ถามค่ายพุทโธค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Pngtree, 27 ตุลาคม 2019.

  1. Pngtree

    Pngtree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +1,335
    ยกเว้นหมวดอสุภะ

    อีก 39 กอง มันจะได้ฟิวละความหลงในขันธ์ 5 ตอนไหน ตอนฝึกวิปัสสนาประกอบไปด้วย หรือตั้งแต่ฌานโน่นนี่นั่น


    เอาคนทำได้จริงขั้นภาวนานะคะ จะเอาบทความมาประกอบ thesis
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2019
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    กรรมฐาน 40 กอง มีมาภายหลัง

    มีอสุภะ 10 กอง
    จตุธาตุววัฏฐาน 1
    กสิน 10 กอง
    อนุสติ 10 กอง
    อาหารเรปฏิกูลสัญญา 1
    พรหมวิหาร 4 กอง
    อรูปณาน4 กอง

    รวมป็น 40 กอง ทุกกองพลิก ลงสติปัฐฐาน ได้หมด
    บางกองก็เป็น สติปัฐฐานโดยตรง เช่น อานาปานะสติ ที่อยู่ใน หนึ่งอนุสติ 10กอง
    กายคตาสติ เป็นต้นฯ

    หากไม่นับ อสุภะ จะเหลือ 30 กอง

    ทุกกอง มันจะได้ฟิวละความหลงในขันธ์ 5 ตอนที่มีเริ่ม มีสติ เป็นอัตโนมัติ

    ที่พ้นเจตนา เป็นเบื้องต้น จะเข้าใจรูปนาม ปริเฉท
    เรียกว่าแยกรูปแยกนาม เป็นเบื้องต้น


    หากจะ นับเข้า อสุภะ อีก ก็เช่นกัน เหมือนกัน ไม่มีต่าง

    ส่วนผลที่จะต่าง คือผล ของวาสนาในอภิญญา ที่มากน้อย ความชำนาญต่างกันในการนำไปใช้
    แต่ในด้านการละความหลง ผลเป็นเช่นเดียวกัน ทุกกอง
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ กรรมฐาน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
    +++ 1. อารัมมณูปนิชฌาน (รู้/อยู่ กับ อารมณ์)
    +++ 2. ลักขณูปนิชฌาน (รู้/อยู่ กับ ลักษณะสภาวะธรรม)

    +++ กรรมฐาน 40 ต้อง "แยก" ว่า ส่วนใดเป็นส่วนของ "อารมณ์/ธัมมารมณ์" และส่วนใดเป็นอาการ "รู้ ลักษณะสภาวะธรรม"

    +++ 1. กสิณ 10 "เพ่ง/ดู" ไม่ว่าจะเป็น "วงกลม หรือ ภาพพระ" ก็ตาม สรุปคือ "เป็นอาการ ดู"
    +++ หากผู้ใดได้ถึงขั้น "อารมณ์กสิณ" แล้วอยู่กับ "อารมณ์กสิณ" ได้ ก็เป็น "อารัมมณูปนิชฌาน"
    +++ เว้นไว้แต่ ใช้วิธีของ "หลวงปู่โต พรหมรังสี" น้อมกสิณ มาเป็น "ตน" (โอปนยิโก)
    +++ จากนั้นจึงเป็น "สติปัฏฐาน 4" รู้/รู้สึก "ตน" จึงรู้ "ลักษณะของ ความเป็น ตน" "ลักขณูปนิชฌาน"
    +++ ตอนที่ "ตัวดู ถูกรู้"
    +++ ออกจาก "อยู่ในอารมณ์" (อรูป)
    +++ มาเป็น "รู้" ลักษณะอารมณ์ (อรูป)

    +++ 2. อสุภกรรมฐาน 10 อย่าง
    +++ OK

    +++ 3. อนุสสติกรรมฐาน 10 อย่าง

    +++ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อุปสมานุสติ (นิพพาน) มรณสติ (ความตาย) อานาปานสติ กายคตาสติ
    +++ ทั้งหมดเป็นเรื่องของ "การระลึก/นึก" หากอยู่ข้างในของการระลึก ไม่ว่าจะเป็นอันใดก็ตาม ตรงนี้เป็น "อารัมมณูปนิชฌาน" เช่น "เพ่งลม ได้อารมณ์"
    +++ หากอยู่ข้างนอกของการระลึก จะรู้ถึง ลักษณะอาการของการระลึกได้ เรียกว่า "รู้กิริยาจิต" ตรงนี้เป็น "ลักขณูปนิชฌาน" เช่น "รู้ลม ลมถูกรู้" เป็นต้น

    +++ 4. พรหมวิหารกรรมฐาน 4 อย่าง

    +++ เป็นอาการ "อยู่ข้างในอารมณ์" ของ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    +++ เป็น "อารัมมณูปนิชฌาน"

    +++ 5. อรูปกรรมฐาน 4 อย่าง

    +++ เป็นอาการ "อยู่ข้างในอารมณ์" ของ 1. ว่าง (อากาสานัญจายตน) 2. รู้ (วิญญาณัญจายตนฌาน) 3. โล่ง (อากิญจัญญายตนฌาน) 4. เกิด/ดับของสัญญา (เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน) (ณ ขณะที่ สัญญาเกิด แต่ ยังไม่ทันเป็นสัญญา) (ณ ขณะที่ วาระจิต เกิด/ดับ ในวาระเดียวทันที)
    +++ หาก "อยู่/เป็น อารมณ์ของมัน" เป็น "อารัมมณูปนิชฌาน"
    +++ นับที่ "กิริยาจิต เกิด/ดับ ของ เนวสัญญา" หากออกจากอารมณ์ มารู้ที่ลักษณะ เกิด/ดับ เป็น "ลักขณูปนิชฌาน"

    +++ 6. อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 อย่าง

    +++ ระลึกถึง "ระบบทางเดินอาหาร จนถึง ขับถ่าย" หากอยู่ใน "อารมณ์ที่รังเกียจ" เป็น "อารัมมณูปนิชฌาน"

    +++ 7. จตุธาตุววัฏฐาน 1 อย่าง

    +++ ดิน น้ำ ลม ไฟ หากไปได้ถึง "ความรู้สึก" ที่ตนเป็น ก็จะเป็นแบบเดียวกับ "อารมณ์กสิณ" "อารัมมณูปนิชฌาน"
    +++ หาก "กำหนดเปลี่ยน ความรู้สึกของ ธาตุ 4 ได้" และ รู้ถึง "ลักษณะอาการของธาตุ 4" เป็น "ลักขณูปนิชฌาน"
    +++ ในชั้นภาวนาจริง ๆ จะเหลือแค่ 2 อาการเท่านั้น คือ
    +++ 1. โดนอารมณ์ ครอบงำอยู่หรือไม่ "อารัมมณูปนิชฌาน" (เนื้ออารมณ์)
    +++ 2. หลุดจากอารมณ์ ครอบงำได้หรือไม่ โดย "ลักขณูปนิชฌาน" (ฌาน ถูกรู้)

    +++ เอาแค่คร่าว ๆ แค่นี้นะ มันยาววววว......
    +++ จะเอา thesis ไปทำอะไรเหรอ...
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ถ้า ปวี ฝึก "ตามคำแปลทุกประการ" ก็จะเป็นอย่างที่พูดนั่นแหละ
    +++ ผลลัพธื คือ "มันไม่ตรง ตามความเป็นจริง"
    +++ ฌาน คือ "ผู้เพ่ง"
    +++ อารมณ์ฌาน คือ "ผลลัพธ์ จากการเพ่ง"
    ============================================
    +++ อารัมมณูปนิชฌาน คือ ไม่มี "สติ" (โดนอารมณ์ "ครอบงำ")
    +++ ลักขณูปนิชฌาน คือ "มีสติ" (รู้/อยู่ กับ ลักษณะสภาวะธรรม)

    +++ ตัวอย่าง เช่น ลักษณะของ "ฌาน ทั้ง 4"
    +++ ฌาน 1 "วิตก/วิจารณ์" ผู้ไม่มี "สติ" จะ "จมแช่ ในผลลัพธ์" เป็น "อารัมมณูปนิชฌาน"
    +++ ฌาน 1 "วิตก/วิจารณ์" ผู้ "มีสติ" จะ "รู้อาการกำหนด รวมทั้งผลลัพธ์" เป็น "ลักขณูปนิชฌาน"

    +++ ฌาน 2 "ปิติ" ผู้ไม่มี "สติ" จะ "จมแช่ ในอารมณ์ปิติ" เป็น "อารัมมณูปนิชฌาน"
    +++ ฌาน 2 "ปิติ" ผู้ "มีสติ" จะ "ใช้อาการกำหนด (วิตก) เข้าสู่ลักษณะเนื้อฌาน (วิจารณ์)" เป็น "ลักขณูปนิชฌาน"

    +++ ฌาน 3 "สุข" ผู้ไม่มี "สติ" จะ "จมแช่ ในอารมณ์สุข" เป็น "อารัมมณูปนิชฌาน"
    +++ ฌาน 3 "สุข" ผู้ "มีสติ" จะ "รู้วิธีกำหนดเปลี่ยนฌาน โดยเปลี่ยนเนื้อฌาน" เป็น "ลักขณูปนิชฌาน"

    +++ ฌาน 4 "อุเบกขา" ผู้ไม่มี "สติ" จะ "จมแช่ ในอารมณ์เฉย" เป็น "อารัมมณูปนิชฌาน"
    +++ ฌาน 4 "อุเบกขา" ผู้ "มีสติ" จะ "แปรอารมณ์สุข เป็น อารมณ์เฉย" เป็น "ลักขณูปนิชฌาน"

    +++ สรุป ลักขณูปนิชฌาน คือ "ผู้รู้จัก ลักษณะของฌาน ทุกประการ ไม่ว่าจะ แช่หรือไม่"
    +++ สรุป ลักขณูปนิชฌาน คือ "ผู้รู้จัก เนื้อของฌาน ทุกประการ ไม่ว่าจะ ความหนาแน่น/อุณหภูมิ/ความดัน ภายใน ฌาน"
    +++ สรุป ลักขณูปนิชฌาน คือ "ผู้รู้จัก ว่าลักษณะของฌาน เป็น ภูมิ"

    +++ ที่สำคัญ คือ "เนื้อฌาน ทุกชนิดเป็น อรูป" หากสามารถ "เข้าสู่ เนื้อฌาน ได้จริง"
    +++ ตำรา ไม่ได้เขียนถึง "ส่วนเฉพาะ ในการเข้าถึง เนื้อฌาน แบบตรง ๆ" จริงมั้ย
    ============================================
    +++ หากคำว่า "ฌาน" คือ "การเพ่ง" แต่เพียงอย่างเดียว ถือว่า "ไม่เพียงพอ"
    +++ เพราะเป็นแค่ "เริ่มต้นเพ่ง" เท่านั้น ต้อง "สร้างภาพ/มโน" ก่อน (รูปกรรมฐาน)
    +++ จากนั้นจึง รอรับผล (อารมณ์) จากการเพ่งนั้น ๆ

    +++ สำหรับผู้รู้จัก "ลักขณูปนิชฌาน" จะเข้าที่กอง "ธัมมานุปัสสนา" โดยตรง (นามกรรมฐาน)
    +++ ตจปัญจก คือ "ผม ขน เล็บ หนัง ฟัน" ใครบอกว่า "ไม่เพ่ง/ไม่มโน"
    +++ ณ เวลา "นึก" ให้เป็น "อสุภะ" นั้น "ดู/เพ่ง/มโน" ไปที่ "อาการนึก" หรือไม่
    +++ เพื่อให้ได้ "อารมณ์ น่ารังเกียจ" หรือไม่ และ "เป็นการ จมแช่ ในอารมณ์" หรือไม่
    +++ ตจปัญจก ยังอยู่ในส่วนของ "รูปมโน" อยู่เลย เพื่อให้ได้ผลเป็น "อารัมมณูปนิชฌาน"

    +++ ดังนั้นเรื่อง "ลักขณูปนิชฌาน" ยังไม่ต้องกล่าวถึง
    +++ อารัมมณูปนิชฌาน = อารมณ์ฌาน (สร้างรูป เพื่อ เข้าอารมณ์ฌาน)
    +++ ลักขณูปนิชฌาน = ลักษณะฌาน (ไม่ต้องสร้าง ใช้การ เลือกเนื้อสภาวะ แล้วเข้าแบบ ตรง ๆ)
    +++ "นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นวิปัสสนาญาณ" ไม่ใช่ "ฌาน"
    +++ เป็นอาการที่ "รู้+อยู่ ระหว่าง" อารัมมณูปนิชฌาน + ลักขณูปนิชฌาน ณ ขณะเดียวกัน
    +++ เป็น "อาการ" 1. รู้ซื่อ ๆ อยู่ส่วนหนึ่ง 2. รูปที่กำหนด อยู่ส่วนหนึ่ง 3. อารมณ์อันเกิดจาก รูปกำหนด อีกส่วนหนึ่ง

    +++ อาการ "รู้ซื่อ ๆ" ตรงนี้เป็น "สติบริสุทธ์" ไร้อิทธิพลจากทั้ง รูป/นาม (ญาณทัศนะวิสุทธิ)
    +++ ไม่มีอาการ "แทรกแซง" จากทั้ง รูป+นาม ใด ๆ ทั้งสิ้น (วิมุติญาณทัศนะ)

    +++ ว่าแต่ว่า "จะทำ thesis ตามการแปล หรือ การปฏิบัติ" ล่ะ
    +++ ค่อย ๆ เลือกเอานะ ไง ๆ ก็ "ได้ประโยชน์" ตามสมควร นะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...