คิริมานนทสูตรกล่าวถึงความเสื่อมที่ปรากฏในยุคปัจจุบันนี้ได้ชัดเจนเป็นที่สุด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นิพพิชฌน์55, 6 เมษายน 2016.

  1. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    ท่านทั้งหลายได้ฟังแล้ว มีประเด็นไหนที่จะนำเสนอมั้ยครับเพราะมีมากมายเหลือเกินซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดเจนอยู่แล้ว คาดว่าเขาที่ทำลงไปคงไม่นับถือพระพุทธองค์จริง ไม่ใช่พุทธบริษัทของพระพุทธองค์จริง ... ผมยกมาสัก 2 ประเด็นก่อนละกันครับ ผู้ใดจะเสนอประเด็นอื่นก็พิมพ์เพิ่มได้นะครับแล้วนำมาสนทนากันเพิ่มเติมได้


    1. ในภายหน้า "จะมีพวกมิจฉาทิฐินอกพระพุทธศาสนาอวดอ้างว่าตัวรู้ ตัวเห็นผี ได้พูดจากับด้วยผี (ที่คุยได้ที่เห็นจริงมีแต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้น นอกนั้นอวดอุตตริทั้งนั้น) ครั้งบุคคลนี้ได้เกิดขึ้นแล้วจะเบียดเบียนพระพุทธศาสนาให้เสื่อมถอยลงไปด้วยถ้อยคำเสียดสีเบียดเบียนต่าง ๆ" ... (ใน youtube คิริมานนทสูตร 2 ประมาณนาทีที่ 51)
    2. "ภายหลังจะเกิดพระบ้าน พระป่ากันขึ้น แล้วก็จะแตกกันออกเป็นพวก ๆ ไม่สามัคคีกัน ต่างพวกก็ถือแต่ตัวดี ศาสนาของพระพุทธองค์ก็จะเสื่อมถอยลงไปเพราะพวกมิจฉาทิฐิ เห็นแก่ลาภและยศ หาความสุขมิได้ มรรคผลธรรมวิเศษก็จะไม่เกิดขึ้นแก่เขา เขาก็จะเรียนวิชาเอาแต่ศีลธรรมที่พวกมิจฉาทิฐิสอนให้ รู้อะไรกันขึ้นเล็กน้อยก็อวดกันไป แท้ที่จริงความรู้เหล่านั้นล้วนแต่รู้ดีนำไปสู่นรก เขาจักไม่พ้นอบายภูมิได้เลย ดูก่อนอานนท์ในอนาคตกาลภายหน้าจะมีแบบนี้ไม่ต้องสงสัย" (คิริมานนทสูตร 2 เช่นกัน ประมาณนาทีที่ 53)


    ยังมีอีกมากครับ แต่ยกมาทีละนิดก่อน ดูข้อความอาจยาว หากฟังดูแล้วจะสั้น ๆ นิดเดียวครับ ถ้าพิมพ์ยาวมากจะไม่น่าอ่าน เอาเพียงใจความพอเข้าใจพอนะครับ ... คำบางคำนั้นอาจจะไม่ได้พิมพ์ตามหมดเพราะเอาใจความสำคัญยกมาในประเด็นนะครับตรงนี้คงไม่ตำหนิกันเพราะคงไม่ต้องเอาตรงเปะ ๆ ทุกคำเหมือนพวกนักกฎหมายที่เอาแต่ตัวหนังสือมาอ้างกัน เพราะในพระธรรมของพระองค์ย่อมไม่เกิดประโยชน์หากเป็นแค่หนอนหนังสือแต่ไม่มีสภาวะของตนรองรับหรือไม่เคยเสวยนั่นเอง ตรงนี้คงเข้าใจ ... (- -)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2016
  2. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    ยินดีต้อนรับเฉพาะผู้สนใจในธรรมเท่านั้นนะครับ ไม่ยินดีในผู้ที่ชอบพาลหรือผู้ชอบถกเพื่อเอาชนะแต่ถ่ายเดียว ...

    และอีกประการคือขอให้เข้าไปฟังในบทนี้ให้จบก่อนนะครับ (คิริมานนทสูตร 1 และ 2 ที่ youtube) จะได้สนทนากันได้เข้าใจและรู้เรื่องเพื่อประโยชน์ต่อผู้สนใจในสัจธรรมครับผม ... (^_^)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2016
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ..................มันคงต้องตั้งไว้ให้ถูก ว่า จะถ่ายทอดพระสูตรให้ค่อนข้างดี มีเนื้อความตรง.....หรือ จะบอกเล่าสภาวะของตนที่บอกว่ารองรับ ไม่งั้น ก็ ....คนละอย่างกัน:cool:
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ฉะนั้น ความเชื่อที่ว่าศาสนาไม่เสื่อม ส่วนที่เสื่อมนั่นเพราะคน
    ในศาสนาประพฤติตนเสื่อมเสียเอง ก็เป็นความเชื่อที่ผิด
    ไปจริงๆ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงตรัสว่าศาสนาจะเสื่อม
    เช่นนี้ๆ .....คงต้องเข้าใจในสัจธรรมนี้กันเสียเสียใหม่นะฮะ
     
  5. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31

    ถ่ายทอดทั้งสองที่คุณได้บอกมาครับ แต่บางครั้งต้องตั้งประเต็นไว้ ... หากใครไม่มีสภาวะของตนก็ย่อมสังเกตได้จากการสนทนานั่นแหล่ะครับ ... เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อความคุณนี้ครับ เพราะผู้จะถ่ายทอดแต่พระสูตรก็เป็นเพียงใบลานเปล่า ซึ่งพระพุทธองค์ไม่ได้สรรเสริญเพราะเปรียบเสมือนภิกษุทัพพี
     
  6. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    ขอให้พิจารณาตรงนี้สิครับเผื่อจะเข้าใจเพิ่มขึ้นไปอีก

    ผู้ใดเห็นว่าเที่ยง ก็เข้าข่าย สัสสตทิฏฐิ ***
    ผู้ใดเห็นว่าขาดสูญ ก็เข้าข่าย อุทเฉท ทิฏฐิ ***
    สังเกตดูสิจะเห็นในคำที่พระพุทธองค์ตรัสซึ่งมีปรากฏมากมายว่า "สิ่งหนึ่งมี สิ่งหนึ่งจึงมี"

    และในประเด็นที่คุณกล่าวถึงนั้นคือการเสื่อม ก็มีปรากฏซึ่งมีใจความว่า
    "ยุคใดสมัยใดสัทธรรมของเรารุ่งเรือง อสัทธรรมก็จะเสื่อมลง
    ยุคใดสมัยใดอสัทธรรมรุ่งเรือง สัทธรรมของเราก็จะเสื่อมลง"

    พิจารณาดี ๆ หวังว่าจะได้ประโยชน์ในการพิจารณานะครับผม (- -)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...