"ตะกรุดเถาวัลย์"ปู่บุญ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 23 ธันวาคม 2008.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    "ตะกรุดเถาวัลย์"ปู่บุญ

    คอลัมน์ ซูมโฟกัส

    เซียนบ้านดอน




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง " หลวงปู่บุญ" วัดทุ่งเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ท่านเป็นประธานศูนย์สงเคราะห์เด็กชาวเขาที่ตั้งอยู่ที่วัดทุ่งเหียง ปัจจุบันมีเด็กอยู่ในความดูแลถึง 300 คน มีสามเณรอีก 80 รูป จึงไม่ต้องสงสัยรายจ่ายว่ามากขนาดไหน

    "หลวงปู่บุญ" ทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างมาก นับว่าสุดยอดกับพระผู้ชราวัยใกล้ 80 ปี เพื่อเลี้ยงเด็กเหล่านั้นด้วยเมตตา ท่านพูดเสมอว่าอีกไม่นานท่านก็ตายแล้วความดีต้องรีบทำ ท่านยอมอดดีกว่าให้เด็กๆ เหล่านั้นหิวข้าว นอกจากท่านจะเป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตาแล้ว หลวงปู่บุญยังมีวิชาเข้มขลังเพราะท่านบวชตั้งแต่อายุ 20 โดยมี หลวงพ่อโด่ วัดนามมะตูม เป็นพระอุปัชฌาย์ และยังธุดงค์ไปเรียนวิชาชนิดเจอตัวจริงๆ ของครูบาอาจารย์ อาทิ หลวงปู่เส็ง วัดประ จันตคาม ผู้สร้างเหรียญโภคทรัพย์ นางกวักโด่งดังที่สุดในประเทศ, หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่านศิษย์สายหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า, หลวงพ่อจ้อย วัดบ้านโนน, หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน ผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์, หลวงพ่อคง วัดวังสรรรส เป็นต้น
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    เมื่อเร็วๆ นี้ หลวงปู่บุญได้สร้างเครื่องรางของขลัง "ตะกรุดเถาวัลย์พันดงสวาท" อุดสีผึ้งสามนาม

    เรื่อง "เถาวัลย์" นั้นเป็นศาสตร์ลึกลับมาแต่โบราณ เป็นของทนสิทธิ์ทีฤทธิ์ในตัวเอง ตำนานของพวกพรานป่าล่าสัตว์จะรู้จักเถาวัลย์ดี เช่น เดินไปเกี่ยวขาไม่ให้ไปบ้าง เดินไปข้ามแล้วหลงป่าเหมือน เมืองลับแลบ้าง เรื่องเถาวัลย์อาถรรพ์นั้น มีในตำราว่า เถาวัลย์หลงนั้นแน่นัก แค่พบเจอที่ป่า หักกิ่งมาติดตัวท่านว่าใครก็ห้ามไม่ให้หลงไม่ได้ จนมีคนแต่งกลอนเอาประสบการณ์จริงของคนที่ใช้เถาวัลย์หลงติดตัวมาว่า "ว่านเถาวัลย์หลง งวยงงวาบหวามั้ใครลอดใครข้าม เกิดความหลงใหล ทำซุ้มเยี่ยมยอด คนลอดไปมา เกิดความเมตตา อุรารักใคร่ เคยพูดโผงผางั้กระด้างตีรวน กลับเป็นนุ่มนวล ละมุนละไม ที่เคยระแวง กินแหนงแคลงจิต ศัตรูทั่วทิศ เป็นมิตรทันใด เปลี่ยนแปลงสิ่งร้ายให้กลายเป็นดี คนปลูกคนมี เป็นศรีสดใส อาคารร้านค้า ใครมาลอดผ่าน ซื้อของจากร้าน ถูกจิตติดใจ ต้องหวนมาอีก ค้าปลีกค้าส่ง ฤทธิ์เถาวัลย์หลง เสริมส่งค้าขาย ว่านนี้เล่าขาน ตำนานเผยแพร่ ว่าเมืองลับแล มีมากเหลือหลาย

    ชายจึงงวยงงั้ลุ่มหลงไม่กลับ เกิดเรื่องลี้ลับ อยู่เมืองแม่ม่าย"

    ยิ่งมาเจอเถาวัลย์หลงดงที่ขึ้นมาเกาะกับต้นไทรใหญ่ และข้ามไปเกาะดงต้นสวาท ไม่ธรรม ดาเลย เถาวัลย์หลงสายนี้ อยู่ที่จังหวัดพัทลุง ต้นสวาทนั้น เป็นไม้มงคลที่คนใต้ว่าใช้ดีทางเมตตามหานิยมมาก เถาวัลย์หลงที่ขึ้นมาชนกับต้นสวาท ตำราว่าดียกกำลังสองหายาก ข้ามไปร้อยทุ่งก็ไม่พานพบ

    หลวงปู่บุญสั่งให้นำมาตัดเป็นท่อนๆ ยาวเท่า 1 องคุลี ถักเชือกลงทอง แบบโบราณ จารยันต์ "กรุณาทมิฬ" แล้วท่านเจอะหัวท้าย อุดสีผึ้งสามนาม (สีผึ้งสามนาม เป็นสีผึ้งชั้นยอดที่ผสมจากสีผึ้งครูของหลวงปู่บุญคือ สีผึ้งหลวงพ่อทาบ วัดกระบกขึ้นผึ้ง, สีผึ้งหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ, สีผึ้งหลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม) เท่านั้นยังไม่พอท่านได้คลุกเคล้าผงหลวงปู่แก้ว แห่งวัดเครือวัลย์ ลงไปด้วย

    "ตะกรุดเถาวัลย์อาถรรพ์" เถาวัลย์หลงพันดงสวาท อุดสีผึ้งสามนาม สร้างจำนวน 1,000 ดอก ร่วมบุญบูชาดอกละ 250 บาท

    ติดต่อบูชาได้ที่พระครูโสภณพัฒนภิรม วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี, วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ (นนทบุรี) วัดทุ่งครุ(พระประแดง) วัดกระจับพินิจ วัดหิรัญรูจี วัดหัวลำโพง และศูนย์พระเครื่องชั้นนำทั่วไป


    ----------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHhNaTB5TXc9PQ==
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,794
    ครับบทความดีครับ
     
  3. ต้อมบ้านสวน

    ต้อมบ้านสวน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +264
    เราอยู่ชลบุรีไม่ยักกะรู้ว่าวัดทุ่งเหียงมีของดีต้องไปหาท่านสักกะหน่อยแล้วชอบจริงๆเลยตะกรุดเนี่ย
     
  4. thisisclick

    thisisclick สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +17
    อยากฟังประสบการณ์
    อยากรู้จัง ของท่านแรงขนาดไหน
    ต้องไปหาซะแล้ว
     
  5. elleelle

    elleelle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2008
    โพสต์:
    281
    ค่าพลัง:
    +199
    หลวงปู่บุญ ท่านส่งเด็กยากจนจนเรียนจบสูงๆมาเยอะแล้ว เคยฟังเรื่องของท่านมาบ้าง ขออนุโมทนาบุญ ด้วยครับ สาธุๆๆ
     
  6. Pishate

    Pishate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +135
    ดูจากรูป เหมือนๆตระกรุดแบบหลวงปู่กาหลงเลยครับ หมายถึงว่าไม่ได้จารเองมีคนทำให้ หรือป่าว
     
  7. ka-sem

    ka-sem สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +6
    ชอบตะกรุดมาก อยากได้มาบูชาสักดอกจังครับ
     
  8. ราเมง

    ราเมง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +120
    ต้องรีบไปบูชาซะแล้ว
     
  9. ละอ่อน

    ละอ่อน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +25
    มีให้บูชาทางไปรษณีย์หรือเปล่าครับ
    กรุณาลงชื่อที่อยู่และเบอร์ติดต่อกลับให้ด้วยครับ
     
  10. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
    ที่วัดท่านจะจารวัตถุมงคลเองทุกอย่าง ตะกรุดที่วัดท่านก็มีหลายอย่าง เช่น นารายทรงปืน พระท่านก็ทำแบบโบราณทุกอย่าง ตั้งแต่ตำมวลสาร ผสม กดพิมพ์มือ ชาวบ้านแถวนั้นก็มาช่วยท่านครับ ท่านจะเก่งเรื่องผงวิเศษ ๕ ประการตามตำราวัดระฆัง เพราะท่านเรียนมาโดยตรงจากวัดระฆัง สมเด็จของท่านแกะพิมพ์มาจากสมเด็จองค์จริงราคาหลักล้าน แต่นำมาขยายพิมพ์ให้ใหญ่ขึ้น ไปกราบท่านได้ครับ ท่านเย็น คนไม่เยอะ และยังได้ทำบุญเลี้ยงเด็กกำพร้าด้วย
     
  11. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
    เด๋วจะหาข้อมูลมาให้ครับ แนะนำสีผึ้งครับ ตลับละ 200 แต่ติดต่อที่วัดเองน่ะครับ ไม่มีี่ที่ศูนย์
     
  12. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
    แนะนำครับท่านเมตตาดีมาก และยังได้ทำบุญกับเด็กด้อยโอกาสที่ท่านดูแลอยู่ด้วยครับ ที่วัดยังมีของดีอีกมากมายครับ
     
  13. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
  14. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
    [​IMG]
    หลวงปู่บุญ โสภโณ (พระครูโสภณพัฒนาภิรม)
    วัดทุ่งเหียง ต.หมอนนางอ.พนัสนิคมจ.ชลบุรี โทร 038-293-558
     
  15. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
    ประวัติ
    [​IMG]

    หลวงปู่บุญ โสภโณ หรือนามตามสมณศักดิ์ พระครูโสภณพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดทุ่งเหียง อายุ 78 ปี 57 พรรษา เป็นพระเกจิแห่งยุคอีกองค์หนึ่งที่มีวัตรปฏิบัติงดงาม มีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาอย่างหาที่สุดมิได้ มีสมาธิจิตใจอันแน่วแน่เด็ดเดี่ยวมั่นคง วัตถุมงคลของท่านที่สร้างแต่ละครั้งครา ล้วนได้รับความนิยมด้วยแรงศรัทธาและประสบการณ์ ทั้งด้านเมตตาค้าขาย คงกระพันชาตรี ทวีโชคโภคทรัพย์

    หลวงปู่บุญ โสภโณ เป็นพระเถระที่เจริญด้วนพรหมวิหารธรรม สั่งสมสร้างบุญญาบารมีอันกว้างไกลไม่มีประมาณ ตั้งแต่พื้นราบฝั่งตะวันออกจรดภูผาป่าดอยขุนเขาทางภาคเหนือที่ท่านรับอุปการะเด็กน้อยผู้ด้อยโอกาสชาวไทยภูเขา ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาไปแล้วว่ากว่าสองพันราย

    สร้างบุคคลากรให้แก่พระพุทธศาสนา ทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ทั้งพระภิกษุและสามเณรหลายร้อยรูป

    นี่คือประจักษ์พยานที่เป็น
     
  16. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
    บูรพาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิทยา
    [​IMG]

    หลวงปู่บุญ ในสมณะเพศนอกจากสนใจการศึกษาข้ออรรถข้อธรรม การเจริญสมาธิภาวนาตามพุทธวิธีแล้ว ท่านยังสนใจศึกษาวิชาอาคมการสักเสกเลขยันต์ต่าง ๆ อีกด้วย

    เมื่อมีโอกาสหลวงปู่บุญจะเดินทางไปเรียนวิชากับครูอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั้งสายบรรพชิตและสายฆราวาสหลายท่าน อาทิ

    หลวงปู่เส็ง วัดประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ผู้สร้างเหรียญโภคทรัพย์ นางกวักอันโด่งดัง

    พระครูสังวรกิตติคุณ ( หลวงพ่อเอีย ) วัดบ้านด่าน อ. ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ศิษย์สายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท

    หลวงพ่อคล้าย จันทสุวัณโณ วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช ผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์เคยกล่าวกับพระอาจารย์บุญเมื่อไปกราบนมัสการที่ปักษ์ใต้ว่า
     
  17. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
    นอกจากหลวงปู่บุญท่านมีครูบาอาจารย์ดี วิชาเข้มขลัง พลังศักดิ์สิทธิ์ บุญฤทธิ์บารมีแล้ว ท่านยังเจริญด้วยพรหมวิหารธรรมโดยเฉพาะด้านเมตตามากที่สุดด้วย
    เมื่อปี 2529 ท่านจาริกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ บนดอยสูงอาทิ ดอยปางอุ๋ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นท้องถิ่นทุรกันดาร ชาวเขาอยู่กันแบบตามมีตามเกิด เด็กชาวเขาขาดโอกาสทางการศึกษา ส่วนใหญ่อยู่อย่างยากจนเยาวชนไม่มีอนาคตที่แน่นอน

    ด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา ท่านได้เห็นสภาพทุกเวทนาของผู้ยากไร้ ขาดปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ ถูกสังคมทอดทิ้ง พูดเขียนอ่านภาษาไทยได้บ้างไม่ได้บ้าง(ทั้งๆ ที่เกิดและอาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย)

    ชาวเขาสมัยนั้นนับถือภูติผี ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา หลวงปู่บุญท่านได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้รู้จักสวดมนต์ไหว้พระ รู้จักการเรียนเขียนอ่านภาษาไทย ให้การสงเคราะห์เครื่องอุปโภคบริโภค เวชภัฑ์ยารักษาโรค

    ชาวเขาจึงศรัทธาท่านในฐานะหลวงปู่ผู้เมตตา เป็นผู้ให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่ชีวิต ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ โดยเฉพาะ “ม้ง” ทะยอยเข้ามานับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น ชาวเขาที่มีบุตรชายก็นำมาขอบวชเป็นสามเณรเพื่อได้มีโอกาสเล่าเรียนเขียนอ่านภาษาไทย ศึกษาพระปริยัติธรรม

    เพื่อความสะดวกในการอุปการะให้การศึกษาสงเคราะห์ ท่านได้นำเด็กชาวเขาเดินทางมาอุปการะเลี้ยงดูให้เรียนหนังสือที่วัดทุ่งเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี จากเด็กชาวเขาจำนวนไม่กี่สิบ เพิ่มเป็นจำนวนร้อย และหลาย ๆ ร้อยคนในที่สุด

    หลวงปู่บุญจึงได้ตั้งโรงเรียนพระปริยติธรรมและทุนนิธิฯที่วัดทุ่งเหียงเพื่ออุปการะเลี้ยงเด็กชาวเขาเหล่านี้ที่ผลัดเปลี่ยนรุ่นต่อ ๆ มาไม่ขาดสาย จากชาวเขาชาวดอยจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร ฯลฯ

    ตลอดเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ท่านสร้างโอกาสสร้างชีวิตใหม่ให้กับเด็กผู้ยากไร้ ให้มีการศึกษา มีอนาคต อ่านเขียนเรียนหนังสือไทย จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับมัธยม ระดับอาชีวะ จนถึงระดับอุดมศึกษาประมาณ 2,000 กว่าราย โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน ท่านเลี้ยงเหมือนลูกเหมือนหลาน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นคนดีของสังคม เป็นบุคลากรที่อุดมของประเทศชาติ

    ปัจจุบันมีเด็กอยู่ในความดูแลหลวงปู่บุญ ร่วม 400 คน มีสามเณรอีก 80 รูป รายจ่ายค่าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เครื่องเขียนแบบเรียน หลวงปู่รับภาระทั้งหมด !!!

    หลวงปู่บุญ โสภโณท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างมาก เพื่อเลี้ยงเด็กเหล่านั้นด้วยเมตตา หลวงปู่กล่าวว่า......อีกไม่นานท่านก็ตายแล้วความดีต้องรีบทำ ท่านยอมอดดีกว่าให้เด็ก ๆ เหล่านี้อด ……..

    ด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตาอย่างหาที่สุดมิได้ เป็นจิตที่ดำเนินแบบพระโพธิสัตว์ที่เปี่ยมด้วยเมตตาบารมีหาที่สุดมิได้ไม่มีประมาณ
     
  18. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
    [​IMG]
    เมื่อปี พุทธศักราช 2529 อาตมภาพ(หลวงปู่บุญ วัดทุ่งเหียง ) ได้เดินธุดงค์ไปในเขตอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเขตอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น ม้ง, กระเหรี่ยง, มูเซอ ฯลฯ สภาพภูมิประเทศเป็นป่าเขา ชุมชนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ มีอาชีพเกษตรกรรม โดยวิธีการทำไร่เลื่อนลอย ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งที่แน่นอน กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขา มีรายได้จากการปลูกฝิ่น หาของป่า ชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้น ขาดความรู้ความเข้าใจด้านสุขอนามัย อาหารที่ใช้บริโภคเป็นยอดไม้ ยอดผัก เผือก และมัน ที่หาได้จากป่า เมื่อมีโอกาสจำนำสินค้ามาขายยังพื้นราบ นอกจากเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่จำเป็นแล้ว เขาเหล่านั้นจะซื้อหา เกลือซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารที่ทุกครัวเรือนต้องมี การคมนาคม เดินทางด้วยเท้า หรือม้า ชาวเขาเหล่านั้น นับถือผีเป็นพระเจ้า พิธีกรรมต่าง ๆ นั้นขึ้นอยู่กับผีตามความเชื่อ แม้แต่การรักษาการเจ็บป่วยต้องใช้วิธีบนบาน บอกกล่าวผี
    ภาษาที่ใช้เป็นภาษาท้องถิ่นของเผ่านั้น ๆ บางครั้งต่างเผ่ากัน ยังสื่อสารโต้ตอบไม่เข้าใจกันเลย
    ครั้นความเจริญจากพื้นราบรุกคืบสู่ดอยสูง เด็กสาวจากเผ่าต่าง ๆ คนแล้วคนเล่าจำต้องทิ้งถิ่นฐานเดินทางเข้าสู่เมือง เพื่อแลกกับความสะดวกสบาย ที่ครอบครัวของตนเองจะได้รับ เด็กสาวจำนวนมากเสียชีวิต ไม่มีโอกาสที่จะกลับบ้านเกิด ตั้งแต่วันที่ลงจากดอย
    “อาตมาภาพเห็นแล้วรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่ง”
    ปัญหาของชาวเขาเหล่านี้ เกิดจากการไม่รู้หนังสือ อ่าน เขียน และพูดภาษาไทยไม่รู้เรื่อง ทั้ง ๆ ที่เป็นคนไทย มีทะเบียนบ้านมีใบเกิด มีบัตรประชาชน “ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ อาจเป็นปัญหาแก่บ้านเมืองได้” อาตมายังคงครุ่นคิด หาหนทางแก้ปัญหานี้มาตลอด
    พ.ศ. 2530 อาตมาจึงสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นที่บ้านปางอุ๋ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเขตติดต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาวบ้านที่นี่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เริ่มแรกมีพระไปจำพรรษาจำนวน 3 รูป นอกจากจะปลูกฝังหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแล้ว พระสงฆ์เหล่านั้นยังต้องฝึกสอนภาษาไทย ให้ชาวม้งอ่านออกและเขียนได้
    “แม้ช่วงเวลาจำพรรษาจะสั้นนัก แต่ก็ต้องเริ่มทำ”
    ด้วยความยากลำบากนี้เอง ครั้นพอออกพรรษา คงเหลือพระสงฆ์เพียงรูปเดียว ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่คิดไว้ได้
    “โครงการสร้างทรัพยากรมนุษย์ผู้ด้อยโอกาส” จึงเกิดขึ้นที่วัดทุ่งเหียง ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เบื้องต้น อาตมภาพประสงค์จะนำนักเรียนไม่เกิด 20 คนมาศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่อยู่ใกล้ ๆ วัด ครั้นเรียนจบแล้วให้กลับไปสอนเด็กชาวเขาที่หมู่บ้านของตนเอง
    สิ่งที่ทำให้อาตมามีกำลังใจที่จะทำโครงการนี้ต่อไป เกิดขึ้นเมื่อวันที่นำรถจากวัดทุ่งเหียง เดินทางไปรับเด็กชาวเขาที่จะมาเรียน ปรากฏว่ามีเด็กมารอที่จะเดินทาง 45 คน ซึ่งเกินจำนวนที่เราคัดเลือกไว้
    จากวันนั้น มีชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ทยอยส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาในวัดทุ่งเหียงตามแนวทางที่วางไว้ กล่าวคือ เด็กผู้หญิงให้ศึกษาตามความสมัครใจจนจบชั้นสูงสุด เท่าที่เด็กจะเรียนได้ เด็กผู้ชายเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะต้องบวชเป็นสามเณร และศึกษาต่อในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ระดับชั้น ม.1 ถึง ม.6 ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัด จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และสามารถเรียนต่อจนจบชั้นสูงสุด ได้ตามความต้องการ เพื่อให้เกิดภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป โดยทั้งสองกรณี จะอยู่ในความอุปการะของวัดทุ่งเหียง
    เยาวชนชาย-หญิงที่เข้ามาศึกษาอยู่ในวัดทุ่งเหียงมาจากหลายจังหวัด เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน เป็นต้น กิจกรรมของโครงการยังคงดำเนินต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน

    [​IMG]
    สภาพปัจจุบัน
    วัดทุ่งเหียง ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีพระครูโสภณพัฒนาภิรม (หลวงปู่บุญ) เป็นเจ้าอาวาส มีพระภิกษุและสามเณรอยู่ในความปกครอง ๑๐๐ กว่ารูป มีเยาวชนชาวไทยภูเขาที่ยากจนและเป็นเด็กกำพร้าด้อยโอกาสทางการศึกษาอีก ๕๐๐ กว่าคน ซึ่งเยาวชนเหล่านี้อยู่ในความดูแลของทางวัดในทุกๆด้าน เช่น ที่อยู่อาศัย-อาหาร-เสื้อผ้า-ยารักษาโรค-อุปกรณ์การเรียน ฯลฯในแต่ละปีทางวัดต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากนับว่าเป็นภาระที่หนักพอควร ทั้งนี้ เพราะทางวัดไม่มีมูลนิธิมารองรับและทางภาครัฐก็ไม่ได้ให้การช่วยเหลือแต่ประการใด ทางวัดต้องอาศัยกำลังศรัทธาจาก พุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่มาบริจาค ข้าวสารอาหารแห้งตลอดทั้งอุปกรณ์การเรียน แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

    ด้วยเหตุนี้ ทางวัดจึงจำเป็นต้องบอกบุญมายังท่านผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย ได้ช่วยกันบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา เพื่อจะได้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆต่อไป หรือถ้าหากท่านมีเวลาพอที่จะเดินทางมาเป็นเยี่ยมหรือร่วมทำบุญกับทางวัดโดยตรงก็ขอเรียนเชิญมาได้ โดยจะมาเป็นคณะ หรือเฉพาะครอบครัวก็สุดแล้วแต่สะดวก ขออนุโมทนามา ณ โอกาสนี้
    สิ่งของจำเป็นที่ทางวัดต้องการ
    1. ข้าสารอาหารแห้งทุกชนิด
    2. อุปกรณ์การเรียน เช่น สมุด-ปากกา เป็นต้น
    3. เสื้อผ้าเก่าและใหม่ทั้งของผู้หญิงและชาย
    4. ของใช้ที่จำเป็น เช่น สบู่-ยาสีฟัน-แปรงสีฟัน-ผงซักฟอก ฯลฯ
    5. หนังสือเรียนของพระภิกษุสามเณร บาลี-นักธรรม ตรี-โท-เอก
    6. อัฏฐบริขารของพระภิกษุและสามเณร
     
  19. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
    กำเนิดวัด ในปี พ.ศ. 2477
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    ประชาชนที่อพยพขึ้นมาหักล้างถางพงสร้างที่ทำมาหากินได้จำนวนหนาแน่นขึ้นซึ่งส่วนมากบุคคลเหล่านี้อพยพมาจาก บ้านหนองกระรอก บ้านนามะตูม บ้านหมอนนาง และหมู่บ้านอื่น ๆ บ้างแต่เป็นเพียงส่วนน้อย ส่วนมากได้มีพื้นเพในการนับถือศาสนามาก่อนแล้ว เมื่อได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเช่นนั้น ความสำนึกในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีเป็นทุนเดิมอยู่ในจิตใจ จึงบังเกิดความคิดในอันที่จะให้มีการจัดสร้างวัดขึ้นในชุมชนแห่งนี้ โดยมีนายเผือก พูลสวัสดิ์ อดีตกำนัน นายพัน นางกี๊ บุญมะ นายดง เขียวชะอุ่มนายยู้ ศรีหงษ์ นายหลี สงแพง นายสุข อุมา นายคำ พันสนิทนายเสนาะ พันสนิท และบุคคลอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากได้รวบรวมกัน นำความคิดในเรื่องการสร้างวัดไปกราบเรียนหลวงพ่อโด่ (พระครูพินิจสมาจาร) เจ้าอาวาสวัดนามะตูมซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะพระสังฆาธิการ ปกครองท้องที่หมู่บ้านทุ่งเหียงอยู่ท่านมีความเห็นชอบในเรื่องนี้ ประจวบกับท่านมีที่ดินที่ได้รับมรดกมาจากโยมบิดาของท่านคือ ปู่แพ อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านแห่งนี้ ประมาณ 10 ไร่ ท่านจึงได้มอบเนื้อที่ดังกล่าวนั้นให้เป็นที่สร้างวัดในเบื้องแรก ตลอดจนท่านได้มีเมตตาจัดหาพระภิกษุจำมาพรรษาในครั้งแรกคือ พระอาจารย์ เอม จากวัดหมอนนาง (หนองบัว) พร้อมด้วยพระภิกษุติดตามขึ้นมาด้วย 4 - 5 รูป

    การก่อสร้างเสนาสนะได้เริ่มดำเนินการในระยะแรก ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง กุฏิสงฆ์เพียง 2 หลัง ให้เป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ไปพลางก่อนนับว่าชาวบ้านทุ่งเหียงได้มีวัดประจำหมู่บ้านขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยความเมตตาของท่าน พระครูพินิจสมาจาร (หลวงพ่อโด่) ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    การดำเนินการสร้างวัดทุ่งเหียง ในสมัยริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา คณะทายก ทายิกา ก็ได้ทำการก่อสร้างเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเสนาสนะถาวรวัตถุมาโดยตลอด แต่ก็เป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปทั้งนี้ เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจชาวบ้านยังอยู่ในลักษณะยากจนโดยทั่ว ๆ ไปจะมีผู้มีฐานะดีบ้างก็เป็นส่วนน้อยประกอบด้วยทางคมนาคมไปมาติดต่อกับภายนอก ยังอยู่ในเขตจำกัดไม่เอื้ออำนวยให้
    พระสงฆ์ที่เป็นเจ้าอาวาสก็ได้มีการสับเปลี่ยนมาโดยตลอด บางองค์อยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้เพียง 4 หรือ 5 พรรษา ก็สึกหาลาเพศไป การพัฒนาวัดเมื่อได้มีการเปลี่ยนผู้บริหารบ่อย ๆ การพัฒนาวัดจึงต้องหยุดลงเป็นธรรมดา

    การเริ่มพัฒนาวัด

    ตราบถึงปี พ.ศ. 2493 วัดทุ่งเหียงได้มีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสรูปใหม่ คือ ทางเจ้าคณะพระสังฆาธิการในสมัยนั้น คือ พระครูพินิจสมาจาร (หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม ได้แต่งตั้งให้ พระเปี่ยม เมตฺติโก เป็นพระภิกษุที่มีพรรษากาลพอสมควร อีกทั้งท่านเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ใน จังหวัดพระนครมาแล้ว แต่ท่านขอลาออกมาเพื่อแสวงหาครู อาจารย์ที่จะเป็นผู้แนะแนวในการปฏิบัติธรรม จึงจาริกออกมา พระครูพินิจสมาจาร จึงนิมนต์ให้ท่านรับเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งเหียง

    เมื่อท่านได้ยินยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้วท่านจึงได้ใช้ความพยายามปรับปรุงเสนาสนะตลอดจนถาวรวัตถุของวัด ให้เจริญมากขึ้นโดยลำดับ ประจวบกับในสมัยที่ท่านรับเป็นเจ้าอาวาส หมู่บ้านทุ่งเหียงที่เคยปราศจากเส้นทางคมนาคมแห่งนี้ก็ได้จัดให้มีการสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกับ อำเภอพนัสนิคมได้สำเร็จ การสัญจรไปมา การลำเลียงพืชผลทางการเกษตร อันเป็นอาชีพหลักของหมู่บ้านแห่งนี้จึงได้รับความสะดวก พืชผลถูกลำเลียงออกสู่ตลาดภายนอกสร้างฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น จำนวนประชาชนในท้องถิ่นทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยการอพยพมาทำการบุกเบิกประกอบอาชีพต่าง ๆ มีการตั้งโรงเลื่อย โรงสีขนาดกลางและขนาดใหญ่ บังเกิดเป็นชุมชน

    จำนวนพระภิกษุสงฆ์ในวัดทุ่งเหียงที่เคยมีจำนวนเพียง 5 - 10 รูปในพรรษากาล ก็ได้ทวีจำนวนมากขึ้นเป็น 20 - 30 รูปอันนับว่าเป็นปึกแผ่นแก่การพระศาสนา ซึ่งก็ไม่ค่อยจะปรากฏนักสำหรับในชนบทเช่นนี้ การก่อสร้างเสนาสนะที่อยู่อาศัยแก่พระภิกษุสงฆ์จึงจำเป็นจะต้องกระทำอย่างยิ่งและต่อเนื่อง อีกทั้งเนื้อที่เดิมของวัดมีบริเวณจำกัด เนื่องจากได้ถูกแบ่งให้เป็นเนื้อที่ของโรงเรียนวัดทุ่งเหียงเสียส่วนหนึ่ง ทางคณะทายก ทายิกาของวัดจึงพร้อมใจกันจัดซื้อที่ดินด้านตะวันออกของวัดอันเป็นที่ดินของ นายทอง รุ่งเรือง และนายถุ่น เสือขาว ประมาณเนื้อที่ 10 ไร่ เมื่อได้รวมกับเนื้อที่เดิมแล้วคงมีเนื้อที่ประมาณ 17 - 18 ไร่ สะดวกในการที่จะขยายบริเวณวัดออกไปอีก


    ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ทางวัดประกอบด้วยท่านเจ้าอาวาส ทายก ทายิกาของวัด ได้เล็งเห็นว่าวัดก็นับว่าเป็นปึกแผ่นมีจำนวนพระภิกษุ สามเณรอยู่จำพรรษามีจำนวนมากพอสมควร การประกอบสังฆกรรมของพระภิกษุ เช่น การสวดพระปาติโมกข์ การอุปสมบทบรรพชา การประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันวิสาขบูชาฯ และวันอื่น ๆ จำต้องไปอาศัยสถานที่ของวัดอื่น สร้างความยากลำบากให้แก่พระภิกษุในวัด จึงเห็นพ้องต้องกันในอันที่จะให้มีการสร้างพระอุโบสถขึ้นภายในวัด เมื่อได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงเริ่มทำพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยอารธนาหลวงพ่อเสือ วัดไผ่สามกอ มาเป็นองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ และได้ดำเนินการขอวิสุงคามสีมาขึ้นไปตามลำดับ จนได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
     
  20. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
    [​IMG]

    วัดทุ่งเหียง ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันมีพระครูโสภณพัฒนาภิรม (หลวงปู่บุญ) เป็นเจ้าอาวาส มีพระภิกษุและสามเณรอยู่ในความปกครอง ๑๐๐ กว่ารูป มีเยาวชนชาวไทยภูเขาที่ยากจนและเป็นเด็กกำพร้าด้อยโอกาสทางการศึกษาอีก ๔๐๐ กว่าคน ซึ่งเยาวชนเหล่านี้อยู่ในความดูแลของทางวัดในทุกๆด้าน เช่น ที่อยู่อาศัย-อาหาร-เสื้อผ้า-ยารักษาโรค-อุปกรณ์การเรียน ฯลฯในแต่ละปีทางวัดต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากนับว่าเป็นภาระที่หนักพอควร ทั้งนี้ เพราะทางวัดไม่มีมูลนิธิมารองรับและทางภาครัฐก็ไม่ได้ให้การช่วยเหลือแต่ประการใด ทางวัดต้องอาศัยกำลังศรัทธาจาก พุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่มาบริจาค ข้าวสารอาหารแห้งตลอดทั้งอุปกรณ์การเรียน แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน
    ด้วยเหตุนี้ ทางวัดจึงจำเป็นต้องบอกบุญมายังท่านผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย ได้ช่วยกันบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา เพื่อจะได้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆต่อไป หรือถ้าหากท่านมีเวลาพอที่จะเดินทางมาเป็นเยี่ยมหรือร่วมทำบุญกับทางวัดโดยตรงก็ขอเรียนเชิญมาได้ โดยจะมาเป็นคณะ หรือเฉพาะครอบครัวก็สุดแล้วแต่สะดวก ขออนุโมทนามา ณ โอกาสนี้
    สิ่งของจำเป็นที่ทางวัดต้องการ
    1. ข้าวสารอาหารแห้งทุกชนิด
    2. อุปกรณ์การเรียน เช่น สมุด-ปากกา เป็นต้น
    3. เสื้อผ้าเก่าและใหม่ทั้งของผู้หญิงและชาย
    4. ของใช้ที่จำเป็น เช่น สบู่-ยาสีฟัน-แปรงสีฟัน-ผงซักฟอก ฯลฯ
    5. หนังสือเรียนของพระภิกษุสามเณร บาลี-นักธรรม ตรี-โท-เอก

    บริจาคโดยการโอนเงินเข้าบัญชี
    ธนาคารทหารไทย สาขา พนัสนิคม
    ประเภทบัญชี ออมทรัพย์
    ชื่อบัญชี พระครูโสภณพัฒนาภิรม
    หมายเลขบัญชี 421-2-02762-9

    หรือบริจาคโดยตรงที่
    วัดทุ่งเหียง
    ตำบลหมอนนาง
    อำเภอพนัสนิคม
    จังหวัดชลบุรี 20140
    โทรศัพท์ 0-3829-3558
    085-2815918 (หลวงปู่บุญ)
    โทรสาร. 0-3846-6155

    http://pooboon.igetweb.com/
    [​IMG]
    มีรถเมล์ สาย พนัสนิคม-บ่อทอง วิ่งผ่านหน้าวัด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...