คำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย ปราถนาบุญ, 22 กรกฎาคม 2010.

  1. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    ข้อความ ที่ ข้าพเจ้าได้นำมาลงในกระทู้นี้ ได้คัดลอกมาจาก หนังสือที่รวบรวม คำสอน ของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ที่ทางคณะ ศิษย์ วัดสะแก
    ได้จัดพิมพ์ ขึ้น และในบางบทความ ได้นำมาจาก เว็ป Luangpudu.com
    กระทู้นี้ ตั้งเพื่อ บอกเล่า และ นำคำสอน ของ หลวงปู่ดู่ มาเผยแผ่ แก่ทุกท่านที่สนใจในคำสอนของท่าน เท่านั้น มิได้หวังและมีส่วนใดที่เป็นเชิงพาณิช หากท่านใด มีคำสอน ของท่าน ก็ เชิญมาร่วมกัน เผยแผ่ในกระทู้ได้นะครับ
     
  2. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    อีก 10 ปี ค่อยพบกัน

    [​IMG]
    "อีก ๑๐ ปี ค่อยพบกัน" คือคำที่หลวงปู่ได้พูดทิ้งท้ายไว้ให้กับลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งก่อนที่ท่านจะมรณภาพไม่นาน
    เรื่องราวต่อไปนี้เป็นกรณีศึกษาที่มีคุณค่าไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่ทันเห็นสังขารขันธ์ของหลวงปู่ ก็จะพอทำให้เห็นภาพปฏิปทาท่านชัดเจนขึ้น
    ลูกศิษย์หลวงปู่คนนี้ได้มาพบหลวงปู่และเกิดศรัทธาท่านนับแต่ครั้งแรกที่เพื่อนพามากราบท่านที่วัดสะแก ถ้าว่าทางโลกก็ต้องเรียกว่า รักแรกพบกันเลยทีเดียว
    คำพูดหลวงปู่ที่ก้องกังวานอยู่ในใจเขาตลอดก็คือ "ภาวนาไป ๆ"
    ไม่ว่าจะมีปัญหาชีวิต หรือประสบอุปสรรคใด ๆ หลวงปู่ท่านก็ให้ภาวนาลูกเดียว ไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่ท่านจะบอกว่าให้ไปสะเดาะเคราะห์แก้กรรมอะไรเทือกนั้น
    เขาภาวนาที่บ้าน พอมาที่วัด หลวงปู่ก็มักให้เขารายงานผลการปฏิบัติให้ท่านฟัง นัยว่าให้เกิดความละอายใจหากขี้เกียจปฏิบัติ เพราะถ้าไม่ได้ปฏิบัติก็ย่อมไม่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติที่จะมาสนทนากับท่านนั่นเอง
    เขาปฏิบัติก้าวหน้ามาเป็นลำดับ กระทั่งหลวงปู่ละสังขารจากเขาไป
    เขาและครอบครัวไม่เคยคิดเลยว่าจะมีวันที่เขาลืมหลวงปู่ไปถึง ๑๐ ปี ตรงตามที่หลวงปู่ได้พูดทิ้งท้ายก่อนมรณภาพ
    นับแต่หลวงปู่ได้มรณภาพไป ชีวิตครอบครัวของเขาพบอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย การค้าการขายก็ย่ำแย่ พอมีคนมาทักว่าถูกคุณไสย เขาก็พากันไปสะเดาะเคราะห์แก้กรรม กลับมาดีขึ้นไม่ทันไร เดี๋ยวก็ฝันร้ายว่ามีเจ้ากรรมนายเวรมาทวงหนี้อีก ก็ต้องไปสะเดาะเคราะห์แก้กรรมกันอีก
    ไปสะเดาะเคราะห์บางแห่ง ต้องทำบุญเทียนต้นละ ๔-๕ หมื่นบาทก็มี เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ไปแก้คุณไสยบางแห่ง ก็ถูกคุณไสยของใหม่เข้าให้อีก เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปสะเดาะเคราะห์แก้กรรมที่จังหวัดระยอง เทียวไปเทียวมาทุกสัปดาห์อยู่อย่างนี้เป็นเวลาถึง ๑๐ ปีเต็ม การปฏิบัติภาวนาไม่ต้องพูดถึง เพราะลืมไปสิ้น ในหัวสมองรู้แต่ว่าต้องไปสะเดาะเคราะห์แก้กรรม
    และแล้วเมื่อย่างเข้าปีที่ ๑๐ ที่เขาลืมหลวงปู่ไปเหมือนอย่างศิษย์ไร้ครูอาจารย์ หรือเหมือนลูกไร้พ่อแม่
    ณ ที่สำนักทรงแห่งหนึ่ง แทนที่คนทรงจะทำการรักษาเขาเหมือนที่รักษาให้คนอื่น คนทรงคนนั้นกลับด่าเขาว่า "มีครูอาจารย์ดีอยู่แล้ว ท่านคอยตามดูแลและเป็นห่วง กลับไม่สำนึก กลับลืมท่านไปได้ ให้รีบกลับไปขอขมาท่านเสีย"
    ศิษย์หลวงปู่เมื่อได้ฟังคำด่านั้นแล้ว พลันนึกถึงหลวงปู่ขึ้นมา ...โอหนอ เวลาเวรกรรมมันจะให้ผล มันปิดบังสติปัญญาเสียสิ้น ทั้ง ๆ ที่หลวงปู่เตือนเขาไว้ว่า "อย่าทิ้งการปฏิบัติ อย่าทิ้งพุทธัง ธัมมัง สังฆัง ถ้าแกทิ้งพุทธัง ธัมมัง สังฆัง ชีวิตแกจะลำบาก" ถึงขนาดนี้แล้วเขาก็ยังลืมไปได้
    นับแต่วันนั้น เขาได้เดินทางกลับมาวัดสะแกอีก และแม้บัดนี้จะไม่ได้พบสังขารขันธ์ของหลวงปู่ แต่เขาก็เริ่มรื้อฟื้นการปฏิบัติธรรมอีกครั้ง เขาเพียรนั่งสมาธิภาวนาทั้งที่บ้านและที่วัด พอถึงวันพระก็รักษาศีลแปด ทำเช่นนี้ไม่นานฝันร้ายก็หายไป ธุรกิจของเขาก็กระเตื้องขึ้นเป็นลำดับ กระทั่งกลับมามีความสุขดังเดิมอีกครั้ง
    การกลับมาปฏิบัติธรรมครั้งนี้มันมีคุณค่าสำหรับชีวิตเขามาก และเขาเองก็เห็นคุณค่าแห่งการปฏิบัติด้วยประสบการณ์ผ่านชีวิตที่ลำเค็ญเพราะผลอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติดังที่หลวงปู่กล่าวเตือนไว้แล้ว
    เวลาประสบทุกข์ ประสบเคราะห์ใด ๆ คำหลวงปู่จะก้องกังวานมาทันทีว่า "ภาวนาไป ๆ" การปฏิบัตินี้แหละตัวสะเดาะเคราะห์แก้กรรมที่ได้ผลดีที่สุด และไม่ทำให้เขาตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพไม่ว่าพระหรือฆราวาส
    เขาเล่าให้ฟังว่า เขาเที่ยวเดินทางไปสะเดาะเคราะห์แก้กรรมเป็นเวลาถึง ๑๐ ปีเต็ม เสียเงินไปร่วมล้าน และมันก็ไม่จบไม่สิ้นสักที กระทั่งหลวงปู่ไปดลใจคนทรงให้กล่าวเตือนสติเขา เขาจึงระลึกถึงหลวงปู่ขึ้นมาได้ พร้อมกับคำสอนหลวงปู่ที่ให้สะเดาะเคราะห์แก้กรรมด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนา
    ทุกยุคทุกสมัย พิธีการสะเดาะเคราะห์แก้กรรมย่อมลวงคนโง่ให้ตกเป็นเหยื่อ
    บัดนี้ หลวงปู่ไม่อยู่แล้ว ก็ไม่รู้ว่าศิษย์ชั้นหลังจะได้รับทราบหรือไม่ว่าหลวงปู่ไม่เคยส่งเสริมพิธีสะเดาะเคราะห์ใด ๆ เลย มีแต่ "ภาวนาไป ๆ" หากใครกล่าวอ้างว่าหลวงปู่ส่งเสริมสิ่งเหล่านี้ก็ให้รู้ว่าเขากล่าวตู่คำสอนหลวงปู่ เขาขาดความเคารพในหลวงปู่ และเขาอาจเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ต้องการทรัพย์จากคนที่ยังไม่มีหลักใจให้ต้องมาเสียเงินเสียทองสะเดาะเคราะห์แก้กรรม อันไม่ใช่ทางของการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ที่แท้จริงตามแนวทางที่หลวงปู่กล่าวสอนแต่อย่างใดเลย
     
  3. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    พระบูชา ของคนยาก

    มีเด็กวัยเรียนคนหนึ่ง ปรารถนาจะมีพระเครื่องพระบูชากะเขาบ้าง จึงได้ไปเช่าเหรียญหลวงปู่ครูบาอาจารย์ที่เป็นเหรียญทำเลียนแบบ จำหน่ายอยู่ตามตลาดพระ เป็นต้นว่า เหรียญท่านเจ้าคุณนรฯ เหรียญหลวงปู่ฝั้น เหรียญหลวงปู่ขาว เหรียญหลวงปู่แหวน เป็นต้น ในราคาเหรียญละ ๑- ๒ บาท นำมาขอความเมตตาจากหลวงปู่อธิษฐานจิต หลวงปู่มองดูแล้วก็อมยิ้ม แล้วท่านก็เมตตาอธิษฐานจิตให้ตามประสงค์

    ห่างหายไปประมาณปีหนึ่ง เด็กคนนี้พอมีปัจจัยขึ้นหน่อย ก็ไปเช่าพระแก้วมรกต ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว ทำจากเรซิ่น (พลาสติก) ราคา ๑๐๐ บาท มาขอหลวงปู่อีก หลวงปู่คงจำหน้าเจ้าหมอนี้ได้ ท่านก็เมตตารับพระมาอุ้มไว้ที่หน้าตัก แล้วท่านก็ใช้มือลูบไปที่องค์พระซ้ำ ๆ หลายครั้ง จากนั้นท่านก็จับองค์พระนิ่งสงบไปพักหนึ่ง

    สุดท้ายท่านส่งพระคืนมาให้ แล้วให้เด็กคนนั้นเอามือสองข้างจับที่ฐานองค์พระ ส่วนท่านจับที่บริเวณไหล่ทั้งสองขององค์พระ แล้วท่านก็ประสิทธิพระ (ว่าบทเตสังฯ) ในขณะที่เด็กคนนั้นยังจับที่ฐานองค์พระ ท่านพูดว่า "เอ้า ปีติขึ้นมาที่หลังแล้ว... ขึ้นมาถึงศีรษะแล้ว ใช้ได้ ๆ"
    นี้เป็นกุศโลบายของหลวงปู่ที่จะให้ผู้เป็นเจ้าของ รับรองของที่ตนจะนำไปบูชาด้วยตนเอง จะได้มีศรัทธาเชื่อมั่นคุณพระที่อยู่ในองค์พระนั้น

    สิ่งหนึ่งที่เด็กคนนั้นได้เรียนรู้ก็คือ คุณค่าแห่งพระเครื่องพระบูชานั้น มันไม่สำคัญเลยว่าสังคมภายนอกเขาจะให้ค่านิยมมากน้อยเพียงใด หรือจะตั้งราคาแพงสักปานใด
    หากแต่สำคัญที่ความบริสุทธิ์ในการได้มา ความเมตตาของครูบาอาจารย์ผู้อธิษฐานจิต และดวงจิตที่เชื่อมั่นศรัทธาต่อองค์พระนั้นต่างหาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2010
  4. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    วัตถุมงคล มงคลที่ตรงไหน

    [​IMG]
    สำหรับผู้ที่มาศรัทธาหลวงปู่ดู่นั้น ต้องยอมรับว่า "วัตถุมงคล" ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่นำทางคนจำนวนไม่น้อยให้เข้ามารับการต่อยอดจากท่านในการแสวงหาพระเก่าพระแท้คือใจที่ต้องฝึกฝนอบรมในศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้ใจเป็นพระขึ้นมาเสียเอง ก็โดยอาศัยการยึดในพุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ และสังฆัง สรณัง คัจฉามิ เป็นหลักใจเสียก่อน
    วัตถุมงคล จึงแสดงความเป็นมงคลออกมาได้จริงก็ตอนโยงจิตของเจ้าของเข้าหาธรรมนี้แหละ แค่อานิสงส์ในทางเมตตา หรือในทางแคล้วคลาดปลอดภัย ฯลฯ นั้น มันยังเป็นเรื่องโลก ๆ ขึ้นชื่อว่าโลกก็ย่อมต้องมีความพร่องอยู่เป็นนิจ และมิอาจต้านทานความแก่ ความเจ็บ และความตายได้ ถึงจะแคล้วคลาดครั้งนี้ หรือครั้งไหน ๆ สุดท้ายก็แคล้วคลาดจากความแก่ ความเจ็บ และความตายไปไม่ได้หรอก
    ดังนั้น ความเป็นมงคลของสิ่งที่เรียกว่า "วัตถุมงคล" จึงอยู่ที่ตรงนี้ ตรงที่เป็นเครื่องระลึกให้ใจเราเข้ามาในวงของพระธรรม วงของการปฏิบัติเพื่อให้ได้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนที่มีใจเป็นธรรมเท่านั้นจึงจะแคล้วคลาดปลอดภัยได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลอดจากทุกข์ทางใจ ที่เรียกว่า "ธรรมย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรม"
    หากสิ่งที่เรียกว่า "วัตถุมงคล" มิได้โยงคนเข้าหาธรรม ความเป็นมงคลก็หาเกิดไม่ เหมือนพระในคอโจร หรือพระที่ตั้งอยู่ในถิ่นต่างศาสนา ก็มิได้มีความหมายในทางยกระดับจิตใจแต่อย่างใด ความเป็นมงคลจึงไม่บังเกิด
    เวลาหลวงปู่ดู่ท่านสอนศิษย์ ท่านมักสอนให้ใช้ปัญญาใคร่ครวญ (ท่านใช้คำว่า "ตรอง") เช่น ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร นั่งสมาธิหลับตาไปทำไม ตอบตัวเองให้ชัด ชีวิตเกิดมาทำไม ใช้ชีวิตอย่างไรจึงจะไม่เป็นโมฆะ เห็นนิมิตแล้วควรวางใจอย่างไร เพื่อมิให้ขัดกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ฯลฯ
    ก็ทำนองเดียวกับที่ว่าสมาธิมิใช่เพื่อสมาธิ หากแต่เป็นสมาธิเพื่อปัญญา ท่านจึงว่า "อย่าต้มน้ำทิ้งเปล่า ๆ ต้องเอาไปชง (เครื่องดื่ม) ไมโลโอวัลติน จึงจะเกิดประโยชน์"
    วัตถุมงคลก็เหมือนกัน การบูชาวัตถุมงคลมิใช่จะให้จบแค่ตัววัตถุมงคล หรือมูลค่าการซื้อขาย หรือความเชื่อในความขลัง ฯลฯ หากแต่ต้องมาจบที่ใจเจ้าของที่หันมาหาธรรม ใจที่มีสติมากขึ้น ใจที่เผอเรอน้อยลง ใจที่เชื่อในพระรัตนตรัยมากขึ้น ชนิดที่เรียกว่าไม่อาจทำความชั่วทั้งในที่แจ้งและที่ลับ
    สิ่งที่หลวงปู่สอนมาตลอดชีวิตท่านก็คือให้ศิษย์มีปัญญา และตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ทีนี้ผู้ที่มีวัตถุมงคลไม่ว่าจะของหลวงปู่หรือของครูบาอาจารย์ท่านใดก็ตาม ก็ควรพิจารณาทบทวนดูว่า เราใช้สิ่งนี้อย่างผู้มีปัญญา รวมทั้งใช้อย่างผู้ไม่ประมาทในชีวิตหรือไม่ หรือว่าเราใช้วัตถุมงคลเพียงแค่เครื่องหาเลี้ยงชีพ ใช้เพื่ออวดหรือข่มคนที่ไม่มีเหมือนเรา ใช้เป็นเครื่องเล่นเช่นวัดพลังงานในองค์พระ ใช้เป็นสิ่งเอาไว้อ้อนวอนขอความสำเร็จชนิดไม่ต้องขวนขวายสร้างเหตุที่เหมาะสม ใช้เป็นเครื่องอุ่นใจว่าปลอดภัยแน่ ๆ แล้วตั้งตนอยู่อย่างผู้ขาดสติและขาดความระมัดระวัง ฯลฯ
    วัตถุมงคล ...มงคลที่ตรงไหน ทุกท่านคงมีคำตอบแล้วนะครับ
    การถ่ายทอดผ่านบทความครั้งนี้อาจกระทบใจบางท่าน แต่ก็ด้วยหวังประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และบันทึกไว้เพื่อให้ผู้มาใหม่ได้เห็นปฏิปทาในการสร้างพระของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก เพราะนานวันไปปฏิปทาส่วนนี้อาจถูกลืมเลือนไป
     
  5. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    [​IMG]


    วันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณดา ภรรยาของเฮียอู๋ (โยมอุปัฏฐากคนหนึ่งของหลวงปู่ดู่)
    ก็ได้เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในมุมที่บางคนอาจจะมองข้ามไป จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง

    คุณดาเล่าว่า อานิสงส์ของ บทพุทธังอนันตังฯ (บทแผ่เมตตา) ที่หลวงปู่ดู่สอน
    เธอได้ใช้เป็นประจำ และก็สังเกตว่า มันได้ผลมาก


    หลายครั้งที่เจอเหตุการณ์ที่สุนัขดุ ๆ จะมากัดเธอ
    เธอก็ตั้งจิตแผ่เมตตา โดยว่า...พุทธัง อนันตังฯ
    สุนัขนั้นก็กลับเป็นมิตร กระดิกหางให้..!


    เธอยังเล่าว่า
    หลวงปู่ดู่...เคยกำชับเธอว่า

    "เวลามีใครมาขอส่วนบุญ
    จะมามัวว่า...อิมินาปุญญกรรมเมนะฯ (บทกรวดน้ำใหญ่) มันจะไม่ทันกิน
    เพราะบางดวงจิต เขามีเวลาประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น"


    อันนี้ไปสอดคล้องกับคำสอนของ "หลวงพ่อฤาษี (พระราชพรหมยาน)"
    ที่ท่านก็พูดสอนไว้ทำนองเดียวกัน ท่านสอนให้ตระหนักว่า
    บางครั้งดวงวิญญาณ เขาแอบหนี หรือ ขออนุญาตนายนิรยบาล
    มาโมทนาบุญจากญาติ หรือ คนที่สามารถจะสงเคราะห์เขาได้...เพียงแค่ชั่วระยเวลาสั้นมาก ๆ
    หากเรามัวแต่ตั้งท่า ไล่บทกรวดน้ำตั้งแต่ให้คุณพ่อ คุณแม่ ครูอาจารย์
    เทพที่ดูแลพระอาทิตย์ พระจันทร์ ญาติมิตร ศัตรู ฯลฯ ก็พอดีหมดเวลา
    เขาต้องกลับไปถูกจองจำ ชนิดกลับไปมือเปล่า...น่าสงสาร


    คุณดาจึงบอกว่า "บทพุทธังอนันตังฯ" นี้
    หลวงปู่ตั้งใจให้มันสั้น เพื่อให้มันทันกันกับเหตุการณ์จำเพาะหน้า
    เอาไว้เหตุการณ์ปรกติไม่มีอะไร เราก็ค่อยว่าบทกรวดน้ำตามแบบเขา ซึ่งนิยมสวดกันหลังทำวัตรเย็น


    ลูกศิษย์หลวงปู่บางคนเล่าว่า...
    พอได้กลิ่นสาบสาง (ชนิดที่มักได้กลิ่นอยู่คนเดียว คนใกล้เคียงไม่ได้กลิ่นนั้นด้วย) โดยไม่รู้สาเหตุ
    ก็มักตั้งจิตเจตนาไปที่ต้นแหล่งที่มาของกลิ่น แล้วก็แผ่เมตตา คือ พุทธัง อนันตังฯ ในทันที
    เรียกว่า ปลอดภัยไว้ก่อน ไม่เสียหายอะไร


    นี้แหละจึงว่า แผ่เมตตาในยามคับขัน ต้องทำให้เร็ว ให้ทันการณ์
    ซึ่งนอกจากวิญญาณ เขาจะได้รับส่วนบุญโดยตรง และโดยเร็วแล้ว
    ตัวเราเองก็จะคุ้นเคยกับ "การเจริญสติ"
    ตั้งสติ ระลึกถึงพระได้เร็ว ชนิดอัตโนมัติ
    จนกลายเป็น "นิสัย" อีกด้วย



    บทอธิษฐานแผ่เมตตา
    พุทธัง อนันตัง
    ธัมมัง จักรวาลัง
    สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ




    *** บทความของ คุณสิทธิ์ จากเว็ป Luangpudu.com
     
  6. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    [​IMG]


    ปกติเวลาเราไปไหว้ พระสุปฏิปันโน หรือ พระที่ทรงคุณธรรม
    บางครั้งมักจะมีการขอให้ท่าน ช่วยอธิษฐานจิตวัตถุมงคลที่นำไป
    ผู้เขียนและคณะ บางครั้งเวลาที่หลวงปู่ดู่ ท่านมีสุขภาพดี อารมณ์แจ่มใส จึงขอให้ท่านทำให้


    มีครั้งหนึ่งผู้คนไปกันมาก ของที่จะให้ท่านอธิษฐาน มีหลายอย่างรวมกันไป
    เมื่อท่านอธิษฐานเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่พูดขึ้นว่า
    "เจอดีหลายๆ องค์นะ แต่องค์นี้เป็นพระดีมาก" ท่านชี้ไปที่ล็อกเกตพระสงฆ์องค์หนึ่ง


    เมื่อผู้เขียนหยิบมาดู จึงกราบเรียนท่านว่า
    "ก็เป็นล็อกเกตรูปหลวงปู่ไงละครับ ที่ทางวัดเขาทำให้บูชา"


    หลวงปู่ท่านจึงรีบตอบว่า
    "เอ้า ข้าไม่รู้ ทำไว้ซะเล็ก เลยมองไม่เห็นว่าเป็นองค์ไหน"


    มีลูกศิษย์อีกคนจึงถามท่านว่า
    "ทำไมหลวงปู่จึงรู้ละครับ"


    ท่านจึงตอบว่า
    "ข้าก็ไม่รู้ เพียงแต่ว่ามีความรู้สึกพิเศษ แกถามอาจารย์เขาดูดีกว่า"


    หลวงปู่ท่านเลี่ยงมาให้ผู้เขียนตอบแทน แต่ผู้เขียนได้แต่ยิ้มไม่ตอบอะไร
    จนเมื่อลาหลวงปู่กลับ จึงตอบให้ฟังว่า
    "หลวงปู่ท่านคงมีเมตตา ที่เห็นพวกเราทุกคนเคารพท่านแล้วไม่สงสัย ท่านจึงบอกอย่างนี้ก็ได้
    อีกอย่างหนึ่ง คงมีแสงสว่างจากพลังจิตในคุณพระที่ท่านอธิษฐานไว้ ไปปรากฎที่หลวงปู่ก็ได้
    อะไรก็ดีทั้งนั้นแหละ"


    เรื่องของพระดีที่มีคุณธรรมนี้ หลวงปู่ท่านเคยบอกผู้เขียนว่า
    "เวลาที่ไปไหว้พระองค์ไหนก็ตาม
    ถ้าผู้ที่ทำเห็นแล้ว...จะรู้ได้ เพราะท่านจะมีที่อยู่ของท่านเฉพาะ
    ถ้าองค์ไหนเราเห็นท่านอยู่ในที่ของท่านแล้ว องค์นั้นแหละพระดี
    ข้อสำคัญต้องทำให้เห็น หรือ เวลาแกไปเจอภาพพระองค์ไหนก็ตาม
    เอามือแตะภาพท่าน ทำใจเฉยๆ ถ้าขึ้น(ปีติ)มาถึงหัว แสดงว่าพระองค์นั้นดี"


    ผู้เขียนเคยนำรูปของสมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ไปให้ท่านอธิษฐานจิต
    พอหลวงปู่ท่านแตะรูป ท่านบอกว่า

    "องค์นี้เป็นพระดี มีบารมีสูงมาก พอกับหลวงพ่อโต วัดระฆัง จะมากกว่าเสียด้วย ถ้าแกไม่เชื่อลองจับดูก็ได้"

    ผู้เขียนรีบตอบท่านว่า ไม่ละครับ เพราะผู้เขียนรู้ตัวเองดีว่า คุณธรรมของเรายังน้อยนิด
    บารมีของเรายังไม่เท่ากับหนึ่งในล้านส่วนของเศษละอองธุลีพระบาทของพระโสดาบันเลย
    แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนรู้สึกซาบซึ้งในองค์หลวงปู่มาก ที่ท่านมีเมตตาสั่งสอน
    เพื่อให้ความรู้ และ ความกระจ่างกับลูกศิษย์




    ที่มา หนังสือไตรรัตน์ วัดสะเเก
     
  7. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    ยุคพระศรีอาริย์

    ผู้ที่ทำบุญทำทาน มักจะมีการตั้งความหวังไว้ในใจ

    มีคำอธิษฐานเกี่ยวกับการทำบุญตักบาตรไว้ดังนี้
    "ข้าวของข้าพเจ้าขาวบริสุทธิ์เหมือนดอกบัว ตั้งไว้เหนือหัว ตั้งจิตจำนงค์ตรงไปพระนิพพาน
    ขอให้พบเมืองแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้ได้พระนิพพาน ในยุคพระศรีอารย์ ด้วยเทอญ"


    เมื่อมีโยมนำคำอธิษฐานนี้มาเล่าให้หลวงปู่ฟัง
    ท่านพูดยิ้มๆ ว่า " จะไปยุคพระศรีอาริย์ เดี๋ยวจะอานเสียก่อน "

    คำพูดของหลวงปู่ท่านมีความหมายว่า
    ให้ทำบุญด้วยใจบริสุทธิ์ อย่าหวังมากเกินควร พยายามทำให้ดีที่สุด
    เพราะเรื่องของพระศรีอาริย์ มีผู้ปรารถนาจะไปกันมาก เนื่องจากเป็นยุคที่สุขสบายไม่เดือดร้อน


    หลวงปู่เคยบอกว่า
    " ใครไปได้ไปเลย ไม่ต้องรอ
    เพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่การปฏิบัติ ไม่ได้อยู่ที่การร้องขอ "



    ที่มา หนังสือไตรรัตน์ วัดสะเเก
     
  8. koongKTM

    koongKTM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +683
    อนุโมทนาสาธุค่ะ จะมารอเฝ้าอ่านต่อค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
     
  9. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    [​IMG]
    มีผู้มาใหม่จำนวนไม่น้อยมักเกิดข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนาแบบหลวงปู่ เช่น
    1. จะกำหนดนิมิตอย่างเดียว หรือจะบริกรรมภาวนาอย่างเดียว หรือควรต้องทำทั้งสองอย่างพร้อมกัน
    2. เวลาบริกรรมภาวนานั้น จะต้องบริกรรมภาวนามากน้อยเพียงใด บริกรรมห่าง ๆ หรือบริกรรมถี่ ๆ
    3. การปฏิบัติแบบหลวงปู่ ไม่กลัวทำให้ติดนิมิต หรือติดอาการปีติหรือ
    4. ต้องสวดมนต์ อาราธนากรรมฐานก่อน หรือปฏิบัติสมาธิภาวนาได้เลย
    5. เมื่อเกิดอาการปีติหรือสงบแล้วต้องทำอย่างไรต่อ
    ฯลฯ
    ในเรื่องนี้คงไม่มีคำตอบสำเร็จรูป แต่จะขออนุญาตเรียนไว้เป็นทัศนะอันหนึ่งว่าการจะทำให้หายสงสัยในคำถามต่าง ๆ ข้างต้น ตลอดถึงคำถามอื่นใดที่นอกเหนือจากนี้ไปอีกนั้น ขอแนะนำแบบกว้าง ๆ (โดยไม่ได้ตอบเรียงลำดับ) ว่า
    เราควรศึกษาพอประมาณแล้วลงมือปฏิบัติไป จากนั้นก็สังเกตใจเราเอง เช่น ถ้าฟุ้งนักก็ให้มีทั้งการกำหนดนิมิตและบริกรรมภาวนา หากไม่ฟุ้งเท่าไรก็อาจเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะเอาทั้งสองอย่างก็ไม่แปลกอะไร ผลที่ปรากฏแก่ใจเราจะเป็นตัวบอกเราเองว่าควรเอาแค่ไหนอย่างไร เรียกว่าเรียนรู้จากภาคปฏิบัติ ผิดบ้างถูกบ้างก็ไม่ต้องกลัว ตราบที่เรายังรักษาความเป็นผู้สงบเสงี่ยมเจียมตัว ไม่ต้องกลัวหลง จะรอศึกษาให้ครบถ้วนบริบูรณ์ก่อนลงมือปฏิบัติเพื่อปฏิบัติไม่ให้ผิดพลาดเลยนั้น ไม่มีหรอก มันต้องพบกับภาวะขาดบ้าง เกินบ้าง จึงจะรู้ว่าความพอดีหรือมัชฌิมาของเรานั้นอยู่ตรงไหน
    สิ่งที่ต้องตระหนักอีกประการหนึ่งคือ เรามิได้ปฏิบัติสมาธิเพื่อสมาธิ หากแต่เพื่อจะอาศัยเป็นอุปกรณ์ในการเจริญปัญญาต่อไป สมาธิจะช่วยให้จิตของเรามีภาวะที่เรียกว่าอ่อนโยนควรแก่การงาน มีกำลังวังชาเหมือนคนกินข้าวอิ่ม นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ จากนั้นก็ต้องทำงาน นั่นคือการพิจารณาทางด้านปัญญาต่อ แต่ที่จะพิจารณาเลยโดยมองข้ามสมาธินั้น หลวงปู่อุปมาว่าเหมือนคนจะเดินทางไกลโดยไม่หยุดกินข้าวเลย มันไปไม่ถึงหรอก
    อิทธิบาท ๔ ควรนำมาใช้ อย่าให้อยู่แต่ในตำรับตำรา หรือบูชาไว้ที่หิ้ง
    สร้างฉันทะ ความพึงใจในการปฏิบัติ กำหนดนิมิตก็ดี บริกรรมภาวนาก็ดี ทำอย่างมีความสุข ทำอย่างผู้เห็นค่าเห็นประโยชน์ของการกระทำ ยินดีในองค์พระหรือภาวะความสว่างของจิตที่เกิดขึ้นในทุก ๆ คำบริกรรมภาวนา
    มีวิริยะความเพียร บริกรรมภาวนาและกำหนดนิมิตให้ต่อเนื่องเรื่อยไป เผลอสติหลงลืมไปก็ตั้งขึ้นใหม่ ไม่อ่อนแอต่อนิวรณ์ความฟุ้ง ความขี้เกียจขี้คร้าน ความง่วงเหงาหาวนอน ความลังเลสงสัยต่าง ๆ ก็ให้วางไว้ก่อน
    มีจิตตะ คือ จดจ่อต่อเนื่องในการปฏิบัติให้เหมือนมดแดงที่กัดจนถูกเด็ดหัวหลุดก็ยังไม่ปล่อย หรือเหมือนสีไม้กระทั่งเกิดความร้อนและเกิดเปลวไฟ สติแปลว่าระลึกหรือนึกขึ้นมา นึกขึ้นมาเรื่อย ๆ ทั้งนิมิตและคำบริกรรมภาวนา สติก็จะต่อเนื่องมากขึ้น ...เจริญสติ จึงจะได้สติ
    มีวิมังสา คือใช้ปัญญาสอดส่องว่าวางจิตไม่หนักหรือบังคับให้เคร่งเครียดเกินไป ในทางตรงกันข้ามก็ไม่วางจิตหย่อนยานจนความง่วงมาเยือน เผลอสติทีไรก็ให้ระลึกรู้โดยด่วน นิมิตเกิดขึ้นก็ไม่ปักใจเชื่อ วางใจเป็นกลาง ๆ รับทราบ และน้อมเพียงความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย (มิใช่ปักใจเชื่อนิมิตหรือคล้อยตามนิมิตจนหลุดออกไปจากกรรมฐานเดิม)
    เล่าไว้พอเป็นแนวทางเบื้องต้น เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้มาใหม่บ้างไม่มากก็น้อยครับ
     
  10. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    ครับ ขอบคุณที่เข้ามา อ่านกันนะครับ หวังเพียงว่าคงเกิดประโยชน์ขึ้นบ้างกับทุกท่าน
    ที่เข้ามาอ่าน จะพยายาม หา บทความที่ทำให้เกิดประโยชน์ มาลงเพิ่ม เมื่อมีโอกาศครับ
    และ ขอ อนุโมทนาบุญ กับทุกท่าน ที่ได้อ่านแล้วนำไป ปฏิบัติ ปรับใช้ในชิวิตประจำวัน
    ขอ อนุโมทนา ในกุศลที่เกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ครับ สาธุ สาธุ
     
  11. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD>
    พระเจ้าชมพูบดี

    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD>เรื่องราวของพระเจ้าชมพูบดีที่หลวงปู่ดู่เคยนำมาเล่าให้ลูกศิษย์ฟังนั้น ท่านเล่าเพียงเป็นคล้าย นิทานธรรม เพื่อจะอุปมาความยิ่งใหญ่ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ายิ่งใหญ่กว่าพระเจ้าจักรพรรดิราชทั้งหลาย รวมทั้งให้เห็นว่าธรรมานุภาพย่อมเหนืออานุภาพของฝ่ายอาณาจักร
    แท้จริงแล้วเรื่องพระเจ้าชมพูบดีนั้นมิใช่เรื่องจริง และก็ไม่ได้อยู่ในพระไตรปิฎกในชั้นแรก หากแต่เป็นพระสูตรที่แต่งขึ้นชั้นหลัง ในยุคที่ลัทธิมนตรยาน (นิกายย่อยของมหายาน) รุ่งเรืองซึ่งอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาในอดีต ผู้ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่แปลพระสูตรต่าง ๆ ของฝั่งมหายานในจีนมาเป็นภาษาไทย ท่านได้เล่าและวิเคราะห์เรื่องมหาชมพูบดีสูตรไว้โดยย่อว่า...
    ยังมีสูตรซึ่งแพร่หลายมาแต่โบราณสูตรหนึ่ง คือ มหาชมพูบดีสูตร เนื้อเรื่องเล่าว่า มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ครองกรุงปัจจาละ มีฤทธิ์อำนาจพิเศษด้วยของคู่บุญหลายอย่าง เช่น ฉลองพระบาท ซึ่งสวมใส่แล้วสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ และศรวิเศษอาจบังคับไปทำร้ายศัตรูในที่ต่าง ๆ กษัตริย์องค์นี้มีพระนามว่า พระเจ้าชมพูบดี
    ราตรีหนึ่งเป็นวันเพ็ญอุโบสถ พระเจ้าชมพูบดีจึงสวมฉลองพระบาทเที่ยวเหาะชมดูบ้านเมืองในชมพูทวีป จนกระทั่งลุถึงเมืองราชคฤห์ ทอดพระเนตรเห็นยอดปราสาทอันวิจิตรของพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร ก็บังเกิดความริษยา ยกพระบาทถีบยอดปราสาทหมายจะให้ล้มพินาศ แต่อานุภาพแห่งบุญของพระเจ้าพิมพิสารคุ้มครอง พระบาทและพระชานุของพระเจ้าชมพูบดี กลับแตกทำลายได้ทุกขเวทนา
    คราวนี้ทรงพิโรธจัด ใช้พระขรรค์วิเศษฟันยอดปราสาทอีก ด้วยพุทธานุภาพซึ่งแผ่มาป้องกัน พระขรรค์นั้นกลับย่อยยับเป็นธุลีไป พระเจ้าชมพูบดีจึงเหาะกลับกรุงปัญจาละ แล้วปล่อยศรวิเศษลอยมาทำร้ายพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปทูลขอให้พระพุทธองค์ปกป้อง จึงได้บังเกิดการต่อฤทธิ์กันขึ้นระหว่างพระศาสดากับพระเจ้าชมพูบดี พระพุทธองค์ทรงจำแลงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีพระอินทร์, พระพรหม, เทพยดา, นาค, ครุฑ, คนธรรพ์ เป็นบริวาร ทรงปราบทิฏฐิมานะของพระเจ้าชมพูบดีได้สำเร็จ พระเจ้ากรุงปัญจาละกลับผิดเป็นชอบได้ เสด็จออกผนวช จนที่สุดได้บรรลุอรหัตผล
    พระสูตรนี้เป็นพระสูตรในลัทธิมหายาน หรือมนตรยานอย่างแน่นอน พระพุทธเจ้าทรงเครื่องกษัตราธิราชในลัทธิมนตรยานมักเป็นพระอาทิพุทธะ พระไวโรจนะพุทธะ และพระศากยมุนีพุทธะ ตามเรื่องราวในชมพูบดีสูตร ว่ากันตามนัยแห่งลัทธิมนตรยานแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งปวงย่อมเป็นภาคหนึ่งของพระอาทิพุทธ หรือพระไวโรจนะพุทธะนั่นเอง
    พระมหาชมพูบดีสูตรจะแต่งขึ้นในอินเดียแล้วแพร่มาลังกา หรือว่าจากอินเดียมาสู่แหลมอินโดจีนโดยตรงก็ได้ แต่คติของสูตรนี้แพร่หลายในประเทศไทยมาช้านานมาก ดังปรากฏปฏิมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่องมีมาครั้งขอมมีอำนาจ สมัยลพบุรีจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เป็นประเภทพระพิมพ์ จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยาก็ยังนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง และพระพิมพ์ทรงเครื่อง
    เมื่อรัชสมัยพระเจ้าบรมโกษ มีราชทูตลังกาเข้ามาขอพระราชทานสมณวงศ์ออกไปตั้งสมณวงศ์ในประเทศของตน พวกราชทูตได้ไปนมัสการพระพุทธปฏิมาทรงเครื่อง ที่วัดแห่งหนึ่งที่อยุธยา เกิดความสงสัยว่าทำไมจึงเหมือนเทวรูปนัก ทั้งนี้เพราะชาวลังกาไม่เคยเห็นพระทรงเครื่องอย่างนี้เลย
    ไทยต้องชี้แจงเรื่องราวในชมพูบดีสูตรให้ฟัง และเมื่อพวกทูตจะกลับคืนบ้านเมือง ไทยยังได้เรื่องชมพูบดีสูตรส่งไปแพร่หลายให้ชาวลังกาทราบ แถมยังมีหนังสือกำกับให้เสนาบดีลังกา กราบทูลพระเจ้ากรุงลังกาให้ทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องขึ้นบ้าง จักเจริญพระราชกุศลยิ่ง ๆ ขึ้น
    บางทีคติเรื่องชมพูบดีสูตรจักสูญจากความทรงจำของชาวลังกามานาน ทั้งที่ครั้งหนึ่งลัทธิมนตรยานรุ่งเรืองในลังกา อย่าว่าแต่จะหาลัทธิมนตรยานไม่ได้เพราะเสื่อมสูญมาช้านานเลย แม้สมณวงศ์ลัทธิฝ่ายเถรวาทในลังกาก็ยังขาดสูญ จนต้องมาขอสงฆ์ไทยออกไปตั้งวงศ์ใหม่ขึ้น กระแสมนตรยานในลัทธิเถรวาท จึงคงสืบสายยั่งยืนมาในรูปไสยเวทพุทธาคมจวบจนกาลปัจจุบัน.
    จากบทความของอาจารย์เสถียร จึงทำให้เราเข้าใจว่าเรื่องราวของพระเจ้าชมพูบดีนั้น ไม่ใช่พุทธประวัติแท้ หากแต่มีการแต่งขึ้นในชั้นหลัง ชื่อแคว้นปัญจาละซึ่งเอ่ยถึงในชมพูบดีสูตรนั้นแม้จะมีอยู่จริง (เป็น ๑ ใน ๑๖ แคว้นใหญ่ในครั้งพุทธกาล) หากแต่ชื่อพระเจ้าชมพูบดีนั้น ไม่ปรากฏ เพราะแคว้นปัญจาละมิได้มีกษัตริย์ที่มีพระราชอำนาจมากมายอะไร เพราะใน ๑๖ แคว้นดังกล่าว มีเพียง ๕ แคว้น ที่มีกษัตริย์ที่มีพระราชอำนาจมากและขับเคี่ยวแย่งชิงอาณาจักรในบางคราว ปรารฏชื่อในพระสูตรหลายแห่งตรงกัน ได้แก่
    ๑. แคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์ กษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้าพิมพิสาร
    ๒. แคว้นโกศล เมืองหลวงชื่อ สาวัตถี กษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล
    ๓. แคว้นวังสะ เมืองหลวงชื่อโกสัมพี กษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้าอุเทน
    ๔. แคว้นอวันตี เมืองหลวงชื่ออุชเชนี กษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้าจัณฑปัตโชติ
    ๕. แคว้นวัชชี เมืองหลวงชื่อเวสาลี มีกษัตริย์หลายพระองค์ร่วมปกครอง (ต้นแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยยุคแรก)
    โดยสรุป แม้เรื่องพระเจ้าชมพูบดีจะมิใช่เรื่องจริง แต่ก็ให้อุปมา คือภาพความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ที่มีพระราชอำนาจมาก แต่ความยิ่งใหญ่นั้นไม่อาจเทียบได้กับความยิ่งใหญ่แห่งธรรมานุภาพขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมทั้งช่วยให้ทราบว่าเรื่องชมพูบดีสูตรนี้เองที่เป็นต้นแบบของการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง (แต่งกายอย่างกษัตริย์ชั้นจักรพรรดิ) ในกาลต่อมา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2010
  12. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    ก็แค่เครื่องอาศัย

    ในตอนที่ได้ฟังโอวาทของหลวงปู่ที่บอกว่า "ที่แกทำ ๆ ไปน่ะ มันสูญเปล่า ชีวิตจะมีค่าก็ตอนไหว้พระ สวดมนต์ ภาวนาเท่านั้น" ตอนนั้นก็ยังนึกแย้งท่านในใจว่า มันสูญเปล่าที่ไหนกัน เราทำงาน ทำกิจกรรมต่าง ๆ เราก็ได้ผลงาน ได้เงินได้ทองมาเลี้ยงชีวิตตัวเรา แถมยังเอาไปสงเคราะห์ญาติได้อีก
    จากประสบการณ์ชีวิตของแต่ละท่าน หากนึกทบทวนและพิจารณาให้ดีก็จะเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ๆ ว่า ที่ทำ ๆ ไป ไม่ว่าจะดูซับซ้อน วิจิตรเพียงใด มันก็แค่ หาอยู่หากิน เลี้ยงอัตภาพร่างกายเท่านั้น อย่างมากก็เพิ่มความภาคภูมิใจในผลงาน พอหมดลมแล้วก็หมดกัน เอาติดตัวไปไม่ได้ ไม่เหมือนอย่างบุญกุศลหรือทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเป็นงานพัฒนายกระดับจิตใจ มันกินลึกและเอาติดตัวข้ามภพข้ามชาติไปได้

    สมบัติทางโลก ๆ จะมากมายและวิจิตรประณีตขนาดไหน มันก็เป็นแค่ "สมบัติน้ำแข็ง" อยู่ดี เพราะขณะที่เรากำมันไว้นั้น มันยังคงละลายไป ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดหย่อน เราจึงกำสมบัติน้ำแข็งนี้ได้เพียงระยะเวลาไม่นานเลย

    หลวงปู่เคยเล่าเชิงอุปมาว่า "เด็กทารกทั่วไปเกิดมาก็กำมือมา บ่งบอกการเกิดมาพร้อมกับความยึดมั่นถือมั่น ไม่เหมือนเด็กที่จะเกิดมาเป็นพระอรหันต์ ที่แบมือมาเกิด"

    จึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาว่า นอกจากสมบัติต่าง ๆ จะเป็นดุจดั่งสมบัติน้ำแข็งที่ไม่จีรังแล้ว คุณค่าของมันจะมีก็ตอนเรามีลมหายใจเท่านั้น บางคนสะสมวัตถุมีค่ามีราคาจนเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์น้อย ๆ แต่พอเมื่อเจ้าของ (ตามสมมุติ) หมดลมหายใจ คุณค่าก็หมดไป (จากเขา) บางครั้งคนในครอบครัวที่ยังอยู่ก็ไม่รู้จักแม้แต่ชื่อเรียกของสมบัติเหล่านั้น ดูสิ เมื่อตอนมีชีวิต ขวนขวายหามันแทบแย่ อิ่มใจ สุขใจกับมัน แต่พอหมดลม คุณค่าของสมบัตินั้นต่อตัวเรามันก็หมดสิ้นไปด้วย สมบัติที่สั่งสมนั้นไว้เอาไปชื่นชมต่อไม่ได้สักอย่าง อย่าว่าแต่สมบัติที่เคยเป็นสมบัติของเรานั้นเลย แม้แต่น้ำที่เขาเอามารดศพเรา ก็ยังกำเอาไว้ไม่อยู่เลย

    อาหารที่สุดแสนประณีตก็ได้แค่อิ่ม บ้านที่เป็นดุจคฤหาสน์ก็แค่ที่พักอาศัยหลับนอนไปคืนหนึ่ง ๆ มนุษย์สร้างสมมุติที่ซับซ้อนหรอกตัวเองเสียจนหลงลืมความจริงพื้นฐานซึ่งเป็นความเรียบง่ายของชีวิต

    "สมบัติน้ำแข็ง" คือ ข้อที่ควรคิดคำนึงเพื่อเตือนจิตเตือนใจตนเองไว้เสมอ ๆ เพื่อให้ตระหนักว่ากิจกรรมชีวิตอันใดที่เราควรทุ่มเท กิจกรรมชีวิตอันใดที่ทำเพียงแค่พอเป็น "เครื่องอาศัย" และควรวางใจอยู่เสมอ ๆ ว่าสมบัติที่มีไม่ว่าคน ไม่ว่าสิ่งของ ล้วนไม่ใช่ของเราจริง ๆ หรอก เป็นแค่สมบัติโลกที่เราขอยืมมาชั่วคราว แล้วก็ต้องส่งคืนให้โลกไปในวันหมดลมเท่านั้น...


    บทความจาก พี่สิทธิ์ เว็ป Luangpudu.com
     
  13. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896


    การเข้าใจผิดในการปฏิบัติภาวนา (ตอนที่1)

    [​IMG]
    ๑. ภาวนาจนถูกรถชน!
    จำมาว่าหลวงปู่สอนให้ภาวนาให้ได้ทั้งวัน ผมก็เลยบริกรรมภาวนาไตรสรณคมณ์ทั้งวัน ไม่ว่าในระหว่างการทำงาน ในขณะขับรถ ในขณะเดินข้ามถนน ฯลฯ


    ไม่ถูกต้อง เพราะการปฏิบัติภาวนา (การเจริญสติและปัญญา) ต้องเลือกรูปแบบหรือวิธีการปฏิบัติให้เหมาะกับสถานการณ์และกาละเทศะ เช่น ในยามปลอดภาระ มานั่งหลับตาทำสมาธิ การบริกรรมภาวนา (ท่องบ่นในใจ) ก็เป็นเรื่องที่ควร แต่ขณะลืมตาทำกิจกรรมอื่นอยู่ ก็ควรปฏิบัติภาวนาด้วยการทำความรู้ตัวทั่วพร้อม คือมีสติและพิจารณาในกิจกรรมที่อยู่จำเพาะหน้า มิใช่มามัวบริกรรมภาวนาจนสูญเสียความสามารถในการรับรู้สิ่งภายนอก ซึ่งเรื่องนี้เคยมีตัวอย่างความผิดพลาดให้เห็น เช่น
    · คนที่เดินท่องบ่นคำบริกรรมภาวนาขณะเดินกลับบ้านในซอย แล้วไม่ทันระวังก็เลยโดนรถจักรยานยนต์ เฉี่ยวชนเอา
    · คนที่โหนรถสองแถว แล้วหลับตาบริกรรมภาวนาจนจิตอยากปล่อยวางกาย ปล่อยวางมือที่โหนรถอยู่ ทำเอาเกือบตกรถ ซึ่งอันตรายอาจถึงชีวิต
    · คนที่บริกรรมภาวนาขณะขับรถจนเกือบไปชนท้ายรถคันหน้า
    จริง ๆ แล้ว การบริกรรมภาวนานั้น หากกระทำไว้ในใจสัก ๑๐-๒๐ % แล้วให้มีความรับรู้กับสิ่งภายนอกสัก ๘๐-๙๐ % ก็คงไม่เป็นอะไร มิใช่มุ่งบริกรรมในใจเสีย ๘๐-๙๐ % หรือกระทั่ง ๑๐๐% อย่างนี้อันตราย ถือว่าปฏิบัติธรรมไม่เหมาะกับสถานการณ์และกาละเทศะ
     
  14. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    การเข้าใจผิดในการปฏิบัติภาวนา (ตอนที่ 2)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    . เริ่มภาวนานับหนึ่งทุกครั้ง
    ครูบาอาจารย์สอนว่าการปฏิบัติภาวนาแต่ละครั้ง ห้ามติดของเก่า ผมก็เลยเริ่มต้นลำดับไปตามขั้นตอนคือนับหนึ่งใหม่ทุกครั้ง


    ไม่ถูกต้อง เพราะสำหรับผู้ที่เคยทำภาวนามาบ้างแล้ว หลวงปู่สอนให้จำอารมณ์เดิมที่เป็นจริตนิสัยหรือการสั่งสมของเรามาใช้ได้ เพื่อให้เกิดความสงบได้เร็ว เช่น บางคนแค่นึกถึงภาพและบรรยากาศขณะที่ตนกำลังนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมในป่า ใจก็สงบระงับในทันที บางคนทำความรู้สึกว่าตนกำลังนั่งปฏิบัติอยู่บนยอดเขาบ้าง ริมสระน้ำบ้าง จิตก็สงบ
    การปรุงแต่งจิตในเบื้องต้นแห่งการภาวนา ท่านถือเป็นสิ่งที่ดี ไม่ขัดอะไร เพราะเรายังไม่ถึงขึ้นเหนือการปรุงแต่ง หากแต่อยู่ในขั้นของการปรุงแต่งในทางกุศล

    หลวงปู่มุ่งหวังให้เราสร้างความชำนาญในการเข้าสู่ความสงบ จนแทบจะให้เป็นอัตโนมัติ เช่น กำหนดองค์พระปุ๊บ จิตก็สงบตั้งมั่นทรงตัวทันที เพราะเวลาจวนตัว ก็มีแต่การทำงานของจิตใต้สำนักเท่านั้น ที่จะพาให้เราเอาตัวรอดได้
    นอกจากนี้ หากมีอะไรมาแทรกคั่นหรือขัดจังหวะการปฏิบัติของเรา เราก็ไม่ต้องรออุ่นเครื่องนาน สามารถวางจิตเข้าสู่ความสงบหรือการพิจารณาได้ต่อเนื่องดังเดิมภายในเวลาที่สั้นที่สุดได้

    การที่สอนว่าไม่ให้ยึดติดกับของเก่านั้น หมายถึงส่วนผลต่างหาก มิใช่ส่วนเหตุ กล่าวคือ อย่าไปยึดติดว่าปฏิบัติครั้งนี้ว่าต้องสงบเหมือนคราวก่อน
    อย่างไรก็ดี การหาอุบายทำความสงบใจสำหรับกรณีของผู้ใหม่ หากจะเริ่มนับหนึ่งใหม่ทุกครั้งก็ไม่แปลกอะไร เพราะถือเป็นการสร้างความชำนาญในช่วงต้น

    แต่ถ้าว่าถึงอุบายการพิจารณาแล้ว อย่างไรเสียก็ต้องตระหนักว่า ถ้าใช้อุบายเดิม ๆ เชื้อโรคมันจะดื้อยา จึงจำต้องหาอุบายสด ๆ ร้อน ๆ มาใช้แก้กิเลสจึงจะได้ผล

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2010
  15. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    การเข้าใจผิดในการปฏิบัติภาวนา(ตอนที่3)

    [​IMG]
    ๓. ห่วงว่าจะทำแต่สมาธิแล้วไม่ได้เจริญปัญญา
    หลวงปู่สอนให้ทำทั้งส่วนของความสงบตั้งมั่นของใจ (สมาธิ) และทำทั้งส่วนของการพิจารณาทางด้านปัญญา ดังนั้น ผมจึงคอยระวัง เมื่อเห็นว่าจิตสงบเล็กน้อย ผมก็จะพิจารณาธรรมทุกครั้งที่นั่งปฏิบัติ


    ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ผู้ปฏิบัติจะต้องทำให้ครบทั้งสองส่วนคือส่วนของสมาธิและปัญญา แต่ก็ทำให้ถูกจังหวะ การพิจารณาทางด้านปัญญาควรทำภายหลังที่จิตได้พักตัวเต็มที่และเริ่มถอนตัวออกมารับรู้ทางด้านอารมณ์ต่าง ๆ ดังนั้น ในยามที่ทำความสงบก็อย่าเพิ่งห่วงการเจริญปัญญา ในทางตรงกันข้าม ในยามที่เจริญปัญญา ก็อย่าเพิ่งห่วงการทำความสงบ หากพิจารณาไป ๆ จิตเริ่มซัดส่าย พิจารณาก็ไม่ได้ความลึกซึ้งถึงใจ จึงจะเป็นสัญญาณบอกว่าควรกลับมาทำความสงบเพื่อสร้างกำลังก่อนออกทำงานทางด้านปัญญาต่อ
    อย่างไรก็ดี ภายหลังที่จิตได้พักอยู่กับความสงบมากแล้ว หากไม่ขวนขวายใช้ความเพียรในการพิจารณา หลวงปู่ท่านใช้คำอุปมาว่าเหมือนต้มน้ำร้อนทิ้งเปล่า ๆ ไม่ได้เอาไปชงไมโล-โอวัลติน น้ำร้อนที่ตั้งไว้ก็กลับเย็นตัวลงอีก ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ดังนั้น เราจึงต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าการที่เราทำความสงบก็เพื่อสิ่งนี้ คือเพื่อให้จิตของเราพร้อมหรือเอื้อต่อการเจริญปัญญาต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2010
  16. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    จากผู้ที่ไม่ยอมกราบพระ กลายมาเป็นศิษย์ใกล้ชิดของ หลวงปู่ ดู่

    นายอู๋ หรือเฮียอู๋เป็นชื่อของหนึ่งในโยมอุปัฏฐากของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เฮียอู๋เป็นคนอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้มีบุคลิกภาพเปิดเผย จริงใจ ตรงไปตรงมา พูดเสียงดังฟังชัด มักมีเรื่องต่าง ๆ มาเล่าให้หมู่คณะฟังอย่างสนุกสนาน
    เดิมทีเดียวนั้น เฮียอู๋เป็นผู้มีทิฏฐิมานะค่อนข้างรุนแรง มีอคติกับพระสงฆ์องค์เจ้า เหตุที่มากราบนมัสการหลวงปู่ดู่ได้ก็เพราะไม่อาจทนต่อการคะยั้นคะยอของญาติที่ต้องการให้เฮียอู๋มาถวายสังฆทานกับหลวงปู่เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บุพการีที่จากไป โดยที่เฮียอู่เองจะพยายามพูดเลี่ยงว่าเสียเวลา (ทำมาหากิน)
    เมื่อเฮียอู๋มาถึงวัดแล้ว ก็ยังไม่ยอมกราบหลวงปู่ พอญาติพูดชวนให้กราบหลวงปู่ เฮียอู๋ก็ตอบว่า "ผมเคารพแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้น ผมไม่เคารพพระสงฆ์" ซึ่งก็ไม่ทราบได้ว่าเฮียอู๋จะเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีอะไรในอดีตที่ผ่านมา จึงมีภาพที่ไม่ดีของพระสงฆ์จึงพูดแบบเหมารวมเช่นนั้น
    เฮียอู๋นับว่าโชคดีอย่างมหาศาลที่ไม่ได้ตายไปพร้อมกับมิจฉาทิฏฐิเช่นนั้น ด้วยความเมตตาและปัญญาของหลวงปู่ในที่สุด มิช้านานเฮียอู๋ก็มีจิตใจที่อ่อนโยนลง ค่อย ๆ บังเกิดเกิดศรัทธาและยอมลงใจให้กับหลวงปู่ชนิดเต็มร้อย หลวงปู่เคยพูดไว้ประโยคหนึ่งซึ่งทำให้เฮียอู๋และภรรยาไม่เคยลืมเลือน คือประโยคที่ว่า "ตาอู๋ ถ้าข้าไม่ตายซะก่อน ข้าจะเอาแกให้ดีให้ได้"
    เฮียอู๋คอยดูแลรับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่ด้วยความเคารพนบนอบ และให้ความยำเกรงในองค์หลวงปู่ กล่าวคือเมื่อท่านให้ความเมตตา เฮียอู๋ก็ไม่เคยแสดงอาการที่เรียกว่า "ลามปาม" ครูอาจารย์ รวมทั้งไม่เคยวางตัวเป็นเจ้าข้าวเจ้าของหลวงปู่แต่อย่างใด จึงสมเป็นแบบอย่างโยมอุปัฏฐากที่ดีอีกท่านหนึ่ง
    เฮียอู๋คนนี้เองที่นำเรื่องที่ไม่เคยมีใครทราบมาเล่าให้ข้าพเจ้าฟัง ขณะที่เล่าไป น้ำตาแกก็ไหลออกมาด้วย แกเล่าให้ฟังว่า จะหาใครที่จะขี้เกรงใจเท่าหลวงปู่เราเป็นไม่มี ครั้งหนึ่งท่านอาพาธ แค่ท่านจะขอให้แกไปซื้อยาจากร้านค้าใกล้ ๆ วัด มาให้ท่าน ท่านยังต้องคอยให้เฮียอู๋เสร็จธุระ แล้วเอ่ยปากขอร้องแกอย่างเกรงใจเป็นที่สุด ...โถ ครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพรักอย่างสูง กับเรื่องเล็กน้อยเพียงเท่านี้ ทำไมท่านต้องเกรงใจผมด้วย (เฮียอู๋นึกในใจ)
    แต่เรื่องที่สะเทือนใจเฮียอู๋มากที่สุด ก็คือการที่ได้พบความจริงตอนขอโอกาสทายาถวายท่านที่บริเวณก้น เพราะเฮียอู๋เพิ่งได้มาเห็นว่าที่ก้นของหลวงปู่เต็มไปด้วยแผลหรือฝี ที่มีร่อยรอยการอักเสบและแตกซ้ำ ๆ เพราะความที่ท่านต้องนั่งรับแขกทุกวี่ทุกวันบนไม้กระดานแข็ง ๆ เป็นเวลานับสิบ ๆ ปี เฮียอู๋ทายาไปก็อดที่จะกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่ได้
    เฮียอู๋ได้ทำหน้าที่รับใช้หลวงปู่อยู่หลายปี โดยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเสียส่วนมาก มิได้แสดงอาการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของครูบาอาจารย์ หรือเป็นนายหน้าแต่อย่างใดเลย อีกทั้งยังระมัดระวังทรัพย์สินของสงฆ์เป็นที่สุด เฮียอู๋ยังได้เล่าให้ฟังว่า หลวงปู่เป็นผู้ที่มัธยัสถ์มาก ในช่วงบ่าย ๆ ที่ญาติโยมกลับไปหมดแล้ว หลวงปู่จะเดินไปหยิบหนังยางที่ตกหล่นบนพื้นเอามาแขวนรวมไว้ที่ตะปู เพราะท่านเห็นว่ายังใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งลูกศิษย์ที่มาหยิบเอาไปใช้ก็มักไม่รู้ว่าใครเป็นผู้หยิบมารวมไว้ให้ได้ใช้กัน
    เฮียอู๋เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า "คุณรู้ไหม หลวงปู่รักเอ็นดูพวกคุณขนาดไหน เวลาคณะของพวกคุณจะเดินทางมาสนทนาธรรม หรือพักค้างปฏิบัติธรรมที่วัด หลวงปู่จะทราบล่วงหน้า และสั่งให้ผมเก็บผลไม้ไว้ให้พวกคุณรับประทาน เพราะกลัวพวกคุณจะหิว รวมทั้งให้จัดหามุ้งรอท่าไว้ให้"เฮียอู๋ไม่เพียงทำหน้าที่โยมอุปัฏฐากที่ดีเยี่ยมเท่านั้น เฮียอู๋ยังทำหน้าที่ศิษย์ที่ดีเยี่ยมไม่แพ้กัน
    แม้หลวงปู่จะจากไปแล้ว เฮียอู๋ก็ยังคงมาดูแลที่กุฏิหลวงปู่อยู่เสมอ ๆ สลับกับการไปช่วยงานหลวงปู่สังวาลย์ วัดป่าสามัคคีธรรม จ.สุพรรณบุรี ไม่ว่าจะทำหน้าที่ขับรถพาพระไปบิณฑบาตทุกเช้า แล้วก็ซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฟอร์นิเจอร์เก่าที่มีคนมาถวายให้วัด เฮียอู๋แสดงอาการแพ้ยูรีเทนให้เห็นก็ตอนทำหน้าที่นี้ (ซึ่งอาจเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่เร่งอาการมะเร็งของเฮียอู๋)
    ตอนรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งนั้น เฮียอู๋ก็เร่งการปฏิบัติ และหากมีโอกาสก็จะไปพบหลวงปู่สังวาลย์ ซึ่งท่านจะเมตตาเป่าไล่ตั้งแต่หน้าอกและท้องของเฮียอู๋ หลวงปู่สังวาลย์ท่านเมตตาเฮียอู๋มาก ๆ เฮียอู๋ก็เคยกล่าวกับภรรยาว่าได้อาศัยน้ำมนต์หลวงปู่ดู่กับการเป่าของหลวงปู่สังวาลย์ทำให้ไม่เจ็บปวดทรมานมาก และก็ปรากฏเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเฮียอู๋ไม่เคยต้องรับการฉีดมอร์ฟีนเลยกระทั่งเสีย
    ชีวิตเฮียอู๋ได้รับการกล่าวขานจากทั้งแพทย์และพยาบาล ในช่วงที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลในอยุธยา เพราะจากภาพ X-ray นั้น สภาพอวัยวะภายในของเฮียอู๋ แย่มาก ๆ ลิ้นหัวใจก็เปิด แผลฉีกขาดในช่องท้องก็เต็มไปหมด แพทย์และพยาบาลก็ไม่รู้จะอธิบายได้อย่างไรว่าทำไม่เฮียอู๋จึงยังมีชีวิตรอดและสามารถพูดคุยกับพวกเขาได้
    เฮียอู่บอกกับแพทย์พยาบาลที่นั้นว่า "ผมจะไม่ตายที่นี่หรอก ผมเตรียมที่ที่ผมจะตายไว้แล้ว"ใน ๒-๓ วัน สุดท้าย แกบอกคนที่มาเยี่ยมว่าแกขอบใจ แต่ขอเวลาแกปฏิบัติเพื่อเตรียมจิตจะเป็นประโยชน์ที่สุดกับแก ภรรยาของเฮียอู๋เล่าให้ฟังว่า เฮียอู๋พอใจที่แกสามารถปฏิบัติยกจิตขึ้นเหนือเวทนาได้ สุดท้ายเฮียอู่ได้เดินทางไปละสังขารที่วัดป่าสามัคคีธรรม ด้วยการจากไปที่เป็นแบบอย่างของนักปฏิบัติธรรม คือ องอาจกล้าหาญ และมีสติสมบูรณ์ ไม่มีอาการทุรนทุรายใด ๆ เลย ลมหายใจของเฮียอู๋ค่อย ๆ สงบลง ๆ กระทั่งหมดลมหายใจ
    หลวงปู่สังวาลย์ท่านพยากรณ์ตั้งแต่ยังไม่เผาเฮียอู๋ว่า "เมื่อเผาแล้ว กระดูกจะเป็นพระธาตุ"ซึ่งเรื่องพระธาตุนี้ หลวงปู่ดู่เคยบอกว่า ตั้งแต่โสดาบันกระดูกก็สามารถแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุได้
    แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ ภายหลังการฌาปนกิจศพเฮียอู๋ ปรากฏว่ากระดูกของเฮียอู๋มีสีสัน ที่เด่นคือสีออกอมเขียว พระสงฆ์ลูกศิษย์ของหลวงปู่สังวาลย์ก็คว้ามับเอาไปจำนวนหนึ่ง อัฐิที่เหลือนั้น หลวงปู่สังวาลย์ท่านให้สร้างเจดีย์บรรจุที่หน้าพระอุโบสถวัดป่าสามัคคีธรรม คู่กันกับอัฐิของนายเจริญ มัคคทายกของวัดที่อัฐิเป็นพระธาตุเช่นกัน
    พี่ดาผู้ภรรยาเล่าว่า ภายหลังเฮียอู๋จากไปไม่นาน หลวงปู่สังวาลย์ก็มรณภาพ แต่เธอได้ฝันเห็นหลวงปู่สังวายล์อยู่คราวหนึ่ง ในฝันนั้น เธอเรียนถามหลวงปู่ถึงคติที่ไปของสามีเธอ เพราะเธอยังไม่เข้าใจเรื่องอัฐิธาตุนัก หลวงปู่ตอบว่า "เขาไม่มาเกิดแล้ว เขาจะมาเกิดอีกทีก็พร้อมกับพระพุทธเจ้าองค์ข้างหน้าโน้น"เธอถามว่า "หมายถึงพระศรีอริยเมตไตรย หรือเจ้าคะ" หลวงปู่ตอบว่า "อือ"
    เรื่องราวของเฮียอู๋นับว่าเป็นแบบอย่างของนักปฏิบัติธรรมคนหนึ่ง ผู้เตรียมตัวเผชิญต่อพญามัจจุราชอย่างอาจหาญสมเป็นศิษย์ของหลวงปู่ดู่ หลวงปู่สังวาลย์ และสมเป็นศิษย์พระตถาคตเจ้าโดยแท้
    บทความจากพี่สิทธิ์ เว็ป Luangpudu.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2010
  17. koongKTM

    koongKTM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +683
    ขอบพระคุณมากค่ะ จะมาติดตามเฝ้ารออ่านอยู่เรื่อยๆค่ะ
    เอ่อ...รบกวนคุณปราถนาบุญใช้ตัวอักษรโตๆ สักหน่อยได้ไหมคะ
    คือสายตาไม่ค่อยดีน่ะค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
     
  18. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    บทสวดมนต์

    ๑. หลวงปู่กล่าวรับรองว่าบทสวดมนต์แต่ละบท ๆ ในเจ็ดตำนานก็ดี ๑๒ ตำนานก็ดี ท่านว่าท่านเคยได้พิจารณาโดยตลอดแล้ว พบว่าดีทั้งนั้น ใช้ได้ทั้งนั้น ดีทุก ๆ บทเลยทีเดียว

    ๒. บทไตรสรณาคมน์นั้น (พุทธังสรณังคัจฉามิ ธัมมังสรณังคัจฉามิ สังฆังสรณัง คัจฉามิ) ท่านว่า “สวดครั้งหนึ่ง (ด้วยจิตที่เลื่อมใสศรัทธาและเป็นสมาธิ) มีอานิสงส์ไปถึง ๕ กัลป์เชียว”


    ๓. สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าตนประสบเคราะห์นั้นท่านแนะให้สวดอิติปิโสฯ (บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ) เท่าอายุบวกหนึ่ง

    ๔. บางครั้ง ผู้ที่เขามาคอยรับส่วนบุญ เขามีเวลาน้อย (อาจขออนุญาตผู้คุมมาได้เดี๋ยวเดียว) หรืออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีเวลาน้อย หรือจะด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี หลวงปู่จึงได้มีบทแผ่เมตตาชนิดสั้นแต่มีประสิทธิผลมากคือ “พุทธัง อนันตังฯ”) แทนบทกรวดน้ำ ซึ่งค่อนข้างยาวและกินเวลามากและเหมาะกับการแผ่เมตตาประจำวันหลังสวดมนต์ทำวัตรมากกว่า

    ๕. บทบูชาพระ (นะโมพุทธายะฯ - คาถาจักรพรรดิ) หลวงปู่บอกว่า “สวดแล้วรับรองว่าไม่มีจน” ท่านเอามาจากวัดประดู่ทรงธรรม สมัยที่ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่นั่น และเพื่อให้ลูกศิษย์ไม่มองข้ามความสำคัญ เพราะเหตุที่ได้มาจากหลวงปู่ง่าย ๆ ท่านจึงพุดแบบอมยิ้มไปด้วยว่า “คาถาดี ๆ นี่ อาจารย์สมัยก่อนเขาหวงกันนะ เขาไม่เอามาบอกง่าย ๆ หรอกแก”

    ๖. จุดสำคัญในเวลาสวดมนต์หรืออธิษฐานคาถาใด ๆ ต้องทำจิตให้เป็นสมาธิ ให้จิตสว่าง ให้จิตมีภาวะตื่น จึงจะมีผลมาก และถือเป็นสร้างความชำนาญในการทำกรรมฐานไปด้วยทุกครั้ง (สำหรับบทสวดมนต์ (ไม่ใช่คาถา) นั้น ถ้ามีโอกาสก็ควรศึกษาคำแปลเพื่อให้เกิดความเข้าใจข้อธรรมและซาบซึ้งในคุณพระรัตนตรัยยิ่ง ๆ ขึ้นไป)

    ๗. สุดท้าย หลวงปู่บอกว่า “สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน” สวดมนต์นานเท่าไรไม่ว่า แต่ภาวนาให้มากกว่าจึงจะถือว่าได้จัดสรรเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด<!-- google_ad_section_end -->
     
  19. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    [​IMG]

    "ข้านั่งอยู่ ก็เหมือนคนคอยบอกทาง
    เขามาหาข้าแล้วก็ไป...
    คนเราเกิดมา ไม่เห็นมีอะไรดี
    มีดีอยู่อย่างเดียว สวดมนต์ไหว้พระ ปฎิบัติภาวนา"
     
  20. ปราถนาบุญ

    ปราถนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +896
    [​IMG]


    "การปฏิบัติ ถ้าหยิบจากตำราโน้นนี้ แบบแผน มาสงสัยถาม มักจะโต้เถียงกันเปล่า โดยมากชอบเอาจากอาจารย์โน่นนี่ ว่าอย่างนั้นอย่างนี้มา การจะปฏิบัติให้รู้ธรรม เห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง ข้าเป็นคนมีทิฐิแรง เรียนจากครูบาอาจารย์นี้ยังไม่ได้ผล ก็จะต้องเอาให้จริงให้รู้ ยังไม่ไปเรียนกับอาจารย์อื่น ถ้าเกิดไปเรียนกับครูอาจารย์อื่น โดยยังไม่ทำให้จริง ให้รู้ ก็เหมือนดูถูกดูหมิ่นครูบาอาจารย์"
     

แชร์หน้านี้

Loading...