ธรรมศาสตร์ ตามรอยพระบาท อาจารย์-นักศึกษา ดำนา สอนคน "รู้จักพอเพียง"

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 สิงหาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487


    สมพิศ ไปเจอะ



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    เอกชัย ราชาแสง (ขวา) ขณะร่วมดำนากับนักศึกษา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>แปลงนาพื้นที่ราว 6 ไร่ ด้านข้างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันนั้นดูคับแคบไปถนัดตา เพราะมีบรรดานักศึกษากว่า 100 คน ทยอยกันเดินเข้า-ออกให้คึกคัก

    พวกเขาเหล่านั้นกำลังอยู่ในห้องเรียนกลางแจ้ง สอนวิชาการทำนา

    มี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก้มๆ เงยๆ แสดงวิธีการดำนาที่ถูกต้องแก่นักศึกษา

    การดำนาครั้งนี้ถือเป็นการทำนาครั้งแรกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาร่วมดำนากว่า 150 คน

    ส่วนแปลงข้าวที่เห็นเป็นโครงการ "ธรรมศาสตร์ทำนา เศรษฐกิจพอเพียง" โดยผู้รับผิดชอบคือฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นที่ปรึกษาโครงการ

    บรรดาชาวนาฝึกหัด มาจากชุมนุมค่ายอาสาพัฒนาชนบท ชุมนุมนักศึกษาอีสาน คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สภานักศึกษา และนักศึกษาช้างเผือก 60 ปีในหลวงครองราชย์

    ทว่า ก่อนที่จะใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นห้องเรียนเกษตรกลางแจ้งได้ ต้องผ่านการปรับสภาพดินก่อนหน้าประมาณ 1 เดือน

    เอกชัย ราชาแสง นักวิชาการเกษตร ในฐานะผู้เตรียมดินและดูแลแปลงนาไร้สารเคมี บอกว่า เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นพื้นที่รกร้าง ดินมีความเป็นกรด เหมาะกับการเจริญเติบโตของวัชพืชอย่าง ต้นกก และต้นธูปฤๅษี จึงต้องปรับสภาพดินให้มีความเป็นกลาง โดยเริ่มจากการกำจัดวัชพืชด้วยการไถเปิดหน้าดิน

    ขณะเดียวกัน ก็ต้องสร้างคูครรลองขึ้นมาใหม่เพื่อควบคุมระดับน้ำ จากนั้นต้องใส่ปูนโคโรไมท์ เพื่อปรับสภาพดินให้เป็นกลางด้วยอัตราส่วนปูนโคโรไมท์ 100 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ จากนั้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 200 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ (เสื้อเหลือง) และ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (ขวา)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สภาพปัจจุบันจึงสามารถปลูกข้าวได้ โดยพันธุ์ที่เหมาะจะนำมาปลูกบนที่ดินแปลงนี้ก็คือ พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ปทุมธานี 1 เนื่องจากมีความแข็งแรง ทนทานต่อเชื้อโรค

    ทั้งนี้ ศ.ดร.สุรพล บอกถึงเหตุผลของการจัดทำโครงการนี้ว่า นอกจากจะเป็นการสนองพระราชดำริเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า

    "ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน"

    การสอนให้นักศึกษารู้จักคำว่า "ชาวนา" ก็เพราะต้องการให้รู้จัก "ติดดิน" ให้รู้ว่าชาวนาซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร

    "นักศึกษาส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคนเมือง น้อยคนนักที่จะได้เรียนรู้ความลำบากของชาวนา เพราะชาวนาไม่ได้มาเผชิญหน้ากับนักศึกษาโดยตรง บางคนเคยเห็นชาวนาจากในหน้าหนังสือพิมพ์เท่านั้น

    หากไปเทียบกับผลผลิตที่ได้ ต่อการที่ต้องใช้เงินลงทุนแสนกว่าบาท เชื่อว่าผลผลิตที่ได้คงไม่คุ้มค่า แต่ผมอยากให้นักศึกษาลองเป็นชาวนาบ้างจะได้รู้ว่ากว่าจะได้ข้าวมา 1 เมล็ด ยากลำบากแค่ไหน

    สิ่งที่นักศึกษาได้จากโครงการนี้มันมีค่ามากกว่าเงินทองเสียอีก"

    ด้านหัวหน้าทีมดำนา พยายามอธิบายถึงการทำนาให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจพอเพียงว่า ขณะนี้เยาวชนรุ่นใหม่กำลังหลงวัตถุ มุ่งความสบายเป็นหลัก บริโภคทุกอย่างจากธรรมชาติ

    หากเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วน จะเห็นว่าประชากรบนโลกนี้บริโภคธรรมชาติทั้งในรูปการแปรรูปและวัตถุดิบไปถึง 3 ส่วน ขณะที่ธรรมชาติสามารถชดเชยได้เพียง 1 ส่วน <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    นักศึกษาขะมักขะเม้นดำนา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    การบริโภคที่พอดีต้องอยู่ในอัตราส่วน 1:1 นั่นคือบริโภคธรรมชาติ 1 ส่วน แล้วให้ธรรมชาติฟื้นคืนมาชดเชยให้ 1 ส่วน จึงต้องหาวิธีลดการบริโภคธรรมชาติแล้วหันกลับมาพัฒนาธรรมชาติอย่างยั่งยืน

    การเริ่มต้นดำนาครั้งนี้จึงเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ใช้ชีวิตติดดินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเรียนรู้การสร้างข้าวด้วยมือตนเอง ซึ่งจะเป็นความรู้ที่ติดตัวไปตลอด

    ทางด้านชาวนาฝึกหัดอย่าง อรธิวา ขาวดารา หรือนิ่ม นักศึกษาปี 2 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าถึงเหตุผลที่เข้ามาร่วมดำนาครั้งนี้ว่า ก่อนหน้านี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาดำนาเลย แต่เพื่อนๆ ชวน จึงตัดสินใจมาดำนา เพราะเห็นว่าการได้ลองทำนาไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร รุ่นปู่ย่าก็เคยทำนามาก่อน แล้วทำไมตนจะทำไม่ได้

    "แรกๆ รู้สึกอายเพื่อนที่ทำนาไม่เป็น หลังจากได้เรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่เพียงไม่กี่นาทีก็เริ่มทำเป็น และรู้สึกสนุก

    "ดิฉันถือว่าการทำนาครั้งนี้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนอีกรายวิชาหนึ่ง เพราะทำให้ดิฉันได้รู้จักการดำนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีโอกาสได้ทำมาก่อน

    แต่พอดำนายังไม่ทันไรก็มีรู้สึกปวดหลัง แดดก็ร้อน จึงได้รู้ซึ้งถึงความยากลำบากของชาวนาที่ต้องก้มๆ เงยๆ อยู่ตลอดเวลากว่าจะได้ข้าวจานหนึ่ง ต่อไปดิฉันคงไม่กล้ากินข้าวไม่หมดจานแน่นอน"

    อรธิวาว่า "อยากให้เพื่อนๆ ที่เป็นนักศึกษาได้มาลองทำบ้าง เพราะทุกคนก็กินข้าว แต่จะมีสักกี่คนที่ทำนาเป็น โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ แม้ว่าดิฉันจะไม่เคยทำนามาก่อน แต่วันนี้ดิฉันทำได้แล้ว รู้สึกภูมิใจค่ะ

    คิดว่าจะมาร่วมโครงการนี้ทุกปี เพื่อจะได้ฝึกฝีมือการดำนาให้เร็วขึ้นจากเดิมที่กว่าจะนำต้นกล้าปักลงไปในดินได้แต่ละครั้งตนต้องใช้เวลานานมาก"

    ส่วน ธวีศักดิ์ หาญยุทธ หรือไม้ นักศึกษาปี 1 คณะนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักเรียนโครงการช้างเผือกรุ่น 60 ปี เล่าอย่างภาคภูมิใจว่า แม้ตนจะมาเรียนในกรุงเทพฯ มีชีวิตที่สุขสบายเพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นานา มีสิ่งให้ความบันเทิงมากมาย แต่ก็ไม่เคยลืมบ้านเกิด

    การได้มาร่วมดำนาครั้งนี้ ธวีศักดิ์บอกว่า ยิ่งทำให้นึกถึงบรรยากาศที่บ้าน นึกถึงความลำบากของพ่อแม่ที่ประกอบอาชีพทำนาเลี้ยงตนมาถึงวันนี้ ทำให้ตระหนักในใจเสมอว่าต้องตั้งใจเรียน เพื่อกลับไปพัฒนาบ้านเกิด

    "ถ้าเป็นเรื่องการทำนาแล้ว ผมถือว่าเป็นคนเก่งคนหนึ่งในครอบครัว เพราะได้เห็นพ่อแม่ทำนาตั้งแต่ผมยังตัวเล็กๆ อยู่ จึงได้มีโอกาสหัดช่วยพ่อแม่ทำนาตั้งแต่เด็ก

    ผมเห็นว่าขั้นตอนที่ยากมากกว่าการดำนาคือ การดูแลรักษาต้นข้าวให้เจริญงอกงาม กว่าต้นข้าวจะให้ผลผลิตต้องดูแลรักษาเอาใจใส่เป็นพิเศษ

    โครงการนี้นอกจากจะถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทำนาให้เยาวชนได้รู้จักแล้ว ยังสอนให้ได้สัมผัสกับดินกับหญ้า บางคนพ่อแม่ประกอบอาชีพทำนา แต่ลูกทำนาไม่เป็นก็มี เพราะการทำนาขณะนี้ใช้เครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่การไถนากระทั่งการเก็บเกี่ยวผลผลิต"

    นับเป็นอีกโครงการหนึ่งที่พยายามพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะนักศึกษาซึ่งเป็นอนาคตของชาติให้รู้จักวางตนอยู่บนพื้นฐานความพอเพียง


    ที่มา : มติชน

    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra01020849&day=2006/08/02
     
  2. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ดีครับ...น้องๆ นักศึกษาทั้งหลายจะได้รู้ซึ้งถึงความยากลำบากว่า...
    กว่าจะได้ข้าวมารับประทานนั้นต้องเหนื่อยอย่างไร?...
    จะได้รู้ถึงคุณค่าของข้าวเวลารับประทานแล้วเหลือทิ้งไป...
    จะได้มีความสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านด้วย...
    ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง...
    ขออนุโมทนาครับ...สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...