ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ไซโคลน #Maha โจมตีอินเดียด้วยความโกรธเกรี้ยว # 6 พ.ย.



     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เปิดอีกภาพสะเทือนใจ คนหอบของกองข้างถนน หลังเครือสพัฒน์ปลดพนักงานกว่า 1000 คน

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ได้โพสต์เกี่ยวกับข้อกฎหมายลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูน โดราเอมอน ระบุว่า คำพิพากษาฎีกาที่ 5756/2551 นี้ ได้วินิจฉัยเรื่อง ลิขสิทธิ์ของการ์ตูนโดราเอมอน ไว้อย่างดีมาก โดยศาลฏีกาได้วินิจฉัยไว้ว่าตัวการ์ตูนโดราเอมอน ได้มีการ โฆษณาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 ที่ประเทศญี่ปุ่น

    แต่ตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทยได้บัญญัติไว้ว่า ลิขสิทธิ์ในงานศิลปะประยุกต์ให้มีอายุ 25 ปีนับแต่ที่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก เมื่องานตามฟ้องมีการโฆษณางานครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 งานดังกล่าวซึ่งมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก จึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธันวาคม 2537 เท่านั้น

    ขณะเกิดเหตุตามฟ้องในคดีนี้คือวันที่ 3 สิงหาคม 2549 งานที่นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอมอน มาตัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของเครื่องใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าตามฟ้อง จึงไม่มีลิขสิทธิ์อีกต่อไป การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดตามฟ้อง ยกฟ้อง จากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาดังกล่าวนี้

    ถือว่า ตัวการ์ตูนโดราเอมอนหมดความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย ไปตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2537 แล้ว ดังนั้นใครที่ถูก ลักไก่จับว่าผิด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ในตัวการ์ตูนโดราเอมอนขอให้รู้ว่าโดนต้ม โดนหลอกจับกุมแล้ว

    ดังนั้นใครที่โดนจับดังกล่าว ก็ขอให้เอาคำพิพากษาศาลฎีกานี้ขึ้นต่อสู้โดยให้ตำรวจดูคำพิพากษาศาลฎีกาเลยว่าตัวการ์ตูนโดราเอมอนไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ของไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2537 แล้ว

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    1573119035.jpg
    กรมชลประทานแจ้งเตือนใช้น้ำอย่างประหยัด
    07 Nov 2019

    กรมชลประทาน วอนทุกภาคส่วนร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด จากสภาพฝนที่ตกน้อยกว่าค่าปกติตลอดช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา ทำให้อ่างเก็บน้ำหลายแห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนะหันมาเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง

    1573118361_4.jpg

    ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (7 พ.ย. 62) สถานการณ์น้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำเก็บกักรวมกัน 50,660 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างรวม เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 26,606 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างรวม ซึ่งมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนทับเสลา เขื่อนกระเสียว เขื่อนลำพระเพลิง และเขื่อนลำแซะ จะเน้นสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น

    1573119012_4.jpg

    สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย-บำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำเก็บกักรวมกันประมาณ 11,998 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น ร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีน้ำใช้การได้ประมาณ 5,302 ล้าน ลบ.ม. และตามข้อสั่งการของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้หน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    1573118517_5.jpg

    ในการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย หันมาเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการเพาะปลูกข้าว- นาปรัง โดยจะจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และไม้ผลไม้ยืนต้นเท่านั้น เนื่องจากสภาพน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด

    1573118532_5.jpg

    ทั้งนี้ กรมชลประทานขอวอนทุกภาคส่วน ให้ร่วมกันใช้น้ำตามแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งที่วางไว้อย่างเคร่งครัด และขอให้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรน้ำให้มากที่สุด ใช้น้ำทุกหยดอย่างรู้คุณค่า เพื่อให้น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เพียงพอสำหรับความต้องการใช้น้ำตลอดฤดูแล้งไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า

    https://www.thansettakij.com/conten...ur4XBKLfwlpVhxhXEALb-6knK5IFWqRd85DDb1F_d_0F8
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    1573099127.jpg
    ตื่น! วิกฤตแล้ง 4 ชาติลุ่มน้ำโขงเร่งแก้ปัญหา
    07 Nov 2019

    สทนช.ร่วมหารือสมาชิกลุ่มน้ำโขงจับมือร่วมแก้วิกฤติแล้งแม่น้ำโขงเดินหน้าย้ำทุกเวทีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุทกวิทยาพร้อมเล็งเดินหน้าสร้างเวทีการมีส่วนร่วมรับฟังข้อกังวลผลกระทบ 8 จังหวัดริมโขง ยื่นเสนอเป็นท่าทีฝ่ายไทย หลัง MRCS เปิดเวทีแจงข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับภูมิภาคกรณี สปป.ลาว เสนอโครงการเขื่อนหลวงพระบาง

    1573098774_5.jpg

    วันที่ 7 พ.ย.2562 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) เผยในโอกาสเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประชุมคณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission The Special Session of MRC Joint Committee Meeting ) ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยประเด็นสำคัญที่มีการหารือร่วมกัน คือ สถานการณ์ภัยแล้งของแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนี้มีระดับน้ำต่ำกว่าระดับที่เคยเกิดในอดีต ขณะเดียวกัน ยังมีระดับน้ำขึ้นลงอย่างผิดปกติ ซึ่งที่ประชุมทั้ง 4 ประเทศมีเจตนารมณ์ร่วมกันเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งปัจจัยจากภัยธรรมชาติ และปัจจัยการบริหารจัดการเขื่อนในลำน้ำโขง ซึ่งสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) จะเป็นหน่วยงานหลักในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบจากสองปัจจัยดังกล่าวให้ 4 ประเทศได้รับข้อมูลที่ตรงกัน




    1573098795_4.jpg

    เพื่อลดความสับสนและความเข้าใจที่อาจจะคลาดเคลื่อน นำไปสู่มาตรการในการเตรียมการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยเร่งด่วน นอกจากนี้ฝ่ายไทยยังเน้นย้ำเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณการไหลของแม่น้ำสาขาหลักที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรง โดยเฉพาะข้อมูลการระบายน้ำท้ายเขื่อนจาก สปป.ลาว และจีน

    1573101967_1.png

    เพื่อเตรียมการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่ขึ้นลงที่ผิดปกติจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยสามารถวางแผนบริหารจัดการน้ำภายในประเทศเชื่อมโยงกับแม่น้ำสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งป้องกันความสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขงได้

    1573098814_5.jpg

    ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยยังได้เข้าร่วมประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ระดับภูมิภาคครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 6 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำโขงซึ่งจะขยายเป็น 10 ปี (พ. ศ. 2564-2573) จากเดิมที่ดำเนินการระยะ 5 ปี ( พ.ศ.2564-2568) ซึ่งในที่ประชุมได้เน้นย้ำการให้ความสำคัญของการใช้น้ำที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร อุปโภค-บริโภค ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรฐกิจ รวมถึงการพัฒนาเขื่อนในลำน้ำแม่โขง ซึ่งขณะนี้ MRCS ได้จัดเวทีสร้างการรับรู้การก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบาทระดับภูมิภาค เพื่อให้ข่าวสารแต่ละประเทศที่เหมือนกันตามกลไกข้อตกลงระหว่าง 4 ประเทศ ภาคส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ โดยกำหนดให้มีเวทีกลางเจรจา เข้าใจเหตุผลความจำเป็นนำไปสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า และให้ข้อมูลข่าวสารที่ตรงกัน

    1573098837_2.jpg

    ด้านนายประดับ กลัดเข็มเพชร รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยโดย สทนช.ได้เตรียมพร้อมกำหนดจัดเวทีให้ข้อมูลให้แก่ภาคประชาชนรับรู้กระบวนการ รวมทั้งข้อมูลโครงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง ตามระเบียบปฏิบัติเรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง หรือ PNPCA จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งเบื้องต้นกำหนดจัดที่ จ.เลย จ.บึงกาฬ และจ.อุบลราชธานี ในช่วงเดือนธันวาคม’62 – มกราคม’63 เพื่อให้ข้อมูลโครงการแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ภาครัฐ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม นักวิชาการ องค์กรด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์กรพัฒนาเอกชน

    1573101990_2.png

    ในพื้นที่จังหวัดที่อยู่ริมลำน้ำโขง 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี เพื่อให้ข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจตามกระบวนการ PNPCA รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อรวบรวม ประเมินผล ประโยชน์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบาง ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อระบบนิเวศของแม่น้ำโขงสายหลัก ข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบต่าง ๆ ประกอบเป็นท่าทีของประเทศไทยเสนอต่อ สปป.ลาว ผ่าน MRCS

    1573098858_3.jpg

    “นอกจากการดำเนินการจัดเวทีให้ข้อมูลข่าวสารโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบางให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบได้ครอบคลุมรอบด้านมากที่สุดผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งทางเว็บไซต์ สทนช. www.onwr.go.th และ www.tnmc-is.org รวมถึงผ่านการับฟังความคิดเห็นหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายภาคประชาชน รวมถึงนักวิชาการ ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในประเด็นปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมในเวทีต่าง ๆ สทนช.จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้น มาพิจารณาเพื่อดำเนินการในรูปของคณะทำงานเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ก่อนประมวลมานำเสนอประเด็นให้ความเห็นในที่ประชุมทั้งระดับชาติซึ่งมีคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และผ่านกลไกคณะทำงานร่วม หรือ JC working group ในเวทีแม่น้ำโขง เพื่อให้เกิดกระบวนการรับฟังจากประชาชนที่อาจจะกระทบกับประเทศไทยนำไปสู่มาตรการปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อรองรับผลกระทบข้ามพรมแดนประเทศท้ายน้ำ” นายประดับ กล่าว


    https://www.thansettakij.com/conten...8-BqW8Jxd0PhOiZjz-ibNlliV6l7mUsu0HOpNfIbPXELU
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    1573125700.jpg
    บาทแข็งฉุดส่งออกข้าวเหลือ 8 ล้านตัน
    07 Nov 2019

    บาทแข็งค่า กระทบส่งออกข้าวไทยลดลงต่อเนื่อง โดยในช่วง 9 เดือนแรก ลดลงถึง28 % คาดทั้งปีอาจส่งออกได้เพียง8 ล้านตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 3 ล้านตัน วอนรัฐเร่งหามาตรการช่วยเหลือ

    นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยหลังการประชุมร่วมกับเกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด 20 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อติดตามสถานการณ์ผลผลิตข้าวนาปี ฤดูกาลผลิต 2562/2563 ว่าปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย ลดลงต่อเนื่อง โดยในช่วง 9 เดือนแรก ลดลงถึง 28 %คาดทั้งปีอาจส่งออกได้เพียง 8 ล้านตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 3 ล้านตัน ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณส่งออกข้าวลดลงอย่างต่อเนื่องโดยในช่วง 9 เดือนแรก ส่งออกได้เพียง 5,931,335 ล้านตัน ลดลง28.1 %เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่8,253,582 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าอยู่ที่ 99,979 ล้านบาท ลดลด 24.6 %เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 132,646 ล้านบาท

    1573125558_5.jpg

    ทั้งนี้หากรัฐบาลไม่เร่งแก้ปัญหาเงินบาท เชื่อว่าภายใน 3 ปี ไทยอาจจะต้องปลูกข้าวไว้กินเอง เนื่องจากราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่งจนไม่สามารถแข่งขันได้ ส่วนมาตราการแก้ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะช่วยให้เงินอ่อนค่าลงมาเพียงเล็กน้อยหรือเพียง 10 สตางค์เท่านั้น คาดว่าในปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวได้เพียง 8 ล้านตัน ลดลงจากปีที่แล้วที่ 11.23ล้านตัน ลดลง 3.ล้านตัน

    1573125582_1.jpg

    ด้านนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่า ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่า ทำให้ราคาข้าวไทยต่างจากคู่แข่งค่อนข้างมาก เช่น ข้าวหอมมะลิไทย ราคาเอฟโอบีอยู่ที่ 1,191 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ขณะที่เวียดนามอยู่ที่ 550 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วนข้าวขาว 5 %ราคาเอฟโอบีอยู่ที่ 424 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ขณะที่เวียดนามอยู่ที่ตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่งผลให้ข้าวไทยส่งออกลดลง โดยข้าวเหนียวลดลง 49 %ส่วนข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ลดลง 42 %

    1573125604_1.jpg

    สำหรับราคาข้าวในประเทศปีนี้ ข้าวขาว5%และข้าวหอมมะลิ ราคาเท่ากับปีที่แล้ว แต่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้น โดยข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้น 112 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วนข้าวขาว5%เพิ่มขึ้น 21 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

    นอกจากปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าแล้ว ยังมาจากจีนระบายสต็อกข้าวเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว1.3 ล้านตัน แต่ปีนี้ส่งออกเพิ่ม 2.1 ล้านตัน โดยจีนมีสต็อกข้าวอยู่ที่ 117 ล้านตัน มากกว่าการค้าข้าวทั้งโลกที่ 50 ล้านตัน ทำให้จีนช่วงชิงตลาดข้าวเก่า ในตลาดแอฟริกาของไทย

    https://www.thansettakij.com/conten...ymu3iRuuHqTj8IANJAVC3ByGNvgZ68Yi_gM4DTboWIPvE
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    1573108107.jpg
    โวยโรคไหม้คอรวงข้าวระบาดหนักหวั่นลามหอมมะลิเจ๊ง
    07 Nov 2019

    สมาคมชาวนาฯ ผวาโรคไหม้คอรวงข้าวลามทุ่งข้าวหอมมะลิ 105 กระทุ้ง ก.เกษตรฯอืด ไร้สัญญาณเตือนโรคระบาด ส่อลามขยายวงกว้างกว่า 4 แสนไร่ ผงะ! ยากจะควบคุม ขณะที่ตลาดค้าข้าวโลก-ในประเทศ "2 นายกโรงสี-ส่งออก" เดี้ยงมรสุมรุมเร้ากระทบชาวนาแน่ ส่งสัญญาณสมาชิกรับมือ

    1573107640_3.jpg

    นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากการที่สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ได้ติดตามข้อมูลข่าวสารรวมถึงลงพื้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสาน ก็ได้พบปัญหาอย่างที่ทุกคนทราบคือเรื่องโรคไหม้คอรวงข้าวที่กำลังแพร่ระบาดในขณะนี้ โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม เพราะโรคนี้ได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตบนพื้นที่เพราะปลูกจำนวนนับแสนไร่ให้กับชาวนา



    1573107658_4.jpg

    “สมาคมฯ เข้าใจดีว่าขณะนี้ภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เข้าไปดูแลในพื้นที่แล้ว แต่ที่ไม่เข้าใจคือช่วงก่อนหน้านี้ในระยะที่โรคพืชนี้เพิ่งจะเริ่มระบาด เพราะเหตุใดจึงไม่มีการส่งสัญญาณ รับรู้ แจ้งเตือน รวมถึงไม่มีการวางแนวทางป้องกันโรคดังกล่าวตั้งแต่ในขั้นต้นที่ยังสามารถควบคุมได้ เพื่อที่จะยับยั้งไม่ให้เกิดการแพร่กระจายในวงกว้างขนาดนี้ จนโรคพืช/ปัญหาดังกล่าวนั้นลุกลามไปมากจนยากจะควบคุม”

    1573107670_1.jpg

    อย่างไรก็ดี ณ ขณะนี้ทางสมาคมฯ ต้องการที่จะให้พยายามระวังไม่ให้โรคนี้ลามไปถึง ข้าวหอมมะลิ105 ที่กำลังจะออกเร็วๆนี้แล้ว จึงขอให้ทางภาครัฐเร่งดำเนินการ รวมไปถึงอยากขอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีการวางแผนป้องกันสำหรับฤดูกาลหน้า โดยเตรียมจัดหาพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคไหม้คอรวงข้าวนี้ในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อไม่ให้เกษตรกรนำข้าวที่เป็นโรคในฤดูกาลนี้ไปใช้เพาะปลูกในฤดูกาลหน้าอีก

    1573107687_4.jpg

    นายปราโมทย์ กล่าวว่า ปัญหานี้จะโทษแต่เพียงชาวนาไม่ได้เพราะชาวนาก็ทำการเพาะปลูกในลักษณะนี้มาโดยตลอด แต่ปัญหาเหล่านี้จะต้องมีการแจ้งและส่งสัญญาณให้เกษตรกรทราบล่วงหน้าว่าปีนี้นั้นมีความเสี่ยงที่จะมีโรคระบาดในข้าว ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนเฝ้าระวังให้ดีกว่าในปัจจุบัน

    1573107720_1.jpg

    อีกทั้งหลังจากที่สมาคมได้รับฟังข้อมูลและบทสัมภาษณ์ต่างๆจากสมาคมผู้ส่งออกฯและสมาคมโรงสีฯ ในเรื่องของระบบโครงสร้างข้าวทั้งระบบที่เกี่ยวข้องกับด้านตลาดผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ท้ายที่สุดก็จะต้องส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอยู่ดี เพราะเป็นปัญหาที่จะส่งผลต่อทั้งระบบ จึงจำเป็นอย่างมากที่อยากจะให้ภาครัฐเข้ามาดูแลในระดับโครงสร้างและในเชิงระบบให้ครบวงจร เพราะตลาดนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญหากภาคการผลิต

    1573107767_5.jpg

    “หรือชาวนานั้นผลิตข้าวที่ออกมาไม่ตรงความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดหลัก (ตลาดในต่างประเทศไม่จูงใจซื้อข้าวไทยเนื่องจากเหตุผลและจากปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัย เช่น ความนิยมเรื่องข้าวนุ่มมากขึ้น ราคาที่สูงจนไม่เป็นที่ดึงดูดเนื่องจากผลผลิตต่อไรต่ำรวมถึงค่าเงินบาท ฯลฯ)”

    1573107839_1.jpg

    อย่างไรปัญหาต่างๆส่งผลกระทบให้โรงสีและผู้ส่งออกก็ไม่สามารถนำไปขายได้ในที่สุด และเนื่องจากทั้งระบบวงจรค้าข้าวนี้เป็นวงจรที่เชื่อมโยงกันทั้งหมด หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสบปัญหาชะงักลงก็จะไปต่อไม่ได้เสียหายกันทั้งระบบ ซึ่งหลังจากที่ชาวนาได้รับข้อมูลด้านตลาดเรื่องส่งออกนี้ก็รู้สึกกังวล เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่น่าตกใจและน่าเป็นห่วงอย่างมากสำหรับอนาคตของตลาดข้าวไทย

    1573108001_1.jpg

    อนึ่ง สถานการณ์การระบาดของโรคไหม้ การป้องกันกำจัด และการช่วยเหลือ ณ วันที่ 5 พ.ย. จากการรายงานสถานการณ์การระบาดศัตรูข้าวของกรมส่งเสริมการเกษตร พบการระบาดของโรคไหม้ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี มหาสารคาม และร้อยเอ็ด รวม 434,703.30 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562)


    https://www.thansettakij.com/conten...LSHggDs_8F3Q5DBLlvJqfZS5jkY5HtHCYWE0Kwcav4H40
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ปรากฎการณ์แปลกๆ ปรากฏขึ้นจากทะเลใน maitencillo ชิลี #7 พ. ย.

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    กัวเตมาลามีบ้านแปดหลังตั้งอยู่ริมหุบเขาในซิวดัด แปโรเนีย พื้นที่โดยรอบมีความเสี่ยงร้ายแรง




     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra
    ปารากวัย ชั่วขณะที่มีลมมรสุม ได้สร้างความเสียหายในÑembyและ Villa Elisa # 7 พฤศจิกายน








     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    อังกฤษมีน้ำท่วมฉับพลันใกล้ Meafowhall Centre ใน Sheffield มียานพาหนะติดอยู่ # 7 พ.ย.






     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra
    แผ่นดินไหวขนาด 5.8
    7 กม. จาก # Asbforushan # อาเซอร์ไบจานตะวันออก # อิหร่าน # 7 พ.ย.





     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    พวยน้ำขนาดใหญ่ บนชายหาดของเจนัว, อิตาลี # 7 พฤศจิกายน



    _oc=AQnphsesrFXAHOeIL6Y0pt6PyntvYoU_X25woWo8MahMzGcF8nvLCVe6jFEW_ZKXOfk&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg

    _oc=AQnIGmUXu6cjXHNF3aZKLb5ZGuZbZdes2jMcNm2cwrkzfYNtgvCxu2Uq23KvDMbs0pk&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg

    _oc=AQlZF0V1JzdwI0y5KJgRxvcsCYXKOXg7_Y2VErppcCmb4L-JiSnmMRLuHAqMd8CqG34&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    1573123377.jpg
    กรุงศรีฯเตือน ศก.ปี 63 เปราะบาง
    07 Nov 2019

    นายสมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2563 จะมีความเปราะบางมากขึ้น แม้แง่ตัวเลขมองว่า จะขยายตัวได้เกิน 3% จากประมาณการเดิมที่มองว่าจะขยายตัว 3.5% โดยมาจาก 2 ส่วนสำคัญคือ 1.ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ และ 2.เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจมีจำกัดมากขึ้น เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้ว 2 ครั้ง ทำให้ความสามารถดำเนินนโยบายลดลงหรือ Policy Space น้อยลง ดังนั้นหากเกิดความไม่แน่นอนหรือช็อคเกิดขึ้น เช่น สงครามการค้าระหว่างประเทศหรือสถานการณ์ในตะวันออกกลางรุนแรงขึ้น จะเป็นความเสี่ยต่อระบบเศรษฐกิจไทย

    1573123311_3.jpg

    ดังนั้น การดำเนินนโยบายจะต้องมีทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังผสมผสานกัน รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบการทำนโยบายจากเชิงปริมาณ เช่น การใช้เยอะๆ และลดดอกเบี้ย ซึ่งที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ผล หันมาทำนโยบายแบบคุณภาพ คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจไปในกลุ่มที่ถูกต้องและเหมาะสม เหมือนประเทศยุโรปและจีน เช่น ต้องการ กระตุ้นคนใช้เงิน ก็กระตุ้นในกลุ่มที่ต้องการใช้เงิน หรือต้องการลดดอกเบี้ยช่วยคนขาดสภาพคล่องเน้นในกลุ่มธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องและธุรกิจยังไปได้ดี ชะลอกลุ่มที่เก็งกำไร ซึ่งนโยบายเชิงคุณภาพที่ยุโปรและจีนทำค่อนข้างได้ผล

    อย่างไรก็ดี การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% จาก 1.50% เหลือ 1.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงทั่วโลก ซึ่งนโยบายการคลังสามารถดำเนินได้ 2 มิติ ทั้งในส่วนของมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย และมาตรการทางภาษี เช่น การลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นมาตรการประคองเศรษฐกิจมากกว่ากระตุ้นเศรษฐกิจ

    1573123293_3.jpg

    “เศรษฐกิจปี 63 จะมีความเปราะบาง มากขึ้น เดิมเรามองจะขยายตัวได้ 3.5% แต่จะมีการรีวิวอีกครั้งคาดว่าจะขยายตัวได้ราว 3% เพราะไส้ในแรงขับเคลื่อนแผ่วลงมาก ทั้งการลงทุนภาครัฐที่ยังไม่มาส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณที่ล่าช้า แต่คาดว่าจะกลับมาได้ในไตรมาสที่ 2 ปีหน้า ส่วนปีนี้มองไว้น่าจะขยายตัวได้ราว 2.9% จากต้นปีที่วางไว้ 3.8% ซึ่งเป็นไปตามภาวะโดยรวม”



    นายสมประวิณ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับ 4 มาตรการที่ธปท.ออกมาเพื่อผ่อนคลายดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย มองว่า เป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากทำพร้อมกับการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะมีนัยสำคัญมากกว่าการทำนโยบายแยกกัน ประกอบกับธปท.มีการสื่อสารออกมาควบคู่กัน ซึ่งทำให้ตลาดได้รับรู้ ขณะที่ผลจากมาตรการนั้นอาจทำให้เงินบาทไม่แข็งค่าเร็วเหมือนช่วงที่ผ่านมา และดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงได้ แต่สุดท้ายอาจจะต้องกลับมาดูที่โครงสร้าง เช่น ประเทศไทยยังคงเป็นหลุมหลบภัย (Safe Haven)


    https://www.thansettakij.com/conten...XgWFldubFFf5HTud8CmM6RuBBZebxFVcV7jk2hO1rUKjI
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Too Young to Die

    นิวซีแลนด์ประกาศพรบ.โลกร้อน
    “เรากำลังทำสิ่งที่ถูกต้องของประวัติศาสตร์ ภาวะโลกร้อนเป็นภัยที่ยิ่งใหญ่และท้าทายที่สุดของเราขณะนี้”
    “รัฐบาลของเราต่อสู้กับภาวะโลกร้อนมากกว่าทุกรัฐบาลของนิวซีแลนด์ที่เคยมีมา แต่ไม่ใช่แค่พวกเรา ประชาชนของเรากว่า170,000 คนออกมาบนถนนร่วมเดินเรียกร้องการเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมจากทั่วโลก”

    หลายคนอาจจะคุ้นหน้านายกสวยเก่งของนิวซีแลนด์ Jacinda Ardern ผู้ที่สามารถพูดนโยบายพัฒนาประเทศยาวเหยียดได้ยาวถึง2 นาที ล่าสุดเธอประกาศกฏหมายสภาวะอากาศ พรบ.โลกร้อน โดยได้รับเสียงสนับสนุนจากทุกพรรค นิวซีแลนด์ตั้งเป้าจะลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ลดการปล่อยมีเทนลง 24-47% ภายในปี 2050 เพื่อที่จะคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5C ก่อนที่จะสายเกินไป

    Jacinda กล่าวสุนทรพจน์อันทรงพลัง เธอกล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมที่มาเป็นสักขีพยานในวันนี้ว่าได้มีส่วนร่วมในการทำสิ่งที่ถูกต้องของประวัติศาสตร์ เธอกล่าวถึงนโยบายปัจจุบันและอนาคตของนิวซีแลนด์ในการต่อสู้ภาวะโลกร้อนดังนี้

    “เรากำลังทำสิ่งที่ถูกต้องของประวัติศาสตร์ ภาวะโลกร้อนเป็นภัยที่ยิ่งใหญ่และท้าทายที่สุดของเราขณะนี้”
    “เราปฏิเสธไม่ได้ว่าน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อยๆ ภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์บอกเราว่าพืชพรรณและสัตว์ต่างๆจะได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล ไม่นับถึงการแพร่กระจายของโรคที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต”

    “ประเทศในกลุ่มแปซิฟิกกำลังจมน้ำ เราตั้งเป้าไว้ที่ 1.5C ไม่ใช่เพราะตามคำสั่งของParis Agreement แต่เพราะมันเป็นสิ่งที่ต้องทำ และช่วยเหลือประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกเพื่อนบ้าน เพราะเราเข้าใจถึงผลกระทบของอุณหภูมิที่เกิน 1.5C ว่ามันส่งผลกระทบต่อพวกเขามากแค่ไหน”

    “ เรายอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้นิวซีแลนด์เป็นผู้ตามที่ล้าหลัง ปล่อยให้โลกร้อนทำลายสิ่งแวดล้อมของเรา ประเทศของเรา และทำลายศักยภาพของประเทศเราในฐานะผู้ส่งออกอาหารของโลก”

    และนี่คือนโยบายของนิวซีแลนด์
    -ตั้งเป้าปลูกต้นไม้พันล้านต้น ปลูกไปแล้ว 140ล้านต้น
    -ต้องเปลี่ยนแหล่งพลังงานไฟฟ้าให้มาจากพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2035 ปีหน้า ปีหน้าโรงงานไฟฟ้าจากพลังงานไฮโดรเจนแห่งแรกจะเริ่มเปิดใช้งาน ถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
    -ตั้งเป้าที่จะหยุดการอนุญาตขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเล และให้เงินสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยแหล่งพลังงานใหม่
    -นโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าให้มีราคาถูกลง เพื่อให้ประชาชนจับต้องได้ และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคคมนาคมในที่สุด
    - เป็นประเทศแรกในโลกที่จะเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรมในปี 2025
    -สนับสนุนงานวิจัยร่วมกับประเทศอื่นทั่วโลกในการพัฒนาเทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจก สัปดาห์ที่แล้ว นิวซีแลนด์ลงทุนไปกว่า 125,000 ดอลลาร์ในงานวิจัยเทคโนโลยีใหม่ที่คาดว่าจะสามารถลดก๊าซมีเทนจากภาคเกษตรกรรมได้ถึง80% และให้เงินสมทบกับนานาชาติช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเป็นจำนวนเงิน 300 ล้านดอลลาร์ ครึ่งหนึ่งช่วยเหลือประเทศในแถบแปซิฟิก
    -จัดสรรงบประมาณ 100ล้านดอลลาร์สำหรับเป็นกองทุนด้านสิ่งแวดล้อม green investment จุดประสงค์เพื่อพัฒนา zero carbon economy

    “ในช่วง24 เดือนที่ผ่านมา เราลงมือต่อสู้กับภาวะโลกร้อนมากกว่าทุกรัฐบาลที่เคยมีมาในนิวซีแลนด์ แต่ไม่ใช่แค่เราที่ลงมือตามลำพัง ประชาชนกว่า170,000 คนในนิวซีแลนด์ออกมาบนถนนร่วมเดินเรียกร้องการเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมจากทั่วโลก”

    ภายในปี 2030 ประเทศต่างๆทั่วโลกจำเป็นต้องพยายามมากกว่าเดิม 5 เท่า ในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อที่จะอยู่รอดภายใต้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5C ก่อนที่จะสายเกินไป เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน์แบบกู่ไม่กลับ

    Source :
    Jacinda Ardern FB
    https://www.smh.com.au/world/oceania/this-is-our-nuclear-moment-nz-passes-climate-change-law-20191107-p538fd.html?fbclid=IwAR01yIqeuIUnBFgPOL-z9kowc1zcizSD_3Lwrvmd-FEw8JYVoPIaAk1KIl4
    https://www.theguardian.com/world/2019/nov/07/ardern-says-new-zealand-on-right-side-of-history-as-mps-pass-zero-carbon-bill?CMP=soc_567

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ReReef

    คำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์โลกถึงภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ
    _oc=AQmtJRTy2acM5n1RLhfKP1hx39O4HZUbRF45l0vTrhM_KEI3sqcekWB6lhcT1TkOFK0&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    ข่าวใหญ่ที่ดังกว่าการถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสของสหรัฐอเมริกาคือการตีพิมพ์คำเตือนเกี่ยวกับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกครั้งสำคัญโดยมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมลงชื่อมาว่า 11,000 คน
    .
    “นักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ทางจริยธรรมในการเตือนมนุษยชาติถึงภัยพิบัติใดๆก็ตาม และต้อง “บอกไปตามความจริง” คือประโยคเปิดบทความ World Scientists’ Warning of a Climate Emergency
    .
    บทความสรุปสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล่าสุด ที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ BioScience เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีของการประชุมเกี่ยวกับสภาพอากาศครั้งแรก ที่กรุงเจนีวาเมื่อปีค.ศ.1979 บทความชิ้นนี้ได้รับการเห็นชอบจากนักวิทยาศาสตร์อีกกว่า 11,000 คนที่ร่วมกันลงชื่อ
    .
    “เราขอประกาศอย่างชัดเจนและเป็นเอกฉันท์ว่าโลกกำลังเผชิญภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ และการจะรักษาอนาคตที่ยั่งยืนเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตครั้งใหญ่ รวมไปถึงระบบการผลิตต่างๆของสังคม และการปกป้องระบบนิเวศธรรมชาติที่เหลืออยู่”
    .
    “เราไม่อาจรอช้าได้อีกแล้ว วิกฤติด้านสภาพอากาศได้มาถึงแล้ว และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าที่นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้มาก นี่คือสิ่งที่กำลังคุกคามธรรมชาติและโชคชะตาของมวลมนุษย์”
    .
    คนส่วนใหญ่มักคิดถึงสภาวะโลกร้อนเพียงแค่อุณหภูมิพื้นผิวที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ความเป็นจริงมีมาตรวัดหลายอย่างที่สะท้อนสถานการณ์ที่น่าวิตกอย่างรอบด้านไม่ว่าจะเป็น ระดับคาร์บอนไดอ็อกไซด์และก๊าซมีเธน ระดับน้ำน้ำทะเลที่สูงขึ้น ปริมาณน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ เหตุการณ์ภัยพิบัติจากสภาพอากาศสุดขั้ว เป็นต้น
    .
    ในรายงานฉบับนี้ได้รวบรวมแนวโน้มที่เกิดขึ้นในช่วง 40 ปีหลังจากปีการประชุมเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศครั้งแรก ซึ่งจะเห็นแนวโน้มทุกอย่างที่น่าวิตกอย่างยิ่ง (ดูกราฟแต่ละอันขึ้นลงอย่างน่ากลัว)
    .
    “ไม่เคยมีช่วงเวลาไหนที่สำคัญแบบนี้อีกแล้วที่เราต้องกล้าพูดความจริงจากข้อมูลที่มีอยู่ ถึงเวลาที่นักวิทยาศาสตร์ต้องไปไกลกว่าแค่การทำวิจัยและตีพิมพ์ผลงาน เราต้องสื่อสารให้ถึงพลเมืองและผู้มีอำนาจตัดสินใจ” ศาสตราจารย์ วิลเลียม ริปเปิล แห่งมหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตท หนึ่งในผู้เขียนนำ (Lead author) กล่าว
    .
    เมื่อ 27 ปีที่แล้วกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกกว่าพันคนได้รวมตัวกันจัดทำแถลงการณ์เตือนมนุษยชาติมาแล้วครั้งหนึ่งว่าเราต้องตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและดูแลปกป้องโลกให้มากกว่านี้ หากปรารถนาที่จะมีอนาคตที่ยั่งยืน
    .
    เมื่อสองปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์นำโดยศาสตราจารย์วิลเลียม ได้ตีพิมพ์บทความซึ่งเป็นคำเตือนของนักวิทยาศาสตร์ฉบับที่สอง ว่าด้วยอันตรายจากวิกฤติการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตและมลภาวะ
    .
    ในบทความยังได้เสนอแนะทางออกต่างๆเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้พลังงาน การพยายามลดจำนวนประชากรโลก การหยุดยั้งการทำลายธรรมชาติทุกรูปแบบ และปรับเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มาจากพืชเป็นหลัก รวมไปถึงการตั้งเป้าเศรษฐกิจแบบใหม่ที่ไม่ยึดติดกับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
    .
    นับเป็นการออกมาสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาของนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ เพื่อที่จะไขข้อสงสัยต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มคนที่ไม่เชื่อเรื่องปรากฎการณ์โลกร้อน แม้จะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ออกมามากมายเพียงไรก็ตาม
    .
    ถึงเวลาที่ผู้นำโลกตื่นขึ้นมาเผชิญหน้ากับความจริงและปฏิรูปการพัฒนาประเทศเสียใหม่ ก่อนที่เราในความหมายของเผ่าพันธุ์มนุษย์ จะไม่มีบ้านให้รักษาอีกต่อไป
    .
    อ่านคำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามฉบับได้ตามลิงค์ข้างล่าง ถ้าเราเชื่อนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ 27 ปีที่แล้ว และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาประเทศที่เน้นความยั่งยืน และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราคงไม่ตกอยู่ในภาวะจนตรอกแบบนี้
    .
    .
    World Scientists’ Warning of a Climate Emergency
    https://academic.oup.com/bioscience/advance-article/doi/10.1093/biosci/biz088/5610806

    World Scientists' Warning to Humanity (1992)
    https://www.ucsusa.org/resources/1992-world-scientists-warning-humanity

    World Scientists’ Warning to Humanity: A Second Notice
    https://academic.oup.com/bioscience/article/67/12/1026/4605229

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Too Young to Die

    Delhi ปกคลุมไปด้วยควันพิษ
    _oc=AQk4TACMMHeVUXtpxkgo6sTemhTsU_Idi4e7d-dbsD9hd8FsU70dkYVjRbYmNQMLE5k&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    หญิงสาวมาชุมนุมกันริมแม่น้ำ Yumana เพื่อร่วมเทศกาลฮินดู Chhath Puja ท่ามกลางโฟมและฟองพิษ ที่เกิดจากของเสียโรงงานและควันพิษปล่อยลงสู่แม่น้ำ

    สภาพอากาศของ Delhi อยู่ในสภาพวิกฤตติ มลพิษสูงกว่าระดับปลอดภัย 10 กว่าเท่า (The guardian ) ในขณะเดียวกันค่าฝุ่น particulate matter สูงกว่าระดับปลอดภัย 25 เท่า ( washington post ) รัฐบาลประกาศให้ประชาชนงดออกมานอกที่อยู่อาศัยเป็นเวลา 5 วัน

    ขณะนี้อินเดียใช้นโยบายบังคับให้มีการขับรถตามเลขป้ายทะเบียนคู่คี่สลับวันกัน นาน2 สัปดาห์ โดยคาดว่าจะลดจำนวนรถบนถนนได้ 1.2 ล้านคัน ซึ่งนโยบายนี้เคยใช้มาก่อน2 ครั้ง เริ่มในปี 2016 แต่ประชาชนมองว่าเป็นมาตรการที่หละหลวมและไม่ได้ผล ( สุดท้ายประชาชนบางกลุ่มก็ใช้วิธีแอบขับอยู่ดี ) , มีการควบคุมไม่ให้รถบรรทุกหรือรถยนต์ดีเซลเข้ามาในตัวเมือง และส่งกำลังออกตรวจตราเมืองที่มีประชากรกว่า 29 ล้านคนว่ามีผู้ทำผิดกฎหมายหรือไม่เช่น การเผาขยะ การฝ่าฝืนขับรถ ตรวจสอบไซต์ก่อสร้างว่าได้มาตรฐานหรือไม่

    ประชาชนต้องประสบปัญหาสุขภาพ ด้านการค้าขายทำธุรกิจก็ได้รับผลกระทบเพราะประชาชนไม่สามารถออกมาจับจ่ายใช้สอยได้ตามปกติ ประชาชนต่างเรียกร้องให้รัฐบาลออกมารับผิดชอบ มีมาตรการแก้ไขที่ดีกว่านี้ ซึ่งตอนนี้คาดว่าสาเหตุควันพิษมาจากการเผาไร่ จากรัฐข้างเคียงคือ Punjab และ Haryana

    ทุกๆปี Delhi จะต้องประสบปัญหาฝุ่นควันในฤดูหนาวอันมาจาก รถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และการเผาไร่จากการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า การหายใจเอาอากาศนี้เข้าไป เท่ากับสูบบุหรี่ 50 มวนเลยทีเดียว มีผู้คนจำนวนมากที่ตัดสินใจทิ้งเมือง ออกไปหาที่อยู่อาศัยในเมืองใหม่

    https://www.theguardian.com/world/2...PGWNovPRswZbhp8GxslQix3Yvnzg4hL-_DhdS2W145igY

    https://www.usatoday.com/story/news...PUwDkrbgZe62N3tppI59Z47r1oWIxxTrCY20MsSZ46PME

    https://www.washingtonpost.com/worl...0gxlep4E8Eg3XpPoLK6ZeQ_U-VBf94LuloAHM7r8oQUzI

     

แชร์หน้านี้

Loading...