ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    77619AA7-951D-47A1-A9C9-5B690263F92A.jpeg

    ฉันจะให้ข้อคิดเตือนใจ ไม่ว่าโยมจะมีของดีอะไร..ไม่ต้องนำมาถวายอะไรหรอกจ้ะ โยมเอากายเอาจิตที่เลื่อมใสในพระศาสนาถวายเป็นพุทธบูชา คือน้อมกายมาประพฤติปฏิบัติ นั่นแหล่ะจ้ะคือของที่ควรกระทำ เป็นของที่สูงค่ามีค่าที่สุดในชีวิตโยม เพราะกายสังขารนี้ถ้าโยมน้อมเข้ามาทำความดี นั่นแหล่ะคือมงคลที่สูงสุด เป็นของดีที่สูงสุดแล้ว เพราะว่าเรานั้นไม่มีใครที่จะส่งเราให้พ้นทุกข์ได้ ลูกหลานเราก็ส่งได้แค่ชั่วคราว

    แต่ร่างกายสังขารเป็นของมีค่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ควรน้อมกายสังขารเรานี้ถวายพระพุทธองค์ท่าน แล้วประพฤติปฏิบัติบูชา อย่างนี้แลเรียกว่าเราได้ส่งตัวเราเองให้ข้ามฝั่ง อย่างนี้จะเป็นหลักประกันได้ อย่าให้ใครมาเที่ยวส่งเรา เที่ยวกรวดน้ำให้เรา เข้าใจมั้ยจ๊ะ อย่าไปเชื่อคำว่าคนนั้นคนนี้จะทำบุญกรวดน้ำไปให้เรา ในโลกนี้ไม่มีอะไรเลยที่เชื่อได้ แม้กระทั่งตัวเราเองยังเชื่อไม่ได้เลย แล้วโยมจะไปเชื่อใคร..

    เพราะในตัวของเราในใจของเรานั้น มันก็ยังมีมารอยู่ อย่างนั้นแล้วไม่ควรเชื่ออะไรเลย สิ่งที่จะเชื่อได้เมื่อเรานั้นได้เข้าถึงหลักเป็นที่พึ่งเป็นสรณะ นั่นแหล่ะของที่เชื่อได้..คือพระรัตนตรัย นอกจากนั้นเชื่อไม่ได้เลย จำไว้นะจ๊ะ ถ้าใครเชื่อนอกเหนือจากพระรัตนตรัยแล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป ย่อมต้องวนเวียนตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้นของสังสารวัฏแห่งทุกข์นี้

    นั้นก็อยากให้โยมมีโอกาสไม่ว่าจะอยู่บ้านอยู่เรือนก็ดี ถ้าไม่ได้ไปวัดไปวา มีหิ้งพระหิ้งหอก็ชำระร่างกายให้สะอาด อาราธนาศีลอาราธนาธรรม สวดมนต์ภาวนาจิตถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ทำจิตให้เรานั้นสงบ วางจิตเรานั้นให้สบาย คลายจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจจากเวรอาฆาตพยาบาท คือไม่ส่งจิตออกไปภายนอก เมื่อเราทำอย่างนี้ได้อยู่บ่อยๆ นี่เค้าเรียกว่าน้อมกาย วาจา ใจ จิตวิญญาณของเราที่มีอยู่ที่บิดามารดาเค้าได้ให้มรดกไว้ เพื่อเป็นการตอบแทนบรรพชนก็ดี

    ในการเจริญศีล ทาน ภาวนา อย่างนี้เรียกว่าประพฤติปฏิบัติบูชา เมื่อโยมได้ทำอย่างนี้อยู่บ่อยๆ โยมก็จะได้แก้ว ๓ ประการ ใครประพฤติปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนาอยู่บ่อยๆ อันว่าแก้ว ๓ ประการก็คือแก้วสารพัดนึก แก้วสารพัดนึกเป็นอย่างไร เมื่อโยมนึกอะไรที่เป็นกุศลก็ดี..โยมก็จะได้ในความปรารถนานั้น แต่ถ้าเรายังไม่ถึงในความดี การจะระลึกถึงในความดี หรือจะให้ความดีนั้นมันสนองคุณกับเรา..มันก็ยังไม่ถึงได้ นั้นเราต้องถึงในพระรัตนตรัย ถึงในความเชื่อความศรัทธาเสียก่อน อันว่าปาฏิหาริย์มันถึงจะบังเกิดได้

    นั้นมนุษย์นั้นที่จะเอาไปได้ก็มีแต่บุญกับบาป..ที่มันจะสนองให้ผลติดตาม ไม่ว่าโยมจะอยู่ในสัมปรายภพใดก็ตาม ดังนั้นแล้วถ้าโยมมีบาปมากกว่าบุญ มันก็เหมือนในทางโลกถ้าบุญโยมน้อย..อุปสรรคในทางโลกมันก็มาก เมื่อโยมตายไปก็เช่นกัน เมื่อบาปโยมมาก..สิ่งที่โยมจะไปเสวยที่ดวงจิตสุดท้ายก็จะไปอยู่ทุคติภูมิมีความลำบาก ขนาดมีกายแล้วยังลำบากขนาดนี้ แล้วถ้าโยมตายไปกับบาปอกุศลเล่าจะไม่ลำบากยิ่งกว่านี้เหรอจ๊ะ

    ในขณะตอนที่เราเป็นคนถ้าเราจะเลือกจะทำความดี หรือไม่ทำความดี..เราก็ยังสามารถเลือกได้ แต่ที่เราไม่เอาดีเพราะอะไร เรานั้นมันขี้เกียจเกียจคร้าน ขาดความเชื่อความศรัทธา เรียกว่ายังประมาทในชีวิตอยู่ คิดว่าความดีนั้น วัดวาอารามนั้น การสวดมนต์นั้นไม่ใช่หน้าที่ ไม่ใช่เวลา ไม่ใช่วาระ..ยังไม่ถึงเวลาของเรา มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา มันเป็นหน้าที่ของคนวัยชราใกล้จะตาย ที่จะเข้าวัดเข้าวาฟังธรรม

    แท้ที่จริงแล้วหาใช่เป็นอย่างนั้นไม่ มนุษย์นั้นโอกาสที่จะทำความดีนั้นมันมีน้อย โอกาสที่จะทำความชั่วมันมีมาก ดังนั้นขณะใดก็ตามที่เรามีโอกาสสร้างความดี เราควรไขว่คว้าไว้เพื่อเจริญเพื่อจะเป็นกำลังต่อต้านให้ความชั่วนั้นมันเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าเราไม่มีภูมิต้านทานเลยในบุญกุศลในความดี มันย่อมเปิดทางเปิดช่องให้มารและสิ่งชั่วร้ายมันบังคับบีฑาเรา ดังนั้นเมื่อโยมมีโอกาสควรเจริญความดีให้มาก

    ความดีเมื่อเจริญแล้วจะเป็นอย่างไรในภายภาคหน้า เมื่อโยมประสบอุปสรรค หรือปัญหา หรือความทุกข์ ความดีที่โยมทำไว้และบุญกุศลนั้นแลจะเป็นตัวรองรับ จะเป็นที่พึ่งพาช่วยเหลือโยมได้ ไม่มีอะไรเลยหรือใครเลยที่จะมาช่วยโยมได้ ถ้าโยมไม่ได้สร้างบุญกุศลไว้

    ดังนั้นจึงเป็นของธรรมดา ถ้าโยมสร้างบุญไว้มาก หากมันจะมีอุปสรรคเภทภัยอะไรก็ตาม ก็เรียกว่าหนักมันก็จะเป็นเบาได้ นั้นทุกลมหายใจทุกขณะจิตที่โยมระลึกได้ โยมสามารถสร้างความดีได้ตลอดเวลา แม้กระทั่งก่อนนอน ก่อนตื่นนอน หรือแม้นอนลงไปก็ตาม จิตที่เราสร้างความดีไว้ ในขณะที่เรานั้นขาดจากสติไป..ความดีนั้นแลก็ยังเป็นที่พึ่งอาศัยคอยตามรักษาจิตได้ นั่นคือ"การเจริญสติ"

    สติเมื่อเราเจริญแล้ว..สติตัวนั้นแลจะเป็นตัวทำหน้าที่เป็นตัวรักษา ก็นั่นแลเมื่อเราน้อมนำสติไปเจริญรักษาศีล แม้ขณะที่เราหลับไป..ศีลก็ยังทำหน้าที่รักษากายสังขารเรา เฉกเช่นว่าบุคคลใดที่เจริญศีล ย่อมมีเทพเทวดาพรหมทั้งหลายมารักษากายสังขารและดวงจิต นั้นบุคคลใดก็ดีที่เจริญรักษาศีล แม้จะหลับลงไปก็จะมักไม่ค่อยฝันร้าย

    ดังนั้นเค้าจึงบอกว่าการเจริญสตินั้น..มีความสำคัญมาก ไม่ได้บอกว่าฉันไม่มีเวลาที่จะไปวัด ฉันไม่มีเวลาที่จะฟังธรรม ฉันไม่มีเวลาจะสร้างความดี อย่างนี้มารนั้นเค้าได้บังตาโยมแล้ว แล้วแบบนั้นบุคคลประเภทนี้ หมายถึงว่ากำลังกินบุญเก่าอยู่ คำว่าบุญเก่า..กำลังกินของเน่า ของเสีย ของบูดอยู่ ไม่ได้กินของใหม่ ดังนั้นของที่โยมกินอยู่ อาหารเก่าถ้าเราไม่สร้างขึ้นมาใหม่มันก็สามารถหมดได้

    ดังนั้นบุคคลที่มีปัญญามีบุญวาสนาบารมีเก่า ย่อมจะสร้างของใหม่ขึ้นมา ด้วยเห็นว่าของที่เรามีอยู่นั้นอาจจะหมดเมื่อไหร่ก็ได้ อย่างนี้เค้าเรียกว่าผู้นั้นเป็นผู้ไม่ประมาทในบุญกุศล ไม่ประมาทในคุณงามความดี บุคคลนี้เค้าเรียกว่ามีปัญญา นั้นอยากให้โยมได้สร้างบุญกุศลขึ้นมาให้มากๆ เพราะเราไม่รู้ว่าบุญวาสนาเราจะหมดไปเมื่อไหร่ เราจะตายไปเมื่อไหร่

    ความตายแท้จริงแล้วก็ไม่ใช่สิ่งน่ากลัวอะไร ถ้าเราพร้อมที่จะตายได้ แต่คราใดบุคคลใดที่ยังไม่พร้อมที่จะตาย มันจึงเป็นสิ่งที่น่ากลัว อะไรที่เรายอมรับได้ ที่เราพร้อมแล้วเตรียมตัวแล้ว เราก็จะไม่หวั่นไหวกับสิ่งนั้น ถ้าโยมคิดว่าในภพสัมปรายภพนั้นที่โยมจะไป โยมได้เตรียมตัวไว้พอสมควรแล้ว อาหารการกินก็คือเสบียงบุญ บุญกุศลที่จะหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณโยมเมื่อโยมไม่มีกายสังขารแล้ว หลักที่พึ่งพาหรือเครื่องรางของขลังที่จะเอาไปได้..ก็คือพระรัตนตรัยที่จะคล้องจิตวิญญาณโยมไป

    ดังนั้นแม้มนต์บทหนึ่งบทใดที่โยมระลึกได้สวดได้ แม้พระกรรมฐานที่โยมได้เคยเจริญได้เคยกระทำแล้วก็จะตามติดโยมไปได้ เมื่อโยมเข้าถึงมีความเชื่อในพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ สิ่งเหล่านี้แลที่จะตามติดจิตวิญญาณโยมไป จะช่วยคอยปกป้องดวงจิตวิญญาณโยมให้พ้นจากอบายภูมิ พ้นจากสัตว์นรก เปรตวิสัยทั้งหลาย เหล่านี้ก็ควรสะสมให้เกิดขึ้น เมื่อโยมสะสมมีต้นทุนแล้ว ไม่ว่าโยมจะอยู่บ้านอยู่เรือน หรือในขณะที่โยมอยู่ในกาย วาจา ใจ หรือว่ามีกายทำอะไรอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ก็สามารถประพฤติปฏิบัติได้ ไม่ใช่ว่าต้องรอเวลาให้กรรมฐานก่อน

    นั้นอารมณ์เหล่าใดก็ตามที่เรานั้นยังละวางไม่ได้ของอกุศลมูลทั้งหลาย เพราะเหตุว่าเป็นอำนาจแห่งกรรมทั้งนั้น ที่เรานั้นยังยึดยังพอใจอยู่ เมื่อเรายังมีความยึดยังพอใจในสิ่งใด บุคคลผู้นั้นจะหาความว่าเป็นสุขที่แท้จริงก็บังเกิดไม่ได้เลย ดังนั้นไอ้ความรักความพอใจที่เราไปยึดอยู่ เค้าก็เรียกว่า"ความหลง" ความหลงที่มันจะขจัดได้ เบาบางได้ มันก็ต้อง"เจริญปัญญา" คนที่จะเจริญปัญญาได้ผู้นั้นแลมันก็ต้องเกิดจากทุกข์ก่อน ถ้ายังสุขอยู่มันจะเอาปัญญาที่ไหนจะไปพิจารณาให้เห็นชอบ

    เพราะฉะนั้นผู้ใดที่จะเห็นธรรม..ผู้นั้นต้องเห็นทุกข์เสียก่อน เพราะเมื่อเห็นทุกข์เกิดขึ้น สติมันก็จะบังเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของจิต ก็เหมือนเรานั่งสมาธิอยู่มีความง่วงเข้ามาเกี่ยวข้อง อากาศเย็นสบายก็ดี แต่ไม่นานนักเวทนาในกายมันเกิดขึ้น ณ ที่ใดก็ตาม สติเราจะตื่นรู้ขึ้นมาอยู่ในขณะในเวทนานั้น นี่แลมันจะทำให้เราทุกข์ เมื่อเราทุกข์เราจะเกิดความขัดข้องใจ แล้วจะทำอย่างไรให้พ้นจากเวทนานั้นได้

    ความเป็นจริงของเวทนาของกายนั้น เมื่อเป็นทุกข์แล้ว..มนุษย์ทั้งหลายย่อมดิ้นรนที่จะแสวงหาออกจากการเป็นทุกข์นั้น เหมือนเรามีความหิวเราก็ไปบริโภคอาหาร เวทนานั้นก็ดับลงไปไม่เกิดขึ้นอีก ประทังความหิวอย่างนี้ แต่ถามว่าความหิวนี้ต้องเกิดขึ้นอยู่ตลอดหรือไม่..มันก็เกิดขึ้นอยู่ตลอด ถ้าวันใดวันหนึ่งอาหารและยาของเราไม่มีบริโภคจะทำอย่างไร นี่แลก็เหมือนกัน

    ถ้าเราไม่เจริญสะสมบุญกุศลไว้ บุญกุศลเราหมดเมื่อไหร่เราก็จะขาดแคลนเสบียงอาหาร ทีนี้เมื่อเราหิวเราจะไปเอาที่ไหนกินได้ เพราะต่างคนก็ต่างมีทุกข์มีเวรมีภัยกัน เพราะต่างคนก็ต่างต้องเอาตัวรอด แล้วจะทำอย่างไร เราต้องเป็นที่พึ่งของตัวเราเอง สะสมบารมีหาทางออกจากทุกข์ให้ได้ แล้วอย่าเพิ่มกรรมขึ้นมา อย่าเที่ยวไปสร้างเวรสร้างพยาบาท นี่เค้าเรียกว่ามันจะทำให้เราติดกรรม ถ้าเมื่อเราติดกรรมแล้ว กรรมเราก็มีมากอยู่แล้ว เรายังไปเอากรรมคนอื่นเอาความทุกข์คนอื่น ยังไปพยาบาทคนอื่น นี่ที่เรียกว่าเราไปเอากรรมคนอื่นเค้ามา

    ดังนั้นการที่เรานั้นจะสลัดทำให้กรรมเรานั้นเบาบางลงทำอย่างไร เราต้องละจากความพอใจ ละจากความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ที่เป็นอกุศล เพราะด้วยอำนาจแห่งไฟ ๓ กอง คือไฟโทสะ โมหะ โลภะ เหล่านี้ให้พิจารณา ที่มันทำให้จิตเราดิ้นรนแสวงหา หรือทำให้เราเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป ถ้าเราเป็นสุขแท้จริงแล้วบุคคลผู้นั้นจะไม่ดิ้นรนแสวงหา นั่นเค้าเรียกมีความพอแล้ว แต่ถ้าเรายังดิ้นรนแสวงหาอยู่ แสดงว่ากิเลสตัณหานั้นมันยังไม่อิ่มมันยังไม่เต็มมันยังไม่พอ เมื่อไม่พอแล้วมันก็ยังพร่องอยู่ เมื่อมันพร่องอยู่แล้วอย่างนี้ ก็ต้องดิ้นรนแสวงหานำเอามาเสริมให้มันเต็ม

    แต่ความเป็นจริงกิเลสตัณหาทั้งหลายไม่สามารถเติมให้มันเต็มได้ เพราะว่ายิ่งเสพก็ยิ่งติด มีทางเดียวที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ตรัส กิเลสตัณหาทั้งหลายนี้ที่ทำให้มันก่อภพก่อชาติมาเนิ่นนานแต่เพียงใดอย่างนี้ เค้าบอกให้เรานั้นต้องตัดละที่ใจ เพราะใจเป็นประธานแห่งกรรมทั้งหลาย ใจมันเป็นใหญ่ ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน อกุศลมูลก็ดีก็มีใจถึงก่อน อย่างนี้ให้กำหนดรู้ว่าเราไปยึดไปมีความพอใจอะไร เมื่อเรารู้โทษว่าสิ่งนั้นมันให้สุขให้คุณเราจริงหรือไม่ ก็ให้พิจารณาไป อย่างนี้แล้วถ้าเราเห็นโทษแล้วในภัย เราก็สามารถจะคลายในอารมณ์ที่เราไปยึดไปพอใจได้

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    FF92820C-FEF8-4D6E-8843-4DB5E8BE491A.jpeg

    อารมณ์เหล่าใดเราก็ไม่ควรยึด เมื่อยึดแล้วมันก็เป็นของภาวะที่ไม่เที่ยง เค้าให้เรากำหนดรู้ในปัจจุบัน อย่าไปทำความอาลัยอาวรณ์กับอารมณ์ที่มันพลาดไปแล้ว ให้รู้แต่ในปัจจุบันว่าอารมณ์ทั้งหลายที่มันเกิดขึ้นมา..ตั้งอยู่..และดับไปแล้ว หากมันเกิดขึ้นมาอีก..ตั้งอยู่อีก เราก็กำหนดรู้ในขณะนั้น ถ้ามันดับไปแล้วก็รู้ว่ามันดับไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้ามันดับไปอย่างไรนั่นแล..นั่นเรียกว่าปัญญามันจะบังเกิด วิปัสสนาญาณมันก็บังเกิด อารมณ์เหล่าใดเหล่านั้นแลเมื่อเราดับด้วยปัญญา..มันจะไม่เกิดขึ้นมาอีก แต่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่เป็นอกุศลแต่ไม่ได้ดับด้วยปัญญา หรือดับด้วยการเอาฌานไปข่มไว้..เมื่อมันได้เชื้อมันก็จะเกิดขึ้นอีก

    ดังนั้นแลจงภาวนาและพิจารณาด้วยปัญญาอยู่บ่อยๆ คือเพียรละอยู่บ่อยๆ เมื่อเพียรละอยู่บ่อยๆแล้ว ทำวันละเล็กวันละน้อย แม้มันจะมีมาก..ถ้าเราละมันทุกวันบ่อยๆ ถามว่ามันจะลดมั้ยจ๊ะ เหมือนการสะสมบารมีโยม แม้โยมจะทำได้เล็กน้อย วันนี้ทำได้ไม่มาก แต่โยมทำอยู่บ่อยๆมันมากมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : มาก) นั่นแหล่ะจ้ะให้ถือคติอย่างนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั่งไป จิตไม่สงบก็นั่งไป จิตมันง่วงก็รู้ว่าง่วง ฝึกตัวรู้ให้มาก จิตมีความอยากก็รู้ว่าความอยาก อะไรที่เราไปรู้อยู่ตรงนั้นในขณะนั้น เมื่อเราเพ่งมันบ่อยๆ หิริโอตัปปะมันจะบังเกิดขึ้นเอง เมื่อเราไปรู้อยู่บ่อยๆมันจะระงับได้ ฝึกรู้ รู้มากๆเข้าแล้วตัวรู้ตัวนี้เมื่อเราพิจารณาตัวรู้มากๆมันจะเป็นปัญญา เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นเค้าเรียกว่าการรอบรู้ในกองสังขาร

    คำว่ากองสังขารมันคืออะไร กองใดกองหนึ่ง อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่เป็นทุกข์สภาวะทุกข์..นั้นเรียกว่ากองทุกข์ มันเกิดจากกายสังขารที่เราไปยึดมั่นถือมั่น ไปติดไปพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ในกามคุณ ๕ เข้าใจมั้ยจ๊ะ สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากองสังขารแห่งทุกข์ทั้งนั้น

    ดังนั้นเมื่อเราพิจารณาละไปแล้วก็อย่าคิดว่าอารมณ์เหล่านั้นมันจะไม่เกิดขึ้นมาอีก..เมื่อเรายังมีอารมณ์อยู่ เมื่อเราดับอารมณ์ได้นั่นแล เราจะรู้ว่าเราจะเท่าทันในอารมณ์ รู้ว่า..สักแต่รู้ว่าเป็นอารมณ์ สักแต่ว่าเป็นกาย สักแต่ว่าแต่รู้อย่างนี้ นั่นเรียกว่า"วางได้" ถ้าเรายังวางไม่ได้อยู่ ก็ให้เรานั้นหยิบยกมาพิจารณาอยู่บ่อยๆ มาวิตกวิจาร มาละอยู่บ่อยๆ มาพิจารณา
    ในขณะเราวิตกวิจารอยู่ ในขณะเราครุ่นคิดในสิ่งใด..นั่นเรียกว่าสมาธิขั้นต้นมันก็บังเกิดขึ้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะจิตเราไปจดจ่อในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นอกุศลก็ดี..แต่ถ้าเรามีสติมากๆเข้า เราจะพิจารณาในโทษคุณนั้น เมื่อเราพิจารณาในโทษคุณ..เราละด้วยปัญญาแล้ว เราจะสามารถดับอารมณ์นั้นได้ เรียกว่าตัวนิโรธก็บังเกิด มรรคคือทางเดินมันก็บังเกิด เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราก็จะเห็นโทษเห็นคุณ เมื่อนั้นเราจะดำริออกจากสิ่งนั้นได้ คือต้องเห็นโทษเห็นภัยในสิ่งนั้นในทุกข์นั้น

    นั้นการที่เรานั้นจะประพฤติปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรม..ก็คือการละอารมณ์ในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มันมีอะไรบ้าง มันก็บอกอยู่แล้วว่าขันธ์ ๕ ย่อมต้องมีรูป เราไปพิจารณาในกายให้มาก คือละกาย เพ่งโทษในกาย เห็นว่ากายนี้เป็นที่รังของโรค เป็นของที่เป็นทุกข์ เมื่อมีกายคราใดหรือมีกายเกิดขึ้นไม่ว่าเป็นสัตว์หรือเป็นมนุษย์ทั้งหลาย ล้วนแล้วตกอยู่ใต้สมมุติบัญญัติของกรรม ของกฏแห่งไตรลักษณ์ นั่นเรียกว่าทุกขัง อนิจจัง อนัตตา หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้ จึงเรียกว่าไม่ควรยึดมั่นถือมั่นมัน

    เราพิจารณาลงไปในกายนี้ที่เราไปหลงไปพอใจ นี่เค้าเรียกว่าละจากกาย เพ่งโทษในกายหรือรูป เพราะรูปนี้แลจะทำให้เราเกิดความพอใจ เมื่อมันมีรูปแล้ว..เมื่อไปติดไปพอใจ..มันก็จะเกิดรส เกิดสัมผัส เกิดความพอใจเหล่านี้

    เมื่อเราละเพ่งโทษในกายมากๆแล้ว เราไม่ยึดมันมากเท่าไหร่ เวทนาในความพอใจในความรู้สึกมันก็ลดลง เราก็ไม่อยากจะมีสัญญาคือความจำอะไร แล้วเมื่อความจำทั้งหลายนั้นเราไม่ค่อยมีไปปรุงแต่งมัน จิตที่จะไปผูกความพอใจมันก็คลายลง นั่นเค้าเรียกว่าตัณหาความทะยานอยาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าเรายังมีความทะยานอยากอยู่..มันเพิ่มมาก..เพิ่มมาก..มันก็จะพิจารณาธรรมยาก นอกจากเราละมาก..ละมาก..ธรรมที่เราจะพิจารณามันก็ทำได้มากและก็ทำได้ง่าย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    อย่างเช่นการบริโภคอาหาร ถ้าเราบริโภคมาก โยมจะนั่งสมาธิได้นานมั้ยจ๊ะ จะสวดมนต์ได้จบมั้ยจ๊ะ จะไปพิจารณาธรรมได้มั้ยจ๊ะ มันก็ได้ทั้งนั้น..แต่ได้ไม่นาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะโยมไปบริโภคให้กิเลสมันมีกำลังมากกว่า ใช่มั้ยจ๊ะ เมื่อมันมีกำลังมากกว่าแม้โยมจะได้สู้รบกับมันก็เป็นเพียงสู้รบในช่วงระยะสั้นๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ระยะยาวสู้มันไม่ได้นาน เพราะกำลังมันมีมากกว่ามันก็ต้องยึดอำนาจ

    ดังนั้นแล้วอะไรเรียกว่า"พอดี" อย่างเช่นโยมนอนน้อยโยมก็มีกำลังไม่มากที่จะประพฤติปฏิบัติ โยมนอนมากก็เกินความพอดี กำลังโยมก็อ่อนล้าอีก นอนพอดีเป็นอย่างไร นอนพอดีพักผ่อนพอดี พอที่จะเหมาะกับการเจริญสมถะธรรมการประพฤติปฏิบัติธรรม..เป็นอย่างไร เมื่อโยมนอนไปแล้วเมื่อมีสติตื่นขึ้นมา แล้วโยมอย่าได้ทำความพอใจเพลิดเพลินกับสิ่งที่เราติดในสุข นั่นเรียกว่าความเพลิน นั้นโยมจงละความเพลินตรงนั้นเสีย นั่นเรียกว่าพอดีแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมไปต่อสุขนั้นอีก จะขออีกซักนิดหนึ่ง..นั่นแหล่ะจ้ะนั่นเค้าเรียกว่าเกิน เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วเมื่อโยมสะสมอยู่บ่อยๆ มันก็ติดเป็นนิสัยเป็นสันดาน มันก็จะแกะออกมาจากที่หลับที่นอนยาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    กินพอดีเป็นอย่างไร กินให้รู้สึกว่าร่างกายสังขารนี้เพื่อระงับโรคคือความหิว กินให้พอดีรู้สึกว่าอิ่ม เข้าใจมั้ยจ๊ะ อย่ากินด้วยความอยาก ต้องกินด้วยพิจารณาว่าเรากินบริโภคอาหารนี้เพื่อประทังชีวิตให้มีอยู่ เพื่อเอากำลังสังขารนี้ไปประพฤติพรหมจรรย์ อย่างนี้เค้าเรียกว่าการกินอยู่พอดี ถ้าโยมกินเพื่อความอยาก ความพอใจในรส..อย่างนี้มันเกินความพอดี มันจึงเป็นโทษ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    026F8F85-C7AE-4FD6-98ED-77DA624BEB23.jpeg

    ลูกศิษย์ : ระหว่างโอนเงินมาช่วยทำบุญกับมากรรมฐานนี้ ตรงไหนมันเหมาะสมที่สุดคะหลวงปู่

    หลวงปู่ : โยมจะโอนอะไรมาน่ะ..ดีทั้งนั้นแหละส่วนมากแล้ว พอโอนเสร็จแล้วน่ะ..อย่าลืมโอนตัวเองมาด้วย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ผลักดันตัวเองมาด้วย เพราะโยมจะได้มาชิมรสที่โยมได้ทำไว้ โยมจะเอาอะไรมาร่วมบุญ..เอาอะไรมาร่วมบุญได้ทั้งนั้น แต่ถ้าเราไม่ได้มาสัมผัสบุญเอง สิ่งที่โยมโอนอะไรมานั้นน่ะ..มันยังไม่ถึงในบุญ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะเรายังไม่ได้ลงมือทำ จึงไม่รู้ว่าสิ่งที่เราเอามาทำนั้นน่ะ มันมีคุณค่าเพียงใด แม้เงินร้อยบาทสลึงเฟื้องก็ดี แต่ซักวันหนึ่งเรามีโอกาสได้มาสถานที่อันใดก็ตามที่เราได้มาร่วมบุญกุศลกับเค้า ว่าเค้าทำบุญกันอย่างไร ถ้าเค้าทำบุญอย่างไรแล้วเราได้มาทำมาประพฤติปฏิบัติอย่างเช่นในค่ำคืนนี้

    เราโอนมาแม้เพียงร้อยหนึ่ง สลึงเฟื้องก็ดี แต่ว่าการประพฤติปฏิบัติกว่าจะผ่านไปแต่ละเวลานาที รู้สึกว่ามันมีความทรมานมาก แสดงว่าเงินทั้งหลายทั้งปวงบุญกุศลที่โยมได้โอนมาทำหรือส่งมา..อย่างนี้โยมว่ามันมีคุณค่ามากมายมั้ยจ๊ะ เห็นสถานที่แล้วว่ามันทำอะไรให้เกิดกับประโยชน์กับมนุษย์บ้าง กับส่วนรวมบ้าง แสดงว่าอัฐเบี้ยนั้น โยมได้ทำประโยชน์มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ได้ค่ะ)

    อ้าว..โยมจะได้ไม่ต้องสงสัยในบุญว่าบุญที่ทำมาแล้วน่ะมันไปอยู่ไหน มันมาอยู่ที่ตัวเรานี่แล เราได้มาอาศัยได้มาประพฤติปฏิบัติเห็นมั้ยจ๊ะ เพราะโยมได้ส่งมา ถ้าโยมไม่ได้ส่งมา ไม่รู้จักการสละ รู้จักการให้ทานน่ะ..โยมจะมาเจริญศีลได้มั้ยจ๊ะ นี่แสดงว่าโยมเป็นผู้ถากถางไว้ ทำทางไว้..โยมถึงได้มา ใช่มั้ยจ๊ะ

    พอส่งมามากๆ เอ..มันจะจริงหรือเปล่านะที่นี่ ลองไปดูแอบดูมันซักหน่อย ถ้าโยมไม่เคยส่งมาน่ะ ไม่มีทางมาแอบดูได้หรอกจ้ะ ถ้าเรายังไม่เปิดทางน่ะ ทาง..นี่แปลว่า"การเปิดทางบุญ" เข้าใจมั้ยจ๊ะ พอเปิดมากๆให้มากๆ เอ..เริ่มสงสัยในบุญ เลยต้องมาดู นี่แหละจ๊ะโยมจะได้ไม่ต้องสงสัย อืม..ฉันก็ขอโมทนาสิ่งที่โยมถาม นี่จะเป็นประโยชน์ต่อเทวดาและมนุษย์ที่เค้ามาฟังธรรม มาประพฤติปฏิบัติธรรม และคนที่ได้ร่วมเงินร่วมทองร่วมอัฐร่วมเบี้ยมาสร้างบุญกุศล ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใดก็ตาม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙,๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    3F9D2201-E314-4B5A-9E4F-3275526AF9AD.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่เจ้าคะ สภาวะกายดับจิตดับนี้มันคือยังไงเจ้าคะ
    หลวงปู่ : กายดับคือกายไม่รู้สึกเวทนาแล้ว การดับกายเป็นยังไง คือดับรูป คือการไปเพ่งเพียรละอารมณ์ที่เราไปยึด ที่เราไปยึดในรูป ไปยึดอะไร..ก็เรียกว่าละจากที่ยึดคือความพอใจ ความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ที่คนเข้ามากระทบในหูในโสตประสาทที่คนเค้ามาว่าเราไม่ดี เราไม่พอใจหรือเรารู้สึกยังไง เหล่านี้เค้าเรียกว่าละอาฆาต โทสะ โมหะ โลภะเหล่านี้ นี่เค้าเรียกว่าละรูปทั้งนั้น

    โทสะ โมหะ โลภะนี้เกิดจากรูปทั้งนั้นที่เราไปยึด จึงรู้สึกว่าไม่ชอบใจ ไม่พอใจ เมื่อมีใครมาว่าด่าทอเรา ทำให้เรารู้สึกเกิดเวทนาคืออารมณ์ พอเรามีเวทนามีอารมณ์..วิญญาณเข้ามาปฏิสนธิเกิดขึ้น จิตเข้ามาเกิดตัวรู้ มันไปรู้ที่ไหน ถ้าไม่มีกาย..มันจะรู้ไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะมันยึดกายมาเนิ่นนานเป็นวัฏฏะอยู่อย่างนี้ นั้นเราต้องไปละดับอารมณ์ที่ขันธ์ ๕ คือละอารมณ์

    เมื่อละอารมณ์มากถึงที่สุดแล้ว..รูปมันถึงจะดับ จริงๆกายก็คือกาย ที่ดับคือดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ คือเมื่อไม่มีอารมณ์แล้ว มันก็ไม่มีอารมณ์ไปปรุงแต่ง นั่นแหล่ะเค้าเรียกว่ารูปมันดับ เมื่อรูปมันดับ..เวทนาเป็นนามจะดับตามมั้ยจ๊ะ มันก็ต้องดับตาม มันต้องไปดับที่เหตุก่อน เมื่อดับที่เหตุได้ผลมันจึงไม่เกิด นี่เค้าเรียกว่ารูปดับ..นามมันก็ดับ แต่จิตผู้รู้ไม่ดับ จิตผู้รู้จะตื่น เพราะทำสิ่งที่ไม่รู้คืออวิชชาให้มันดับ จึงเรียกว่าปัญญามันเกิด เข้าใจอย่างนี้มั้ยจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : จิตเกิดดับนี่เป็นอารมณ์ของวิญญาณหรือเปล่าคะ เห็นเค้าบอกจิตเกิดดับเร็วมาก
    หลวงปู่ : เร็วแค่ไหน เอาอะไรวัดได้มั้ยจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : เค้าบอกว่าจิตเป็นตัวรู้ แต่ที่ว่าเกิดดับนี่เป็นอารมณ์ของวิญญาณหรือว่าเจตสิก
    หลวงปู่ : จิตที่เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปนั้นแหล่ะจ้ะเค้าเรียกว่าเจตสิก รู้ก็คือมีวิญญาณเข้าไปผสมอยู่คืออารมณ์ ถ้าจิตเดิมไม่มีอารมณ์แล้วจึงเรียกว่าปราศจากวิญญาณ จิตมันก็ว่างมันก็สงบ มันก็ไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่ง จิตที่มันว่าง..ว่างอย่างไร จิตที่ว่างคือจิตที่ไม่มีอารมณ์เข้าไปปรุงแต่งแล้ว คือความพอใจไม่พอใจแล้ว นั่นเค้าเรียกว่าจิตว่าง

    ถ้าเรายังมีความปรุงแต่ง มีอารมณ์พอใจมีอารมณ์ไม่พอใจอยู่ เค้าเรียกว่าจิตยังไม่ว่าง จิตมันยังไม่เข้าถึงความสงบ เมื่อยังไม่เข้าถึงความสงบต้องทำยังไง..ต้องมีองค์ภาวนาเข้ามากำกับ มีอุบายธรรม มีหลักให้จิตมันยึด ระลึกถึงคุณงามความดี ระลึกถึงทาน ศีล ภาวนา หรือภาวนากำกับจิตไปอย่างนี้ นั้นเรียกว่าค่อยๆปลอบ ค่อยๆตะล่อมจิตอย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นจิตที่มันยังไม่ว่างนี้แล เค้าเรียกว่าเรายังมีอกุศลมูลอยู่ วันหนึ่งเรามีอารมณ์มากระทบจิตตั้งมากมาย ใช่มั้ยจ๊ะ วันนี้อาจจะโดนเจ้านายด่ามาทั้งวัน จิตเราขุ่นทั้งวัน ใช่มั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วการที่เราปฏิบัติบางวันก็ปฏิบัติได้ดี บางวันก็ปฏิบัติไม่ดี เหมือนโยมไปขายของนั่นแหล่ะ โยมจะบอกได้มั้ยว่าวันนี้ฉันจะขายได้เท่านี้ พรุ่งนี้ต้องขายได้เท่านี้ โยมบอกได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้ค่ะ) วัดได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้ค่ะ) เพราะมันไม่เที่ยง ใช่มั้ยจ๊ะ

    โยมจะรู้ได้ยังไงว่าวันนี้ขายได้ ๒๐๐ พรุ่งนี้ต้องขายได้ ๒๐๐ แต่ถ้าโยมจะรู้ได้ว่าวันนี้ขายได้ ๒๐๐ โยมจะรู้ได้เลยว่าไอ้ที่มันขายได้ ๒๐๐ เพราะอะไร ถ้าโยมรู้เหตุโยมจะขายได้ ๒๐๐ ทุกวัน แล้ว ๓๐๐ ,๔๐๐ โยมไม่เอารึไง เอาแค่ ๒๐๐ อย่างนี้รึเปล่า อย่างนี้เค้าถึงบอกว่าสิ่งนี้ในอนาคตเค้าถึงว่าไม่ให้ยึดถือ เพราะมันยึดไม่ได้เลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วจิตนั้นเค้าบอกว่า ถ้าเราทำอะไรได้ก็ให้เราทำ ดูกายไม่ได้ก็ให้ดูจิต ดูจิตไม่ได้..กำลังยังไม่พอ..ก็ให้ดูกาย ดูลมหายใจในกาย กายนี่..ถ้าเราดูกายอย่างเดียวแล้วไม่กำหนดรู้ในลมเข้าไป ความหลงความเพลิดเพลินมันยังมีอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้ากำหนดสติลงไปที่ลมหายใจอยู่ในกาย เราจะรู้ได้ว่าลมหายใจนี้มันอาศัยกายอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราก็พิจารณาเพ่งโทษในกาย

    เพ่งโทษไปเพื่ออะไร ก็เพื่อละอกุศล ละความพอใจ แล้วอะไรบ้างที่เรียกว่าเพ่งโทษ โยมต้องเห็นว่ากายนี่มันเป็นทุกข์มากกว่าสุข หรือไม่มีสุขเลยก็ว่าได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดูซิว่าความแข็งแรงมันมีอะไรซ่อนอยู่ ให้ลองพิจารณาดู ในความหิวมันเป็นเวทนามั้ยจ๊ะ เป็นโรคมั้ยจ๊ะ แสดงว่าความหิวเป็นโรคอย่างหนึ่ง แสดงว่ากายโยมเป็นที่รังของโรค ใช่มั้ยจ๊ะ ต้องกินมันทุกวัน แสดงว่าโยมต้องรักษามันทุกวันไอ้กายนี้ ถ้าไม่กินได้มั้ยจ๊ะ..ไม่ได้

    นั้นกิเลสตัณหามันมีอาหารมั้ยจ๊ะ มันต้องกินมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : กินค่ะ) ก็โยมไปให้มันกินไงจ๊ะมันเลยอยู่ได้ ใช่มั้ยจ๊ะ แต่กายสังขารนี้ แม้มันจะเป็นขันธมาร เป็นอุปสรรคในการบรรลุธรรมก็จริง แต่มันยังมีกายเทพ พรหม เทวดา หรือว่าจิตที่มันซ้อนอยู่นี้..เค้าเรียกว่าจิตพุทธะแห่งการหลุดพ้นที่ต้องอาศัยกายนี้ประพฤติปฏิบัติได้ ใช่มั้ยจ๊ะ

    เมื่อกายนี้โยมหลงเห็นผิดในกาย แต่โยมลองทำความเห็นให้มันตรง มันก็สามารถให้โยมนั้นเห็นโทษในกายได้ เมื่อโยมเห็นโทษในกาย..โยมจะเห็นชอบเอง เมื่อเห็นชอบแล้วโยมจะดำริชอบ เช่นดำริออกจากกาม เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะกามมันเป็นของร้อน ของร้อนยังไง ก็มันทำให้เรานั้นอยากแสวงหาอยู่ตลอดเวลา นี่เค้าเรียกว่าของร้อน ถ้าของไม่ร้อนเป็นยังไง..เราสุขแล้ว พอแล้ว นั่นเรียกว่าของเย็น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    53E06EB6-5B7C-4280-913C-60A4DC41F249.jpeg

    ถ้าเรายังไม่พอที่จะต้องแสวงหาอยู่..นี่เรียกของร้อนทั้งนั้น เพราะมันทำให้จิตนั้นดิ้นรน ไม่อยู่กับที่ อยู่ไม่สุข..ต้องไป นี่แหล่ะเค้าเรียกว่าตัณหาความทะยานอยาก ทำให้เกิดภพเกิดชาติไม่จบสิ้น แต่นี่แลคือ..อำนาจแห่งกรรม ไม่มีใครหยุดมันได้ นอกจากกรรมเท่านั้นที่มันจะสอนให้รู้จักทุกข์ รู้จักโทษ รู้จักคุณ

    รู้จักแล้ว เข็ดหลาบแล้ว เบื่อหน่ายแล้ว นั่นแลเรียกว่าเริ่มจะหมดกรรม บุญกุศลในทานบารมีที่เราสะสมในพระกรรมฐานมามันจะมาอบรมบ่มจิตเราย้อนหลัง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นถ้าเรายังไม่พอต้องเอาให้มันถึงที่สุดในทุกข์ ในกรรม นั้นกรรมแล้วที่มันเกิดขึ้น..ฉันถึงบอกว่าฉันนั้นไม่สามารถไปต่อต้านไปต่อทานได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะกรรมของโยมมันมีต้นทุนมีกรรมเป็นของตนเอง จะไปต้านทาน ไปบอกกล่าว ไปตำหนิติเตียนได้ยังไง มีแต่ว่าฉันบอกว่าโทษคุณมันเป็นอย่างนี้ โยมจงไปพิจารณาเอา ถ้าโยมยังไม่เห็นแสดงว่า..กรรมโยมยังมีมาก ใช่มั้ยจ๊ะ อย่างนี้ฉันไม่ว่าอะไรเลย แต่ขออย่างเดียวเรื่องนี้ไม่สามารถทำได้ ศีลข้อนี้ขอบิณฑบาตรไว้..สุราเมรัย เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะมันจะทำลายทุกอย่าง

    จำไว้นะจ๊ะ ถ้าโยมอยากจะเป็นศิษย์หลวงปู่โตท่าน โยมต้องยกข้อนี้ถวายสมเด็จฯท่าน เพราะครั้งหนึ่งท่านเคยจะต้องไปเทศน์เรื่องโทษของสุรา ถ้าท่านไปเทศน์โดยท่านไม่รู้รสรู้โทษมันจริงๆ มันก็จะกลายเป็นผิดมุสาวาทไป ใช่มั้ยจ๊ะ ท่านก็เลยให้เณรไปซื้อสุรามา แล้วก็ประกาศบอกพระ บอกชี บอกให้รู้ว่าสมเด็จฯโตน่ะ วันนี้ท่านจะฉันสุรา อ้าว..ถ้าไม่ฉันพรุ่งนี้ไปเทศน์ก็ไม่รู้รสมัน ใช่มั้ยจ๊ะ กินไปแรกๆเออ..มันก็ดีเหมือนกัน เฝื่อนๆ พอฉันไปเรื่อยๆ ฉันไปเรื่อยๆ ครองสติเริ่มไม่อยู่ ตื่นมานี่เป็นชีเปลือย เห็นมั้ยจ๊ะ มันเป็นชีเปลือยโดยไม่รู้ตัว ความน่าละอายไม่มีแล้ว แต่สมเด็จฯท่านไม่ธรรมดา..ท่านล๊อคประตูไว้ก่อน จะได้ไม่มีใครมาเห็นภาพอุดจาด

    ทีนี้เรื่องกามคุณที่โยมยังไม่เห็นโทษมันนี่แล เห็นมั้ยจ๊ะ นี่เมื่อไม่เห็นโทษมันเพราะอำนาจแห่งกรรม เพราะมันยังไม่รู้รสรู้โทษมัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะเราไปติดไปเสพมันมาก มันก็ยิ่งมีความพอใจมาก เหมือนที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านบอกว่า..กิเลสทั้งหลายทั้งปวง..ยิ่งเสพก็ยิ่งติด ไม่ใช่ว่ายิ่งเสพยิ่งจะละได้

    เราจะละมันต้องทำยังไง..ไม่ให้เชื้อมัน ไฟก็เหมือนกัน..เมื่อเราไม่ใส่เชื้อมัน ไม่ใส่เชื้อมัน หรือเราคอยเพ่งดูมัน ไม่ต้องใส่เชื้อเพิ่ม ถามว่ามันจะหมดมั้ยจ๊ะ มันจะเผาของมันเอง ฉันถึงบอกว่าถ้าเราเพ่งอยู่ในกาย เตโช..เอาความเพียรเผามันเข้าไป เพ่งดูและเพ่งโทษ นี่เค้าเรียกว่าเพียรเผาละกิเลส นี่เค้าเรียกว่าเจริญสติ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ความเพียรนั้นมันเผาได้ การจะเผาได้คืออะไร เพ่งโทษในกาย เพ่งอะไร..ละอารมณ์แห่งความพอใจ พอละบ่อยๆมันจะเริ่มเห็นความเบื่อหน่าย คือต้องเห็นทุกข์ ถ้าโยมเห็นแต่สุขโยมละไม่ได้หรอกจ้ะ ออกไม่ได้..มันจะติด เพราะว่ามันจะเพลิน เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นอยากให้โยมเห็นโทษเห็นภัยในวัฏฏะในกายนี้

    นั้นการที่เรายังหลงเพลินในกิเลสตัณหากามคุณทั้งหลายทั้งปวงนี้ มันเป็นธรรมดาเป็นอำนาจแห่งกรรม ไม่มีใครต้านทานมันได้ เพราะถ้ามันจะต้านทาน..เรายอมมันทีเดียว เราอาจจะเป็นบ้าเป็นบอเลยก็ได้ เพราะว่ามันยังเป็นอาหารอยู่ มันยังเคยกินอยู่ ถ้าไม่ได้กินทำยังไงจ๊ะ มันจะเป็นยังไง รู้มั้ยจ๊ะ..มันจะเป็นบ้า เพราะฉะนั้นการจะลดละมันต้องทะยอยค่อยๆลดละมันลงไป ละลงไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    C9D15246-8159-41D5-9592-23CE0D03212C.jpeg
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    A150D51A-9667-48FD-890B-921A731E0986.jpeg

    โลกธรรม ๘ ก็ดี เมื่อเราอยู่กับกลุ่มหมู่คณะแล้วมันเป็นของธรรมดา แต่ผู้ใดที่สลัดมันออกได้ และข้ามพ้นจากอารมณ์โลกธรรม ๘ นี้ได้นั่นแล จึงเรียกว่าเป็นผู้อริยชนที่จะก้าวล่วงไปสู่การพ้นทุกข์ได้ ดังนั้นอารมณ์เหล่าใดนั้นแลที่มันมากระทบจิต มันจึงเป็นธรรมบททั้งหลาย

    เค้าจึงบอกว่าถ้าไม่มีอะไรมาทดสอบ แล้วอะไรเล่าจะเป็นการฝึกฝนจิตฝึกฝนบารมีว่าเรานั้นจะข้ามพ้นอารมณ์หรือไม่ ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี มันทำให้เรานั้นจิตใจเรานั้นเศร้าหมองห่อเหี่ยว ดังนั้นแล้วการทำจิตให้เป็นปรกติ ให้สว่างสงบนั้นแล..เป็นหนทางดับทุกข์

    แต่สิ่งที่กล่าวมาถ้าเราไม่มี"สติเท่าทัน" แล้วจะเอาตัวปัญญาตัวรู้ที่ไหนเป็นผู้บอกผู้สอน อันว่าจิตนั้นเป็นผู้รู้ อันว่าอารมณ์ทั้งหลายเป็นวิญญาณ เมื่อวิญญาณนั้นมันยังไม่ดับ..จิตผู้รู้นั้นมันก็ยังรู้ไม่จริง เพราะถ้ารู้จริงแล้วต้องดับในวิญญาณได้ หรือดับอารมณ์ได้ หรือเท่าทันอารมณ์ได้..นั่นคือตัวสติที่จะเหนืออารมณ์ เมื่อเราเหนืออารมณ์แล้วเราก็จะควบคุมอารมณ์ได้ เมื่อเหนืออารมณ์เห็นอารมณ์..เราก็จะเหนือกรรม เมื่อเราเหนือกรรมเราก็ควบคุมกรรมได้ ว่าเราจะวางมันหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเค้าเรียกว่าควบคุม ก็เรียกว่าต้องมีศีลกำกับ มีสตินั้นคอยหนุนอยู่ตลอดเวลา

    ดังนั้นถ้าเราดับจิตกายสังขารไปแล้ว อารมณ์ที่จิตเรานั้นยังไปผูกพันธ์อยู่..สิ่งเหล่านี้จะตามให้ผลให้เกิดภพเกิดชาติที่เราต้องไปเสวย ดังนั้นการจะประพฤติปฏิบัติในพรหมจรรย์ เพื่อมุ่งที่เรานั้นต้องการทำให้ถึงการดับทุกข์ ทำทุกข์นั้นให้แจ้งด้วยการเจริญปัญญาเจริญสติ ในคราใดก็ตามที่จิตเรามีศรัทธามีกำลังขอให้เจริญภาวนา เจริญสติ เจริญปัญญาพิจารณาในธรรมสังเวชก็ดี ธรรมอกุศลก็ดี ธรรมที่เป็นกุศลก็ดี เค้าเรียกว่าการเพ่งโทษในจิตในกายตนอยู่อย่างนี้อยู่บ่อยๆ นั่นแลเรียกว่าโยมนั้นมีการงานที่ตั้ง

    เมื่อมีหลักอย่างนี้แล้วเรียกว่ามีสรณะมีหลักคือพระรัตนตรัย คนไม่มีหลักไม่พระรัตนตรัยเป็นสรณะ จิตนั้นย่อมมีแต่ความวุ่นวายสับสน หาความสงบไม่ได้ จิตนั้นต้องเพ่งโทษแต่คนอื่นอยู่อย่างนี้อยู่เรื่อยไป หากผู้ประพฤติปฏิบัติอย่างแท้จริง ถือพรหมจรรย์ได้ เข้าถึงศีลถึงธรรมได้นั่นแลจึงเรียกว่าเข้าถึงในพระรัตนตรัย

    เมื่อเข้าถึงแล้วก็เอาพระรัตนตรัยนั้นแลเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง นั่นหมายถึงว่าเมื่อคราใดจิตเรานั้นเศร้าหมองหดหู่ใจ หาหลักที่พึ่งไม่ได้ ให้วางอารมณ์ทั้งหลายที่มันเป็นทุกข์ที่มันทำให้เรานั้นเร่าร้อนกลับเข้าสู่ในจิตในกาย คือการเจริญสติ คือการเจริญภาวนา หรือเจริญมนต์ก็ดี จนเข้าถึงความสงบแล้วแผ่เมตตาจิตให้กับสรรพสัตว์ ดวงจิตวิญญาณผู้มีอาฆาตพยาบาททั้งหลาย หรือเจ้ากรรมนายเวรนั้นแล

    ให้อยู่กับตัวรู้ในปัจจุบัน ตัวรู้ในปัจจุบันนั้นแลย่อมรู้เป็นผู้กำหนดอนาคตได้ ถ้าเราทิ้งผู้รู้ในปัจจุบัน..อดีตแห่งกรรมทั้งหลาย อนาคตที่เราจะกำหนดได้..มันก็ไม่เป็นไปตามที่เราคิด ดังนั้นถ้าเราจะข้ามพ้นสิ่งเหล่านี้ได้ เราต้องข้ามพ้นอะไรก่อน..คือนิวรณ์หรือจิตที่เรายังเศร้าหมองอยู่

    นั้นเราจงทำจิตให้เรานั้นสว่าง หลังจากที่เราได้สว่างแล้วมีอารมณ์เหล่าใดบ้างที่เข้ามาที่ทำให้จิตเรานั้นมืดมนหดหู่เศร้าใจ คือการเมื่อเราหลับนอนไปแล้วนั้นจะหาว่าสตินั้นจะตั้งอยู่ได้ ๑๐๐ นั้นก็เป็นไปได้ยาก แต่ถ้าเรานั้นในทุกขณะจิตทุกอิริยาบถในสภาวะของจิตนั้นไม่ว่าเราจะหลับจะนอน ถ้าเรากำหนดจิตให้เป็นฌานเป็นสมาธิ แม้เราจะหลับนอนก็เป็นหลับแค่กายสังขาร แต่จิตนั้นวิญญาณนั้นยังคงไหลเวียนอยู่ ยังรู้อยู่ นั่นก็คือแม้จะนอนเราก็รู้ว่าเรานอนอยู่ อย่างนี้แลเค้าเรียกว่าได้ฝึกฌานเป็นการเจริญสติ เจริญฌานอยู่

    เดินอยู่ก็รู้ ตื่นอยู่ก็รู้ หลับอยู่ก็รู้ อย่างนี้เป็นผู้มีสติทั้งกลางวันและกลางคืน ไอ้ที่จะเผลอใผลไปบ้างนั้นเป็นของสุดวิสัย ดังนั้นเมื่อเราทำอย่างต่อเนื่องอยู่อย่างนี้ จิตย่อมมีกำลังอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแล้วอารมณ์เหล่าใดก็ตามในอดีตที่ผ่านมาจะไม่ว่าเป็นปีนี้หรือเป็นปีที่ผ่านมาแล้ว ๑ ปีที่ผ่านไปเรียกว่าชาติที่เราเสวย ๑ วันที่ผ่านไปเรียกว่าภพ หรือทุกขณะจิตนั้นคือการเกิดตายก็ดี ดังนั้นดูซิว่าที่ผ่านไปแล้วเท่ากับ ๑ ชาติที่เราเสวยเราได้กำหนด ได้สะสางหนี้กรรมอย่างไรบ้าง จิตที่เราฝึกมาเป็นอย่างไร เสบียงบุญนั้นมากพอหรือยัง ที่เรานั้นจะตัดอาลัยอาวรณ์ในสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ที่เป็นของเป็นมายาเป็นของหนัก..เราได้กำจัดออกไปบ้างหรือยัง

    เราไม่ต้องดูว่าปีหน้าปีไหนๆอายุเท่าไหร่ หรือว่าอีกสิบปีห้าปีจะเป็นอย่างไร เราดูวันนี้ ดูในขณะนี้..คือภพ เมื่อสิ้นปีแล้วก็เป็นชาติที่เราเสวย รวมชาติมาเป็นอย่างไร การประพฤติปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนาเราเป็นอย่างไร ขันติธรรมเราเป็นอย่างไร เมตตาเราเป็นอย่างไรบ้าง เรามีความเมตตาเกื้อกูลคนอื่นมากพอหรือยัง

    คนที่มีเมตตาจิตที่มั่นที่ดี มีสติตั้งมั่นในเมตตาเป็นอย่างไร..ละความโกรธ ควบคุมความโกรธ เป็นคนโกรธยากนั่นแล อย่างนี้เรียกว่าเท่าทันในตัวโทสะ โมหะคือความหลง เมื่อหลงอะไรในอารมณ์ใดที่มาทำให้จิตเราเศร้าหมองก็ทำให้มีสติมีปัญญาเท่าทันนั่นแล..เรียกว่าเราได้เจริญปัญญา ศีลคือการสำรวมอินทรีย์ของเรา ดังนี้..ใจที่ตั้งมั่นที่เราฝึกฝน เราลองพิจารณาดูซิว่าชาติหนึ่งที่เราเสวยมามันเป็นอย่างไร นี่เราควรตรวจสอบจิตเราอย่างนี้ นี่แลเค้าเรียกว่าการว่าเจริญอิทธิบาท ๔ ไม่ใช่ไปถามครูบาอาจารย์หลวงพ่อองค์ไหนว่าการประพฤติปฏิบัติมาเราเป็นอย่างไร ก้าวหน้าเพียงใด ตัวเรายังไม่รู้..แล้วใครจะรู้ดีเท่าตัวเรา..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    614F66A6-8FF5-4EDC-B51F-DD1D4BB3AEB0.jpeg

    ในกายนี้มันไม่สามารถละวางได้ง่ายๆ เพราะว่าความหลงที่เราติดอยู่ในสุขนี้..มันเนิ่นนาน มันพอกพูน มันหนาแน่นนั่นเอง นั้นเราต้องค่อยๆค่อยๆละมัน เพราะกรรมฐานคือการเพียรละ..นั่นคือหัวใจของเค้า ถ้าโยมได้หัวใจของกรรมฐานแล้ว โยมจะอยู่บ้านอยู่เรือนอยู่ในที่ใดก็ตาม เมื่อจิตโยมตั้งมั่นเข้าถึงความสงบที่จะปรารภความเพียร อันว่าปรารภความเพียรคืออะไร คือระลึกที่จะเจริญทำความดี เพื่อจะฝึกจิตเพื่อจะฝึกตนเพื่อจะละตนนี่แล..เค้าเรียกว่าปรารภความเพียร

    เมื่อจะหลับจะนอนก็เห็นว่ายังไงเราก็ได้นอนอยู่แล้ว เราก็นอนมาเนิ่นนานแล้วอยู่ในโลงอยู่ในหลุมฝังศพนี้เป็นภพเป็นชาติ ขอเจริญความเพียรซักหน่อยซักนิดอะไรก็ตาม..ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์มาก เพราะแค่ขณะจิตเดียวที่โยมเข้าถึงความสงบมันก็ยังเป็นประโยชน์

    ใครจะรู้ได้ว่าในขณะจิตนั้นที่โยมเข้าไปถึงในความสงบ อาจจะทำให้โยมนั้นเกิดปัญญาเห็นธรรมข้อใดข้อหนึ่ง ธรรมข้อใดข้อหนึ่งก็ตามถ้าได้เกิดขึ้นแล้วกับบุคคล ธรรมข้อนั้นจะตามติดส่งผลอยู่กับดวงจิต ก็ธรรมนั่นแลจะเป็นต้วหล่อเลี้ยงดวงจิตแม้ไม่มีกายสังขารแล้วนั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เค้าถึงบอกเราจะรู้ได้ยังไงว่าธรรมจะเกิดขึ้นตอนไหน เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นโยมอย่าได้ดูดายดูแคลนว่านั่งแล้วมันมืด มันไม่สว่าง มันไม่สงบ โยมนั่งไปเถิดจ้ะ แค่โยมปรารภนั้นในจิตที่เป็นกุศลที่จะเจริญความเพียรในพรหมจรรย์..บุญกุศลมันก็เกิด บุญเมื่อโยมสะสมไปมากๆเข้าแล้วมันจะเกิดเป็นวาสนาเป็นบารมีขึ้นมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วอย่าคิดว่าวันนี้ไม่สงบ วันนี้ไม่พร้อมไม่สวดมนต์ วันนี้ไม่พร้อมแล้วรอเมื่อไหร่โยมจะพร้อมเล่าจ๊ะ มีคนมากมายที่บอกฉันไม่พร้อมหรอกจ้ะที่จะเข้าวัดเข้าวา ที่จะไปประพฤติปฏิบัติธรรมไปนั่งหลับตา..มันหาอะไรไม่เจอ แต่ถ้ารู้ว่าการหลับตาแล้วโยมจะเห็นทุกอย่าง เพราะคนที่ลืมตาก็ยังตาบอดสีอยู่ ใช่มั้ยจ๊ะ แต่คนที่หลับตานี่ล่ะจ้ะเห็นชัดกว่าคนที่ลืมตา คือโยมต้องรู้จิตใจตัวเองให้ได้ ถ้าโยมลืมตาอยู่แต่โยมยังไม่รู้จิตรู้ใจรู้ตนเอง แสดงว่าโยมยังมืดบอดอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมก็ต้องโดนหลอกอยู่ร่ำไป

    ไอ้ที่ว่าโดนหลอกเป็นอย่างไร ไม่มีใครหลอกโยม โยมต่างหากที่หลอกตัวเอง เมือ่โยมหลอกตัวเองแล้วโยมก็ไปหลอกคนอื่นเค้าอีก แล้วไอ้คนที่ว่าที่ฉันบอกต่างคนต่างหลอกตัวเอง ต่างคนต่างมาหลอกกันเอง ฉันว่าน่ากลัวกว่าผีอีก ใช่มั้ยจ๊ะ ผียังไม่น่ากลัวเท่า ก็ผีไม่มีกายสังขารมันจะไปหลอกใคร คนที่มีกายสังขารนี่มันหลอกได้ มันเอาอะไรหลอกบ้าง มันเอาคำพูดหลอก เค้าเรียกว่าพูดไม่จริงก็หลอกลวง ใช่มั้ยจ๊ะ

    มันเอาอะไรหลอกอีก อ้าว..พูดไม่จริงเค้าบอกว่าหลอกลวง แล้วมันเอาอะไรหลอกได้อีกจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เอาความสวยมาหลอก) รูปนี้หลอกได้ใช่มั้ยจ๊ะ คำพูดก็หลอกได้ คำสัญญาก็หลอกได้ ดังนั้นแล้วถ้าอะไรที่เกิดขึ้นกับโยมแล้วทำให้โยมผิดหวัง ขอให้โยมจำไว้ เรานั้นเคยไปทำเค้าไว้เคยไปหลอกเค้าไว้ คน..นักสร้างบารมีเมื่อรู้แล้วจะไม่มีการตอบโต้หรือสร้างเวรสร้างกรรมเพิ่มอีก คือจะยอมรับโดยสดุดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าเรียกว่าไม่ถือสาหาความอันใด รับผิดแต่เพียงผู้เดียว เพ่งโทษแต่ตัวเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นแหล่ะเค้าเรียกว่าการตัดกรรม..ตัดที่ใจ ตัดเวรตัดพยาบาท เรียกว่าตัดภพตัดชาติ

    ถ้าโยมยังไปสรรหาไปถามหาว่าคนโน้นคนนี้เค้าผิดเป็นต้นเหตุ..ไม่มีทางหรอกจ้ะที่โยมจะอยู่สุขได้ในโลกนี้ ไม่มีทางที่โยมจะเข้าหาความสงบได้ แล้วก็ไม่มีทางที่โยมจะเข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้ โยมก็ต้องหลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ แล้วก็ให้คนอื่นเค้าไปหลอกต่ออยู่อย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ฉันว่ามันน่าสังเวช ลองไตร่ตรองพิจารณาดูให้ดี

    เหมือนความตายก็ดี..อย่าได้ดิ้นรนเมื่อถึงเวลาความตายมันมาถึงเราแล้ว เวทนาก็ดี..เมื่อโยมนั่งพิจารณาธรรมแล้วเวทนามันเกิด ก็อย่าไปดิ้นรนมัน ให้รู้อยู่ว่านี่เวทนามันเกิดขึ้น แต่ขอให้รู้ว่ามันเกิดขึ้นในที่ใด พอโยมรู้ว่าเวทนามันเกิดขึ้นที่ใด..เวทนามันจะเบาทันที เพราะตัวรู้มันทำงาน

    เพราะเมื่อเกิดตัวรู้มันทำงานเกิดความเห็น อวิชชาเมื่อมันเห็น..ปัญญามันเหมือนความสว่าง มันก็จะคลายตัว จิตมันตื่นรู้ คำว่าจิตตื่นรู้นี่เค้าเรียกว่าถอนจากอวิชชา แม้ยังถอนไม่ได้เสียทีเดียว แต่มันเริ่มขยับแล้วนั่นเอง อะไรขยับ..ปัญญาญาณมันเริ่มขยับ ทีนี้โยมก็ฝึกให้ปัญญาญาณมันแข็งแรงแข็งแรง คือใจที่มันตั้งมั่นเด็ดเดียว เมื่อถึงเวลามันก็จะตัดของมันได้

    แต่ถ้าโยมไม่คิดจะตัดเลย..ไม่มีทาง มันก็หนาแน่นอยู่อย่างนั้น มันก็หนาแน่นอยู่อย่างนั้น อย่างนี้เค้าเรียกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วมันจะทรมาน แต่ถ้าโยมฝึกตายอย่างนี้ ฝึกรู้อย่างนี้ ฝึกพิจารณาอย่างนี้ ฝึกละอยู่อย่างนี้ เมื่อถึงเวลาที่โยมจะตาย โยมจะไม่ยี่หร่ะเลยในสังขารนี้ พร้อมที่จะตายทุกเมื่อ เมื่อกำหนดจิตอยู่ในสมาธิ คืออยู่ในลมหายใจเท่านั้นแล ร่างกายสังขารธาตุทั้งหลายมันก็ดับลงไป จิตก็หลุดในขณะนั้นเมื่อไม่ยึดในสังขาร เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นอารมณ์สำคัญที่สุด..ก็คือจิตที่เรายังไปยึดอารมณ์อยู่ นั้นจิตที่ไม่ยึดอารมณ์เป็นอย่างไร ให้กำหนดรู้ลมหายใจแล้ววางเฉย..นั่นแหล่ะจ้ะจิตจะเข้าถึงตัวว่าง "ตัวว่าง"คืออะไร..ตัวว่างคือจิตไม่เข้าไปปรุงแต่งในอารมณ์ใดอีก จิตเข้าถึงความสงบ จิตเข้าถึงนิพพาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ อารมณ์ตรงนี้ขอให้โยมทำอยู่บ่อยๆ ให้มันชิน เมื่อคราวที่กายสังขารนี้มันจะต้องแตกดับไป ด้วยว่าธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมนั้นประกอบธาตุสังขารไม่ได้อีก อย่าไปยืดเยื้อไปดึงรั้งมัน แต่ให้ปล่อยโดยธรรมชาติว่าสุดท้ายเวลาของเรามาถึงแล้ว เตรียมตัวสละยานได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นโยมต้องฝึกอยู่บ่อยๆ ฝึกสละฝึกละนั่นเอง เค้าเรียกว่าฝึกสละแต่ถึงแม้ยังละไม่จริงเราก็ละไปก่อน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมไม่ฝึก..ไม่มีทางล่ะที่สุดท้ายจะไปละจะไปสละมันออกไปได้ เพราะอะไร ไอ้เวทนาที่มันทุกข์นี้มันเข้ามาหน่วงจิต แล้วเราจะเอากำลังที่ไหน เหมือนเราจะไม่สบายแรงกินข้าวกินอาหารทำเองยังไม่ไหวเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    รู้จักเคยถ่ายท้องมั้ยจ๊ะ พอจะทำอะไรไม่มีเรี่ยวมีแรงแบบนั้น จิตก็เหมือนกัน ถ้าโยมไม่เคยฝึกเลยจะไประลึกอะไรให้มารองรับเรา แต่อะไรก็ตามที่เราเคยฝึกมาเคยทำมา เมื่อระลึกแล้วเราจะเห็นสิ่งนั้น ก็เอาสิ่งนั้นอารมณ์นั้นแลเป็นสรณะยึดเข้ามา เรียกว่าเป็นกำลังใจสุดท้าย

    หรือเรียกว่าเอาบารมีและบุญกุศลของเรานั้นที่สุดท้ายนั้นมารวมเป็นหนึ่ง ให้จิตมันตั้งมั่น เมื่อจิตมันตั้งมั่น..เวทนาหรืออะไรที่มันจะเข้ามาก่อกวน เจ้ากรรมนายเวรหรือที่ว่ามันจะทวงหนี้เราที่เรายังใช้ไม่หมดก็ตามที เมื่อจิตเรานั้นเหนี่ยวนำบุญกุศลบารมีของเราเข้ามาเป็นหนึ่ง จิตมันจะสว่างพร่างพรูออกไป..ทีนี้แล้วอะไรก็เข้ามาไม่ได้ นั่นเค้าเรียกว่า"รัศมีบารมีธรรม"ที่เราได้สะสมมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    6E9F5BBF-9039-4892-BAB6-D23EB3CC3B44.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่เจ้าคะ คือสมัยนี้มันจะมีว่าคนเป็นโรคซึมเศร้ากันเยอะ หรือว่ามีการฆ่าตัวตายอะไรอย่างนี้ สิ่งหนึ่งที่เราจะช่วยเค้าได้นี้มีมั้ยคะ
    หลวงปู่ : บอกมัน ๓ คำ มึงไปตาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ช่วยสงเคราะห์เค้า อย่าไปห้ามเค้า ถ้าโยมไปห้ามมันเป็นบาป คนจะตายแล้วไปห้าม..บาป คนปวดขี้แล้วไปห้ามบาปมั้ยจ๊ะ คนจะไปตายเรียกว่าเค้าจะได้สุข จะได้พ้นจากทุกข์นั้นไป บอกเค้า..ถ้าเค้าจะตาย เค้าบอกเค้าอยากตาย แสดงว่าเค้ายังไม่รู้จะตายยังไง โยมช่วยบอกทางเค้าเค้าอาจจะเกิดปัญญา

    คนที่จะตายส่วนมากนึกไม่ออกว่าจะตายยังไง เข้าใจมั้ยจ๊ะ พอโยมบอก เออ..ไปตายอย่างนี้สิ ตายให้รถชนตายมันเละดี ไปผูกคอตายหายใจไม่ออกเดี๋ยวก็ตายแล้ว ไปโดดน้ำตรงโน้นมันสูงดี ว่ายน้ำเป็นมั้ย..ไม่เป็น..จะได้ตายไวๆ บอกเค้า เข้าใจมั้ยจ๊ะ อย่าไปห้ามเค้า อะไรที่ห้ามแล้วไม่ดี อย่าไปห้ามกรรม แต่จงบอกเค้าว่าให้เค้าไปตาย ไม่รู้จะอยู่ทำไม รึว่าโยมจะไม่ตาย

    ลูกศิษย์ : ตายค่ะ แต่ว่าต้องตายให้มีสติก่อนค่ะ
    หลวงปู่ : มันเรื่องของมันจะมีสติรึเปล่า แต่คำว่าตายคือมีสติอยู่แล้ว แต่คนที่จะตายส่วนมากไม่มีสติ แต่คนบอกว่าจะตายยังไง ถ้ามันจะตายแล้วมันไม่มาถามโยมหรอก ใช่มั้ยจ๊ะ นั้นถ้าโยมบอกมึงไปตายอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็รู้มันจะตายอย่างไร เข้าใจมั้ยจ๊ะ คนที่มันจะคิดฆ่าตัวตายตอนนั้นมันจะไม่มีสติ มันเลยไม่รู้ได้ว่ามันจะต้องตายอย่างไร

    แต่บางคนมันจะหาวิธีตายได้ แสดงว่าเค้าตั้งใจตาย เป็นกรรมของเค้าที่จะต้องเกิดตายเกิดตายเกิดตายจนกว่าจะครบชาติของเค้าที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ที่ต้องมาฆ่าตัวตาย โยมไม่สามารถไปฝืนชะตาตรงนั้นได้ แต่ถ้าโยมบอกว่าตายแล้วได้อะไร มีหนทางที่ดีกว่านี้อีก นั่นแหล่ะจ้ะเค้าถึงว่าจะมีสติในขณะนั้นก่อนที่เค้าจะตาย

    เพราะว่าการตายมันของง่ายนิดเดียว แต่การจะอยู่ต่อเพื่อให้หนีความตาย..ยากยิ่งกว่า เพราะคนที่ฆ่าตัวตายเค้าเรียกว่าใจเสาะ จิตเค้าอ่อน ไอ้โรคซึมเศร้าจริงๆมันไม่ค่อยได้ซึมหรอกจ้ะ แล้วต้องทำยังไงโรคซึมเศร้า (ลูกศิษย์ : คือจิตเค้าไม่แข็งแรง) คนมี"ภาวนา"ช่วยได้ ฉันบอกไว้อย่างนี้เลย คนที่เป็นโรคซึมเศร้าเป็นโรคป่วยอะไรก็ตาม..ภาวนาอย่างเดียว

    อาการที่โรคซึมเศร้า มันเกิดจากอาการทางจิต ไม่ได้เกิดทางกาย ทางกายนี่ปวดหัวตัวร้อนนี่ทางกาย ทางจิตนี่ซึมเศร้าได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าเรียกว่าป่วยจิต..ต้องภาวนา กินยาไม่หาย โยมต้องเอาโอสถของธรรมของพระพุทธเจ้าไปกิน..ภาวนา มีอยู่ในพระไตรปิฎก กินเข้าไปภาวนาเข้าไป จะพุทโธก็ได้ บริกรรมคาถาอะไรก็ได้บทใดบทหนึ่ง เข้าใจมั้ยจ๊ะ สัมมาอะระหัง พุทธังสรณังคัจฉามิก็ได้

    เพราะไอ้คนที่มีจิตซึมเศร้ามันมีตัวผีวิญญาณขี่อยู่ ที่มันจะเอาไปอยู่ เค้าเรียกว่าผีมันคอยจ้อง คือเจ้ากรรมนายเวร ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายในอดีตเค้าเรียกว่าตามมา จิตมันก็เริ่มเศร้าเรื่อยเศร้าเรื่อย พอมันหาวิธีไม่ออก มันก็เรียกว่าบีบคั้นจิตให้ไม่มีทางออกทางหนึ่งทางใด เห็นทางตายแค่ทางเดียวที่จะเป็นสรณะได้

    นั้นถ้าคนนั้นมีภาวนา องค์ภาวนาจะเข้าไปแทรกทันที เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วภาวนาช่วยได้ นั้นไอ้คนที่ตายไปแล้วฉันก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็มึงตายไปแล้ว แต่นั้นก็ยังภาวนาได้ ชาติหน้าจะได้ไม่ต้องมาฆ่าตัวตายอีก นี่บอกวิญญาณมัน นั้นฉันขอโมทนาในธรรมที่โยมไต่ถามขึ้นมา เพื่อเป็นประโยชน์กับดวงวิญญาณ มึงไม่มีกายสังขารแล้วจะต้องภาวนามั้ย..ยังต้องภาวนาอยู่ เพราะว่าชาติหน้ามึงเกิดมาก็ต้องตายอีก ถ้ามีภาวนาในตอนนี้ชาติหน้าเกิดมามึงจะได้ไม่ต้องมาฆ่าตัวตายอีก และในขณะที่ภาวนาอยู่ก็จะได้หลุดพ้นกรรมเร็วๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นองค์ภาวนานี่สำคัญมาก เพราะมันจะเรียกสติขึ้นมา ฟื้นฟูจิตขึ้นมาใหม่ จิตที่มันถูกบีบเพราะอำนาจของกรรมนี่แหล่ะจ้ะ เค้าเรียกว่าถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว ทำให้อายุสั้นก็ดี ทำให้จิตนี้ไม่มีอิสระก็ดี ดังนั้นแล้วต้องมีภาวนา เมื่อภาวนามากๆแล้วทีนี้จะเริ่มสวดมนต์ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นโยมมีบุญวาสนามากกว่าอย่างนี้ เมื่อโยมทำบุญกุศลนี้ให้มันเกิดแล้วจงแผ่เมตตาให้เค้าบ้าง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพื่อยังประโยชน์ให้กับดวงจิตวิญญาณที่เค้านั้นยังไม่ได้ไปผุดไปเกิด ที่จิตเค้าหดหู่เศร้าหมองเพราะอะไร ก็เพราะแบบนี้ เค้าไม่สามารถข้ามอารมณ์เหล่านี้ไปได้

    ดังนั้นองค์ภาวนานี้เป็นยาขนานเอกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน..สำหรับคนซึมเศร้าหรือเป็นโรคจิต เพราะในขณะที่โยมภาวนาอยู่จะเอาจิตไปคิดตรงโน้นคิดตรงนี้ คิดอกุศล คิดที่เป็นโทษ..มันก็อาจจะมีได้ แต่เมื่อโยมระลึกถึงองค์ภาวนาว่าถ้าโยมต้องการจะหาย โยมก็ต้องกินบ่อยๆภาวนาบ่อยๆ มันจะซึมเข้าไปเอง เข้าไปในจิตวิญญาณ ไปปรับธาตุใหม่ ธาตุที่ไม่ดีมันก็จะออกไป มันช่วยได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    C47820A0-6262-45BC-9831-1A3CC5BC1E77.jpeg

    การสร้างบารมีมันต้องสะสมเล็กสะสมน้อยจนบารมีมันเต็มแล้ว คำว่า"เต็ม"คืออะไร..จึงเรียกว่าหมดข้อสงสัยทั้งหลายทั้งปวง คือไม่มีข้อสงสัยอีก ไม่มีข้อที่จะต่อรองอีก เมื่อคนที่บารมีมันเต็มแล้วมันจะรู้ได้เลยว่า การเกิดมาครั้งนี้เกิดมาเพื่ออะไร ความกลัวตายก็ดีจักไม่มีความกลัวอีกต่อไป และจะไม่ลังเลสงสัยในธรรมในพระรัตนตรัยอีก นั่นเรียกว่าเค้าได้ถึงบารมีแล้วในปรมัตถ์บารมี

    นั้นการที่โยมสร้างทานบารมีนี้เพื่อจะเข้าถึงศีลเข้าถึงตัวปัญญา เพราะถ้าโยมไม่มีทานโยมจะเอาที่ไหนจับต้องได้และมาพิจารณา ก็เหมือนกายถ้าเราไม่ได้น้อมกายสังขารไปลงมือประพฤติปฏิบัติจริง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมันแท้หรือว่ามันเท็จมันเทียมอย่างไร ใช่มั้ยจ๊ะ

    นั้นทานที่สามารถทำให้เราเข้าถึงนิพพานได้ เป็นตัวเชื่อมต่อเป็นก้าวแรกให้เราเข้าถึงความสงบ เข้าถึงศีล เข้าถึงตัวปัญญา เข้าถึงตัววิมุติตัวรู้แจ้ง ดังนั้นทานมันก็มีตั้งแต่อย่างเล็กน้อยไปถึงทานที่ใหญ่ ทานที่ใหญ่คืออะไร..คือให้"อภัยทาน" เมื่อเราให้อภัยทานได้แล้ว การที่เราจะอยู่เมืองพรหมก็ไม่เป็นปัญหา ก็เรียกว่าอยู่เมืองพรหมมันก็ต้องมีพรหมวิหาร ๔

    พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้างจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) นี่แหล่ะจ้ะถึงจะอยู่เมืองพรหมได้ เพราะถ้าขาดเมตตาแล้วจิตใจเราก็จะร้อนรน เมื่อไม่มีกรุณาไม่มีมุทิตามันก็วางเฉยอะไรไม่ได้ ดังนั้นโยมต้องฝึกเอา คอยดัด คอยเกลา คอยสอน คอยเตือนตน คอยเพ่งโทษในตนอยู่บ่อยๆ คงไม่มีใครสอนได้ถ้าตัวของเรายังสอนตัวเองไม่ได้ ก็ไม่มีใครหน้าไหนจะไปสอนได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นตัวเราเองนั่นแลจะเป็นผู้สอนเป็นผู้เตือน แล้วอะไรเล่าที่มันจะทำให้เรานั้นมีสติขึ้นมา..ก็คือการผิดพลาดนั่นเอง เมื่อผิดพลาดแล้วถ้าบุคคลอื่นเค้าให้อภัย เราก็ต้องมีอภัยให้โอกาสตัวเองฝึกฝนตัวเอง นั้นไม่มีใครเลยที่ไม่เคยทำผิด ใช่มั้ยจ๊ะ นั้นเมื่อผิดไปแล้วก็ต้องดูว่าไอ้ความที่ผิดของโยมนั้นมันผิดแบบให้อภัยได้หรือไม่

    แต่ความผิดอะไรก็ไม่สำคัญเท่าที่โยมนั้นสำนึกผิดได้ และตั้งใจจะไม่ทำความผิดนั้นให้เกิดขึ้นอีก เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะถ้าโยมสำนึกได้แต่โยมยังทำอยู่มันก็ไม่มีประโยชน์อันใด เราต้องตั้งใจ..เหมือนศีล ศีลที่โยมมาประพฤติปฏิบัติกัน มันก็แล้วแต่อินทรีย์ของบุคคล ที่โยมรับศีลกันสามเวลา..มีตอนไหนบ้างจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เช้า บ่าย เที่ยงคืน) บางคนก็รักษาได้ตลอดวัน บางคนก็อินทรีย์ยังไม่ถึงก็อาศัยช่วงมืดบ้าง ช่วงเที่ยงคืนบ้างก็ยังดี นั้นถ้าใครมีอินทรีย์ที่แข็งแรงแล้วก็จะสามารถรักษาได้ตลอดวัน

    แต่ศีลไม่ได้บอกให้ว่ารักษาอารมณ์ได้ แต่ศีลนี้จะเป็นกำลังใจให้โยม เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะถ้าโยมมีศีลที่มั่นคง..กำลังใจโยมก็มั่นคง การจะประพฤติปฏิบัติอะไรมันก็ได้มรรคได้ผล ดังนั้นของเหล่านี้แล้วแต่วาสนาบารมี แล้วยิ่งโยมนั้นต้องสร้างทานบารมีเอากายสังขารสร้างบารมี ก็เป็นธรรมดาอาจจะมีความเหนื่อยล้า ดังนั้นเมื่อเรามีโอกาสในการปฏิบัติก็ขอให้รู้หน้าที่

    อันความเหนื่อยล้าของกายสังขารมันก็อยากพักอยากผ่อนของเราเป็นธรรมดา แต่ถ้าเรานั้นฝืนที่จะฝึกจิตฝึกตน มันก็เหมือนทวนกิเลสทวนกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวของวิบากกรรมของวัฏฏะ เมื่อเราทำได้แล้วจิตเราตั้งมั่นแข็งแรงให้มันเคยชินนั้นแล โยมก็จะอยู่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ บางคืนบางวันเราก็อยู่ได้ บางคืนบางวันเราอยู่ได้แต่ก็หมดแรงพอดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ แสดงว่าบุญมันไม่เหลือ แต่บุญหมดมั้ยจ๊ะ..บุญมันก็ไม่ได้หมด

    นั้นเมื่อเราทำไปทำไปปฏิบัติไปจนชินแล้วนั่นแหล่ะ แสดงว่าความศรัทธาของโยมยังไม่ถึง ถ้าถึงแล้วมันจะชินมันจะทำได้ทุกวันนั่นเอง วันนี้เราสงสัย วันนี้เรามีเรื่องกระทบจิต มีอารมณ์เข้ามาคิดแล้วยังปล่อยวางไม่ได้ อารมณ์นั้นมันก็ค้างๆอยู่อย่างนั้น มันก็ทำให้เรานั้นเกิดเป็นความกังวล เมื่อเรามีความกังวลเสียแล้วจิตมันจะรวมตัวให้เป็นหนึ่งมันก็ทำได้ยาก มันก็ต้องอาศัยมนต์บ้าง อาศัยภาวนาบ้าง อาศัยเดินบ้าง อาศัยกำลังใจจากคนอื่นบ้าง..อย่างนี้คือมันต้องอาศัยทั้งนั้น

    เมื่อเรายังไม่ถึงในบารมี อะไรก็ตามที่เราอาศัยล้วนแล้วเป็นประโยชน์ และเป็นของสำคัญทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ อาศัยคนนี้พูดธรรมให้ฟัง อาศัยคนนี้ให้กำลังใจ อาศัยเห็นว่าคนนั้นเค้านั่งประพฤติปฏิบัติก็อยากจะประพฤติปฏิบัติได้บ้าง อาศัยโมทนาบุญกับเค้า อย่างนี้มันเรียกเป็นประโยชน์ทั้งนั้น

    ดังนั้นอย่าคิดว่าเรามาแต่ละวันแต่ละครั้งในกรรมฐานจักไม่ได้ประโยชน์อันใด เพียงโยมตัดสินใจมาจะทำได้มากน้อยเพียงใดก็ตาม บุญกุศลอานิสงส์มันก็เกิด เหมือนเรานั่งไปมันไม่สว่างอะไรมันไม่สงบอะไร แต่ถามว่าบุญมันเกิดหรือไม่..บุญมันก็เกิด เพราะจิตโยมเข้าถึงความศรัทธาแล้วที่โยมปรารถนาจะทำความดี บุญมันเกิดตอนที่โยมนั้นระลึกถึง เข้าใจมั้ยจ๊ะ กระแสจิตวิญญาณโยมมันได้เข้าถึงในความดี

    แต่การจะประพฤติปฏิบัติได้หรือไม่ได้นั้น มันอยู่ที่บารมีของโยม อยู่ที่กำลังใจของโยม เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นบารมีจะทำให้มันเต็มเลยทีเดียวมันทำได้มั้ยจ๊ะ ภาชนะที่ว่า..ฝนมันตกลงมา ถ้าภาชนะที่รับฝนนั้นมันน้อย แม้ฝนจะตกมากเพียงใดภาชนะของโยมนั้นก็ได้เพียงนั้น มันจะได้มากเป็นไปได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้) การที่ฝนมันตกมาห่าใหญ่ เมื่อใดโยมมีบารมีที่ใหญ่แล้ว ฝนตกมาเพียงเล็กน้อยมันก็ยังพอมีน้ำที่มันจะกักขังได้

    นั้นบารมีเราต้องสะสมเล็กสะสมน้อยไป สะสมกำลังใจ สะสมทาน สะสมปัญญา สะสมความเพียร สะสมกำลังสติ สะสมกำลังสมาธิ เมื่ออินทรีย์ ๕ กำลัง ๕ มันสมบูรณ์มันเต็มแล้ว ต่อให้โยมมีราคะมากเพียงใด ต่อให้โยมมีโทสะมากเพียงใด มีความหลงมากเพียงใด โยมก็สามารถตัดตรงเข้าพระนิพพานได้ทั้งหมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะถ้าโยมมีครบแล้ว เมื่อจิตมันรวมแล้วจิตมันจะสอนตัวมันเอง เหมือนหมาที่มันสลัดน้ำออกจากหลังจากขนมัน คือมันจะไม่เห็นอะไรเลยนอกจากโทษภัย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นเมื่อเรายังไม่ถึงแต่ถ้าเราไม่ทำ โยมว่ามันจะเสียประโยชน์เสียเวลามั้ยจ๊ะ ก็ถ้าเรายิ่งไม่ถึงแต่เราก็ไม่ทำมันก็ยิ่งไปกันใหญ่ แม้โยมจะเดินช้าแต่ถ้าโยมเดินอยู่บ่อยๆ แม้เหนื่อยก็พักบ้างแต่ไม่ละจุดหมายปลายทาง แม้จะมีความเพลินบ้างแต่ก็อย่าเพลินนาน อย่าแวะข้างทางนาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าเรามีจุดหมายปลายทาง เราจะกำหนดจุดหมายได้ว่าเราจะถึงเมื่อไหร่ นั้นก่อนที่โยมจะไปมันย่อมต้องมีอุปสรรคเป็นธรรมดา ที่จะมาทดสอบหรือมีความยั่วยวนใจ ให้โยมเพลินให้โยมหลง หรือมีเหตุระทึกทั้งหลาย ดังนั้นแลมันเป็นบททดสอบทั้งนั้นให้เราไปถึงจุดหมายปลายทาง เค้าบอกว่าจุดหมายที่สูงในการสร้างบารมี เส้นทางมันไม่ได้เดินไปธรรมดา แต่เหมือนกับว่าเราเดินเอียงขึ้นไปที่บนเขา โยมว่ามันเป็นที่ทางชันมั้ยจ๊ะ(ลูกศิษย์ : ชันค่ะ) ต้องใช้กำลังมากกว่าการเดินในทางเรียบปรกติมั้ยจ๊ะ นี่แหล่ะมันเป็นธรรมดา

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    47E2C39D-19D0-4778-A319-F722ED983D5F.jpeg
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    35365B5F-901F-42A6-A3BA-CEF84F66230B.jpeg

    บางคนบวชจิตอยู่ก็ดี แม้โยมไม่ได้อาราธนาศีลอยู่เป็นประจำ แต่โยมตั้งใจจะรักษาศีลนั้นแล ย่อมมีอานิสงส์มากกว่าผู้อาราธนาศีลแล้วรักษาศีลไม่ได้ ดังนั้นแล้วใจนั้นเป็นประธานแห่งกรรม ธรรมมีใจถึงก่อน นั้นฤทธิ์ทั้งหลายก็สำเร็จด้วยใจดวงเดียว ไม่ว่าโยมจะเป็นผู้รู้มากหรือรู้น้อยก็ตาม แต่เมื่อยังติดรู้อยู่..เรียกว่าบุคคลผู้นั้นยังไม่ได้ลงมือปฏิบัตจริง

    ผู้ใดเมื่อรู้แล้วแล้วศรัทธาเข้าถึงในความเชื่อแล้ว..ต้องลงมือปฏิบัติ จะได้รู้ว่าสิ่งที่รู้มามันรู้จริงหรือไม่ คนที่รู้แต่ยังไม่ลงมือปฏิบัติ..นั่นเรียกว่าเป็นผู้หลง ติดรู้อยู่ เพราะยังไม่ได้พิจารณาในตัวรู้ว่าสิ่งที่รู้มานั้นจริงหรือไม่ แม้อาจารย์บอกมาก็ดี แม้องค์พระสัพพัญญูบอกมาก็ดี..ก็ยังเชื่อไม่ได้ต่อเมื่อเรายังไม่ได้ลงมือปฏิบัติเอง

    ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ก็หมายถึงว่าเราจักยังไม่มีธรรมเป็นของตัวเราเอง นั่นเรียกว่ายังไม่ได้เจริญปัญญาด้วยตัวเราเอง แล้วเราบอกว่าเป็นผู้รู้ ในสิ่งที่รู้มาบอกว่าเชื่อถือได้..นั่นเรียกว่าความหลงทั้งนั้น ยุคนี้มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ รู้อะไรมาก็บอกว่าฉันได้รู้แล้วเข้าใจแล้ว จึงได้หลงได้ติดในตัวบุคคล ติดในตัวครูบาอาจารย์กันหมด ติดในสำนักอย่างนี้

    เมื่อครูบาอาจารย์เค้าตายไม่อยู่แล้ว ก็ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เหมือนขาดบิดามารดาไป ก็เรียกว่าเรานั้นไม่ได้เอาตนนั้นแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ทั้งๆที่ว่าธรรมทั้งหลายก็อยู่ในกายตนนี้ แต่ไม่ได้น้อมจิตลงไปดูในกายพิจารณาเพ่งโทษมันดู อย่างนี้แลเรียกว่ายังไม่รู้จริง เพราะผู้ที่รู้จริงจะต้องรู้ด้วยปัญญา ถ้ารู้ที่บอกว่ารู้มาด้วยความจำด้วยจำเค้ามานี่เรียกว่าสัญญาทั้งนั้น ยังไม่เรียกว่าปัญญา

    ปัญญาคือความรอบรู้ในกองทุกข์ในกองสังขารของตน แต่ในความรู้คือความจำสัญญาที่จำมาจากการเรียนรู้ หรืออ่านตำรับตำรามาก็ดี เหล่านี้เรียกว่าสัญญาทั้งนั้น เพราะสัญญาเหล่านี้เมื่อโยมไม่ได้ฝึกหรือได้จำไว้นานๆแล้ว..ไม่นานมันก็ลืม แต่ว่าปัญญาเมื่อเกิดแสงสว่างที่ใดโยมเห็นแล้ว..จักไม่มีวันลืม

    นั่นเหมือนบอกว่าขณะใดผู้ใดผู้หนึ่งเมื่อเจริญพิจารณาธรรมอยู่ในขณะหนึ่งขณะใด เมื่อจิตมันตื่นรู้ย่อมถึงธรรมแล้ว ธรรมนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แม้โยมจะไม่ระลึกถึงก็ดีแต่ธรรมนั้นจะอยู่กับโยมตลอดกาล ไม่ว่าจะอยู่ในภพใดภูมิใด แล้วเมื่อโยมเจริญสมาธิภาวนา เจริญฌานลงไปอีก..ธรรมนั้นแลมันจะผุดขึ้นมา แล้วเมื่อโยมเพ่งพิจารณาอยู่บ่อยๆ ธรรมนั้นก็จะเติบโต เหมือนเรียกว่าเรานั้นปลูกหน่อเนื้อต้นโพธิ์ต้นไทรลงไป

    เมื่อเราหมั่นพิจารณาทบทวนเหมือนเราให้อาหาร ใส่ปุ๋ย พรวนดินอยู่บ่อยๆ ต้นโพธิ์ต้นน้อยเป็นหน่อเนื้อนั้นมันก็จะเติบโตขึ้นมา ให้เป็นที่พึ่งให้ความร่มเย็นเรา ก็เหมือนผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมนั่นแล เมื่อประพฤติปฏิบัติไปแรกๆอาจจะร้อนรน จิตใจฟุ้งซ่านรำคาญใจ พอเรานั่งไปภาวนาไป ข่มจิตข่มใจได้ เท่าทันจิตเท่าทันอารมณ์ได้ ทีนี้ความร่มเย็นเป็นสุขมันก็เข้ามาแทนที่ ความรุ่มร้อนเร้าใจฟุ้งซ่านรำคาญใจมันก็จะเริ่มหายออกไปอย่างนี้

    อย่างนี้แลเค้าเรียกว่ามันให้คุณให้ประโยชน์เรา เมื่อเราหมั่นอบรมบ่มจิต เมื่อเราปลูกลงไปแล้วเราก็ต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ เรียกว่าการเจริญอิทธิบาท ๔ ให้มันเกิดขึ้นมา คนที่เจริญอิทธิบาท ๔ ได้มันต้องมีอินทรีย์ ๕ เรียกว่ากำลังพละทั้ง ๕ ถ้าโยมมีพละทั้ง ๕ หรืออินทรีย์ ๕ ทำให้เป็นประจำ ไม่ว่าโยมจะมีโทสะมาก มีโมหะมาก มีราคะตัณหามากเพียงใด โยมก็ตัดเข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นโยมต้องพิจารณาให้มาก ไอ้กำลัง ๕ อินทรีย์ ๕ มันเป็นอย่างไร ศรัทธาโยมต้องให้ถึง ความเพียรโยมต้องถึง คือมีวิริยะอยู่บ่อยๆ ในการทำความเพียร..ความเพียรนี่โยมจะไปทำตอนไหนได้บ้าง ตอนที่โยมนั้นไม่อยากทำความเพียรนั้นแล..โยมต้องฝืนทำ เพราะในความอยากทำความเพียรมันเป็นธรรมดาอยู่แล้วมันทำได้มากน้อยแค่ไหน

    แต่ในขณะที่เรามีความง่วงนั่นแหล่ะจ้ะ มีความขี้เกียจเหนื่อยล้าในกายสังขาร ไม่อยากได้อะไรนั้นแล ไอ้ความไม่อยากได้อะไรจริงๆแล้วคือความสงบอย่างหนึ่ง แค่เรากำหนดจิตอยู่ในกาย ทรงกายไว้..เดี๋ยวธรรมมันก็บังเกิด แสดงว่าการประพฤติปฏิบัติธรรมทำได้ทุกตอนทุกอาการ ใช่มั้ยจ๊ะ ทำได้ตลอดไม่มีเวลา

    ความโกรธ..ขณะที่โยมโกรธอยู่โยมกำหนดสมาธิได้มั้ยจ๊ะ มันยังโกรธโยมก็ต้องกำหนดรู้ว่าในขณะนี้เราโกรธอยู่ ใช่มั้ยจ๊ะ ในขณะที่เรามีความง่วงความหดหู่อยู่เราก็ต้องกำหนดได้..นี่เรียกว่าสมาธิทั้งนั้น อะไรที่เราระลึกไม่ได้และกำหนดไม่ได้..ไม่เรียกว่าสมาธิเลย

    แต่สมาธิมันมีอย่างอ่อน อย่างกลาง อย่างมีกำลัง ที่จะไปใช้งานได้ เหมือนแสงสว่าง..มีแสงสว่างน้อย แสงสว่างปานกลาง แสงสว่างมาก ความสว่างมากย่อมเป็นธรรมดาโยมย่อมมองเห็นอะไรที่มันปกปิดอยู่ ใช่มั้ยจ๊ะ ถ้าแสงสว่างอย่างอ่อนๆ โยมก็ต้องมีอะไรปกป้องมันเพื่อไม่ให้มันดับลงไป..ก็คือมีองค์ภาวนา ภาวนาให้จิตมันมีกำลัง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    7A3396FB-5FBD-4C44-B599-9C0ED0A50234.jpeg ก่อนจะเข้าสมาธิภาวนาลองละอารมณ์ก่อน อารมณ์อะไรที่เรามาพิจารณามีสิ่งใดที่มารบกวนจิต..ให้ละอารมณ์ก่อน เมื่อเราละได้ให้แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทุกดวงจิตวิญญาณ หรือบุคคลใดก็ตามที่ทำให้จิตเรานั้นขุ่นหมอง..นั่นแลเรียกว่าเจ้ากรรมนายเวร ถ้าเรายังเหนืออารมณ์นั้นไม่ได้แสดงว่าเค้ามีบารมีมากกว่าเรา

    ถ้ามีมากกว่าเราจะแผ่เมตตาให้เค้ามากเพียงใด..เค้าก็รับได้ยาก จิตเรามันยังอ่อนอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ต้องทำจิตให้เหนืออารมณ์ เมื่อจิตเราเหนืออารมณ์ในสิ่งนั้น กระแสจิตแห่งความเมตตาหรือรู้เท่าทันในอารมณ์นั้นว่า โอ้..เพราะเค้านั้นขลาดเขลาเบาปัญญา ก็เหมือนเฉกเช่นเดียวถ้าเรามีอารมณ์ในโทสะ เราก็จะมีแบบเค้านั่นเอง

    เมื่อเราควบคุมเท่าทันอารมณ์ได้อย่างนี้ เราจะเห็นว่านี่..มันเป็นอย่างนั้นเอง เพราะคนไม่เห็นโทษ ไม่ได้เพ่งจิต ถ้าเราไม่เห็นอย่างนั้น..เราก็ไม่ต่างอะไรกับคนหมู่นั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นก็ตัดกันไม่ได้ซักที อย่างนั้นแล้วจงพิจารณาให้เป็นอย่างนี้ ให้เจริญเมตตาให้มาก

    แล้วคนที่เจริญเมตตาได้มันต้องละอารมณ์ให้มากก่อน คือต้องรู้โทษของอารมณ์นั้นก่อน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อเราเห็นอย่างนั้นแล้วจิตเราจะเยือกเย็น เมื่อเยือกเย็นแล้ว..ความโกรธก็ดี ความไม่พอใจก็ดี แม้มันจะเกิดขึ้นแต่สติมันจะเท่าทันและยับยั้งชั่งใจได้ทัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ และดับในเวลานั้น นั่นแลเป็นผู้เจริญในทาน ศีล ภาวนา

    ดังนั้นอริยสัจ ๔ นั่นคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคก็ควรทำให้มันแจ้ง อย่างที่ฉันบอกทุกข์คืออะไร จิตที่โยมส่งออกไปภายนอก..นั่นแลที่ทำให้โยมทุกข์ ผลจากจิตที่ส่งออกไป..นั่นคือสมุทัย จิตที่เห็นจิตและดับอารมณ์จิตได้ในอารมณ์นั้น..นั่นเรียกว่านิโรธ ผลจากจิตที่เราดับได้เท่าทันได้ในอารมณ์นั้น..นั่นเรียกว่ามรรค

    อย่างนี้แลเท่ากับว่าโยมได้เจริญในอริยสัจ ๔ เห็นสัจจธรรมความเป็นจริง ใครเห็นอริยสัจ ๔ สัจจธรรม ๔ ประการนี้ โยมจะเห็นกฎไตรลักษณ์อย่างชัด เมื่อชัดแล้วมันก็แจ้ง เมื่อแจ้งแล้วควรทำให้มันเกิดขึ้นบ่อยๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ตัววิมุตินั้นมันถึงจะเกิดขึ้น วิมุติคืออะไร..คือตัวหลุดพ้น จิตที่ไม่อยู่ใต้อำนาจอารมณ์ใดๆเลยนั่นแล เค้าเรียกว่าตัววิมุติ

    ถ้ายังอยู่ใต้อำนาจอารมณ์ใดอยู่ คำว่าอารมณ์..ผู้นั้นยังไม่ได้ชื่อว่าผู้รู้จริง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ยังมีขันธ์ในกองทุกข์ที่ต้องอาศัยเสวยอยู่ แม้ไม่มีกายสังขารก็ต้องทุกข์อยู่อย่างนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนวิญญาณบาปทั้งหลาย วิญญาณที่ยังมีอกุศลอยู่..อย่างนี้ย่อมไปอยู่ในภพภูมิที่สุคติภูมิไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วพรทุกๆปีอยากให้โยมได้มาพิจารณา ว่าปีหนึ่งสิ้นไปเป็นชาติหนึ่ง ไม่ต้องรอให้เกิดตายแล้วเป็นหนึ่งชาติ เอาหนึ่งปีที่โยมได้ครบขวบอายุของโยมนั้น ถ้าบุญโยมไม่ดีจริงโยมคงอยู่ไม่ได้ ให้โยมได้พิจารณาอย่างนี้ ดังนั้นหากโยมยังมีกายสังขารยังมีลมหายใจ..นั่นเรียกว่าเค้ายังให้โอกาสโยมอยู่แก้ตัว ได้สร้างบารมี ได้เพิ่มพูนบุญกุศลให้มากๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    อย่าได้ให้อะไรมาบังคับบีฑาและมาตัดรอนโยม ถ้าอะไรจะมาตัดขอให้โยมต่อรองเสีย ต่อรองอย่างไร ให้อธิษฐานบุญบารมีอยู่บ่อยๆ แม้ทุกขณะจิต หรือแม้จะสิ้นปี หรือในขณะที่โยมเจริญบารมีเจริญภาวนา ให้"อธิษฐาน"ก่อนจะออกจากการบำเพ็ญจิตก็ดี..

    อธิษฐานบารมีอย่างไร อธิษฐานว่าเราเกิดมาแล้ว บุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้เกิดมาสร้างทานบารมี ที่จะมาเจริญรักษาพรหมจรรย์ก็ดี จะมารักษาพยุงศาสนาก็ดี จะตอบแทนบรรพชน แผ่นดิน ศาสนา ผู้ที่ให้แผ่นดิน บิดามารดาผู้ให้กายเลือดเนื้อสังขารมาอย่างนี้

    อธิษฐานว่าข้าพเจ้าจะขอเอากายสังขาร ลมหายใจของข้าพเจ้าที่มีสติมีกำลังตามกุศลบารมีของข้าพเจ้า ได้สร้างบุญสร้างบารมีให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อชาติศาสนา ต่อแผ่นดิน เพื่อจะให้เข้าถึงในพระรัตนตรัย อันบุญกรรมเวรภัยทั้งหลายไม่ว่าจะชาติใดก็ตามที่ได้เคยกระทำมา ที่จะมาเบียดเบียนบังคับบีฑา มาตัดรอนหนใดก็ตาม..

    ขอบุญกุศลเหล่านี้จงสำเร็จต่อดวงจิตวิญญาณเหล่านั้น ให้ยุติในกรรมทั้งหลาย อย่าได้มามีเวรพยาบาทอาฆาต ก็ด้วยอำนาจแห่งพระรัตนตรัยนี้จงเป็นแสงสว่างนำทางให้ดวงจิตวิญญาณเหล่านั้นเป็นที่พึ่งเป็นที่อาศัย ไปผุดไปเกิดตามแรงบุญกุศลวาสนาบารมี อย่าได้จองเวรจองกรรมกันอีกต่อไปเลย

    ด้วยอำนาจอานิสงส์แห่งบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ตั้งจิตนี้ ด้วยจิตที่เข้าถึงแล้วในพระรัตนตรัย ให้เราอธิษฐานไปอย่างนี้ บุญกุศลเหล่านี้แล..แม้เราจะลุ่มหลงเพลิดเพลินไป มันก็ยังกลับมาให้เรานั้นได้มีสติอยู่

    อย่าให้ใครมาคอยเตือน แต่เราต้องเตือนตัวเราเองอยู่บ่อยๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นถ้าตนเตือนตนเตือนตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้ กรรมนั้นแลจะเป็นผู้สอน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมไม่สอนตัวเอง ไม่เตือนตัวเอง ไม่เมตตาตัวเอง ครูบาอาจารย์ที่ไหนก็ไม่มีใครเมตตาได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    7EAD0C14-99C6-449D-BEC9-736D313F6C3C.jpeg

    โยมจะเดิน นั่ง นอนก็ดีในที่สงัด นั่นแลมันเป็นที่ฝึกจิตอย่างดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ คราใดที่โยมมีเกิดปัญญาเกิดขึ้นมาเกิดความสว่างแห่งจิต ความหดหู่ความเศร้าหมองมันจะถูกสลัดออกไป แล้วถามว่าเมื่อมันเกิดปัญญาแล้วโยมจะหลับตามันจะสงบได้หรือไม่ เมื่อโยมเกิดปัญญาแล้วสมาธิมันหล่อเลี้ยงอยู่ในตัวแล้ว หาใช่จำเป็นต้องมานั่งสมาธิอีกไม่..

    โยมจะเดินโยมจะนอน..ปัญญามันก็จะพิจารณาของมันเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ อย่างนี้เค้าเรียกว่า"มีธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตโยม" มันจะทำให้โยมนั้นเกิดความเพลิน อันความเพลินนี้ไม่ได้บอกว่าทำให้โยมนั้นเกิดสุข แต่ความเพลินนี้โยมจะมีกำลังที่จะเจริญอิทธิบาท ๔ ทำให้ใจโยมมีกำลังเป็นฤทธิ์ที่จะไปประหารพิจารณาละกิเลสตัณหาอุปาทานเสียได้

    ดังนั้นถ้าโยมหมั่นพิจารณาธรรม ตรึกตรองในธรรมอยู่ ๕ วาระอยู่เป็นนิตย์ มีอะไรบ้างจ๊ะ คนที่จะเข้าถึงธรรมบรรลุธรรมมีอยู่ ๕ วาระ (ลูกศิษย์ : สวดมนต์ ฟังธรรม พิจารณาธรรม แสดงธรรม เจริญวิปัสสนา) แล้วที่โยมได้กล่าวมานี้ โยมได้ทำกันครบมั้ยจ๊ะ โยมก็เอาข้อใดข้อหนึ่งก็ได้เป็นสมถะ

    การเจริญมนต์ก็ดี เมื่อโยมเจริญไปแล้วแม้มันจะมีความง่วงก็ดี แต่ขอให้โยมมีความตั้งใจจิตจดจ่อในขณะที่โยมสวดมนต์ เสียงที่โยมสวดมนต์ที่มีกำลังพอสมควรนั้นแลมันจะไปบดบังดับอารมณ์ภายนอกไม่ให้เข้ามากระทบให้จิตโยมฟุ้งซ่าน อย่างนี้ชื่อว่าโยมอยู่ในสมาธิอยู่

    ดังนั้นความง่วงอาจจะมีบ้าง มันก็เป็นของธรรมดา เมื่อโยมภาวนาโยมสวดไปมากๆแล้ว จิตมันตื่นรู้มีกำลัง จิตมันจะตั้งมั่นของมันเอง ในขณะโยมจดจ่อสวดอยู่นั้นจิตโยมก็เป็นฌาน ในขณะใดที่โยมสวดอยู่จิตโยมเข้าถึงในสมาธิแล้ว โดยธรรมชาติของจิตปัญญามันก็บังเกิดได้ มันจะค่อยๆเข้าถึงความศรัทธา ศรัทธาโยมมีมากความเชื่อโยมก็มีมาก แต่ศรัทธาใดก็ตามถ้าโยมปราศจากปัญญาแล้วมันก็เป็นความงมงาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นความศรัทธาของโยมนั้นต้องมีปัญญาที่จะต้องอบรมบ่มจิตอยู่บ่อยๆ ว่าในความศรัทธาที่เราเชื่อในสิ่งนี้มันสมควรเชื่อหรือไม่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมพิจารณาอบรมบ่มจิตโยมได้ นี่แลโยมก็จะรู้ได้ว่าสิ่งที่โยมศรัทธานั้นเป็นไปในทางที่เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ เมื่ออย่างนี้โยมก็จะรู้จักว่าของจริงเป็นอย่างไร ของที่ไม่จริงเป็นอย่างไร แม้มันจะจริงก็ไม่ควรยึด แต่ที่ไม่จริงมันต้องควรละ ดังนั้นอยากให้โยมได้เข้าถึงความศรัทธา เข้าถึงความเพียร

    แล้วความเพียรคืออะไร ความเพียรคืออะไรจ๊ะ การที่โยมจะมาเจริญมนต์โยมต้องมีความเพียรมั้ยจ๊ะ โยมต้องมีความตั้งใจมั้ยจ๊ะ โยมต้องมีความเชื่อความศรัทธามั้ยจ๊ะ นี่เรียกว่าโยมมีความเพียรทั้งนั้น อะไรก็ตามถ้าโยมไม่ตั้งมั่นอยู่ในความเพียร..โยมไม่สามารถจะมาทำได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะว่าเมื่อโยมสร้างความเพียรเข้าไปมากๆเข้าแล้วบารมีมันก็จะบังเกิดได้ ดังนั้นเราจะรู้ได้อย่างไร ที่เราทำไปมันเป็นการสะสม เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อโยมสวดมนต์มากๆเข้าจิตโยมจดจ่อตั้งมั่น เหมือนล้างลมเสียออกจากปอด มันขับสิ่งที่ไม่ดีออกจากกาย ออกจากทวาร ออกจากกระหม่อม ออกจากรูขุมขน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะวันๆหนึ่งเรารับแต่สิ่งที่ไม่ดีเข้ามา ถ้าเราไม่รับเราก็คิดของเราเอง ความคิดนั้นก็เป็นโทษ นั่นก็คือคิดที่ไม่ดีที่เป็นอกุศลมันก็เป็นโทษ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เหมือนน้ำที่ไม่ได้ถ่ายเทมันเน่าเหม็นมั้ยจ๊ะ เหมือนของเสียที่ไม่ได้ถ่ายออก นั้นความคิดที่หมักหมมที่เป็นอกุศลแล้วไม่ได้ละออกก็เช่นเดียวกัน มันเป็นอารมณ์เป็นวิญญาณที่ไม่ดี เค้าเรียกวิญญาณที่ตายโหง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนี้ต้องทำยังไง อ้าว..ในขณะที่เรามาเจริญมนต์ เรากล่าวแต่คำที่ดีที่เป็นมงคล ใช่มั้ยจ๊ะ เมื่อเราภาวนาสวดไปมากๆเข้า เราจะเกิดความร้อนภายในกาย นั่นแหล่ะจ้ะที่มันขับออก มันจะทำให้จิตเราตื่น แล้วกายที่เราตื่นเป็นยังไง กายเราจะมีกำลัง ที่เราหดหู่อ่อนล้าอ่อนแรง..พอเราสวดมนต์ไปมากๆแล้วจะมีกำลัง เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วที่โยมคิดอยู่ในอกุศลมูล..เหล่านี้เมื่อโยมภาวนาจิตโยมสวดมนต์ไปมากๆแล้ว อารมณ์เหล่านี้มันจะถูกสลัดออกไป

    นั้นใครจะรู้ได้ว่าในกายเรามีอะไรบ้าง เพราะว่าในกายนี้มันเป็นของโปร่งแสง อะไรก็สามารถเข้าได้ทั้งนั้น ถามว่าโยมมีภาวนาอยู่ตลอดมั้ย โยมระลึกถึงศีลอยู่ได้ตลอดหรือเปล่า..ก็เปล่าเลย ใช่มั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วเค้าถึงได้บอกว่า..บางครั้งเราไปที่ใดเราอยู่แล้วบางครั้งจิตเราก็หดหู่..นั้นจะให้ทำยังไง ให้ระลึกถึงองค์ภาวนา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไปที่ไหนที่ทำให้เรารู้สึกกลัวก็ให้เราภาวนา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ที่ไหนก็ตามที่ไปแล้วทำให้เรารู้สึกกลัว หดหู่ เศร้าหมอง แสดงว่ามีพลังงานบางอย่างที่เรานั้น..เรียกว่าเป็นพลังงานหรือเรียกว่ามีเจ้ากรรมนายเวรที่คอยมาแฝง คอยมาสบช่องหาโอกาส

    นั้นเราไปที่ใดก็ตามที่เรายังไม่เคยไปนั้นแลเราควรมีองค์ภาวนากำกับจิตไว้ เมื่อเรามีองค์ภาวนาจิตเราตั้งมั่นแล้ว ให้เราแผ่เมตตาออกไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ การแผ่เมตตาออกไปนี้แลไม่ว่าสถานที่ใดที่เราได้ไป..แสดงว่าเราเคยมีกรรมกับที่ตรงนั้น เหมือนบุคคลที่เราไม่เคยเจอหน้า แต่เมื่อถึงแล้วต้องมาพบมาเจอ..นั่นแหล่ะจ้ะแสดงว่าเราเคยมีกรรมทางใดทางหนึ่งก็ดี

    นั้นไม่ว่าโยมจะเดินทางไปไหนให้โยมมีภาวนาอยู่ตลอด เมื่อจิตโยมตั้งมั่นแล้วให้แผ่เมตตา เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วโยมจะไปไหนก็จะเป็นการปลอดภัยกับตัวของโยมเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วคนที่ประมาทต่างหากที่เปรียบเหมือนคนที่จะตายแล้ว ยิ่งสมัยนี้โลกนี้มันอยู่ลำบาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แม้คนที่เค้ายังไม่ตายก็มีจิตใจที่โหดเหี้ยมขาดเมตตา นั้นโยมต้องเจริญเมตตาให้มากๆ เพราะอารมณ์ของเมตตานี้อานิสงส์มันจะเป็นเกราะป้องกันภัยโยม เข้าใจมั้ยจ๊ะ จากจะมีศัตรูจะอาฆาตพยาบาท พอแผ่เมตตาแล้วก็จะกลับเป็นมิตรช่วยเหลือเราได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    D21E046D-C906-4EC2-BF1A-92168054AA24.jpeg

    คนเราจะแก่เฒ่าหรือยังไงไม่สำคัญ ถ้ายังมีใจที่ตั้งมั่นในพระรัตนตรัยแล้ว ปรารถนาจะสร้างบารมี แม้กายพิการก็สามารถสร้างบารมีได้ อย่าให้ใจมันพิการอย่างเดียว ถ้าโยมมีใจพิการต่อให้โยมมีอาการครบ ๓๒ ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เข้าใจมั้ยจ๊ะ ขาไม่มีเดินไม่ได้แต่ว่ายังถัดไปได้ สร้างบารมีได้ทั้งนั้น

    แม้พระเทวทัตจะสิ้นสุดแล้วด้วยถูกธรณีสูบแล้วก็ตาม ก็ยังเหลือคาง หัว เศียรเป็นส่วนสุดท้าย ก็ยังสำนึกได้ในบาปในคุณโทษนั้น ยังได้อธิษฐานบารมีถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา อานิสงส์ก็ยังตามติดส่งผลเพื่อจะบรรลุธรรมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ อันนี้แค่เป็นส่วนคาง แล้วนี่โยมประพฤติปฏิบัติบูชาท่าน บุญกุศลจะไม่สูงส่งหรือจ๊ะ

    อ้าว..วันนี้อากาศเย็นมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เย็นจ้ะ) หนาวมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : หนาวเจ้าค่ะ) จริงๆป่านนี้โยมต้องไปนอนมีความสุขแล้วนะ แต่โยมมาละสุขนี่แล นี่เค้าเรียกว่าเรานั้นได้เอากายสังขารมาอุทิศร่างกายสังขารเพื่อสร้างประโยชน์ สร้างให้ใคร..สร้างให้ตัวเราเอง เรียกว่าเอากายสังขารนี้มาประพฤติปฏิบัติ..นี่เรียกการละสุข แต่ไม่ได้เป็นการทรมานสังขาร แต่ว่าเราเอาสังขารเอามาทรมานกิเลสมัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะว่าโยมนั้นนอนเป็นสุขมาเนิ่นนานแล้ว การที่เราทรมานมัน เจริญความเพียรเพ่งโทษมันอย่างนี้ นี่เค้าเรียกว่าการละสุข ถ้าเราไม่ได้ทรมานมันบ้างเลย ปล่อยให้มันทรมานเราอยู่เพียงฝ่ายเดียว เราก็ต้องตกเป็นทาสมันอย่างนี้อยู่ร่ำไป ดังนั้นอะไรที่เรานั้นจะละได้ในความสุขในความเพลิน..นั่นเรียกว่าบารมีทั้งนั้น นั่นเรียกว่าเป็นกรรมฐานทั้งนั้น มันจะมีการงานของจิต ไม่ใช่มานั่งสั่นโดยที่ไม่รู้ว่าทำอะไร เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่เรารู้อากาศมีความหนาวเย็นก็รู้ มีการสั่นเทิ้มก็รู้ เค้าจึงบอกว่าจิตนี้ที่ตัวรู้นี้แล้วไม่ยึดในสิ่งที่รู้นั่นแล..เค้าเรียกว่าจิตที่หลุดพ้น แต่โยมจะหลุดพ้นได้นานมั้ย มันจะเป็นอย่างที่หลวงปู่ว่าจริงมั้ย ว่าถ้าเราไม่สนใจมันก็ไม่หนาว แต่ว่ามันหนาวอีกแล้วจะให้ทำยังไง อ้าว..ก็กำหนดรู้บ่อยๆ ไอ้ตัวกำหนดรู้ตัวนี้คือตัวสติ เมื่อสติมันตั้งมั่นมากตั้งมั่นมากนั่นแล มันจะทนอยู่ได้ อินทรีย์มันจะแก่กล้า เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าเราไปรู้อะไรเราไปอุปาทานปรุงแต่งนั่นแล ไอ้ตัวรู้นั้นเค้าเรียกว่ามี"ความหลง" แต่ถ้าว่าเราเห็นอะไรเรารู้อะไรแล้วเราวางเฉย ทีนี้มันจะเข้ามาให้เห็นอยู่ตลอดเวลา เหมือนที่ว่าไม่อยากรู้แต่ก็ได้รู้ได้เห็น แต่ว่าพออยากรู้อยากเห็นไม่ได้เห็นไม่ได้รู้อะไร มันเป็นความคิดของกิเลส เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วนั่งประพฤติปฏิบัติไป ภาวนาไป จิตมันไม่สงบก็ภาวนาไป ไม่ต้องไปสนใจมันสงบตอนไหน เพราะตอนภาวนาเค้าเรียกว่าจิตมันเข้าถึงแล้ว..มันจะสงบตอนไหนเรื่องของมัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันคิดอะไรก็เอาความคิดนั้นมากำหนดรู้..ว่าคิดในทางอะไร ในทางกุศลหรือในทางอกุศล เค้าเรียกวิตกในอารมณ์ในความคิดนั่นแล ก็เท่ากับว่าเราครุ่นคิดวิตกในธรรมอยู่ จึงเรียกว่าเราเข้าในปฐมฌานอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ทำอะไรก็ได้ที่เรานั้นมีสติระลึกรู้อยู่ตลอด..อันนั้นแลเรียกก็ว่าเราได้เจริญสติ แต่ว่าไม่ได้ไปเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น แต่ให้รู้เท่าทันในอารมณ์นั้น เมื่อรู้เท่าทันอารมณ์นั้นที่เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..และดับไปแล้ว ในขณะที่ตั้งอยู่นั้นอารมณ์นั้นมันเกิดขึ้น มันเป็นอารมณ์ของฝ่ายดี ฝ่ายกุศลหรือฝ่ายอกุศลก็ให้รู้ เมื่อมันดับไปแล้ว มันดับไปได้อย่างไร ดับไปเพราะอะไร มันก็มีเหตุของมันที่เกิดขึ้น

    เมื่อมันดับไปแล้วเรารู้เหตุและดับเหตุได้ มันก็จะไม่เกิดขึ้นอีก แม้มันเกิดขึ้นเราก็จะเท่าทันมันอีกอยู่อย่างนี้ จนเราเห็นชัดรู้เท่าทันในสติเหล่านั้นเมื่อมันมีกำลังมากแล้วนั่นเอง เราจะวางเฉยอุเบกขาในอารมณ์นั้นได้ อารมณ์เหล่านั้นหรือผัสสะ หรือธรรมารมณ์เหล่าใดก็ดีที่มันเข้ามา..ก็รู้..แล้ววาง

    แต่การที่เราจะรู้แล้วเราจะวางเลยทีเดียวนั้น..มันเป็นของที่ทำได้ยาก ถ้าเราไม่เคยฝึกวางไม่เคยฝึกรู้ หรือเรียกว่าไม่เคยฝึกจิตเลย เราจะไปรู้ไปวางได้มั้ยจ๊ะ มันวางไม่ได้รู้ไม่ได้ ดังนั้นถ้าโยมบอกว่าจะไปละวางตอนที่โยมจิตมันจะตาย สุดท้ายของกายสังขารที่ดับดิ้นไปแล้ว..ไม่มีทางหรอกจ้ะ ใช่มั้ยจ๊ะ มันเก่งกว่าครูบาอาจารย์แล้วถ้าอย่างนั้น

    นั้นการฝึกจิตนี้เป็นสิ่งที่มีความมหัศจรรย์มาก เมื่อโยมไม่ฝึกมัน..ไม่มีทางเข้าถึงหรอกจ้ะ ถ้าโยมเข้าถึงจิตได้โดยง่ายโยมบรรลุธรรมกันไปหมดแล้ว ไม่มาดื้อด้านอยู่อย่างนี้ นั้นไอ้เรื่องที่มันดื้อด้านนี่มันเป็นธรรมดา..เพราะอะไร เพราะกิเลสตัณหามันร้อยรัดอยู่ สะสมมาเป็นภพเป็นชาติ เป็นวัฏฏะหนาเท่าภูเขาเลากา กว่าจะตัดให้มันหายไปทีละเล็กทีละน้อย..มันต้องใช้บารมี

    นั้นการที่เราได้เกิดมาพบศาสนา เกิดมาพบครูบาอาจารย์ แล้วเรามีกำลังใจมีแนวทางนี้เค้าเรียกว่าบารมี ให้เราอธิษฐานบารมี ถ้าเราจะเป็นชาติสุดท้ายเราก็เป็นชาติสุดท้าย เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าเรายังอยากพอใจในการเกิดอยู่ มันไม่ใช่ชาติที่ว่าสุดท้ายแล้ว ฉันถึงบอกว่าถ้าโยมอยากจะประพฤติปฏิบัติธรรม ให้ระลึกถึงการสิ้นทุกข์ ทำนิพพานให้แจ้ง..นั่นแหล่ะจ้ะโยมถึงจะเป็นชาติสุดท้ายได้

    ถ้าโยมไม่ได้คิดอย่างนี้ เพียงอาศัยบุญกุศลนี้เพื่อมีความคล่องตัวในทางโลก อันนั้นนี้โยมเข้าถึงในบุญกุศลแต่ยังไม่ได้เข้าถึงหนทางแห่งมรรค คนที่ยังไม่ได้เข้าถึงทางแห่งมรรคาจะหาถึงความหลุดพ้นไม่มี เข้าใจมั้ยจ๊ะ ต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่อย่างนี้ร่ำไป..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    FE7947A1-8B70-4946-B219-7F242852FD7A.jpeg

    ลูกศิษย์ : ลูกขอถามเรื่องการถวายของเจ้าค่ะ มีโยมบางท่านนำขนมนำผลไม้มาถวายเพื่อบูชาสมเด็จปู่ แต่เค้ามาช่วงบ่าย เค้าจะบอกว่านี่มันบ่ายมันเลยเที่ยงไปแล้ว สมเด็จปู่เป็นพระสงฆ์ต้องเอาไว้ข้ามวันอีกวันหนึ่ง ต้องรอเป็นช่วงเช้าถึงจะถวายได้ ลูกเลยอยากทราบว่าจะเป็นอย่างไรเจ้าคะ

    หลวงปู่ : โยมมามืดโยมถวายตอนมืดก็ได้ เดี๋ยวเช้าท่านก็ฉันของท่านเอง แล้วถ้ามารอพรุ่งนี้แล้วพรุ่งนี้ไม่ได้ถวายล่ะ..ท่านก็ไม่ได้กิน โยมถวายไปแล้วมันเป็นของท่าน ท่านจะฉันตอนไหนมันเป็นเรื่องของท่าน นั้นอย่าไปยึดไปถืออะไร การที่เราน้อมเอาอะไรมาถวาย เค้าเรียกว่าเป็นการสักการะนอบน้อมทำความเคารพ

    แล้วสิ่งที่ว่าถวายไปมันเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ นั่นหมายถึงว่าการสละความตระหนี่ถี่เหนียว เค้าเรียกว่า"ถวายน้ำใจ" เข้าใจมั้ยจ๊ะ น้ำใจนี่สำคัญ การที่โยมสละอะไรให้นี่เรียกว่าน้ำใจทั้งนั้น เรียกว่าน้ำใจเป็นทาน เรียกว่าน้ำใจไมตรี นั้นการที่โยมไปถามว่าท่านจะฉันได้หรือไม่ได้..อันนั้นไม่ใช่สาระ เพราะว่าท่านไม่ได้ฉันแล้ว ท่านจะไปฉันได้อย่างไร เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่สิ่งที่ฉันหรือใครให้ถวายอะไรท่านสมเด็จฯน่ะ โยมจะได้พร อ้าว..ก็โยมไปหาพระ พอถวายอะไรท่านก็จะ..ยะถา วาริวะหา ท่านก็บอกให้หมด สัพพี ติโยให้ เห็นมั้ยจ๊ะ นั่นก็หมายถึงว่าเมื่อโยมเอาอะไรมาถวายแล้ว ให้โยมกรวดน้ำได้เลย พอกรวดน้ำเสร็จไม่ต้องรอให้ท่านสัพพี เพราะโยมอาจจะไม่ได้ยิน โยมก็ตั้งจิตขอพรเลย พรอันนี้ที่ข้าพเจ้าได้ให้ทานนี้ไป ขอสำเร็จต่อเทวดาเจ้าที่เจ้าทาง ขอพรนี้จงสำเร็จประโยชน์ให้เกิดความสุข ความมั่งมีอะไรก็อธิษฐานไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แม้ว่าโยมจะไปหาพระหรือรูปปั้นอะไร สิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรที่ไหนก็ได้ โยมเอาอะไรไปถวายเรียกว่าโยมมีน้ำใจไมตรี ให้โยมกรวดน้ำอุทิศบุญได้เลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วถ้าโยมจิตตั้งมั่นมุ่งตรงต่อดวงจิตใคร ถ้าดวงจิตนั้นมีบารมี..บุญกุศลเค้าจะเป็นสะพานเชื่อมต่อบุญนั้นที่โยมส่งไปได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เหมือนที่ว่าโยมไปถวายที่พ่อพระศรีอาริยเมตไตรย..ผลไม้อะไรน่ะ แล้วมันเป็นเรื่องสำคัญเรื่องจริงมั้ยจ๊ะ พอถวายเสร็จแล้วเราจะวนเวียนไปรอ เอ..ฉันเสร็จรึยังนะ เอาไปเราก็ได้ฉันกลับมาอีก เห็นมั้ยจ๊ะ แล้วถามว่าต้องรอธูปหมดดอกก่อนมั้ย อันที่จริงเมื่อโยมถวายไปแล้วโยมไม่ต้องรอธูปหมดดอกหรอกจ้ะ เมื่อโยมตั้งจิตอธิษฐานถวายแล้ว แผ่บุญกุศลแล้ว ตั้งจิตอธิษฐานแล้ว ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ลาเอากลับบ้าน

    แต่จริงๆที่สำคัญ ที่จริงคือว่าเมื่อเราถวายไปแล้ว..ทานนั้นเราอย่าเหลียวหลังไปอีก คือใครจะเอาไป..นั่นเป็นทาน ทำทานแต่อย่าเหลียวหลังหันไปมอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นเรียกว่าเทกระจาดทำหมดหน้าตัก ไม่ใช่มาวนเวียนอยู่ โอ้..เอาแต่ของดีๆมาแพงๆ รอจนธูปหมดก่อน อันนี้เค้าเรียกว่าไม่ต้องเอาไปถวาย มันไม่ได้เกิดอานิสงส์เท่าไหร่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันยังเสียดายอยู่ ยังทำด้วยความโลภอยู่

    ทำต้องทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นโยมจะมาถวายตอนกลางคืนได้ทั้งนั้น จิตโยมต้องการจะทำทาน ใช่มั้ยจ๊ะ มันเกิดอานิสงส์ทั้งนั้น ดังนั้นอยากให้โยมเข้าใจว่าทำอะไรต้องอย่าทำด้วยความโลภ บางคนทำไปแล้วเสียดาย เอาแต่ของดีๆมาถวาย อาจจะเป็นอาหารของมดไป อย่าลืมว่าเมื่อมีใครผ่านมาเห็นเค้ายังเป็นทานได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แล้วถามว่าอยู่ๆมีใครไปเอาที่เราถวายไปคนเอาไปกิน..เป็นบาปมั้ยจ๊ะ มันไมเป็นบาปหรอกจ้ะ เพราะสิ่งที่โยมถวายไปนั้นเป็นทานแล้ว ทานนี้ใครจะเอาไป..ไม่มีเจ้าของ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นคือประโยชน์อย่างแท้จริง ประโยชน์อยู่ตรงนั้นนะจ๊ะ เพราะหลวงพ่อไม่ได้ฉัน ลูกศิษย์มาฉัน นั้นประโยชน์อยู่ตรงนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ไม่ใช่บอกว่าพอเราไปวางถวายแล้วกลัวคนโน้นคนนี้จะเอาไปกิน อันนี้เค้าเรียกว่าทำทานยังมีความขี้เหนียวอยู่ ดังนั้นทำทานอะไรแล้วอย่าได้หวังผล ทานนั้นมันจะมีอานิสงส์มาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นไม่ต้องถามว่าหลวงพ่อหรือว่าองค์ไหนเค้าจะได้รับมั้ย เค้านั้นฉันด้วยความเป็นทิพย์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ คำว่าเป็นทิพย์นั้นจักไม่มีเวลา ที่เป็นเวลาเพราะว่าสมมุติบัญญัติของโลกเป็นเวลา แต่โลกของทิพย์ไม่มีเวลา แต่จุดหมายสูงสุดของสิ่งที่โยมจะเอาไปถวายนั้น..คือทานอันสูงสุด คือไม่เสียดายในทานนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    434A491D-D81F-4EBB-A1B3-BC8451AFFE95.jpeg

    ถ้าโยมต้องการประพฤติปฏิบัติไปเพื่อสู่ทางพ้นทุกข์ โยมต้องมีความปรารถนาหรือเรียกว่ามีปณิธาน "ปณิธาน"คืออะไร..ก็คือการอธิษฐานจิตปรารถนาหวังการพ้นทุกข์ นี่คือสิ้นสุดแห่งทางเดินแห่งมรรค ถ้าเรายังไม่ได้ปรารถนาอธิษฐานจิตเพื่อจะบำเพ็ญประพฤติปฏิบัติไปเพื่อทางสิ้นทุกข์แล้ว ทางแห่งมรรคนี้โยมจะไม่มีวันแจ้งได้ เพราะเรียกว่าโยมยังเสียดายกิเลส ยังเหยียบเรือสองแคมอยู่

    นั้นจึงบอกว่าเมื่อโยมจะเจริญภาวนา เจริญพระกรรมฐาน เจริญศีลอะไรก็ตาม เจริญปัญญาเจริญสมาธิก็ดี ขอให้โยมทิ้งทุกอย่าง ทิ้งทุกตำรา แม้ว่าครูบาอาจารย์ไหนให้วางเสียให้หมด ให้รู้ลมกับกายอย่างเดียว เมื่อรู้ลมกับกายแล้ว ลมกับกายและจิตและใจนั้นตั้งมั่นเป็นหนึ่งเป็นเอกัคคตาแล้ว..ทีนี้แลครูบาอาจารย์มันถึงได้เกิดขึ้นมา ก็เอาคำสอนของครูบาอาจารย์ ในธรรมที่เราได้ยินได้ฟังนำมาตรึกตรองนึกคิดพิจารณาเอาอย่างนี้

    อันดับแรกการจะเจริญสมาธิต้องไม่มีครูต้องไม่มีอะไรทั้งนั้น เพราะโดยธรรมชาติของจิตมันไม่ได้มีใครสอนมัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันมีอยู่อย่างหนึ่งว่า มีลมหายใจโดยธรรมชาติ มีดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ จิตวิญญาณธาตุ แล้วก็มีกายไอ้ที่ว่าเป็นของเรานี้แล โยมก็เอาของเรานี้มาเป็นต้นทุน เอาลมหายใจที่ได้จากมรดกตกทอดเอามาสร้างต้นทุนต่อ

    นั้นเมื่อเราวางทุกอย่างไม่สนใจอะไรเลย ดูกายกับดูลมหายใจ ลมหายใจนั้นก็คือจิต กายนั้นก็คือใจที่เราจะสัมผัสได้ เมื่อใจกับจิตนั้นเป็นที่หนึ่งเป็นตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว เป็นเอกัคคตาเมื่อไหร่..ตัวรู้และตัวปัญญามันก็จะบังเกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติของจิต

    นั้นถ้าโยมปรารถนาการเจริญความก้าวหน้าทั้งหลาย ขอให้โยมรู้หลักง่ายๆเสียก่อนโดยธรรมชาติว่ากรรมฐานคืออะไร กรรมฐานคือการงานของจิตที่เรานั้น เมื่อระลึกพิจารณาอะไรลงไปให้เป็นไปในทางละ สละ ปลงสังเวช ความไม่สวยไม่งามก็ดี ความขัดข้องก็ดี ความไม่สบายใจความไม่สบายกาย หรือเห็นว่ากายนี้เป็นที่รังของโรคก็ดี เป็นของมีสุขน้อยมีทุกข์มากอย่างนี้ก็ดี นี่ล้วนแล้วว่าเป็นกรรมฐานทั้งนั้น

    บุคคลที่มีกรรมฐานแล้ว ไม่ว่าโยมจะเดินไปในที่ใด ในป่ารกชัฏก็ดี นั่งอยู่ในเสนาเสนาะ ตั้งมั่นอยู่ในกายผู้เดียวก็ดี ชื่อว่าผู้นั้นไม่ได้โดดเดี่ยวเลย เป็นผู้ที่มีครูบาอาจารย์คอยอยู่ใกล้ๆ ย่อมเป็นผู้ที่มีความอบอุ่น ไม่เหงาเปล่าเปลี่ยวเดียวดาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมไม่มีกรรมฐาน แม้โยมจะอยู่กับคนหมู่มากก็หาความสงบที่ตั้งของการงานไม่ได้เลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นขอให้รู้ความสำคัญที่โยมได้มาเจริญพระกรรมฐาน ไม่มีอะไรจะสำคัญไปกว่านี้ นั่นก็คือหน้าที่หรือตัวสติ เพราะว่าโยมจะทำกรรมอะไรกันมาที่ผ่านมาแล้ว หนึ่งชั่วโมงก็ดี หนึ่งวันผ่านมาก็ดี..ก็ไม่สำคัญ สำคัญตอนนี้..เค้าเรียกว่าสร้างกรรมใหม่ คำว่ากรรมใหม่ถามว่าเป็นภพใหม่หรือไม่..จึงเรียกว่าเป็นภพใหม่ แต่มันเป็นเชื้อกรรมตัวเดิม

    นั้นกรรมในอดีตนั้นไม่สามารถไปแก้ไขได้แล้ว แต่กรรมในปัจจุบันนี้ต่างหาก ที่เราจะสร้างกรรมดีเพื่อพยุงกรรมไม่ดี เมื่อเราทำกรรมดีไว้มากๆ อำนาจแห่งกรรมดีเมื่อมันให้ผลแล้ว มันก็จะหลุดจากกรรมชั่วได้เช่นเดียวกัน เค้าถึงบอกว่าการให้ทานก็เช่นเดียวกัน อย่าไปหวังผลว่าจะได้อะไรกลับมา เมื่อเราทำทานไปถึงที่สุดแห่งทาน เมื่อมันถึงเวลามันจะให้ผลมันก็ให้ผลเอง

    การทำความดีก็เช่นกันอย่าได้ไปหวังผล แต่ข้อสำคัญการทำความดีขอให้มีใจ มีความพอใจในการทำ ทำแล้วขอให้มีความสุข เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นเรียกว่าบุญถึงจะบังเกิด นั้นมีคนถามว่า..ทำบุญไปถึงที่สุดเมื่อไหร่ถึงจะให้ผล ใช่มั้ยจ๊ะ เมื่อโยมไม่หยุดทำนั่นแลจึงจะให้ผล หยุดทำแล้วจะไม่ให้ผล ไม่หยุดทำนั่นแลมันจะให้ผลของมันเอง

    แสดงว่าในปัจจุบันเรายังทำอยู่หรือไม่ (ลูกศิษย์ : ทำเจ้าค่ะ) แสดงว่าโยมยังไม่ได้หยุดทำ ถ้าโยมหยุดทำเมื่อไหร่วิบากกรรมมันก็มาเมื่อนั้น แสดงว่าการที่เราทำความดีไว้นี้เพื่ออะไร เพื่อผดุงกรรมไว้ใช่มั้ยจ๊ะ เพราะเราไม่รู้ว่ากรรมในอดีตเราทำไว้มากเพียงใด มันจะมาตัดรอนเราตอนไหนก็ไม่รู้ ใช่มั้ยจ๊ะ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    73675257-74A0-4E15-B81C-6BAD817F78DA.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่ครับ กราบขอให้หลวงปู่แจงเรื่องการเดินจงกรมว่ามีจุดประสงค์แล้วก็วิธีการยังไงครับ เพราะว่ามีญาติธรรมใหม่อยากจะเรียนรู้น่ะครับ

    หลวงปู่ : เดินจงกรมมันเหมือนการเจริญสมาธิอย่างหนึ่ง เพียงแค่ว่าเราเดินเราไม่ได้นั่ง นั้นการที่เราจะเดินจงกรมเราต้องมีจุดหมายปลายจงกรม คือการกำหนดเดิน เดินไปแค่ไหนจะกลับมา อยู่ที่ระยะหรือที่เรากำหนดรู้ ก็คือจุดหมายปลายจงกรม คือกำหนดเดิน ไม่ใช่อยู่ๆก็เดิน อยากจะเดินไปไหนๆก็เดิน นั้นเดินจงกรมต้องมีจุดหมาย

    ตอนแรกก็เดินทอดอารมณ์ไปก่อน แต่มีสติอยู่กับกาย อยู่กับรู้ลมหายใจ อยู่กับที่การเดินของเราว่าเดินอยู่ พอสติมันเริ่มตั้งมั่นก็กำหนดเดิน จิตมันก็จะมีความละเอียดมากขึ้น จนจิตมันตื่นนั่นเอง เค้าเรียกเป็นการผ่อนคลายอิริยาบถ นั้นหมายถึงว่าการเดินจงกรมคือการกำหนดรู้ในอิริยาบถเดินนั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เราจะเดินเท้ายก ย่าง เหยียบ ให้รู้สัมผัส ถ้าเราไม่รู้สัมผัสยก ย่าง เหยียบดังนี้แล้ว เพราะการเดินมันต้องมีการทรงตัว ทรงกาย บวกกับสติที่เรากำหนดรู้ ให้มันมาประสานมาผสมเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นอารมณ์เดียวกัน คือจิตไม่ส่งออกไปภายนอก บางคนจะกำหนดรู้เดินก้าวไปว่าพุทโธก็ได้ เป็นการเอาพุทโธมากำหนดกำกับให้มีสติตั้งมั่นเข้าไปอีก

    บางคนบอกว่าพุทโธ..เรากำหนดเดิน อย่างนี้ไม่เท่ากับว่าเราไปเหยียบหัวพุทโธหรือยังไง เราต้องรู้ว่าพุทโธนี่เรากำหนดมาจากไหน..เรากำหนดมาจากจิต เราไม่ได้กำหนดมาจากที่เท้าของเรา แต่ฝ่าเท้าที่เราเดินเรากำหนดรู้ว่าเราเดิน แต่เอาพุทโธเป็นตัวกำกับ คนกำกับผู้กำกับนี่เค้าอยู่สูงหรือต่ำจ๊ะ (ลูกศิษย์ : สูงค่ะ) นั้นต้องเข้าใจอย่างนี้ ไม่ใช่ว่ารู้ส่งเดชคิดว่าไปเหยียบหัวพุทโธ..ไม่เอา ไม่เดิน เดินไม่ได้ กูนั่งอย่างเดียวให้รากงอก

    การเดินจงกรมคือการกำหนดรู้ มีการกำหนดจุดหมายปลายจงกรม ว่าเราจะเดินไปไหน เดินเท่าไหร่ ทีนี้ถ้าเรายังไม่กำหนดจุดหมายปลายจงกรม เราก็กำหนดอิริยาบถเดินเราไปก่อน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อเราเดินจนจิตสงบตั้งมั่นแล้ว มีกำลังแล้วนั่นแล เพราะในขณะที่เราเดินอยู่นี่ปัญญาที่เราจะไปพิจารณาธรรมมันก็บังเกิดได้เช่นเดียวกันเมื่อจิตมันสงบ

    จิตสงบไม่ได้สงบแต่ในท่าเดิน นั่งก็ดี นอนก็ดี ในอิริยาบถใดก็ดี ถ้าจิตมันมีความตั้งมั่น จิตมันเป็นหนึ่งในสมาธิแล้ว มันเป็นธรรมดาหรือเป็นธรรมชาติของจิต..ปัญญามันก็บังเกิด โยมก็สามารถพิจารณาธรรม เมื่อพิจารณาธรรมแล้วเข้าใจมันก็บรรลุธรรมได้ตอนนั้นเช่นเดียวกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นเค้าถึงบอกว่าถ้าเรานั่งไม่ไหวให้เราไปเดิน เราเดินแล้วมันพอคลายจากความง่วง ความหดหู่เศร้าหมองแล้ว เราก็กลับมานั่งอีก..อยู่อย่างนี้ อย่างนี้เค้าเรียกว่าการทำความเพียร ทำความเพียรให้มันถึง จนเรียกว่ากิเลสมันอ่อนล้าลงไป เราต้องปฏิบัติให้กิเลสอ่อนล้า ไม่ใช่เราปฏิบัติให้ตัวเราอ่อนล้า เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ปฏิบัติต้องให้จิตเราตื่น เข้มแข็ง กายก็ต้องมีกำลัง ถ้ากายมันอ่อนล้าต้องทำยังไง เราก็พักกาย ทรงฌานอย่างเดียว ไม่ต้องพิจารณาอะไร ทรงฌานอยู่อย่างนั้น..เพ่งรู้อยู่แต่ลมหายในอยู่ในกาย แม้โยมจะมีร่างกายสังขารอ่อนล้าอย่างไรมันก็ยังไม่หลับไป เพราะว่าโยมกำหนดอยู่ในฌาน พอฌานมันมีกำลังมากๆแล้ว จิตมันมีกำลังมาก..มันจะตื่นของมันเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นว่ากายที่มันมีกำลังที่โยมเอามาประพฤติปฏิบัตินี่ กายมันอ่อนล้าได้ นั้นอ่อนล้าเราต้องเพิ่มกำลังเข้าไปใหม่ ชาร์จไฟเข้าไปใหม่..คือการทรงฌาน การทรงฌานคือการทรงจิตทรงอารมณ์ให้มันนิ่ง นี้จะทำยังไงให้มันนิ่ง..นิ่งอย่างไร ถ้าลมหายใจโยมไม่สงบ..ไม่มีทางนิ่ง เดี๋ยวจะมีอารมณ์ มีผัสสะ มีธรรมารมณ์เข้ามากระทบจิต นอกจากกายสังขารโยมหลับไป อันนั้นก็จะคิดปรุงแต่งอะไรไม่ได้

    ดังนันแล้วถ้าร่างกายมันอ่อนล้าเราต้องพักกาย ผ่อนกายลงมา ตั้งสติให้ดำรงอยู่ที่กายและในลมหายใจ..คืออานาปานสติ เค้าเรียกว่าหลบภัย ถ้ากายโยมอ่อนล้าแต่โยมไม่ตั้งมั่นในองค์ภาวนา ในสมาธิ ในอานาปานสติ กายโยมก็จะมีภัยได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วเมื่อกายเราอ่อนล้าเราก็สามารถประพฤติปฏิบัติธรรมได้ คือการภาวนาจิตไว้ อยู่กับลมหายใจ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่คือการฝึกจิตได้ตลอดเวลา

    โยมไม่ต้องไปถามว่า..เราประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วไม่เห็นได้อะไร ที่ไม่เห็นเพราะโยมนั้นยังไม่ถึงในตัวปัญญา พอโยมถึงแล้วในกำลังของสมาธิ ในความเพียร ในความศรัทธา..โยมจะเห็นของมันเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ อย่าถามว่าเรานั่งปฏิบัติธรรมแล้วจะได้มั้ยสมาธิ นั่งมาตั้งนานไม่เห็นมันสงบ โยมไม่รู้หรอกจ้ะ ที่โยมไม่สงบมันก็เป็นสมาธิ อ้าว..บางทีโยมก็พิจารณาธรรมขึ้นมาได้ นั่งสมาธิไม่ได้บอกให้โยมสงบอย่างเดียว เพราะไอ้ความสงบของโยม..บางทีพอไม่สงบมันเป็นทุกข์มั้ยจ๊ะ กังวลมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ครับ) ดังนั้นไม่ควรยึดอะไรเลย

    คือกำหนดฝึกสติให้เกิดตัวรู้อยู่อย่างนั้น รู้มากๆแล้วกำหนดรู้นั่นแลถึงจะเป็นปัญญา เพราะถ้าตัวรู้อยู่มันยังเป็นความจำ แต่เอาความรู้ที่โยมมีตัวรู้นั่นแลเอาไปพิจารณา คือไปกำหนดรู้ ถ้าว่าเวทนามันเกิดขึ้นในกาย..ก็ให้กำหนดรู้ในเวทนามันเกิดขึ้นที่ใด แล้วโยมก็กำหนดรู้ในเวทนานั้น ในกายนั้น แล้วพิจารณาละมันลงไป..นั่นเรียกว่าปัญญาเกิดขึ้น

    ถ้ารู้แล้วแต่ยังไม่ใช้ในตัวรู้นั้นมันเป็นความจำ ยังเป็นสัญญา เป็นสังขาร ยังเป็นทุกข์เป็นภัยในวัฏฏะอยู่ ยังตกอยู่ในทาสสมมุติบัญญัติอยู่ ยังไม่ได้ข้ามสมมุติบัญญัติไป..นอกจากปัญญา ถึงได้บอกเป็นปัญญาวิมุติได้ คือข้ามพ้นจากห้วงอารมณ์ตรงนั้น แล้ว ไม่มีอารมณ์ให้ปรุงแต่งแล้วในกายในจิตวิญญาณนั้น ในธาตุขันธ์นั้นก็ดับลงไป..นิโรธมันก็บังเกิด โยมก็จะเห็นทางออกได้ คือสลัดจากอารมณ์ได้ คือความง่วงเหล่าใด หดหู่ใด นิวรณ์ใดมันก็เข้ามาสิงโยมอยู่ไม่ได้แล้ว แสดงว่ามันได้ไปผุดไปเกิดกันหมดแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...