คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube AEK DEKWEB
    โชว์ดรัมเมเยอร์โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร งานลากพระอำเภอชะอวด 2562
    www.youtube.com/watch?v=PlVeh4NbHg0


    #ยอมใจไม้คู่
     
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube Siam Historical Cafe
    ราชนาวีเสือป่า เมือเสือป่ามีกองทัพเรือ สมัยรัชกาลที่ 6
    www.youtube.com/watch?v=cLaM1CGj0QA
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3-copy-1024x427.jpg

    ความหมายในคำบูชากรมหลวงชุมพรฯ
    คำบูชากรมหลวงชุมพรฯ หรือเรียกตามถนัดปากของคนทั่วไปว่า “เสด็จเตี่ย” เท่าที่ยุติแล้วมีว่าดังนี้:

    โอม ชุมพร จุติ อิทธิกะระณัง สุโข นะโม พุทธายะ
    นะมะพะธะ จะภะกะสะ มะอะอุ พุธะสังมิ

    ————-
    แต่ละคำมีความหมายดังนี้ :

    (1) โอม
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
    โอม : คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามาใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือเป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์.ก. กล่าวคําขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).”

    (2) ชุมพร
    มาจากพระนามกรมของพระองค์ท่าน คือ “กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์”
    (บ้านเมืองเรามีธรรมเนียมนำชื่อเมืองมาเป็นพระนามของเจ้านายเมื่อทรงกรม)
    ชุมพร” เป็นชื่อเมืองทางปักษ์ใต้ เมื่อนำชื่อเมืองนี้มาเป็นพระนามกรมของพระองค์ท่าน คนทั้งหลายจึงรู้จักพระองค์ท่านในนาม “ชุมพร” ไปด้วย)

    (3) จุติ
    แปลตามศัพท์ว่า “
    เคลื่อน” หมายถึงเปลี่ยนสภาพจากกำเนิดหนึ่งไปเป็นอีกกำเนิดหนึ่ง, (มักใช้แก่เทวดา).

    (4) อิทธิกะระณัง
    อิทธิ” แปลว่า ความสำเร็จ หรือฤทธิ์
    กะระณัง” แปลว่า การกระทำ
    ความมุ่งหมายน่าจะเป็นว่า กระทำความสำเร็จ หรือกระทำฤทธิ์ หรือแสดงฤทธิ์ มีฤทธิ์ หมายความอำนวยผลทำให้เกิดความสำเร็จ

    (5) สุโข
    แปลว่า ความสุข, เป็นสุข, เป็นเหตุแห่งความสุข, นำมาซึ่งความสุข

    (6) นะโม พุทธายะ

    นะโม” แปลว่า ความนอบน้อม
    พุทธายะ” แปลว่า แด่พระพุทธองค์
    นักเล่นคาถาอาคมเรียกคำนี้ว่า “หัวใจพระเจ้าห้าพระองค์” นับถือว่ามีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ภาวนาไว้เสมอจะไม่มีอันตรายมากล้ำกลาย
    พระเจ้าห้าพระองค์” คือพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในภัทรกัปนี้มี 5 พระองค์ –

    นะ = พระกกุสันธะ (ศาสนาสูญหมดแล้ว)

    โม = พระโกนาคมนะ (โกนาคะมะนะ) (ศาสนาสูญหมดแล้ว)
    พุท = พระกัสสปะ (ศาสนาสูญหมดแล้ว)
    ธา = พระโคดม (ศาสนายังดำรงอยู่)
    ยะ = พระศรีอริยเมตไตรย (จะมาตรัสรู้ในอนาคต)

    (7) นะมะพะธะ
    คำนี้ตามที่เขียนกันทั่วไป “ธะ” (ธ ธง) เป็น “ทะ” (ท ทหาร) แต่เท่าที่สอบถามผู้รู้แล้ว ได้คำตอบว่า เป็นคำที่ย่อมาจาก “
    นะโม พุทธายะ” คือ:
    นะ มาจาก นะ
    มะ
    มาจาก โม
    พะ
    มาจาก พุท
    ธะ
    มาจาก ธายะ

    (8) จะภะกะสะ
    เป็นคำที่ตัดมาจากพยางค์แรกในคาถา 4 วรรค โบราณเรียกว่า “คาถากาสลัก”
    คำเต็มและความหมายมีดังนี้:

    จช ทุชฺชนสงฺสคฺคํ (จะชะ ทุชชะนะสังสัคคัง)
    =
    ละเว้นการสมคบกับคนชั่วช้า
    ภช สาธุสมาคมํ ( ภะชะ สาธุสะมาคะมัง)
    =
    คบหาสมาคมกับคนดี
    กร ปุญฺญมโหรตฺตํ (กะระ ปุญญะมะโหรัตตัง)
    =
    ทำบุญทวีทุกคืนวันสถาวร
    สร นิจฺจมนิจฺจตํ (สะระ นิจจะมะนิจจะตัง)
    =
    ระลึกถึงความไม่แน่นอนไว้เป็นนิตยกาล

    ข้อสังเกต :
    คาถานี้ตามที่เห็นทั่วไป “
    ภะ” (ภ สำเภา) มักจะเขียนผิดเป็น “พะ” (พ พาน)

    (9) มะอะอุ
    หมายถึง พระรัตนตรัย กล่าวคือ:

    มะ = มะหาสังฆะ แปลว่า “พระสงฆ์หมู่ใหญ่” = พระสงฆ์
    อะ = อะระหัง แปลว่า “พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” = พระพุทธ
    อุ = อุตตะมะธัมมะ แปลว่า “พระธรรมอันสูงสุด” = พระธรรม
    มะ อะ อุ นี้ ถ้าเรียงตามลำดับพระรัตนตรัย ก็ควรเป็น อะ อุ มะ เป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า “โอม” นั่นเอง

    (10) พุธะสังมิ
    (บางทีสะกดเป็น “
    พุทธะสังมิ” คือ “พุ” เป็น “พุท”)
    คำนี้เป็น “
    หัวใจไตรสรณคมน์” กล่าวคือ:

    พุ (พุท) ย่อมาจาก พุทธัง

    ธะ ย่อมาจาก ธัมมัง
    สัง
    ย่อมาจาก สังฆัง
    มิ
    ย่อมาจาก คัจฉามิ

    คำเต็มๆ –

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    แปลว่า “ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง

    ————

    สรุปความหมาย:

    โอม = ขอนมัสการพระรัตนตรัย
    ชุมพร = พระนามกรม “กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์”
    จุติ = เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่ง, ล่วงลับดับขันธ์
    อิทธิกะระณัง = ทำให้เกิดความสำเร็จ
    สุโข = เป็นความสุข
    นะโม พุทธายะ = ขอนอบน้อมพระพุทธองค์
    นะมะพะธะ = ขอนอบน้อมพระพุทธองค์
    จะภะกะสะ = ละเว้นคนชั่ว, คบคนดี, ทำความดีทุกวันคืน, ระลึกถึงความไม่แน่นอนไว้
    มะอะอุ = ขอนมัสการพระรัตนตรัย
    พุธะสังมิ = ขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก

    ————

    คำแปลข้างต้น เมื่อจะถือเอาความหมายรวมๆ ก็น่าจะได้ดังข้อความต่อไปนี้:

    ข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการพระรัตนตรัย ขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก กับขอน้อมไหว้บูชา พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์บิดาของทหารเรือไทย แม้สิ้นพระชนม์แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอบูชาด้วยการปฏิบัติตนนอบน้อมพระพุทธองค์ ดำเนินชีวิตด้วยการไม่คบคนพาล สังสรรค์บัณฑิต ทำดีเป็นนิตย์ คิดถึงอนิจจัง ตลอดไป ขอพระองค์โปรดประทานความสำเร็จ ความสุขสมหวัง แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเทอญ

    ————-

    หมายเหตุ:
    (1) คำบูชานี้ตรวจสอบแล้วตามที่ปรากฏในที่ทั่วไป มิได้แปลว่าถ้าเป็นอย่างอื่นถือว่าผิด เพียงแต่ว่าถ้ามีคำเหล่านี้ก็จะมีความหมายดังที่แสดงไว้นี้
    (2) มิได้พิจารณาในประเด็นที่ว่าคำเช่นนี้ๆ เป็นคำบูชากรมหลวงชุมพรฯ จริงหรือ หรือว่าคำบูชาที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร หรือแม้แต่ว่าควรมีคำบูชาหรือไม่
    (3) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
    บทความเรื่อง “คำบูชาเสด็จในกรม” โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย : นาวิกศาสตร์ ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๗

    ————–

    : รู้ว่าดีแล้วปฏิบัติ
    : ได้ผลชะงัดยิ่งกว่าท่องคำบูชา


    #บาลีวันละคำ (945)

    19-12-57

    ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

    ที่มา : https://dhamtara.com/?p=6555
     
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube กรมหลวงชุมพรฯ 120 ปี นิวัตมาตุภูมิ สู่ราชนาวีสยาม
    เสวนาพระประวัติกรมหลวงชุมพรฯ "สรรพวิชาและอาคมในกรมหลวงชุมพรฯ" (ฉบับเต็ม)
    www.youtube.com/watch?v=To-QP5v_1Vo
     
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    2iN63d3193290Z35.jpg

    images?q=tbn:ANd9GcQj3IGB43yxfa6S1FtusGx-OEjQiAAqZF16PA&usqp=CAU.jpg
    พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดย ธนาคารธนชาต

    พื้นที่การจัดแสดงองค์ครุฑที่อัญเชิญจากสำนักงานและสาขาของธนาคารนครหลวงไทยมาไว้ยังพิพิธภัณฑ์ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ครุฑกับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจ และเพื่อเทิดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ธนาคารธนชาต จึงได้สร้างห้องจัดแสดง “ล้นเกล้า จอมราชัน” เพิ่มเติม เพื่อนำเสนอความเชื่อมโยงระหว่างองค์ครุฑและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้แก่ผู้เข้าชม


    e4da3b7fbbce2345d7772b0674a318d5.jpg 20170830-tcap-news2-3.jpg

    “พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารธนชาต” ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งแรกและแห่งเดียวของอาเซียน โดยที่มา ในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ครุฑนั้นเริ่มมาจากการที่ธนาคารธนชาตได้รวมกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (“ธนาคารนครหลวงไทย”) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ซึ่งธนาคารนครหลวงไทยนั้น เป็นธนาคารที่มี การดำเนินกิจการมากว่า 70 ปี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเครื่องหมายครุฑพ่าห์หรือตราครุฑพระราชทานมาติดตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่และสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2484 ซึ่งภายหลังการรวมกิจการกับธนาคารธนชาต ในปี 2554 จำเป็นต้องอัญเชิญเครื่องหมายครุฑพ่าห์ลงตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายครุฑพ่าห์ (ฉบับที่ 2) ปี 2535 ทั้งนี้ ธนาคารธนชาตได้ตระหนักถึงคุณค่าและเล็งเห็นความสำคัญขององค์ครุฑพระราชทานที่มีความผูกพันและความศรัทธากับคนไทย รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์ของไทย จึงได้มีการอัญเชิญองค์ครุฑจากสำนักงานและสาขาต่าง ๆ มาประดิษฐานยังศูนย์ฝึกอบรมบางปู เขตเทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ และก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ครุฑขึ้น เพื่อร้อยเรียงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับองค์ครุฑในรูปแบบสื่อผสมผสาน (Multimedia) โดยยึดความเข้าใจพื้นฐานของคนไทยที่มีต่อองค์ครุฑ จากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเป็นหัวใจหลัก ในพิพิธภัณฑ์ได้มีการออกแบบและสร้างสรรค์สถานที่เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ทราบถึงความเป็นมาของครุฑตามตำนาน ทั้งในเชิงพุทธและพราหมณ์ และได้จัดให้มีพื้นที่การจัดแสดงองค์ครุฑที่อัญเชิญจากสาขาของธนาคารนครหลวงไทยมาไว้ยังพิพิธภัณฑ์ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ครุฑกับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

    และเพื่อเทิดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ธนาคารธนชาต จึงได้สร้างห้องจัดแสดง “ล้นเกล้า จอมราชันย์” เพิ่มเติม เพื่อนำเสนอความเชื่อมโยงระหว่างองค์ครุฑและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้แก่ผู้เข้าชม

    ที่มา : https://thanachart.co.th/th/sustainability/csr/activity/read/5?cat=campaigns_promotion
     
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube ต้นรัก ศิลป์เศียรเกล้า OFFICIAL
    ลายเพลงบูชาพญาครุฑฑา -【By ต้นรัก ศิลป์เศียรเกล้า】E-SAN MUSIC OF THAILAND
    www.youtube.com/watch?v=jP7sgyrSBDU
     
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube ธรรมดี Channel
    คาถาบูชาพญาครุฑ
    www.youtube.com/watch?v=kAgzRPO-4Uc
     
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี

    images?q=tbn:ANd9GcTFZrHGjte--SOr3sv3uyQQpIlzWHDsVZ8TdQ&usqp=CAU.jpg images?q=tbn:ANd9GcQMs-L18QsNcmCj7HQA9-qK214pCvLq5WakDA&usqp=CAU.jpg images?q=tbn:ANd9GcQmVqD_SS-dLF2Z1sQIK2WhLeJ05FTVB8TH9g&usqp=CAU.jpg images?q=tbn:ANd9GcSy1J7mIyb7HUE9wK9C3CcbGniUVIc71p2KNg&usqp=CAU.jpg


    จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2529 โดยกรมศิลปากรได้ขออนุมัติใช้อาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม ซึ่งสร้าง
    ขึ้นเมื่อ ปีพุทธศักราช 2465 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2534 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ประกอบไปด้วยอาคารสำคัญ 2 หลัง ได้แก่อาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร (ศาลารัฐบาลมณฑลราชบุรี) และอาคารจัดนิทรรศการพิเศษ อาคารสำนักงาน และคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
    ทำเนียบสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการถาวรที่เน้นเรื่องราวของท้องถิ่น ทั้งทางด้านธรณีวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลป วัฒนธรรมพื้นบ้าน ชาติพันธุ์วิทยา แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ
    ที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี


    ที่มา : https://www.museumthailand.com/th/museum/Ratchaburi-National-Museum
     
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283

แชร์หน้านี้

Loading...