ชินบัญชร ถามผู้รู้

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย tenis, 4 กันยายน 2009.

  1. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
    สวัสดีคะ

    เท่าที่ทราบมา คาถาชินบัญชร รจนาขึ้นในภายหลังโดย หลวงพ่อโต (น่าจะประมาณรัชกาลที่ 4)
    1. คาถานี้มีความเป็นมาอย่างไรคะ
    2. คำแปลของคาถานี้ เป็นการเชิญพระอรหัตน์มาไว้ภายในส่วนต่าง ๆ ของกายเรา ในประเด็นนี้เกิดข้อสงสัย อยากให้ท่านผู้รู้ช่วยชี้ทางให้ด้วยคะ เนื่องจากส่วนตัวเป็น ปุถุชนหญิง มีความรูสึกว่าเป็นการไม่บังควรเลยที่จะเชิญให้พระอรหัตย์พระขีณาสพมาในร่างกายของปุถุชนหญิง เหมือนกับไม่เคารพท่าน

    ส่วนตัวคิดว่า น่าจะเป็นอุบายในการเจริญสังฆานุสติ
    รู้สึกตะขิดตะขวงใจเสมอกับบทนี้ เดิมที่เลือกที่จะ "ตัด" ไปเสียกับการสวดมนต์
    เพราะจิตไม่สามารถน้อมไปได้
    แต่ขณะเดียวกัน ก็หวังว่าท่านผู้รู้ ผู้มีญาณอาจจะชี้อุบายและปัญญาได้
    (ไม่รู้ว่าเคยมีใครคิดแบบเราหรือเปล่า)

    ขอบคุณคะ
     
  2. พงศ์830

    พงศ์830 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,172
    ค่าพลัง:
    +1,196
    ปูเสื่อรอคำตอบด้วยคนครับ...อิอิได้แต่สวด...แล้วก้เคยอ่านคำแปลบ้าง...
     
  3. SPARTANS

    SPARTANS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,380
    ค่าพลัง:
    +2,986
    ตอบ
    ๑.พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้น เป็นเอกลักษณ์พิเศษ
    ๒.พระคาถา ว่าด้วยการอันเชิญพระบารมี ทั้ง พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ มาคุ้มครอง
    ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ

    อย่าเข้าใจผิดสิครับว่าเป็นการเชิญองค์ท่านมาสถิตทั่วทั้งร่างกาย ไมไช่ยังงั้นครับ
    สวดเพื่อขอพระบารมีท่านทั้งหลายแผ่มาคุ้มครองทั้งตัวเราครับ
    ลองพิจารณาดูทุกบทสวดครับ ว่าครบทั้งพุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ ถ้ามัวแต่ลังเลสงสัย
    คงไม่ได้สวดแน่ครับ
    บทสวดมนต์ทุกบทดีทั้งหมดครับจะสั้นจะยาว เพราะเป็นการกล่าวสรรเสริญ คุณพระพุทธ
    พระธรรม พระสงฆ์ เราต้องศรัทธาในพระรัตนตรัยก่อน เราต้องสมาทานศีลเสมอ
    ศีลถึงจะบริสุทธ์ เรารู้ว่าร่างกายเราเป็นทุกข์อย่างยิ่งเราไม่อยากเกิด เราตั้งใจว่าเราขอนิพพานชาตินี้อย่างเดียว อย่างอื่นไม่สน(ที่กล่าวมานี่อารมณ์พระโสดาเลยครับ ง่ายๆ สั้นๆ) ผมทำตามหลวงพ่อฤาษีครับ.... ง่ายๆสั้นๆ ^_^
     
  4. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
    ค า ถ า ชิ น บั ญ ช ร แ ป ล

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
    อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
    สัมมา สัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
    ( สวด ๓ จบ )

    ข้าฯ ขอเชิญเสด็จ พระสรรเพชญ พุทธองค์
    นราสภาทรง พิชิตมาร และเสนา
    ยี่สิบแปดพระองค์ นายกสงฆ์ทรงสมญา
    ตัณหังกรเป็นต้นมา ทรงดื่มแล้ว ซึ่งรสธรรม
    จตุสัจอันประเสริฐ ทรงคุณเลิศ ดิลกล้ำ
    ยอดบุญ พระคุณนำ ยิ่งเทพไท ไตรวิชชา
    โปรดรับ ประทับทรง ณ ที่ตรง กระหม่อมข้า
    พระพุทธเจ้าสา- ธุประฌม บังคมเชิญ

    ขอให้พระพุทธะ สักกยะ พระจำเริญ
    ประทับบนเศียรเทอญ ปราชญ์สรรเสริฐพระบารมี
    ขอให้พระธรรมะ อริยะวิสุทธิ์ศรี
    ประทับจักขุนทรีย์ ให้ข้ามีปัญญาญาณ
    ขอให้พระสังฆะ วิสุทธะคุณาจารย์
    สถิตประดิษฐาน อุระข้า อย่ารู้ไกล
    ให้พระอนุรุทธิ์ บริสุทธิ์ อยู่หทัย
    พระสารีบุตรไพโรจนัย ณ เบื้องขวา

    เบื้องหลังพระโกณทัญญะสถิต จิตตสา
    เบื้องซ้ายพระโมคคัลลา- นะสถิต สถาพร
    หูขวา พระอานนท์ ประชุมชน ประณมกร
    พระราหุล อุดมพร สถิตร่วม จรัญญา
    หูซ้ายพระกัสสป นิราศภพ กิตติมา
    คู่กับพระมหา- นามสถิตย์ ประดิษฐาน
    พระพุทธะโสภิต ผู้เรืองฤทธิ์ อุดมญาณ
    จอมมุนี วีระหาญ ไตรวิชชา ประภากร

    ดุจดวง พระอาทิตย์ แร่งร้อยฤทธิ์ พันแสงศร
    สถิตเกศ อุดมกร ปัญฉิมภาค พิบูลพรรณ
    พระกุมาระกัสสป ผู้เจนจบ วจีสัณห์
    บ่อคุณคุณานันท์ สถิตโอษฐ์ อลังการ
    ขอให้พระปุณณะ เถระพระอังคุลิมาล
    พระอุบาลีศานต์ พระนันทะ พระสีวลี
    บรรจบเป็นเบญจะ พระเถระ ผู้เรืองศรี
    สถิตย์อยู่นลาตมี เสน่ห์ดี ไมตรีตาม

    แปดสิบ พระสาวก มนต์สาธก ผู้เรืองนาม
    เรืองเดช ทุกโมงยาม ด้วยสีลาธิคุณคง
    สถิตทั่วทุกส่วนกาย ทั้งน้อยใหญ่ประทับทรง
    เป็นคุณจำเริญมง คลเลิศประเสริฐศรี
    ขอเชิญพระปริตร อันศักดิ์สิทธิ์ในแดนตรี
    เมตตาและปรานี บริรักษ์ นิราศภัย
    เบื้องหน้ารัตนสูตร ธรรมาวุธ อันเกรียงไกร
    ทักษิณ อันฤาชัย เมตตสูตร พระพุทธมนต์

    ปัจฉิม ธชัคคสูตร พุทธาวุธ วิเศษล้น
    บุดรมหามนต์ อังคุลิมาละสูตรเสริม
    ขันธโมพระปริตร ดังจักรกฤช ประสิทธิ์เฉลิม
    อาฏานาฎสูตรเติม พระขรรค์เพ็ชรเผด็จมาร
    เพดารกั้นมารอากาศ ให้ปลาส เกษมศานต์
    อีกให้เป็นปราการ กำแพงแก้วกำขัตภัย
    กำแพงแก้วเจ็ดชั้น ดำรงมั่น เดโชชัย
    พระชินราช ประสาทให้ เป็นเกาะใหญ่ คุ้มครองตน

    ด้วยเดช พระชินศรี เรืองฤทธิ์ มากเหลือล้น
    กำจัดภัย ทุกแห่งหน ทั้งวิบัติ อุปัททวา
    ทั้งภายนอกและภายใน เกิดเป็นภัย ไม่นำพา
    เพียงลมร้าย พัดไปมา ไม่บีฑา อย่าอาวรณ์
    เมื่อข้า สวดพระสูตร พระสัมพุทธบัญชร
    สูงสุดพระพุทธพร ในพื้นเมธนีดล
    กลางชินนะบัญชร คุณากร กิตติพล
    หวังใดให้เป็นผล จากกุศลสาธยาย

    ขอมวลมหาบุรุษ หน่อพระพุทธฤาสาย
    รักษาข้าอย่าคลาย ตลอดกาล นิรันดร
    อีกเวทมนต์ ดลคาถา ที่มวลข้า ประฌมกร
    เล่าเรียน เพียรว่าวอน อนุสรณ์ ตลอดมา
    เป็นคุณ คุ้มครองดี อย่าให้มี ซึ่งโรคา
    เป็นคุณ ช่วยรักษา สรรพภัย ไม่แผ้วพาน

    อานุภาพ พระชินะ อุปัทวะ อย่ารู้หาญ
    ห่างไกร ไม่ระราน ประสบงาน สวัสดี
    อานุภาพ พระธรรมะ ให้ชำนะ ความอัปรีย์
    ห่างไกล คนใจผี กาลกิณี ไม่กล้ำกราย
    อานุภาพ พระสังฆะ ให้ชำนะ อันตราย
    ไม่เห็น คนใจร้าย ไม่มั่นหมาย มาราวี
    อานุภาพ พระสัทธรรม ทุกเช้าค่ำ รักษาศรี
    จำรัส จำเริญดี ร่มพระศรี ชินบัญชรฯ

    ส่งเอกสารประกอบเพื่อคนที่เข้ามาอ่านจะได้ความลึกซึ้ง หรือเจริญศรัทธา
     
  5. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    ขอพระราชทานอนุญาตนำพระโอวาทของพระองค์มาเกริ่นนำก่อนที่จะลงลึกไปในประวัติของการได้มาซึ่งคาถาชินปัญชร หนังสือเล่มนี้ใครส่งมาให้ไม่รู้ จำไม่ได้นะค่ะ

    ท่านท้าวมหาหรหมชินนะปัญจะระ เจ้าแห่งพิธีการของโลกวิญญาณ หัวหน้ารูปพรหม 16 ชั้น ตำแหน่งผู้พิชิตมาร พระคาถาบูชา "ชินนะปัญจะระ"

    พระโอวาทของท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ
    เกิดเป็นมนุษย์มีเวลาสั้นมาก ควรจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และมีคุณค่าต่อตนเอง เวลาที่ท่านเสียไปโดยใช่เหตุ เช่น นั่งนินทา และหัวเราะโดยไร้สาระ ควรจะให้มีคุณค่าต่อจิตวิญญาณของตนเอง
    การจะทำงานเพื่อมนุษย์ชาตินั้น ต้องมีใจเด็ดเดี่ยวยอมทนทุกข์เพื่อสุขในบั้นปลายเรื่องส่วนรวมต้องมาก่อนส่วนตัวงานนั้นก็สำเร็จได้
     
  6. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    หนังสือเบื้องหลังพระคาถาชินปัญชร โดย (โต) พรหมรังษี สมเด็จพระพุฒาจารย์
    กล่าวว่า
    องค์ท้าวมหาพรหมชินนะเป็นลูกศิษย์องค์พระโมคคัลลาน์ท่านเป็นลูกของพหรหมณี ชื่อยะถานา พ่อชื่อมะติโตะ เป็นชาวอินเดียแคว้นพาราณสีเห็นองค์โมคคัลลาน์ไปบิณฑบาตก็ตามไปเป็นลูกศิษย์ ศรัทธาในการเดินบิณฑบาตอย่างสงบ สำเร็จอายุ 7 ขวบ ทิ้งสังขารเมื่ออายุ 23 ปี 6 เดือน เพราะสตรีเพศกระโดดเข้ากอดหลัง ด้วยการหลงไหลความงามของรูปท่านจึงถอดกายทิพย์ออกสู่พรหมโลก

    คุณสมบัติของท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ
    1. รูปงาม เสียงไพเราะ รู้พิธี
    2. เจ้าระเบียบพร้อมรอบคอบด้วยสะอาด
    3. ลักษณะรูปร่างสูง 185 เซนติเมตร ผิวนั้นขาวละเอียดเหมือนหยก หน้านั้นแดงระเรื่อเหมือนสีชมพู ไว้ผมเกล้าจุก บวชสมัยพระพุทธเจ้าโคดม คิ้วโก่งเหมือนคันศร ตางามเหมือนเหยี่ยว จมูกโด่งแบบแขก จมูกตรงลงมาไม่มีสัน เดินเหมือนพญาราชสีห์กายนั้นมีแสงเหมือนพระอาทิตย์ เสียงไพเราะเหมือนนกการะเวก เป็นผู้รอบรู้วิธีการต่างๆ ของโลกวิญญาณ ท่านสามารถสวดพระคาถาคลายเวท ท่านสวดคาถานี้ในโลกมนุษย์ หรือบนสวรรค์ เสียงก้องกังวานไปทั่วนรก สวรรค์ สามสิบสามชั้น เทพพรหมได้ยินสะเทือนจิต ออกจากสมาบัติหมดเพื่อรับทราบพิธีการที่ท่านจัดขึ้น

    ท่านเป็นผู้มีความสำรวมในพระธรรมวินัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่อง อิตถีเพศ เป็นผู้บริสุทธิ์ มีระเบียบที่สุด ละเอียดรอบคอบที่สุด สะอาดมากที่สุด เป็นรูปพรหม คือเป็น พรหมที่มีรูปทิพย์ ขณะนี้เป็นหัวหน้ารูปพรหม 16 ชั้น หน้าที่เป็นหัวหน้าที่ถ้าไม่มีหน้าที่แล้วท่านชอบเล่นเหมือนเด็ก ชอบร้องเพลง เคยปรากฏรูปร่างให้อาตมาเห็นในสมัยมีสังขารในการสร้างสมเด็จอิทธิเจจึงขอรจนาเพียงเท่านี้ "

    เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
    ขอให้ท่านจงอ่านอย่างพิจารณา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009
  7. chakapong

    chakapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    497
    ค่าพลัง:
    +1,305
    มีต้นกำเนิดมาจากทางเหนือครับ
     
  8. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    กำเนิดชินปัญชรคาถา
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) มีผู้เขียนถึงประวัติของท่านไว้มากมาย รวมทั้งคาถา "ชินปัญชร" ของท่านไว้ด้วยแต่ทว่าเบื้องหลังอันเป็นที่มาของพระคาถาชินปัญชรมิค่อยจะมีคนเล่าถึงที่มานัก ดังนั้นนิตยสารศักดิ์สิทธิ์จึงได้นำเอาที่มาของชินปัญชรคาถามากล่าวถึงให้ ท่านผู้อ่านได้ทราบ ...

    เมื่อครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไป

    ในคืนนั้นราวๆ ประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาวมีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ (โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิตทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์แน่นอน สมเด็จ (โต) จึงถามว่า..

    "ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกินท่านมาในสถานที่แห่งนี้มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า? ขอให้ท่านจงประสาทประทานสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด"

    ชายหนุ่มผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน
    "ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้นสร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อเรื่องวิญญาณเพราะ ฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก"

    สมเด็จ (โต) ท่านจึงกล่าวว่า
    "ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคน หากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิดจะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า"

    หนุ่มรูปงามผู้มีความสงบแลดูเป็นที่น่าเลื่อมใสจึงได้แนะวิธีต่างๆ ในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวางเทียน ธูป ดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่า เทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติ ระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า
    "ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหนอ"

    "หม่อมฉันนี้คือ ลูกศิษย์องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรี มิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉันก็จงระลึกถึง ชินนะปัญจะระ"

    มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวม
    ต่อมาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใดจึงมักระลึกถึงท่านท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ ระลึกถึงทีไร ท่านก็ปรากฏร่างทันทีช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มาก

    สมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์เรียกว่าสมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภีร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้างมิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวดจึงแปลใหม่ได้ความว่า "คาถาชินปัญชร" ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ
    สมเด็จ (โต) ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระที่ได้ช่วยเหลือท่านตลอดมาและพระคาถานี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้ายซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009
  9. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
    http://palungjit.org/threads/กำเนิดพระคาถาชินบัญชร.63960/

    สงสัยไปมา ก็เลยเจอของคุณริน (ชงเอง หาเอง)
    กำเนิดพระคาถาชินบัญชร<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-2576485761337625";/* 250x250, created 31/01/09 */google_ad_slot = "7252767143";google_ad_width = 250;google_ad_height = 250;//--> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript> </SCRIPT>
    กำเนิดพระคาถาชินบัญชร เรียบเรียงโดยคุณปัญญา นี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือ พระคาถาชินบัญชร จากรายการชินบัญชรทางวิทยุ นานแล้ว ก็ขอจะเล่าประวัติดังนี้
    เมื่อครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดิทางไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไป
    ในคืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน
    สมเด็จ (โต) จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด"
    ชายหนุ่มผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน "ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก"
    สมเด็จ(โต) ท่านจึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคนหากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิด จะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า"
    หนุ่มรูปงามผู้มีความสงบแลดูเป็นที่เลื่อมใส จึงได้แนะวิธีการต่างๆในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวาง เทียน ธูป ดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่าเทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติ
    ระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า "ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหรอ?"
    "หม่อมฉันนี้คือลูกศิษย์องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงยังอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรีมิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีย์ของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉัน ก็จงระลึกถึงชินนะบัญจะระ" มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวม
    ต่อมาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใด จึงมักระลึกถึง ท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระทีไร ท่านก็ปรากฎร่างทันที ช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มาก
    สมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์ เรียกว่าสมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้าง มิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวด จึงแปลใหม่ได้ความว่า "คาถาชินบัญชร" ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ สมเด็จ (โต) ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ ที่ท่านได้ช่วยเหลือตลอดมา และพระคาถาบทนี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้าย ซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว


    <!-- google_ad_section_end -->
     
  10. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
    ประวัติ ท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ


    ในอดีตกาลครั้งองค์สมณะโคดมเจ้า ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ครานั้นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระพุทธองค์ คือ พระโมคคัลลานะ ผู้เลิศในอิทธิฤทธิ์ และพระสารีบุตรผู้เลิศในปัญญา ณ แคว้นพาราณสี ปรากฏเด็กน้อยนามว่า ชินนะ บุตรของมะติโตพราหมณ์ และนางยะถานาพราหมณ์ โคตรบัญจะระ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแห่งองค์พระศาสดาแต่ครั้งเยาว์วัย ได้บวชเป็นสามเณร และเป็นศิษย์ของพระโมคคัลลานะ สามเณรชินนะ ทรงภูมิปัญญาเป็นที่เฉลียดฉลาดเป็นยิ่ง ศรัทธาในการบิณฑบาตอย่างสงบขยันหมั่นเพียรเป็นนิจ ครั้นอายุได้เพียง 7 ขวบก็สำเร็จอรหันต์
    สามเณร ชินนะ บัญจะระ นับว่ามีรูปงาม เสียงไพเราะ รู้พิธี เจ้าระเบียบ รอบคอบด้วยความสะอาด ตั้งอยู่ในศีลาจาวัตรอันงดงาม
    ครั้นย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม รูปร่างของท่านชินนะ บัญจะระ ยิ่งสวยสดงดงาม ผิวขาวละเอียดประดุจหยก หน้าแดงระเรื่อสีชมพู คิ้วโก่งดังคันศร ไว้เกษาเกล้าจุก เยื้องย่างสง่างามประดุจราชสีห์ ด้วยรูปงามเป็นที่ต้องตาต้องใจของสตรีเพศ จึงมีสตรีเพศต่างหลงใหลในตัวของท่านชินนะเป็นอย่างยิ่ง ด้วยท่านชินนะนั้นยึดพรหมจรรย์เป็นสรณะจึงมีแต่ความสงบ
    แล้ววันหนึ่ง ขณะที่ท่านชินนะได้ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ได้มีหญิงผู้หนึ่งซึ่งแอบหลงรักท่านชินนะ มิอาจยับยั้งใจเอาไว้ได้จึงได้โผผวาเข้ากอดท่านชินนะอย่างลืมตัว ท่านชินนะ เห็นอาการของผู้หญิงคนนั้นกระทำแก่ท่านดังนี้ก็บังเกิดความสังเวชอย่างใหญ่หลวง อันพรหมจรรย์ของท่านต้องมาแปดเปื้อนเสียดังนี้ ความยึดมั่นในพรหมจรรย์ของท่านต้องมาสะบั้นลง ท่านจึงดำริขึ้นว่า "ตัวท่านนี้มีรูปงามเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดอกุศลกรรมแก่อิตถีเพศ เป็นการสร้างบาปให้เกิดขึ้นด้วยมีกายรูปนี้เป็นเหตุ จะมีสักเท่าใดกันหนอที่ปรารถนาล่วงพรหมจรรย์ของท่านเช่นผู้หญิงคนนี้.."
    ท่านชินนะ คิดดังนี้ เห็นกายเป็นเหตุ กายทำให้พรหมจรรย์จิตเสื่อมสลาย กายก่ออกุศลจิตให้เกิดเป็นบาปกับอิตถีเพศผู้ยังมัวเมาในรูป ท่านจึงถอดกายทิพย์ออกจากร่าง ทิ้งสังขารไว้เมื่อยังไม่ถึงกาล เมื่ออายุท่านเพียง 23 ปี 6 เดือน กายทิพย์ของท่านจึงไปได้แค่ชั้นพรหมโลก
    ท่านชินนะ นับว่าเป็นผู้รอบรู้พิธีการต่างๆของโลกวิญญาณ ท่านสามารถสวดพระคาถาคลายพระเวทย์ได้อย่างเยี่ยมยอดยามท่านสวดพระคาถาไม่ว่าบนโลกหรือบนสวรรค์เสียงของท่านจะก้องกังวานไปทั่วนรกภูมิ และสวรรค์สามสิบสามชั้นเทพพรหมได้ยินจะสะเทือนจิตออกจากสมาบัติหมดสิ้น เพื่อรับทราบพิธีการที่ท่านชินนะจัดขึ้น
    ท่านชินนะบัญจะระ มีกายละเอียดอยู่ในชั้นพรหม ขณะนี้เป็นชั้นหัวหน้ารูปพรหม 16 ชั้น ควบคุมทั้งหมด ดังด้วยว่าสตรีเพศเป็นผู้ทำลายความบริสุทธิ์ของท่านเสียก่อนดังนี้ ทำให้ท่านละสังขารก่อนถึงกาลเวลาแห่งอายุดังนี้ จึงทำให้ท่านมีกำลังบุญอยู่ในแค่ชั้นพรหม ดังนั้นท่านจึงต้องสร้างบุญในโลกมนุษย์เพื่อสร้างบุญบารมีนำท่านขึ้นไปสู่แดนอรหันต์
    ดังนั้น ชินบัญชรคาถา หากท่านได้ภาวนาเป็นประจำสม่ำเสมอจักก่อให้เกิดผลดียิ่งแก่ผู้ภาวนา เพราะท่านท้าวมหาพรหม ชินนะบัญจะระ จะทรงแผ่อำนาจลงมาช่วยท่านตลอดเวลาคิดหวังอะไรย่อมสมหวังยิ่ง
    <!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  11. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
  12. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
    คาถา "ชินบัญชร" ของไทย อะไร? จากไหน? อย่างไร?

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมรํสี)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>หากย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ความนิยมศรัทธาในคาถาชินบัญชรเริ่มเผยแผ่ไปทั่วประเท ศไทยว่าเป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรํสี) วันนี้คาถาชินบัญชรกลายเป็นคาถาที่คนหลายอาชีพ หลายวัยท่องบ่นเป็นประจำ วัดต่างๆ จำนวนมากมีคาถาชินบัญชรที่ผู้มีจิตศรัทธาพิมพ์ไว้แจก แก่บุคคลทั่วไป

    ชินบัญชรออนไลน์


    แม้แต่ในอินเตอร์เน็ตเมื่อพิมพ์คำว่า "ชินบัญชร" ในกูเกิลจะมี "ชินบัญชร 304,000 ผลการค้นหา ชินบัญชร mp3 54,500 ผลการค้นหา ชินบัญชรย่อ 5,120 ผลการค้นหา ชินบัญชรคาถา 1,770 ผลการค้นหา ชินบัญชร download 68,800 ผลการค้นหา บัญชร mp3 download 15,000 ผลการค้นหา ชินบัญชรดาวน์โหลด 25,800 ผลการค้นหา ชินบัญชร imeem 4,190 ผลการค้นหา ชินบัญชรบทสวด 258,000 ผลการค้นหา"

    สารานุกรมออนไลน์อย่างวิกีพีเดีย อธิบายถึงคาถาชินบัญชรว่า "พระคาถาชินบัญชร (ข้อมูล) (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน) เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมสวดมา กที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอย ุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒ าจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวด ชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและ ศรีลังกาอีกด้วย

    การหัดสวดคาถาชินบัญชรควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีซึ่ งถือเป็นวันครูและให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3, 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต..."
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    (บน) มณฑปสำหรับสวดพระปริตต์ งานกฐินวัดชัยเสขราราม โคลัมโบ (ล่าง) บรรยากาศในวัดแกลาณียะราชมหาวิหาร เขตกัมปะหะ ใกล้นครโคลัมโบ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คาถาชินบัญชร?

    นิตยสารศิลปวัฒนธรรมเคยตอบคำถามเรื่องคาถาชินบัญชรไป แล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2530 ในบทความชื่อ "ประวัติคาถาชินบัญชร" โดยคัดย่อจากหนังสือ "ประวัติคาถาชินบัญชร" ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะมีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร

    โดยสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ทรงเขียนคำอธิบายไว้ว่า "คาถาชินบัญชรนี้ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เคยนำมาขอให้แปลเพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้ าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) ครั้งหนึ่งเมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบหลายฉบับจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกเป็นอย่างไร ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้เรียบเรียงขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน

    เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็กพิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of the Dhamma (กระจกธรรม) โดยพระนารทมหาเถระและพระกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 (ของลังกา ตรงกับ พ.ศ. 2503) ค.ศ.1961...
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    (ซ้าย) หนังสือสำหรับสวดพระปริตต์ ชื่อว่าปิรุวาณาโปตวะหันเส (กลาง) เทพนาถะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคาถาชินบัญชร (ขวา) ศิลปวัฒนธรรม เดือนมีนาคม 2552
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อได้อ่านชินบัญชรในหนังสือนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมือ งไทย ซึ่งจับความได้หายข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องกา รทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตร ฉบับลังกาเฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย

    ทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้วก็รู้สึกว่า ต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่..."

    ชินบัญชรไทย-(ศรี) ลังกา

    นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคมนี้ นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับคาถาชินบัญชรอีกครั้ง ในบทความชื่อ "เล่าเรื่องเมือง (ศรี) ลังกา คาถาชินบัญชรมาจากไหน?" โดยลังกากุมาร-ผู้เขียนชาวไทยที่ไปศึกษาอยู่ที่ประเทศศรีลังกา โดยระบุว่าคาถานี้มีกำเนิดจากลังกา

    การกำเนิดขึ้นของชินบัญชรคาถามีผลสืบทอดต่อมาจากการส วดปริตต์-การสวดเพื่อดับทุกข์เข็ญของประเทศชาติประชาชน โดยเริ่มครั้งแรกในสมัยอาณาจักรอนุราธปุระตอนกลาง ตรงกับสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 (พ.ศ.908-949) ในสมัยนั้นการสวดปริตต์เป็นที่นิยมแพร่หลาย คณะพระเถระได้แต่งคัมภีร์สำหรับสวดปริตต์โดยรวบรวมพร ะสูตรจากพระไตรปิฎก ที่เหมาะสมจะเป็นบทสวดเรียกว่า "จตุภาณวารบาลี"

    ในยุคอาณาจักรต่อมาการสวดปริตต์เป็นที่นิยมสูงสุด โดยเฉพาะประเพณีสวดพระปริตต์ตลอดคืนจนถึงเช้า ขณะที่เนื้อหาในพระสูตรจำนวน 22 บท ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์คงไม่เพียงพอกับเวลาอันยาวนาน จึงเพิ่มพระสูตรขึ้นให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่สวด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "มหาชินปัญชระ" บทสวดว่าด้วยการเชิญพระพุทธเจ้าทั้งปวงและพระมหาสาวก มาประดิษฐานทั่วสรรพางค์กาย นิยมสวดเพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตราย

    ที่มาชินบัญชร

    แต่ก็ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่า คาถาชินบัญชรเกิดมีขึ้นยุคใด นักปราชญ์ส่วนใหญ่ต่างมีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน หากแต่ละท่านเห็นสอดคล้องกันว่าคาถาชินบัญชรได้รับคต ิความเชื่อมาจากลัทธิมหายานแบบตันตระ ส่วนผู้เขียน (ลังกากุมาร) อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดในบทความค้นคว้าชิ้นน ี้ของท่าน

    นอกจากจะเปรียบเทียบคาถาชินบัญชรฉบับลังกากับฉบับสมเ ด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อย่างคำต่อคำ บทต่อบทแล้ว ผู้เขียนยังได้เสนอคาถาจุลชินบัญชรไว้สำหรับผู้สนใจด ้วย

    ได้รู้จักเข้าใจที่มาที่ไปของคาถาชินบัญชรในระดับหนึ ่ง ส่วนที่เหลือและคำถามที่อยากเชิญชวนท่านผู้อ่านคิดกั นต่อว่า เช่นนี้แล้วความนิยมศรัทธาต่อคาถาชินบัญชรของพุทธศาส นิกชนศรีลังกาเหมือนหรือแตกต่างจากพุทธศาสนิกชนไทยอย ่างไร คาถาชินบัญชร มีสถานะเป็นพระสูตรประเภทใด เพื่อศาสนกิจใด

    ทั้งหลายทั้งปวงนี้ขอได้โปรดอ่านในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนมีนาคมนี้ เพราะลังกากุมารได้อรรถาธิบายให้เห็นว่า

    ฤทธานุภาพ และพุทธานุภาพ ของพระคาถาชินบัญชร เป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพแวดล้อม และคติความเชื่อของสังคมพุทธนั้นๆ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
    [​IMG]::-16
     
  13. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
    เข้ามาเพิ่มให้คะ

    อยากให้คนสวดอยู่แล้วได้รับความลึกซึ้ง คือมีราก (ที่มา)
    และเข้าถึงยอด (กุศล+อานิสงค์)

    ด้วยกศลเหตุที่เราทำในวันนี้ ปรารถนาผลอานิสงค์ ให้
    เมื่อปรารภถึงธรรมใด ๆ ขอธรรมนั้นปรากฏให้เรารู้ ครบถ้วน ลึกซึ้งในธรรม
    เข้าถึงยอดธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญเทอญ
     
  14. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
  15. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
    [​IMG]

    หากย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ความนิยมศรัทธาในคาถาชินบัญชรเริ่มเผยแผ่ไปทั่วประเทศไทยว่าเป็นพระคาถา ศักดิ์สิทธิ์ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรํสี) วันนี้คาถาชินบัญชรกลายเป็นคาถาที่คนหลายอาชีพ หลายวัยท่องบ่นเป็นประจำ วัดต่างๆ จำนวนมากมีคาถาชินบัญชรที่ผู้มีจิตศรัทธาพิมพ์ไว้แจกแก่บุคคลทั่วไป

    ชินบัญชรออนไลน์

    แม้แต่ในอินเตอร์เน็ตเมื่อพิมพ์คำว่า "ชินบัญชร" ในกูเกิลจะมี "ชินบัญชร 304,000 ผลการค้นหา ชินบัญชร mp3 54,500 ผลการค้นหา ชินบัญชรย่อ 5,120 ผลการค้นหา ชินบัญชรคาถา 1,770 ผลการค้นหา ชินบัญชร download 68,800 ผลการค้นหา บัญชร mp3 download 15,000 ผลการค้นหา ชินบัญชรดาวน์โหลด 25,800 ผลการค้นหา ชินบัญชร imeem 4,190 ผลการค้นหา ชินบัญชรบทสวด 258,000 ผลการค้นหา"

    สารานุกรมออนไลน์อย่างวิกีพีเดีย อธิบายถึงคาถาชินบัญชรว่า "พระคาถาชินบัญชร (ข้อมูล) (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน) เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวด ชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและ ศรีลังกาอีกด้วย

    การหัดสวดคาถาชินบัญชรควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูและให้ เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3, 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต..."

    คาถาชินบัญชร ? คาถาชินบัญชร มีความเป็นมาอย่างไร

    นิตยสารศิลปวัฒนธรรมเคยตอบคำถามเรื่องคาถาชินบัญชรไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2530 ในบทความชื่อ "ประวัติคาถาชินบัญชร" โดยคัดย่อจากหนังสือ "ประวัติคาถาชินบัญชร" ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะมีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร

    โดยสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ทรงเขียนคำอธิบายไว้ว่า "คาถาชินบัญชรนี้ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เคยนำมาขอให้แปลเพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) ครั้งหนึ่งเมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบหลายฉบับจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกเป็นอย่างไร ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้เรียบเรียงขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน

    เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็กพิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of the Dhamma (กระจกธรรม) โดยพระนารทมหาเถระและพระกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 (ของลังกา ตรงกับ พ.ศ. 2503) ค.ศ.1961เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่ใช้สวดและปฏิบัติเป็นประจำได้ เริ่มตั้งแต่ นโม พุทธํ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบูชา คำสมาธิภาวนาต่างๆ บทสวดมี พาหุ ชินบัญชร มงคลสูตร รตนสูตร เป็นต้น ตัวบาลีพิมพ์ด้วยอักษรสีหลและอักษรโรมัน มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ ...

    [​IMG]
    (ซ้าย) หนังสือสำหรับสวดพระปริตต์ ชื่อว่าปิรุวาณาโปตวะหันเส (กลาง) เทพนาถะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคาถาชินบัญชร (ขวา) ศิลปวัฒนธรรม เดือนมีนาคม 2552

    เมื่อได้อ่าน ชินบัญชรในหนังสือนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึ่งจับความได้หายข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตร ฉบับลังกาเฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย

    ชินบัญชรทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้วก็รู้สึกว่า ต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่ ฉบับ ลังกานั้นมี 22 บท ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี 14 บท ก็คือ 14 บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคำก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก ส่วนคำอธิษฐานท้ายบทที่ 14 ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก คาถาบทที่ 9 ของฉบับไทย บรรทัดที่ 2 น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้ ส่วนคาถาบทที่ 12 และ 13 สับบรรทัดกัน เมื่อแก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลำดับดี”

    คาถาชินบัญชรที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) ได้ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2518 นั้น พิมพ์ ทั้งฉบับลังกาและฉบับที่สวดกันในเมืองไทย พร้อมคำแปลของทั้ง 2 ฉบับ จึงนับว่าเป็นการให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับความเป็นมาของคาถาชินบัญชร อันเป็นที่นับถือทั่วไปของคนไทย และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการนำเอาคาถาชินบัญชรฉบับลังกามาพิมพ์เผยแพร่ให้ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเมืองไทย..."

    ชินบัญชรไทย - ชินบัญชร(ศรี) ลังกา

    นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคมนี้ นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับคาถาชินบัญชรอีกครั้ง ในบทความชื่อ "เล่าเรื่องเมือง (ศรี) ลังกา คาถาชินบัญชรมาจากไหน?" โดยลังกากุมาร-ผู้เขียนชาวไทยที่ไปศึกษาอยู่ที่ประเทศศรีลังกา โดยระบุว่าคาถานี้มีกำเนิดจากลังกา

    การกำเนิดขึ้นของชินบัญชรคาถามี ผลสืบทอดต่อมาจากการสวดปริตต์-การสวดเพื่อดับทุกข์เข็ญของประเทศชาติประชาชน โดยเริ่มครั้งแรกในสมัยอาณาจักรอนุราธปุระตอนกลาง ตรงกับสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 (พ.ศ.908-949) ในสมัยนั้นการสวดปริตต์เป็นที่นิยมแพร่หลาย คณะพระเถระได้แต่งคัมภีร์สำหรับสวดปริตต์โดยรวบรวมพระสูตรจากพระไตรปิฎก ที่เหมาะสมจะเป็นบทสวดเรียกว่า "จตุภาณวารบาลี"

    ในยุคอาณาจักรต่อ มาการสวดปริตต์เป็นที่นิยมสูงสุด โดยเฉพาะประเพณีสวดพระปริตต์ตลอดคืนจนถึงเช้า ขณะที่เนื้อหาในพระสูตรจำนวน 22 บท ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์คงไม่เพียงพอกับเวลาอันยาวนาน จึงเพิ่มพระสูตรขึ้นให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่สวด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "มหาชินปัญชระ" บทสวดว่าด้วยการเชิญพระพุทธเจ้าทั้งปวงและพระมหาสาวกมาประดิษฐานทั่ว สรรพางค์กาย นิยมสวดเพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตราย

    ที่มาชินบัญชร

    แต่ก็ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่า คาถาชินบัญชรเกิดมีขึ้นยุคใด นักปราชญ์ส่วนใหญ่ต่างมีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน หากแต่ละท่านเห็นสอดคล้องกันว่าคาถาชินบัญชรได้รับคติความเชื่อมาจากลัทธิ มหายานแบบตันตระ ส่วนผู้เขียน (ลังกากุมาร) อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดในบทความค้นคว้าชิ้นนี้ของท่าน

    นอกจากจะเปรียบเทียบคาถาชินบัญชรฉบับลังกากับฉบับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต อย่างคำต่อคำ บทต่อบทแล้ว ผู้เขียนยังได้เสนอคาถาจุลชินบัญชรไว้สำหรับผู้สนใจด้วย

    ได้รู้จักเข้าใจที่มาที่ไปของ"คาถาชินบัญชร"ในระดับหนึ่ง ส่วนที่เหลือและคำถามที่อยากเชิญชวนท่านผู้อ่านคิดกันต่อว่า เช่นนี้แล้วความนิยมศรัทธาต่อคาถาชินบัญชรของพุทธศาสนิกชนศรีลังกาเหมือน หรือแตกต่างจากพุทธศาสนิกชนไทยอย่างไร คาถาชินบัญชร มีสถานะเป็นพระสูตรประเภทใด เพื่อศาสนกิจใด

    ทั้งหลายทั้งปวงนี้ขอได้โปรดอ่านในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนมีนาคมนี้ เพราะลังกากุมารได้อรรถาธิบายให้เห็นว่า ฤทธานุภาพ และพุทธานุภาพ ของพระคาถาชินบัญชร เป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพแวดล้อม และคติความเชื่อของสังคมพุทธนั้นๆ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ที่มา...http://www.tumsrivichai.com/
    ...........................................................................................
    สวดคาถาชินบัญชร เป็นประจำทุกวัน แล้วจะพบแต่สิ่งดีๆ
    คาถาชินบัญชร พระคาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) คาถาชินบัญชร นี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ค้นพบพระคาถาชินบัญชร ในคัมภีร์โบราณ และได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ

    ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง
    ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ
    ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงสมเด็จโตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวดคาถาชินบัญชร

    ตั้ง นโม 3 จบ

    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    ระลึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แล้วตั้งอธิษฐาน

    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


    เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร

    ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
    จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

    ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
    สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

    สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
    สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

    หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
    โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

    ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
    กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

    เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
    นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว

    กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
    โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

    ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
    เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.

    เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
    เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
    ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

    ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
    ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

    ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
    อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

    ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
    วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

    อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
    วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

    ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
    สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

    อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
    ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
    ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
    สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
    สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

    ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ คาถาชินบัญชร ดีนักแล
     
  16. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
    นั่งเล่นไปแล้วก็นึกขึ้นได้ว่า

    เรื่องใด ๆ
    กูไม่รู้..
    แต่กูเกิ้ลรู้

    วันนี้ไม่น่าลืมเพื่อนรักไปได้ ถือว่า ค้น คว้า มาให้อ่านเอาบุญกันคะ
     
  17. เมตตาวิหารี

    เมตตาวิหารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    671
    ค่าพลัง:
    +437
    เข้าไปแก้ไขข้อความสักนิสส ได้บุญโขครับ

    " ท่านเกลียดสตรีเพศ เป็นผู้บริสุทธิ์ มีระเบียบที่สุด ละเอียดรอบคอบที่สุด สะอาดมากที่สุด เป็นรูปพรหม คือเป็น พรหมที่มีรูปทิพย์ ขณะนี้เป็นหัวหน้ารูปพรหม 16 ชั้น หน้าที่เป็นหัวหน้าที่ถ้าไม่มีหน้าที่แล้วท่านชอบเล่นเหมือนเด็ก ชอบร้องเพลง เคยปรากฏรูปร่างให้อาตมาเห็นในสมัยมีสังขารในการสร้างสมเด็จอิทธิเจจึงขอรจนาเพียงเท่านี้ "


    บุญรักษาท่านผู้เจริญ

    กระผมได้เข้าไปอ่านกระทู้ที่ท่านผู้เจริญได้ กรุณาเข้ามาเขียนเป็นวิทยาทาน แล้วครับ
    แต่กระผมขออนุญาติท้วงติง สักนิสส คงไม่ทำให้ท่าน ฯ ขัดเคืองใจนะครับ

    ตรงที่ของความ ที่ผมทำเป็นสีแดงนั้น ผมเห็นว่า อ่านแล้ว ไม่เป็นที่บันเทิงใจ และอาจจะไม่ทำศรัทธาให้เกิดขึ้นในสตรีเพศได้ เพราะอ่านแล้วทำให้เข้าใจว่าท่านเกลียดผู้หญิง

    ถ้าเป็นเป็นเช่นนั้น อาจจะทำให้ ผุ้หญิงหลายคนที่ไม่มีความเข้าใจในจุดนี้ดีพอ จะเว้นและห่างในการเจริญบทสวดชินบัญชรนี้ ซึ่งจะทำให้บางคนที่ไม่เข้าใจขาดโอกาส ที่จะรักษาซึ่งการสาธยาย ซึ่งบท ชินบัญชร นี้ไป

    กระผมจึงเห็นว่า ควรหรือน่าจะเปลี่ยนเป็น

    ( ท่านเป็นผู้มีความสำรวมในพระธรรมวินัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่อง อิตถีเพศ )เป็นผู้บริสุทธิ์ มีระเบียบที่สุด ละเอียดรอบคอบที่สุด สะอาดมากที่สุด เป็นรูปพรหม คือเป็น พรหมที่มีรูปทิพย์ ขณะนี้เป็นหัวหน้ารูปพรหม 16 ชั้น หน้าที่เป็นหัวหน้าที่ถ้าไม่มีหน้าที่แล้วท่านชอบเล่นเหมือนเด็ก ชอบร้องเพลง เคยปรากฏรูปร่างให้อาตมาเห็นในสมัยมีสังขารในการสร้างสมเด็จอิทธิเจจึงขอรจนาเพียงเท่านี้ "


    ขออนุโมทนาสาธุการครับ

    เมตตาวิหารี


    *ต้องกราบขออภัย ที่ต้องนำมาลงไว้เหมือนเดิมเพราะเกรงว่า ท่านผู้เจริญอื่น เข้ามาอ่านแล้วจะ งง ๆ ว่าท้วงติง เพราะเหตุอะไร....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009
  18. Jzaaa12

    Jzaaa12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +161
    ดีมากครับเคยมีประสบการณ์
     
  19. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    มิมีปัญหาต้องขอขอบคุณคำแนะนำท่านอย่างมาก เพราะเราก็ลืมนึกไปว่า...ทั้งที่ตอนนี้ก็ดำรงอยู่ในร่างสตรีเพศเหมือนกัน...แก้เรียบร้อยแล้วจ้า...

    แต่ใครเลยจะคิดเฉกเช่นข้าพเจ้าว่า...ร่างเรานั้นจะเป็นหญิงหรือชายก็แค่เป็นที่พักอาศัย มาเกิดก็เพราะบาป เวร ทั้งกรรมชั่วและกรรมดีผสมปนเปกันไป จิตวิญญาณภายในต่างหากเล่าที่ไม่มีการแบ่งแยกทำให้มองข้ามจุดนี้ไป

    หญิงทั้งหลายอย่าได้เสียใจที่ได้เกิดมาเป็นหญิงเลย เราจะเล่านิทานให้ฟัง...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีเด็กน้อยคนหนึ่งอายุไม่เท่าไรก็เปรยว่าอยากบวชชี
    แม่ได้ยินดังนั้นก็หน้าถอดสีและอ้อนวอนลูกว่า
    "เห็นแก่หน้าแม่เถิดลูก หนูเป็นลูกผู้หญิง ต้องแต่งงาน มีครอบครัว
    ถ้าหนูบวชคนทั้งตำบลจะเอาไปนินทาต่างๆๆ นานา..."

    ลูกนั้นเห็นแม่เสียใจก็เลยไม่พูดอะไร และด้วยความที่เป็นเด็กก็ทำให้ลืมเหตุการณ์ครั้งนั้นเที่ยวเล่นไปเรื่อยเปื่อย

    เนื่องด้วยเป็นครอบครัวโบราณนอกจากพวกที่ตามกันมาเองมากมาย ก็มีการสู่ขอ คลุมถุงชนเช่นกัน แต่แล้วก็มีอันต้องเลิกไปเพราะมีแต่ปัญหา ในที่สุดแม่ก็ท้อใจและยอมให้ลูกครองตัวเป็นโสด ภายหลังหญิงสาวคิดจะบวชอีกหลังล่วงเลยมาได้แล้ว 20 กว่าปี

    วันนั้นหญิงสาวคนนั้นก็ได้เปรยกับพระอาจารย์ว่า... แย่จังเลยที่เกิดมาเป็นหญิงไม่สามารถบวชเรียนศึกษาธรรมะและติดตามพระอาจารย์ไปธุดงค์ได้ จะเอ๋ยจะกล่าวอะไรก็ก็แสนจะลำบาก ...ไม่กล้าเพราะกลัวจะทำให้บุคคลภายนอกเห็นว่าผู้หญิงอายุเท่านี้ทำอะไรอยู่ที่นี่ ความกังวลใจที่อาจจะทำให้พระอาจารย์เสื่อมเสีย ทำลายพระศาสนาอย่างที่ตอนนี้เป็นอยู่ ....พูดกันจะจริงหรือไม่จริง มีใครตรวจสอบหรือไม่มีก็ไม่สนใจ จึงทำให้ยุคนี้พระศาสนาเสื่อมเพราะผู้หญิงมากเหลือเกิน

    ท่านก็ยิ้มและก็ตอบว่า ....ลองย้อนดูตัวเองสิว่าทำไมชาตินี้ถึงได้เป็นหญิงเช่นนี้...หลังจากระลึกนึกทบทวนตัวเอง + ภาพนิมิต ปัญญาก็เกิดทุกอย่างมีผลก็ต้องมีเหตุ (ขอไม่เอ๋ยว่าเป็นเหตุผลใด...พูดกว้างๆๆ ก็คือกรรมชั่วและกรรมดีผสมปนเปกัน)

    ท่านเรียกอีกทีเพื่อให้สติกลับมาอยู่ที่คำสนทนาต่อไป ท่านกล่าวต่อไปว่า...จะเป็นหญิงหรือชาย จะอยู่ในเพศบรรชิตหรือฆาราวาสก็ไม่ได้แตกต่างกัน แท้ที่จริงแล้วต้องตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้ดีงามและหมั่นสำรวจตัวเองก็เพียงพอแล้วที่จะขัดเกลาจิตใจให้สูงขึ้น

    ธรรมะนะอยู่ในธรรมชาติ อยู่ที่บุญบารมี อีกหน่อยก็จะเข้าใจ
    ถึงแม้หนทางยังอีกยาวไกลแต่ถ้าปัญญาเกิดแล้ว จะอยู่เยี่ยงไร เพศไหน สถานะอะไร ภพไหน เป็นใคร ฯลฯ ก็ไม่สำคัญอีกต่อไป

    เอวัง ก็มีด้วยประการละฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009
  20. คนสีขาว

    คนสีขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +178
    เมื่อเริ่มสวดพระคาถาช่วงแรกๆ ก็หัดจากหนังสือสวดมนต์ ช่วงนั้นยังมีสำนักปู่สวรค์ ตอนนี้มีหรือเปล่าไม่รู้สิ.....จำพระคาถาจนขึ้นใจ ท่องเป็นอารมณ์ จนกลายเป็นความเคยชิน .. และปลอดภัยจากหลายๆอย่าง จนคิดว่า ..ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่ความเชื่อมั่นและศรัทธาในองค์ท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ สมเด็จโต และองค์พระคาถา

    ....ทุกวันนี้ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ก็นึกมหัศจรรย์ตัวเองว่าจำเข้าไปได้งัยเนี่ย ตั้งยาว ก็สวดตั้งแต่มัธยม ปัจจุบันเกือบ 40 เข้าไปแล้ว .. ดังนั้นศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...