เรื่องเด่น ทริปงานออกนิโรธ คบ. วิฑูรย์ & งานทำบุญครบรอบมรณภาพ 22 ปี ลพ. ฤๅษี 28 ก.ย. 57

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 12 กันยายน 2014.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]
     
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รายนามผู้ร่วมบุญ - ร่วมเดินทาง


    รายนามผู้ร่วมบุญ
    ๑. กองทุนบึงลับแล ๕๐๐ บาท
    ๒. หลาน ๆ สกุล "ศราภัยวานิช" ๕๐ บาท
    ๓. คมศักดิ์ ๑๐๐ บาท

    รวมเงินร่วมบุญ ๖๕๐ บาท


    รายนามผู้ร่วมเดินทาง
    ๑. ญ.ผู้หญิง*
    ๒. กรชัย*
    ๓. O Pari (๑)*
    ๔. O Pari (๒)*
    ๕. Jack Sutthiwan (๑)*
    ๖. Jack Sutthiwan (๒)*
    ๗. Jack Sutthiwan (๓)*
    ๘. Jack Sutthiwan (๔)*
    ๙. Jack Sutthiwan (๕)*
    ๑๐. อ้อยตี๋ (๑)*

    ๑๑. อ้อยตี๋ (๒)*
    ๑๒. จุติญาน*
    ๑๓. ป้าแมว*
    ๑๔. กันทร์ (๑)*
    ๑๕. กันทร์ (๒)*
    ๑๖. บีบี้*
    ๑๗. มนัญญฺ์ปรัชญ์*
    ๑๘. ประชา (๑)*
    ๑๙. ประชา (๒)*
    ๒๐. ประชา (๓)*

    ๒๑. ประชา (๔)*
    ๒๒. ๋Jintawadee (๑)*
    ๒๓. Jintawadee (๒)*
    ----------------
    ๒๔. Pinkaew
    ๒๖. เดือนสาม (๑)
    ๒๗. เดือนสาม (๒)
    ๒๘. หนิงคิ้ว (๑)
    ๒๙. หนิงคิ้ว (๒)
    ๓๐. Nepher (๑)

    ๓๑. Nepher (๒)
    ๓๓. เอ๋ กัญญามณี (๑)
    ๓๒. เอ๋ กัญญามณี (๒)
    ๓๓. เอ๋ กัญญามณี (๓)
    ๓๔. เอ๋ กัญญามณี (๔)
    ๓๕. นิวาดา
    ๓๖.
    ๓๗.
    ๓๘.
    ๓๙.
    ๔๐.

    รวมผู้แจ้งความประสงค์ร่วมเดินทาง ๓๕ คน
    (ว่าง ๕ ที่)




    หมายเหตุ
    ๑. เดินทางโดยรถตู้ปรับอากาศ
    ๒. ค่าเดินทาง ๖๐๐ บาท
    ๓. การร่วมเดินทาง : ลงชื่อได้ตามช่องทางที่แจ้งไว้ และโอนชำระค่าเดินทางเข้ามาได้ทันที
    ๔. ปิดรับการร่วมเดินทาง : วันศุกร์ที่ ๑๙ ก.ย. ๕๗ เวลา ๒๐.๐๐ น.
    ๕. ประกาศผังที่นั่ง : วันจันทร์ที่ ๒๒ ก.ย. ๕๗

    ๖. ทุกกิจกรรมบุญของพลังจิตธรรมสัญจรเดินทางโดยรถน้ำมัน ให้สิทธิ์ที่นั่งตามการชำระเงินไม่ใช่ตามการลงชื่อจอง และขอสงวนสิทธิ์ที่จะปิดรับก่อนกำหนด ถ้ามีผู้ชำระเงินเข้ามาจนเต็มคัน
    ๗. ในกรณีขอยกเลิกการเดินทางและประสงค์ขอรับเงินคืนผู้จัดจะคืนให้ต่อเมื่อหาผู้เดินทางทดแทนได้เท่านั้น ยกเว้น กรณียกเลิกก่อนเดินทาง ๗ วัน ไม่คืนค่าเดินทางให้
    ๘. สีส้ม คือ สมาชิกที่เป็น สว. อายุ ๕๕ ปีขึ้นไป
    ๙. สีเขียว คือ สมาชิกที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เมารถ
    ๑๐. สีน้ำตาล คือ สมาชิกที่มีรูปร่างใหญ่
     
  3. โปฐิละ

    โปฐิละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +365
    ร่วมบุญได้ทางไหนครับ
     
  4. ser_dool

    ser_dool เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    437
    ค่าพลัง:
    +808
    "นิโรธสมาบัติ" และ "นิโรธสกรรม" แตกต่างกันอย่างไร
    คำว่า “นิโรธ” นั้น เป็นคำไวพจน์ของนิพพาน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสหมายถึงพระนิพพานล้วน ๆ เช่น อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นิพพานจึงเป็นกาลวิมุติ คือพ้นจากกาลทั้ง 3 เป็นขันธวิมุติ คือพ้นจากขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    ฉะนั้น คำว่า “นิโรธ” จึงหมายถึง สมาบัติที่ จิต เจตสิก และจิตตชรูป ดับสนิท ตลอดเวลาที่ได้อธิฐานไว้ เป็นการดับชั่วคราว ซึ่งจะอยู่ในอิริยาบถเดียว คือ นั่งทำสมาธิตั้งแต่ปฐมฌาน จนถึง เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยไม่ไหวติง หรือขยับไปไหนได้ จนกว่าจะถึงระยะเวลาที่ได้อธิฐานจิตไว้

    ในปัจจุบันได้มีพระภิกษุจำนวนมาก แม้กระทั่งแม่ชี หรือที่อ้างว่าเป็นภิกษุณี นั้น ได้ทำพิธีเข้า “นิโรธ” ที่ผิดไปจากความเป็นจริง เป็นการแสวงหาเงิน ทรัพย์ สมบัติใส่ตัว มีการโฆษณาว่าจะเข้านิโรธวันนี้ หรือออกนิโรธวันนั้น ๆ ให้มาทำบุญทำทานกับพระอริยะผู้ได้ฌานสมาบัติ หากผู้ใดทำบุญกับพระที่ออกนิโรธแล้ว จะทำให้เป็นเศรษฐีกันในพริบตา เป็นต้น โดยจัดพิธีส่งเข้าห้องกันอย่างครึกโครม แท้จริงโดยไม่มีการเข้านิโรธได้ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงไปนั่ง ๆ นอน ๆ ในกุฎิ มีแอร์เย็นสบาย ดื่มน้ำได้ทุกชนิด แม้กระทั่งอาหารครบครัน รอถึงวันที่ได้กำหนดไว้ แล้วออกจากห้องอย่างอ้วนหมีพีมัน ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ราวกะว่า ไปสปามา


    เพื่อเป็นการเข้าใจเรื่องนี้ ในที่นี้จะกล่าวถึงความหมายของ “นิโรธ” ที่เป็น “นิโรธสมาบัติ” ที่เป็น “นิโรธสกรรม” มาพอสังเขป ดังนี้

    1. นิโรธสมาบัติ ในคัมภีร์พระอภิธรรม นิโรธสมาบัติวิถี คือ วิถีที่มีการดับของจิต เจตสิกและจิตตชรูป

    บุคคคลที่สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้นั้น ได้แก่ พระอนาคามี และ พระอรหันต์ที่ได้ฌานสมาบัติ 9 (คือ รูปฌาน 5 และอรูปฌาน 4) ซึ่งอยู่ในกามสุคติภูมิ 7 และรูปภูมิ 15 (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) เท่านั้น
    พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่จะเข้านิโรธสมาบัตินั้น ต้องเข้าฌานไปตามลำดับ ตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
    การเข้าปฐมฌานถึงวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อออกจากฌานนั้น ๆ แล้ว ต้องพิจารณาฌานจิต และเจตสิกที่ดับไปแล้ว โดยความเป็นไตรลักษณ์ทุกฌาน หลังจากนั้น จึงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน และเมื่อออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเจริญวิปัสสนาเหมือนฌานก่อน ๆ แต่ให้ทำบุพพกิจ 4 อย่าง เหล่านี้ คือ
    1. การอธิษฐานให้บริขารต่าง ๆ ของตนพ้นจากภัยอันตราย (นานาพัทธอวิโกปนะ)
    2. การอธิษฐานให้ออกจากนิโรธสมาบัติได้ทันที เมื่อพระพุทธเจ้าต้องการพบตัว (สัตถุปักโกสนะ) แต่สมัยนี้ ยกเว้นข้อนี้
    3. การอธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน หากต้องการพบตัวข้าพเจ้าแล้ว ขอให้ออกจากนิโรธสมาบัติทันเวลาประชุม (สังฆปฎิมานนะ)
    4. การอธิษฐานกำหนดเวลาเข้านิโรธสมาบัติ (อัทธานปริจเฉทะ)

    ข้อนี้ควรพิจารณาตรวจดูชิวิตของตนด้วยว่าจะดำรงอยู่ได้ตลอด 7 วัน อันเป็นระยะเวลาที่เข้านิโรธสมาบัติหรือไม่ เมื่อตรวจดูแล้วทราบว่าจะอยู่ได้นานกว่านั้น ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่ถ้ามิอาจดำรงอยู่ได้ถึง 7 วันแล้ว หากบุคคลนั้นยังเป็นพระอนาคามีอยู่ก็ไม่ควรเข้านิโรธสมาบัติ แต่ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อบรรลุอรหัตตผลดีกว่า หากบุคคลนั้นเป็นพระอรหันต์ ก็สมควรเข้านิโรธสมาบัติ

    แต่ต้องกำหนดเวลาเข้าให้น้อยลง โดยออกก่อนหน้าเวลาที่จะปรินิพพาน ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้มีโอกาสกล่าวอำลาเพื่อนสหธรรมมิกทั้งหลาย

    อย่างไรก็ตาม บุพพกิจ 3 อย่างข้างต้นนั้น อาจจะไม่ต้องทำก็ได้ แต่สำหรับขอสุดท้าย (คือ อัทธานปริจเฉทะ) นั้น จำเป็นจะต้องทำเมื่ออยู่ในมนุสภูมิ แต่ในรูปภูมิ ไม่ต้องทำบุพพกิจเลยก็ได้ ถ้าจะทำบ้างก็เพียงแต่อธิษฐานกำหนดเวลาเข้าเท่านั้น

    เมื่อทำบุพพกิจเหล่านี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานกุศล หรือกิริยา ตามสมควรแก่บุคคล เนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็เกิดขึ้น 2 ขณะ หลังจากนั้น จิตเจตสิกและจิตตชรูปก็ดับลง คงมีแต่กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูปเกิดอยู่ เป็นอันว่าสำเร็จการเข้านิโรธสมาบัติทุกประการ

    ส่วนการออกจากนิโรธสมาบัตินั้น มีความเป็นไปดังนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาในการเข้านิโรธสมาบัติแล้ว อนาคมิผลจิตหรืออรหัตผลจิต ย่อมเกิดขึ้น 1 ขณะ ตามสมควรแก่บุคคลแล้วก็ลงภวังค์

    เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติ จิตขณะแรกที่เกิดเป็น ผลจิต (โลกุตตรวิบากจิต) มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าเป็นพระอนาคามีบุคคลก็เป็นอนาคามิผลจิต ถ้าเป็นพระอรหันต์บุคคลก็เป็นอรหัตตผลจิต

    -----------------------------------

    2. นิโรธสกรรม ไม่มีบัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย ไม่มีในพระไตรปิฏก หรือ ไม่มีในคัมภีร์พระอภิธรรม

    ซึ่งได้ให้ความหมายว่า เป็นการบูชา ไม่ว่าจะบูชาต่อสิ่งใดๆ ก็ได้ ถือเป็นการบิดเบือนความหมายที่แท้จริง
    ไม่มีการทำให้แจ้งต่อนิโรธแม้แต่น้อย และไม่มีการบัญญัติไว้ในที่ใด ๆ ทราบเพียงแต่ว่า พระสาย “ครูบา” ต่าง ๆ ได้กระทำกันเป็นกิจวัตร จนถึงแม่ชีผู้ที่อ้างตนเป็นภิกษุณี นุ่งห่มผ้าเหลือ ก็ยังสามารถทำได้ และได้ให้ความหมายว่า

    การเข้านิโรธสกรรม 3 วัน เป็นการบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    การเข้านิโรธสกรรม 5 วัน เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ คือ
    พระกกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระศรีอริยเมตไตรยสัมพุทธเจ้า

    มีพิธีกรรม คือ เข้าไปอยู่ในห้องที่ได้จัดเตรียมไว้เฉย ๆ ไม่มีการทำสมาธิฌานตั้งแต่ ปฐมฌาน ถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน และสามารถดื่มน้ำได้ มีน้ำนม น้ำหวาน น้ำผลไม้คั้นต่างๆ บางคนมีการแอบฉันอาหารในห้องก็มี พอถึงวันที่กำหนดออกกรรม ก็จะมีการนัดโยมมาบริจาคถวายเงิน โดยอ้างว่า หากใครถวายเงินในวันออกนิโรธสกรรมจะได้เป็นเศรษฐีร้อยล้าน จึงมีคนหลงเชื่อเข้าใจว่า เป็นอย่างนั้นจริง ได้สูญเสียเงินมาแล้วหลายล้าน ซึ่งเป็นการอ้างเลียนแบบตามที่พระอริยเจ้าผู้เข้านิโรธสมาบัติจริง ให้ผลทานแก่ผู้ถวายอาหารมื้อแรก

    ส่วนความเป็นมาของการเข้านิโรธสกรรม นั้น มาจากพระสาย “ครูบา” ซึ่งในยุคปัจจุบัน กำลังเป็นที่แพร่หลายในการยกระดับเทียบเท่ากับพระอริยบุคคล ชั้น พระอนาคามี และพระอรหันต์ ซึ่งได้อ้างตนว่า สามารถเข้านิโรธกรรมกันอย่างมากมาย จนได้รับสมญานามว่า เป็น “พระอริยะบุคคล” ชั้นต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องฝึกกรรมฐานแต่อย่างใด

    ซึ่งการกล่าวอ้างเช่นนี้ ย่อมเป็นอาบัติหนัก คือการอวดอุตตริมนุสสธรรม มีคุณวิเศษคือฌานสมาบัติ เป็นต้น อันไม่มีในตน ย่อมเป็นกรรมหนักที่สุด คือ ต้องอาบัติปาราชิก ซึ่งพระภิกษุใดที่อ้างดังกล่าว ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว

    การนำคำว่า "นิโรธ" มาใช้ในพิธีกรรมใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีความหมายเพียงหนึ่งเดียว คือ "การดับ" ซึ่งก็คือการเข้าถึงนิพพาน นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการดับชั่วคราว คือการเข้า "นิโรธสมาบัติ" จริง หรือ การเข้า "นิโรธสกรรม" คือการเข้าสมาบัติปลอม ก็แล้วแต่ตามจะนึกคิด ย่อมหมายถึง "การเข้าสู่แดนแห่งพระนิพพาน" นั่นเอง

    ดังจะเห็นได้ว่า นโรธสมาบัตินั้น ถ้าภิกษุใดสามารถเข้านโรธสมาบัติได้ นั่นแสดงว่า ท่านเป็นพระอริยะบุคคล ชั้น พระอนาคามี หรือ พระอรหันต์ ผู้ได้สมาบัติ 9 ผู้ใดได้ถวายอาหารมื้อแรกกับท่าน จะได้รับอานิสงค์ผลบุญมหาสาร แม้ปรารถนาสิ่งใดก็จะสมปรารถนากันในชาตินี้เทียว

    ส่วน นิโรธสกรรม นั้น ถ้าภิกษุใดอ้างว่าได้เข้านิโรธสกรรมได้ นอกจากจะไม่มีคุณวิเศษใด ๆ ในตัวเองแล้ว ยังเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรม ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว เป็นผู้ที่ตัดคอตัวเอง ไม่มีสิทธิบรรลุมรรค ผล นิพพานในชาตินี้ ถือว่าเป็น “ภิกษุตาลยอดด้วน” ย่อมไม่มีความงอกเงยขึ้นมาอีก ผู้ใดได้ถวายทานไม่มีอานิสงค์ใด ๆ เลย ไม่ว่าชาตินี้ ชาติหน้า

    จึงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพระพุทธศาสนาเรา ที่ต้องแก้ไขห้ามปราบอย่างรีบด่วน ซึ่งหากปล่อยไว้ ไม่เพียงจะทำให้พระพุทธศาสนาต้องมัวหมองกับการประพฤตินอกรีต อันขัดต่อพระธรรมวินัยแล้ว ยังมีการถือปฏิบัติที่อวดเอาฌาน เอาความเป็นพระอริยะบุคคล มาใส่ตัวอย่างไม่เกรงกลัวต่อบาป ทั้งที่ไม่มีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแม้แต่น้อย

    พิจารณาเถิด...

    ------------------------------------------------

    ขอน้อมจิต : ขอขมาคุณท่านพระครูบาที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบในการดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา มา ณ ที่นี้ด้วยครับ.
    เพื่อธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้ยาวนาน จึงต้องแจ้งแนวข้อปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ให้เกิดความสมบูรณ์มิคลาดเคลื่อน.

    อ้างอิง: จากพระอภิธรรม ว่าด้วยเรื่องนิพพานเป็นปรมัตถ์ นิโรธสมาบัติ
    ธรรมบท ประวัติพระอสีติมหาเถระ
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาเวทัลลสูตร
    วิสุทธิมัคค์ ปัญญาภาวนา สังสนิทเทส
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬโคสิงคสาลสูตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2014
  5. I WILL D

    I WILL D เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +771
    บอกตรงๆนะ ยุคนี้เป็นยุค IT ถ้ามีพระองค์ไหน ประกาศจะเข้า นิโรธสมาบัติ หรือประกาศละสังขาร ควรจะบอกลูกศิษย์ลูกหา ให้เตรียมกล้องวงจรปิดเอาไว้ส่องดู ทั้งภายนอก และภายในกุฏิ ว่าพระอาจารย์ทำจริงๆ ไม่ได้แอบหนีไปฉันอะไร ที่ไหน เรื่องนี้ไม่ยาก และทันกับยุคสมัยนี้ และเป็นการยืนยันความบริสุทธิ์ของตัว ครูบาอาจารย์เองด้วย จะได้ไม่มีใครมา ครหา นินทาภายหลัง หรือลบหลู่ได้



    ถ้ามีปัญญา ก่อนศรัทธา คงโดนหลอกยาก
    แต่ถ้ามีศรัทธาก่อนปัญญา โอกาสจะโดนหลอกง่าย





    ไม่เชื่อ ก็ต้องพิสูจน์ จะได้ไม่โดนลบหลู่




    เพราะศาสนาพุทธเน้นให้พิสูจน์แล้วค่อยเชื่อ

    ตามหลัก กาลามสูตร ดังที่พระพุทธองค์สอนไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...