คำตอบ(ส่วนตัว) ของอารมณ์เบื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย gotodido, 6 มีนาคม 2010.

  1. gotodido

    gotodido เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +147
    ขออนุญาติตั้งเป็นกระทู้ใหม่ เพื่อง่ายต่อการอ่าน
    กระทู้ที่แล้วเกิดเพราะใคร่ครวญ รำพึงรำพันกับอารมณ์ - อาการใจมากเกินไป

    ผมสรุปเรื่องของตัวเองได้แบบนี้ครับ (แน่นอนว่า ใจเรารู้จักใจเรามากที่สุด)

    - ช่วงที่เบื่อนั้นเกิดในภาวะจิตตก
    จิดรำพึงถึงอดีต จิตเบื่อหน่ายกับความน่าจะเป็นที่จะเกิดในอนาคต จิตไม่ได้อยุ่กับปัจจุบัน

    - ช่วงที่เบื่อนั้นมีกิเลสปนอยุ่เยอะพอสมควร
    คือความชอบ - ไม่ชอบ ดี-ไม่ดี เกิดสิ่งที่เป็นคู่ในใจ และหลงว่าจะทำยังไงดี

    - ทางพระนั้นจริงๆ ช่วยได้ครับ ถ้ามีโอกาสได้กลับไป เพราะทางนั้น มีเรื่องมากระทบน้อยมาก วันๆมีแค่กายกับใจ

    - ความเบื่อเป็นของไม่เที่ยงครับ ไม่ต้องทำอะไร มันก็หายไปเอง แต่ทั้งนี้ ความพอใจก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้ความเบื่อหายไป

    - แต่ก็แปลกที่ช่วงเวลานั้น เกิดแรงจูงใจในการเจริญสติ-สมาธิเยอะกว่าช่วงเวลาอื่น จิตรู้วิธีที่ต่างไปจากเดิมเวลาทำสมาธิ เพราะที่ผ่านมามัวแต่สนใจ สรรหาวิธีของอาจารย์และคำแนะนำท่านอื่น แล้วยึดมากเกินไป ว่าต้องทำแบบนั้น แต่จิตเรา มันก็มีวิธีการของตัวเอง การทิ้งคำสอนทั้งหมดที่จำมา แล้วสนใจ ใส่ใจแค่จิตตัวเอง ช่วยให้คลายการกดดัน คลายจากการบีบบังคับ ให้เป็นไปตามสิ่งที่จำ ไม่มีอะไรให้สงสัยเพราะไม่มีอะไรมาเปรียบเทียบ
    ในสมาธิช่วงเวลานั้น ทำให้รู้ว่ามาถูกทาง แต่มันก็ยังเสื่อมได้ ถ้าไม่ทำให้ต่อเนื่อง ...

    ธรรมชาติของจิตแต่ละคน ย่อมรู้ได้เฉพาะตน อย่างน้อยก็อยู่กับมันมาตลอด มันเป็นสิ่งเดียว สิ่งภายนอกที่เข้ามาเป็นสิ่งที่เป็นคู่ เช่น ใช่-ไม่ใช่ ดี-ไม่ดี ชอบ-ไม่ชอบ ฯลฯ เราไม่อาจะตัดสินสิ่งใดๆได้ เพราะสิ่งใดๆก็เป็นตัวมันเอง ดี-ไม่ดี ใช่-ไม่ใช่ ฯลฯ เป็นเพราะตัวเรา

    เป็นความจริงที่ว่า งาน ทำเพราะมีเหตุให้ทำ เหตุนั้น จุดเริ่มต้นก็คือตัวเรา เงิน หรือสิ่งตอบแทน เป็นผล และเหตุใหม่ๆที่จะเกิดต่อไป

    ความเข้าใจ ก็คือเหตุของความพอใจ

    ความรู้ที่เกิดจากการนึกคิด และจดจำมา ต่างจากความรู้ที่เกิดจากการกระทำ ส่วนนึงก็ตรง "ผลจากความรู้นั้น"

    อนุโมทนาทุกท่านครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2010
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ความเบื่อเป็นสภาวะธรรมอย่างหนึ่ง....

    เข้าใจแล้วก็โมทนาสาธุบุญครับ....
     
  3. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ของพี่เป็น : คำตอบ(ส่วนตัว) ของอารมณ์เบื่อ

    อ้ายกระผมก็อยากจะพูด เลยขอแสดงในหัวข้อ : คำสอด(จากใจ) เพื่อปรับอารมณ์เบื่อ

    สำหรับข้อสรุปของพี่ ผมก็ขอทำทีเป็นให้คะแนนเสียหน่อย เป็นการชื่นชมว่าเป็นภาษิต
    ใช้สอนธรรมได้

    ข้อสรุปข้างบน ขออนุญาตให้ 10 เต็ม 10

    ส่วนท่อนนี้ อยากให้ 100 เต็ม 100 1000 เต็ม 1000 แต่ให้ไม่ได้ ให้แล้วจะ
    เสีย อยากจะให้คะแนนแต่ก็ให้ไม่ได้ ต้องสงวนไว้ คงไม่ว่ากันเนาะ


    แต่หลังจากข้อความข้างต้นแล้ว ก็เริ่มติดลบ คะแนนลด โดยขอชี้แจงดังนี้

    การอ้างปัจจัตตังนั้น ต้องยกขึ้นเพื่อชี้ความปลีกย่อยที่เราเข้าไปเห็น ความปลีกย่อยเหล่า
    นั้นมาจาก วาสนา บารมี เวรกรรม ของตนที่ทำมา มันจึงมีสภาพที่คนอื่นผู้ซึ่งไม่ได้ทำ
    กรรมต่างๆมาแบบคุณจะไปรู้เห็นสิ่งอย่างเดียวกันได้ อ้างได้ในลักษณะนี้เท่านั้น แต่จะ
    ต้องไม่อ้างปัตจัตตังว่าเป็น เรื่องความแตกต่างของธรรมะ หรือการเห็นธรรม เพราะการ
    เห็นธรรม หรือ การสิ้นกิเลส เราจะสิ้นตัวเดียวกัน คือ สิ้น โลภ โกรธ หลง เราจะกำจัด
    นิวรณ์5 ตัวเดียวกัน อาสวะแต่ละคนเท่านั้นที่จะมีความต่างกัน แต่อาการของการสิ้น
    ไปของอาสวะเหล่านั้นนั่นเหมือนกันอยู่ดี

    กล่าวคือ ถ้าเรายก ปัจจัตตัง มาใช้ไม่ถูกเกณฑ์ แทนที่จะช่วยลดอัตตา อัตานุทิฏฐิ มัน
    จะผลิกกลับไปเพิ่มความยึดมั่นถือมั่น ความยกตนแตกต่างด้วยมานะ การเห็นธรรมจะผลิก
    จากที่ควรสว่างไปด้านมืดหม่น

    พอยกผิดปั๊ป ความคิดรวบยอดที่เดิมถูกแบบ 10 เต็ม 10 ก็ผลิกผันทันที เช่น

    จริงๆ ประโยคที่ควรกล่าวกว่าคือ

    เป็นความจริงที่ว่า งาน ทำเพราะเราเก็บวาสนามาอย่างนี้ ต้องทำเพราะยังไม่หมดเหตุให้ทำ
    เหตุนั้น มีจุดเริ่มต้นก็คือการไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา เงิน หรือสิ่งตอบแทน เป็นสิ่ง
    ร้อยรัดปิดบังไม่ให้เห็นความจริงที่ยิ่งกว่านั้น เหตุใหม่ๆจึงยังคงเกิดต่อไป

    อันนี้โดยนัยยะของผู้กำลังมุ่งปฏิบัติ ก็....

    ความเข้าใจ คือ การได้เห็นแล้วซึ่งความแปลก ที่การรู้ทุกข์ เห็นความเบื่อ ที่เกิดขึ้นสลับ
    กับความพอใจ ที่มีสภาพไม่เที่ยงทั้งคู่ เป็นธรรมคู่ที่หลอกหลอนเรา การหลงไปข้างใดข้าง
    หนึ่งล้วนแต่มีสภาพทุกข์ปรากฏอยู่ทั้งสิ้น เมื่อแลเห็นทุกข์ในธรรมทั้งสองแล้ว(เบื่อ/พอใจ
    หรือ ฝุ้งซ่าน/สงบ) กลับทำให้เห็นทาง ปฏิบัติมุ่งเจริญสติ-สมาธิเยอะกว่าช่วงเวลา
    อื่น เยอะกว่าช่วงไม่สนใจแลเห็นสภาพธรรมทั้งสองที่ครอบงำอยู่ [ การมุ่งรู้ทุกข์สัจจเป็น
    กิจอันหนึ่งในการทำอริยสัจจ4ให้แจ้ง -- การมุ่งทำอริยสัจจให้แจ้ง จึงเป็นการเดินสู่ทาง
    สายกลาง-เจริญภาวนาเจริญสติ-สมาธิ ซึ่งจะต้องทำให้มากๆ ไม่ใช่วันสองวันสรุปว่ารู้ ]

    * * * *

    แต่.....ตอนสุดท้าย คุณก็ผลิกคะแนนกลับมาแดนบวกได้ หลังจากที่กล่าวว่า

    แต่อันนี้ ถึงจะถูก ก็ไม่ขอตั้งคะแนน แล้วให้ ทั้งนั้น เพราะว่า โดยวาทะนั้นถือว่ากล่าวถูก น่า
    ชื่นชม แต่มันขาดส่วนปรารภว่า คุณยังจะมุ่งเจริญสติ-สมาธิ ต่อไปหรือไม่ อย่างไร มัน
    ขาดห้วนไปเฉยๆ

    ถ้ามันไม่ขาดห้วนไปเฉยๆนะ ผมก็เชื่อว่า คุณ จขกท จะต้องย้อนไปปรารภ เรื่องการมุ่งรู้
    ทุกข์ อันเป็นเหตุให้เพียรเจริญสติ-สมาธิ และจะต้อง ปรารภปล่อยวางความรู้ ไม่ใช่แค่
    ความรู้จากที่สดับมาจากคนอื่น แต่จะต้องปรารภทิ้งความรู้ที่ตนคิดว่าได้รู้แล้วนั้น ลงไป
    ด้วย เพราะการเจริญสติ-และสมาธิ นั้นหากทำให้มากๆ แล้ว จะพบว่า เราไม่จำเป็นต้อง
    ยึดถือความรู้ใดๆไว้ใช้แบกห้าม เพราะ การเจริญสติ-สมาธฺ ที่ถูกต้องนั้น จะให้ปัญญาที่
    แจ่มๆขึ้นมาได้แบบสดๆร้อนๆ ไม่ต้องจดจำไว้ ไม่ต้องยึดไว้ว่าได้รู้แล้ว ไม่อาศัยความ
    ที่ว่าได้รู้แล้วมาเป็นความพอใจเพื่อกำจัดความเบื่อ แต่เราพร้อมทุกเมื่อ ผ่องแผ้วได้ทุก
    เมื่อ เมื่อไหร่ก็ตามที่ เบื่อ และ พอใจ กำลังจะหลอกเราให้มีความยึดมั่นถือมั่น

    พอทำได้ถูก

    ประโยคนี้ เมื่อกล่าวอย่างผู้เห็นธรรมแล้ว ก็จะพูดว่า

    ความเข้าใจ ก็คือ เหตุที่ทำให้เรามีความเป็นกลางต่อ เบื่อ และ ความพอใจ อารมณ์
    เบื่อ หรือ พอใจ จะลากพาเราให้มีอุปทานตามมันไม่ได้อีก พ้นทุกข์ พ้นเหตุให้ต้อง
    เกิดเหตุใดๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2010
  4. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    เหตุที่ทำงาน คือความอยากก็คือกิเลสนั่นหละ ถึงเบื่องานไม่อยากทำ ก็เป็นกิเลสอีกหละ
    เหตุของกิเลสก็คือความรักในตัวตนของเรานี่หละ . . . กิเลสสุดยอด
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เหมือนจะใกล้ๆนะครับ เหมือนกำลังจะเห็นเหตุ ก็ดีครับ เวลาคิดอะไรคิดมันตรงๆเลยครับ เพราะเหตุจะไม่เกิดลอยๆเช่นกัน มันมาจากผลของเหตุก่อนหน้ามันเสมอ โดยส่วนตัวคำว่าปัจจัตตัง ผมจะหมายความถึง รู้ว่าเมื่อทำสิ่งนี้จะมีผลอย่างนี้ เมื่อไม่ทำสิ่งนี้จะไม่มีผลอย่างนี้ แล้วผลอย่างนี้ทั้งสองอย่าง อันไหนที่ให้ผลเป็นบุญ อันไหนให้ผลเป็นบาป อันที่เป็นบาปก็ละเสีย เอาแต่อันที่เป็นบุญ พอเห็นได้แบบนี้ต่อไปก็จะรู้เองว่า บุญอะไรคือบุญสูงสุด และทุกข์อะไรคือทุกข์ที่สุด มันมาจากเหตุอะไร สิ่งแรกที่ควรระลึกเสมอคือ ทำเพื่อบุพการีทั้งหลาย อันมี พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ เมื่อยังมีโอกาสทำก็ทำให้ถึงที่สุด เมื่อหมดเวลาแล้วจะมาไขว่คว้าหาโอกาสนั้นอีกไม่ได้ เพราะกาลเวลาย่อมเคลื่อนไปไม่ถอยกลับ นี่สิเรียกว่า ปัจจัตตัง ซึ่งเป็นส่วนที่รู้เองเห็นเองได้ว่าตนควรทำและคิดอย่างไรด้วยตัวของตัวเองด้วยสติปัญญา เมื่อหมดภาระหรือวางภาระทั้งหลายลงได้จริงแล้ว ก็จะไม่มีกังวลใดตามหลังมา จะอยู่ที่ไหน จะเพศไหน จะบรรพชิตหรือฆราวาส ก็จะมีหนทางที่พ้นทุกข์ได้ตามจริง ไม่ใช่หลอกตนเองครับ
    อนุโมทนาด้วยครับ
     
  6. ภวโลกร้อน

    ภวโลกร้อน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    444
    ค่าพลัง:
    +1,272
    ส่วนตัวความเบื่อก็คือความอยากนั่นแหล่ะค่ะ ถ้าดับความอยากได้ก็ไม่เบื่อ

    จิตมันคอยดิ้นรนไปค้นหาสิ่งที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำซากจำเจ ค้นไปเรื่อยๆ

    ไม่เคยพอสักครั้ง..ที่ทำได้ตอนนี้คือวางอุเบกขาอารมณ์ไว้ที่ปัจจุบันค่ะ
     
  7. gotodido

    gotodido เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +147


    อนุโมทนาครับ ^ ^
    ปัตจัตตัง ที่ผมยกมายังไม่ใช่ปัจจัตตังที่เป็นที่สุดของธรรมธาตุ ถ้าเปรียบปัจจัตตังของผมก็คงเปรียบเหมือนทางเดิน/เส้นทาง ไม่ใช่ปลายทาง
    เช่น
    ผมอยู่รังสิต มาอนุสาวรีย์ชัยฯ เดินทางด้วยอะไรก็แล้วแต่มาเส้นทางหนึ่ง
    กับ อีกคนหนึ่ง อยู่ที่เดียวกับผม มาอนุสาวรีย์ชัยฯเหมือนกัน แต่มาอีกเส้นทางหนึ่ง
    ช่วงที่เราทั้งสองคนยังไม่ถึงอนุสาวรีย์ชัยฯที่เป็นจุดหมายเดียวกัน ตรงจุดนั้น ไม่ว่าใครอยู่ใกล้อยู่ไกลจุดหมายกว่ากัน ไม่ได้สำคัญ บังเอิญเราโทรคุยกันเรื่องทางที่ผ่านมา วาสนา บารมี เวรกรรม คือสิ่งที่พบระหว่างทาง
    เส้นทางของแต่ล่ะคนจึงเป็นปัตจัตตัง คือรู้เฉพาะตนครับ

    ปลายทางที่ อนุสาวรีย์ชัยฯ ไม่ใช้ปัจจัตตัง เมื่อถึงแล้ว ก็คือถึง เหมือนกัน



    ^ ^



    ^ ^





    อนุโมทนาครับ ^^

    อารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน (ของผม) ยังไม่นิ่งพอที่จะอยู่ตรงกลางระหว่าง เบื่อและพอใจ การวางอุเบกขา ก็มีบ้างบางครั้งเวลาที่อารมณ์นั้นนิ่งที่สุด(สมาธิ-เจริญสติ) แต่ส่วนใหญ่แกว่งไปมา โดยมากโน้มเอียงไปทางความพอใจ เข้าใกล้ความรู้สึกเฉยๆ

    จิต เห็นจิต แม้จะแว่บเดียว ก้ทำให้ทุกข์ในใจไม่มีได้(แว่บเดียว)

    ผมเชื่อประโยคที่ว่า จิตเป็นธรรมชาติที่ฝึกได้ ( แต่บังคับไม่ได้ )

    เลยต้องฝึกต่อไปจนกว่าความเชื่อจะหายไป





    กิเลส(ความยินดี) เวลาเข้ามาเวบนี้ มักเกิดเวลาตั้งกระทู้ กับได้อ่านธรรมมะดีๆของผู้เข้าถึงธรรม และสนใจธรรม บางกระทู้อ่านแล้ว ถึงขั้นเกิดปิติ น้ำตาไหล
    ไปเลยก็มี แต่ตัวโกรธ-ไม่พอใจแทบจะไม่มีเลยกับที่นี่

    ผมเชื่อว่า สมาชิก/หรือผู้เข้ามาเวบนี้
    บ้างก็ เจริญพรหมวิหาร
    บ้างก็ เจริญสติปัฏฐาน
    บ้างก็ เจริญอริยสัจ
    บ้างก็ เจริญสติสัมโพชฌงค์
    บ้างก็ เจริญกรรมฐาน 40

    การได้สนทนาธรรม ถือเป็นมงคล
     

แชร์หน้านี้

Loading...