นั่งสมาธิแล้วเกิดความรู้สึกร้อนขึ้นกลางหน้าผาก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Jarja007, 13 มกราคม 2017.

  1. Jarja007

    Jarja007 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2016
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +34
    เป็นเพราะอะไรได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2017
  2. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    กำหนดฐานของจิตไว้ที่ตรงนั้นรึป่าว
    ตอนภาวนาพุทโธมีอาการนี้มั้ย
    ที่ว่ากำหนด นะมะพะธะ มาอาทิตย์กว่าๆเนี่ย เกิดอาการนี้ทุกครั้งมั้ย
    หลังจากเกิดอาการนี้แล้วทำยังไงต่อไป
    ประมาณนี้ครับ
     
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ร่างกายยังไม่ชิน
    หรือภูมิต้านทานร่างกายยังไม่มากพอ
    บทภาวนา นะมะพะธะ เกี่ยวกับธาตุ
    ที่รวมเป็นกายทั้งนั้น เมื่อมันเกี่ยวกับธาตุ
    แต่กำลังสมาธิเรายังไม่มากพอ
    กับการที่จิตจะทิ้งกายได้
    มันจึงรู้สึกได้อย่างนั้นเป็นเรื่องธรรมดามาก

    พวกกิริยาอะไรต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะ
    ที่เรามีส่วนในสร้างสมาธิจากภายในตัวเราเอง
    กิริยาต่างๆที่ทำให้กายยังรู้สึกได้ต่างๆนาๆนั้น
    หลักเพราะเหตุ ๒ อย่างคือ
    ๑.สมาธิสะสมไม่พอ ณ เวลานั้น และ ๒.จิตยัง
    ทิ้งกายไม่ขาด ณ เวลานั้น
    ไม่มีไรหรอก เด่วก็ชินและหายเอง
    และไม่ต้องเก็บมาคิดอะไร
    และก็อย่าเผลอเอาจิตไปเพ่งตรงนั้น
    ตาปกติให้หลับซะเวลานั่งสมาธิแล้วโน้มมามองที่ลิ้นปี่ด้วย..
    ภาวนาไปเรื่อยๆ ทำความรู้สึกรับรู้ว่ามีลม
    เข้าและออกที่ปลายจมูกก็พอ แต่หายใจเข้า
    ออกให้ลึกด้วยคือหายใจเข้าท้องพอง
    หายใจออกท้องยุบ เด่วตรงกลางหน้าฝาก
    มันจะเบาๆโล่งๆได้ของมันเองนั่นเองนั่นหละ
    ไม่มีอะไรหรอก..
     
  4. Jarja007

    Jarja007 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2016
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +34
    พวกกิริยาอะไรต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะ
    ที่เรามีส่วนในสร้างสมาธิจากภายในตัวเราเอง
    กิริยาต่างๆที่ทำให้กายยังรู้สึกได้ต่างๆนาๆนั้น
    หลักเพราะเหตุ ๒ อย่าง

    "กำลังสมาธิไม่มากพอกับการที่จิตจะทิ้งกาย"
    หมายถึงอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2017
  5. สมิง สมิง สมิง

    สมิง สมิง สมิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +952
    ...การนั่งสมาธิ บริกรรมด้วยบท นะมะ (หายใจเข้า) พะธะ (หายใจออก)
    เป็นบทหนึ่งที่ทำให้จิตเป็นทิพย์ และจับภาพพระพุทธเจ้าเป็นพุทธานุสติ เมื่อภาวนาไปจนจิตทรงกำลังของอุปจาระสมาธิหรือกำลังของฌาน
    ก็สามารถสัมผัสสิ่งที่เป็นทิพย์และท่องเที่ยวได้...
    ...อาการร้อนตรงหน้าผาก ไม่ได้เกี่ยวการจับภาพพระพุทธเจ้า หรือ การกำหนดภาวนาด้วย นะมะ พะธะ แต่เกิดจากร่างกายปรับสมดุลย์ เพราะธาตุมันแปรปรวน (ไม่มีผลเสียอะไร)....
    ...บางทีภาวนาด้วยบท หรือสวดมนต์ด้วยบทที่มีกำลัง (ธาตุมักแปรปรวน) มันจะปรับสมดุลย์ หรือบางทีมันก็แสดงออกของกรรมได้ด้วย
    ยังไม่ถึงกับเป็นขันธมาร (มารคือเบญจขันธ์ที่ขวางการปฏิบัติ)...
    ...ให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ แล้วมันจะหายไปเอง ครับ อนุโมทนาบุญ...
    ปล. ถ้าอาการเป็นเฉพาะเวลานั่งสมาธิกำหนดภาวนาพอเลิกทำแล้วมัน
    หายไปเองก็แสดงว่าใช่
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    เปล่าๆ ทิ้งกายไม่ใช่ การแยกของอาทิสมากง
    สมากายอะไรนั้น พวกนี้เรื่องไร้สาระและไม่ใช่ประเด็นหลัก
    และประเด็นสำคัญอะไรเลย ไปสนใจมีแต่จะทำให้ยึดติด
    กายทิ้งกาย ในที่นี้ คือสภาวะที่จิตไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย
    พูดง่ายๆว่า ไม่ยึดกายก็คือ ไม่ยึดถือมั่นในตัวตนของเราครับ
    หรือไม่มีอัตตาตัวตน ณ เวลานั้นๆนั่นเอง

    พวกนี้ได้จากการวิปัสสนาส่วนหนึ่งซึ่งจะผลในเรื่อง
    ของความชัดเจนในส่วนนามธรรมต่างๆ เช่นเห็นชัดขึ้น
    สว่างขึ้น แต่ยังไม่ใช่ประเด็นหลักทางพุทธฯ..
    ส่วนกิริยาที่เกิดกับกายเพราะกำลังสมาธิสะสมไม่พอ
    ให้แก้ด้วยการ เจริญสติให้ต่อเนื่องเพิ่มขึ้นในระหว่างวัน
    เช่นยกตัวอย่าง
    เดินไปเข้าห้องน้ำก็นับก้าวไปด้วย(ปกติอาจจะลืมเพราะทำเป็นปกติ)
    พอเข้าใจเนาะ หรือถ้านั่งอยู่นิ่งๆช่วงพักผ่อนไมได้ทำอะไร
    ก็ให้ทำความรู้สึกรับรู้ว่ามีลมและออกกระทบหยุดที่ปลายจมูก
    หายใจเข้าให้ท้องพองให้ใจออกให้ทองยุบ แต่อย่าไปตามลม
    หายใจเพราะจะทำให้จิตเกิด ส่วนเวลาทำงานก็ทำงานให้เต็มที่
    และก่อนจะนั่งสมาธิก็เดินจงกลมก่อน
    ซัก ๕ นาที ๑๐ นาที แล้วค่อยนั่งสมาธิ...
    ส่วนเวลานั่งสมาธิแล้ว หากเข้าไปอยู่ในสภาวะใดๆ
    อย่าไปสนใจและอย่าไปพยายามอยู่ในสภาวะนั้นๆให้นาน
    แต่ให้พยายามกระตุ้นความรู้สึกออกมา แล้วค่อยกลับเข้า
    ไปใหม่ เข้าออก เข้าออก เข้าและออก ปล่อยๆ
    ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ถึงจะเป็นการเพิ่มกำลังสติทางธรรม
    เพื่อที่จะมีกำลังในการเข้าใจสภาวะธรรมด้วยตัวเอง
    และอยู่ในสภาวะนั้นได้นานขึ้น ตลอดจนกำลังสมาธิสะสม
    เพื่อที่จะผ่านสภาวะนั้นๆขึ้นไปยังระดับที่สูงกว่า
    ตลอดจนสภาวะต่างๆที่เราจะเจอมันถึงจะไม่ส่งผล
    กระทบกับร่างกายของเรา ไม่ว่า ตึง เหนี่ยว แน่น โยก ฯลฯ
    พอเข้าใจเนาะ

    ปล.การรับรู้ต่างๆทุกๆกรณีในขณะที่ฝึกสมาธิอย่าไปยึด
    ไม่ว่าจะเห็น จะรับรู้อะไรที่ดีหรือไม่ดีอย่าสนใจทุกกรณี
    อย่าไปอยากรู้ว่าคืออะไร เห็นได้ไง รู้ได้ไง
    ถ้า ***** ลืมตาแล้วเราไม่รู้ได้เอง ****
    ที่ไม่รู้ไม่ใช่ว่าเราไม่เก่ง แต่เพราะกำลังสติทางธรรม
    เรายังไม่พอ ให้เราลืมไปเลย เด่วพอกำลังทางธรรม
    เรามากพอ ตัวจิตมันจะมีเครื่องย้อนรู้ ทุกๆกิริยา
    ทางด้านนามธรรมทุกๆอย่างได้ของมันเองอัตโนมัติ
    ถ้าไปสนใจอยากหาคำตอบ มันจะกลายเป็นตัวขวาง
    การปฏิบัติเราอย่างที่เราคิดไม่ถึง
    การเห็นได้ รับรู้อะไรได้ ประเด็นไม่ใช่สิ่งที่เราเห็น
    คืออะไร ประเด็นคือ วัตถุประสงค์ที่เราเห็นได้
    เพราะไม่ว่าเราจะเห็นอะไร ก็ยังมีการปรุงแต่ง
    ที่เป็นสัญญาความจำได้ที่มันมีอยู่ในจิตเราได้อยู่
    ดังนั้น แม้ว่าจะเห็นด้วยตาเปล่าๆ ก็ยึดเอาอะไร
    กับสิ่งที่เห็นไม่ได้(เข้าใจนะ เพราะฉนั้นหลับตาเห็น
    ให้เฉยๆไปเลย)
    และถ้าจะเห็นก็เห็นไป แต่อย่าสนใจ และอย่าไปยึด
    ถ้าจะรู้ก็รู้ไป แต่อย่าสนใจ และอย่าไปยึด
    ถ้าจะได้ยินก็ได้ยินไป แต่อย่าสนใจ และอย่าไปยึด
    ถ้าจะสัมผัสอะไรได้ ก็สัมผัสไป แต่อย่าสน และอย่าไปยึด
    สมาธิจริงๆถ้าได้แล้วมันได้เลยและมันจบ
    มันจบคือ ไม่เสื่อม ไม่ถอย และมีพัฒนา
    ได้ของมันเองด้วยการทิ้งกิเลสเอาอย่างเดียว
    และไม่ต้องมานั่งเกร๊งกล้ามก้นให้เสียเวลา...
    ดังนั้นถ้าตั้งเป้าว่า จะเข้าสู่สมาธิที่เป็น
    สมาธิที่ได้แล้วจบ ก็ควรอ่านให้เข้าใจ
    และควรรับข้อแนะนำแล้วไปพิจารณา
    ด้วยตัวเองซะว่า ตั้งเป้าสมาธิไว้แบบไหน
    ถ้าเลือกสมาธิแบบจบเป็น
    ควรจะต้องเตรียมพื้นฐานให้ดีก่อน
    ย้อนอ่านคำแนะนำข้างบนอีกรอบได้
    ปล.ประมาณนี้หละ...
     
  7. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    เพ่งมากเกินไปครับ
    ที่เจ้าของกระทู้ทำอยู่มันจับฉ่ายครับ
    คือทำสองอย่างในเวลาเดียวกัน
    เพ่งรูปไปที่ฐานจิต หนึ่ง
    บริกรรมภาวนาพร้อมกำหนดฐานภายใน หนึ่ง
    ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งครับ
    การกำหนดเพ่งรูปแบบหลับตานั้นเป็นกสิณครับ
    ส่วนการบริกรรมภาวนาก็เหมือนภาวนาพุทโธแหละครับแค่เปลี่ยนคำกับฐานลมเป็นหน้าผาก
    ทีนี้ที่มันเกิดอาการขึ้นมาเพราะ
    ฐานของจิตมันไปทับซ้อนในสองกิริยาครับ
    ต้องเลือกเอาครับ เพราะยังไม่ชำนาญ
    ถ้าจะกสิณก็ดูไปสบายๆไม่ต้องไปเพ่งมากมาย
    ถ้าจะบริกรรมก็กำหนดแบบก็เอาฐานที่มันกำหนดง่ายๆก่อนครับ
    อย่าเพิ่งไปขั้น advance ครับ
    ขอให้โชคดีครับ
     
  8. Jarja007

    Jarja007 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2016
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +34
    ที่เจ้าของกระทู้ทำอยู่มันจับฉ่ายครับ
    คือทำสองอย่างในเวลาเดียวกัน
    เพ่งรูปไปที่ฐานจิต หนึ่ง
    บริกรรมภาวนาพร้อมกำหนดฐานภายใน หนึ่ง
    ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งครับ
    การกำหนดเพ่งรูปแบบหลับตานั้นเป็นกสิณครับ
    ส่วนการบริกรรมภาวนาก็เหมือนภาวนาพุทโธแหละครับแค่เปลี่ยนคำกับฐานลมเป็นหน้าผาก
    ทีนี้ที่มันเกิดอาการขึ้นมาเพราะ
    ฐานของจิตมันไปทับซ้อนในสองกิริยาครับ
    ต้องเลือกเอาครับ เพราะยังไม่ชำนาญ
    ถ้าจะกสิณก็ดูไปสบายๆไม่ต้องไปเพ่งมากมาย
    ถ้าจะบริกรรมก็กำหนดแบบก็เอาฐานที่มันกำหนดง่ายๆก่อนครับ
    อย่าเพิ่งไปขั้น advance ครับ
    ขอให้โชคดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2017
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้ แสดงทัศนะบางจุดครับ


    ก่อนจะตั้งใจทำสมาธิรูปแบบใดก็ตาม

    ถ้าก่อนทำ ยังมีความคิดต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ตกค้างมากมายในใจ ในสมอง

    มีหนักๆ ไม่โปร่ง โล่ง เบา ที่สมอง ที่อายตนะรับรู้อารมณ์ที่ท่ามกลางอกหรือลิ้นปี่


    ให้ทำแบบนี้โดยไม่ต้องตั้งใจมากนะครับ


    .....งับฟันบนและล่างให้สนิท เบาๆ แล้วลิ้นจะแตะเพดานปากอัตโนมัติ

    ให้วางความรู้สึกเบาๆ อย่าใส่เจตนามาก รู้เฉพาะลมหายใจออก ตรงฐานไหนก็ได้ที่คุณถนัด

    ( คือ ธรรมชาติปกติก็จะรู้ทั้งลมกระทบทั้งหายใจเข้าและออก แต่เราจะสนใจแค่ลมหายใจออก )

    พอทำไปสักระยะ รู้สึกว่า ที่สมองเบาๆ กลวงๆ ที่ฐานบริเวณอกหรือลิ้นปี่จะเบาๆ กลวงๆ หรือ เคลิ้มๆ คล้ายสัปหงกนิดๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่า อารมณ์หยาบๆที่ตกค้างมากับชีวิตประจำวัน มันคลายตัวออกมากพอสมควรแล้ว เหมือนเทขยะออกจากถังที่เต็ม


    ต่อไป ก็ให้เริ่มกำหนดตามวิธีการที่คุณต้องการฝึกฝนได้เลยครับ



    .....ขั้นตอนที่นำเสนอนี้ คือการคลายอารมณ์ขยะหยาบๆ ก่อนนั่งสมาธิ เผื่อจะมีประโยชน์ต่อท่านเจ้าของกระทู้และผู้สนใจบ้าง
     
  10. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    เอาซักแบบสิครับไม่ต้องเปลี่ยนไปมา
    อุปมาดุจปีนเขาโดยใช้อุปกรณ์หลายประเภท
    ปีนไปได้ซักพักก็ลงมาเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่
    เมื่อไหร่มันจะก้าวหน้าละครับ
    แบบนี้แหละที่เค้าเรียกย่ำอยู่กับที่(ไม่รู้ตรงไปมั้ย)
    ขออภัยที่รุนแรง
     
  11. Jarja007

    Jarja007 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2016
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +34
    ไม่รุนแรงค่ะ ไม่เลยๆ
    ขอบคุณมากค่ะ
     
  12. Jarja007

    Jarja007 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2016
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +34
    ขอบคุณนะคะ ย้อนอ่านหลายรอบแล้วค่ะ ^^
     
  13. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,244
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,001
    สําหรับเรื่องของการทําสมาธิ และอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ทําสมาธิ คุณ Jarja1 เข้าไป

    download พระอภิธรรม on line บทที่ 9 สมถกรรมฐาน 40

    ใน link ข้างล่างที่ผมให้มาได้เลยครับ อ่านแล้วจะได้เข้าใจว่า เวลาที่เราทําสมาธิจะเป็นอย่างไรบ้าง และมีอาการอย่างไรในสมาธิแต่ละขั้น ถ้าอยากฝึกจนถึงละกิเลสให้ได้ให้หมดแล้วไปนิพพาน ก็ต้องอ่าน

    บทที่ 10 วิปัสสนากรรมฐาน ครับ

    ถ้าเป็นไปได้ ผมก็อยากให้คุณ Jarja1 download ไปอ่านหมดทั้ง 10 บทเลย เพราะ 10 บทนี้ คือแก่นหลักของธรรมะทั้งหมดแล้ว ถ้าสนใจก็อ่านได้ทั้งหมดนะครับ ตามนี้ครับ อนุโมทนาครับ ขอให้โชคดีครับ

    download หนังสือบทเรียนพระอภิธรรม on line 10 บท free ได้ที่นี่ครับ ( บทเรียนดีมาก ๆ เป็นแก่นหลักของธรรมะโดยตรง )
    http://palungjit.org/threads/downlo...ียนดีมาก-ๆ-เป็นแก่นหลักของธรรมะโดยตรง.561649/
     

แชร์หน้านี้

Loading...