ด้วยพระบุญญาธิการ 20 ช้างเผือกคชสารแห่งบารมี

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 10 พฤศจิกายน 2008.

แท็ก: แก้ไข
  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    <table class="news2006_topic" width="595" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td rowspan="3">
    </td> <td width="585" height="10">สร้าง"คชาภรณ์"ทองคำ พระเศวตอดุลยเดชพาหน ช้างเผือกคู่พระบารมีครองราชย์ 60 ปี</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td class="news2006_graylight" height="10">โดย มติชน <script language="JavaScript" src="http://news.sanook.com/global_js/global_function.js"></script><!--START-->วัน จันทร์ ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2549 07:07 น.</td> </tr> </tbody></table> <table width="595" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td height="10">
    </td> </tr> </tbody></table> <table class="news2006_black" width="595" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td rowspan="4" width="10">
    </td> <td width="575">งาน สำคัญยิ่งและภาคภูมิใจงานหนึ่งของกรมศิลปากร ในช่วงวโรกาสมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี นอกเหนือจากงานหลายๆ งานที่รับผิดชอบดูแลอยู่

    คือการจัดสร้าง "คชาภรณ์" เครื่องทรงช้างต้น *พระเศวตอดุลยเดชพาหน* ซึ่งวาระครองราชย์ครบ 60 ปี-ปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้จัดสร้างคชาภรณ์ชุดใหม่แก่พระเศวต อดุลยเดชพาหน

    [​IMG]"พระเศวตอดุลยเดชพาหน" หรือ ชื่อเต็มว่า *พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า*

    *เป็นช้างเผือกคู่พระบารมีช้างแรกที่ ได้รับการน้อมเกล้าฯถวาย เมื่อปี 2501 ปัจจุบันคาดว่าน่าจะอายุ 60 ปี เท่ากับปีครองสิริราชสมบัติ*

    *อารักษ์ สังหิตกุล* อธิบดีกรมศิลปากร เล่าถึงการรับสนองพระบรมราชโองการในเรื่องนี้ว่า พระเศวตอดุลยเดชพาหน เป็นช้างพลายเผือกโท นับเป็นช้างเผือกช้างแรกในรัชกาลที่ 9 ซึ่งนายแปลก ราษฎรจังหวัดกระบี่ คล้องได้เมื่อ พ.ศ.2499 จากนั้น พล.ท.บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในตอนนั้น น้อมเกล้าฯถวาย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2501
    พระเศวตอดุลเดชพาหนฯ

    จาก นั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์โรงช้างต้นที่พระเศวตวชิรพาหล ช้างเผือกในรัชกาลที่ 6 เคยยืนโรงมาก่อน ให้เป็นที่ยืนชั่วคราว เพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีสมโภชและขึ้นระวางช้างเผือก ในวันที่ 10-11 พฤศจิกายน พ.ศ.2502 แล้วพระราชทานนามว่า "พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ"

    เมื่อ เสร็จพระราชพิธีต่างๆ แล้ว โปรดเกล้าฯให้ไปยืนโรงที่เขาดินวนาเป็นการชั่วคราว จนโรงช้างต้นในบริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดาสร้างเสร็จ จึงได้ย้ายไปยืนโรงที่นั่นจนทุกวันนี้

    วันเวลาที่ผ่านไป จากลูกช้างเผือก พระเศวตฯได้เติบใหญ่ขึ้นเป็นช้างพลายหนุ่มอายุย่าง 60 สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ คชาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานเมื่อยังเป็นลูกช้างอยู่นั้น บัดนี้กลับกลายเป็นเสมือนเสื้อผ้าที่ไม่สมส่วน มีขนาดเล็กกระจิริด เวลาทรงแล้วไม่เหมาะสม

    "จากการที่ในหลวงของเราทรง มีความละเอียดอ่อนและทรงมองทุกอย่างอย่างถี่ถ้วน จึงมีรับสั่งให้สร้างคชาภรณ์ชุดใหม่ขึ้นให้เหมาะสมกับพระเศวตฯ โดยให้กรมศิลปากรดำเนินการ ซึ่งเวลานี้ได้มอบหมายให้ช่างสิบหมู่ออกแบบคชาภรณ์ตามโบราณราชประเพณี นับเป็นคชาภรณ์ชุดที่สองของพระเศวตฯ" โรงช้างต้นของพระเศวตอดุลเดชพาหนฯ

    สำหรับ การออกแบบเครื่องคชาภรณ์ของพระเศวตฯนี้ กรมศิลปากรได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินงาน โดยมอบหมายให้ช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ดำเนินการ และขั้นตอนการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว และผ่านพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนจัดหาวัสดุต่างๆ

    ซึ่ง อธิบดีกรมศิลปากรบอกว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะแม้แต่ "ขนจามรี" ซึ่งต้องไปหามาจากประเทศทิเบต ก็อัศจรรย์ยิ่ง เพราะมีเพื่อนอธิบดีจู่ๆ ก็นำมาให้จากประเทศเนปาล

    การจัดสร้าง คชาภรณ์ ของพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ อธิบดีกรมศิลปากรคาดว่า จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2549 ทันกับงานเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงครองราชย์ครบ 60 ปี

    เพราะเครื่องคชาภรณ์นั้น ปกติจะทรงเวลาช้างยืนแท่นเป็นเกียรติยศกับพระเจ้าอยู่หัว

    " จะมีพระราชพิธีหรืออะไรก็แล้วแต่ ถ้าช้างไปยืนเกยเพื่อเป็นเกียรติยศแก่พระเจ้าอยู่หัว ช้างต้นจะต้องทรงเครื่องคชาภรณ์เต็มยศ เพราะนั่นคือยศของท่าน และงานฉลองครองราชย์ 60 ปี มีวาระสำคัญๆ หลายวาระด้วยกัน ซึ่งเครื่องคชาภรณ์ที่จัดสร้างขึ้นนี้ เป็นคชาภรณ์ที่พระเศวตฯต้องทรงในงานครองราชย์ครบ 60 ปี"

    เพราะจาก ความเชื่อของคนไทย หรือแม้แต่ในพระพุทธศาสนา "ช้าง" เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นมงคลแห่งการบำเพ็ญบารมี และมีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ประเทศชาติอยู่อย่างสงบร่มเย็น

    ดังนั้น การได้ช้างเผือกไว้คู่รัชกาล จึงนับเป็นแก้ว 1 ใน 7 ดวง ตามความเชื่อในเรื่องจักรวรรดิปุรุษะ ที่กล่าวว่า

    " ความเป็นพระจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์ จะสมบูรณ์และเปี่ยมไปด้วยบารมีอย่างยิ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นถึงพร้อมด้วยมณีสำคัญ 7 ดวง" ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว นางแก้ว และดวงแก้ว

    ช้าง แก้วในความเชื่อนี้คือ "ช้างมงคล" หรือ "ช้างเผือก" นั่นเอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงมีช้างเผือกคู่พระบารมีถึง 12 ช้าง นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในโลกปัจจุบันที่ทรงมีช้างเผือกคู่พระ บารมี<!--END--> <!--PICLIST--> </td> <td rowspan="4" width="10">
    </td> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> <td class="news2006_graylight" align="right">อ่านข่าวทั้งหมดของ มติชน ได้ที่นี่
    [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> </td> </tr> </tbody></table> <table width="100%" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0"><tbody><tr><td width="49%"><script language="javascript"> spac_writeAd("site=sanook.com/area=sanook.news.crime/position=pos.center2/aamsz=text/method=jscript", 52); </script><script src="http://b.as.sanook.com/jserver/SITE=SANOOK.COM/AREA=SANOOK.NEWS.CRIME/POSITION=POS.CENTER2/AAMSZ=TEXT/METHOD=JSCRIPT/PAGEID=332560786/ACC_RANDOM=694636115?"></script>[​IMG] </td> <td width="49%"><script language="javascript"> spac_writeAd("site=sanook.com/area=sanook.news.crime/position=pos.center3/aamsz=text/method=jscript", 52); </script><script src="http://b.as.sanook.com/jserver/SITE=SANOOK.COM/AREA=SANOOK.NEWS.CRIME/POSITION=POS.CENTER3/AAMSZ=TEXT/METHOD=JSCRIPT/PAGEID=332560786/ACC_RANDOM=701928131?"></script>[​IMG] </td> <td width="2%">
    </td></tr></tbody></table>
     
  2. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    [​IMG]

    ช้างเผือกคู่พระบารมี

    <o></o>
    ใน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเมืองทองธานี มีอยู่มุมหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นอาคารทรงไทยที่รวมภาพและเรื่องราวของพระราชพิธีสมโภชและขึ้นระวางช้าง สำคัญตั้งแต่ช้างตัวแรกจนถึงปัจจุบัน หรือตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันทรงครองราษฏร์มาเป็นระยะ เวลาครบ 60 ปี ถ้าเข้าใจ แบบชาวบ้านก็น่าจะเรียกว่าเป็นการฉลองต้อนรับช้างเผือกเชือกใหม่ ีการตั้งชื่อใหม่ที่เป็นมงคลเพื่อยกระดับให้สูงกว่าช้างทั่วไป โดยจะมีพิธีการตามจารีตประเพณีดั่งเดิม ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีของบ้านเมือง เป็นขวัญกำลังใจให้กับราษฏร
    ในสมัยพุทธกาลได้กล่าวถึงเรื่องราวช้างเผือกที่เป็นช้าง คู่บารมีของพระเวสสันดร ตอนที่พระเจ้ากลิงคราษฏร์ส่งทูตไปทูลขอช้างเผือกที่มีชื่อว่า "ปัจจัยนาค" เพื่อขจัดปัดเป่าความแห้งแล้งและข้าวยากหมากแพงในเมืองกลิงคราษฏร์ โดยเชื่อว่าช้างเผือกที่พระเวสสันดรทรงประทับนั้น มีอำนาจพิเศษ ถ้าอยู่เมืองใดก็จะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธ์จะอุดมสมบูรณ์ ซึ่งพระเวสสันดรก็ประทานให้ตามที่ขอ
    ช้างเผือก ตอนเด็กๆก็เข้าใจว่าเป็นช้างที่มีผิวหนังและขนสีขาว เหมือนคนเผือก หรือควายเผือกที่เห็นกันอยู่ทั่วไป แต่ผู้หลักผู้ใหญ่ก็สอนว่าช้างเผือกหรือช้างมงคลนั้นไม่ได้เป็นช้างตัวสี ขาวๆ แต่จะเป็นช้างที่มีลักษณะต้องตามตำรา ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านคชลักษณ์มาตรวจสอบว่าเข้าลักษณะตามตำราหรือ ไม่ และตำรานี้ก็มีต้นตำรับมาจากพราห์ม
    ลักษณะของช้างมงคลที่ถูกต้องตามตำรานั้นจะประกอบไปด้วย 7 ลักษณะ ได้แก่ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกศขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆอีกด้วย
    เมื่อเห็นว่าช้างใดที่มีลักษณะถูกต้องตามตำราก็จะต้อง ทูลเกล้าถวายแด่พระมหากษัตริย์เท่านั้น เจ้าของหรือบุคคลอื่นไม่มีสิทธิ์ครอบครอง เพราะถือว่าเป็นช้างที่เกิดมาเพื่อคู่บารมีของกษัตริย์ หากครอบครองหรือไม่บอกกล่าวก็จะมีความผิดต้องถูกจำคุกและถูกปรับ ปัจจุบันกฏหมายฉบับนี้ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 500 บาท
    ช้างเผือก ถือว่าเป็นช้างที่อยู่คู่บารมีของพระมหากษัตริย์มาหลายยุคหลายสมัย หากยุคใดกษัตริย์ใดมีช้างเผือกไว้ครอบครองมาก ก็จะแสดงถึงบุญญาธิการของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น และยังแผ่ไพศาลให้บ้านเมืองอยู่ร่มเย็นเป็นสุขอีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีข่าวว่าพบช้างเผือกที่ใด ก็ถือเป็น ข่าวมงคล สร้างความปลึ้มปิติไปทั่ว
    ในประวัติศาสตร์ของไทยกับพม่า หากใครพอจะจดจำเรื่องราวในตำราสมัยเรียนก็พอจะนึกออกว่า ไทยกับพม่า ก็เคยเกิดศึกสงครามเกี่ยวกับช้างเผือกถึง 2 ครั้ง 2 ครา ครั้งแรกเกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์(พระเฑียรราชา พ.ศ. 2091 - 2111) ที่มีช้างเผือกถึง 7 เชือก จนกิตติศัพท์นี้มีไปถึงพระเจ้าหงสาวดี ประเทศพม่า จึงมีพระราชสาส์นมาขอช้างเผือก แต่พระเจ้าจักรพรรดิ์ไม่ยอมส่งไปให้ พระเจ้าหงสาวดี จึงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา และช้างพระที่นั่งของพระเจ้าพระเจ้าจักรพรรดิ์เกิดเสียทีแก่ข้าศึก สมเด็จพระมเหสีสุริโยทัย ซึ่งแต่งพระองค์เป็น
    ชาย โดยเสด็จมาด้วยทรงเกรงว่าพระสวามีจะได้รับอันตราย จึงขับช้างเข้ามากันไว้ จนต้องคมอาวุธสวรรคตอยู่บนคอช้าง
    ยุทธหัตถีครั้งสำคัญที่ 2 ของกรุง ศรีอยุธยาคือ ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี ที่ตำบล หนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี ในการรบครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างพระที่นั่งคือเจ้าพระยาไชยยานุภาพซึ่งกำลังตก มัน เข้าทำยุทธหัตถีและมีชัยต่อพระมหาอุปราชาในสมรภูมิเดียวกันนี้
    คุณย่าของผมเคยเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ให้ฟังว่า คนสมัยก่อนถือว่าช้างเป็นสัตว์ที่ประเสริฐกว่าสัตว์ทุกชนิด มีความฉลาดและเข้าใจภาษามนุษย์ได้ดี เป็นพาหนะของเจ้านายฝ่ายสูงและเป็นเครื่องชี้แสดงถึงฐานะบรรดาศักดิ์ของผู้ นั้น ยิ่งเป็นช้างเผือกของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว ทุกคนจะให้ความยำเกรงและกราบไหว้ เพราะถือว่ามีบุญวาสนาสูงส่ง เป็นพาหนะให้กับพระมหากษัตริย์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันมีช้างเผือกคู่พระบารมีถึง 10 เชือก ถือว่ามีมากกว่ากษัตริย์พระองค์ใดในอดีต แสดงถึงพระบารมีและ บุญญาธิการอันสูงส่งที่แผ่ไพศาลให้กับอาณาประชาราษฏร์ เป็นที่ประจักษ์แก่คนไทยมาจนถึงทุกวันนี้<o></o>
    ช้างเผือกถือเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลมาแต่อดีต จนได้มีการนำรูปช้างเผือก(สีขาว)ติดไว้บนธงพื้นสีแดงในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้เปลี่ยนเป็นธง ไตรรงค์ในรัชกาลที่ 6 มาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้คำว่าช้างเผือกยังหมายถึงสิ่งที่หายาก มีความหมายในทางที่ดี
    ช้าง เป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับประเทศไทยและคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน มีการเลี้ยงดูและปฏิบัติต่อช้างด้วยดีเสมอมา แต่ปัจจุบันเได้ลดความสำคัญลงไปมาก มีการปฏิบัติต่อช้างอย่างน่าสมเพชเวทนา โดยนำมาเดินขอทานในเขตกรุงเทพและต่างจังหวัดจนเป็นเรื่องปกติ หลายคนเห็นแล้วก็เกิด ความสงสารที่เห็นช้างตัวเล็กตัวน้อยมาเดินกลางเมือง ต้องทนทุกข์กับสภาวะแวดล้อมอันเลวร้ายรอบด้าน ทั้งควัน เสียง และพื้นถนนที่ร้อนระอุ ุ เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นประเทศที่เรียกตัวเองว่าพัฒนาแล้ว ยิ่งมีคนบริจาคซื้ออาหารให้ก็ยิ่งเป็นการส่งเสริมให้นำช้างมาขอทานกันมาก ขึ้น หากคนไทยในอดีตมีโอกาสรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น คงรู้สึกเสียใจที่เห็นคนในยุคนี้ดูถูกดูแคลนกับสัตว์ที่คนสมัยก่อนถือว่า เป็นสัตว์ประเสริฐ และเป็น
    สัญลักษณ์ของสิ่งที่เป็นมงคลมาโดยตลอด
    สร้างโดย:
    ด.ญ. นพรัตน์ ชินปรเมษฐ์


    แหล่งอ้างอิง:
    http://www.photoontour.com/SpecialPhotos_HTML/60thcelebration/gallery05.htm


    http://www.thaigoodview.com/node/5524
     
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    <table width="780" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="34"><tbody><tr><td style="padding-left: 30px;">
    ช้างต้นคู่พระบารมี 60 ปีองค์ราชันย์
    </td></tr></tbody></table> <table class="text" width="780" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="middle">



    <table class="text" width="85%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>
    [​IMG]ตาม คติความเชื่อ ช้างเผือก หรือช้างสำคัญ หากเกิดในรัชกาลใด ถือเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและราชบัลลังก์ จึงมีประเพณีประกอบพระราชพิธีสมโภช เพื่อขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น

    คำว่า “ช้างต้น” หมายถึง ช้างที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือช้างศึกที่ทรงใช้ออกรบ ช้างเผือกซึ่งมีลักษณะต้องตามตำราคชลักษณ์อย่างสมบูรณ์ และช้างสำคัญซึ่งมีลักษณะมงคลตามตำราคชลักษณ์ แต่ยังไม่สมบูรณ์ทุกส่วน

    นับแต่โบราณมา กล่าวกันว่า เมื่อมีการพบช้างเผือกในรัชกาลใด เมื่อคล้องช้างเผือกมาได้แล้ว มักจะได้ลิงเผือก และกาเผือกตามมาด้วย จึงเชื่อกันว่าสัตว์ทั้ง 3 ชนิดนี้ อาจเป็นสหชาติคู่พระบารมี

    การใช้ลักษณนามต่อท้ายจำนวนช้าง มีความละเอียดอ่อนมาก ช้างป่า ที่ยังไม่ถูกจับตัวมา เรียกว่า “ตัว” เช่น ช้างป่า 1 ตัว ช้างป่าที่ถูกจับตัวมาแล้ว เรียกว่า “เชือก” เพราะถูกคล้องมาด้วยเชือก

    ส่วน “ช้างต้น” เมื่อผ่านพิธีสมโภชขึ้นระวางแล้ว จะเรียกว่า “ช้าง” เช่น ช้างต้นจำนวน 1 ช้าง

    การเป็น “ช้างเผือก” และ “ช้างมงคล” มิได้ถ่ายทอดลักษณะโดยพันธุกรรมจากแม่สู่ลูก แต่เกิดเป็นลักษณะพิเศษขึ้นเองโดยธรรมชาติ จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะพระบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น เทวะจึงให้กำเนิดช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากช้างทั่วไป

    ช้างเผือก จึงถือเป็น 1 ใน 7 รัตนะคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ อันได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว ดวงแก้ว (มณี) และ นางแก้ว

    ดังนั้น กว่าจะพบ “ช้างต้น” แต่ละช้าง จึงไม่ใช่เรื่องง่าย

    ช้างต้น ยังแบ่งออกเป็น 4 ตระกูล เรียกตามนามแห่งเทวะผู้ให้กำเนิด ดังนี้

    ช้างตระกูล พรหมพงศ์ เชื่อกันว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้ เมื่อมาสู่พระบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ย่อมยังให้เกิดความเจริญทั้งทางวัตถุ และวิทยาการต่างๆ

    ช้างตระกูล อิศวรพงศ์ พระอิศวรเป็นผู้สร้าง เมื่อมาสู่พระบารมี บ้านเมืองจะมีความเจริญด้วยทรัพย์ และอำนาจ

    ช้างตระกูล วิษณุพงศ์ พระวิษณุ (นารายณ์) เป็นผู้สร้าง เมื่อมาสู่พระบารมี เชื่อว่าทำให้มีชัยชนะต่อศัตรู ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ผลาหาร ธัญญาหารจะบริบูรณ์

    ช้างตระกูล อัคนิพงศ์ พระอัคนีเป็นผู้สร้าง เมื่อมาสู่พระบารมี เชื่อว่า บ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหาร และมีผลในทางระงับศึก อันพึงจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว ทั้งยังมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวงอันเกิดแก่บ้านเมือง และราชบัลลังก์

    ในบรรดาช้างเผือก ยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภท แต่ละประเภท มีลักษณะอันเป็นมงคล 7 อย่าง คือตาสีขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว ขนหางขาว ผิวหนังสีขาวหรือสีหม้อดินเผาใหม่ และมีอัณฑโกศ (อวัยวะเพศ) สีขาวหรือสีคล้ายหม้อดินเผาใหม่

    ช้างเผือกเอก เรียกว่า “สารเศวต” เป็นช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์ ลักษณะพิเศษ ร่างใหญ่ ผิวขาวบริสุทธิ์ดุจสีสังข์ เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง

    ช้างเผือกโท เรียกว่า “ปทุมหัตถี” สีผิวออกสีชมพู คล้ายกลีบดอกบัวแดงแห้ง เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การศึก

    ช้างเผือกตรี เรียกว่า “เศวตคชลักษณ์” มีสีผิวดุจสีใบตองอ่อนตากแห้ง ถือเป็นอีกลักษณะของช้างมงคล

    [​IMG]

    มีการตราไว้เป็นกฎหมายตั้งแต่สมัย ร.5 ว่า ช้างเผือกและช้างมงคลทุกช้าง ที่พบในแผ่นดิน จะต้องนำขึ้นน้อมเกล้าฯถวาย เพื่อให้เป็นช้างคู่พระบารมีของพระเจ้าแผ่นดิน

    กาญจนา โอษฐยิ้มพราย หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้น สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร บอกว่า

    ช้างสำคัญที่ได้รับการสมโภชขึ้นระวางแล้ว จะได้รับพระราชทานนามใหม่ โดยเทียบชั้นยศเท่ากับ เจ้าฟ้า ฉะนั้น เวลาจะสื่อสารกับ “ช้างต้น” จึงต้องใช้วาจาสุภาพ

    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 60 ปี หลังจากพระองค์ทรงได้รับช้างแรกคือ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ต่อมาได้พบช้างเผือกใหม่ เรื่อยๆ และได้มีการสมโภชมาจนถึงปี 2521 รวมทั้งสิ้น 10 ช้าง

    หลังจากนั้น แม้จะพบช้างเผือก และช้างสำคัญคู่พระบารมีอีกถึง 11 ช้าง แต่มิได้มีพิธีขึ้นระวางอีก กระนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับช้างเหล่านั้นไว้เป็นช้างสำคัญ

    “ช้างพลาย หรือช้างเพศผู้ เป็นช้างต้นและช้างสำคัญ ทุกช้างที่ยังมีชีวิตอยู่ จะไปยืนโรงอยู่ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ส่วนช้างพังเพศเมีย จะไปยืนโรงที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ยกเว้น พระเศวตฯเพียงช้างเดียว ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯให้ไปยืนโรงที่พระราชวังไกลกังวล” กาญจนาอธิบาย

    ช้างสำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้ง 21 ช้าง เฉพาะที่ได้รับการสมโภชขึ้นระวางจำนวน 10 ช้าง เรียงตามลำดับการพบ

    ได้แก่ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ พระเศวต วรรัตนกรีฯ พระเศวตสุรคชาธารฯ พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ พระเศวตสุทธวิลาสฯ พระวิมลรัตนกิริณีฯ พระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ พระเศวตภาสุร-คเชนทร์ฯ พระเทพวัชรกิริณีฯ และ พระบรมนขทัศฯ

    อย่างไรก็ตาม ด้วยอายุขัยและระยะเวลาที่ยาวนาน มีบางช้างต้น “ล้ม” ไปบ้าง

    กาญจนายกตัวอย่าง ช้างต้นคู่พระบารมีที่สำคัญ และปัจจุบันยังยืนโรง หรือมีชีวิตอยู่ เช่น พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ซึ่งเป็นช้างแรกในรัชกาลคาดว่าช้างสำคัญช้างนี้ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2490 เป็นช้างลูกเถื่อน ถือกำเนิดในป่าจังหวัดกระบี่ เดิมชื่อว่า “พลายแก้ว”

    พ.ศ. 2499 นายแปลก ฟุ้งเฟื่อง ผู้ขอสัมปทานจับช้าง พร้อมคณะได้สร้างคอกจับช้างไว้ที่บริเวณไร่แขก บ้านหนองจูด ต.ดินอุดม อ.ลำทับ จ.กระบี่ “พลายแก้ว” เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขลงช้างป่าที่จับได้ จำนวน 6 เชือก ขณะนั้นคาดว่ามีอายุประมาณ 9 ปี

    [​IMG]

    ต่อมา พล.ท.บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานฯองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย นำลูกช้างพลายเชือกนี้ไปไว้ที่องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ลูกช้างเชือกนี้มีลักษณะไม่ธรรมดา จึงได้เชิญพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ) ทายาทของพระยาเพทราชา (อ๋อย คชาชีวะ) อดีตเจ้ากรมช้างในรัชกาลที่ 6 มาเป็นผู้ตรวจคชลักษณะ

    พระราชวังเมืองตรวจพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมีความเห็นว่า เป็นช้างสำคัญลักษณะสมบูรณ์ครบถ้วน ต้องตามตำราพระคชศาสตร์ จัดอยู่ในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฐทิศ” ชื่อ “กมุท” สมควรน้อมเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินยังสวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา คณะกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทน้อมเกล้าฯถวายช้าง “พลายแก้ว”

    ต่อมา เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้มีการพระราชพิธีสมโภช เพื่อขึ้นระวางเป็นช้างสำคัญ ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต

    ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ “พระเศวต-อดุลยเดชพาหนฯ” ไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล ทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2548
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    .....ไทยรัฐ/สกู๊ปหน้า ๑


    http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=10423
     
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ คู่พระบารมีพระเจ้าอยู่หัว by จรัญนกรณ์ โสจรัญรัตนกุล,28619
    [​IMG]
    พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ คู่พระบารมีพระเจ้าอยู่หัว

    ประวัติ ของพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างพลายเผือกในตระกูลพรหมพงศ์จำพวกอัฎฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุทหรือบัวสายแดง กำเนิดจากป่าใน จ.กระบี่ คล้องได้เมื่อปี พ.ศ.2499 เป็นช้างเผือกที่เข้ามาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นช้างแรก ถือเป็นพระยาช้างที่ลำดับที่ 1ในรัชกาลที่ 9 ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเทียบเท่าชั้นเจ้าฟ้า มีพระนามเต็มว่า "พระ เศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ์ประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า"

    ที่มา http://www.biw-cs.th.gs/web-b/iw-cs/index.htm


    จรัญนกรณ์ โสจรัญรัตนกุล,28619

    http://www.chula-alumni.com/scripts/goodiesdetail.asp?ID=1695
     
  5. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    <center> ช้างคู่พระบารมี

    </center>

    ช้างที่ถูกต้องตามคชลักษณ์ ๗ ประการ คือ มีตา ขนหาง ขนรอบตัว เล็บ เพดานปาก ผิว และอัณฑโกศ (อวัยวะเพศ) เป็นสีขาวหรือสีหม้อดินใหม่ ตาม คติความเชื่อ เรียกว่า ช้างเผือก โ ดยทางสำนักพระราชวังจะมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่าเชือกไหนเป็นช้างเผือก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูลักษณะช้างเผือกเป็นผู้ตรวจคชลักษณะ


    ภาสพล กนิษฐสุต เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น กล่าวให้ฟังว่า นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ ๙ ขึ้นครองราชย์ จนถึงบัดนี้ เป็นเวลา ๖๐ ปี มีการพบช้างเผือกทั้งสิ้น ๒๑ ช้าง ปัจจุบันเหลือ ๑๑ ช้าง คือ
    [​IMG]
    พระ เศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทราชาติ สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการปรมินทรบพิตร สารศักดิ์เลิศฟ้าชื่อเดิม พลายแก้วเป็นช้างพลายเผือกโท เป็นช้างลูกเถื่อน นายแปลก ฟุ้งเฟือง คล้องได้ในคอกที่สร้างไว้บริเวณไร่แขก บ้านหนองจูด หมู่ ๑ ต.ดินอุดม อ.ลำทับ จ.กระบี่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ต่อ มาพลโทบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย น้อมเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๑ ณ โรงช้างต้น เขาดินวนา (สวนสัตว์ดุสิต) เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “กมุท” สมโภช ขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ พระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ) เป็น ผู้ตรวจคชลักษณะ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรง ช้างต้น พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยเคลื่อนย้ายคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เมื่อวันที่ ๑๗ - ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗ และประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ ปัจจุบันอายุประมาณ ๖๐ ปี
    [​IMG]
    พระเศวตสุทธวิลาศ อัฏฐคชชาต พิษณุพงศ์ ดำรงประภาพมหิมัน ตามร พรรณไพศิษฏ์ ผริตวรุตตมมงคล ดาสศุภผลสวัสดิวิบุล อดุลยลักษณ์เลิศฟ้าเป็นช้างพลายเผือก (สีดอ) เป็นลูกเถื่อน ชื่อเดิม “พลายบุญรอด” คนงานของกรมป่าไม้ ได้ พบลูกช้างที่ป่าบริเวณแม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี ต่อมาได้นำไปเลี้ยงไว้ ณ วนอุทยานเขาเขียว จ.ชลบุรี อธิบดีกรมป่าไม้ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พิษณุพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” จำพวก “ดามพหัสดินทร์” จมื่น ศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๐ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ ๓๑ ปี

    [​IMG]


    พระวิมลรัตนกิริณี กมุทศรีพรรณโศภิต อัฏฐทิศพงศ์กมลาสน์ อรรคราชทิพยพาหน ถกลกิตติคุณกำจร อมรสารเลิศฟ้าเป็นช้างพัง ลูกเถื่อน ชื่อเดิม “ขจร”นายปรีชาและนางพิมพ์ใจ วารวิจิตร ได้มาจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และได้นำมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน ณ ทุ่งสีกัน กรุงเทพฯ ต่อมาน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นช้างสำคัญในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “กมุท” จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้น ระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๐ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร เมื่อประมาณ ๒๕๓๘จนถึงปัจจุบัน มีอายุประมาณ ๒๙ ปี


    [​IMG]
    พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดีโรจนสุวงศ์ พรหมพงศ์อัฏฐทิศพิศาล พิเสฐธารธรณิพิทักษ์คุณารักษ กิตติกำจร อมรสารเลิศฟ้า เป็นลูกช้างพัง ลูกเถื่อน ชื่อเดิมเป็นภาษาพื้นเมืองว่า “จิ”ต่อมาเรียกว่า“จิตรา”โดยนายมายิ มานุ อยู่บ้านเลขที่ ๙ หมู่ ๔ ต.ลมนังตายอ อ.เมือง จ.นราธิวาส ได้ลูกช้างพลัดแม่จากป่าบนเทือกเขากือซา ต.จะแนะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส นายวัชระ สิงดิวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส น้อมเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๒๐ เป็นช้างสำคัญอยู่ในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “อัญชัน” ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ณ โรงช้างต้น จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๒๐ ปัจจุบันอายุประมาณ ๓๑ ปี
    อนึ่ง คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างและกาพย์ขับไม้ประกอบซอสามสายช้างเชือกนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นครั้งแรก ต่อมาพระราชนิพนธ์และพระราชทานให้ช้างสำคัญอีก อาทิ พระเศวตภาสุรคเชนทร์ฯ พระเทพวัชรกิริณีฯ และพระบรมนขทัศฯ (ปัจจุบันล้มแล้ว)

    [​IMG]

    พระเศวตภาสุรคเชนทร์ นวเมนทราพาหน สุทธวิมลวิษณุพงศ์ คุณธำรงดามพหัสดินทร์ สุพัชรินทร์อนันตพล คชมงคลเลิศฟ้าเป็นช้างพลายลูกเถื่อน ชื่อเดิม“ภาศรี”เกิด จากแม่ช้างป่าในเขต ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี นายสุรเดช มหารมย์ เจ้าของไร่ภาศรีได้มาจากชาวบ้านกะเหรี่ยง บ้านหนองปืนแตก ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง จับได้ เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐคช” ชื่อ “ดามพหัสดินทร์” จมื่น ศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงพิธี จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๑ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ ๓๐ ปี

    [​IMG]


    พระเทพวัชรกิริณี ดามพหัสดีพิษณุพงศ์ โสตถิธำรงวิสุทธิลักษณ์ อำนรรฆคุณสบสกนธ์ วิมลสารโสภิต พิบูลกิตติ์เลิศฟ้าเป็นช้างพัง ชื่อเดิม “ขวัญตา”เป็นลูกช้างป่าเขตท้องที่ป่าเต็ง ป่ายางชุม ต.สองพี่น้อง อ. ท่ายาง จ.เพชรบุรี พระครูโสภณพัฒนากิจปลัดบุญส่ง อ.เมือง จ.เพชรบุรี ได้มาจาก นายสนิท ศิริวานิช กำนันตำบลเขาน้อย อ.ปราณบุรี นายศุภโยค พานิชวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี น้อมเกล้าฯ ถวาย เป็นช้างจัดอยู่ในตระกูล “วิษณุพงศ์” จำพวก “อัฏฐคช” ชื่อ “ดามพหัสดินทร์” จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงพิธี จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๑ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ ปัจจุบันอายุประมาณ ๒๙ ปี


    [​IMG]

    ช้างพลาย “วันเพ็ญ”เป็น ช้างของนายทรัพย์ พุกดุย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ ต.ท่าไม้รวก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ตรวจคชลักษณ์พร้อมกับขวัญตา นายศุภโยค พานิชวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี น้อมเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๒๑ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ ๒๙ ปี




    ช้างพลาย ชื่อ “ยอดเพชร” เป็น ช้างที่มีถิ่นกำเนิดในเขตป่าติดต่อกับพม่า บริเวณอ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางสำนักพระราชวังได้จัดส่ง จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ ปรากฏว่า เป็นช้างที่เกิดในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “กมุท” ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ ๒๘ ปี


    [​IMG]
    ช้างพลาย “ขวัญเมือง”เป็นช้างที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของจังหวัดเพชรบุรี จมื่นศิริ วังรัตน์ ตรวจสอบคชลักษณ์ ปรากฏว่า เป็นช้างในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชื่อ “อัญชัน” จัด พิธีถวาย ณ มุขตะวันออก พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๒๓ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ ๒๘ ปี

    [​IMG]


    พัง “มด”เป็นช้างพังลูกเถื่อน โดย นางไฉไล ถาวร ได้มาจาก อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นผู้ทรงแนะนำให้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๒ ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร ปัจจุบันอายุประมาณ ๒๗ ปี


    และสุดท้าย พลาย “ทองสุก” เกิดประมาณปี ๒๕๑๔ เป็นช้างที่เกิดในศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ปัจจุบันมีอายุประมาณ ๓๔ ปี

    การพบช้างเผือกจำนวนมากในรัชกาลที่ ๙ นับเป็นนิมิตหมายที่ดีของชาติไทย...



    ***********************

    ข้อมูลที่มา+ภาพประกอบ : http://www.thaihealth.or.th/cms/detail.php?id=1384

    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=89587
     
  6. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    <table class="mxtable" width="100%" align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td colspan="3"><table class="GXborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr bgcolor="#98ca00"><td bgcolor="#98ca00">
    ด้วยพระบุญญาธิการ 20 ช้างเผือกคชสารแห่งบารมี
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td class="textBoard" valign="top" height="120">
    <!--detail-->[​IMG]

    เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้จัดสร้าง “คชาภรณ์” หรือ “เครื่องทรงช้างต้น” ชุดใหม่ พระราชทานแก่ “ช้างเผือก” คู่พระบารมี ช้างเผือกสำคัญประจำรัชกาลที่ 9 ซึ่งก็ถือ เป็น “สิริมงคล” อีกส่วนหนึ่ง...สำหรับปวงชนชาวไทย โดยทางกรมศิลปากรรับ สนองพระบรมราชโองการจัดสร้าง คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือน พ.ค. 2549

    ช้างเผือกประจำรัชกาลที่ 9 ช้างนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า...“พระ เศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทร ชาติ สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้าฯ”

    ทั้งนี้ “ช้างเผือก” ถือว่าเป็นช้างสำคัญมาแต่โบราณ โดยจะมีคชลักษณะ 7 ประการคือ...ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกศขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่

    ภาสพล กนิษฐสุต เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้น ให้ข้อมูลว่า...คติความเชื่อเกี่ยวกับช้างสำคัญนี้ ในตำราคชศาสตร์กล่าวไว้ว่า... เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์เป็นผู้เนรมิตให้บังเกิดช้างในตระกูลต่าง ๆ ขึ้นในโลก โดยนัยดังกล่าวเกิดในความเชื่อสืบต่อกันมาว่าช้างเป็นสัตว์สำคัญ

    โดยเฉพาะช้างที่มี “ลักษณะพิเศษเป็นมงคล” ที่เรียกว่า “ช้างเผือก” นั้น หากใครได้ไว้เป็นเจ้าของก็จะส่งให้ผู้เป็นเจ้าของพบแต่ความเจริญรุ่งเรือง

    ความเชื่อนี้ผูกพันถึงบ้านเมือง โดยเฉพาะตามโบราณประเพณีของไทย

    “ช้าง เผือกถือเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและราชบัลลังก์ ดังนั้นจึงต้องมีประเพณีที่ต้องประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ เป็นพระยาช้างต้นหรือนางพระยาช้างต้น”

    ...แหล่งข่าวจากพิพิธภัณฑ์ฯ ช้างต้นกล่าว และยังบอกอีกว่า... กล่าวสำหรับ “พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ” นั้น เป็นช้างเผือกที่เข้ามาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นช้างแรก เป็นพระยาช้างที่ 1 ในรัชกาล ที่ 9 ดังปรากฏนามในจารึกที่ฐานในพระบรมราชานุสาวรีย์ประจำพระองค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่บนฐานไพที ระหว่างปราสาทพระเทพบิดร และมณฑปในวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว

    พระเศวตอดุลยเดชพา หนฯ เป็นช้างพลายเผือกในตระกูลพรหมพงศ์จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุทหรือบัวสายแดง กำเนิดจากป่าใน จ.กระบี่ มีการคล้องได้เมื่อ พ.ศ. 2499

    ด้วยพระบุญญาบารมีอันสูงส่งแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช นอกจากพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ซึ่งถือเป็นช้างต้นคู่พระบารมีแล้ว ยังทรงมี “ช้างเผือก-ช้างสำคัญ” อื่น ๆ อีก นับรวมแล้วประมาณ “20 ช้าง” ที่เข้ามาสู่พระบารมี

    ใน จำนวนนี้มีทั้งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกอบพระราชพิธี รับสมโภชและขึ้นระวางเป็นช้างต้น และที่ยังไม่ได้ประกอบพระราชพิธี ซึ่งส่วน หนึ่งยังอยู่ และบางส่วนได้ล้มไปแล้ว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้...

    ช้างเผือกที่ประกอบพระราชพิธีสมโภชและขึ้นระวาง ที่ยังมีชีวิต มี 6 ช้าง ประกอบด้วย...

    1.พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ คล้องได้ที่ จ.กระบี่ โปรดเกล้าฯ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2502

    2.พระเศวตสุทธวิลาศฯ โปรดเกล้าฯ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2520

    3.พระวิมลรัตนกิริณีฯ โปรดเกล้าฯ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2520
    4.พระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ โปรดเกล้าฯ สมโภชขึ้นระวาง ณ จ.นรา ธิวาส เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2520

    5.พระเศวตภาสุรคเชนทร์ฯ
    โปรดเกล้าฯ สมโภชขึ้นระวาง ณ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2521

    6.พระเทพรัตนกิริณีฯ โปรดเกล้าฯ สมโภชขึ้นระวาง ณ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2521

    ช้างสำคัญที่ยังไม่ได้ประกอบพระราชพิธีสมโภช ที่ยังมีชีวิต มี 5 ช้าง ได้แก่...1.ช้างพลายวันเพ็ญ, 2.ช้างพลายยอดเพชร, 3.ช้างพลายขวัญเมือง, 4.ช้างพังมด, 5.ช้างพลายทองสุก

    ช้างเผือกที่ประกอบพระราชพิธีสมโภชที่ล้มไปแล้ว มี 4 ช้าง ได้แก่...1.พระเศวตวรรัตนกรีฯ, 2.พระเศวตสุรคชาธารฯ, 3.พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ, 4.พระบรมนขทัศฯ

    ช้างสำคัญที่ยังไม่ได้รับการประกอบพระราชพิธีสมโภชที่ล้มไปแล้ว มี 5 ช้างได้แก่...1.ช้างพลายแก้วขาว, 2.ช้างพลายก้อง, 3.ช้างพลายเงิน, 4.ช้างพลายนำโชค, 5.ช้างพังพรรณ

    “พระ มหากษัตริย์พระองค์ใดได้ช้างเผือกมาสู่พระบารมีเป็นจำนวน มาก ก็จะเป็นที่เลื่องลือกันว่าทรงมีบุญญาธิการ มีพระบารมีสูงส่ง พระบรมเดชานุภาพแผ่ไพศาล นำสิริมงคลอันอุดมให้แก่บ้านเมือง”

    “ช้างเผือก” ถึง 20 ช้าง...ที่เข้าสู่พระบารมี “ในหลวง”

    พระบุญญาธิการ พระบารมี เป็นที่แซ่ซ้องไปทั่วหล้า...

    และนำมาซึ่ง “สิริมงคลยิ่ง” ต่อพสกนิกรไทย !!!!.

    โดย เดลินิวส์
    <!--detail-->
    </td><td rowspan="3" width="18">
    </td></tr></tbody></table>

    http://www.deedeejang.com/news/data/1/0175.html
     
  7. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    <table width="95%" bgcolor="aqua" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0"><tbody><tr><td background="gradien.jpg"><big>ทำพิธีสมโภชโรงช้างต้นรับช้างเผือก</big> </td></tr></tbody></table> <table width="95%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td width="14">[​IMG]</td> <td width="602" bgcolor="#ffffff">
    </td> <td width="14">[​IMG]</td></tr></tbody></table> <table width="95%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td width="14" bgcolor="#ffffff" height="100">
    </td> <td width="602" align="center" bgcolor="#ffffff" height="100"> <table width="100%" border="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td> <marquee border="0" align="middle" scrollamount="2" scrolldelay="90" behavior="scroll" style="color: rgb(255, 51, 0); font-weight: bold; font-size: 10px;" width="100%" height="10">นอกจากข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารส่วนราชการในจังหวัด ได้จาก ประกาศจังหวัด </marquee> </td></tr> <tr><td>
    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"><tbody><tr><td> <table align="center" bgcolor="black" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td align="center"><table width="100%" bgcolor="white" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"><tbody><tr><td align="center"> <table width="100%" border="0"> <tbody><tr> <td valign="middle" align="center">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table> </td></tr></tbody></table>
    <dd><small> พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีสมโภชโรงช้างต้น วังไกลกังวล พร้อมทรงโปรดเกล้าฯให้เชิญ "พระเศวตอดุลยเดชพาหน" ช้างเผือกคู่พระบารมี เชือกแรกของรัชกาลปัจจุบัน จากโรงช้างต้น พระราชวังดุสิต มายืนโรง ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล เผยประวัติช้างเผือกเชือกแรก เป็นช้างตระกูล "พรหมพงศ์" คล้องได้เมื่อปี 2499 ที่เมือง "กระบี่" ปัจจุบันอายุ 53 ปี

    เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 20.32 น. วันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช ดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระตำหนักเปี่ยมสุข ไปในการพิธีสมโภชโรงช้างต้น ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นเสด็จฯเข้าพลับพลาพิธีแล้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธปฏิมาชัยหลังช้าง ทรงศีล พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ ทรงจุดเทียนที่ครอบพระกริ่ง แล้วทรงประเคนครอบพระกริ่งถวายประธานสงฆ์

    จากนั้นทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายดิเรก แล้วเสด็จพระราช ดำเนินไปทรงพระสุหร่าย และทรงเจิมประตูโรงช้างต้นเสร็จแล้วทรงพระสุหร่ายน้ำพระพุทธมนต์ พระราชทานแก่พระเศวตอดุลยเดชพาหน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญจากโรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต มายืนโรงอยู่ ณ ที่นั้น แล้วประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินกลับ อนึ่งเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน พราหมณ์เบิกแว่น โหรหลวง และข้าราชการ รับแว่นเทียนสมโภชโรงช้างต้น

    สำหรับพระเศวตอดุลยเดชพาหน เป็นช้างเผือกเชือกแรกในรัชกาลปัจจุบัน คล้องได้ที่ จ.กระบี่ เมื่อปี 2499 โดยมีพล.ท.บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏทิศ ชื่อว่า กมุท ขึ้นระวางโรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2502 และยืนโรง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา ในปี 2519 ปัจจุบันอายุ 53 ปี.

    ที่มา เดลินิวส์ 26 มี.ค.47</small></dd>​
    </td></tr> <tr><td align="right"><small>หน่วยงานที่แจ้งประชาสัมพันธ์
    สำนักงานจังหวัดกระบี่
    30 มี.ค. 47 11:16:00</small>
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  8. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    พระมหากรุณาธิคุณต่อ "ช้าง" คู่พระบารมี ในมุม "สัตวแพทย์" ประจำสำนักพระราชวัง
    <!-- [​IMG] [​IMG] วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี ได้รับการกำหนดให้เป็นวันช้างไทย ทั้งนี้ ประสพ ทิพย์ประเสริฐ หัวหน้าฝ่ายวิทยาลัยการศึกษา สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้


    ระบุว่า ในการสำรวจครั้งล่าสุด พบว่าปริมาณประชากรช้างอยู่ในระดับขั้นวิกฤติ โดยมีช้างเลี้ยงประมาณ 2,500 เชือก ช้างป่า 1,500 เชือก ลดจากเมื่อปี 2535 ที่เคยมีช้างเลี้ยง 3,500 ตัว คิดเป็นอัตราการเกิด ต่ออัตราการหาย การตายของช้าง เป็น 1:3 โดย ปัญหาใหญ่ของช้าง คือควาญช้างขาดความเชี่ยวชาญในการดูแลช้าง แนวทางแก้ปัญหา คือการส่งเสริมอาชีพให้ช้างและควาญช้าง รวมทั้งแก้ไขกฎหมายให้ช้างอยู่ในการดูแลของรัฐ และกำหนดมาตรฐานการดูแลช้างของภาคเอกชน
    อย่างไรก็ดี ขณะนี้ช้างเชือกแรกจากโครงการวิจัยการผสมเทียมช้างเอเชียด้วยน้ำเชื้อแช่แข็งได้คลอดออกมาแล้ว ความสำเร็จในครั้งนี้ส่งผลให้แผนงานผสมเทียมช้างเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มปริมาณ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพของช้างในประเทศไทยต่อไป
    -------------------------------------------
    ดังที่ทราบกันว่า ตามความเชื่อแต่โบราณของไทย ช้างเผือกเป็นสัตว์มงคลคู่บารมีพระมหากษัตริย์ และสัญลักษณ์ของความร่มเย็นเป็นสุข บ้านใดเมืองใดที่มีช้างเผือกมาสู่พระบารมี บ้านนั้นเมืองนั้นย่อมมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง
    สำหรับช้างเผือกคู่พระบารมีซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุด และปัจจุบันเป็นเพียงช้างเดียวที่ถวายงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สุด โดยยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ได้แก่ ช้างเผือกช้างแรกในรัชกาล คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิสุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ ประสิทธิ์รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า ซึ่งคล้องได้ที่จังหวัดกระบี่ในปี 2499
    รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชฯ มีช้างต้นหรือช้างในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 20 ช้าง ในจำนวนนั้นมีช้างสำคัญหรือช้างที่มีมงคลลักษณะ 7 ประการคือ ตา ขนหาง ขนรอบตัว เล็บ เพดานปาก ผิว และอัณฑโกศ(อวัยวะเพศ) เป็นสีขาว ซึ่งได้เข้าพระราชพิธีขึ้นระวางพระราชนามเป็นช้างเผือกจำนวน 10 ช้าง ล้ม (ตาย) ไปแล้ว 4 เหลือ 6 ช้าง และถ้านับรวมกับช้างประหลาดหรือช้างที่มีมงคลลักษณะบางประการ บวกรวมกับช้างสำคัญที่ยังไม่ได้เข้าพระราชพิธีขึ้นระวาง ปัจจุบันนี้ มีช้างต้นจำนวน 11 ช้าง
    ช้างเผือกยังแบ่งเป็นสามพวก คือ เอก โท ตรี คุณพระเศวตฯ เป็นช้างเผือกโทซึ่งถือเป็นช้างสูงสุดในรัชกาลปัจจุบัน ก่อนหน้าจะคล้องคุณพระเศวตฯ ได้ ยังมีการพบกาเผือก และลิงเผือก ที่ว่ากันว่าเป็นสัตว์มงคลคู่บารมีช้างเผือก นอกจากยศสูงสุดของคุณพระแล้ว ปรากฏการณ์นี้ยังยืนยันความขลังแห่งความเป็นคุณช้างคู่พระบารมีในหลวงอีกด้วย ถึงแม้ไม่ทราบปีเกิดแน่ชัด แต่ถ้าพิจารณาในทางสัตวแพทย์ ปัจจุบันคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ อยู่ในวัย 60 ปี
    ทั้งนี้ ประเพณีโบราณกำหนดไว้ว่า ช้างสำคัญหรือช้างเผือกจะต้องอยู่ในเขตพระราชฐานใกล้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น หากจะทำอย่างไรให้ช้างได้สัมผัสธรรมชาติและไม่ผิดธรรมเนียมโบราณ นั่นคือสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใส่พระทัยยิ่ง ดังคำบอกเล่าของ ม.ล.พิพัฒนฉัตร ดิศกุล นายสัตวแพทย์ประจำสำนักพระราชวัง หนึ่งในผู้ดูแลช้างต้น ในงานเสวนา “ช้างคู่พระบารมี ร.9” จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อไม่นานมานี้
    นายสัตวแพทย์ประจำสำนักพระราชวัง เล่าว่า ตั้งแต่ทำงานด้านนี้เมื่อปี 2502 โรงเรือนช้างยังอยู่ที่พระราชวังดุสิตและท่าวาสุกรี โดยที่พระราชวังดุสิตมีโรงเรือน 4 เรือนสำหรับ 10 ช้าง ส่วนที่ท่าวาสุกรีมี 1 โรงเรือนสำหรับ 1 ช้าง แต่เนื่องจากพื้นที่จำกัดไม่มีอาณาบริเวณให้ช้างเดิน ในปี 2530 ม.ล.พิพัฒนฉัตร จึงเข้าปรึกษากับท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทดลองนำช้างสำคัญไปเลี้ยงกึ่งธรรมชาติที่ศูนย์ฝึกลูกช้าง อ.งาว จ.ลำปาง โดยเมื่อเขียนโครงการทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถแล้ว มีพระบรมราชานุญาต ด้วยทรงห่วงใยช้างมานานแล้ว
    "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสในสิ่งที่เราคนดูแลช้างยังคาดไม่ถึง ท่านตรัสว่า ช้างสำคัญไม่เหมือนช้างชาวบ้าน ช้างสำคัญน้ำเราก็ป้อนให้ หญ้าเราก็หาให้ แต่ช้างชาวบ้านหากินเอง ช้างสำคัญเคยอยู่ติดกันเป็นโขลงๆ ไม่เคยอยู่ตามธรรมชาติ ช้างจะปรับตัวตามธรรมชาติไม่ได้ ท่านทรงมีรับสั่งให้ทำการทดลอง โดยนำช้างสำคัญบางเชือกไปทดลองเลี้ยงตามธรรมชาติก่อน"
    ในปี 2530 สัตวแพทย์ประจำสำนักพระราชวังจึงได้เชิญช้างสำคัญ 1 ช้าง ไปที่ลำปาง โดยประสานงานกับกรมอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งในเวลานั้นต้องทำเป็นความลับ ด้วยเกรงความเชื่อเรื่องคุณไสยจากบุคคลบางกลุ่ม ที่ยึดถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างในตัวช้างสามารถนำมาเป็นยันต์กันภูตผีปีศาจ
    การดูแลช้างสำคัญในสภาพธรรมชาติเป็นไปตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคาดการณ์ไว้
    "เราคิดว่าคงไม่มีปัญหา แต่ปรากฏว่าช้างสำคัญไม่สามารถดึงหญ้าตามธรรมชาติมาได้ด้วยตัวเอง เพราะเราลืมไปว่าช้างเป็นสัตว์สังคม เขามีระบบอาวุโส เลียนแบบช้างที่มีอายุมาก เราจึงไปขอช้างจากกรมอุตสาหกรรมป่าไม้มาเชือกหนึ่ง เลี้ยงคู่กัน ปรากฏว่าภายในอาทิตย์เดียว ช้างก็ดึงหญ้าได้ เราทำรายงานถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอด ท่านมีรับสั่งว่าให้พยายามต่อ"
    ในปี 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่จังหวัดลำปางและโรงเรือนช้างที่พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร แล้วมีพระราชกระแส ให้ช้างสำคัญจากวังจิตรลดาไปยืนโรงในสองสถานที่ดังกล่าว โดยกิจวัตรช้างสำคัญจะเริ่มตั้งแต่การออกกำลังกายตอนเช้าตรู่ ออกหาพืชหญ้ากินตามธรรมชาติ แล้วอาบน้ำประมาณ 14.00 น. จากนั้นจึงเข้าโรงเรือน ซึ่ง ม.ล. พิพัฒนฉัตรพบว่าเมื่อช้างสำคัญได้อยู่ตามธรรมชาติจะมีสุขภาพแข็งแรง
    ม.ล.พิพัฒนฉัตร กล่าวว่า มีเพียงคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ที่ไม่สามารถเชิญไปอยู่โรงเรือนต่างจังหวัดเช่นช้างอื่น เพราะต้องเป็นไปตามขนบธรรมเนียมว่าช้างเผือกสูงสุดต้องอยู่ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน มีรับสั่งให้นำคุณพระตามเสด็จและมีพระราชพิธีลงช้างต้น ณ โรงช้างต้นในพระราชวังไกลกังวล เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548
    นายสัตวแพทย์เล่าเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า มีการตระเตรียมระยะห่างรอยวางพระบาทเพื่อพระราชทานอ้อยแด่คุณพระ โดยถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ใกล้กว่าจุดที่กำหนด ทุกฝ่ายจะเตรียมถวายการรักษาความปลอดภัยทันที ด้วยอุปนิสัยของช้างนั้นอ่อนไหวยิ่ง แต่คุณพระยืนนิ่งให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานอ้อยและทรงลูบงวงด้วยความสงบเสงี่ยมตลอดเวลาครึ่งชั่วโมงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับ
    หากนั่นมิใช่ครั้งแรกสำหรับความทึ่งที่นายสัตวแพทย์ประจำสำนักพระราชวัง มีต่อคุณพระ
    "ผมเรียนด้านวิทยาศาสตร์มา แต่เกิดเหตุการณ์หลายครั้งที่อธิบายไม่ได้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เช่นเป็นที่ทราบว่าพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ไม่เคยส่งเสียงร้องเมื่ออยู่ในโรงเรือน ถ้าร้องเมื่อไรเป็นเกิดเหตุ และ 4 ครั้งที่เคยร้องนั้น ปรากฏว่ามีการปฏิวัติเกิดตามมาทุกครั้ง" ม.ล. พิพัฒนฉัตร เล่าเหตุการณ์ นายสัตวแพทย์ กล่าวด้วยว่า เหตุที่ช้างสำคัญยังไม่เข้าพระราชพิธีขึ้นระวางอีกหลายช้างนั้น เป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงว่าพระราชพิธีแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณมาก เงินจำนวนนั้นควรนำไปใช้ประโยชน์สูงสุดด้วยการช่วยเหลือพสกนิกร พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างคู่พระบารมี คู่บ้านคู่เมือง และคู่พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยแท้


    --> [​IMG]

    วัน ที่ 13 มีนาคม ของทุกปี ได้รับการกำหนดให้เป็นวันช้างไทย ทั้งนี้ ประสพ ทิพย์ประเสริฐ หัวหน้าฝ่ายวิทยาลัยการศึกษา สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ระบุว่า ในการสำรวจครั้งล่าสุด พบว่าปริมาณประชากรช้างอยู่ในระดับขั้นวิกฤติ โดยมีช้างเลี้ยงประมาณ 2,500 เชือก ช้างป่า 1,500 เชือก ลดจากเมื่อปี 2535 ที่เคยมีช้างเลี้ยง 3,500 ตัว คิดเป็นอัตราการเกิด ต่ออัตราการหาย การตายของช้าง เป็น 1:3 โดย ปัญหาใหญ่ของช้าง คือควาญช้างขาดความเชี่ยวชาญในการดูแลช้าง แนวทางแก้ปัญหา คือการส่งเสริมอาชีพให้ช้างและควาญช้าง รวมทั้งแก้ไขกฎหมายให้ช้างอยู่ในการดูแลของรัฐ และกำหนดมาตรฐานการดูแลช้างของภาคเอกชน
    อย่างไรก็ดี ขณะนี้ช้างเชือกแรกจากโครงการวิจัยการผสมเทียมช้างเอเชียด้วยน้ำเชื้อแช่ แข็งได้คลอดออกมาแล้ว ความสำเร็จในครั้งนี้ส่งผลให้แผนงานผสมเทียมช้างเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มปริมาณ และเพิ่มความ
    หลากหลายทางชีวภาพของช้างในประเทศไทยต่อไป

    [​IMG]
    -------------------------------------------
    ดัง ที่ทราบกันว่า ตามความเชื่อแต่โบราณของไทย ช้างเผือกเป็นสัตว์มงคลคู่บารมีพระมหากษัตริย์ และสัญลักษณ์ของความร่มเย็นเป็นสุข บ้านใดเมืองใดที่มีช้างเผือกมาสู่พระบารมี บ้านนั้นเมืองนั้นย่อมมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง

    สำหรับช้างเผือกคู่พระบารมีซึ่งเป็นที่รู้จักมาก ที่สุด และปัจจุบันเป็นเพียงช้างเดียวที่ถวายงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สุด โดยยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ได้แก่ ช้างเผือกช้างแรกในรัชกาล คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิสุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ ประสิทธิ์รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า ซึ่งคล้องได้ที่จังหวัดกระบี่ในปี 2499
    รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชฯ มีช้างต้นหรือช้างในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 20 ช้าง ในจำนวนนั้นมีช้างสำคัญหรือช้างที่มีมงคลลักษณะ 7 ประการคือ ตา ขนหาง ขนรอบตัว เล็บ เพดานปาก ผิว และอัณฑโกศ(อวัยวะเพศ) เป็นสีขาว ซึ่งได้เข้าพระราชพิธีขึ้นระวางพระราชนามเป็นช้างเผือกจำนวน 10 ช้าง ล้ม (ตาย) ไปแล้ว 4 เหลือ 6 ช้าง และถ้านับรวมกับช้างประหลาดหรือช้างที่มีมงคลลักษณะบางประการ บวกรวมกับช้างสำคัญที่ยังไม่ได้เข้าพระราชพิธีขึ้นระวาง ปัจจุบันนี้ มีช้างต้นจำนวน 11 ช้าง

    ช้างเผือกยังแบ่งเป็นสามพวก คือ เอก โท ตรี คุณพระเศวตฯ เป็นช้างเผือกโทซึ่งถือเป็นช้างสูงสุดในรัชกาลปัจจุบัน ก่อนหน้าจะคล้องคุณพระเศวตฯ ได้ ยังมีการพบกาเผือก และลิงเผือก ที่ว่ากันว่าเป็นสัตว์มงคลคู่บารมีช้างเผือก นอกจากยศสูงสุดของคุณพระแล้ว ปรากฏการณ์นี้ยังยืนยันความขลังแห่งความเป็นคุณช้างคู่พระบารมีในหลวงอีก ด้วย ถึงแม้ไม่ทราบปีเกิดแน่ชัด แต่ถ้าพิจารณาในทางสัตวแพทย์ ปัจจุบันคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ อยู่ในวัย 60 ปี ทั้งนี้

    ประเพณีโบราณกำหนดไว้ว่า ช้างสำคัญหรือช้างเผือกจะต้องอยู่ในเขตพระราชฐานใกล้พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวเท่านั้น หากจะทำอย่างไรให้ช้างได้สัมผัสธรรมชาติและไม่ผิดธรรมเนียมโบราณ นั่นคือสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใส่พระทัยยิ่ง ดังคำบอกเล่าของ ม.ล.พิพัฒนฉัตร ดิศกุล นายสัตวแพทย์ประจำสำนักพระราชวัง หนึ่งในผู้ดูแลช้างต้น ในงานเสวนา “ช้างคู่พระบารมี ร.9” จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อไม่นานมานี้

    นายสัตวแพทย์ประจำสำนักพระราชวัง เล่าว่า ตั้งแต่ทำงานด้านนี้เมื่อปี 2502 โรงเรือนช้างยังอยู่ที่พระราชวังดุสิตและท่าวาสุกรี โดยที่พระราชวังดุสิตมีโรงเรือน 4 เรือนสำหรับ 10 ช้าง ส่วนที่ท่าวาสุกรีมี 1 โรงเรือนสำหรับ 1 ช้าง แต่เนื่องจากพื้นที่จำกัดไม่มีอาณาบริเวณให้ช้างเดิน ในปี 2530 ม.ล.พิพัฒนฉัตร จึงเข้าปรึกษากับท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทดลองนำช้างสำคัญไปเลี้ยงกึ่งธรรมชาติที่ศูนย์ฝึกลูกช้าง อ.งาว จ.ลำปาง โดยเมื่อเขียนโครงการทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถแล้ว มีพระบรมราชานุญาต ด้วยทรงห่วงใยช้างมานานแล้ว

    "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสในสิ่งที่เราคนดูแลช้างยังคาดไม่ถึง ท่านตรัสว่า ช้างสำคัญไม่เหมือนช้างชาวบ้าน ช้างสำคัญน้ำเราก็ป้อนให้ หญ้าเราก็หาให้ แต่ช้างชาวบ้านหากินเอง ช้างสำคัญเคยอยู่ติดกันเป็นโขลงๆ ไม่เคยอยู่ตามธรรมชาติ ช้างจะปรับตัวตามธรรมชาติไม่ได้ ท่านทรงมีรับสั่งให้ทำการทดลอง โดยนำช้างสำคัญบางเชือกไปทดลองเลี้ยงตามธรรมชาติก่อน"

    ในปี 2530 สัตวแพทย์ประจำสำนักพระราชวังจึงได้เชิญช้างสำคัญ 1 ช้าง ไปที่ลำปาง โดยประสานงานกับกรมอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งในเวลานั้นต้องทำเป็นความลับ ด้วยเกรงความเชื่อเรื่องคุณไสยจากบุคคลบางกลุ่ม ที่ยึดถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างในตัวช้างสามารถนำมาเป็นยันต์กันภูตผีปีศาจ

    การดูแลช้างสำคัญในสภาพธรรมชาติเป็นไปตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคาดการณ์ไว้
    "เราคิดว่าคงไม่มีปัญหา แต่ปรากฏว่าช้างสำคัญไม่สามารถดึงหญ้าตามธรรมชาติมาได้ด้วยตัวเอง เพราะเราลืมไปว่าช้างเป็นสัตว์สังคม เขามีระบบอาวุโส เลียนแบบช้างที่มีอายุมาก เราจึงไปขอช้างจากกรมอุตสาหกรรมป่าไม้มาเชือกหนึ่ง เลี้ยงคู่กัน ปรากฏว่าภายในอาทิตย์เดียว ช้างก็ดึงหญ้าได้ เราทำรายงานถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอด ท่านมีรับสั่งว่าให้พยายามต่อ"

    ในปี 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่จังหวัดลำปางและโรงเรือนช้างที่พระราชวังภู พานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร แล้วมีพระราชกระแส ให้ช้างสำคัญจากวังจิตรลดาไปยืนโรงในสองสถานที่ดังกล่าว โดยกิจวัตรช้างสำคัญจะเริ่มตั้งแต่การออกกำลังกายตอนเช้าตรู่ ออกหาพืชหญ้ากินตามธรรมชาติ แล้วอาบน้ำประมาณ 14.00 น. จากนั้นจึงเข้าโรงเรือน ซึ่ง ม.ล. พิพัฒนฉัตรพบว่าเมื่อช้างสำคัญได้อยู่ตามธรรมชาติจะมีสุขภาพแข็งแรง

    ม.ล.พิพัฒนฉัตร กล่าวว่า มีเพียงคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ที่ไม่สามารถเชิญไปอยู่โรงเรือนต่างจังหวัดเช่นช้างอื่น เพราะต้องเป็นไปตามขนบธรรมเนียมว่าช้างเผือกสูงสุดต้องอยู่ใกล้ชิดพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน มีรับสั่งให้นำคุณพระตามเสด็จและมีพระราชพิธีลงช้างต้น ณ โรงช้างต้นในพระราชวังไกลกังวล เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548
    นายสัตวแพทย์เล่าเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า มีการตระเตรียมระยะห่างรอยวางพระบาทเพื่อพระราชทานอ้อยแด่คุณพระ โดยถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ใกล้กว่าจุดที่กำหนด ทุกฝ่ายจะเตรียมถวายการรักษาความปลอดภัยทันที ด้วยอุปนิสัยของช้างนั้นอ่อนไหวยิ่ง แต่คุณพระยืนนิ่งให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานอ้อยและทรงลูบงวงด้วยความสงบเสงี่ยมตลอดเวลาครึ่งชั่วโมงที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับ
    หากนั่นมิใช่ครั้งแรกสำหรับความทึ่งที่นายสัตวแพทย์ประจำสำนักพระราชวัง มีต่อคุณพระ
    " ผมเรียนด้านวิทยาศาสตร์มา แต่เกิดเหตุการณ์หลายครั้งที่อธิบายไม่ได้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เช่นเป็นที่ทราบว่าพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ไม่เคยส่งเสียงร้องเมื่ออยู่ในโรงเรือน ถ้าร้องเมื่อไรเป็นเกิดเหตุ และ 4 ครั้งที่เคยร้องนั้น ปรากฏว่ามีการปฏิวัติเกิดตามมาทุกครั้ง" ม.ล. พิพัฒนฉัตร เล่าเหตุการณ์

    นายสัตวแพทย์ กล่าวด้วยว่า เหตุที่ช้างสำคัญยังไม่เข้าพระราชพิธีขึ้นระวางอีกหลายช้างนั้น เป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงว่าพระราชพิธีแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณมาก เงินจำนวนนั้นควรนำไปใช้ประโยชน์สูงสุดด้วยการช่วยเหลือพสกนิกร
    พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างคู่พระบารมี คู่บ้านคู่เมือง และคู่พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยแท้


    http://www.komchadluek.net/2007/03/13/s001_98005.php?news_id=98005
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2008
  9. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    ใครมีรูปของช้ัางเผือก คู่บารมีบ้าง ช่วยๆ เอามาลงหน่อยสิ
     
  10. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->
    [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จราชดำเนินทรงรับช้างพลายแก้วเป็นช้างสำคัญ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์พระราชทาน และพระราชทานกล้วย อ้อย และหญ้า


    พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นพระยาช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุท หรือบัวสายแดง <sup id="cite_ref-80.E0.B8.9E.E0.B8.A3.E0.B8.A3.E0.B8.A9.E0.B8.B2_0-0" class="reference">[1]</sup> ได้รับพระราชทานนามเต็มว่า <sup id="cite_ref-.E0.B8.8A.E0.B9.89.E0.B8.B2.E0.B8.87.E0.B8.AF_1-0" class="reference">[2]</sup>
    <table style="background: transparent none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding-right: 10px; padding-left: 10px; padding-top: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td style="padding-top: 10px;">พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนามนาคบารมี
    ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกทลาสนวิศุทธวงศ์
    สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาต สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์
    รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้า ๚</td> <td style="padding-left: 10px; padding-right: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="text-align: right; padding-right: 20px; padding-bottom: 10px; font-size: 90%;">
    </td> </tr> </tbody></table> พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างพลายเผือกโท เกิดในป่าเขตจังหวัดกระบี่ <sup id="cite_ref-2" class="reference">[3]</sup>เมื่อประมาณ พ.ศ. 2494 <sup id="cite_ref-80.E0.B8.9E.E0.B8.A3.E0.B8.A3.E0.B8.A9.E0.B8.B2_0-1" class="reference">[1]</sup> ถูกคล้องได้ที่ บ้านหนองจูด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ <sup id="cite_ref-3" class="reference">[4]</sup> จังหวัดกระบี่เมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนายแปลก ฟุ้งเฟื่องและนายปลื้ม สุทธิเกิด(หมอเฒ่า) เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขลงช้างป่า พร้อมกับช้างอื่นๆ อีก 5 เชือกคือ พังสาคร พลายทอง พังเพียร พังวิไล และพังน้อย <sup id="cite_ref-4" class="reference">[5]</sup> โดยในตอนนั้นพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ชื่อว่า "พลายแก้ว" <sup id="cite_ref-80.E0.B8.9E.E0.B8.A3.E0.B8.A3.E0.B8.A9.E0.B8.B2_0-2" class="reference">[1]</sup> มีความสูง 1.60 เมตร เมื่อพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ)ได้ตรวจสอบคชลักษณ์แล้วพบว่าเป็นช้างสำคัญ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ดุสิต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
    พลโทบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยได้นำช้างพลายแก้วขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เพื่อประกอบพิธีขึ้นระวางเป็นช้างต้น
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กำหนดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกประจำรัชกาล ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เป็นปีที่ 13 ในรัชกาลปัจจุบัน
    พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เติบโตขึ้นโดยการดูแลขององค์การสวนสัตว์ ที่สวนสัตว์ดุสิต และมีอาการดุร้ายมากขึ้นจนควาญช้างควบคุมไม่ได้ จึงต้องจับยืนมัดขาทั้งสี่ไว้กับเสา เป็นที่เกรงกลัวของบุคคลทั่วไป จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีพระราชเสาวณีย์ โปรดเกล้าฯ ให้นำพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เข้าไปยืนโรงในโรงช้างต้น ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐานซึ่งอยู่ตรงกันข้ามถนน เมื่อ พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชได้บันทึกไว้ว่า
    ในขณะที่นำคุณพระจากสวนสัตว์ดุสิตไปยังสวนจิตรลดา ซึ่งเพียงแต่มีถนนคั่นอยู่สายเดียวนั้น คุณพระก็อาละวาดอย่างหนัก ไม่ยอมออกเดิน เอางวงยึดต้นไม้จนต้นไม้ล้ม จนแทบจะหมดปัญญาเจ้าหน้าที่
    กว่าจะนำคุณพระจากเขาดินไปถึงประตูสวนจิตรลดา ซึ่งมองเห็นกันแค่นั้น ก็กินเวลาหลายชั่วโมง ต้องใช้คนเป็นจำนวนมากถือปลายเชือกที่ผูกไว้กับขาคุณพระทั้งสี่ขา คอยลากคอยดึง และดูเหมือนจะต้องใช้รถแทรกเตอร์เข้าช่วยขนาบข้าง เสี่ยงอันตรายกันมากอยู่ แต่ในที่สุดก็นำคุณพระไปยังประตูพระราชวังได้
    พอได้ก้าวเท้าเข้าไปในบริเวณพระราชวัง คุณพระก็เปลี่ยนไปทันที จากความดุร้ายก็กลายเป็นความสงบเสงี่ยม เดินอย่างเรียบร้อยไปสู่โรงช้างต้น และเข้าอยู่อย่างสงบเรื่อยมา <sup id="cite_ref-5" class="reference">[6]</sup>
    ปัจจุบัน พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ย้ายไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเคลื่อนย้ายคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เมื่อวันที่ 17-18 มีนาคม พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2547
    เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 ทรงมีกระแสพระราชดำรัสให้จัดสร้าง คชาภรณ์ หรือเครื่องทรงช้างต้นชุดใหม่ พระราชทานแก่พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เนื่องจากคชาภรณ์ชุดเดิมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ เมื่อ พ.ศ. 2502 มีสภาพเก่า และมีขนาดเล็กเกินไป โดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม รับสนองพระบรมราชโองการจัดสร้างเครื่องคชาภรณ์ชุดใหม่ ด้วยงบประมาณ 4 ล้านบาท ใช้ทองคำ 96.5 % หนักกว่า 5,953 กรัม ประกอบด้วย <sup id="cite_ref-6" class="reference">[7]</sup><sup id="cite_ref-7" class="reference">[8]</sup>

    • ผ้าปกพระพอง ทำด้วยผ้าเยียรบับ
    • ตาข่ายแก้วกุดั่น ทำด้วยทองคำ ร้อยลูกปัดเพชรรัสเซีย จำนวน 810 เม็ด
    • พู่หู จำนวน 1 คู่ ทำจากขนจามรีนำเข้าจากทิเบต
    • พระนาศ หรือผ้าคลุมหลัง ทำจากผ้าเยียรบับ
    • กันชีพ ทำด้วยผ้าสักหลาดปักดิ้น
    • เสมาคชาภรณ์ หรือ จี้ทองทำรูปใบเสมา เขียนลายนูนรูปพระมหามงกุฎครอบอุณาโลม
    • สร้อยเสมาคชาภรณ์ หรือสร้อยคอทองคำ
    • พานหน้า พานหลัง ทำด้วยผ้าถักหุ้มผ้าตาด
    • สำอาง ทำจากโลหะผิวทอง

    [แก้] อ้างอิง

    [​IMG] [​IMG]
    พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ



    1. ^ <sup>1.0</sup> <sup>1.1</sup> <sup>1.2</sup> พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. ๘๐ พรรษา มหามงคล -- กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บันทึกสยาม, พ.ศ. 2550. (ISBN 978-974-09-4848-3)
    2. ^ คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. ช้างในชีวิตของผม -- กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000, พ.ศ. 2549. (ISBN 974-690-514-7)
    3. ^ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ในคอลัมน์ข้าวไกลนา หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ว่าเกิดที่จังหวัดกาญจนบุรี
    4. ^ [http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=10423 ช้างต้นคู่พระบารมี 60 ปีองค์ราชันย์ ] จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
    5. ^ อำนวย สุวรรณชาตรี, พระเศวต, องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2547
    6. ^ คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์, คอลัมน์ ข้าวไกลนา, 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
    7. ^ "คชาภรณ์" อาภรณ์สำหรับช้างต้นคู่พระบารมี จาก ผู้จัดการ
    8. ^ คชาภรณ์ชุดใหม่ แก่ช้างเผือกคู่พระบารมี จาก มติชน
     
  11. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    [​IMG]
     
  12. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    [​IMG]
     
  13. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,710
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    [​IMG]

    ในสมัยพุทธกาลได้กล่าวถึงเรื่องราวช้างเผือกที่เป็นช้าง คู่บารมีของพระเวสสันดร ตอนที่พระเจ้ากลิงคราษฏร์ส่งทูตไปทูลขอช้างเผือกที่มีชื่อว่า "ปัจจัยนาค" เพื่อขจัดปัดเป่าความแห้งแล้งและข้าวยากหมากแพงในเมืองกลิงคราษฏร์ โดยเชื่อว่าช้างเผือกที่พระเวสสันดรทรงประทับนั้น มีอำนาจพิเศษ ถ้าอยู่เมืองใดก็จะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธ์จะอุดมสมบูรณ์ ซึ่งพระเวสสันดรก็ประทานให้ตามที่ขอ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=776 bgColor=#101123 border=0><TBODY><TR><TD class="f13 style127" vAlign=center align=middle>ภาพชุด 5 นิทรรศการช้างเผือกคู่พระบารมี</TD><TD> </TD><TD></TD></TR><TR><TD height=16></TD><TD class="f13 style128" vAlign=top colSpan=7>พระมหาชนก, รวมภาพพระมหาชนก ,ภาพการแสดงพระมหาชนก, แสง สี พระมหาชนก , นางมณีเมขลา,ต้นมะม่วงในเรื่องพระมหาชนก,</TD><TD width=18></TD><TD></TD></TR><TR><TD height=936></TD><TD vAlign=top colSpan=7><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#7c7c7c border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD class=style11 vAlign=center align=middle width=355 bgColor=#434343 height=470>[​IMG] </TD><TD vAlign=center align=middle width=356 bgColor=#434343>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=style11 vAlign=center align=middle bgColor=#434343 height=463>[​IMG] </TD><TD vAlign=center align=middle bgColor=#434343>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD height=58></TD><TD width=47> </TD><TD vAlign=top colSpan=5><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD class="f13 style7" vAlign=center align=middle width=626 height=58><!--DWLayoutEmptyCell--> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=41> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=776 bgColor=#101123 border=0><TBODY><TR><TD class="f13 style127" vAlign=center align=middle>ภาพชุด 5 นิทรรศการช้างเผือกคู่พระบารมี</TD><TD> </TD><TD></TD></TR><TR><TD height=16></TD><TD class="f13 style128" vAlign=top colSpan=7>พระมหาชนก, รวมภาพพระมหาชนก ,ภาพการแสดงพระมหาชนก, แสง สี พระมหาชนก , นางมณีเมขลา,ต้นมะม่วงในเรื่องพระมหาชนก,</TD><TD width=18></TD><TD></TD></TR><TR><TD height=936></TD><TD vAlign=top colSpan=7><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#7c7c7c border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD class=style11 vAlign=center align=middle width=355 bgColor=#434343 height=470> [​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle width=356 bgColor=#434343>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=style11 vAlign=center align=middle bgColor=#434343 height=463>[​IMG] </TD><TD vAlign=center align=middle bgColor=#434343>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD height=58></TD><TD width=47> </TD><TD vAlign=top colSpan=5><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD class="f13 style7" vAlign=center align=middle width=626 height=58><!--DWLayoutEmptyCell--> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=776 bgColor=#101123 border=0><TBODY><TR><TD class="f13 style127" vAlign=center align=middle>ภาพชุด 5 นิทรรศการช้างเผือกคู่พระบารมี</TD><TD> </TD><TD></TD></TR><TR><TD height=16></TD><TD></TD><TD class="f13 style128" vAlign=top colSpan=7>พระมหาชนก, รวมภาพพระมหาชนก ,ภาพการแสดงพระมหาชนก, แสง สี พระมหาชนก , นางมณีเมขลา,ต้นมะม่วงในเรื่องพระมหาชนก,</TD><TD width=18></TD><TD></TD></TR><TR><TD height=472> </TD><TD vAlign=top colSpan=9><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#7c7c7c border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD class=style11 vAlign=center align=middle width=386 bgColor=#434343 height=470>[​IMG] </TD><TD vAlign=center align=middle width=356 bgColor=#434343>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD></TD></TR><TR><TD height=22> </TD><TD> </TD><TD width=47> </TD><TD width=16> </TD><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD><TD width=40> </TD><TD width=41> </TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD height=58></TD><TD></TD><TD> </TD><TD vAlign=top colSpan=5><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD class="f13 style7" vAlign=center align=middle width=626 height=58><!--DWLayoutEmptyCell--> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    ช้างต้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีปกกระพองและภู่ขนจามรีห้อยหน้าหู พร้อมผ้าเยียรบับคลุมหลัง มีควาญคอและควาญท้าย ขณะเดินอยู่ในสวนสราญรมย์ ประมาณ พ.ศ.2411
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • .jpg
      .jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.7 KB
      เปิดดู:
      556
  18. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    ใครคือขุนคลังแก้วเอ่ย
     
  19. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ดร.จิรายุ อิศรางกูร ท่านเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ครับ
     
  20. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...