ทำอย่างไรถึงจะมีสมาธิ หลังจากออกสมาธิแล้ว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kasimoto, 10 มิถุนายน 2012.

  1. kasimoto

    kasimoto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +115
    สมาธิของผมมักจะเกิด ตอนนั่งเท่านั้น แต่พออกจากสมาธิจิตใจก็ฟุ่งซ่าน
    ยิ่งถ้ามิได้นั่ง มาเป็นเวลานานๆ จิตใจก็จะฟุ่งซ่าน เรียนไม่รู้เรื่อง พอมานั่งใหม่ใช้เวลาเข้าฌานนานขึ้น ยังงี้ ต้องหมั่นนั่งทุกวัน แต่เนื่องจากช่วงนี้งานเยอะไม่มีเวลาเลย ผมจึงอยากทราบว่า มีวิธีการนั่งสมาธิไห้ จิตใจสงบตอนออกมาใช้ในชีวิตประจำวันไหม หรือ ต้องฝึกอะไรอย่างไร ครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ถามก่อนนะครับ....ทุกวันนี้ที่คุณฝึกนี่ใช้กรรมฐานอะไรอยู่......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2012
  3. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    เอาง่ายๆ ก่อน พื้นฐานที่จำเป็นต้องแม่น

    1.ศีล คุมศีลให้ครบถ้วน
    2.พรหมวิหารธรรม เจริญไว้ให้เป็นปกติประจำใจ

    เอากันแค่นี้ก่อน เพราะสองสิ่งนี้ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ค้ำจุนของสมาธิ ไม่ว่าจะปฏิบัติกรรมฐานกองใดล้วนต้องมีสองสิ่งนี้ทั้งสิ้น

    สองสิ่งนี้ จะช่วยบรรเทา เบาบาง อาการฟุ้งซ่านระหว่างที่ไม่ได้อยู่ในสมาธิได้ แต่ก็ได้แค่ระดับหนึ่ง หากต้องการระงับความฟุ้งซ่านให้เด็ดขาดจริงๆ ต้องฝึกสมาธิให้มาก ให้คล่อง

    ฝึกสมาธิได้คล่องแล้วเมื่อไหร่ อาการอย่างที่สงสัยก็จะดีขึ้นเอง
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,500
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
  5. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    แม้แต่วิชาทางโลกที่เราเรียนมาจะเป็นศาสตร์ไหนก็ได้
    เอามาตั้งเป็นหัวข้อขึ้น แล้วพิจารณาแทนกรรมฐาน ๕
    ก็สามารถที่จะทำจิต ให้มีสติ สัมปชัญญะ
    แล้วก็จะทำให้เกิด
    มี สมาธิ มี ปีติ มี ความสุขได้เหมือนอย่างการภาวนาอย่างอื่น

    เพราะฉนั้น

    อารมณ์ของการพิจารณานี่
    เราจะเอาอะไรก็ได้
    หลักฐานยังมีปรากฎในคัมภีร์ พระธรรม

    คนผู้ผ่าไม้เอาการผ่าไม้เป็นอารมณ์กรรมฐาน
    พิจารณาแล้วได้สำเร็จพระอรหันต์ก็มี

    ช่างปั้นหม้อเอาการปั้นหม้อเป็นอารมณ์กรรมฐาน
    ปั้นไปพิจารณาไปตกแต่งไปจนหม้อสำเร็จเป็นรูปทรงที่ต้องการ
    แล้วก็ปลงปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์ได้สำเร็จอรหันต์ก็มี

    ผู้ที่เอาอารมณ์อื่นๆเป็นเครื่องรู้ของจิตเป็นเครื่องระลึกของสติ
    ก็สามารถที่จะทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ
    รู้แจ้ง เห็นจริง ประจักษ์ในธรรมมะตามความเป็นจริง


    เครดดิต ของหลวงพ่อพุธ

    นํามาเผยเเผ่ โดยน้าปราบ

    กระเเทกซํ้าอีกที โดย นราสพานนนนนนน
     
  6. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ฝึกวิปัสสนากรรมฐานไปด้วยครับ แล้วในชีวิตประจำวันจะเป็นสมาธิ
     
  7. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,033
    มีสติ ไม่รับอารมณ์เรื่องราวภายนอกเข้ามามากเกินไป
    คล้ายกับ เอาขยะมาทิ้งไว้หน้าบ้านในบ้านตนเอง

    ในชีวิตประจำวัน กรณีนี้สามารถเสริมด้วย ...
    การระลึกรู้(สติ)ในอิริยาบท: การเคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน การพูด การฟัง ลมหายใจ เป็นต้น 'รู้สึกถึงสิ่งใด ระลึกรู้สิ่งนั้น ระลึกรู้สิ่งใด รู้สึกถึงสิ่งนั้น' และที่สำคัญคือ เป็นการระลึกรู้ที่อยู่กับ'ปัจจุบันขณะ '
     
  8. bestsu

    bestsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +617
    ฌาน แปลว่าชิน
    ถ้านานๆมานั่ง แล้วมันจะเอาตอนไหนไปชิน...ฝึกให้ได้ทุกกิริยาบทครับ
     
  9. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
  10. mumoon

    mumoon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +82
    การฝึกจิตที่ดีเราควรจะตลอดเวลา ไม่ว่า กิน(ถ้าฝึกในวิชาธรรมกาย เวลาเราเคี้ยวอาหารเสร็จกลืนลงไป ให้นึกว่าเป็นดวงแก้วตกลงไปที่ฐานกลางกาย) เดิน(ถ้าฝึกกสิณสี เวลาเดินให้นึกถึงกสิณสี ที่เราฝึกมารองไว้ที่เท้าตอนเราเดินไป) หรืออย่างขุดดิน(เวลาฟันจอบลงไปในดินให้นึกว่า พุท ยกจอบขึ้นมาก็ โธ) อย่างนี้เป็นต้น เราฝึกยังไงก็ให้เรานึกอย่างนั้น
     
  11. pim_jai

    pim_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +568
    เท่าที่เคยทำมานะคะ ถ้าอยากทรงสมาธิให้ได้ทั้งวันก็ดูลมหายใจเข้าออกค่ะ ดูลมสามฐานหายใจเข้าลมกระทบปลายจมูก กึ่งกลางทรวงอก ศูนย์เหนือสะดือสองนิ้ว หายใจออกลมกระทบศูนย์เหนือสะดือ มาที่ทรวงอกและปลายจมูกตามลำดับ

    ตอนนั่งสมาธิก็ภาวนาพุทโธ,นะมะพะทะ,ยุบพอง,สัมมาอรหัง ไปด้วย ภาวนาคำไหนแล้วแต่ความถนัด ถ้าภาวนาแล้วฟุ้งซ่านมากขึ้นก็หยุดภาวนา เปลี่ยนมาดูลมหายใจเข้าออกสามฐานแทนโดยที่ไม่ต้องภาวนา พอจิตนิ่งสงบดีแล้วก็พิจารณาร่างกาย กฏไตรลักษณ์ อริยสัจสี่ กายคตาสติและอื่นๆตามสมควร

    เวลาออกจากสมาธิก็ดูลมหายใจต่อ เดินอยู่ กินอยู่ นอนอยู่ พูดคุย ทำธุระส่วนตัว ทำงานอะไรต่างๆ ถ้าจิตว่างก็ภาวนาไปด้วย ถ้างานยุ่งก็ไม่ต้องภาวนา ให้ดูลมหายใจเข้าออกแทนทุกอิริยาบท อย่างเวลาพูดคุยจิตต้องคิดก็ดูลมหายใจเข้าออกแทนโดยที่ไม่ต้องภาวนา ตอนก่อนนอนก็ดูลมหายใจจนหลับไป ถ้าทำอย่างนี้จะทรงสมาธิได้ตลอดวันค่ะ
     
  12. pim_jai

    pim_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +568
  13. kasimoto

    kasimoto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +115
    @Phanudet กรรมฐานไรไม่ทราบครับ ผมดูลมหายใจอ่าครับ
    ขอบคุณทุกท่านที่ชี้แนะครับ
    อนุโมทนา สาธุ เจริญในธรรม
     
  14. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    474
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,849
    ทำให้ได้ทุกอริยาบถครับ ไม่ต้องถึงระดับฌานก็ได้ เอาแค่อุปจาระสมาธิก็พอ แ่ค่นี้จิตก็ทรงสมาธิได้ทั้งวันแล้วครับ และจะเกิดผลดีตอนคุณนั่งหรืออยากจะเข้าฌานที่ละเอียดขึ้น เพราะจิตมันพร้อมอยู่แล้ว

    โมทนาครับ
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    กรรมฐานที่คุณฝึกอยู่ เขาเรียกว่า อานาปานุสสติกรรมฐาน กรรมฐานหนึ่งในหมวด อนุสสติ ๑๐ ในกรรมฐาน ๔๐ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ครับ.

    มาถึงคำถามที่ว่า

    การฝึกอานาปานุสสติให้ทรงตัว คุณจะต้องทรงอารมณ์ฌานให้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อคุณว่างจากการทำงาน หรือ การเดินทางไปในที่ต่างๆก็ตาม คุณสามารถที่จะทรงกรรมฐานได้โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติเฉพาะในรูปแบบที่ว่าต้องมีการนั่งสมาธิเท่านั้น....ซึ่งในระหว่างวันนั้น จิตเมื่อไม่ได้ทรงอยู่ในฌาน ก็จะมีความฟุ้งซ่านอยู่เป็นปกติ คิดไปนู่นไปนี่ เรื่องนั้นเรื่องนี้....ให้คุณถือว่าเอาเวลาที่ว่างจากงาน ในเวลาปกติที่ปล่อยเลยให้ความคิดมันฟุ้งซ่าน มาทรงการปฏิบัติ จะดีกว่า....ถือว่าเราเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ...ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณว่างจากงานแม้เล็กน้อยเราจะไม่ห่างจากการปฏิบัติ ถ้าคุณปฏิบัติได้เช่นนี้จะส่งเสริมการปฏิบัติของคุณไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติในรูปแบบ หรือการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน.....การทรงฌานของคุณจะทำได้ง่าย....ในทุกครั้งที่คุณต้องการความสงบแห่งจิต.....

    ฌาน คือ ความชิน ...... เมื่อจิตมีความชินในกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ก็ชื่อว่าทรงฌานในกรรมฐานกองนั้นๆ...การที่จิตจะชินกับกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง....เป็นที่แน่นอนว่าต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เนืองๆ จนจิตมันชิน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาครับ.....

    เรื่องการสอบสภาวะธรรมในขั้นของฌาน ใน อานาปานุสสติกรรมฐาน ผมไม่ทราบว่าคุณเคยศึกษามาบ้างแล้วหรือยัง....แต่เดี๋ยวอย่างไรผมจะขึ้นของครูบาอาจารย์ไว้ให้...สอบสถาวะได้ด้วยตนเองนะครับ......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2012
  16. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    <TABLE style="WIDTH: 26%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="26%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: #f0f0f0; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-RIGHT-COLOR: #f0f0f0; BORDER-LEFT-COLOR: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง
    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<O[​IMG]</O
    **************************************************<O[​IMG]</O

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O[​IMG]</O< font><!-- google_ad_section_end -->
     
  17. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    474
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,849
    โมทนาในธรรมทานครับ พี่ภานุเดช
     
  18. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    การจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ ก็เป็นการฝึกสมาธิครับ แม้แต่จดจ่ออยู่ในหน้าที่ของตนเอง

    ก็ก่อให้เกิดสมาธิได้ครับ ความนิ่งสงบไม่ใช่นิ่งสงบลงเพียงถ่ายเดียว แต่ต้องมีสติระลึกรู้ด้วยครับ

    จึงจะเป็นสมาธิครับ หมั่นเจริญสติครับ

    สาธุครับ
     
  19. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..ทรงอารมณ์คุณยังไม่รู้จักเลย..ขออภัยแต่คุณพูดไปถึงฌานเลย..คุณเข้าใจผิดมาก
     
  20. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ระลึกรู้ที่ไหน..ลองบอกมาซิ ไอ้เด็กดื้อ..ต่อยอดให้.:mad:
     

แชร์หน้านี้

Loading...