ท่านเดินจงกลมวันละกี่นาที

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เปลือกไม้, 16 มีนาคม 2008.

  1. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    ก่อนจะเข้าสู่คำถาม เพื่อนนักปฏิบัติคงจะเคยเดินจงกรมกันมามากแล้ว ซึ่งการปฏิบัติโดยอริยาบทเดินนั้นสำหรับผู้ที่ฝึกปฏิบัติใหม่ๆอาจดูจะเป็นเรื่องยากหรือบางคนอาจคิดว่าง่ายก็แค่เดินไปเดินมาเท่านั้นเอง การเดินจงกรมนั้นมีหลายวิธีแล้วแต่แบบไหนที่ถูกกับจริต บางคนอาจจะเดินช้าแบบวัดมหาธาตุหรือวัดอัมพวันซึ่งมีถึง 6 จังหวะ บางสำนักก็ย่อลง บางอาจารย์ก็ให้เดินแบบสบายๆแบบที่เราเดินเป็นประจำ แต่สิ่งที่สำคัญที่เราจะพบได้จากการเดินจงกรมคือสภาวะธรรมหลากหลายที่เกิดขึ้น ทั้งเวทนา ความคิด ผัสสะ (การสัมผัสทางกายเมื่อเท้ากระทบพื้นเป็นต้น) ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดีหรือไม่พิจารณาเลยก็ตามสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นและดับไปโดยที่บางครั้งเราไม่ทันรู้ตัวเลย ถ้าท่านปฏิบัติได้ถูกวิธีและถูกจริตท่านจะรู้ตัวได้เองเลยว่า สติสัมปชัญญะของท่านจะเพิ่มมากขึ้น และเมื่อใดที่เราก้าวย่างคำบริกรรมหรือสติจะผุดขึ้นมาในใจเสมอทำให้เราสามารถปฏิบัติได้บ่อยๆแม้ในเวลาที่เราทำงานหรือทำอะไรก็ตาม ถ้าท่านเคยปฏิบัติแบบอื่นแล้วยังไม่เห็นผล ผมอยากให้ท่านได้ลองดูบ้าง ใหม่ๆอาจจะครั้งละ 10 นาที 15 นาทีแล้วค่อยๆเพิ่มเรื่อยๆเป็น 1 ชั่วโมงหรือตามที่เราต้องการ อาจจะทำสลับกับนั่งสมาธิ ก็จะทำให้เกิดผลดียิ่งขึ้น เมื่อถึงตอนนั้นท่านก็จะตอบผมได้ว่าท่านเดินจงกรมวันละกี่นาที สำหรับผมถ้าไม่ติดภารกิจใดๆจริงๆแล้วจะเดินจงกรมวันละ 1 ชั่วโมงครับ..ขอแถมท้ายด้วยบทความดีๆครับ

    เดินจงกรม อุบายฝึกสติที่ดีที่สุด..

    ที่ผ่านมาเวลาเราเดินกันในชีวิตประจำวัน เราเคยสังเกตไหมว่าเราเดินอย่างไร ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสังเกต สติสัมปชัญญะเลยไม่มีโอกาสได้เกิด ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงสร้างอุบายให้เราใช้การเดินให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสติสัมปชัญญะ ด้วยการให้เราหัดเดินกันใหม่ ให้เดินไปด้วยสังเกตไปด้วย

    เริ่มจากสังเกตความรู้สึกหนักๆที่เท้า ว่าหนักเท่ากันทั้งสองข้างหรือไม่ หากข้างใดข้างหนึ่งหนักกว่า ก็ให้สังเกตเห็น แล้วก็ให้ทดลองทิ้งน้ำหนักให้เท่ากันทั้งสองข้าง ในขณะเดียวกันก็ให้ตามดูความเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกที่เท้าไปเรื่อยๆ เมื่อทดลองทิ้งน้ำหนักไปที่เท้าข้างเดียว ก็สังเกตให้เห็นว่าความรู้สึกหนักทั้งสองข้างนั้นหายไปแล้ว หลังจากนั้นก็เตรียมตัวก้าว ด้วยการทดลองดูว่า ก้าวขนาดไหนรู้สึกอย่างไร ก้าวขนาดไหนจึงจะสบาย เพราะเมื่อสบายแล้ว การสังเกตจะง่ายขึ้น

    ก่อนจะก้าวแต่ละก้าว ให้สังเกตเท้าที่กำลังก้าวก่อน แล้วจึงก้าว และเมื่อก้าวแล้ว ก็ให้ใส่ใจที่เท้านั้น อย่าปล่อยใจไปที่อื่น ให้สังเกตเท้านั้นไปเรื่อยๆ ระยะที่ฝึกใหม่ๆอาจจะเริ่มด้วยการสังเกตทีละเท้าก่อน เมื่อเท้าซ้ายจะก้าว ก็สังเกตที่เท้าซ้ายก่อนแล้วจึงก้าว ก้าวเสร็จก็สังเกตที่เท้าซ้ายต่อ สังเกตการเคลื่อนกายที่มีผลต่อเท้าซ้าย สังเกตว่าเท้าซ้ายรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งรู้สึกตึงอย่างไร สำรวจให้ชัดเจนว่าตึงส่วนไหน จนกระทั่งดีที่สุดแล้วจึงย้ายจิตไปที่เท้าขวาบ้าง ทำไปทำมา สลับไปมาอยู่อย่างนี้ แล้วจะพบว่ายิ่งขยันสังเกตสติสัมปชัญญะจะยิ่งเกิดมากขึ้น และเกิดเร็วขึ้นเรื่อยๆ

    การก้าวเดินแต่ละครั้งหากสังเกตได้ สติสัมปชัญญะก็จะเกิดทุกครั้ง จะหลุดบ้าง ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ก็ไม่เป็นไร ทันเท่าไหนก็เท่านั้น ไม่ต้องคาดหวังอะไร สำคัญที่ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆฝึก ค่อยๆเคลื่อนกายไปช้าๆ เพราะยิ่งเคลื่อนช้าเท่าไร ก็จะยิ่งสังเกตได้ชัดเท่านั้น

    การเดินจงกรมอย่างถูกวิธีนั้นจะให้ผลไว เพราะเป็นวิธีฝึกสติที่ทำได้นานๆโดยไม่เบื่อ หากรู้สึกเบื่อก็อย่าหยุดเดิน ให้ฝืนเดินต่อไปเรื่อยๆ แล้วจะพบว่า ในที่สุดความเบื่อจะหายไปเอง เพราะสาเหตุของความเบื่อก็คือใจที่ยังไม่นิ่ง ยังปรุงแต่งอยู่เรื่อยๆ แต่เราจะสังเกตไม่ทัน การเพียรเดินไปเรื่อยๆ จะทำให้สติเพิ่มมากขึ้น จนใจเริ่มนิ่งขึ้น แล้วความเบื่อจะหายไปเอง

    ความพากเพียรคือหนทางเดียวที่จะทำให้เราไปสู่จุดหมายปลายทางที่มุ่งหวังไว้ในที่สุด




    อานิสงส์ของการเดินจงกรม


    พระพุทธเจ้าแสดงอานิสงส์ของการเดินจงกรมไว้ว่า เป็นการฝึกความอดทนและเป็นการออกกำลัง ทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ยิ่งหากเดินหลังกินอาหารมาอิ่มๆ ด้วยแล้ว ก็จะทำให้อาหารย่อยง่ายและไม่ง่วงเหงาหาวนอนด้วย

    ในบรรดาสมาธิที่เกิดในสี่อิริยาบทที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ได้แก่ สมาธิจากการนั่ง การนอน การยืน การเดินนั้น ไม่มีสมาธิใดสู้สมาธิจากการเดินได้ สมาธิจากการเดินเป็นสมาธิที่ยอดเยี่ยมและพิเศษที่สุด เพราะแม้กายจะเคลื่อนไหวตลอด แต่ใจก็เป็นสมาธิ สามารถตั้งมั่นอยู่ได้ สมาธิที่เกิดจากการเดินจึงเป็นสมาธิชนิดไม่ปักดิ่ง พร้อมสำหรับการมองดูใจ สังเกตใจ เป็นสมาธิที่พร้อมที่จะยกระดับจิตใจขึ้นสู่วิปัสสนาปัญญา

    การเดินจงกรมที่ถูกวิธีจึงไม่ใช่เดินเพื่อให้ได้ระยะทาง หรือเดินเพื่อนับเที่ยวนับรอบ แต่เป็นการเดินเพื่ออาศัยกัปกิริยาของการเดินมาสังเกต เป็นการเดินเพื่อฝึกให้ใจอยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบัน หยุดคิดถึงเรื่องอดีต เรื่องอนาคต ยิ่งเราสามารถสังเกตปัจจุบันการเดินได้เท่าไร ใจของเราก็จะยิ่งหยุดดิ้นพล่านไปในอดีตและอนาคตมากเท่านั้น

    เรื่องสำคัญของการปฎิบัติธรรมก็คือ เราต้องฝึกสังเกตให้มาก จะทำอะไร จะคิดอะไร ก็ให้สังเกตตลอด เพื่อฝึกสติสัมปชัญญะให้แคล่วคล่องว่องไว สามารถนำไปดูใจของเราได้ทันท่วงที

    จากหนังสือ รู้จักใจคือกำไรชีวิต: พระอาจารย์มานพ อุปสโม
    ฐิติขวัญ เหลี่ยมวัฒนา : เรียบเรียง
    สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2008
  2. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    สาธุ
    ขออนุโมทนาบุญกับท่านเปลือกไม้ครับ
    ตัวผมไม่ได้เดินจงกรมตามวิธีการที่ครบสูตรสมบูรณ์ แต่จะใช้วิธีกำหนดรู้การก้าวของเท้า หรือบางทีก็นึกบทบริกรรมภาวนาไปพร้อมกับการก้าวเดิน เดินออกจากบ้านตอนเช้ามักจะสวดมนต์เบาๆ บทประจำคือ กรณียเมตตสูตร
     
  3. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    อนุโมทนาครับ กรณียเมตตสูตร บทนี้ผมก็สวดเป็นประจำทุกวันครับ<!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,562
    ค่าพลัง:
    +2,128
    ผมเดินครั้งละ30นาทีครับ ไม่ได้เดินทุกวันเพราะเดินในบ้าน ต้องจอดรถ
    และถ้าเดินนาน มันก็จะยิ่งดึก แถวนี้ จอดรถนอกบ้าน อันตรายครับ
    บางครั้งผมลองเอาสติไว้ที่เท้าข้างเดียว แหม มันแปลกดีหนอ มันเหมือนขาเรากระเผกๆ ไม่เท่ากันยังไงไม่รู้
    เมื่อก่อนเดินไหม่ๆก็ช้า ตอนนี้เดินจะปรกติแล้วครับ แต่ยังไม่ได้เดินขนาดเอาชนะความเบื่อเลยคือเบื่อก็เลิกไม่กิน30นาที
     
  5. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    คำว่า"เดินจงกลม" อันนี้เขียนผิดครับ
    ที่ถูกต้อง คือ "เดินจงกรม" ครับ
     
  6. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    ขอบคุณมากแก้ไขแล้วครับ เหลือแต่หัวข้อแก้ไขไม่ได้ ตอนโพสลืมดูครับ
    (แสดงว่าขาดสติหรือเผลอไปแล้ว)พอดีรีบนะครับ
    อนุโมทนากับคุณดำรงด้วยครับ การเดินจงกรมต้องอาศัยพื้นที่บ้าง และถ้าเดินแบบถ้ามีคนอื่นเห็นด้วยบางทีก็ไม่ค่อยดีคือว่าถ้าเขาอนุโมทนากับเรามันก็เป็นบุญถ้าเขาปรามาสมันก็เป็นบาปกับตัวเขา ถ้ามีพื้นที่น้อยจะเดินแบบช้าก็ดีเหมือนกันนะครับไช้ระยะทางไม่เกิน 4 เมตรก็พอแล้วครับ ดูตามแบบหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวันก็ได้ครับ
     
  7. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861
    เอ.....ของสายอื่นเราไม่รู้ น่ะ

    แต่สำหรับเราใช้เดินจนธูปหมด น่ะ......

    ถ้าอยากจะเดินนานก็เอาธูปก้านใหญ่ๆ หน่อยก็ได้ ไม่ผิดกติกา ครับ
     
  8. LNS@BDZ

    LNS@BDZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,585
    เดินจงกรมวันละ 0 นาทีครับ ไม่เดินเลย แหะๆ
     
  9. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    แต่อย่างไรวันหนึ่งเราก็ต้องเดินไปโน่นไปนี่ เพียงแต่เพิ่มสติเข้าไปอีกเล็กน้อย เช่นกำหนดรู้เท้าว่าตอนนี้เราเดินเท้าซ้าย หรือขวา แบบทหาร(ซ้ายขวาซ้าย)เร็วๆก็ได้นะ ก็เท่ากับเราได้ปฏิบัติไปแล้วครับ
     
  10. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ผมไม่ได้เดินเลยครับ แต่จะปั่นจักรยานเดินสติและพิจารณาธรรมแทบทุกเช้า วันละ ๑ ชั่วโมง หลังออกจากสมาธิตอนเช้ามืดครับ ส่วนตอนค่ำได้แต่นั่งสมาธิอย่างเดียวรอบละประมาณ ๑ ชั่งโมงครับ ตอนกลางวันผมจะสบายอยู่กับปัสสัทธิที่ลมหายใจครับ
     
  11. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    ขออนุโมทนาด้วยครับ
     
  12. เส้นทางแห่งธรรม

    เส้นทางแห่งธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    797
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สำหรับผมไม่ได้กำหนดว่าจะนานเท่าไร ทำไปเรื่อยๆถ้าใจยังรู้สึกว่าสบายๆ ผมจะเดินตอนกลางคืน หลังจากนั่งสมาธิแล้ว เพื่อผ่อนคลาย....ครับ
     
  13. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,562
    ค่าพลัง:
    +2,128
    คำถาม ตอนคุณเดิน จิตของคุณอยู่ที่ไหนกัน
     
  14. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    ฐานของจิตผมจะอยู่บริเวณลิ้นปี่ครับ แต่จะกำหนดรู้สภาวะการเดินไปด้วยคือรู้ว่ากายเราเดินอยู่แต่ไม่ได้เพ่งให้จิตอยู่ที่เท้าครับ แต่ตอนเริ่มฝึกใหม่ๆจะกำหนดที่เท้าครับ ฐานของจิตหลวงปู่ดูลย์ อตุโล สอนว่าอยู่ที่ไหนก็ได้ที่รู้สึกว่าสบายครับ
    วิธีการแต่ละคนคงไม่เหมือนกันมีอะไรดีๆก็แนะนำได้ในฐานะนักปฏิบัติด้วยกันครับ ขออนุโมทนา
     
  15. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    อนุโมทนาสาธุ....ค่ะ เราไม่ได้คิดเป็นวันหรือนาทีค่ะ แล้วแต่บางจังหว่ะ ถ้านึกได้ก็จะกำหนดลมหายใจขณะเดินค่ะ นั่งทำงานอยู่ก็กำหนดค่ะ แต่ว่าส่วนใหญ่จะลืมค่ะ ^_^
     
  16. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,562
    ค่าพลัง:
    +2,128
    ของผมอยู่ที่ปัจจุบันครับ
     
  17. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    ขออนุโมทนาครับ อยู่ที่ปัจจุบันหมายถึงรู้ตอนยกเท้า ระหว่างยก เท้าสัมผัสพื้น จิตรับรู้การสัมผัส ใช่ไหมครับหรืออย่างไร และคุณเดินแบบไหนครับ
     
  18. เทพบุตร

    เทพบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +114
    เมื่อปฏิบัติธรรมอยู่ อารมณ์ปัจจุบันสำคัญที่สุดครับ กล่าวคือเราไม่เอาอดีตเพราะมันผ่านมาแล้ว ตัวอย่างเช่น เมื่อท่านแขนขาดไปแล้ว ท่านเสียดายอย่างไร มันก็ทำให้มีแขนกลับมาเหมืนเดิมไม่ได้ หรือท่านคิดถึงอนาคต กับเหตุการณ์ที่ยังมาไม่ถึง ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นจริง สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ ส่วนปัจจุบัน จะทำให้เราไม่หลงไป,โลภไป,โกรธไป กับจิตที่ปรุงแต่ง ฉะนั้นเวลาปัจจุบัน จึงเป็นทางเดียวที่ทำให้กิเลสมารเข้าไม่ถึง ปรุงแต่งจิตเราไม่ได้นั้นเอง "อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน เป็นวิธีเดียวที่ทำให้มารหลง"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2008
  19. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    หนังสือเล่มนี้สอนการเดินจงกรมแบบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ครับ
    วิธีการทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น
    [​IMG]
    เล่าโดย ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ( พระธรรมวิสุทธิมงคล ) วัดป่าบ้านตาด อ . เมือง จ . อุดรธานี อธิบายวิธีเดินจงกรม ทิศทางและความสั้นยาวของทางสำหรับเดินจงกรม รวมทั้งการยืนกำหนดรับฟัง หรือพิจารณากรรม มีการอธิบายเวลานั่งสมาธิภาวนาคือการทำจิตให้รู้มีสติ คือความระลึกรู้อยู่กับใจ ข้อสังเกตและระวังในขณะภาวนา อย่าให้จิตภาวนาดูนรก สวรรค์ ดูเวรกรรมของตนหรือผู้อื่น และการออกจากสมาธิภาวนา ควรพึงออกด้วยความมีสติประคองใจ
    อ่าน
     
  20. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    การเดินจงกรม หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
    วิธีปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น
    การเดินจงกรม
    ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้สติจับอยู่ที่ปลายผม กำหนดว่า “ยืนหนอ” ช้า ๆ ๕ ครั้ง เริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้า และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ กลับขึ้นกลับลงจนครบ ๕ ครั้ง
    แต่ละครั้งแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรก คำว่า “ยืน” จิตวาดมโนภาพร่างกาย จากศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่า “หนอ” จากสะดือลงไปปลายเท้า กำหนดคำว่า “ยืน” จากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำว่า “หนอ” จากสะดือขึ้นไปปลายผม กำหนดกลับไปกลับมา จนครบ ๕ ครั้ง ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้ออกไปนอกกาย
    เสร็จแล้ว ลืมตาขึ้น ก้มหน้าทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๑ ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” กำหนดในใจ คำว่า “ขวา” ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อมกัน “ย่าง” ต้องก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าที่สุดเท้า ยังไม่เหยียบพื้น คำว่า “หนอ” เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดว่า “ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...” คงปฏิบัติ เช่นเดียวกันกับ “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...”
    ระยะก้าวในการเดิน ห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมากเพื่อการทรงตัว ขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้แล้ว ให้นำเท้ามาเคียงกัน เงยหน้าหลับตา กำหนด “ยืนหนอ” ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ทำความรู้สึกโดยจิต สติ รู้อยู่ตั้งแต่กลางกระหม่อม แล้วกำหนด “ยืนหนอ” ๕ ครั้ง เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมาถึงปลายเท้า เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา “ยืนหนอ” ๕ ครั้ง แล้วหลับตา ตั้งตรง ๆ เอาจิตปักไว้ที่กระหม่อม เอาสติตาม ดังนี้ “ยืน.....” (ถึงสะดือ) “หนอ.....” (ถึงปลายเท้า) หลับตาอย่าลืมตา นึกมโนภาพ เอาจิตมอง ไม่ใช่มองเห็นด้วยสายตา “ยืน……” (จากปลายเท้าถึงสะดือ หยุด) แล้วก็ “หนอ…….” ถึงปลายผม คนละครึ่ง พอทำได้แล้ว ภาวนา “ยืน….หนอ....” จากปลายผม ถึงปลายเท้าได้ทันที ไม่ต้องไปหยุดที่สะดือ แล้วคล่องแคล่วว่องไว ถูกต้องเป็นธรรม
    ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกายอย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้น ก้มหน้า ทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๑ ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” กำหนดในใจ
    คำว่า “ขวา” ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อม
    คำว่า “ย่าง” ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าให้ช้าที่สุด เท้ายังไม่เหยียบพื้น
    คำว่า “หนอ” เท้าเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า อย่าให้ส้นเท้าหลังเปิด

    เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดคำว่า “ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...” คงปฏิบัติเช่นเดียวกับ “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมาก เพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้เดินแล้ว พยายามใช้เท้าขวาเป็นหลักคือ “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” แล้วตามด้วยเท้า “ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...” จะประกบกันพอดี
    แล้วกำหนดว่า “หยุด... หนอ...” จากนั้นเงยหน้า หลับตากำหนด “ยืน... หนอ...” ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง เหมือนกับที่ได้อธิบายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า “กลับหนอ” ๔ ครั้ง คำว่า “กลับหนอ”
    • ครั้งที่หนึ่ง ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา ๙๐ องศา
    • ครั้งที่ ๒ ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา
    • ครั้งที่ ๓ ทำเหมือนครั้งที่ ๑
    • ครั้งที่ ๔ ทำเหมือนครั้งที่ ๒
    หากฝึกจนชำนาญแล้วเราสามารถกำหนดให้ละเอียดขึ้น โดยการหมุนตัวจาก ๙๐ องศา เป็น ๔๕ องศา จะเป็นการกลับหนอทั้งหมด ๘ ครั้ง เมื่ออยู่ในท่ากลับหลังแล้วต่อไปกำหนด “ยืน... หนอ...” ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ลืมตา ก้มหน้า แล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้จนหมดเวลาที่ต้องการ
     

แชร์หน้านี้

Loading...