง เพราะในพระราชวังของพระองค์ไม่มีผู้เข้าไปทำความคุ้นเคย แล้วให้ด้วยความสนิทสนม ภิกษุทั้งหลายจึงรับภัตตาหารแล้วฉันในที่แห่งคนผู้มีความคุ้นเคยแก่ตน มหาบพิตร ชื่อว่ารสอื่นเช่นกับความคุ้นเคย ย่อมไม่มี แม้ของอร่อย ๔ อย่างที่คนผู้ไม่คุ้นเคยให้ ย่อมไม่มีค่าเทียบกับแม้เพียงเปรียงที่คนผู้คุ้นเคยให้ แม้บัณฑิตในสมัยก่อนทั้งหลาย ครั้นเมื่อโรคเกิดขึ้น เมื่อพระราชาแม้ทรงพาหมอทั้ง ๕ ตระกูลไปให้กระทำยา โรคก็ไม่สงบ แต่เมื่อได้ไปยังสำนักของคนผู้คุ้นเคยกัน บริโภคยาคูอันทำด้วยข้าวฟ่างและลูกเดือยซึ่งไม่เค็ม และผักซึ่งราดด้วยสักแต่ว่าน้ำเปล่า ไม่มีรสเค็ม ก็หายโรค ครั้นพระราชานั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐ บิดามารดาตั้งชื่อกุมารนั้นว่า กัปปกุมาร กัปปกุมารนั้นเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกสิลา ภายหลังต่อมาได้บวชเป็นฤๅษี

    ครั้งนั้น เกสวดาบสห้อมล้อมด้วยดาบส ๕๐๐ รูป เป็นครูของคณะ อยู่ในหิมวันตประเทศ พระโพธิสัตว์ได้ไปยังสำนักของเกสวดาบสนั้น อยู่เป็นอันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้ใหญ่แห่งอันเตวาสิก ๕๐๐ รูป อัธยาศัยใจคอของพระโพธิสัตว์นั้นได้มีความสนิทสนมต่อเกสวดาบส ดาบสเหล่านั้นได้เป็นผู้คุ้นเคยกันและกันยิ่งนัก

    จำเนียรกาลนานมา เกสวดาบสได้พาดาบสเหล่านั้นไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว ถึงนครพาราณสีแล้วอยู่ในพระราชอุทยาน วันรุ่งขึ้น เข้าไปสู่พระนครเพื่อภิกขาจาร ได้ไปถึงประตูพระราชวัง พระราชาทรงเห็นหมู่ฤๅษีจึงให้ไปนิมนต์มาแล้วให้ฉันในภายในพระราชนิเวศน์ ทรงอาราธนาให้พักอยู่ในพระราชอุทยานในช่วงฤดูฝน ครั้นเมื่อล่วงกาลฤดูฝนแล้ว เกสวดาบสได้ทูลอำลาพระราชา พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายเป็นผู้แก่เฒ่า จงอาศัยข้าพเจ้าอยู่ก่อน ส่งแต่ดาบสหนุ่มๆ ไปยังหิมวันตประเทศเถิด เกสวดาบสรับว่าดีละ แล้วส่งดาบสเหล่านั้นพร้อมกับอันเตวาสิกผู้ใหญ่ไปยังหิมวันตประเทศ ตนเองผู้เดียวยับยั้งอยู่

    ฝ่ายกัปปดาบสก็ไปยังหิมวันตประเทศอยู่กับดาบสทั้งหลาย เกสวดาบสเมื่ออยู่เหินห่างกัปปดาบสก็รำคาญใจ เป็นผู้ใคร่จะเห็นกัปปดาบสนั้น ไม่เป็นอันได้หลับนอน เมื่อเกวสดาบสนั้นนอนไม่หลับ อาหารก็ไม่ย่อยไปด้วยดี โรคลงโลหิตก็ได้เกิดมีขึ้น ทุกขเวทนาเป็นไปอย่างแรงกล้า

    พระราชาทรงพาแพทย์ ๕ สกุลมาปรนนิบัติพระดาบส โรคก็ไม่สงบ เกสวดาบสทูลพระราชาว่า มหาบพิตร พระองค์ปรารถนาให้อาตมภาพตาย หรือปรารถนาให้หายโรค

    พระราชาตรัสว่า ปรารถนาให้หายโรคชิท่านผู้เจริญ

    เกสวดาบสทูลว่า ถ้าอย่างนั้น พระองค์จึงส่งอาตมภาพไปยังหิมวันตประเทศ

    พระราชา ตรัสว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ แล้วทรงส่งนารทอำมาตย์ไปด้วยพระดำรัสว่า ท่านจงพาท่านผู้เจริญไปหิมวันตประเทศพร้อมกับพวกพรานป่า

    นารทอำมาตย์นำเกสวดาบสนั้นไปหิมวันตประเทศแล้วกลับมา ฝ่ายเกสวดาบส เมื่อพอได้เห็นกัปปดาบสเท่านั้น โรคทางใจก็สงบ ความรำคาญใจก็ระงับไป ลำดับนั้น กัปปดาบสได้ให้ยาคูที่หุงด้วย ข้าวฟ่างและลูกเดือยพร้อมกับผักที่ราดรดด้วยน้ำเปล่าซึ่งไม่เค็ม ไม่ได้อบกลิ่น แก่เกสวดาบสนั้น โรคลงโลหิตของเกสวดาบสนั้นก็สงบระงับลงในขณะนั้นเอง

    พระราชาทรงส่งนารทอำมาตย์นั้นไปอีก ด้วยรับสั่งว่า เธอจงไปฟังข่าวคราวของเกสวดาบสดูทีเถิด นารทอำมาตย์นั้นไปแล้ว ได้เห็นเกสวดาบสนั้นหายโรคแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระเจ้าพาราณสีทรงพาแพทย์ ๕ ตระกูลมาปรนนิบัติ ไม่อาจทำท่านให้หายโรค กัปปดาบสปรนนิบัติท่านอย่างไร ? แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :

    [๖๘๒] เป็นอย่างไรหนอ เกสวะดาบสผู้ควรบูชาของข้าพเจ้าทั้งหลายจึงละความเป็นพระเจ้าพาราณสีผู้เป็นจอมมนุษย์ ซึ่งสามารถให้สำเร็จประสงค์ทุกอย่างทุกประการ แล้วมายินดีอยู่ในอาศรมของกัปปดาบส?

    หมายความว่า เป็นอย่างไรหนอ เกสวะดาบสผู้ควรบูชาของข้าพเจ้าทั้งหลายจึงละพระเจ้าพาราณสีผู้เป็นจอมมนุษย์ ผู้ซึ่งสามารถให้สำเร็จประสงค์ทุกอย่างทุกประการ แล้วมายินดีอยู่ในอาศรมของกัปปดาบส?

    เกสวดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :

    [๖๘๓] ดูกรนารทอำมาตย์ หมู่ไม้อันน่ารื่นรมย์ใจ มีอยู่ ถ้อยคำของกัปปดาบสเป็นสุภาษิต ไพเราะ น่ารื่นรมย์ใจ ยังอาตมาให้ยินดี.

    ก็แหละ เกสวดาบสครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า กัปปดาบสทำเราให้ยินดีอยู่อย่างนี้ จึงให้เราดื่มยาคูที่หุงด้วยข้าวฟ่างและ ลูกเดือยอันระคนด้วยผักที่ราดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น พยาธิในร่างกายของเราสงบระงับเพราะข้าวยาคูนั้น เราเป็นผู้หายโรคแล้ว นารทอำมาตย์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :

    [๖๘๔] พระคุณเจ้าบริโภคข้าวสุกสาลีที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาด ไฉนข้าวฟ่างและลูกเดือยอันหารสมิได้เลย จึงทำให้พระคุณเจ้ายินดีได้เล่า.

    เกสวดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :

    [๖๘๕] ของบริโภคจะดีหรือไม่ดีก็ตาม จะน้อยหรือมากก็ตาม บุคคลใดคุ้นเคยกันแล้ว จะพึงบริโภค ณ ที่ใด การบริโภค ณ ที่นั้นแหละดี เพราะรสทั้งหลาย มีความคุ้นเคยกันเป็นยอดเยี่ยม.

    นารทอำมาตย์ได้ฟังคำของเกสวดาบสนั้นแล้ว จึงไปยังราชสำนักกราบทูลว่า เกสวดาบสกล่าวอย่างนี้

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ นารทอำมาตย์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร เกสวดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นพกมหาพรหม ส่วนกัปปดาบส คือเราตถาคต ฉะนี้แล
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เกฬิสีลชาดก ว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภท่านพระลกุณฏกภัททิยะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR style="HEIGHT: 310pt"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; HEIGHT: 100%" vAlign=top width=526>ได้ยินว่า ท่านลกุณฏกภัททิยะเป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงในพระพุทธศาสนา มีเสียงเพราะ เป็นผู้แสดงธรรมไพเราะ เป็นพระมหาขีณาบรรลุปฏิสัมภิทา แต่ท่านตัวเล็กเตี้ยในหมู่พระมหาเถระ ๘๐ องค์ คล้ายสามเณร ถูกล้อเลียน วันหนึ่งเมื่อท่านถวายบังคมพระตถาคตแล้วไปซุ้มประตูพระเชตวัน ภิกษุชาวชนบทประมาณ ๓๐ รูปไปยังพระเชตวันด้วยคิดว่าจักถวายบังคมพระตถาคต เห็นพระเถระที่ซุ้มวิหาร จึงพากันจับพระเถระที่ชายจีวร ที่มือ ที่ศีรษะ ที่จมูก ที่หู เขย่า ด้วยสำคัญว่าท่านเป็นสามเณร ทำด้วยคะนองมือ ครั้นเก็บบาตรจีวรแล้วก็พากันเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง

    เมื่อพระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถารด้วยพระดำรัสอันไพเราะแล้วจึงทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ ได้ยินว่ามีพระเถระองค์หนึ่งชื่อลกุณฏกภัททิยะเถระเป็นสาวกของพระองค์ แสดงธรรมไพเราะ เดี๋ยวนี้พระเถระรูปนั้นอยู่ที่ไหนพระเจ้าข้า

    พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอประสงค์จะเห็นหรือ

    กราบทูลว่า พระเจ้าข้าข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายใคร่จะเห็น

    ตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่พวกเธอเห็นที่ซุ้มประตูแล้วพวกเธอคะนองมือจับที่ชายจีวรเป็นต้นนั้น ภิกษุรูปนั้นแหละคือ ลกุณฏกภัททิยะละ

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พระสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร ได้ตั้งความปรารถนาไว้เห็นปานนี้ เพราะเหตุใดจึงมีศักดิ์น้อยเล่าพระเจ้าข้า

    พระศาสดาตรัสว่า เพราะอาศัยกรรมที่ตนได้ทำไว้ และเมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกเทวราช ในกาลนั้นใคร ๆ ก็ไม่อาจจะให้พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงเห็นช้าง ม้า หรือโคที่แก่ชรา พระองค์ชอบเล่นสนุก ทอดพระเนตรเห็นสัตว์เช่นนั้นจึงรับสั่งให้พวกมนุษย์ต้อนไล่แข่งกัน เห็นเกวียนเก่า ๆ ก็ให้แข่งกันจนพัง เห็นสตรีแก่รับสั่งให้เรียกมากระแทกที่ท้องให้ล้มลง แล้วจับให้ลุกขึ้น ให้ขับร้องเพลง เห็นชายแก่ ๆ ก็ให้หกคะเมนตีลังกาเป็นต้น บนพื้นดิน ดุจนักเล่นกระโดด เมื่อไม่ทรงพบเห็นเอง เป็นแต่ได้สดับข่าวว่า คนแก่มีที่บ้านโน้น ก็รับสั่งให้เรียกตัวมาบังคับให้เล่น พวกมนุษย์ต่างก็ละอาย ส่งมารดาบิดาของตนไปอยู่นอกแคว้น ขาดการบำรุงมารดาบิดา พวกราชเสวกก็พอใจในการเล่นสนุก พวกที่ตายไป ๆ ก็ไปบังเกิดเต็มในอบาย ๔ เทพบริษัททั้งหลายก็ลดลง

    ท้าวสักกะไม่ทรงเห็นเทพบุตรเกิดใหม่ ทรงรำพึงว่า เหตุอะไรหนอ ครั้นทรงทราบเหตุนั้นแล้วดำริว่า เราจะต้องทรมานพระเจ้าพรหมทัต จึงทรงแปลงเพศเป็นคนแก่ บรรทุกตุ่มเปรียง ๒ ใบ ใส่ไปบนเกวียนเก่า ๆ เทียมโคแก่ ๒ ตัว ในวันมหรสพวันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงช้างพระที่นั่งตกแต่งด้วยเครื่องอลังการ เสด็จเลียบพระนคร ท้าวสักกะก็ทรงขับเกวียนนั้นตรงไปเฉพาะพระพักตร์พระราชา พระราชาทอดพระเนตรเห็นเกวียนเก่าเทียมด้วยโคแก่ จึงตรัสให้นำเกวียนนั้นมา พวกราชบริพารก็วิ่งหาข้างโน้นข้างนี้ก็ไม่เห็น กราบทูลว่า คนแก่นั้นอยู่ที่ไหน พระองค์ คนแก่นั้นอยู่ที่ไหน พระองค์ เพราะท้าวสักกะทรงอธิษฐานไว้อย่างนี้ว่าพระราชาเท่านั้นจงเห็นเรา คนอื่นอย่าได้เห็น

    ด้วยเดชของท้าวสักกะ พระราชาพร้อมทั้งช้างก็เสด็จเข้าไปอยู่ใต้เกวียน เหมือนลูกโคอยู่ใต้แม่โคฉะนั้น ท้าวสักกะก็ทรงทุบตุ่มเปรียงแตกออกรดบนพระเศียรของพระราชาเปรียงก็ไหลลงเปรอะเปื้อนพระราชาตั้งแต่พระเศียร พระราชาทรงอึดอัดละอาย ขยะแขยง ครั้นท้าวสักกะทรงทราบว่า พระราชาทรงวุ่นวายพระทัย ก็ทรงขับเกวียนหายไป เนรมิตพระองค์เป็นท้าวสักกะอย่างเดิม พระหัตถ์ทรงวชิราวุธ ประทับยืนบนอากาศ ตรัสคุกคามว่า ดูก่อน อธรรมิกราชผู้ชั่วช้า ชะรอยท่านจะไม่แก่ละหรือ ความชราจักไม่กล้ำกรายสรีระของท่านหรือไร ท่านมัวแต่เห็นแก่เล่น เบียดคนแก่มามากมาย เพราะอาศัยท่านผู้เดียวคนที่ตาย ๆ ไป เพราะทำกรรมนั้นจึงเต็มอยู่ในอบาย พวกมนุษย์ไม่ได้บำรุงมารดาบิดา หากท่านไม่งดทำกรรมนี้ เราจะทำลายศีรษะของท่านด้วยจักรเพชรนี้ ตั้งแต่นี้ท่านอย่าได้ทำกรรมนี้อีกเลย แล้วตรัสถึงคุณของมารดาบิดา ทรงชี้แจงอานิสงส์ของการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้สูงอายุ ครั้นทรงสอนแล้วก็เสด็จกลับไปยังวิมานของพระองค์

    ตั้งแต่นั้นมาพระราชาก็มิได้แม้แต่คิดที่จะทำกรรมนั้นอีกต่อไป

    พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกว่า “เถระ” เพราะความเป็นคนแก่ เพราะเหตุสักว่านั่งบนอาสนะพระเถระ ส่วนผู้ใด แทงตลอดสัจจะทั้งหลายแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนมหาชน ผู้นี้ชื่อว่าเป็นเถระ” ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:

    บุคคล ไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอกบนศีรษะผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่าแก่เปล่า ผู้ใด มีสัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ ผู้นั้นมีมลทินอันคายแล้ว ผู้มีปัญญา เรากล่าวว่าเป็นเถระ

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม เมื่อจบสัจธรรมบรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็นพระอรหันต์ แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นลกุณฏกภัททิยะ เธอได้เป็นที่เล่นล้อเลียนของผู้อื่น เพราะค่าที่ตนชอบเล่นสนุกครั้งนี้ ส่วนท้าวสักกะ คือเราตถาคตนี้แล
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    โกกาลิกชาดก ว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ พระโกกาลิกะ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีดังนี้ เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วใน ตักการิยชาดก เตรสนิบาต

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #ffffeb; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR style="HEIGHT: 1435.4pt"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; HEIGHT: 100%" vAlign=top width=568>เรื่องปัจจุบันที่ปรากฏในตักการิยชาดก เตรสนิบาต

    ความพิสดารว่า ภายในพรรษาหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสองท่าน ประสงค์จะละหมู่อยู่อย่างเงียบ ๆ ทูลลาพระศาสดา ไปถึงที่อยู่ของพระโกกาลิกะ ในโกกาลิกรัฐ กล่าวกับเธออย่างนี้ว่า โกกาลิกะ เรากับเธอถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน จักอยู่เป็นผาสุกตลอดไตรมาสนี้ เราขออยู่จำพรรษา ณ ที่นี้แหละ

    เธอตอบว่า ผู้มีอายุ ก็ท่านอาศัยผมแล้วจักอยู่สำราญได้ไฉนเล่า

    พระอัครสาวกตอบว่า ผู้มีอายุ ถ้าเธอไม่บอกแก่ใคร ๆ ว่า พระอัครสาวกอยู่จำพรรษาที่นี้ เราจะพึงอยู่สบาย นี้เราอาศัยเธออยู่เป็นผาสุก

    เธอถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมอาศัยท่านพึงอยู่เป็นผาสุกได้อย่างไร

    ตอบว่า เราจักบอกธรรม จักกล่าวธรรมกถาแก่เธอตลอดไตรมาส นี้เธออาศัยเราอยู่เป็นผาสุก

    พระโกกาลิกะกล่าวว่า ผู้มีอายุ เชิญท่านอยู่ตามอัธยาศัยเถิด และได้ถวายเสนาสนะที่สมควรแก่ท่านทั้งสอง พระอัครสาวกทั้งสองพากันอยู่สบายด้วยความสุขในผลสมาบัติ ใคร ๆ มิรู้การที่ท่านพากันอยู่ ณ ที่นี้ ท่านทั้งสองจำพรรษาแล้ว ปวารณาแล้ว ก็พากันบอกพระโกกาลิกะนั้นว่า อาวุโส เราอาศัยเธออยู่กันอย่างสบายแล้ว จักพากันไปถวายบังคมพระศาสดา เธอรับคำว่า สาธุ แล้วพาพระอัครสาวกทั้งสองเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านใกล้ ๆ .พระเถระทั้งหลายกระทำภัตกิจเสร็จ แล้ว ก็พากันออกจากบ้าน.

    พระโกกาลิกะส่งพระเถระเหล่านั้นแล้วกลับไปบอกคนทั้งหลายว่า อุบาสกทั้งหลาย พวกแกเหมือนเดรัจฉาน ช่างไม่รู้เสียเลยว่าพระอัครสาวก ทั้งสองอยู่ในวิหารตลอด ๓ เดือน บัดนี้เล่า ท่านก็กลับไปเสียแล้ว คนทั้งหลายพากันกล่าวว่า เหตุไรเล่า พระผู้เป็นเจ้าจึงไม่แจ้งแก่พวกผมให้ทราบ แล้วพากันถือเภสัช มีเนยใสและน้ำมันเป็นต้น และเครื่องนุ่งห่ม คือผ้าเป็นอันมาก เข้าไปหาพระเถระไหว้แล้วต่างกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โปรดอภัยแก่พวกกระผมเถิด พระโกกาลิกะดำริว่า พระเถระทั้งสองมักน้อยสันโดษ คงไม่รับผ้าเหล่านี้ด้วยตน คงให้แก่เรา จึงไปสู่พระเถระทั้งหลายกับพวกอุบาสกนั่นเอง

    พระเถระทั้งสองมิได้รับอะไรๆ ไว้เพื่อตน ทั้งไม่สั่งให้เขาถวายแก่พระโกกาลิกะ เพราะท่านมุ่งอบรมภิกษุอยู่ พวกอุบาสกพากันอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อพระคุณเจ้าไม่รับคราวนี้ ก็นิมนต์มาที่นี้อีกเพื่ออนุเคราะห์พวกกระผม พระเถระเจ้ารับแล้วพากันไปสู่สำนักพระศาสดา

    พระโกกาลิกะผูกอาฆาตว่า พระเถระเหล่านี้ เมื่อตนไม่รับ ก็ไม่บอกให้เขาให้แม้แก่เรา

    ฝ่ายพระเถระทั้งสองพักอยู่ในสำนักพระศาสดาหน่อยหนึ่ง ก็พาภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้เป็นบริวารของตนๆ เที่ยวจาริกไปกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป จนถึงโกกาลิกรัฐ พวกอุบาสกเหล่านั้นก็พากันต้อนรับ พาพระเถระไปสู่วิหารนั้นเอง กระทำสักการะใหญ่ทุกๆวัน เภสัชและเครื่องนุ่งห่ม คือผ้าเกิดขึ้นมามากมาย พวกภิกษุผู้ที่มากับพระเถระ พากันเลือกจีวรให้แก่พวกภิกษุที่มากันเท่านั้น ไม่ได้ให้แก่พระโกกาลิกะ แม้พระเถระก็มิได้บอกให้เธอ

    โกกาลิกะไม่ได้จีวรก็ด่าตัดพ้อพระเถระว่า สารีบุตรและโมคคัลลานะ ปรารถนาน้อย เมื่อก่อนเขาให้ลาภไม่รับ บัดนี้รับเสียจนล้นเหลือ ไม่มองดูผู้อื่น ๆ เลย พระเถระทั้งหลายดำริว่า โกกาลิกะประสบอกุศลเพราะอาศัยพวกเรา พร้อมด้วยบริวารพากันออกไป แม้จะถูกหมู่ชนพากันอาราธนาว่า พระคุณเจ้านิมนต์อยู่อีกสักสองสามวันเถิด ก็มิได้ปรารถนาจะกลับ.

    ลำดับนั้นภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า อุบาสกทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายจักอยู่ได้อย่างไร พระเถระผู้ชิดชอบของพวกท่าน ทนการอยู่ของภิกษุเหล่านี้ไม่ได้ อุบาสกเหล่านั้นพากันไปสู่สำนักของพระโกกาลิกะนั้น กล่าวว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระคุณเจ้าทนการอยู่ในสำนักของพระเถระไม่ได้ นิมนต์ไปเถิด ขอรับ จงขอให้พระเถระเจ้าทั้งสองรับขมาแล้วนิมนต์กลับมา หรือไม่เช่นนั้น พระคุณเจ้าจงหนีไปอยู่ที่อื่นเถิด

    พระโกกาลิกะจำไปอ้อนวอนพระเถระทั้งหลาย ด้วยความกลัวพวกอุบาสก พระเถระทั้งหลายต่างกล่าวว่า ผู้มีอายุ เธอจงไปเสียเถิด พวกเราจักไม่กลับละ เธอเมื่อไม่อาจนิมนต์พระเถระให้กลับได้ ก็กลับไปวิหารนั่นแล

    ลำดับนั้น พวกอุบาสกพากันถามเธอว่า พระคุณเจ้าข้า พระคุณเจ้านิมนต์พระเถระกลับหรือ ก็กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่สามารถนิมนต์ให้กลับได้

    ลำดับนั้น พวกอุบาสกต่างคิดว่า เมื่อภิกษุผู้มีบาปกรรมนี้ยังอยู่ในวิหารนี้ พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักจักไม่อยู่ พวกเราต้องไล่เธอไปเสีย แล้วพากันกล่าวกะเธอว่า พระคุณเจ้าข้า พระคุณเจ้าอย่าอยู่ที่นี้เลย พระคุณเจ้าจะพึ่งพาอาศัยอะไร ๆ พวกข้าพเจ้าไม่ได้ละ เธอถูกพวกเหล่านั้นชังน้ำหน้าเสียแล้ว ก็ถือบาตรจีวรไปพระเชตวัน เข้าเฝ้าพระศาสดากราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระโมคคัลลานะมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจความปรารถนาลามกเสียแล้ว

    ลำดับนั้น พระศาสดารับสั่งกะเธอว่า โกกาลิกะ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย จงยังจิตให้เลื่อมใสใน สารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด

    ท่านโกกาลิกะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์มัวเชื่อพระอัครสาวกของพระองค์ ข้าพระองค์ได้เห็นประจักษ์แล้วว่า พวกนี้ล้วนเลวๆ มีลับลมคมในทุศีลทั้งนั้น แม้พระศาสดาจะตรัสห้ามถึงสามครั้ง ก็คงกล่าวอย่างนั้น แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

    พอเธอหันไปเท่านั้นทั่วร่างก็เกิดตุ่มประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ค่อยเจริญโดยลำดับ ถึงขนาดมะตูมสุกแล้วแตกน้ำเหลืองและเลือดไหลโทรมกาย เธอต้องระทดเจ็บแสบนอนอยู่ ณ ซุ้มพระทวารพระเชตวัน

    เวลานั้นพรหมโลกก็ได้มีเรื่องเกรียวกราวกันว่า พระอัครสาวกทั้งสองถูกพระโกกาลิกะด่า ลำดับนั้น ตุทีพรหมอุปัชฌาย์ของเธอทราบเรื่องนั้น ดำริว่า จักให้เธอขมาพระเถระทั้งหลายเสีย จึงมายืนในอากาศกล่าวว่า โกกาลิกะ ท่านทำกรรมหยาบคายนัก ท่านจงให้พระอัครสาวกเลื่อมใสเถิด

    เธอถามว่า ผู้มีอายุ ท่านเป็นใครเล่า เราชื่อว่า ตุทีพรหม

    เธอกลับเอ็ดเอามหาพรหมว่า ผู้มีอายุ ท่านนะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แล้วว่า เป็นพระอนาคา มีมิใช่หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า ธรรมดาว่า พระอนาคามี มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นสภาวะ ท่านคงเป็นยักษ์ที่กองขยะเป็นแน่

    ท้าวมหาพรหมนั้น เมื่อมิอาจให้เธอเชื่อถือถ้อยคำได้ ก็กล่าวว่า ท่านนั้นเองจักปรากฏตามคำของท่าน แล้วไปสู่พรหมโลกชั้นสุทธาวาสทันที

    ฝ่ายภิกษุโกกาลิกะก็ตายไปบังเกิดในปทุมนรก ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ความที่เธอเกิดในที่นั้นแล้ว จึงกราบทูลแด่พระตถาคต พระศาสดาตรัสเล่าแก่พวกภิกษุ พวกภิกษุเมื่อกล่าวถึงโทษของเธอ พากันสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า โกกาลิกภิกษุด่าพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ บังเกิดในปทุมนรกเพราะอาศัยปากของตน พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ใน บัดนี้เท่านั้น ที่โกกาลิกะถูกถ้อยคำกำจัดเสีย เสวยทุกข์เพราะปากของตน แม้ ในกาลก่อน ก็เสวยทุกข์เพราะปากของตนแล้วเหมือนกันดังนี้แล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมาเล่าดังต่อไปนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้:

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์แก้วของพระเจ้าพาราณสีนั้น พระราชานั้นได้เป็นผู้มีพระดำรัสมาก (พูดมาก) พระโพธิสัตว์คิดว่า จักห้ามการตรัสมากของพระราชานั้น จึงเที่ยวคิดหาอุบายอย่างหนึ่ง ครั้นวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน แล้วประทับนั่งบนแผ่นศิลา เบื้องบนแผ่นศิลานั้น มีมะม่วงอยู่ต้นหนึ่ง นางนกดุเหว่าวางฟองไข่ของตนไว้ในรังการังหนึ่ง ณ ต้นมะม่วงนั้น แล้วได้ไปเสีย นางกาก็ประคบประหงมฟองไข่นกดุเหว่านั้น

    จำเนียรกาลล่วงมา ลูกนกดุเหว่าก็ออกจากฟองไข่นั้น นางกาสำคัญว่าบุตรของเราจึงนำอาหาร มาด้วยจะงอยปาก ปรนนิบัติลูกนกดุเหว่านั้น ลูกนกดุเหว่านั้นขนปีก ยังไม่งอกก็ส่งเสียงร้องเป็นเสียงดุเหว่า ในเวลาอันไม่ควรร้องเลย นางกาได้ยินเสียงร้องก็รู้ว่ามิใช่ลูกของตน จึงตีด้วยจะงอยปากให้ตายตกไปจากรัง

    ลูกนกดุเหว่านั้นตกลงใกล้พระบาทของพระราชา พระราชารับสั่งถามพระโพธิสัตว์ว่า สหาย นี่อะไรกัน พระโพธิสัตว์คิดว่า เราแสวงหาเรื่องเปรียบเทียบ เพื่อจะห้ามพระราชา บัดนี้ เราได้เรื่องเปรียบเทียบนี้แล้ว จึงกราบทูล ว่า ข้าแต่มหาราช ขึ้นชื่อว่าคนปากกล้า พูดมากในกาลไม่ควรพูด ย่อมได้ทุกข์เห็นปานนี้ ข้าแต่มหาราช ลูกนกดุเหว่านี้เจริญเติบโตได้ เพราะนางกา ปีกยังไม่ทันแข็งก็ร้องเป็นเสียงดุเหว่าในเวลาไม่ควรร้อง ทีนั้น นางการู้ลูกนกดุเหว่านั้นว่า นี้ไม่ใช่ลูกของเรา จึงตีด้วยจะงอยปากให้ตกลงมา จะเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดียรัจฉานก็ตาม พูดมากใน กาลไม่ควรพูด ย่อมได้ทุกข์เห็นปานนี้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :

    [๖๒๒] เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด ผู้ใด พูดเกินกาลไป ผู้นั้น ย่อมถูกทำร้ายดุจลูกนกดุเหว่า ฉะนั้น.
    [๖๒๓] มีดที่ลับคมดีแล้ว ดุจยาพิษอันร้ายแรง หาทำให้ตกไปทันทีทันใด เหมือนวาจาทุพภาษิตไม่.
    [๖๒๔] เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรรักษาวาจาไว้ ทั้งในกาลควรพูด และไม่ควรไม่ควรพูดให้ล่วงเวลา แม้ในบุคคลผู้เสมอกับตน.
    [๖๒๕] ผู้ใด มีความคิดเห็นเป็นเบื้องหน้า <SUP></SUP> มีปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นประจักษ์ <SUP></SUP>พูดพอเหมาะในกาลที่ควรพูด ผู้นั้น ย่อมจับศัตรูได้ทั้งหมด ดุจครุฑจับนาคได้ ฉะนั้น.
    <SUP></SUP> หมายความว่า คิดก่อนที่จะพูด

    <SUP></SUP>หมายความว่า บุคคลผู้พิจารณาด้วยญาณแล้วได้ประโยชน์ ชื่อว่า ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์

    พระราชาทรงสดับธรรมเทศนาของพระโพธิสัตว์แล้ว ตั้งแต่ นั้นมา ก็ได้มีพระดำรัสพอประมาณ และทรงปูนบำเหน็จยศพระราชทานแก่พระโพธิสัตว์นั้นให้ใหญ่โตกว่าเดิม

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ลูกนกดุเหว่าในกาลนั้น ได้เป็นพระโกกาลิกะ ส่วน อำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล
     

แชร์หน้านี้

Loading...