นักฟิสิกส์ฮ่องกง พิสูจน์ "การเดินทางข้ามเวลา" เป็นไปไม่ได้

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย chate_SP, 25 กรกฎาคม 2011.

  1. chate_SP

    chate_SP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    297
    ค่าพลัง:
    +220
    นักฟิสิกส์ฮ่องกงดับฝันแฟนไซ-ไฟ เมื่อพิสูจน์ว่า “โฟตอนเดี่ยว” ไม่สามารถเดินทางได้เร็วกว่าแสงและเป็นไปตามทฤษฎีของไอน์สไตน์ ยุติแนวคิดตามนิยายวิทยาศาสตร์ในเรื่อง “การเดินทางข้ามเวลา” หลังจากเมื่อ 10 ปีก่อนนักวิทยาศาสตร์พบปรากฏการณ์เคลื่อนที่เร็วเหนือแสง

    [​IMG]

    ตู้ เซิ่งวั่ง (Du Shengwang) นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง (Hong Kong University of Science and Technology) นำที่ศึกษาพบว่า “โฟตอนเดี่ยว” (single photon) หรือหน่วยหนึ่งของแสงที่เป็นอนุภาคนั้น เป็นไปตามกฎการเคลื่อนที่ของเอกภพ โดยเอเอฟพีรายงานข้อความที่ระบุในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) อ้างว่า ไม่มีสิ่งใดที่เดินทางได้เร็วกว่าแสง

    ทั้งนี้ ทีมวิจัยกล่าวว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วมีความหวังว่าการเดินทางข้ามเวลาจะเป็นจริง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ปรากฏเร็วเหนือแสง หรือ ซูเปอร์ลูมินัล (superluminal) ในคลื่นแสงสั้นๆ ที่เดินทางในตัวกลางพิเศษ ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ลวงตา แต่นักวิจัยคิดว่าแนวคิดนี้ยังคงเป็นไปได้ในโฟตอนเดี่ยวที่จะเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง

    [​IMG]

    อย่างไรก็ดี ศ.ตู้เชื่อว่าไอน์สไตน์ถูก และตัดสินใจที่จะหยุดการโต้เถียง โดยการวัดความเร็วสุดท้ายของโฟตอนเดี่ยว ซึ่งไม่มีเคยมีใครทำมาก่อน และการศึกษาของเขาได้แสดงให้เห็นว่าโฟตอนเดี่ยวนั้นอยู่ภายใต้ความเร็วแสง ซึ่งเป็นการยืนยันแนวคิดของไอน์สไตน์

    “การแสดงให้เห็นว่า โฟตอนเดี่ยวไม่สามารถเดินทางได้เร็วกว่าความเร็วแสงนั้น นำมาซึ่งการยุติในการโต้เถียงเรื่อง ความเร็วแท้จริงของข้อมูลในโฟตอนเดี่ยว การค้นพบของเรายังมีประโยชน์ที่จะนำไปประยุกต์ต่อ โดยจะให้ภาพที่ชัดเจนขึ้นแก่นักวิทยาศาสตร์ในเรื่องการถ่ายโอนข้อมูลควอนตัม” ศ.ตู้กล่าว

    อย่างไรก็ดี เอเอฟพีไม่ได้รายงานรายละเอียดของการทดลองครั้งนี้ แต่ได้ให้ข้อมูลว่างานวิจัยของนักฟิสิกส์ฮ่องกงนั้น ตีพิมพ์ในวารสาร “ฟิสิคัลรีวิวเลตเอร์ส” (Physical Review Letters) ของสหรัฐฯ

    ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
    http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000091249
     
  2. เทพเมรัย

    เทพเมรัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +80
    ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียวหรอกน่า เพราะยังเหลือพลังงานและสสารมืดอีก ตอนนี้ยังไม่มีผู้ใดทราบคุณสมบัติของมันดีพอ แต่นักจักรวาลวิทยาเชื่อว่ามันมีมวลรวมกันกว่า 96 % ของมวลรวมจักรวาลเลยทีเดียว ดังนั้นสิ่งมหัศจรรย์ ลึกลับ ของจักรวาลยังรอผู้รู้มาไขอีกมากมาย
     
  3. ooghost

    ooghost เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2010
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +119
    ใช่ครับถ้าเทคโนโลยีตอนนี้ ร้อยทั้งร้อยก็ยังข้ามเวลาไม่ได้ครับ

    ถ้าจะข้ามนั้นคงต้องเดินทางได้ความเร็วกว่าแสงก่อน ครับแล้วค่อยมาคิดเรื่องนี้

    เหมือนกับต้องเรียนบวกเลขก่อนแล้วค่อยเรียนวิธีคูณเลขครับ
     
  4. Lastquarter

    Lastquarter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +272
    เชื่อว่าเป็นไปได้แต่ที่บอกว่าเ็ป็นไปไม่ได้เพราะยังเข้าไม่ถึงแก่นแท้พอ
     
  5. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    คิดว่า ยังเป็นแค่ข้อสรุปส่วนหนึ่งของแนวคิด บนความพยายามที่จะค้นหาวิธีที่จะเดินทางได้เร็วกว่าแสง เพื่อย้อนเวลา

    ยังมีความพยายามทดลองในอีกหลายแนวทาง เช่น ถ้าสามารถทำให้ความเร็วแสงลดลงได้ล่ะ?

    จากข้อมูลที่ทราบ มีนักวิทย์ค้นพบวิธีการชะลอแสงไปตั้งแต่ประมาณปี 2541 และกำลังมีการศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่องในแวดวงวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ได้มุ่งเน้นไปในเรื่องการเดินทางย้อนเวลา แต่เป็นเรื่องการทำคอมพิวเตอร์ควอนตัม

    อ่านดูได้ที่..
    http://www.proton.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=112

    ไม่แน่นะ อาจมีคนนำเทคนิคการชะลอความเร็วแสงมาศึกษาต่อยอดไปในเรื่องการเดินทางย้อนเวลาก็ได้
     
  6. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,215
    ในอนาคตน่าจะมีการสร้างอะไร ๆ ที่มันมากกว่านี้
     
  7. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    เท่าที่รู้ มีงานวิจัยเรื่องโฟตอนหลายเรื่องนะคะ
    แต่จะเอาไปพัฒนาต่อเรื่องใดบ้าง ดิฉันก็ไม่ทราบเหมือนกัน

    อย่างเรื่อง Superphoton (อนุภาคโฟตอนยักษ์)
    อ่านแล้วคิดอยู่ว่า เขาจะนำไปเทคนิคนี้ไปทำอะไรต่อ
    (ใครรู้หรือพอมีไอเีดีย บอกด้วยนะ)
    Superphoton...แสงแบบใหม่

    Submitted by terminus on Sat, 27/11/2010 - 22:43[​IMG]

    in

    ในทางฟิสิกส์มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งที่เรียกว่า Bose-Einstein condensate ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่แก๊สของอนุภาค bosons (Bose gas) ถูกกักและลดอุณหภูมิให้มีความหนาแน่นสูงพอจนเกิด "การควบแน่น" ที่อนุภาคส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะทางควอนตัมต่ำที่สุดของพลังงานศักย์ที่กักมัน เอาไว้ ณ จุดนั้น กลุ่มอนุภาคก็จะประพฤติตัวเหมือนกับว่าเป็นอนุภาคขนาดยักษ์ก้อนเดียวหรือที่ เรียกว่า Superparticle
    ตั้งแต่ปี 1995 นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้าง Superparticle ได้แล้ว เช่น Superparticle ของอะตอม Rubidium โดยการลดอุณหภูมิลงจนเกือบแตะ 0 เคลวิน (-273 องศาเซลเซียส) เป็นต้น ในทางทฤษฎีนั้นอนุภาค bosons ทุกชนิดสามารถเกิด Bose-Einstein condensate ได้หมด แม้แต่อนุภาคแสงหรือโฟตอน (โฟตอนก็เป็น boson) แต่ในทางปฏิบัตินั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้แสงมีอุณหภูมิต่ำลงและ จำกัดให้มันมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นไปในเวลาเดียวกัน เพราะเมื่อโฟตอนเย็นลง มันก็จะถูกดูดซับหายไปในวัตถุที่อยู่รอบมัน การสร้าง Superphoton จึงเป็นแค่ความฝันทางทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ไม่เชื่อว่าจะทำได้จริงๆ


    แต่เร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ Martin Weitz, Frank Vewinger, Jan Klärs, และ Julian Schmitt นักฟิสิกส์จาก University of Bonn ได้ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เกิดขึ้นแล้ว พวกเขาสามารถลดอุณหภูมิพร้อมกับเพิ่มความหนาแน่นของแสงได้ในเวลาเดียว โดยแทบจะไม่เสียโฟตอนไปเลย!


    ทีมนักฟิสิกส์ชุดนี้ทำโดยตั้งกระจกเว้าห่างกัน 1 ไมโครเมตร ระหว่างกระจกทั้งสองนั้น พวกเขาเติมของเหลวที่เป็นสีย้อมลงไปจนเต็ม จากนั้นก็ฉายแสงเลเซอร์สีเขียวเข้าไปในช่องว่างระหว่างกระจก โมเลกุลของสีย้อมจะดูดซับโฟตอนของแสงสีเขียว แล้วก็คายออกมาเป็นโฟตอนของเแสงสีเหลืองซึ่งมีพลังงานต่ำกว่าออกมา แสงที่ออกมาก็จะเด้งสะท้อนไปมาระหว่างกระจกแล้วไปกองรวมกันที่ตรงกลาง เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนในที่สุดโฟตอนที่อยู่ตรงกลางก็มีอุณหภูมิลดลงต่ำจนเกือบเท่าอุณหภูมืห้อง และมีความหนาแน่นสูงถึงประมาณ 1 พันล้านตัวต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อถึงจุดนั้นแสงที่ตอนแรกเบลอๆ ก็จะรวมกันกลายเป็นจุดสว่างจุดเดียว และมีพฤติกรรมเหมือนอนุภาคโฟตอนขนาดยักษ์ 1 ตัว หรือที่เรียกว่า "Superphoton" นั่นเอง


    ที่มา : Quantum Physics | JuSci.net
     
  8. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    กลับมาพูดถึงเรื่องเดินทางย้อนเวลาบนแนวคิด "เทคนิคชะลอความเร็วแสง"
    คงยากเอาการนะ ชะลอความเร็วแสงในห้องทดลองได้ แต่จะชะลอความเร็วแสงในอวกาศได้หรือ?
     
  9. allfornine

    allfornine Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +38
    มีหลายอย่างบนโลก ทีี่่เราต้องศึกษาิอีกมาก อาจจะใช้เวลาแค่1นาทีในการศึกษา หรือ อาจจะ วันสุดท้ายของโลกเลยก้ได้ ^^ แต่ก็สู้ๆนะค๊าบ และผมก็เชื่อด้วย
     
  10. Siani_3D

    Siani_3D เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +607
    แนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ เปลี่ยนแปลงได้เสมอ..
    ยังคงมีความหวัง....
     
  11. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,960
    พอทำไม่สำเร็จก็บอกว่าเป็นไปไม่ได้
    พอทำสำเร็จก็บอกว่าเป็นไปได้

    คนเรา
     
  12. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    เอาบทความจากราชบัณฑิตยสถานมาแปะเลยแล้วกัน

    เนื้อหาบทความคล้ายลิงค์บนนะคะ
    แจกจ่ายกันอ่าน :)

    <table border="0" cellpadding="1" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td align="right" valign="top"><table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="98%"><tbody><tr><td style="background-repeat: repeat-x;" align="left" background="../../images/bgnew/h_c.gif">ความเร็วแสง โดย ศ. ดร.สุทัศน์ ยกส้าน</td> <td valign="top" width="9">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center">
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1" width="95%"> <tbody><tr> <td width="94%">
    ความเร็วแสง
    คัมภีร์ไบเบิลของคริสต์ศาสนากล่าวว่า เมื่อแรกเริ่มจักรวาลมืดสนิทจนกระทั่งพระเจ้าได้ประทานแสงให้ แล้วสวรรค์ก็สว่างไสว แต่ทฤษฎีกำเนิดของจักรวาลที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อขณะนี้แถลงว่า เมื่อ ๑๓,๐๐๐ ล้านปีก่อนนี้ จักรวาลได้อุบัติจากการระเบิดของสสารที่ร้อนจัดและมีความหนาแน่นสูงจนหาที่ สุดมิได้ และหลังจากที่การระเบิดแล้ว การขยายตัวอย่างรวดเร็วได้ทำให้อุณหภูมิของจักรวาลลดต่ำลง จนกระทั่งมีอุณหภูมิเพียง ๓,๐๐๐ องศาสัมบูรณ์ภายในเวลา ๕ แสนปี แล้วอุณหภูมิก็ลดต่ำอีกเมื่อรังสีต่าง ๆ ที่แผ่กระจายทั่วจักรวาลกลายสภาพเป็นรังสีอินฟราเรด จากนั้นจักรวาลก็มืดสนิทอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อเวลาผ่านไปนานประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านปี ยุคมืดของจักรวาลก็สิ้นสุดลง เมื่อดาวฤกษ์ต่างๆ เริ่มถือกำเนิด และแรงดึงดูดแบบโน้มถ่วงได้ทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดาวฤกษ์ปลดปล่อยแสง จักรวาลจึงได้ลุกโชติช่วงชัชวาลอีกคำรบหนึ่ง


    ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักแล้วว่า แสงเป็นสสารที่ลึกลับที่สุดชนิดหนึ่งในจักรวาล ในอดีตเมื่อ ๓๓๐ ปีก่อนนี้ Issac Newton เชื่อว่าแสงประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ ที่เคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรง ดังนั้น เวลาแสงตกกระทบกระจก มันจะสะท้อนในลักษณะเดียวกันกับเวลาลูกบอลชนกำแพง แต่ในปี ๒๓๔๕ Thomas Young ได้แสดงให้โลกประจักษ์ว่าแสงมีธรรมชาติเสมือนคลื่น เพราะเวลาเรารวมแสง มันสามารถหักล้างหรือเสริมกันเช่นเดียวกับคลื่นทั่วไป อีกทั้งยังสามารถเลี้ยวเบนเวลาเคลื่อนที่ผ่านใกล้ขอบของวัสดุเหมือนการ เคลื่อนที่ของคลื่นน้ำในสระ ซึ่งมุมมองนี้ได้รับการยืนยันโดย James Clerk Maxwell ซึ่งเป็นผู้ที่ได้พบว่า แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กในตัวของมัน และสำหรับแสงที่ตาเรามองเห็นนั้น จะมีความยาวคลื่นตั้งแต่ ๔๐๐-๗๐๐ นาโนเมตร (๑ นาโนเมตร = ๑๐<sup>-๙</sup> เมตร) แต่การทดลองศึกษาคุณสมบัติของแสงขณะทำปฏิกิริยากับสสารเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ ๒๐ นี้กลับทำให้นักฟิสิกส์ตระหนักว่า แสงสามารถแสดงคุณสมบัติของคลื่นหรืออนุภาคได้ ซึ่งมันจะแสดงคุณสมบัติด้านคลื่นหรืออนุภาคก็ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและ สถานการณ์ที่เราทดลอง


    ส่วนชาวบ้านนั้นก็รู้ว่าแสงมีความเร็วที่สูงมากจนไม่มีสสารอะไรหรือใครใน จักรวาลจะมีความเร็วเท่า และแสงไม่อยู่นิ่ง คือมันจะเคลื่อนที่ตลอดเวลา และนักเรียนก็รู้ว่านักวิทยาศาสตร์ใช้ความเร็วแสงเป็นตัวกำหนดความยาว มาตรฐาน ๑ เมตร เป็นต้น


    ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีทุกคนรู้ดีว่า การรู้ความเร็วแสงอย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก สมการ E=mc<sup>2</sup> ของ Einstein แสดงให้เห็นว่า หากเราทำให้มวล m กิโลกรัมของสสารหายไป เราก็จะได้พลังงาน E จูล ซึ่งหาได้จากการเอา m คูณด้วยความเร็วแสง ( c ) ยกกำลังสอง และในทางตรงกันข้าม หากเรากำจัดพลังงาน E จูลได้ เราก็จะได้สสารที่มีมวล m กิโลกรัมซึ่งมีค่าเท่ากับ E/c<sup>2</sup> เช่นกัน หรือในกรณีทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของ Einstein ซึ่งระบุว่าใครก็ตามที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกจากแหล่งแสง เขาก็จะวัดความเร็วของแสงได้ ๒๙๙,๗๙๒,๔๕๘ เมตร/วินาที เสมอ


    นอกจากนี้ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษยังมีบทบัญญัติอีกว่า มนุษย์ไม่สามารถออกแรงผลักวัตถุจนวัตถุมีความเร็วเท่าแสง ทั้งนี้เพราะเวลาวัตถุมีความเร็ว มวลของมันจะเพิ่มและเมื่อมันมีมวลมากขึ้น แรงที่จำเป็นในการผลักมันก็มากตาม และเมื่อวัตถุมีความเร็วใกล้แสง มวลของวัตถุก็จะมากมหาศาล ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เราต้องออกแรงมากจนหาที่สุดมิได้ ซึ่งเราไม่มี ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่อิเล็กตรอนมีความเร็วเท่ากับร้อยละ ๙๙.๙๙๙๙๕ ของแสง มวลของมันได้เพิ่มมากเป็น ๑,๐๐๐ เท่าของมวลขณะอยู่นิ่ง หรือในการวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ถ้าเรารู้เวลาที่แสงเดินทางจากโลกถึงดวงจันทร์แล้วสะท้อนกลับมาสู่โลก หากคูณเวลาดังกล่าวด้วยความเร็วแสง แล้วหารด้วยสอง เราก็จะรู้ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ทันที


    ตามปรกติเวลาแสงเคลื่อนที่ผ่านสุญญากาศ ไม่ว่าแสงนั้นจะเป็นแสงอินฟราเรดหรือแสงอัลตราไวโอเลต ความเร็วแสงที่วัดได้จะเท่ากันเสมอ แต่เวลาแสงเคลื่อนที่ผ่านสสาร เช่น น้ำ อากาศ แก้ว ความเร็วแสงในสสารจะน้อยกว่าความเร็วแสงในสุญญากาศเสมอ นักฟิสิกส์เรียกอัตราส่วนระหว่างความเร็วแสงในสุญญากาศกับความเร็วแสงในสสารว่า ดัชนีหักเหของสสารนั้นๆ เช่น เวลาเรากล่าวว่าดัชนีหักเหของเพชรเท่ากับ ๒.๔ นั่นหมายความว่า แสงเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้เร็วกว่าในเพชร ๒.๔ เท่า


    ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า ในปี ๒๑๕๐ Galileo เป็นบุคคลแรกที่ได้พยายามวัดความเร็วแสง โดยให้ชาย ๒ คนยืนถือตะเกียงบนยอดเขา ๒ ลูกที่อยู่ห่างกันประมาณ ๑๐ กิโลเมตร และตะเกียงมีที่ปิด-เปิดแสง การไม่มีนาฬิกาจับเวลาที่มีสมรรถภาพทำให้ Galileo ประสบความล้มเหลวในการวัดความเร็วแสง เพราะผู้ทดลองได้รายงานการเห็นแสงตะเกียงอย่างทันทีทันใด จนเขาไม่สามารถจับเวลาที่แสงเดินทางได้ Galileo จึงสรุปเพียงว่าแสงมีความเร็วที่สูงมาก


    ต่อมาในปี ๒๒๑๙ นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์กชื่อ Ole Romer ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการวัดความเร็วแสงเป็นคนแรก โดยการสังเกตดูปรากฏการณ์จันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดีขณะดวงจันทร์ชื่อ Io โคจรหายลับข้างหลังดาวพฤหัสบดี ซึ่งเขาได้พบว่าเวลาโลกอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากที่สุด และเวลาที่โลกอยู่ไกลจากดาวพฤหัสบดีมากที่สุด คืออีก ๖ เดือนต่อมา ดวงจันทร์ Io ใช้เวลาหายลับไปเบื้องหลังดาวพฤหัสบดีนานต่างกันประมาณ ๑,๔๕๐ วินาที Romer ให้เหตุผลของเวลาที่แตกต่างกันนี้ว่า มันเป็นเวลาที่แสงใช้ในการเดินทางข้ามวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ และเมื่อเขาใช้ตัวเลขความยาวเส้นผ่านศูนย์กลาง วงโคจรของโลก ๓<sup>๑๑</sup> ล้านกิโลเมตร (ตัวเลขขณะนั้น) เขาวัดความเร็วแสงได้เท่ากับ ๒๑๔,๔๘๒ กิโลเมตรต่อวินาที (ซึ่งผิดพลาดจากตัวเลขจริงประมาณร้อยละ ๒๘.๔)


    การวัดความเร็วแสงในเวลาต่อมาได้รับการพัฒนาให้ถูกต้องและละเอียดยิ่งขึ้น โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทนเครื่องจักรจนทำให้ความเร็วแสงเป็นปริมาณที่ นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดได้ถูกต้องที่สุดค่าหนึ่งธรรมชาติ (ผิดพลาดไม่เกินร้อยละ ๐.๐๐๐๖๖๗๑) ดังนั้น ในปี ๒๕๒๖ สมาพันธ์วิทยาศาสตร์นานาชาติจึงได้กำหนดให้แสงมีความเร็ว ๒๙๙,๗๙๒,๔๕๘ เมตรต่อวินาทีตลอดไป และได้กำหนดความยาวมาตรฐาน ๑ เมตรใหม่ โดยให้เป็นระยะทางที่แสงเคลื่อนที่ได้ใน ๑/๒๙๙,๗๙๒,๔๕๘ วินาที


    แม้ว่าความเร็วของอนุภาคใดๆ จะสูงกว่าความเร็วแสงในสุญญากาศไม่ได้ก็ตาม แต่เราก็สามารถเร่งอนุภาคให้มีความเร็วสูงกว่าความเร็วแสงในสสารได้ เช่น เรารู้ว่าความเร็วแสงในน้ำเท่ากับ ๐.๖ เท่าของความเร็วแสงในสุญญากาศ ทั้งนี้เพราะเวลาแสงเคลื่อนที่ผ่านไปในน้ำ ขณะมันพุ่งผ่านอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจน อิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุทั้งสองจะดูดกลืนแสง และปลดปล่อยแสงนั้นออกมาอีก การเสียเวลาเยี่ยงนี้ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปในน้ำได้ช้ากว่าเวลาที่มันเคลื่อน ที่ผ่านสุญญากาศ ซึ่งมันไม่ได้ปะทะอะไรเลย แต่ถ้าเรามีอนุภาคนิวตรอนที่มีความเร็ว ๐.๘ เท่าของความเร็วแสงในสุญญากาศพุ่งผ่านในน้ำ อันตรกริยา (interaction) ระหว่างนิวตรอนความเร็วสูงกับอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนจะทำให้นิวตรอนแผ่ รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะปรากฏทุกครั้งที่ความเร็วของนิวตรอนสูงกว่าความเร็วของแสงในน้ำ นักฟิสิกส์เรียกรังสีดังกล่าวนี้ว่า รังสี Cerenkov ซึ่งสามารถเห็นได้ในน้ำที่หล่อเลี้ยงเตาปฏิกรณ์ปรมาณู เป็นต้น


    ถึงแม้เรารู้ว่าความเร็วแสงในสสารจะน้อยกว่าความเร็วแสงในสุญญากาศก็ตาม แต่ความเร็วดังกล่าวก็ไม่เคยน้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ดังนั้น เมื่อ Lene Vestergaard Hau แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา ได้แถลงในปี ๒๕๔๑ ว่า พบวิธีชะลอแสงจนกระทั่งมีความเร็วเพียง ๑๗ เมตรต่อวินาที ซึ่งนับว่าช้ากว่าความเร็วของจักรยานเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง วงการวิทยาศาสตร์จึงตื่นเต้นกับข่าวความสำเร็จนี้มาก และเมื่อปีกลายนี้ Hau ก็ได้ประกาศอีกว่า พบวิธีบังคับแสงแทบไม่ให้เคลื่อนที่ไปไหนมาไหน คือให้อยู่นิ่งๆ ได้ โดยใช้สสาร BEC (Bose-Einstein Condensate) เป็นตัวกักขัง


    โลกเคยรู้ว่าสสารในธรรมชาติมี ๔ สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว แก๊ส และพลาสมา (plasma) บัดนี้โลกได้รู้เพิ่มว่า BEC เป็นสสารสถานะที่ ๕ เพราะประกอบด้วยอะตอมที่มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ และมีอุณหภูมิประมาณ ๐.๐๐๐๐๐๐๑ องศาสัมบูรณ์ ในการทดลองชะลอแสงนั้น Hau ได้พบว่าเมื่อปล่อยคลื่นแสงเลเซอร์ที่ยาว ๑ กิโลเมตรให้กระทบ BEC ซึ่งประกอบด้วยอะตอมของโซเดียมที่ลอยอยู่ในภาชนะ และความดันในภาชนะเท่ากับ ๐.๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๑ เท่าของความดันบรรยากาศ อะตอมจำนวน ๒.๕ ล้านอะตอมของ BEC ได้ชะลอความเร็วของแสงลงจนเหลือเพียง ๑๗ เมตรต่อวินาที โดยคลื่นแสงที่เคยมีความยาว ๑ กิโลเมตรได้หดตัวลงจนมีความยาวเพียง ๑๐ เมตร และเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านทะลุ BEC ไปแล้ว มันก็พุ่งต่อไปด้วยความเร็ว ๒๙๙,๗๙๒,๔๕๘ เมตรต่อวินาที Hau อธิบายเหตุการณ์นี้ว่าเปรียบเทียบเสมือนกับการยืนอยู่ใกล้ทางรถไฟ แล้วมีแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ขึงขวางทางรถไฟ ขณะที่รถไฟพุ่งชนแผ่นกระดาษ เราก็คาดหวังว่าแผ่นกระดาษจะขาดกระจุย แต่ผลปรากฏว่าเมื่อหัวรถจักรกระทบกระดาษ มันถูกกระดาษดูดกลืน แล้วภายในเวลา ๒ วินาที รถไฟทั้งขบวนก็หายเข้าไปในกระดาษ จากนั้นทุกอย่างก็สงบเงียบ แล้วอีก ๑ วินาทีต่อมา หัวรถจักรก็ปรากฏอีกทางด้านหนึ่งของกระดาษ พร้อมกับนำขบวนรถไฟที่มีความยาวเท่าเดิมพุ่งต่อไปด้วยความเร็วเดิมจนสุดสายตา


    นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่า เทคโนโลยีการชะลอและหยุดแสง วิธีนี้จะมีประโยชน์มากในการทำคอมพิวเตอร์ควอนตัม (quantum computer) ในอนาคต เพราะมีความฝันว่าจะสร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้อะตอมแทนที่จะใช้อิเล็กตรอนในการ นำข้อมูลและคำนวณมานานแล้ว ดังนั้น การรู้วิธีควบคุมสถานะของอะตอมใน BEC และรู้ทฤษฎีควอนตัมจะทำให้เรามีตัวประมวลผล หรือ โพรเซสเซอร์ (processor) ที่มีสมรรถภาพสูงมากยิ่งไปกว่านั้น การรู้วิธีทำให้แสงมีความเร็วต่ำจะช่วยให้นักฟิสิกส์เข้าใจเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในบริเวณรอบๆ หลุมดำดีขึ้นอีกด้วย


    นักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนก็กำลังตื่นเต้นกับการใช้เทคนิคนี้ในการทำอินเทอร์ เน็ตควอนตัม (quantum internet) ซึ่งใช้แสงจากกลุ่มอะตอมใน BEC หนึ่งไปสู่กลุ่มอะตอมในอีก BEC หนึ่ง แต่ความเป็นไปได้ในการส่งอีเมลลักษณะนี้คงต้องคอยอีกนาน


    ถึงแม้ว่า ณ วันนี้ นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากจะมีความเห็นพ้องกันว่า ความเร็วแสงเป็นค่าที่ไม่แปรเปลี่ยน (คือ ๒๙๙,๗๙๒,๔๕๘ เมตรต่อวินาทีเสมอไป) แต่ก็มีนักฟิสิกส์บางคนคิดว่าเมื่อจักรวาลถือกำเนิดหลังการระเบิดครั้งยิ่ง ใหญ่ใหม่ๆ แสงมีความเร็วสูงยิ่งกว่าปัจจุบันมาก อันเป็นผลสืบเนื่องจากการขยายตัวของจักรวาลอย่างรวดเร็วแบบ exponential นั่นคือความเร็วแสงขึ้นกับอายุของจักรวาล แต่เมื่อไม่มีวิธีใดจะทดสอบความคิดนี้ นักฟิสิกส์ส่วนมากจึงยังไม่ยินยอมน้อมรับในความถูกต้องของเรื่องนี้


    ดังนั้นเราจึงอาจสรุปได้ว่าจากหลักฐานที่ปรากฏจนกระทั่งถึงวินาทีนี้ ไม่ว่าธรณีจะถล่ม ทวีปจะทลาย อารยธรรมจะสลาย หรือมนุษย์จะมลายหมดโลก ความเร็วแสงในสุญญากาศก็ไม่มีวันเปลี่ยนชั่วนิจนิรันดร์

    ผู้เขียน : ศ. ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ภาคีสมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิทยาศาสตร์

    ที่มา : http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=880

    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2011
  13. chate_SP

    chate_SP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    297
    ค่าพลัง:
    +220
    การเดินทางความความเร็วสูง จะใช้วิธีอะไรก็แล้วแต่ ผมเชื่อว่าเป็นไปได้
    ในอนาคตอันไกลโพ้น เราจะเดินทางไปดาวอื่นโดยเครื่องส่งสสาร แบบพริบตาเดียวถึง ก็คงทำได้

    แต่ถ้าจะให้ ย้อนกลับไปในอดีต ผมว่ามันคงเป็นไปไม่ได้ เพราะนั่นมันเป็นเรื่องของมิติ ถึงย้อนไปได้ ก็คงได้แต่เฝ้าดูเหตุการณ์เหมือนชมทีวี แต่คงไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ผมเชื่อว่าเป็นแบบนั้น เพราะ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต มันคนละมิติ
     
  14. ooghost

    ooghost เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2010
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +119
    รูหนอนเหรอครับ...................
     
  15. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ถ้าทำได้ก็น่าจะได้แต่ดูนะ เพราะถ้าแก้ไขได้คงวุ่นวายพิลึก
    แก้สิ่งหนึ่ง ก็จะไปกระทบกับอีกสิ่งหนึ่ง และยังมีความเปลี่ยนแปลงที่ควบคุมไม่ได้อีกล่ะ ถ้าใครเคยดูเรื่อง Butterfly Effect จะเข้าใจดี
    รู้สึกจะมีหลายภาคนะ นี่เป็นเรื่องย่อของภาคในภาคหนึ่ง v
    The Butterfly Effect (2004) -
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2011
  16. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ถ้าทำได้ก็น่าจะได้แต่ดูนะ เพราะถ้าแก้ไขได้คงวุ่นวายพิลึก
    แก้สิ่งหนึ่ง ก็จะไปกระทบกับอีกสิ่งหนึ่ง และยังมีความเปลี่ยนแปลงที่ควบคุมไม่ได้อีกล่ะ ถ้าใครเคยดูเรื่อง Butterfly Effect จะเข้าใจดี
    รู้สึกจะมีหลายภาคนะ นี่เป็นเรื่องย่อของภาคในภาคหนึ่ง v
    http://www.siamzone.com/movie/m/2064/synopsis

    "อีแวนกลับลืม คิดไปว่า เรื่องราวของคนทุกคนล้วนเกี่ยวโยงกันเป็นขั้นตอนจากเหตุการณ์หนึ่งสู่อีก หลาย ๆ เหตุการณ์ประดุจห่วงโซ่ที่ร้อยเรียงและแบ่งแยกจากกันไม่ได้
    และการกระทำของเขาที่อาจดูเหมือนเป็นการเปลี่ยนห่วงโซ่เพียงห่วงเดียว แต่แท้จริงแล้วมันคือการสร้างโซ่ใหม่ทั้งโซ่ขึ้นมา"

    ^ ประโยคข้างบนเอามาจาก... http://highwind.exteen.com/20090607/the-butterfly-effect-1
     
  17. deity

    deity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +1,645
    เรื่องเดินทางย้อนเวลาคงเป็นไปไม่ได้จริงๆ

    เพราะถ้าทำได้ก็คงไม่มีเรื่องกฎแห่งกรรม

    เพราะว่า

    ถ้าทำอะไรเลวๆ

    ก็เดินทางหาทางย้อนอดีตไปแก้ไขได้

    เว้นแต่ว่าเดินทางไปดูภาพอดีตเหมือนเราดูวีดีโอ

    อะไรพวกนี้

    แต่จะไปแก้ไขหรือเปลี่ยนบทแสดงไม่ได้

    ถ้าเป็นแบบที่ว่านี้

    ก็เป็นไปได้


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2011
  18. ล้มเหลว

    ล้มเหลว วีชิคเชียงใหม่ รถเช่าราคาถูก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +92
    ถ้าทฤษฏี โลกคู่ขนาน มีอยู่จริง ก็น่าคิด
     
  19. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    เอามาให้เพื่อนสมาชิกอ่านให้ตาแฉะไปเลย :p

    ถ้าข้อมูลซ้ำหรือใครรู้แล้วก็อย่าว่ากันนะ
    เห็นว่าน่าสนใจดี ไปก็อปมาแปะ เครดิตหรือที่มาก็ตามลิงค์เลยนะ


    เครดิต :
    สารานุกรมปรัชญาออนไลน์: การเดินทางข้ามเวลา


    <table border="0" width="90%"><tbody><tr><td>
    การเดินทางข้ามเวลา
    Time Travel
    </td> </tr> <tr> <td>

    1. ความเป็นไปได้ของการเดินทางข้ามเวลา
    2. ข้อโต้แย้งทางตรรกะต่อการเดินทางข้ามเวลา
    3. ปฏิทรรศน์ของการเดินทางข้ามเวลา
    4. การเดินทางข้ามเวลากับแนวคิดจักรวาลคู่ขนาน
    เอกสารอ้างอิง
    เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม
    คำที่เกี่ยวข้อง


    </td> </tr> <tr> <td align="justify">
    นับตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ความเป็นไปได้ของการเดินทางท่องไปในกาลเวลาไม่ได้เป็นเพียงจินตนาการที่เพ้อฝันอีกต่อไป มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา (time travel) กลายเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงอย่างจริงจังทั้งในทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (special theory of relativity) ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) แสดงถึงรูปแบบหนึ่งของการเดินทางข้ามเวลาไปสู่อนาคตโดยการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง อันเป็นผลให้เวลาของผู้เดินทางเดินช้าลง (หรือที่เรียกว่า time dilation effect) ดังตัวอย่างปฏิทรรศน์คู่แฝด (twin paradox) ที่แฝดคนหนึ่งเดินทางออกไปในอวกาศด้วยจรวดความเร็วสูงและกลับมายังโลก โดยอาจใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมดเพียง 1 ปี แต่กลับพบว่าฝาแฝดของตนที่อยู่บนโลกมีอายุมากขึ้นถึง 10 ปี เป็นต้น กระทั่งในปี ค.ศ.1949 คูร์ท เกอเดิล (Kurt Gödel) ได้ค้นพบรูปแบบของกาล-อวกาศ (space-time) ในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (general theory of relativity) ที่จะทำให้สามารถเดินทางกลับไปสู่อดีตได้ นี่เป็นความหมายของการเดินทางข้ามเวลาที่เราจะพิจารณากันในที่นี้ และเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญและได้รับการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน


    1. ความเป็นไปได้ของการเดินทางข้ามเวลา
    [FONT=&quot] เมื่อเรากล่าวว่าการเดินทางข้ามเวลา (ในความหมายของการเดินทางกลับไปสู่อดีต) [/FONT] [FONT=&quot]“เป็นไปได้” สิ่งที่ต้องแยกแยะให้ชัดเจนในเบื้องต้นคือเรากำลังพูดถึงความเป็นไปได้ในความหมายระดับใด เรากำลังพูดในระดับความเป็นไปได้ในทางตรรกะ (logical possibility) ในแง่ที่เป็นมโนทัศน์ที่ไม่มีความขัดแย้งกันในตัวเอง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำหรับความเป็นไปได้ในระดับอื่นๆ หรือพูดถึงความเป็นไปได้ในทางวิทยาศาสตร์ (scientific possibility) ในแง่ที่สอดคล้องกับทฤษฎีฟิสิกส์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอยู่ในปัจจุบัน หรือพูดถึงความเป็นไปได้ในทางเทคโนโลยี (technological possibility) ในแง่ที่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้

    เกอเดิล (Gödel, 1949) ได้แสดงถึงความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ของการเดินทางข้ามเวลา โดยวางอยู่บนสมมติฐานบางอย่างเกี่ยวกับโครงสร้างของจักรวาล นั่นคือ หากจักรวาลโดยรวมกำลังหมุนรอบตัวเองอยู่ จะมีโครงสร้างกาล-อวกาศ (space-time structure) รูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป รูปแบบดังกล่าวมีลักษณะซึ่งเรียกว่า closed time-like curves (CTC) ที่จะทำให้เราสามารถเดินทางด้วยยานอวกาศออกไปสู่อวกาศในระยะไกลและวนกลับมายังโลก ซึ่งเราจะพบว่าเป็นช่วงเวลาในอดีตก่อนที่เราจะออกเดินทางตั้งแต่ทีแรกเสียอีก ในจักรวาลที่มีลักษณะเช่นนั้น การเดินทางกลับไปสู่ช่วงเวลาใดๆ ของอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มีความเป็นไปได้ที่ไม่แตกต่างไปจากการเดินทางไปสู่ตำแหน่งอื่นๆ ในอวกาศที่อยู่ห่างไกลออกไป (Gödel, 1949: 560) เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น ขอให้พิจารณาภาพด้านล่างนี้[/FONT]​
    [​IMG]
    ภาพ “จักรวาลแบบเกอเดิล” จาก Quentin and Oaklander (1995: 204)
    [FONT=&quot] จากภาพข้างต้น เส้นแกนกลางของทรงกระบอกบ่งบอกถึงกรอบเวลาที่อ้างอิงบนโลก นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 [/FONT] [FONT=&quot] – 1994 ยานอวกาศออกเดินทางจากโลกเมื่อปี ค.ศ.1992 จนพ้นไปจากแกนกลางของทรงกระบอก และค่อยๆ เดินทางย้อนกลับมายังโลกอีกครั้ง แม้ว่าในขณะบินด้วยยานอวกาศ เวลาของนักบินยังคงดำเนินไปตามปกติ เขายังคงมีอายุมากขึ้นตามระยะเวลาที่อยู่บนยาน แต่เขาจะพบว่าเวลาบนโลกที่จรวดเดินทางไปถึงนั้นคือปี ค.ศ.1990 ซึ่งเป็นช่วงเวลาในอดีตก่อนที่จะออกเดินทางตั้งแต่ต้น

    นับตั้งแต่การค้นพบของเกอเดิลเป็นต้นมา การศึกษาปัญหาการเดินทางข้ามเวลาแบ่งได้เป็น 3 แนวทางหลัก แนวทางแรกเป็นการค้นหาโครงสร้างกาล-อวกาศ (space-time structure) ที่มีลักษณะแบบ CTCs นอกเหนือจากแบบของเกอเดิล ทั้งนี้เนื่องจากหลักฐานทางจักรวาลวิทยาในปัจจุบันบ่งชี้ว่าแม้แต่ละกาแล็คซี่จะหมุนอยู่ก็ตาม แต่จักรวาลโดยรวมไม่น่าจะกำลังหมุนรอบตัวเองอยู่ในลักษณะที่เกอเดิลเสนอไว้ จึงมีความพยายามที่จะหา CTCs รูปแบบอื่นที่สอดคล้องกับสภาพของจักรวาลที่เป็นจริงตามที่เราสามารถสังเกตได้ เช่น “รูหนอน” (wormhole) ที่เป็นเสมือนทางลัดที่เชื่อมระหว่างตำแหน่งในอวกาศ 2 ตำแหน่งที่อยู่ห่างไกลกัน และเชื่อกันว่าอาจเป็นทางเชื่อมระหว่างช่วงเวลาที่แตกต่างกันได้ด้วยเช่นกัน (โปรดดู Davies, 2001 และ Gott, 2002) โดยส่วนนี้จะเป็นงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์ภาคทฤษฎี (theoretical physics) เป็นหลัก

    แนวทางที่สองเป็นการวิเคราะห์ประเด็นทางความหมาย (semantic issue) ของมโนทัศน์อื่นที่เกี่ยวข้อง (เช่น เวลา สาเหตุ และการเดินทาง) ว่าจะยังคงเข้าใจได้ในแบบเดิมหรือไม่ในบริบทที่มีการเดินทางข้ามเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือถ้าการเดินทางข้ามเวลาเป็นไปได้ จะส่งผลทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนความหมาย (shift in the meanings) ของมโนทัศน์อื่นๆ ที่มีการถกเถียงกันอยู่แล้วในทางปรัชญาหรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อกังขาถึงนัยสำคัญของแนวทางการวิเคราะห์นี้ เนื่องจากคำถามว่าการเดินทางข้ามเวลาเป็นไปได้หรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนความหมายของมโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่

    ส่วนแนวทางสุดท้ายเป็นข้อถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาจากปฏิทรรศน์ของการเดินทางข้ามเวลาทั้งจากฟิสิกส์และปรัชญา รวมถึงนัยสำคัญของปฏิทรรศน์ดังกล่าวต่อการปฏิเสธการมีโครงสร้างกาล-อวกาศที่ทำให้เกิด CTCs สำหรับใช้ในการเดินทางข้ามเวลา กล่าวคือ ปฏิทรรศน์ต่างๆ จะทำให้เราต้องสรุปว่าการเดินทางข้ามเวลาเป็นไปไม่ได้หรือไม่ และนั่นจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่ารูปแบบกาลอวกาศบางรูปแบบที่ทำให้เกิดการเดินทางข้ามเวลาได้นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริงด้วยหรือไม่ เพราะแม้เราอาจจะมีเหตุผลที่ทำให้เชื่อได้ว่า การเดินทางข้ามเวลาจะไม่เกิดขึ้นในโลกที่เป็นอยู่ (the actual world) แต่นี่ก็ยังไม่อาจใช้เป็นข้อสรุปที่เด็ดขาดได้ว่าเราไม่ได้กำลังอยู่ในจักรวาลแบบที่เกอเดิลได้บรรยายไว้ เพราะเป็นไปได้ว่าการเดินทางข้ามเวลาในจักรวาลเช่นนั้น จำเป็นต้องใช้พลังงานมหาศาลจนกระทั่งไม่อาจเป็นไปได้ในทางเทคโนโลยี (Horwich, 1987)

    ในที่นี้ เราจะพิจารณาถึงปฏิทรรศน์ของการเดินทางข้ามเวลาที่มีการถกเถียงในงานทาง ปรัชญาเป็นหลัก เพราะแม้ข้อพิสูจน์จากทฤษฎีสัมพัทธภาพข้างต้นจะแสดงถึงความเป็นไปได้ในทาง วิทยาศาสตร์ แต่ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในทางปรัชญาก็คือเราจะอธิบายมโนทัศน์เรื่องการเดิน ทางข้ามเวลาให้มีความสอดคล้องกันในทางตรรกะได้อย่างไร ในเบื้องต้นจะเป็นการสรุปถึงข้อโต้แย้งพื้นฐานทางตรรกะที่มีต่อมโนทัศน์ เรื่องการเดินทางข้ามเวลาว่ามีความบกพร่องอย่างไร เพื่อนำไปสู่ปฏิทรรศน์ของการเดินทางข้ามเวลา ซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน

    [/FONT]
    2. ข้อโต้แย้งทางตรรกะต่อการเดินทางข้ามเวลา

    [FONT=&quot] โดยทั่วไป ข้อโต้แย้งต่อความเป็นไปได้ทางตรรกะของการเดินทางข้ามเวลา จะอยู่ในรูปของการอ้างเหตุผลทางอ้อม ([/FONT][FONT=&quot]indirect argument หรือที่เรียกว่า reductio ad absurdum) โดยเริ่มจากการสมมติให้การเดินทางข้ามเวลาเป็นไปได้ จากนั้นจึงพิจารณานัยที่ตามมา หากเกิดความขัดแย้งในตัวเอง (self-contradiction) นั่นก็จะเป็นเหตุผลที่ย้อนกลับไปแย้งข้อที่สมมติไว้ว่าไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่นหากการเดินทางข้ามเวลาเป็นไปได้ เราจะกล่าวได้ว่าห้านาทีจากนี้ไป เราจะไปอยู่ที่อีกหนึ่งร้อยปีให้หลัง นั่นหมายความว่าเวลา ณ จุดหมายปลายทางที่ไปถึง จะแตกต่างไปจากเวลาที่ใช้ในการเดินทาง และย่อมจะเป็นความขัดแย้งในตัวเองอย่างชัดเจนในการบอกว่าเราจะเดินทางข้ามช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่ที่ไปถึงนั้นอยู่ ณ จุดของเวลาที่นานไปกว่าช่วงเวลาที่เราใช้ในการเดินทาง [/FONT]​
    [FONT=&quot] อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งนี้ไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากเราสามารถเข้าใจได้ว่าช่วงเวลาที่แตกต่างกันเป็นการนับเวลาที่ขึ้นอยู่กับกรอบการอ้างอิงที่ต่างกัน ดังที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเวลาในแต่ละกรอบการอ้างอิงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกันเสมอไป เวลาที่นักเดินทางใช้ในการเดินทางข้ามเวลาเป็นเวลาที่วัดจากกรอบการอ้างอิงของนักเดินทางเอง ในขณะที่เวลาที่นักเดินทางก้าวข้ามไปถึงนั้นเป็นเวลาที่ขึ้นอยู่กับกรอบการอ้างอิงของโลก ดังนั้น จึงไม่ใช่สิ่งที่ขัดแย้งในตัวเองที่นักเดินทางจะใช้เวลาที่นับในกรอบการอ้างอิงของตนเพียงห้านาทีเพื่อก้าวข้ามเวลาบนโลกไปร้อยปี

    ข้อโต้แย้งทางตรรกะอีกแบบหนึ่งคือปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอดีต ([/FONT][FONT=&quot]changing the past) บางคนอาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนักว่าถ้าการเดินทางข้ามเวลาเป็นไปได้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอดีต ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งในตัวเอง ทั้งนี้เพราะอดีตเป็นสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เราไม่สามารถกลับไปสู่อดีตในความหมายของการกลับไปอยู่ในยุคสมัยที่ได้ผ่านพ้นไปแล้วได้ เช่น เราไม่สามารถกลับไปสู่อดีตยุคอียิปต์โบราณและช่วยชาวอียิปต์สร้างปิรามิดได้ เพราะปิรามิดเหล่าน[FONT=&quot]ั้น[/FONT]ได้ถูกสร้างขึ้นเรียบร้อยแล้วในขณะที่เราไม่ได้อยู่ที่นั่น การเดินทางข้ามเวลาจะทำให้เกิดความขัดแย้งในตัวเอง กล่าวคือจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอดีตจากเดิมที่ไม่มีเราช่วยสร้างปิรามิด มาเป็นอดีตที่มีเราช่วยสร้างปิรามิด ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทางตรรกะ นั่นคือ เราอยู่ที่นั่นและเราไม่ได้อยู่ที่นั่น เราได้ช่วยสร้างปิรามิดและเราไม่ได้ช่วยสร้างปิรามิด และนี่จึงทำให้การเดินทางข้ามเวลาเป็นไปไม่ได้ (Hospers, 1988: 136)[/FONT]​
    แน่นอนว่า ความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอดีตข้างต้นเป็นสิ่งที่ขัดแย้งในตัวเองอย่างชัดเจน แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าการเดินทางข้ามเวลาไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอดีต หากการเดินทางข้ามเวลาเกิดขึ้นจริง นั่นเพียงแต่แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นนั้นได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลัง เช่น หากเราได้กลับไปในยุคอียิปต์โบราณจริง เราก็ได้อยู่ที่นั่นมาแล้วตั้งแต่ต้น และหากเราได้ช่วยสร้างปิรามิดในตอนที่ได้กลับไป เราก็ได้ช่วยสร้างปิราม[FONT=&quot]ิดเหล่านั้นตั้งแต่ทีแรกที่ชาวอียิปต์ได้สร้างขึ้นมา ในกรณีเช่นนี้ การเดินทางข้ามเวลาไม่ได้ทำให้อดีตเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ควรเข้าใจเสียใหม่ว่า การเดินทางข้ามเวลาสามารถมีอิทธิพลต่ออดีต ([/FONT]influencing the past) ซึ่งไม่ได้เป็นความขัดแย้งทางตรรกะแต่อย่างใด (โปรดดู Horwich, 1975 และ Harrison, 1995)


    3. ปฏิทรรศน์ของการเดินทางข้ามเวลา
    [FONT=&quot] โดยทั่วไป [/FONT] [FONT=&quot] “ปฏิทรรศน์” ในทางปรัชญา เกี่ยวข้องกับการเสนอความคิดหรือข้ออ้างเหตุผลที่สมเหตุสมผล แต่นำมาซึ่งข้อสรุปที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ยอมรับกันอยู่โดยทั่วไป ดังเช่นปฏิทรรศน์ของซีโนในเรื่องอคิลลิสวิ่งแข่งกับเต่า ที่อ้างเหตุผลว่าถ้าอคิลลิสต่อให้เต่าเริ่มต้นวิ่งนำหน้าไปก่อน ทุกครั้งที่อคิลลิสพยามยามวิ่งไปถึงจุดที่เต่าอยู่ เต่าก็จะเคลื่อนที่ไปจากจุดนั้นแล้ว ดังนั้นจึงสรุปว่าอคิลลิสจะไม่มีทางวิ่งไล่ทันเต่าได้ ซึ่งขัดแย้งกับสามัญสำนึกและประสบการณ์ของเรา ในกรณีของการเดินทางข้ามเวลา ปัญหาปฏิทรรศน์ที่มีการถกเถียงกันอย่างมากแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลัก คือ 1) ปฏิทรรศน์คุณปู่ และ 2) ปฏิทรรศน์ความรู้
    [/FONT]
    3.1 ปฏิทรรศน์คุณปู่
    [FONT=&quot] ชื่อเรียก [/FONT] [FONT=&quot] “ปฏิทรรศน์คุณปู่” (Grandfather Paradox) ซึ่งกลายเป็นชื่อที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีในข้อถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาการเดินทางข้ามเวลาทั้งในทางฟิสิกส์และปรัชญา อาจสืบย้อนกลับไปได้ถึงจดหมายฉบับหนึ่งที่ส่งถึงบรรณาธิการของ Astounding Stories ในปี 1933 ที่เขียนมาเสนอว่าวิธีที่จะพิสูจน์ว่าการเดินทางข้ามเวลาเป็นไปไม่ได้ จดหมายดังกล่าวมีเนื้อหาถึงสถานการณ์ที่นักเดินทางข้ามเวลาย้อนเวลากลับไปฆ่าปู่ของตนเองก่อนที่ปู่จะให้กำเนิดพ่อของเขา แต่ทั้งนี้ปฏิทรรศน์คุณปู่ยังกินความถึงรูปแบบของสถานการณ์อื่นๆ ที่นักเดินทางข้ามเวลาเดินทางย้อนกลับไปในอดีตเพื่อทำบางสิ่งที่จะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เช่น การฆ่าตัวเองในอดีต การทำลายยานพาหนะที่ใช้ข้ามเวลา เป็นต้น

    ความสำเร็จของการกระทำเหล่านี้จะมีผล (effect) ที่ทำให้ผู้ที่เดินทางข้ามเวลาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ (ก่อนการเดินทางข้ามเวลา) ซึ่งเป็นการขัดแย้งกับลำดับของสาเหตุ (cause) ตั้งแต่ต้น กล่าวคือ นักเดินทางข้ามเวลาจะต้องดำรงอยู่ (ก่อนการเดินทางข้ามเวลา) จึงจะสามารถย้อนเวลากลับไปเพื่อกระทำการดังกล่าวนั้นได้ ตัวอย่างเช่นถ้านักเดินทางข้ามเวลาย้อนเวลากลับไปฆ่าปู่ได้ เขาก็จะไม่มีอยู่และไม่อาจเดินทางย้อนเวลาได้ ถ้าเขาไม่ได้เดินทางย้อนเวลา ปู่ย่อมไม่ถูกฆ่า และเขาจะเกิดมาเพื่อย้อนเวลากลับไปฆ่าปู่ แต่ถ้าเขาฆ่าปู่ได้ เขาก็จะไม่มีอยู่ ..... และเป็นเช่นนี้ต่อไปไม่รู้จบ

    บทความคลาสสิคที่ได้วิเคราะห์และแก้ปัญหาปฏิทรรศน์ของการเดินทางข้ามเวลาในรูปแบบนี้ คือ “The Paradoxes of Time Travel” ของ ลูอิส (Lewis, 1976) โดยลูอิสชี้ให้เห็นว่าข้อโต้แย้งที่เป็นไปได้ที่จะแสดงว่าการเดินทางข้าม เวลาเป็นไปไม่ได้ในทางตรรกะไม่ได้อยู่ที่คำถามที่ว่านักเดินทางข้ามเวลาทำ หรือไม่ได้ทำอะไร (ซึ่งนี่เป็นกรณีของข้อโต้แย้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงอดีตที่เราได้พิจารณาไป ก่อนหน้านี้) แต่อยู่ที่คำถามที่ว่าเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง (Lewis, 1976: 149) กล่าวคือ หากนักเดินทางข้ามเวลายังคงสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ตามที่เขาสามารถทำได้ในเวลาปกติแล้ว เขาก็น่าจะยังคงสามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ แม้ว่าในความเป็นจริงเขาจะไม่ได้ทำก็ตาม ลูอิสยกตัวอย่างหลานชายที่เกลียดปู่ผู้เป็นพ่อค้าอาวุธซึ่งเสียชีวิตไปตั้งแต่หลานยังเป็นเด็ก ความเป็นไปได้ของการเดินทางข้ามเวลา จะทำให้หลานชายสามารถกลับไปในอดีตเพื่อฆ่าปู่ได้ แม้ว่าในความเป็นจริงเขาจะไม่ได้ฆ่าปู่ก็ตาม แต่การเดินทางข้ามเวลาก็ยังคงทำให้เกิดความขัดแย้งทางตรรกะของการที่ “หลานชายไม่ได้ฆ่าปู่แต่เขาสามารถทำได้” (เมื่อพิจารณาจากสภาพการณ์โดยปกติที่ใครๆ ก็ย่อมทำเช่นนั้นได้) ซึ่งขัดแย้งกับการที่ “หลายชายไม่ได้ฆ่าปู่และเขาไม่สามารถทำได้” (เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางตรรกะที่จะเปลี่ยนแปลงอดีต) (Lewis, 1976: 150)

    ลูอิสเสนอทางแก้ปัญหาข้างต้นด้วยการแสดงให้เห็นว่าข้อสรุปทั้งสองข้อนี้สามารถเป็นจริงได้พร้อมกัน เนื่องจากคำว่า “สามารถ” เป็นคำที่มีความหมายคลุมเครือ และทำให้ตีความได้ทั้งสองนัยดังเช่นข้อสรุปทั้งสองแบบข้างต้น แต่นั่นก็ไม่ได้แสดงว่ามีความขัดแย้งกันในทางตรรกะแต่อย่างใด กล่าวคือ การกล่าวว่าบางสิ่งสามารถเกิดขึ้นได้ หมายความว่าการเกิดขึ้นของสิ่งนั้นมีความเป็นไปได้ร่วมกันกับ (compossible with) ข้อเท็จจริงบางอย่าง ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านั้นถูกกำหนดจากบริบทแวดล้อม การที่หลานชายสามารถฆ่าปู่ได้นั้น ก็เป็นไปได้ร่วมกันกับข้อเท็จจริงชุดหนึ่ง (ที่พิจารณาจากปัจจัยทั่วๆ ไป เช่น การมีโอกาสได้พบกันอีกครั้ง การมีแรงจูงใจ การมีอาวุธและความสามารถเพียงพอที่จะกระทำการนั้น เป็นต้น) ในขณะที่การที่หลานชายไม่สามารถฆ่าปู่ได้ ก็เป็นไปได้ร่วมกันกับข้อเท็จจริงอีกชุดหนึ่งที่ครอบคลุมกว่า นั่นก็คือ ข้อเท็จจริงที่ว่าปู่ของเขาไม่ได้ถูกฆ่าตาย (รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าปู่ได้ให้กำเนิดพ่อของเขา) ในแง่นี้ หลานชายจึงสามารถและไม่สามารถฆ่าปู่ของเขาได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดขอบเขตของข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน เราจำเป็นต้องเลือกขอบเขตของข้อเท็จจริงที่จะใช้พิจารณาในการบอกว่าหลานชายสามารถฆ่าปู่ได้หรือไม่ แต่เราไม่สามารถบอกได้ในคราวเดียวกัน (หรือจากข้อเท็จจริงชุดเดียวกัน) ว่าหลานชายสามารถและไม่สามารถฆ่าปู่ของเขาได้ ด้วยเหตุนี้ การเดินทางข้ามเวลาจึงไม่ได้มีผลที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางตรรกะแต่อย่างใด (Lewis, 1976: 150-151)

    อย่างไรก็ตาม แม้ข้อเสนอข้างต้นจะแสดงถึงความเป็นไปได้ทางตรรกะของการเดินทางข้ามเวลา แต่ ฮอร์วิช (Horwich, 1987) ชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าจะไม่มีความขัดแย้งทางตรรกะใดๆ ก็ตาม แต่เราก็อาจมีเหตุผลเชิงประจักษ์ในการที่จะสรุปได้ว่าการเดินทางข้ามเวลาจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ฮอร์วิชให้เหตุผลว่าความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าของนักเดินทางข้ามเวลาที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นปฏิทรรศน์ (เช่นความพยายามของหลานชายที่จะฆ่าปู่ของตนเอง) ก่อให้เกิดชุดของเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เช่น ความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำเล่าในรูปของการเปลี่ยนใจอย่างกะทันหัน การยิงพลาดเป้า การลื่นหกล้ม ฯลฯ

    ประเด็นสำคัญของฮอร์วิชอยู่ที่ว่าเนื่องจากความสำเร็จในการพยายามที่จะก่อ ให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นปฏิทรรศน์จะทำให้เกิดความขัดแย้งในตัวเองขึ้น (นั่นคือ นักเดินทางจะทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่) แต่ไม่มีโลกที่เป็นไปได้ใดๆ ที่จะมีความขัดแย้งในตัวเองได้ ดังนั้น เราจึงรู้ได้ว่าความพยายามเหล่านั้นจะไม่มีวันทำได้สำเร็จ แม้ความพยายามเหล่านั้นจะเป็นการกระทำพฤติกรรมต่างๆ ที่ปกติเราสามารถกระทำได้อย่างง่ายดายก็ตาม (เช่น การเหนี่ยวไกปืนเพื่อฆ่าปู่ของหลานชายในระยะประชิด) แม้โดยทั่วไปความพยายามกระทำการใดๆ อาจล้มเหลวได้ด้วยเหตุผลต่างๆ แต่ความพยายามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (เช่น ในกรณีที่หลานชายยังคงพยายามฆ่าปู่ของตนเองอย่างไม่ลดละ) จะก่อให้เกิดสถานการณ์ที่เป็นความบังเอิญ (coincidences) มากมายที่มาขัดขวางการกระทำเหล่านั้น และด้วยประสบการณ์เชิงประจักษ์ของเราที่ว่าความบังเอิญมากมายขนาดนั้นไม่น่าเป็นไปได้ เราจึงมีเหตุผลที่ดีที่จะเชื่อว่าความล้มเหลวที่ต่อเนื่องเช่นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้อย่างสูง (highly improbable) (Horwich, 1987: 122)

    ฮอร์วิช เห็นว่าความพยายามที่จะกระทำสิ่งที่เป็นปฏิทรรศน์ของของนักเดินทางข้ามเวลา (เช่น การฆ่าปู่ของตนเอง หรือการฆ่าตัวเองในอดีต) กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ความพยายามดังกล่าวล้มเหลวอย่างต่อเนื่องเสมอนั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวพันกันในเชิงสาเหตุ เพราะไม่มีเหตุการณ์ใดเป็นสาเหตุ (หรือผล) ของอีกเหตุการณ์หนึ่ง และทั้งสองเหตุการณ์ก็ไม่ได้มีสาเหตุร่วมเดียวกัน (common cause) (Horwich, 1995: 263) ดังนั้น การเกิดขึ้นมาคู่กันของเหตุการณ์สองแบบนี้จึงไม่น่าจะเป็นไปได้อย่างสูง และจากประสบการณ์ของเราต่อความไม่น่าจะเป็นไปได้ของความบังเอิญเช่นนี้ จึงทำให้สามารถอนุมานกลับไปได้ว่าการเดินทางข้ามเวลาซึ่งเป็นสิ่งที่นำมาสู่สถานการณ์ดังกล่าว จึงย่อมเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้อย่างสูงในโลกที่เป็นอยู่นี้ด้วยเช่นกัน

    อย่างไรก็ตาม สมิธ (Smith, 1997) โต้แย้งข้อเสนอข้างต้นของฮอร์วิชไว้ดังนี้ ข้อสรุปที่ว่าการเดินทางข้ามเวลาไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ วางอยู่บนฐานของการที่มีความบังเอิญต่างๆ ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ (improbable coincidences) ซึ่งไปละเมิดหลักการที่ฮอร์วิชเรียกว่า “Principle of V-Correlation” (PVC) โดยหลักการนี้มีอยู่ว่าคู่ของเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม จะมีการเชื่อมโยงกันด้วยการเป็นสาเหตุโดยตรงต่อกัน หรือไม่เช่นนั้นก็มีสาเหตุร่วมเดียวกัน เราไม่เคยสังเกตพบคู่ของเหตุการณ์ที่จะเชื่อมโยงกันด้วยเหตุการณ์ที่ตามมาภายหลัง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการรับหลักการดังกล่าวทำให้ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะมีเหตุการณ์ใดๆ เชื่อมโยงกันด้วยผลร่วมอันเดียวกัน (common effect) ในกรณีตัวอย่างเรื่องปฏิทรรศน์คุณปู่ การพยายามฆ่าปู่ของตนเองกับสถานการณ์ที่เป็นความบังเอิญต่างๆ ที่เป็นตัวมาขัดขวางการกระทำนั้น (เช่น การที่ปืนขัดข้องกะทันหัน การยิงผิดเป้า การลื่นล้ม ฯลฯ) ดูเหมือนจะถูกเชื่อมโยงกันด้วยผลร่วมที่ตามมาทีหลังอันเดียวกัน นั่นคือ ความมีอยู่ของนักเดินทางข้ามเวลาภายหลังจากนี้ ซึ่งถือเป็นการละเมิดหลักการ PVC ดังกล่าว อันทำให้ฮอร์วิชเห็นว่าการเดินทางข้ามเวลาเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้

    แต่สมิธแย้งว่าหลักการ PVC เป็นหลักการที่พูดถึงสิ่งที่เคยมีการสังเกตการณ์มาแล้วเท่านั้น การเกิดขึ้นของการเดินทางข้ามเวลาอาจก่อให้เกิดความบังเอิญที่ไม่น่าจะเป็น ไปได้ แต่การไม่มีความบังเอิญดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบันไม่ได้ช่วยยืนยันอะไรเกี่ยว กับโอกาสที่จะไม่มีการเกิดขึ้นของการเดินทางข้ามเวลาในภายภาคหน้า นอกจากนี้ สมิธยังเห็นว่าข้อโต้แย้งจากความบังเอิญที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เป็นเหตุผลที่มีข้อบกพร่องตั้งแต่ต้น เพราะในการที่จะทำให้เกิดผลที่เป็นความบังเอิญที่ไม่น่าจะเป็นได้อย่างสูงออกมานั้น จะต้องมีการนำเข้าความบังเอิญที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ในปริมาณที่สูงมากด้วยเช่นกัน นักเดินทางข้ามเวลาจะต้องมีชุดของความเชื่อที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เช่น เชื่อว่าสามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ เชื่อว่าถ้าฆ่าปู่สำเร[FONT=&quot]็จ[/FONT]แล้วปู่จะสามารถฟื้นคืนชีพได้ หรือจำไม่ได้ว่าคนที่พบนั้นคือปู่ของตนเอง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เราอาจมีข้อสงสัยต่อข้อโต้แย้งของสมิธได้ว่า 1) นักเดินทางข้ามเวลาทุกคนที่ต้องการก่อให้เกิดผลที่เป็นปฏิทรรศน์ ต้องมีความเชื่อที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เช่นนั้นจริงหรือ 2) แม้จะยอมรับว่าต้องมีการนำบางสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เข้ามาก่อนเพื่อที่จะนำไปสู่ผลที่เป็นความบังเอิญที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่จำเป็นหรือไม่ที่ความไม่น่าจะเป็นไปได้ในส่วนแรกต้องมีปริมาณมากเท่ากับความไม่น่าจะเป็นไปได้ในส่วนหลัง (Richmond, 2003: 301[/FONT][FONT=&quot])[/FONT]

    3.2 ปฏิทรรศน์ความรู้

    ปฏิทรรศน์ของการเดินทางข้ามเวลาในรูปแบบที่สอง ซึ่งบางคนอาจเรียกชื่อตามตัวอย่างที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาว่า “ปฏิทรรศน์ความรู้” (knowledge paradox) เป็นสถานการณ์ที่การเดินทางข้ามเวลาก่อให้เกิดมีบางสิ่งขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุ หรือไม่อาจอธิบายที่มาได้ ตัวอย่างเช่น หากการเดินทางข้ามเวลาเป็นไปได้ นักเดินทางข้ามเวลาจะสามารถกลับไปในอดีตและให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการสร้างยานเวลา (time machine) กับตัวเองในอดีต ในกรณีเช่นนี้ ความรู้ดังกล่าวไม่ได้มาจากนักเดินทางข้ามเวลา เพราะเขาเพียงแต่จดจำความรู้นั้นจากอดีตที่ผ่านมา และตัวเขาในอดีตก็ได้ความรู้นั้นมาจากการพูดคุยกับนักเดินทางข้ามเวลาซึ่งเป็นตัวเขาเองในอนาคต เราจึงไม่อาจอธิบายได้ว่าความรู้ที่ว่านี้มีต้นกำเนิดมาได้อย่างไร หรือใครเป็นคนแรกที่ได้คิดขึ้น เพราะหากไม่มีผู้คิดค้นขึ้นมา ก็ไม่น่าจะเกิดการเดินทางข้ามเวลาได้ตั้งแต่ต้น

    นอกจากนี้ รูปแบบของปฏิทรรศน์ความรู้ ยังครอบคลุมถึงกรณีของสถานการณ์ที่การเดินทางข้ามเวลาก่อให้เกิดบางสิ่งขึ้น มาในลักษณะที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากสิ่งอื่นนอกเหนือจากตัวมันเอง เช่น การที่นักเดินทางข้ามเวลาได้พบยานเวลาโดยบังเอิญ และใช้ยานเวลานั้นในเวลาต่อมาเพื่อย้อนกลับเอาไปทิ้งไว้ให้ตัวเองในอดีต ซึ่งนั่นทำให้ยานเวลาดังกล่าวไม่ได้ถูกสร้างขึ้น ณ ช่วงเวลาใดๆ เลย การเกิดมีขึ้นของยานเวลาเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับตัวมันเองอย่างสิ้นเชิง ในเรื่องสั้น All You Zombie ของโรเบิร์ต ไฮน์ไลน์ (Robert Heinlein) ได้เขียนถึงกรณีที่คล้ายกันนี้ หากแต่เปลี่ยนจากวัตถุกายภาพเป็นมนุษย์แทน โดยตัวเอกของเรื่องได้เดินทางย้อนเวลากลับไปกลับมาระหว่างอดีตกับปัจจุบัน จนในท้ายที่สุดค้นพบว่าตนเองเป็นทั้งพ่อและแม่ผู้ให้กำเนิดตนเองตั้งแต่ต้น (โปรดดู Harrison, 1979; Levin, 1980 และ Godfrey-Smith, 1980)

    เราอาจกล่าวโดยรวมได้ว่า ปฏิทรรศน์ความรู้ในการเดินทางข้ามเวลาเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการวนกลับมาเป็นสาเหตุของตัวเอง (causal loop) โดยไม่อาจอธิบายที่มาที่ไปหรือจุดเริ่มต้นได้ แม้ว่าจากตัวอย่างต่างๆ ข้างต้นจะนำมาซึ่งผลที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่นั่นก็ไม่ได้แสดงถึงความเป็นไปไม่ได้ทางตรรกะของการเดินทางข้ามเวลา เพราะไม่มีกรณีใดเลยที่เป็นความขัดแย้งในตัวเอง ลูอิสเองก็เห็นว่าการวนกลับเชิงสาเหตุดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่แปลก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ เพราะความแปลกที่ว่านี้ก็ไม่ได้มีความแตกต่างไปมากนักจากสิ่งซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ที่เราคุ้นเคยกัน เช่น พระเจ้า บิ๊กแบง การมีอดีตที่ไม่สิ้นสุดของจักรวาล ที่ล้วนเป็นสิ่งซึ่งไม่มีสาเหตุและไม่อาจอธิบายได้ หากเรายอมรับว่าสิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ การวนกลับเชิงสาเหตุที่อธิบายไม่ได้ของการเดินทางข้ามเวลาก็คงเป็นสิ่งซึ่งไม่ยากเกินไปที่จะยอมรับได้เช่นกัน (Lewis, 1976: 149)

    ข้อโต้แย้ง ณ จุดนี้ อาจพิจารณาจากความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์เรื่องการเป็นสาเหตุ (causation) ดังที่เมลเลอร์ (Mellor, 1998) เห็นว่าการเดินทางข้ามเวลาเกี่ยวพันกับเรื่องการเป็นสาเหตุแบบย้อนกลับ (backward causation) ซึ่งทำให้เกิดการวนกลับเชิงสาเหตุอย่างจำเป็น ข้อเสนอที่สำคัญของเมลเลอร์คือ สาเหตุ (cause) คือเหตุการณ์ที่เพิ่มความน่าจะเป็นของการเกิดผล (effect) แต่ในการวนกลับเชิงสาเหตุนั้น ทุกเหตุการณ์จะกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุของตัวมันเอง และเนื่องจากผล (effect) ไม่อาจเพิ่มความน่าจะเป็นให้กับการเกิดขึ้นของสาเหตุได้ เหตุการณ์ใดๆ ในการการวนกลับเชิงสาเหตุจึงไม่อาจเพิ่มความน่าจะเป็นให้กับการเกิดขึ้นของเหตุการณ์นั้นๆ (ซึ่งเป็นสาเหตุของตัวมันเอง) ได้ การวนกลับเชิงสาเหตุจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ การเดินทางข้ามเวลาจึงเป็นไปไม่ได้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเป็นสาเหตุยังเป็นมโนทัศน์ที่ถกเถียงกันอยู่ในทางปรัชญา และคงไม่อาจหาข้อสรุปได้โดยง่าย การใช้แนววิเคราะห์การเป็นสาเหตุในแบบข้างต้นเพื่อปฏิเสธความเป็นไปได้ของการเดินทางข้ามเวลาจึงไม่อาจถือเป็นข้อยุติได้เช่นกัน



    4. การเดินทางข้ามเวลากับแนวคิดจักรวาลคู่ขนาน

    นอกจากแนวทางการแก้ปัญหาปฏิทรรศน์ที่ได้อภิปรายไปข้างต้นแล้ว ยังมีข้อเสนอถึงทางออกของปฏิทรรศน์ด้วยการตีความมโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลาในความหมายใหม่ ในบทความ “The Quantum Physics of Time Travel” ด๊อยทช์และล็อควูด (Deutsch and Lockwood, 1994) ได้เสนอรูปแบบของการเดินทางข้ามเวลาบนพื้นฐานของการมีจักรวาลที่เป็นไปได้อื่นๆ โดยอาศัยการตีความหลายจักรวาลของกลศาสตร์ควอนตัม (many-universe interpretation of quantum mechanics) ที่เสนอขึ้นโดย Hugh Everett III ในปี ค.ศ.1957 เพื่อเป็นทางออกของปฏิทรรศน์ต่างๆ ของการเดินทางข้ามเวลา ตามความคิดนี้ นักเดินทางข้ามเวลาไม่ได้เดินทางกลับไปสู่อดีตของโลกที่ผ่านมาในจักรวาลของเขา แต่เป็นโลกในจักรวาลอื่นที่เป็นไปได้ ซึ่งมีอยู่คู่ขนานกันไปกับจักรวาลของนักเดินทาง ดังนั้น หากนักเดินทางข้ามเวลาพยายามฆ่าปู่ของตัวเอง (หรือถ้าจะให้ถูกแล้ว ควรบอกว่าเป็นปู่ของคนที่จะได้เติบโตขึ้นมาเป็นเหมือนเขาในจักรวาลนั้น หากว่าปู่คนนั้นไม่ได้ถูกฆ่าเสียก่อน) เขาย่อมจะสามารถทำได้โดยไม่เกิดความขัดแย้งในตัวเอง เพราะหากว่านักเดินทางทำได้สำเร็จ นั่นก็เพียงแต่ทำให้จักรวาลนั้นจะไม่มีคนที่เหมือนเขาเกิดขึ้นมาได้เท่านั้น ในกรณีของปฏิทรรศน์ความรู้ นักเดินทางข้ามเวลาก็เพียงแต่ทำให้เกิดมีสิ่งของหรือความรู้ใหม่ที่ไม่ สามารถอธิบายความมีอยู่ของสิ่งนั้นได้จากจักรวาลที่เขาเดินทางไปถึงเท่านั้น แต่การสร้างสรรค์ก็ยังคงมีอยู่จริงและสามารถอธิบายได้จากจักรวาลที่นักเดิน ทางได้เดินทางจากมา

    แต่ปัญหาหนึ่งของข้อเสนอนี้คือหากนักเดินทางข้ามเวลายังคงสามารถเดินทางกลับไปกลับมาระหว่างจักรวาลต่างๆ และไปยังช่วงเวลาต่างๆ ในแต่ละจักรวาลนั้นๆ ได้ ปัญหาในรูปแบบปฏิทรรศน์คุณปู่และปฏิทรรศน์ความรู้ ก็จะยังคงมีอยู่เช่นเดิม ตัวอย่างเช่น นักเดินทางข้ามเวลาเดินทางจากจักรวาล A ไปยังปี ค.ศ. 1900 ของจักรวาล B เพื่อไปฆ่าปู่ของบุคคลที่จะเกิดขึ้นมาเป็นตัวเขาในจักรวาลนั้น แต่นักเดินทางข้ามเวลาเคยเดินทางไปยังช่วงเวลาหลังจาก ค.ศ.1900 ของจักรวาล B มาแล้วและรู้ว่าตัวเขาในจักรวาล B นั้นมีชีวิตอยู่ ซึ่งนี่ก็จะย้อนกลับไปที่ปัญหาที่เริ่มถกเถียงมาจากข้อเสนอของลูอิสอีกครั้ง ในแง่นี้ การที่เราจะใช้แนวคิดการมีจักรวาลคู่ขนาน เพื่อแก้ (หรือเลี่ยงปัญหา) ปฏิทรรศน์ต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์นั้น เราอาจต้องยอมรับว่าการเดินทางข้ามเวลาตามแนวคิดนี้ได้สร้างจักรวาล คู่ขนานขึ้นมาใหม่เสมอ และจึงมีจักรวาลต่างๆ มากมายพอๆ กับที่การเดินทางข้ามเวลาได้เกิดขึ้น และนักเดินทางข้ามเวลาไม่อาจย้อนกลับไปที่จักรวาลเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้าได้ อันทำให้ไม่สามารถก่อผลที่เป็นปฏิทรรศน์ใดๆ ได้ แต่การเดินทางข้ามจักรวาลเช่นนี้ดูจะไม่ใช่การเดินทางข้ามเวลาในความหมายที่ เราเข้าใจหรือต้องการให้เป็น เนื่องจากจุดหมายปลายทางที่ไปถึงไม่ใช่ช่วงเวลาที่เป็นอนาคตหรืออดีตที่มี ความต่อเนื่องในเชิงสาเหตุกับช่วงเวลาปัจจุบันที่เป็นจุดเริ่มต้นของการออก เดินทาง (โปรดดู Abbruzzese, 2001)

    อย่างไรก็ตาม ด๊อยทช์และล็อควูด เห็นว่าประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับการให้คำนิยามที่แน่นอนของการเดินทางข้ามเวลาอาจไม่มีนัยสำคัญมากนัก เนื่องจากสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นลำดับแรกน่าจะอยู่ที่ตัวความจริงของข้อเสนอที่มาจากทฤษฎีมากกว่า เพราะหากว่าภาพของจักรวาลที่หลากหลายเป็นสิ่งเกิดขึ้นตรงกับความเป็นจริงแล้ว นั่นย่อมแสดงว่าข้อโต้แย้งที่ผ่านมาของเรื่องการเดินทางข้ามเวลาล้วนวางอยู่บนรูปแบบของความเป็นจริงทางกายภาพที่ไม่ถูกต้อง (Deutsch and Lockwood, 1994: 56) กล่าวคือ หากรูปแบบการเดินทางข้ามเวลาบนฐานของการมีจักรวาลคู่ขนานที่อาศัยการตีความของกลศาสตร์ควอนตัม สามารถพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องตรงกับความเป็นจริง (reality) ของโลกกายภาพที่เป็นอยู่ นั่นก็จะนำสู่เป็นประเด็นทางความหมาย (semantic issue) คือ เราต้องตัดสินใจว่าเราจะให้นิยามกับคำว่า “จักรวาล” “เวลา” “การเป็นสาเหตุ” “การเดินทางข้ามเวลา” ฯลฯ เปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่อย่างไร
    พรเทพ สหชัยรุ่งเรือง (ผู้เรียบเรียง)
    เอกสารอ้างอิง
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="top" width="42">
    ·
    </td> <td> Abbruzzese, John. 2001. On Using the Multiverse to Avoid the Paradoxes of Time Travel. Analysis 61: 36-38.</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="42">
    ·
    </td> <td> Davies, Paul. 2001. How to Build a Time Machine. London: Allen Lane, The Penguin Press.</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="42">
    ·
    </td> <td> Deutsch, David and Michael Lockwood. 1994. The Quantum Physics of Time Travel. Scientific American 270: 50-56. </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="42">
    ·
    </td> <td> Gödel, Kurt. 1949. A Remark about the Relationship between Relativity Theory and Idealistic Philosophy. In Paul Arthur Schilpp, ed. Albert Einstein: Philosopher-Scientist, pp. 557-562. La Salle, IL: Open Court.</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="42">
    ·
    </td> <td> Godfrey-Smith, William. 1980. Travelling in Time. Analysis40: 72-73.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> Gott, J. Richard. 2002. Time Travel in Einstein’s Universe: The Physical Possibilities of Travel Through Time. London: Phoenix.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> Harrison, Jonathan. 1979. Analysis ‘Problem’ No. 18. Analysis39: 65-66.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> ----------. 1995. Dr Who and the Philosophers, or Time Travel for Beginners. In Essays on Metaphysics and the Theory of Knowledge: Volume I, pp. 342-365. Alershot: Averbury.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> Horwich, Paul. 1975. On Some Alleged Paradoxes of Time Travel. The Journal of Philosophy 72: 432-444.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> ---------. 1987. Asymmetries in Time. Cambridge, MA: The M.I.T. Press.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> ---------. 1995. Closed Causal Chains. In Steven F. Savitt, ed. Time’s Arrows Today: Recent Physical and Philosophical Work on the Direction of Time, pp. 259-267. Cambridge: Cambridge University Press.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> ---------. 1998. Time Travel. Routledge Encyclopedia of Philosophy 9: 417-419.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> Hospers, John. 1988. An introduction to Philosophical Analysis. Third edition. Englewood, New Jersey: Prentice Hall.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> Levin, Margarita R. 1980. Swords’ Points. Analysis 40: 69-70.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> Lewis, David. 1976. The Paradoxes of Time Travel. American Philosophical Quarterly 13: 145-152.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> Mellor, D. H. 1998. Real Time II. London: Routledge.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> Richmond, Alasdair. 2003. Recent Work on Time Travel. Philosophical Books 44: 297-309.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> Smith, Nicholas J. J. 1997. Bananas Enough for Time Travel. British Journal for Philosophy of Science 48: 363-389.</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42"> ·</td> <td> Smith, Quentin and L. Nathan Oaklander. 1995. An Introduction to Metaphysics. London: Routledge.</td> </tr> </tbody></table>

    เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="42">
    ·
    </td> <td align="left"> Arntzenius, Frank and Tim Maudlin. 2005. Time Travel and Modern Physics. In Edward N. Zalta (ed.). The Stanford Encyclopedia of Philosophy. URL=<Time Travel and Modern Physics (Stanford Encyclopedia of Philosophy/Summer 2005 Edition)>. (พิจารณาข้อจำกัด (constraint) ในการเดินทางข้ามเวลาที่จำเป็นต้องมีเพื่อป้องกันการเกิดขึ้นของปฏิทรรศน์จากแง่มุมของฟิสิกส์สมัยใหม่)</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42">
    ·
    </td> <td align="left"> Earman, John. 1995. Recent Work on Time Travel. In Steven F. Savitt, ed. Time’s Arrows Today: Recent Physical and Philosophical Work on the Direction of Time, pp. 268-310. Cambridge: Cambridge University Press. (อภิปรายข้อถกเถียงต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางฟิสิกส์ของการเดินทางข้ามเวลา)</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42">
    ·
    </td> <td align="left"> Gödel, Kurt. 1949. An Example of n New Type of Cosmological Solution to Einstein’s Field Equations of Gravitation. Reviews of Modern Physics 21: 447-450. (เสนอการแก้สมการ field equation ของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ที่แสดงถึงกาลอวกาศที่มี closed time-like curve สำหรับการเดินทางข้ามเวลา) </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42">
    ·
    </td> <td align="left"> Hawking, Stephen. 1992. Chronology Protection Conjecture. Physical Review D 46: 603-611. (เสนอว่ากฎทางฟิสิกส์จะป้องกันการเกิดขึ้นของ closed time-like curve)</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="42">
    ·
    </td> <td align="left"> Nahin, Paul J. 1999. Time Machines: Time Travel in Physics, Metaphysics, and Science Fiction. Second edition. New York: Springer-Verlag. (รวบรวมข้อถกเถียงและเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการเดินทางข้ามเวลา ทั้งจากงานทางปรัชญา วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ รวมถึงจากนิยายวิทยาศาสตร์ ไว้อย่างครบถ้วน)</td> </tr> </tbody></table>

    คำที่เกี่ยวข้อง
    [FONT=&quot] ความเป็นสาเหตุ
    [/FONT] [FONT=&quot] Causality[/FONT]​

    </td></tr></tbody></table>
     
  20. tawansongsaeng

    tawansongsaeng เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +423
    อ่านทฤษฏีจบซึ่งยาวและซับซ้อน
    พอสรุปได้ว่า โอกาสที่จะกลับไปในอดีตแล้วไปเปลี่้ยนแปลงอดีต
    คงเป็นไปไม่ได้ เพราะแค่หาอะไรที่เร็วกว่าแสงยังทำไม่ได้แล้วเรา
    จะไปเปลี่ยนอดีตจึงยิ่งเป็นไปไม่ได้
    และตรรกะที่ว่าถ้าเราเปลี่ยนอดีต ปัจจุบันก็จะถูกทำให้เปลี่ยนไปด้วย
    ซึ่งมันขัดกับตรรกะที่เป็นจริง ดังนั้นทฤษฎีเดินทางข้ามเวลาอย่างมาก
    ก็แค่ได้ไปดูอดีตเท่านั้น ไปเปลี่ยนอดีตไม่ได้

    กฎของกรรมจึงยังคงอยู่ คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงเป็นสัจจะธรรมไม่ใช่
    แค่ทฤษฏีที่สมมุติตั้งขึ้นมาเท่านั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...