ทาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย 00p, 6 มีนาคม 2007.

  1. 00p

    00p สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +22
    ทาน

    ทาน หรือ คำว่าให้ทาน เป็นการกระทำบุญอย่างหนึ่งของการทำบุญ ๓ อย่าง อย่างที่ ๑ การให้ทาน หรือ การบริจาคทาน เรียกว่า ทานมัย อย่างที่ ๒ การรักษาศีล เรียกว่า สีลมัย อย่างที่ ๓ การเจริญภวนา เรียกว่า ภาวนามัย ทั้ง ๓ อย่างเรียกว่าทำบุญ ๓ ประการ

    การให้ทานเป็นการละความตระหนี่ ทำให้จิตใจของผู้ให้ทานประกอบด้วยความเมตตา และ ให้ทานด้วยศรัทธา เคารพในกาลอันควร มีจิตเมตตา ให้ทานไม่กระทบตนและคนอื่น ผลที่ได้รับจะเป็นผู้มั่งคั่งร่ำรวย มีทรัพย์มาก และมีผลอื่น ๆ ดิดตามมาด้วย

    คนตระหนี่จะให้ทานไม่ได้ เพราะคนตระหนี่กลัวความหิวความกระหาย เกรงว่าให้ทานไปแล้ว ตนเองจะอดจะหิว ความตระหนี่จะเป็นสนิมเกาะอยู่ในใจสของเขา และจะไม่ยอมให้ทาน ผลคือ ผู้นั้นจะยากจน และ หิวกระหาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
    ในเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ หน้าแรกของเรื่องทานมีกล่าวไว้ว่า

    ผู้ให้ทานนิดหน่อย มีศีลนิดหน่อย ไม่เจริญภาวนาเลย เมื่อตายไปจะเกิดเป็น มนุษย์ที่มีส่วนชั่วี...

    ผู้ให้ทานพอประมาณ มีศีลพอประมาณ ไม่เจริญภาวนาเลย เมื่อตายไปจะเกิดเป็น
    มนุษย์ที่ดี

    ผู้ให้ทานมีประมาณยิ่ง คือ ให้ทานมาก มีศีลประมาณยิ่ง คือ มีศีลอย่างดียิ่ง ไม่เจริญภาวนาเลย เมื่อตายไปเป็นเทวดาตามลำดับขั้นต้น ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงษ์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และ ถึงชั้นสูงสุด คือ ชั้นปรนิมตรวสวัตตี

    ข้อสังเกตุเรื่องนี้คือ ผู้ให้ทานนิดหน่อย มีศีลนิดหน่อย และ ผู้ให้ทานพอประมาณ มีศีลพอประมาณ เมื่อตายไปจะไม่ได้เป็นเทวดา
    นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่า บางคนให้ทานมีความปรารถนาว่า เมื่อตายไปขอให้เป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล
    หรือ สหายเทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงษ์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ผู้นั้นจะเข้าถึงตามที่ตั้งความปรารถนาไว้ แต่ผู้นั้นต้องเป็นผู้มีศีล ไม่ใช่ผู้ทุศีล ผู้ทุศีล หมายถึง ผู้ไม่มีศีล

    สัตบุรุษในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ แปลว่า คนที่เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ เป็นข้อแรกของมรรค ๘ หมายถึง ความเห็นชอบ สัตบุรุษเป็นบุคคลที่ดี มีความเห็นชอบ มีปัญญา และ เป็นผู้มีศีล ตรงข้ามบุคคลไม่ดี เรียกว่า อสัตบุรุษ สัตบุรุษ ให้ทานและถึงพร้อม ๓ อย่างนี้ คือ ให้ทานด้วยศรัทธา ให้ทานด้วยหิริ (หิริ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป ไม่ทำบาปเท่ากับมีศีล) และ ให้ทานอันหาโทษมิได้ (โทษในที่นี้ คงหมายความ ไม่มีภัยทั้งเกิดจากตนเอง หรือ เกิดแต่ผู้อื่น ก็คงไม่พ้นเรื่องศีล เช่น ไม่ไปโกงเขาแล้วนำมาให้ทาน หรือ ให้ทานบุคคลอื่นไปดื่มสุราเมรัย ซึ่งผิดศีลข้อ ๕)
    สัตบุรุษที่ให้ทานครบทั้ง ๓ ประการ ย่อมไปสู่เทวโลก สัตบุรุษย่อมให้ทานโดยเคารพ ให้ทานโดยอ่อนน้อม ให้ทานด้วยมือตนเอง ให้ทานโดยของไม่เป็นเดน ให้ทานโดยเห็นผลที่จะมาถึง

    พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า การให้ทานในที่ไหนมีผลมาก และ ทานที่ให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้า ตอบว่า บุคคลพึงให้ทาน เมื่อจิตเลื่อมใส ในที่ใดก็ให้ทานในที่นั้น ทานที่ให้แล้วมีผลมากก็คือ ทานที่ให้แล้วแก่ผู้มีศีล มีผลมาก ทานที่ให้แล้วแก่ผู้ทุศีลหามีผลมากไม่

    นอกจากนี้ การให้ทานมีผลมาก คือ ผู้ที่ละองค์ ๕ ได้ และ ผู้นั้นประกอบด้วยองค์ ๕
    การละองค์ ๕ คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
    การประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ผู้นั้นมีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ (ทั้ง ๓ อย่างนี้ คือ ศีล
    สมาธิ ปัญญา) วิมุตติขันธ์ (วิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น นิพพาน) และ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ (ญาณ คือ ความรู้เห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้ว) ทั้ง ๕ อย่างเป็นองค์ประกอบของพระอเสขะด้วย

    มีภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า อย่างไรจึงเรียกว่า พระอเสขะ พระพุทธเจ้าตอบว่า
    พระอเสขะประกอบด้วย ๑๐ ประการ ของพระอเสขะ คือ
    ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
    ๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
    ๕. สัมมาอาชึวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ
    ๗. สัมมาสติ ความตั้งใจชอบ ๘. สัมมาสติ ความระลึกชอบ
    ๙. สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ ๑๐. สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นชอบ

    การให้ทานแล้วมีผลมากเป็นไปตามลำดับก็มี เช่น
    ๑. ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงทิฏฐิร้อยท่านบริโภค ท่านผู้ถึงทิฏฐิ หมายถึง ผู้ที่รู้ชอบ
    ปฏิบัติชอบแล้ว
    ๒. ทานที่ให้พระสกทาคามี ร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่า พระสกทาคามี ผู้เดียวบริโภค
    ๓. ทานที่ให้พระอนาคามี ผู้เดียว มีผลมากกว่า พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค
    ๔. ทานที่ให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่า พระอนาคามี ผู้เดียว
    ๕. ทานที่ถวายพระอรหันต์ผู้เดียว มีผลมากกว่า พระอนาคามีร้อยท่าน
    ๖. ทานที่ถวายพระอรหันต์ร้อยท่าน มีผลมากกว่า พระอรหันต์ผู้เดียว
    ๗. ทานที่ถวายพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ผู้เดียว มีผลมากกว่า พระอรหันต์ร้อยท่าน
    ๘. ทานที่ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยท่าน มีผลมากกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เดียว
    ๙. ทานที่ถวายพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า มีผลมากกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยท่าน
    ๑๐. ทานที่ถวาย พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข มีผลมากกว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ๑๑. การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ ผู้มาจากจตุรทิศ มีผลมากกว่า ทานที่ถวายให้ ้พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุขบริโภค
    ๑๒. การที่บุคคลที่จิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ มีผลมากกว่า
    ข้อ ๑๑.
    ๑๓. การที่บุคคล มีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน
    กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาทะ การดื่มน้ำเมา คือ สุรา และ เมรัย อันเป็นฐานแห่งความประมาท
    มีผลมากกว่าข้อ ๑๒.
    ๑๔. การที่บุคคลเจริญเมตตาจิต โดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่า ข้อ ๑๓.
    ๑๕. การทีบุคคลเจริญอนิจจสัญญา แม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือเดียวมีผลมากกว่า ข้อ ๑๔.

    ตั้งแต่ข้อ ๗ ถึงข้อ ๑๐ บุคคลในปัจจุบัน ไม่มีโอกาสจะถวายทานนั้นได้แล้ว ส่วนการถวายทานให้แก่ พระอริยสาวก ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึง ข้อ ๖ ก็ไม่ทราบว่า จะมีโอกาส
    ทำได้หรือไม่ โอกาสที่จะทำได้ คือ ข้อ ๑๑ ถึงข้อ ๑๓ ส่วนข้อ ๑๔ ถึงข้อ ๑๕ บุคคลปัจจุบัน
    ทำได้จะต้องเป็นอริยบุคคล สำเร็จเป็นพระสกิทาคามี หรือ พระอนาคามี หรือ พระอรหันต์

    ขอแนะนำให้ท่านอ่านเรื่องทาน ทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ และ อ่านทบทวนหลายครั้งยิ่งดี
    เพื่อจะได้จำได้ตลอดไป และ นำไปปฏิบัติ ท่านจะได้กุศลอย่างยิ่ง ชีวิตของท่านจะได้
    รุ่งเรืองตลอดไป พ้นจากความยากจนทั้งในชาตินี้และชาตดิหน้า

    ผู้รวบรวมและเรียบเรียง จากพระไตรปิฎก

    นาย บุญเสริม คุ้มพวงเพชร บช.บ. ธบ.

    สวัสดี
    00p

    :)

     

แชร์หน้านี้

Loading...