ทรงโปรดเบญจวัคคีย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 26 มกราคม 2012.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    <CENTER style="FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-SIZE: medium; FONT-WEIGHT: normal"></CENTER>[๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจึงออกเดินทางต่อไปโดยลำดับ จนถึงพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี.

    พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็นเราเดินทางมาแต่ไกลจึงได้นัดหมายกันว่า
    ท่านพระสมณโคดม พระองค์นี้ ที่เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก กำลังเสด็จมา
    พวกเราไม่ต้องไหว้ ไม่ต้องลุกขึ้นยืนรับ ไม่ต้องรับบาตรจีวร แต่ว่าต้องปูอาสนะไว้ ถ้าทรงปรารถนา ก็จักประทับนั่ง.

    เมื่อเราเข้าไปใกล้ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ในข้อนัดหมายกัน คือ บางรูปลุกขึ้นรับบาตรจีวร บางรูปปูอาสนะ บางรูปตั้งน้ำล้างเท้า แต่พูดกับเราโดยระบุนาม และใช้คำพูดว่า "อาวุโส"
    เราจึงบอกภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้พูดกับตถาคตโดยระบุนาม และใช้คำพูดว่า "อาวุโส" ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุ เราจะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมาย ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง.

    เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวกับเราว่า ดูกรอาวุโส โคดม แม้เพราะการประพฤติอย่างนั้น เพราะการปฏิบัติอย่างนั้นเพราะการบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างนั้น ท่านก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่างเพียงพอ ก็บัดนี้ ไฉนเล่า ท่านผู้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่างเพียงพอได้
    เมื่อพวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว
    เราจึงได้กล่าวว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมิได้เป็นคนมักมาก มิได้คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมาย ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง.

    พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวคัดค้านกะเราเป็นครั้งที่สอง เป็นครั้งที่สาม เมื่อพวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวคัดค้านอยู่อย่างนี้
    เราจึงได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า คำอย่างนี้ เราได้เคยพูดมาแล้วแต่ก่อน.
    พวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำอย่างนี้พระองค์มิได้เคยตรัสเลย.

    เราจึงกล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมิได้เป็นคนมักมาก มิได้คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตได้เป็นอรหันต-*สัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันเป็นคุณยอดเยี่ยมที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมายในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง.

    เราจึงได้สามารถให้พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ยอมเข้าใจตาม.

    เรากล่าวสอนภิกษุสองรูปภิกษุสามรูปก็เที่ยวไปบิณฑบาต เราทั้งหกคนฉันบิณฑบาตที่ภิกษุสามรูปนำมา.
    เรากล่าวสอนภิกษุสามรูป ภิกษุสองรูปก็เที่ยวไปบิณฑบาต เราทั้งหกคนฉันบิณฑบาตที่ภิกษุสองรูปนำมา ครั้งนั้น พวกภิกษุปัญจวัคคีย์อันเราโอวาทอนุศาสน์อยู่อย่างนี้ โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดาทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่หาพยาธิมิได้หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่หาโศกมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้เกษมจากโยคะ และพวกภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นมาว่า วิมุติของพวกเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด ไม่มีภพใหม่ต่อไป.


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



    </PRE>http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=5384&Z=5762
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2012
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    พระสูตรนี้ แสดงพระเมตตาของพระพุทธเจ้า

    แม้ไม่เงี่ยงโสต ถูกดูถูก ผู้กล่าวธรรม ๑
    "พวกเราไม่ต้องไหว้ ไม่ต้องลุกขึ้นยืนรับ ไม่ต้องรับบาตรจีวร แต่ว่าต้องปูอาสนะไว้ ถ้าทรงปรารถนา ก็จักประทับนั่ง."

    แม้ไม่เงียงสต ดูถูกตนเอง ๑
    แต่พูดกับเราโดยระบุนาม และใช้คำพูดว่า "อาวุโส"

    แม้ไม่เงี่ยงโสต ดูถูกธรรม ๑
    ดูกรอาวุโส โคดม แม้เพราะการประพฤติอย่างนั้น เพราะการปฏิบัติอย่างนั้นเพราะการบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างนั้น ท่านก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่างเพียงพอ ก็บัดนี้ ไฉนเล่า ท่านผู้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่างเพียงพอได้

    ทรงใช้พระเมตตาเตือนสติ เพราะ เล็งเห็นด้วยพระญาณว่า ปัจจวัคคีย์มีวาสนาที่จะบรรลุธรรมได้

    ฉนั้นแล้ว เชิญท่านผู้เจริญทั้งหลาย ตั้งใจฟังธรรม สนทนาธรรมด้วยความเคารพ ๓ ข้อ

    คือ เคารพผู้กล่าวธรรม เคารพตนผู้ฟังธรรม และเคารพธรรมเถิด
     
  3. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ...."ค้นหาเราให้เจอ"....
     
  4. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ปัฎฐาน
    ในชีวิตประจำวัน

    อารัมมณปัจจัย
    ธรรมที่เป็นอารมณ์ของจิตใจ

    ปัจจยธรรม ได้แก่ ธรรมที่เป็นฝ่ายอารมณ์(สิ่งที่ถูกรับรู้โดยจิตใจ) นั่นก็คืออารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส(โผฎฐัพพะ) และธรรมารมณ์

    ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ธรรมที่เป็นฝ่ายอารัมมณิกะ(จิตใจตัวที่รับรู้อารมณ์) นั่นก็คือ จิตที่เห็น, จิตที่ได้ยิน, จิตที่รู้กลิ่น, จิตที่รู้รส, จิตที่สัมผัส และจิตที่รู้ธัมมารมณ์

    พระพุทธองค์ทรงแสดงความเป็นอารัมมณปัจจัยไว้ดังนี้ว่า "เพราะการปรากฎเกิดขึ้นแห่งอารมณ์ มีรูปารมณ์ เป็นต้น จึงทำให้เกิดจิตวิญญาณตัวรับรู้ เช่น เพราะการปรากฎแห่งรูป จึงทำให้เกิดการเห็น เพราะมีเสียงจึงทำให้ได้ยิน ดังนี้ เป็นต้น

    ทุกครั้งที่เกิดการบรรจบหรือกระทบกับอารมณ์ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ก็ให้เราฝึกฝนใช้สติพิจารณา(มองดู)อารมณ์นั้นด้วยหลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักของการมองโลกในแง่ดี หากเรามองโลก(อารมณ์ที่มากระทบ)ในแง่ดีจิตใจของเราก็จะมีสภาพเป็นบุญ เป็นกุศล หรือเป็นจิตที่งดงาม แต่ตรงข้าม หากเรามองโลกด้วยอโยสิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักการมองโลกในแง่ร้าย จิตใจของเราก็จะมีสภาพเป็นบาป เป็นอกุศล เป็นจิตมาร หรือกลายเป็นจิตเน่า

    ยกตัวอย่าง ในเวลาที่เห็นพระพุทธปฎิมาหรือพระพุทธรูปซึ่งงดงามเหลืองอร่ามไปด้วยสีแห่ง ทองคำ นำมาซึ่งความน่าเสื่อมใสยิ่ง บางคนอาจเกิดจิตศรัทธาเลื่อมใส แต่บางคนอาจเกิดจิตทรามอยากจะไปลักขโมยขูดเอาทองคำไปขายก็ได้
    บางคนอาจชื่นชมผู้ที่บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ แต่บางคนอาจมองในแง่ร้ายไม่พึงพอใจต่อบุคคลนั้น ก็ได้

    ท่านทั้งหลายลองคิดดูซิว่า ความจริงแล้ว อารมณ์ก็อยู่ตามธรรมชาติของเขา ไม่สามารถมีอิทธิพลต่อความงามและความต่ำทรามให้กับจิตใจของเราได้ แต่เราเองไปปรุงแต่งจนเกิดเป็นจิตงามหรือไม่ก็จิตทราม ด้วยเหตุนี้การภาวะจิตไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จึงขึ้นอยู่กับมุมมองของเราทั้งหลายเป็นสำคัญ (คือ หากเรามองอารมณ์นั้นในแง่ดี จิตเราก็จะดี หากมองในแง่ร้าย จิตใจก็จะร้าย)

    ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะไปโทษอารมณ์ภายนอกใดๆ เพราะแม้จะมีรูปารมณ์อยู่ แต่หากเราไม่ดู เราก็ไม่เห็น แม้จะมีเสียง หากเราไม่เอาใจใส่ เราก็จะไม่ได้ยิน ดังนี้ เป็นต้น

    สรุปว่า หากเราไม่เอาใจใส่ต่ออารมณ์ใดๆ แล้วไซร้ อารมณ์นั้นๆ ก็จะไม่มีบทบาทสำคัญหรือมีอิทธิพลเหนือจิตใจของเราได้ จึงควรที่จะโทษตัวเองเสียดีกว่าในฐานะที่ไม่สำรวมระวังด้วยสติสัมปชัญญะใน การรับอารมณ์นั้นๆ

    ด้วยเหตุนี้ เราท่านทั้งหลาย จงตระหนักให้ดีว่า อารมณ์มิได้เป็นผู้เนรมิตให้จิตเราดีหรือไม่ดี แต่โยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการต่างหากที่มันปรุงแต่งจิตใจของเรา เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราท่านทั้งหลาย จึงควรเลือกโยนิโสมนสิการมาใช้ในทุกครั้งทุกขณะที่จิตรับรู้อารมณ์ (ทั้งนี้ยกเว้นเวลานอน) เพื่อให้จิตมีสภาวะปกติไม่ยินดียินร้ายกับอารมณ์ที่มากระทบนั่นเอง

    พุทธคาถาเตือนใจ

    ผุฎฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
    อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตํ มงฺคลมุตฺตมํ.

    จาก ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
    [FONT=verdana, geneva, lucida,]พระอาจารย์นันทสิริ
    ธัมมาจริยะ ปาฬิปารคู
    เขียน
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...