ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    The Great Shift

    ** ดู Cascadia Megaquake **

    .... เรามีพลังงานที่ลึกมากผลักรอบวงแหวนแห่งไฟจากทางเหนือและเรามีพลังงานขนาดใหญ่ผลักขึ้นมาจากทางทิศใต้ แผ่นดินไหว ขนาด 6.3 รัสเซียมีแนวโน้มที่จะแผ่นดินไหวที่ ตื้นกว่า ขนาดใหญ่สั่นสะเทือนภายในไม่กี่วัน อาจจะเป็นสัปดาห์ ด้วยความลึก 450 + กม. ฉันจะเดินหน้าต่อไปและเรียกมันว่าพลังงานประมาณ ขนาด 7 กำลังมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือและ 6+ มุ่งหน้าจากทางใต้ ไม่ช้าก็เร็ว megaquake นี้จะเกิดขึ้น

    เตรียมพร้อมทุกคน!


    .

    .

    .

    - เข้าร่วมการปฏิวัติทางการเงิน -

    - แลกเปลี่ยนคำพิพากษาของคุณเป็นเงินจริง -

    - และเปลี่ยน MATRIX! -

    https://www.karatbars.com/landing/?s=delilahra

    IMG_5007.JPG IMG_5008.JPG IMG_5009.JPG IMG_5010.JPG

    **Cascadia Megaquake Watch**

    It’s that time again folks! And we are picking up right where we left off. We have very large deep energy pushing around the ring of fire from the north, and we have big energy pushing up from the south. The 6.3 off Russia will likely crest a shallower, larger quake within a few days to maybe a week. With it being 450+km deep, I am going to go ahead and call it about 7 magnitude in energy headed our way from the north, and 6+ headed in from the south. Sooner or later this megaquake is going to happen.

    Be Prepared everyone!


    .

    .

    .

    - Join the Financial Revolution -

    - Trade your fiat for REAL money -

    - and SHATTER the MATRIX! -

    https://www.karatbars.com/landing/?s=delilahra


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ขายไอเดีย “บริหารจัดการน้ำประเทศไทย” ด้วย “Water Grid” โครงข่ายท่อส่งน้ำเต็มรูปแบบ แก้ “น้ำท่วม-น้ำแล้ง”ในภาวะน้ำต้นทุนที่มีแต่จะลดลง
    19 พฤศจิกายน 2019
    0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-620x465.jpg
    นายอรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
    เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมาข่าวเวนิสน้ำท่วม จากน้ำทะเลขึ้นสูง เป็นผล Climate Change นับเป็นความเสียหายมากมาย เป็นตัวอย่างที่ต้องนำมาเรียนรู้สำหรับประเทศไทย แม้ลักษณะภูมิประเทศจะไม่เหมือนกัน แต่น้ำทะเลหนุนของไทย ปัจจุบันเข้ามาลึกกว่า 57 กิโลเมตรแล้ว ส่งผลต่อเกษตรกรและเป็นอุปสรรคต่อการนำน้ำในแม่น้ำมาใช้บริโภคอุปโภค

    นี่คือกรณีน้ำทะเลหนุนของไทย…ซึ่งเป็นปัญหาการจัดการน้ำที่ประเทศไทยประสบอยู่เช่นกัน ไม่นับรวมน้ำท่วม น้ำแล้ง ที่เป็นปัญหาใหญ่ของการบริหารจัดการของประเทศไทย

    ทุกๆ ปีมีน้ำท่วม น้ำแล้ง จนกลายเป็นวัฏจักรที่คุ้นชิน และนานวันเข้าน้ำท่วม น้ำแล้ง ก็ทวีความรุนแรงและขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น นำมาซึ่งความขัดแย้งในสังคม ถ้าน้ำท่วมส่วนใหญ่มักไม่มีใครยอมเป็นพื้นที่แก้มลิง/พื้นที่รับน้ำ หรือถ้าน้ำแล้งมักมีการขโมยสูบน้ำระหว่างทาง กักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ของตนเอง

    เป็นคำถามที่ถามซ้ำซาก ไทยเป็นประเทศที่มีฝนตกชุก ทำไมการบริหารจัดการน้ำจึงไม่ตอบโจทย์ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศที่ต้องมาหากินในวิถีเกษตร ทั้งเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เพราะ “น้ำ” คือชีวิตของพวกเขา ยังไม่นับรวมภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ อย่างอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการใช้น้ำเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ

    ภาวะน้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นภัยพิบัติที่ใช้งบประมาณช่วยเหลือแต่ละปีมากขึ้นเรื่อยๆ และส่วนใหญ่เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า เช่น ขนน้ำไปแจก ขุดบ่อบาดาล แจกโอ่ง ถ้าน้ำท่วมทำเขื่อนกั้นน้ำ ผนังกั้นน้ำ ชดเชยความเสียหายของผลผลิต แจกเงิน แจกของใช้จำเป็น ยังไม่รวมเรื่องการหันไปพึ่งพาน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า

    จากการรวบรวมข้อมูลจากมติคณะรัฐมนตรี สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าพบว่าเฉพาะงบประมาณส่วนที่ต้องช่วย “ภัยพิบัติ” ในระยะเวลา 5 ปีของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 100,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละกว่า 20,000 ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่นับรวมของรัฐบาลที่ผ่านๆ มา คาดว่าเป็นเงินมากมายอยู่

    ถ้าหากนำงบประมาณแต่ละปีมาใช้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศอย่างจริงจัง จะป้องกันภัยพิบัติอย่างถาวรและยั่งยืนได้หรือไม่

    แล้วการบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวมเพื่อแก้ปัญหาน้ำทั้งประเทศต้องทำกันอย่างไร

    ก่อนหน้านี้ “ไทยพับลิก้า” เคยสัมภาษณ์ นายอรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องการบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานครทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำทะเลหนุน และการจัดการน้ำเสีย

    อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำและคร่ำหวอดในแวดวงเรื่อง “น้ำๆ” มานาน ตั้งแต่นักเรียนทุนที่ไปศึกษาเรื่องการจัดการน้ำมาโดยเฉพาะ เคยร่วมบริหารจัดการน้ำในภาคตะวันออกกับบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรืออีสวอเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาน้ำขาดแคลนในภาคตะวันออก นับเป็นโมเดลการจัดการน้ำที่เป็นตัวอย่างและประสบผลสำเร็จมาแล้ว เพราะที่ภาคตะวันออกมีนิคมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมหนัก และเมืองอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จากที่เคยขาดแคลนน้ำรุนแรง วันนี้แม้จะมีบางพื้นที่ที่อาจจะขาดแคลนน้ำบ้าง แต่โดยรวมถือว่าเป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืน

    IMG_7482-620x353.jpg

    ระบบส่งน้ำ 3 Water – “Grid-Network-Complex”
    จากประสบการณ์ดังกล่าว นายอรรถเศรษฐ์เริ่มต้นเฉลยทางออกให้ฟังก่อนว่าสำหรับการบริหารจัดการน้ำ นอกจากการมีอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนที่ใช้เก็บกักน้ำและบริหารน้ำต้นทุนในแต่ละปีแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญในภาพรวมระดับประเทศคือ “ระบบท่อส่งน้ำ” ที่เป็นเครือข่ายให้สามารถผันน้ำไปมาระหว่างอ่างเก็บน้ำต่างๆ ในประเทศหรือจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการน้ำยืดหยุ่นและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่แปรปรวนในปัจจุบันได้ แต่ประเทศไทยไม่ได้ทำเรื่องนี้

    การพูดคุยในครั้งนี้นายอรรถเศรษฐ์กล่าวว่า ต้องการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและเสนอไอเดียมากกว่า เพราะประเทศไทยเคยมีการจัดการน้ำที่ดี มีตัวอย่างมาแล้ว ถ้าขยายต่อทำให้ “ระบบส่งน้ำแบบปิด” กระจายเชื่อมกันได้ทั่วประเทศ น่าจะแก้ปัญหาน้ำได้ดีขึ้น แต่นั่นหมายถึงจะต้องมีการทำเรื่องอื่นๆ ประกอบด้วย จึงจะเป็นการบริหารจัดการน้ำที่สมบูรณ์

    “สิ่งที่อยากจะขายคือไอเดียมากกว่า ประเทศไทยเผชิญน้ำแล้งกับน้ำท่วมมาตลอด และรัฐบาลต้องอุดหนุนทุกปี ปีละเป็นหมื่นล้านบาท อันนี้เป็นที่มาว่าจะทำอย่างไรให้มีการบริหารจัดการน้ำที่เต็มรูปแบบ คำว่าเต็มรูปแบบคือรู้ว่าการใช้น้ำมีกี่ประเภท ต้องแยกกันอย่างชัดเจน น้ำอุตสาหกรรม น้ำอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อเกตรกรรม น้ำรักษาระบบนิเวศ (เป็นหัวใจสำคัญ) และภาคเกษตรกรรมที่ใช้มากที่สุด”

    นายอรรถเศรษฐ์เล่าย้อนกลับที่ข้อมูลพื้นฐานของ “น้ำ” ในประเทศไทยว่า “น้ำต้นทุน” ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารจัดการในทุกปีนั้น ไทยมีปริมาณน้ำอย่างจำกัด ไม่ว่าจะเป็นน้ำจากเขื่อน จากอ่างเก็บน้ำ โดยแต่ละปีจะมีอยู่ประมาณ 60,000-70,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีแนวโน้มลดลงมากกว่าที่จะเพิ่มขึ้น จึงเป็นโจทย์สำคัญว่าจะทำอย่างไรจึงจะลดการสูญเสียได้

    ปัญหาการสูญเสียอันดับแรกมาจากระบบชลประทานของไทยเป็นระบบเปิด คือเป็นการขุดคลองส่งน้ำ ทำให้เกิดการระเหยของน้ำ ทำให้เราสูญเสียทรัพยากรน้ำค่อนข้างมาก

    IMG_7480-620x352.jpg

    IMG_7471-620x353.jpg

    ถ้าหากเริ่มต้นทำเป็นระบบส่งน้ำแบบปิด เรียกว่า“water grid” คือการส่งน้ำทางท่อ การสูญเสียน้อยมาก เปรียบเทียบกันคือส่งน้ำทางท่อสูญเสียน้ำไป 3% แต่ถ้าเราส่งน้ำในระบบเปิดแบบปัจจุบันอาจจะสูญเสียถึง 20-30% เนื่องจากไทยเป็นพื้นที่เขตร้อนอยู่แล้ว น้ำก็ระเหยไปหมด ถ้าส่งน้ำทางท่อ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายของท่อเข้าไว้ด้วยกันเป็น “water network” หรือระบบเครือข่ายที่สามารถสูบน้ำไป-กลับระหว่างอ่างเก็บน้ำได้

    “พอมีระบบแบบนี้แล้ว ถามว่าจะบริหารจัดการอย่างไร กรณีน้ำแล้ง ด้วยน้ำส่วนใหญ่ของทั้งประเทศมีปริมาณมากที่สุดคือภาคเหนือ รองลงมาก็อีสาน ทั้งสองภาคนี้เป็นหัวใจหลักของไทยเลย ในปี 2548 เป็นปีที่แล้งอย่างรุนแรง แทบไม่มีน้ำใช้เลย เพราะปริมาณน้ำในประเทศสูญเสียไปเยอะมาก ก็เกิดความคิดว่าจะนำน้ำจากเพื่อนบ้านเอามาเติมในเขื่อนผ่านโครงข่าย water network”

    IMG_7477-620x351.jpg

    ตัวย่างเช่น น้ำจากแม่น้ำสาละวิน ประเทศเมียนมา ทำอย่างไรให้น้ำไปเติมในเขื่อนภูมิพลได้ นั่นหมายความว่าต้องทำโครงข่ายดึงน้ำจากสาละวินเข้ามาที่แม่น้ำยวม ตอนนั้นศึกษาสองเส้นทางดึงเข้ามาเติมที่แม่น้ำยวม หรือดึงเข้าที่แม่น้ำเมย แล้วทำอาคารยกน้ำเติมเข้าไปในเขื่อนภูมิพล ซึ่งปัจจุบันโครงการนี้ทำแล้ว กำลังเจาะทำอุโมงค์ผันน้ำเข้าไป เพื่อให้มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คาดว่าจะใช้เวลา 3-4 ปีกว่าจะเสร็จ อันนี้เป็นโครงการนำร่อง คือรัฐบาลเดินมาถูกแล้วว่าควรนำน้ำมาเติม ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าน้ำในเขื่อนภูมิพลไม่สามารถใช้ได้ทั้งหมด เพราะเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าหลักของประเทศ มีน้ำที่ใช้ไม่ได้หรือ dead stock อยู่ 2,500 ล้านลูกบากศ์เมตร ต้องมีน้ำจำนวนนี้อยู่ตลอดเวลา แล้วถ้าต้องการจะใช้ให้ได้ ก็ต้องดึงน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทดแทน

    IMG_7476-620x350.jpg

    IMG_7475-620x349.jpg

    อีกเส้นทางจากฝั่งลาวเป็นการผันน้ำจากแม่น้ำงึมเข้ามาในภาคอีสาน อย่างปีนี้ น้ำท่วมที่ จ.อุบลราชธานี แต่จริงๆ ก็มีน้ำแล้งก่อนหน้านั้น กล่าวคือ ตามสถิติภาคอีสานมีน้ำแล้งมากกว่าน้ำท่วมอยู่แล้ว จากการสำรวจหลายรอบ ได้ข้อมูลว่าแม่น้ำงึม ปกติจะมีน้ำทิ้งต่อวัน 11 ล้านลูกบากศ์เมตร เรียกว่าทิ้งลงแม่น้ำโขงไปเฉยๆ เลย ไม่ได้ใช้งานอะไรเลย ตรงนี้ต้องไปเจรจากับทางลาวว่าสามารถนำข้ามมาใช้งานที่ฝั่งไทยได้หรือไม่ เพื่อนำมาเติมผ่านห้วยหลวง อีกเส้นก็ผ่านแม่น้ำชี-แม่น้ำมูล แล้วไปเติมที่เขื่อนอุบลรัตน์ในกรณีที่เผชิญน้ำแล้ง ซึ่งตอนนี้โครงการห้วยหลวง-น้ำงึม กำลังดำเนินการอยู่เหมือนกันโดยกรมชลประทาน แต่ยังไม่สมบูรณ์

    “จริงๆ แล้วจากการคำนวณ เราต้องการน้ำ 112 ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที แต่ตอนนี้สูบได้เพียง 12 ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที เพราะโครงการยังไม่เสร็จ คงต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ดังนั้นการนำน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านมาเติมในเขื่อนของไทยเพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้ง ตอนนี้ก็มี 2 โครงการนี้”

    IMG_7474-620x353.jpg

    IMG_7473-620x354.jpg

    IMG_7472-620x353.jpg

    ระบบ “Water Complex”
    นายอรรถเศรษฐ์กล่าวต่อไปว่า ในกรณีของ “น้ำท่วม” ประเทศไทยสามารถใช้ระบบท่อดังกล่าวสูบกลับที่แม่น้ำโขง กลับไปที่แม่น้ำสาละวินเหมือนเดิม จากระบบท่อส่งน้ำจะต้องเป็นทางที่ผันน้ำออกไปได้

    “นี่คือการลงทุนในระบบส่งน้ำแบบปิดและต้องเชื่อมโยงกัน ในอดีตไม่ได้มองถึงระบบเหล่านี้ เราปล่อยให้น้ำไหลแบบธรรมชาติ ไหลตามแรงโน้มถ่วงของมัน ไม่เคยเอาระบบหรือเทคโนโลยีเข้าไปจัดการ”

    IMG_7478-620x355.jpg

    พร้อมกล่าวต่อว่า “จากสายพระเนตรยาวไกลของ ร.9 คือการสร้างแก้มลิง(อ่าง-เขื่อนกักน้ำ)ขนาดกลางค่อนข้างเยอะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหามากที่สุดของประเทศ แต่คำถามคือแล้วจะทำอย่างไรต่อไป เพราะไม่ใช่ว่าทุกอ่างเก็บน้ำจะมีปริมาณน้ำหรือความจุเท่ากัน บางอ่างอาจจะมีน้ำเยอะ บางอ่างอาจจะไม่มีน้ำเลย สิ่งหนึ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นเลยคือเราไม่สามารถจะโยกน้ำไปมาระหว่างกันได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า water grid และ water network คือ ถ้าสมมติว่าเรามีอ่างเก็บน้ำกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ต้องทำอย่างไรให้มันเชื่อมต่อกัน เอาน้ำในอ่างที่มีมากไปเติมอ่างที่มีน้ำน้อย เพราะอ่างที่มีน้ำมากก็ดันออกไปยังอ่างที่มีน้ำน้อย ต้องบริหารจัดการน้ำแบบนี้ ในปัจจุบันน้ำเดินทางเดียว โดยไหลจากเหนือลงใต้หมด แต่เราไม่สามารถเอาน้ำจากใต้ขึ้นเหนือได้ เพราะมันเป็นระบบเปิด แต่พอมันเป็นระบบปิด เราสามารถดึงตามเส้นท่อไปเติมได้หรือระบายออกได้”

    IMG_7469-620x353.jpg

    IMG_7470water-grid-620x354.jpg

    นายอรรถเศรษฐ์อธิบายต่อว่า ระบบ “water complex” คือระบบการนำน้ำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น น้ำในโรงงานอุตสาหกรรม หากพัฒนาเป็นน้ำ qualified water สามารถเอากลับมาใช้หล่อเย็นหรือใช้ในอุตสาหกรรมได้หลายรอบมากขึ้น จากเดิมที่เป็นน้ำดิบ เขาใช้ทีเดียวก็ต้องทิ้งออกไป แต่ถ้าเอามาทำใหม่แทนที่จะใช้ครั้งเดียวก็วนกลับมาใช้ได้หลายครั้ง แบบนี้มันช่วยลดการใช้น้ำต้นทุนลง หรือการกรองน้ำเค็มเป็นน้ำจืดด้วยระบบ RO(Reverse Osmosis)ตอนนี้ในหลายที่ เช่น ที่เกาะสมุย ต้นทุนถูกลงอย่างมาก ก็ควรจะเริ่มคิดว่าจะบริหารจัดการน้ำกันอย่างไร

    “กรณีน้ำที่กลับมาใช้ใหม่ในโรงงาน รัฐต้องลงทุน เราต้องมองว่าโครงสร้างพื้นฐานแบบนี้มันเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก อย่างกรณีโครงการลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี รัฐต้องลงทุนทำโครงสร้างพื้นฐานขาย เช่น ถ้าคุณจะซื้อน้ำดิบใช้ได้ครั้งเดียวรัฐขาย 10 บาท แต่ถ้าซื้อน้ำดีอาจจะขาย 30 บาทแต่ใช้ได้ 5-6 ครั้ง นี่คือรัฐต้องลงทุนก่อน เพื่อจูงใจให้คนไปลงทุนในอีอีซี บางครั้งแล้วเอกชนลงทุนเองก็ไม่คุ้มต้องให้รัฐลงทุนพื้นฐานให้ เอกชนก็ต้องมองความคุ้มทุนอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องนี้รัฐต้องศึกษาแล้วว่าควรวางระบบแบบนี้ทั้งประเทศ เพื่อให้มีการนำน้ำกลับมาใช้ได้หลายรอบ”

    IMG_7479-620x349.jpg

    “ระบบน้ำสองท่อ” ทำเพื่ออะไร
    นายอรรถเศรษฐ์กล่าวต่อไปว่าอีกระบบที่น่าสนใจคือ “ระบบน้ำสองท่อ” เพื่อให้นำน้ำกลับมาใช้ให้มากที่สุด ซึ่งปกติแล้วจากสถิติคิดง่ายๆ คนเราจะใช้น้ำประมาณ 200 ลิตรต่อวัน และเป็นการใช้น้ำชะล้างแล้วทิ้งไปในระดับที่สูงมาก ขณะที่น้ำที่ใช้บริโภคหรือดื่มไม่มากนัก นั่นหมายความว่าน้ำในการใช้น้ำชะล้างพวกนี้เราเอากลับมาใช้ใหม่ได้ เพียงแค่เอาไปบำบัดแล้วเอาไปรดน้ำต้นไม้ ล้างรถ ฯลฯ โดยการแยกท่อของน้ำที่ผ่านการบำบัดและน้ำประปาออกจากกัน

    “จริงๆ โครงการนี้มามานาน หลายอาคารใช้อยู่ วิธีการคือเอาน้ำเสียที่ชำระล้างไปบำบัด แล้วกลับมาใช้ใหม่อีกเส้นท่อหนึ่ง ท่อหนึ่งเป็นท่อระปา พอใช้แล้วเอาไปบำบัดแล้วส่งกลับมาอีกท่อหนึ่งที่ไม่ได้ใช้น้ำเพื่อการบริโภค เป็นลดการใช้น้ำต้นทุนได้ สมมติบริโภค 50 ลิตร ทิ้ง 150 ลิตร แบบนี้อาจจะไม่ใช่ต้องนำกลับมาใช้ได้ทั้งหมดก็ได้ เอาแค่ 100 ลิตร ก็เยอะแล้ว โครงการแบบนี้ทำได้ง่าย ผมว่าต่อไปกำหนดเป็นเงื่อนไขในการขอ EIA สร้างอาคาร คอนโดมีเนียม บ้านให้มีเงื่อนไขนี้ ระบุเอาไว้เลยโครงสร้างพื้นฐานนี้ต้องทำ รัฐต้องมีคนมาใส่ใจเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่มาแก้ปลายเหตุกันไป รัฐอาจจะสนับสนุนเรื่องเหล่านี้ เช่น การทำแก้มลิงเล็กๆในบ้าน ส่งเสริมให้คนติดตั้งแทงก์น้ำในบ้าน สมมติหนึ่งบ้านมีแทงก์น้ำ 1,000 ลิตรหรือ 1 ลูกบาศก์เมตร กรุงเทพมหานครมี 6 ล้านหลังคาเรือน เท่ากับมีแก้มลิง 6 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคนที่ทำระบบสองท่อ รัฐให้มาตรการจูงใจ เช่น ลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นให้เขาทำ เป็นต้น”

    พร้อมกล่าวต่อว่า “คนไทยพอได้ยินเรื่องน้ำรีไซเคิลก็ไม่อยากใช้ มักจะกลัว จริงๆ มันไม่ได้มีอะไรเลย สิงคโปร์ก็ทำเหมือนกัน แต่ไม่เรียกว่ารีไซเคิล เรียกว่า “new water” หรือเป็นน้ำใหม่ อารมณ์คนมันก็ไม่เหมือนกันแล้ว เขาใช้น้ำที่ใช้แล้วมาบำบัดเหมือนกัน แต่พอเรียกชื่อต่างกันบริบทก็ไม่เหมือนกันแล้ว แต่ถ้าวันหนึ่งเราบอกว่าเลิกใช้คำว่ารีไซเคิลแล้ว คนอาจจะเปลี่ยนก็ได้ ของพวกนี้เทคโนโลยีมันทดสอบกันมาในห้องทดลองหมดแล้วกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้”

    แนะดู “อีสเทิร์นซีบอร์ด” โมเดล
    นายอรรถเศรษฐ์กล่าวย้อนไปถึงที่มาของของแนวคิดดังกล่าวว่าเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2535 ตั้งแต่ก่อตั้งอีสวอเตอร์ขึ้นมาตามมติ ครม. (คณะรัฐมนตรี) เพื่อจัดการน้ำภาคตะวันออกให้นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่นั่น ไม่ให้เกิดการแย่งน้ำและแบ่งกันให้ชัดเจนว่าส่วนไหนคือน้ำอุตสหากรรม ส่วนไหนน้ำเพื่อการเกษตร จนส่งผลให้ภาคตะวันออกเป็นภาคเดียวที่ไม่ค่อยมีปัญหาท่วมแล้งเท่าไหร่เมื่อเทียบกับที่อื่นๆ เพราะมีการบริหารจัดการแบบระบบเส้นท่อ

    IMG_7485-620x349.jpg

    IMG_7484-620x351.jpg

    IMG_7483-620x353.jpg

    “อย่างที่เล่าว่าน้ำต้นทุนของไทยมีจำกัด ในภาคตะวันออกมันก็จำกัดเหมือนกัน อ่างเก็บน้ำที่ใช้อยู่ เช่น อ่างเก็บน้ำประแส อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำดอกกาย อ่างเก็บน้ำบางพลัด มีการทำเส้นท่อเชื่อมต่อหากัน ในพื้นที่ก็เกิดประปาชุมชน เพราะน้ำในเส้นท่อเป็นน้ำคุณภาพที่ดีแล้ว จากเส้นท่อน้ำจากประแสมาเติมหนองปลาไหล ต่อมาได้ขยายวงเชื่อมเส้นท่อเข้าหากัน สามารถโยกน้ำไปมาได้(ดูภาพประกอบ) แต่โครงข่ายที่มีเป็นโครงข่ายทางเดียว สิ่งที่คาดหวังคือว่าจากฝายท่าลาด(ฉะเชิงเทรา) เชื่อมต่อเขื่อนสียัด เป็นโครงข่าย แล้ววนกลับมาเข้า”ประแส” ได้ก็จะวงเดียวกัน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือแถบปราจีนบุรีได้รับผลประโยชน์หมด นี่เป็นโครงข่ายเล็กๆ แต่ถ้าเอาตัวอย่างนี้ไปขยายทำในทุกภาค แล้วค่อยมาเชื่อมกันทั้งประเทศ แบบนี้จะเกิดความยั่งยืนในอนาคต”

    นายอรรถเศรษฐ์เล่าว่า “ตอนนั้นเริ่มต้นทำโครงการขึ้นมาคือ เริ่มจากสร้าง water grid เดินท่อส่งน้ำในภาคตะวันออกทั้งหมดประมาณ 400 กิโลเมตรเหมือนท่อส่งก๊าซ ท่อส่งน้ำมันของ ปตท. ต่อมาพอเจอปัญหาวิกฤติแล้งในปี 2548 เป็นวิกฤติเดียวที่ภาคตะวันออกเจอ ตอนนั้นมาบตาพุดเกือบต้องปิดหมด เพราะมันไม่มีแหล่งน้ำสำรองเลย แล้วเราไม่สามารถโยกน้ำจากที่อื่นมาใช้ได้ ก็ทำโครงการที่ 2 ให้เชื่อมต่อเป็นวงกลม เพื่อดึงน้ำจากที่มีน้ำมาก เอามาช่วย แล้วสุดท้ายก็เกิดพัฒนาเป็น water complex ขึ้นมา”

    “มันเกี่ยวพันกันไปหมดเลย เพราะโจทย์คือทำอย่างไรให้น้ำต้นทุนที่มีจำกัดสามารถใช้งานได้เต็มที่ หรือเอาน้ำจากแหล่งอื่นเข้ามา ไม่ว่าจะทำน้ำทะเลเป็นน้ำจืด หรือเอาน้ำไปบำบัดแล้วเอากลับมาใช้ใหม่ได้หลายรอบ ต้องแยกก่อนว่าจะทำอย่างไรให้ใช้ได้หลายรอบ”

    IMG_7487-620x351.jpg

    พร้อมขายไอเดียต่อว่า “ความคาดหวังผมอันแรกคือทำให้เกิดโครงข่าย water grid มาก่อนของทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่ที่ระยอง ยกตัวอย่างง่ายๆ เขื่อนอุบลรัตน์ต่อกับเขื่อนป่าสักไปถึงเขื่อนขุนด่านปราการชล เชื่อมอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนพวกนี้เข้าหากันก่อน พอเชื่อมต่อกันได้มันจะโยกย้ายน้ำได้ อันนี้อยากให้รัฐเข้ามาดูตรงนี้ ความคาดหวังที่สองคือทำให้เป็น water network ผมว่าตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันเราไม่ได้เอาโมเดลของอีสวอเตอร์มาเป็นต้นแบบเลย ไม่ได้ดูเลยว่าปัจจัยที่ประสบความสำเร็จของมันคืออะไร แต่ถ้าเรามองย้อนกลับไป เราจะเห็นว่ารัฐบาลตอนนั้นได้วางแผนเอาไว้ถูกต้องแล้ว แต่เราไม่ได้ต่อยอดไปที่อื่นเลย ดังนั้นถ้าสามารถต่อยอดและเชื่อมกันได้ ก็ทำให้การบริหารจัดการน้ำทั้งประเทศยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งหลายประเทศใช้ระบบนี้”

    นายอรรถเศรษฐ์ตั้งคำถามเสียงดังๆว่า “ตอนนี้พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี รัฐตั้งใจให้เป็นเมืองใหม่ แล้วจะเอาน้ำที่ไหนมาใช้ ในเมื่อน้ำต้นทุนก็มีเท่าเดิม ทุกวันนี้อีสท์วอเตอร์ขายน้ำให้อุตสาหกรรมที่มีอยู่ก็ปริ่มๆ ไม่ได้เหลือขายให้อีอีซี แม้จะบอกว่าเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ไม่ต้องใช้น้ำเยอะ อุตสาหกรรมต้องใช้น้ำหมด ไม่มีอุตสาหกรรมไหนที่ไม่ต้องหล่อเย็น ต้องใช้น้ำหมด ต่อให้เป็นไฮเทค สิ่งที่ตามมาก็คือต้องมีโรงไฟฟ้า แล้วโรงไฟฟ้าจะอยู่ได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซ หรือจะเป็นการผลิตไฟฟ้าอื่นๆ ต้องใช้น้ำอยู่แล้ว แล้วอีอีซีขนาดโครงการใหญ่กว่าอีก จะเอาน้ำที่ไหน สนามบินขยายอีกจะเอาน้ำที่ไหนใช้ ต่อไปเมืองพัทยาโตขึ้น ตอนนี้น้ำก็ไม่พอแล้ว จึงเป็นคำถามว่าต่อไปจะเอาน้ำที่ไหน คือเมืองโตขึ้น แต่น้ำต้นทุนมีเท่าเดิม”

    ดังนั้นจึงกลับมาที่เรื่องการลงทุนทำโครงสร้างพื้นฐานของระบบส่งน้ำ “คือผมต้องพูดแบบนี้ว่า ถ้าหากต้องอุดหนุนช่วยเหลือน้ำท่วมน้ำแล้ง ก็ต้องช่วยตลอด วันนี้เราต้องเริ่มคิดลงทุนครั้งเดียว แล้วค่อยๆลดการอุดหนุนลงเรื่อยๆ จะได้โครงการที่ยั่งยืนกว่า และเป็นวิธีการที่ยั่งยืนกว่า เพราะเดี๋ยวท่วมเดี๋ยวแล้ง แต่ในด้านการบริหารจัดการน้ำ ไม่ได้จัดการอะไรเลย ถ้ามีการจัดการ คงไม่ท่วม คงไม่แล้ง เพราะภัยพิบัติเหล่านี้ไม่ได้ลดน้อยลงเลย มีแต่จะมากขึ้นด้วยซ้ำ”

    แล้วตัวอย่างที่ทำสำเร็จบ้างแล้วมันก็มีให้เห็นอยู่แล้ว ตรงนี้มันน่าจะขยายผล อย่างไปดูแค่งบลงทุนที่อาจจะสูง แต่ตัวเลขที่อุดหนุนลงไปเท่าไหร่ น่าคิดต่อไปว่าเราต้องทำอะไร ระบบนี้มันก็เหมือนท่อส่งน้ำมัน ปตท.ยังส่งน้ำมันไปเชียงใหม่ได้แล้วทำไมจะส่งน้ำไปไม่ได้ ความสลับซับซ้อนมันก็ง่ายกว่าด้วย มันไม่ได้ไวไฟไม่ได้อันตรายอะไร มันคือน้ำ แล้วการแย่งน้ำก็จะไม่เกิดขึ้น การทะเลาะอะไรก็ไม่เกิดขึ้น มันส่งตรงไปตามแนวท่อ แรงดันน้ำก็เท่ากันทุกพื้นที่อีก มีน้ำประปาใช้อีก

    พร้อมย้ำว่า “ที่กล่าวมานี่เป็นแค่แนวไอเดียความคิดในการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย”

    IMG_7488-620x349.jpg

    สร้างเขื่อนกั้นน้ำเค็มรุก – เพิ่มน้ำต้นทุนที่ใช้ได้
    นายอรรถเศรษฐ์กล่าวว่า อีกประเด็นที่สำคัญและอาจจะไม่ถูกพูดถึงมากนักคือความจำเป็นต้องมีปริมาณน้ำส่วนหนึ่งที่ต้องรักษาระบบนิเวศอยู่ แต่ปัจจุบันแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำทะเลมันรุกเข้าไปสูงสุดถึง 57 กิโลเมตร เลยจังหวัดอยุธยาไปแล้ว ซึ่งอนาคตมองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตรายกับผู้บริโภค ต้องแยกแยะก่อนว่าถ้าน้ำเค็มรุกขึ้นไปมากๆ น้ำใช้ทำการเกษตรไม่ได้ อุปโภคบริโภคก็ไม่ได้ แม้แต่แม่น้ำบางปะกง ที่ปัจจุบันน้ำเค็มจนสูบน้ำมาใช้ได้เพียงปีละ 2-3 เดือนเท่านั้น

    ทางออกหนึ่งที่เป็นไปได้คือสร้างเขื่อนกั้นน้ำเค็ม ในเวลาปกติที่น้ำทะเลไม่หนุนก็ไม่เปิด พอน้ำหนุนสูงก็ยกขึ้นมาให้น้ำทะเลเข้ามา ก็จะใช้น้ำในแม่น้ำสายหลักได้มากขึ้น ญี่ปุ่นเคยมาทำให้เราแต่ก็ไม่ได้เปิดใช้เพราะถูกต่อต้าน จริงๆ มีแนวคิดว่าเราควรทำเขื่อนคร่อมเจ้าพระยา บางปะกง เกาหลีใต้เคยทำคร่อม 40-50 กิโลเมตร ตอนนั้นเขาก็ประท้วงกัน ตอนนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นผลงานไปเลย

    IMG_7489-620x355.jpg

    ปรับหน่วยงานใหม่ต้องมีอำนาจ
    นายอรรถเศรษฐ์กล่าวปิดท้ายไว้ว่า การบริหารการจัดการน้ำในระดับประเทศต้องมีหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาดูแล แล้วแบ่งการดูแลบริหารจัดการให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม รักษาระบบนิเวศ และอุปโภคบริโภค ก็ต้องถามว่าหน่วยงานนี้มีอำนาจอย่างแท้จริงไหม หรือมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการได้หรือไม่

    อย่าง กรมกรมชลประทาน ทำเรื่องน้ำเพื่อการเกษตร แต่ไม่ใช่หน่วยงานจัดการน้ำทั้งประเทศ แต่การบริหารจัดการน้ำต้องมีองค์รวมที่ดูแลต่างหาก ต้องเห็นภาพรวมทั้งประเทศ เมื่อมีหน่วยงานบริหารจัดการน้ำของประเทศแล้ว เขาสามารถสั่งการกรมชลประทานได้ มีงบประมาณในการจัดการ แต่ปัจจุบันกรมชลประทานทำหน้าที่นี้เกือบทั้งหมด ทั้งที่ควรดูแลแค่น้ำเพื่อเกษตรกรรม ขณะที่น้ำอุตสาหกรรมก็ไม่มีหน่วยจัดการ มีแค่ภาคตะวันออกที่บริษัทอีสท์วอเตอร์ที่ทำอยู่ แต่จะใช้น้ำก็ต้องไปขอกรมชลฯ เพราะเป็นเจ้าของอ่างเก็บน้ำ

    ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำของประเทศต้องมาดูภาพรวมทั้งหมด เพราะความต้องการน้ำ ไม่ได้มีแค่ภาคเกษตรกรรม และภาคเกษตรไม่ใช่ผู้ใช้น้ำทั้งหมดของประเทศ(เกษตรกรรม 66%) ดังนั้นการให้กรมชลประทานดูเรื่องน้ำ ต้องไม่ใช่ดูทั้ง 100% เพราะยังมีความต้องการน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศแล้ว ภาคอุตสาหกรรม การอุปโภคบริโภค

    “ส่วนการตั้งหน่วยงานใหม่ถามว่าดีไหม ดี ต้องถามว่ามีอำนาจสั่งการได้หรือไม่ หรือตั้งมาเพื่อรายงานนายกรัฐมนตรีอย่างเดียว แต่ไม่มีอำนาจหรือเปล่า”

    นี่เป็นทั้งคำตอบและคำถามทิ้งท้าย ถึงการบริหารจัดการน้ำประเทศไทยแบบจัดเต็มรูปแบบ

    https://thaipublica.org/2019/11/water-grid-thailand/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2019
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    แผ่นดินไหว ขนาด 6.3

    ภูมิภาค นอกชายฝั่งเชียปัส, เม็กซิโก

    วันเวลา

    2019-11-20 04: 27: 04.9 UTC

    ที่ตั้ง 13.95 N; 93.16 W

    ความลึก 10 กม

    655C33E7-620A-40DC-B469-FC3B79CA4C5A-1100-0000009CDCC1CD0F.png 1ED72C80-52F6-4CE4-A0E6-9D4817497298-1100-0000009CE4652455.png IMG_5052.PNG

    Magnitude 6.3

    Region

    OFF COAST OF CHIAPAS, MEXICO

    Date time

    2019-11-20 04:27:04.9 UTC

    Location

    13.95 N ; 93.16 W

    Depth 10 km

    Macroseismic

    Intensity

    IV Effects: Largely Observed

    Distances


    296 km W of Guatemala City, Guatemala / pop: 995,000 / local time: 22:27:04.9 2019-11-19


    172 km W of Retalhuleu, Guatemala / pop: 36,700 / local time: 22:27:04.9 2019-11-19


    140 km W of Champerico, Guatemala / pop: 7,800 / local time: 22:27:04.9 2019-11-19


    117 km SW of Puerto Madero, Mexico / pop: 9,700 / local time: 22:27:04.9 2019-11-19


    https://m.emsc.eu/earthquake/earthquake.php?evid=806511
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    • การประท้วงในอิหร่าน วันนี้เข้าสู่วันที่ 4 สรุปข่าวจากทวิตเตอร์ (ข้อมูลก่อนมีการตัดอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ)

    ... เสียชีวิตกว่า 200 คน
    ... เจ็บกว่า 3 พันคน
    ... ถูกจับกุม 1000+
    ... มีเมืองเข้าร่วมการประท้วง 133 เมือง
    ... มีการเผาธนาคาร ปั้มน้ำมัน และ คัมภีร์

    • สหรัฐมีการแซงชั่นอิหร่านต่อเนื่องยาวนานโดยใช้ประเด็นนิวเคลียร์เป็นเหตุ ทำให้เศรษฐกิจอิหร่านสะดุด มีปัญหาทางการเงินประเทศคู่ค้าเหลือน้อย การประท้วงปะทุแรงหลังรัฐบาลประกาศขึ้นราคาพลังงานเมื่อสัปดาห์ก่อนถึง 50% (บางทวิตระบุว่าขึ้นถึง 3 เท่าตัว) ราคาสินค้าทุกชนิดพุ่งขึ้นภายใน 24 ชม.หลังประกาศขึ้นราคาพลังงาน รัฐบาลระบุว่าการขึ้นราคาพลังงานเพื่อชดเชยรายได้จากการขายน้ำมันที่หายไป

    ... ปธน.อิหร่านคนปัจจุบัน โรฮานี เป็นคนเคร่งศาสนา ไม่ห้าวเป้งเท่ากับคนก่อน (จำชื่อไม่ได้ คนนี้สั่งปิดช่องแคบเฮอร์มุสเป็นว่าเล่น) พร้อมเจรจา มีความนิ่มนวลกว่า การเจรจานิวเคลียร์ในยุคโอบาม่าตกลงกันได้ดี จนมีการยกเลิกแซงชั่นไป อิหร่านกลับมาค้าขายกับชาวโลกได้พักหนึ่ง จนลุงตั้มมา ...

    *อิหร่านเคยมีประท้วงรุนแรงโค่นล้มราชวงค์ปาลาวี เปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้วเมื่อปี 1979 โดยข้อกล่าวหาประมาณสหรัฐหนุนหลัง แทรกแซงการปกครอง-ดูแลประเทศ มีความเหลื่อมล้ำ (ซึ่งครั้งนี้ก็หยิบขึ้นมาอีก)

    **ตอนนี้ไม่ข่าวให้ตามแล้วเพราะอิหร่านติดต่อกับโลกภายนอกไม่ได้

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    แผ่นดินไหว ขนาด 6.3

    ภูมิภาค ทะเลแห่ง OKHOTSK เวลาวันที่ 2019-11-20 08: 26: 06.9 UTC ที่ตั้ง

    53.15 N; 153.68 E

    ความลึก 486 กม

    Macroseismic

    ความรุนแรง

    เอฟเฟกต์: รู้สึก

    C82A634B-7F22-4CD2-A6AC-B0A17E165BB0-1100-0000009FDE679C1F.png A4CBBBDC-6F12-4EA7-8579-BE1A959D3A56-1100-0000009FE5E62837.png IMG_5055.PNG

    Magnitude 6.3

    Region SEA OF OKHOTSK

    Date time 2019-11-20 08:26:06.9 UTC

    Location

    53.15 N ; 153.68 E

    Depth

    486 km

    Macroseismic

    Intensity

    F Effects: Felt


    Distances


    1445 km NE of Sapporo-shi, Japan / pop: 1,884,000 / local time: 17:26:06.9 2019-11-20


    333 km W of Petropavlovsk-Kamchatskiy, Russian Federation / pop: 188,000 / local time: 20:26:06.9 2019-11-20


    267 km NW of Ozernovskiy, Russian Federation / pop: 2,700 / local time: 20:26:06.9 2019-11-20


    https://m.emsc.eu/earthquake/earthquake.php?evid=806544
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    แผ่นดินไหว m6 0-ทะเลของโอค็อตส์ (รัสเซีย) - วันพุธที่ 20 พ. ย. 2019 08:26:07 utc (03:26 est)-
    ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.volcanodiscovery.com/earthquakes/quake-info/2592575/info.html
    ผ่านแอปพลิเคชันภูเขาไฟและ erthquakes-https://play.google.com/store/apps/details?id=com.volcanodiscovery.volcanodiscovery

    IMG_5056.JPG

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ภูเขาไฟใกล้กับพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหว

    IMG_5057.JPG IMG_5058.JPG IMG_5059.JPG IMG_5060.JPG

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    พายุโจมตีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ # 20 พ.ย.
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    หิมะที่น่าทึ่งใน livigno, อิตาลี


     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    แผ่นดินไหว ขนาด 6.3 บนชายฝั่งของ chiapas, เม็กซิโก


     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra


    ทอร์นาโดในซานต้ามาเรีย ประเทศอาร์เจนตินา #18 พ. ย.


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    พายุลูกเห็บในอิตาลี

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ที่รุนแรง รู้สึกได้ในหลายจังหวัดของประเทศอาร์เจนตินา ในเมนโดซาและซานหลุยส์


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    บ่ายนี้ทอร์นาโด กระทบห้องประชุมที่โรงเรียนอาชีวศึกษา miri sragen java อินโดนีเซีย 20 พฤศจิกายน 2019


    เด็ก 20 คนได้รับบาดเจ็บจากการแตกหัก

    เหยื่อถูกนำตัวไปที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด


     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    ภูเขาไฟ Shishaldin (หมู่เกาะอะลูเชียน, อะแลสกา): เพิ่มการเกิดแผ่นดินไหวและกิจกรรม 20 พฤศจิกายน 2019


    ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟอะแลสกา บันทึกระดับการเกิดแผ่นดินไหวที่ ภูเขาไฟ Shishaldin และพบว่าเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับที่ใกล้เคียงกับที่สังเกตในช่วงระยะเวลาการปะทุอื่น ๆ ในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา


    #Alaska

    #ภูเขาไฟ

    #Shishaldin


     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    กิจกรรมแผ่นดินไหวครั้งล่าสุด
    ขนาด 6.3 รัสเซีย / ขนาด 6.3 เม็กซิโก ใกล้การจัดตำแหน่งด้านหลัง
    IMG_5061.JPG
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Bank of Thailand Scholarship Students

    (Nov 19) ผู้ว่า ธปท.เปิดมุมมองเชิงปัญหาโครงสร้าง เหตุผลที่คนไทยเห็น "เศรษฐกิจแย่ลง" : การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับแวดวงการเงินไทย
    IMG_5062.JPG
    เพราะนอกเหนือจากการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 2 ของปี ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร อายุ 1 วันของไทยลงไปอยู่ที่ 1.25% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของดอกเบี้ยนโยบายของไทยแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังออกมาตรการผ่อนคลายการถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศและการนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศของคนไทย ซึ่งเป็นมาตรการลดแรงกดดันต่อ "ค่าเงินบาท" รวม 4 มาตรการ

    อย่างไรก็ตาม หลังจากการออกมาตรการผ่อนคลายการไหลออกของเงินทุนยังคงมีความเห็นในเชิงที่ว่า "อาจจะไม่สามารถช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้" เนื่องจากปัญหาที่แท้จริงคือการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดขณะที่ความเห็นต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในรอบปี ก่อให้เกิดความกังวลว่าอาจเกิดปัญหาร้ายแรงใน "การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย" ในอนาคต

    มาฟังคำตอบเหล่านี้ จาก ดร.วิรไท สันติประภพผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมทั้งฟัง "แนวคิดเชิงปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจ" ที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ในประเทศไทย เพื่อให้เราเข้าใจถึง "รากเหง้า" ของปัญหาที่แท้จริงลึกๆของ "เศรษฐกิจไทย" ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ "คนไทย" ส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่า "เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะซบเซา"

    เหตุผลลดดอกเบี้ย : เศรษฐกิจจริงทรุด

    "เหตุผลการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ มาจาก 2 ใน 3 ปัจจัยหลักที่ กนง.พิจารณานโยบายการเงินเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง คือ ภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวน้อยกว่าที่คาด รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดต่ำลง ส่งผลให้มีโอกาสต่ำกว่า "กรอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ขณะที่เสถียรภาพระบบการเงินน่าเป็นห่วงน้อยลง" ผู้ว่าการ ธปท.เล่าให้ฟังถึงการลดดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างไม่เป็นเอกฉันท์

    ทั้งนี้ ในส่วนของการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ตัวเลขการขยายตัวปี 2562 และปี 2563 ซึ่งในการประมาณการครั้งล่าสุดของ ธปท. อยู่ที่ 2.8% และ 3% ตามลำดับนั้น ในการประชุม กนง.ครั้งล่าสุด การประเมินตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่ที่เปลี่ยนไปค่อนข้างเร็ว คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลดลงของภาคการส่งออกต่อ "ภาคเศรษฐกิจ" จริงที่เริ่มมีเพิ่มมากขึ้น

    โดยตัวเลขที่เห็นได้ชัด คือการส่งออกลดต่ำลงอีกจากประมาณการเดิม โดยได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ และการส่งออกที่ลดลงต่อเนื่องของไทยเริ่มส่งผลชัดเจนมากขึ้นต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ชะลอตัวลง เช่น ในภาครถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการจ้างงานและการลงทุนของประเทศ "เราเริ่มเห็นการจ้างงานที่ขยายตัวต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการกลับทิศ การจ้างงาน โดยเฉพาะการทำงานโอเวอร์ไทม์ (โอที) ปรับลดลงเร็วรวมทั้งบางบริษัทประกาศให้หยุดงานชั่วคราว เช่น 1-2 เดือน ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้อาจจะชัดเจนขึ้นอีกในระยะต่อไป"

    นอกจากนั้น เมื่ออุตสาหกรรมและการค้ามีความไม่แน่นอน ไม่แน่ใจว่าคู่ค้า หรือผู้ผลิตสินค้าต่อเนื่องจะเป็นอย่างไรอัตราภาษีนำเข้าจะเป็นเท่าไร ก็ทำให้แนวโน้มการตัดสินใจลงทุนเกี่ยวกับการผลิตเพื่อการส่งออกชะลอตัวลง และเริ่มกระทบต่อกำลังซื้อและการบริโภคของประชาชนดังนั้น เมื่อ กนง. เห็นว่าแนวโน้มระยะต่อไปไม่ดีเท่าที่คิด การลดดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้นน่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบและประคองการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต่อไปได้

    ผู้ว่าการ ธปท.บอกด้วยว่า ในช่วงที่ผ่านมาเหตุผลหนึ่งที่ กนง. ไม่เร่งที่จะลดดอกเบี้ยนโยบายเร็วนัก เพราะต้องการที่จะดูแล "ผู้ฝากเงิน" เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนี้อยู่ในระดับต่ำมากแล้วและดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำนานๆนี้เองทำให้คนส่วนหนึ่งแสวงหาผลตอบแทนที่มีความเสี่ยงสูง แต่มีการประเมินความเสี่ยงในการลงทุนที่ต่ำเกินไปมีการลงทุนแชร์ลูกโซ่มีการออกตราสารหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับความเสี่ยง รวมทั้งเป็นต้นตอการเกิด "สินเชื่อเงินทอน"

    แต่อย่างไรก็ตาม การที่ตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้มีอีกเหตุผลหนึ่งคือเราเห็น "ความสามารถในการชำระหนี้" ที่ลดลง โดยเฉพาะในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)

    โดยเริ่มเห็นเอสเอ็มอีที่กลายเป็นหนี้ขาดส่ง 1-2 เดือน หรือเป็นหนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษเพิ่มขึ้น รวมทั้งเห็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้เราเห็นว่าการลดดอกเบี้ยจำเป็นเพราะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะช่วยลดภาระหนี้ของเอสเอ็มอีลงได้บ้าง เพื่อให้ประคองตัวอยู่ต่อไปได้

    นอกจากนั้น "อัตราเงินเฟ้อทั่วไป" ซึ่งเป็นดัชนีสำคัญในการตัดสินใจนโยบายการเงินมีแนวโน้มต่ำกว่าที่คาด จากที่เคยประเมินว่า เงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะหลุดเป้าหมาย แต่จะปรับเข้ามาสู่กรอบล่างหรือ 1% ในปีหน้า แต่การประเมินครั้งล่าสุดพบว่าเงินเฟ้อทั่วไปลดต่ำลงทั้งปีนี้และปีหน้า โดยในปีหน้าเงินเฟ้อจะยัง "หลุดเป้าหมายของ กนง." ต่อไปอีกปี

    แหล่งหลบภัยเงินทุน : เกินดุล-บาทแข็ง

    ส่วนความพยายามเพิ่ม "ความสมดุล" ของเงินทุนไหลออก และเงินทุนไหลเข้าเพื่อลดแรงกดดันการแข็งค่าของ "เงินบาท" ผ่านการออก 4 มาตรการนั้น ดร.วิรไทกล่าวว่า มาตรการส่วนหนึ่งเป็นมาตรการที่เตรียมไว้ในแผนของ ธปท.อยู่แล้ว แต่ที่เปลี่ยนไปชัดเจนมากในการออกมาตรการครั้งนี้ คือแนวคิดของ ธปท.จากที่เคย "เปิดให้ลงทุนได้เฉพาะที่เราอนุญาต" เป็นการเปิดเสรี

    โดยต้นเหตุของเงินที่ไหลเข้ามาประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเงินรายได้ที่เราหามาได้จริงจากการท่องเที่ยว และการส่งออกรวมทั้งเงินลงทุนที่ต่างชาตินำมาลงทุนโดยตรงในกิจการในไทย ขณะที่มาตรการกำหนดวงเงินคงค้างในบัญชีเงินฝากที่เป็นเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (NRBA) ซึ่ง ธปท.ออกไปในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ช่วยให้เงินระยะสั้นๆ ที่เห็นไทยเป็น "แหล่งหลบภัย" ในช่วงระบบการเงินโลกมีความผันผวนสูงลดลงไปมากแล้ว

    ส่วนมาตรการใหม่ที่ออกมานั้น เชื่อว่าหากช่วยกันจะสามารถ "ลดแรงกดดัน" ต่อการแข็งค่าของเงินบาทได้หรือไม่นั้น ผู้ว่าการ ธปท. เชื่อว่ามีผลดีได้หากทุกคนทุกฝ่ายช่วยกันและให้ความร่วมมือ

    โดยเฉพาะ "การถือครองเงินตราต่างประเทศ" ของผู้ส่งออกหากช่วยกันบริหารจัดการในแนวคิดว่าเป็น "สินทรัพย์ของคนไทย" ที่อยู่ในต่างประเทศ ไม่เร่งเอาเงินเข้ามาพร้อมๆกันเพื่อเก็งกำไร หรือแห่กันทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนพร้อมๆกันในช่วงค่าเงินบาทผันผวน แต่ทำเป็นประจำ การออกมาตรการใหม่เพื่อยืดเวลาการถือครองเงินตราต่างประเทศจะช่วยให้ผู้ส่งออกบริหารเงิน และต้นทุนได้ดีมากขึ้น

    ส่วนการผ่อนคลายเกณฑ์การไปลงทุนซื้อหุ้น ตราสารหนี้ และซื้ออสังหาริมทรัพย์ ธปท.หวังให้คนที่มีความรู้ที่ดีทางการเงิน และสามารถรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ออกไปลงทุนด้วยตัวเอง เช่น อาจจะเริ่มจากการซื้อหุ้นบริษัทไทยที่จดทะเบียนในตลาดต่างประเทศก่อนแล้วค่อยๆ เรียนรู้เพิ่มขึ้น และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กองทุน ขณะที่การปลดล็อกไม่ต้องซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศโดยใช้ชื่อตนเอง จะช่วยอำนวยความสะดวกการไปลงทุนได้มากขึ้น

    ทั้งนี้ ธปท.เข้าใจดีถึงโครงสร้างเงินทุนที่บิดเบือน เนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับที่สูง ซึ่งที่ผ่านมา รมว.คลัง ได้รับทราบและได้ประสานกับรัฐบาลเพื่อเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้การนำเข้าเครื่องจักร และเทคโนโลยีสูง เช่น รถไฟฟ้าประเภทต่างๆให้เร่งการลงทุนมากขึ้น

    ขณะเดียวกัน การลงทุนทางเทคโนโลยีในส่วนของรัฐและเอกชนเพื่อรองรับการสร้างระบบ Internet of Thing (IoT) และการปรับระบบการผลิต และการใช้ชีวิตของคนไทยให้สอดคล้องกับการเข้ามาของคลื่น 5G จะเป็นอีกส่วนที่ช่วยเพิ่มวัตถุดิบนำเข้า และช่วยยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยสู่ฐานดิจิทัล ทำให้เชื่อว่าในช่วงต่อไปปริมาณเงินทุนไหลเข้าออกจะมีความสมดุลมากขึ้น และลดแรงกระแทกต่อ "ค่าเงินบาท" แรงๆในช่วงที่ระบบการเงินโลกผันผวนได้

    ต้นตอ "ความรู้สึกเศรษฐกิจไม่ดี": แก้เชิงโครงสร้าง

    ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มองว่า การส่งออกลดลงเพราะค่าเงินบาทแข็ง หรือภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวเพราะมาตรการเพิ่มวงเงินดาวน์ต่อสินเชื่อ หรือ LTV นั้น ผู้ว่าการ ธปท.อยากให้ประชาชนทำความเข้าใจถึง "ปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ" ที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่มากกว่ามองผลกระทบระยะสั้นๆ

    เพราะผลกระทบที่รุนแรงต่อการส่งออกมากกว่า "ค่าเงิน" คือปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบการค้าโลก จากผลของสงครามการค้าที่ทำให้ปริมาณการซื้อขายทั่วโลกลดลงอย่างรวดเร็ว โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเมินว่า ปริมาณการค้าโลกในปีนี้ขยายตัวเพียง 0.9-1% ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำและมากกระทบส่งออกแน่นอน

    หรือกรณี LTV การออกมาตรการเป็นการชะลอการเกิดปัญหาจาก "การมีจำนวนโครงการหรือปริมาณที่อยู่อาศัย" มากกว่าความต้องการจริงรวมทั้งเกิดการสร้าง "ความต้องการเทียม" จากการเก็งกำไรและการสร้างราคาสินทรัพย์ รวมทั้งการร่วมมือกันให้สินเชื่อเงินทอน ซึ่งการปล่อยให้โครงสร้างของระบบอยู่เช่นนี้ต่อไป จะเกิดปัญหาที่ร้ายแรงมากกว่านี้ต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต

    "อยากให้คนเข้าใจถึง "ปัญหาเชิงโครงสร้าง" เข้าใจถึง "ปัจจัยที่เป็นรากเหง้าเป็นต้นเหตุของปัญหาหรือผลกระทบที่แท้จริง" (Root Cause) เพื่อให้สามารถมองลึกลงไปและสามารถวางแผนการใช้ชีวิต หรือการทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้นไม่อยากให้เข้าใจผิด หรือวางแผนธุรกิจโดยไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลที่แท้จริง"

    ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในภาพรวมกำลังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยขึ้น และเป็นเหตุผลที่ "คนไทยยังมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจยังแย่อยู่"

    "ในขณะนี้คนห่วงภาคการเกษตรมาก เพราะราคาสินค้ามีแนวโน้มตกต่ำ ทำให้มีมาตรการออกมาช่วยเหลือในด้านการขายและการพยุงราคา แต่ปัญหาของภาคเกษตรที่แท้จริงคือ ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่ได้รับการพัฒนาด้านประสิทธิภาพการผลิตที่ดีเท่าที่ควร ในขณะที่ประเทศคู่แข่งของเรามีการพัฒนาอย่างรวดเร็วหลายประเทศ เช่น เวียดนาม ใช้เทคโนโลยีสร้างผลผลิตต่อไร่ได้สูงกว่าประเทศไทยมาก ขณะที่มีการพัฒนาพันธุ์พืช ให้ตอบสนองต่อพื้นที่และต้านทานโรคและแมลงได้มากขึ้น ช่วยลดต้นทุนการดูแลยาฆ่าแมลงและปุ๋ยลงได้อย่างมาก"

    ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเกษตรกรบางครั้งจะใช้แต่ "เงิน" อย่างเดียวคงไม่ได้ แต่ต้องแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างต้องใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่นเดียวกับการแก้ปัญหาเอสเอ็มอี ก็ต้องแก้ที่ปัญหาโครงสร้าง

    ในส่วน "เอสเอ็มอี" ส่วนหนึ่งที่เกิดปัญหาคือ เอสเอ็มอีที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรับกับการทำการค้าหรือเศรษฐกิจแบบใหม่ได้ หรืออยู่ในธุรกิจที่มีการแข่งขันที่สูงแต่ไม่เร่งเพิ่มประสิทธิภาพ

    และ "เอสเอ็มอี ซอมบี้" เหล่านี้ เราช่วยแก้ปัญหาด้วยการให้เงินกู้ หรือเงินหมุนเวียนเพิ่ม ซึ่งเป็นนโยบายสูตรสำเร็จไม่ได้ เพราะหากมีเงินเพิ่ม แต่ไม่เพิ่มความสามารถการแข่งขัน ฝืนทำธุรกิจในลักษณะเดิมต่อไปยอดขายก็ไม่เพิ่มขึ้นอย่างที่คาด แต่หนี้ที่มีเพิ่มทำให้มีภาระผ่อนส่งเพิ่มขึ้น สุดท้ายกลายเป็น "หนี้เสีย" ก้อนใหญ่ขึ้นและส่งผลร้ายต่อเอสเอ็มอีเหล่านั้นมากกว่าผลดี

    ดังนั้น โจทย์ใหญ่คือทำอย่างไรให้เกษตรกร และเอสเอ็มอี มีที่ยืนภายใต้ "พื้นฐานเศรษฐกิจและประสิทธิภาพการผลิต" ที่เปลี่ยนแปลงไปทำอย่างไรให้เขาสนใจที่จะพัฒนาตัวเองและมีศักยภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น

    ...เพราะยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจยังเหลื่อมล้ำสูงเศรษฐกิจโดยรวมยังโต 3% แต่การกระจายรายได้อยู่ในระดับต่ำกว่านั้นมาก ด้วยปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นทำให้เกษตรกรและเอสเอ็มอีจำนวนมากยังมียอดขายน้อยรายได้แทบไม่เพิ่ม ทำให้มีความรู้สึกว่า เศรษฐกิจไทยยัง "ไม่ดี ไม่ฟื้นตัว"

    มุมมองปีหน้า : ไม่ห่วงถดถอย...ดีกว่าปีนี้

    ทั้งนี้ หากเป็นเอสเอ็มอี หรือเกษตรกรที่สามารถปรับตัว ผลิตสินค้าที่เข้ากับเทรนด์ในช่วงต่อไป เช่น สินค้าที่ตอบสนองพฤติกรรมและการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไปของ "สังคมสูงอาย" เช่น การดูแลผู้สูงอายุ อาหาร สุขภาพหรือสินค้าที่ตอบโจทย์ "โลกร้อน" ที่พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไปรักสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ธุรกิจเหล่านี้ไม่ค่อยมีปัญหา

    นอกจากนั้น หากยังอยู่ในสินค้าเดิมก็ต้องหาช่องทางการค้าขายใหม่ๆ เช่น ใช้การสั่งออนไลน์ การส่งของ ส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน หรือบริการดีลิเวอรี ที่มีหลากหลายบริษัทให้บริการ โดยจะเห็นว่าร้านอาหารไหนเข้าระบบออนไลน์ ส่งผ่านช่องทางเหล่านี้ จะขายดีมียอดคนสั่งมากกว่าร้านอาหารที่ขายในร้านอย่างเดียวค่อนข้างมาก

    ดังนั้น อยากให้มองว่าเทคโนโลยีที่เข้ามานั้น ไม่ใช่เป็น Disruption อย่างเดียว แต่เป็นโอกาสใหม่ที่เราจะใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า บริการ และประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อก้าวข้ามสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัล และช่วยแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างบางส่วนที่เกิดขึ้นอยู่ได้ด้วย

    ท้ายที่สุดสำหรับเศรษฐกิจปีหน้า ธปท.มองว่าจะขยายตัวใกล้ 3% บวกลบดีขึ้นกว่าการขยายตัวของปีนี้ไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างที่ห่วงกัน แต่ยังขึ้นกับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งยังไม่แน่นอนสูง โดยข้อดีที่เรามองว่า เศรษฐกิจปีหน้าจะดีกว่าปีนี้ เรื่องแรกคืองบประมาณภาครัฐ โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อช่วยการพยุงเศรษฐกิจทำให้การบริโภคไม่หดตัวแรง แต่ก็มีความล่าช้าของการออกงบประมาณ ดังนั้นงบประมาณที่ยังไม่ออกในปีนี้ก็จะไปออกในปีหน้า เรื่องที่ 2 คือ การเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในปีนี้ที่หยุดไปจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็จะเดินหน้าไปได้ จะมีผลให้เม็ดเงินกระจายเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

    เรื่องที่ 3 เราเห็นความต้องการย้ายฐานการผลิตมาลงทุนในไทยเพิ่มสูงขึ้น ทั้งผ่านการขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรือยอดขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งผู้ประกอบการชาวจีน และชาวต่างชาติ และข้อดีส่วนหนึ่งการย้ายฐานการผลิต คือ หากสามารถเปิดดำเนินการได้เร็วจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และช่วยรองรับพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการจ้างงานที่ลดลงของไทย โดยคาดว่า ใน 6 เดือนการย้ายฐานการผลิตจะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นได้

    ทั้งนี้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลข่าวสาร และภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังไม่มีความแน่นอน ธปท.จะติดตามภาวะเศรษฐกิจ เพื่อที่จะนำไปพิจารณาปรับใช้นโยบายการเงินอัตราดอกเบี้ยและมาตรการดูแลการไหลเข้าออกของเงินทุน ซึ่งสามารถออกเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนได้ทันทีตามสถานการณ์

    Source: ไทยรัฐ
    https://www.thairath.co.th/news/business/1706088

    ภาพ ธปท.

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    “ Farmageddon”: ทรัมป์ประกาศความช่วยเหลือทางการเงินฉุกเฉินมากขึ้นเนื่องจากหนี้ภาคฟาร์มของสหรัฐฯพุ่งสูงถึง 416 พันล้านดอลลาร์ 17 พฤศจิกายน 2019 โดย Michael Snyder

    “Farmageddon”: Trump Announces More Emergency Bailouts As U.S. Farm Debt Soars To $416 Billion. November 17, 2019 by Michael Snyder

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ฝนตกหนัก น้ำท่วมในโอมาน #20 พ. ย.

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เตือนแล้งจัด!!
    สั่งโรงงานทั่วประเทศประหยัดน้ำ
    เล็งดึงน้ำทิ้งช่วยเกษตรกร
    IMG_5063.JPG
    “สุริยะ” เตรียมพร้อมรับมือกรณีวิกฤตภัยแล้ง มอบกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ทำหนังสือถึงโรงงานทั่วประเทศประหยัดการใช้น้ำและสำรวจปริมาณน้ำทิ้งจากโรงงาน 7,671 แห่งเพื่อเตรียมพร้อมดึงมาช่วยเหลือภาคเกษตรหากเกิดภัยแล้งรุนแรง ความพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรหากเกิดวิกฤตภัยแล้งหลังปี 2559 ประสบความสำเร็จดึงน้ำทิ้งช่วยเกษตรกรกว่า 4,000 ไร่

    อ่านต่อ>>https://mgronline.com/business/detail/9620000110968

    #ภัยแล้ง #แล้งจัด #รับมือภัยแล้ง

     

แชร์หน้านี้

Loading...