คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube Thai PBS
    ขอใจเธอคืน | ปอย วง TIME | นักผจญเพลง Replay
    www.youtube.com/watch?v=hPd9sOCYADs
    เต้นท่าโก๋สะกิดแม่:D
    อาจจะมีฝนเข้ามา ก็ตกลงมาเทลงมาฟ้าทะลาย พอเมฆกระจายก็หายไปกับตา
    จะขอให้เธอคืนกลับมา ตราบใดที่ฟ้าไม่มีเมฆบัง อิอิ
    images?q=tbn:ANd9GcRbSXPMozfkkMptyxfaQtAinkxAmPn3g4QzlQ&usqp=CAU.jpg :eek:o_O

    ที่มา : youtube
    Thai PBS
    คนน่ารัก - แซก I-ZAX | นักผจญเพลง REPLAY
    www.youtube.com/watch?v=dcoqTQ_eY5I
    ได้หมายยยยยo_O
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2022
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    แม้จนนักเรียนนายเรือที่เคยเป็นลูกศิษย์ของกรมหลวงชุมพรฯ เข้ารับราชการแล้ว ทว่าความผูกพันยังคงสืบเนื่องเรื่อยมา ดังมีเรื่องเล่าว่า “เสด็จเตี่ย” เคยเสด็จตามลำพังกับลูกศิษย์นายทหารรุ่นหนุ่ม เพื่อไปเป็นเถ้าแก่ทาบทามสู่ขอหญิงสาวให้ คุณหญิงอารีพันธุ์ สุนาวินวิวัฒ จำได้ว่าวันหนึ่งในปี ๒๔๖๔ ตั้งแต่ก่อนรู้จักกับคุณหลวงสุนาวินวิวัฒ (๒๔๓๗-๒๕๑๘) คุณแม่ให้หาไปพบ แล้วเล่าว่า
    hrh-flag.jpg
    “เมื่อตอนสายวันนั้นมีรถยนต์คันหนึ่งมาจอดที่นอกรั้ว แลเห็นคนสองคนเดินมาเคาะประตูหน้าบ้าน เด็กรับใช้ได้ไปเปิดประตูรับ และขึ้นมาเรียนคุณแม่ว่ามีแขกมาหาเป็นผู้ชายสองคน ครั้งแรกคุณแม่คิดว่าคงเป็นเพื่อนของลูกชาย แต่เด็กรับใช้เรียนย้ำว่าชายสองคนนั้นอยากพบคุณแม่ คุณแม่จึงลงไปที่ห้องรับแขก จำได้ว่าชายคนหนึ่งนั้นคือคุณพิศาล เป็นเพื่อนของลูกชาย (ต่อมาได้เลื่อนยศและบรรดาศักดิ์ เป็นพลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒ ซึ่ง ณ ที่นี้ดิฉันขอเรียกสรรพนามท่านว่า คุณหลวง) แต่อีกคนหนึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นใคร เมื่อคุณหลวงทำความเคารพคุณแม่แล้ว ก็ได้แนะนำให้คุณแม่ทราบว่า ท่านที่มาด้วยคือ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์ พอได้ยินชื่อเช่นนั้น คุณแม่ก็ตกตะลึง เพราะเป็นเรื่องที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยว่าจะมีเจ้านายสูงศักดิ์เสด็จมาที่บ้าน และเกรงกลัวไปว่าการต้อนรับไม่สมพระเกียรติ เพราะคุณแม่แต่งตัวลงมารับแขกด้วยเสื้อผ้าแบบอยู่กับบ้าน เสด็จในกรมฯ ทรงเห็นอาการตกตะลึงของคุณแม่ ทรงรีบรับสั่งว่า ‘ไม่มีอะไรหรอก ฉันมาที่นี่ก็เพื่อจะมาขอลูกสาวแม่ล้วนให้ลูกศิษย์ฉัน’ จากนั้นก็ทรงสนทนาเรื่องต่างๆ ต่อไปจนคุณแม่ค่อยสบายใจแล้ว คุณแม่จึงกราบทูลว่า ‘บุตรสาวของหม่อมฉันยังเด็กนัก ยังเรียนหนังสืออยู่ ยังไม่เป็นแม่บ้านแม่เรือน และลูกได้ตั้งใจที่จะเรียนหนังสือให้จบ หม่อมฉันก็รับปากกับลูกไว้แล้ว’ เสด็จในกรมฯ ทรงรับสั่งทันที ‘ไม่เป็นไร ลูกศิษย์ฉันเรียบร้อย ตำน้ำพริกก็อร่อย’ แล้วก็ทรงพระสรวล เมื่อเห็นคุณแม่ไม่กราบทูลอะไรก็รับสั่งต่อว่า ‘ค่อยคิดดูใหม่ จะให้มาฟังข่าววันหลัง” คุณแม่เล่าว่า พระองค์ท่านดีเหลือเกิน รับสั่งด้วยพระสุรเสียงนุ่มนวล ไม่ทรงถือพระองค์เลย…’

    รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นิตย์ คำอุไร อดีตอาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธิดาคนสุดท้องของหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (รังษี คำอุไร) เจ้ากรมของ “เสด็จเตี่ย” เล่าด้วยเช่นกันว่า ช่วงที่พ่อคือเจ้ากรมรังษี ยังเป็นหนุ่มโสดอยู่ในวัง คืนหนึ่งไปดูละครแล้วเกิดติดใจสาวคนหนึ่งที่เห็นบนเวที พอละครเลิก จึงเรียกรถเจ๊ก (รถลาก นั่งได้ ๑ – ๒ คน มีอาแป๊ะเป็นคนลากรถ) ให้แล่นตามรถเจ๊กของนักแสดงสาวคนนั้นจนถึงบ้านของเธอย่านตรอกขี้เถ้า ใกล้วัดคอกหมู (วัดสิตาราม) ซึ่งเจ้าตัวก็ไม่รู้ว่ามีชายหนุ่มตามมา เมื่อรู้ว่าบ้านช่องอยู่ที่ไหนแล้ว เจ้ากรมรังษีจึงกลับเข้าวัง

    ต่อมาไม่ช้าไม่นาน ครอบครัวของนางเอกคณะละครผู้นั้นต้องตกใจแทบสิ้นสติ ที่อยู่ดีๆ ก็มี “เจ้าใหญ่นายโต” เสด็จมาถึงบ้าน เสด็จในกรมฯ เสด็จมาทรงเป็นเถ้าแก่ด้วยพระองค์เอง ตรัสว่าท่านมาสู่ขอลูกสาวบ้านนั้นไปเป็นภรรยาให้เจ้ากรมของท่าน

    นักแสดงสาวผู้นั้น ต่อมาคือแม่ผิว คำอุไร คุณแม่ของอาจารย์นิตย์นั่นเอง

    ที่มา : https://www.sarakadee.com/2022/04/13/เถ้าแก่/
     
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    upload_2022-5-28_12-28-0.jpeg upload_2022-5-28_12-28-15.jpeg
    ศาล พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube กรมทรัพยากรธรณี
    อุทยานธรณีโลกสตูล จากทะเล 500 ล้านปี สู่ขุนคีรียิ่งใหญ่
    www.youtube.com/watch?v=sK9oNWBN-AU


    ที่มา : youtube Chillpainai ชิลไปไหน
    คู่มือท่องเที่ยวสตูล(Satun Guidebook) เมืองสวยงามระดับโลกที่ต้องไปให้ได้สักครั้ง
    www.youtube.com/watch?v=V4E6nF-2NKE


    ที่มา : yotube เพลงดังในอดีต
    Bossa of love 70's เพลงเก่าๆ ยุค70 ในทำนอง Bossa ฟังสบาย ( easy listening Bossa of Oldie song)
    www.youtube.com/watch?v=M8Rok9MO1BY
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2022
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    upload_2022-5-28_12-45-0.jpeg
    ไง ไง สบายวันหยุดกันล่ะสิ เราทำงานนะขอบอก ตอนนี้พักเที่ยงนะจ๊ะo_O
     
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    upload_2022-5-28_12-47-59.jpeg
    ดูกันยังล่ะเธอ เรายังไม่ได้ดูเลย ออกโรงไปยัง? หนังแบบนี้ต้องดูในโรงหนังเนาะ
     
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube ธนากร โกศลเมธี
    ขอเชิญร่วมพิธีน้อมรำลึกครบรอบ 100 ปี “เสด็จเตี่ยฯ” ณ หาดทรายรี
    www.youtube.com/watch?v=A7FV6ieMTS0


    ที่มา : youtube one31
    คนเดียวในดวงใจ - ผิงผิง | The Golden Song เวทีเพลงเพราะ Season2 EP.20
    www.youtube.com/watch?v=k5GFHnwNb-A


    ครึกครื้นไว้ก่อน ได้ข่าวว่าพรุ่งนี้วันจันทร์ (อีกแล้ว)
    ที่มา : youtube Thai PBS
    You May Be Right | Covered by The Palace | นักผจญเพลง REPLAY
    www.youtube.com/watch?v=-UHhkv_su4I


    ใครกันนะจะเป็นนางเอก ร.ด. อะไรนะ? ใครก็ได้ที่ไม่ใช่เธอ...
    ไม่เห็นง้อเลย เป็นนางเอก ร.ป.ภ. ก็ด้ายยยยย
    จิ๊บ ร.ด. | Covered by The Palace | นักผจญเพลง REPLAY
    www.youtube.com/watch?v=ZffZHhsifGI
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2022
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    images?q=tbn:ANd9GcSvlykRWbjPTu2iYH-smMTcm6F25y68_pJ05g&usqp=CAU.jpg
    ฮูแคร์ ดูหน้า ย้ำฮูแคร์ (น่าจะเป็นไอนี่ล่ะ)o_O

    ไปดูรายการวัยรุ่นก่อนนะ the golden song เวทีเพลงเพราะ ๆๆๆๆๆๆ
     
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    4-1.jpg
    … ทหารเรือในสมัยเสด็จในกรม ฯ แม้จะมีจำนวนน้อย และเป็นสมัยตอนต้น ๆ ก็จริง แต่ทหารเรืออาจหาญร่าเริงมีชีวิตชีวา มีความหวังในชีวิต … ทั้งนี้อาจจะเป็นด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เสด็จในกรม ฯ ทรงเป็นเจ้านายที่มีพระอำนาจวาสนาสูง โดยเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารเรือมาจากต่างประเทศเป็นพระองค์แรก และทรงจัดการต่าง ๆ ได้สำเร็จผลปรากฏขึ้นทันตาเห็นจริง ๆ ดังที่ทรงจัดการศึกษาให้นายทหารเรือเป็นนายทหารที่เดินเรือทะเลได้จริง ๆ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีก็ทรงทำได้สำเร็จ และประการสำคัญ ก็คือพระองค์ทรงรักใคร่ทหารเรือดุจโอรส ทรงคลุกคลีอยู่กับทหารอย่างใกล้ชิดสนิทสนม ทหารเรือจึงทั้งเคารพสักการะและรักใคร่พระองค์เป็น “พระบิดา” …

    ข้อความข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งในงานเขียนที่ชื่อว่า “ทหารเรือในสมัยพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” ตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ นาวาเอก หม่อมเจ้าพรปรีชา กมลาศน์ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 พฤษภาคม 2503

    หม่อมเจ้าพรปรีชา อดีตนักเรียนนายเรือหมายเลข 58 ผู้ซึ่งพระโอรสและพระธิดาของเสด็จในกรมฯ ทรงเรียกว่า “ท่านอากู๊ก” ทรงเป็นทั้งพระประยูรญาติและลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ทั้งยังทรงเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิด เห็นได้จากที่กลางพระอุระของท่านมีรอยสักตัวหนังสือว่า ‘ร.ศ. ๑๑๒ ตราด’ ซึ่งเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ทรงสักให้ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์ท่านเอง โดยได้ทรงสักประทานให้ศิษย์ก้นกุฏิเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

    ทัศนะและความทรงจำที่นาวาเอก หม่อมเจ้าพรปรีชา กมลาศน์ ทรงถ่ายทอดไว้ จึงมาจากประสบการณ์ตรงของตัวท่านเองโดยแท้

    5-1.jpg
    ศิษย์เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ อีกท่านที่ถ่ายทอดความทรงจำไว้คล้ายคลึงกัน คือพลเรือตรี พระยาหาญกลางสมุทร ร.น. หรือ บุญมี พันธุมนาวิน หนึ่งในศิษย์นักเรียนนายเรือรุ่นแรก ๆ ของเสด็จในกรมฯ โดยพระยาหาญฯ ได้ให้สัมภาษณ์แก่คณะอาจารย์วิทยาลัยพณิชยการพระนคร เมื่อ พ.ศ. 2515 เล่าถึงบรรยากาศการเรียนการสอนของโรงเรียนนายเรือยุคหลังจากที่เสด็จในกรมฯ ทรงเข้าปรับปรุงหลักสูตร ความตอนหนึ่งว่า

    … ครูบาอาจารย์ที่ไม่เข้าใจวิชาอะไร ก็ไปเรียนจากเสด็จในกรม แล้วนำความรู้มาสอนอีกทีหนึ่ง เสด็จในกรมท่านสอนได้ทุกอย่าง ไม่ลืมสักวิชาเดียว นับว่าเป็นอัจฉริยบุรุษคนหนึ่งทีเดียว

    ต่อมาตั้งโรงเรียนช่างกลขึ้นอีก ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ทั้งหมดนี่แหละ เสด็จในกรมทรงเป็นอาจารย์ใหญ่ เป็นพ่อทหารเรือทีเดียวละ และเป็นต้นที่ทหารเรือเรียกว่า พ่อ

    แต่เท่าที่ทราบ คนที่เรียกท่านว่าพ่อ ท่านไม่ค่อยชอบนัก ท่านให้เรียกท่านว่า ทิดเตี่ย แต่ก็เป็นคนใกล้ชิดก็มีไม่กี่คนหรอก เสด็จในกรมท่านปกครองนักเรียนนายเรืออย่างกันเอง เรียกทหารเรือว่าลูก …

    ความทรงจำถึง “องค์บิดา” ดังที่ยกตัวอย่างมานี้ อาจนำมาซึ่งข้อสงสัยของผู้คนในยุคหลังที่ว่า “เสด็จเตี่ย” ทรงมุ่งหมายหรือมีพระประสงค์ให้ “ลูกๆ” ปฏิบัติต่อพระองค์ในลักษณะไหน ทรงต้องการให้บรรดาศิษย์เคารพยำเกรงและเชื่อฟังพระองค์อย่างเคร่งครัดหรือไม่ หรือทรงตั้งพระทัยหล่อหลอมให้นายทหารเรือทั้งหลายมีคุณลักษณะเช่นใดกันแน่ ?

    คำตอบต่อข้อสงสัยข้างต้น อาจพิเคราะห์ได้จากหลักฐานเชิงประจักษ์ทั้งหลาย ทั้งจากบุคคลร่วมสมัย และจากงานค้นคว้าในยุคหลัง

    ในการให้สัมภาษณ์ครั้งเดียวกับที่อ้างถึงข้างต้น พลเรือตรี พระยาหาญกลางสมุทรได้ถ่ายทอดความทรงจำจากประสบการณ์ตรงของท่าน ระหว่างช่วงเวลาที่เสด็จในกรมฯ ทรงเข้าปรับปรุงโรงเรียนนายเรือ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่การทรง “ปราบ” การประท้วงของนักเรียน อันมีชนวนจากความไม่พอใจในพ่อครัวประจำโรงเรียนที่ชื่อ “ตาสวน”

    … วันเกิดเรื่อง ตาสวนแกงส้มเปลือกแตงโมกับปลาแห้ง แกงกินเช้าก็ทำกันตั้งแต่สี่ห้าทุ่ม ปอกหั่นล้างน้ำเรียบร้อย และใส่กระป๋องเตรียมมแกงตอนเช้า ในครัวมีหนูเยอะ มันหิวเข้าก็พากันลงไปแกะเปลือกแตงโมกินกันใหญ่ตามประสาหนู มีทั้งตัวใหญ่ตัวเล็ก พอใกล้สว่าง คนครัวก็มาทำของ เจ้าหนูตัวโตก็หนี อ้ายตัวนิด ๆ หนีไม่ทันยังซ่อนอยู่ในผัก เมื่อช่วยกันปรุงเครื่องแกงเสร็จแล้วเอาผัก-เปลือกแตงโมที่เตรียมไว้ตั้งแต่เมื่อคืนเทโครมไปในหม้อ อ้ายหนูที่ติดอยู่ในนั้นตาย

    ตอนนั้นเขาแบ่งนักเรียนนายเรือออกเป็น 2 พวก คือพวกอาวุโสกับพวกน้อง ๆ เวลารับประทานอาหาร พวกอาวุโสนั่งโต๊ะหนึ่ง โต๊ะหนึ่งพวกอาวุโสนี้มีพระยาราชวังสัน เดิมชื่อศรี เป็นหัวหน้าโต๊ะ โต๊ะนี้นักเรียนนายเรือรุ่นน้อง ๆ เรียก โต๊ะนักเลงโต ที่จริงก็ไม่ใช่นักเลงหัวไม้เกกมะเหรกอะไรหรอก เป็นแค่รุ่นที่คอยควบคุมดูแลความประพฤติรุ่นน้อง ๆ คอยป้องกันไม่ให้ใครมารังแกข่มเหง พวกโต๊ะหนึ่งนี้เขามองขึงดาหรือพูดคำเดียว พวกรุ่นมองต้องนิ่งเงียบทีเดียว …

    … วันนั้นแกงแตงโมกับปลาแห้งทำพิษ

    มีโต๊ะกินข้าวทั้งหมด 8 โต๊ะ กินกันไปกินกันมา เจ้าอยู่ตักแกงใส่ปากเห็นหางดิก ๆ ร้องขึ้นว่า เฮ้ย อะไรนี่หว่า เฮ้ยหนูเว้ย ไม่กิน …

    … พอโต๊ะหนึ่งฮือขึ้น โต๊ะอื่น ๆ ก็ฮือตาม ต่างตะโกนกันต่อ ๆ ไปว่า แกงหนูอย่ากินเข้าไปหนา พอพวกนักเลงโตว่าอย่างนั้น คนอื่นก็เชื่อกันหมด อ้ายพวกเด็ก ๆ มันหิวจะเข้าไปกิน พวกนักเลงโตก็ห้ามไม่ให้กิน …

    … ชักจะยุ่งกันใหญ่ นักเรียนนายเรือไม่ยอมกินข้าว กลางวันก็ไม่กิน เย็นก็ไม่กิน รุ่งขึ้นก็ไม่กินอีก เพราะพวกโต๊ะหนึ่งห้ามกิน หาเรื่องไล่ตาสวนออก …

    … พระยานาวามาสอบสวนว่า ทำไมจึงไม่กินข้าวกัน มาถึงก็เอ็ดตะโรแว้ด ๆ ว่า ทำไมนักเรียนถึงไม่ยอมกินข้าว กับก็อร่อย เจ้าสวนเขาก็ทำดีนี่หว่า นักเรียนนายเรือต่างก็พากันเดินหนีไม่ยอมกินกัน อาศัยเจ๊กช้างซื้อขนมปังกิน แต่ก็ไม่พอกินเพราะนักเรียนนายเรือตั้งร้อย เรียกว่าสไตรค์กันตรง ๆ นี่แหละ ไปซื้อข้าวกินกันแถวท่าเตียนกันบ้าง ให้เรียนหนังสือก็ไม่เรียน ถามว่าทำไมไม่เรียน บอกว่าไม่มีแรงเพราะไม่ได้กินข้าว กินข้าวไม่อิ่ม เลยออกเที่ยวกันท่าเตียนบ้าง วัดแจ้งบ้าง จนเดือนหนึ่งผ่านไป และนี่เองเป็นเหตุที่เสด็จในกรมจะเข้ามาบัญชาการโรงเรียนนายเรือ

    ทูลกระหม่อมบริพัตร ผู้บัญชาการทหารเรือให้คนมาถามว่ามันเป็นอย่างไร ทำไมนักเรียนนายเรือจึงยุ่งก้นนัก ท่านก็เลย … ให้กรมหมื่นชุมพรมาดูแลนักเรียนนายเรือแทน

    เสด็จในกรมท่านเรียกประชุมนักเรียนนายเรือ ตรัสถามว่าจะเอาอย่างไร จะทำกินกันเองหรือจะหาพ่อครัวมา

    ทูลกันว่า “ทำกินเอง”

    ตรัสว่า “เอ้า ตามใจ” …

    พระดำรัส “เอ้า ตามใจ” ข้างต้นนี้ หากมองอย่างผิวเผิน อาจเข้าใจไปได้ว่าทรงปล่อยปละนักเรียนให้สามารถเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของตน แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายล้วนชี้ตรงกันว่า หลังจากนั้น เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ได้ทรงเพิ่มความเข้มงวดกวดขันต่อการฝึกศึกษาของนักเรียน ทั้งในด้านเนื้อหาวิชาการและระเบียบวินัย

    การทรงเข้าปรับปรุงโรงเรียนนายเรือ นำมาซึ่งการจัดระเบียบวิธีเข้าแถว วิธีจัดโต๊ะกินข้าว การจัดที่นอนนักเรียน การอาบน้ำ การกำหนดการแต่งกาย การลา และการกำหนดเวลาประจำวันของโรงเรียน

    หากพูดกันด้วยสำนวนของคนในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าเสด็จในกรมฯ ทรงสร้างมาตรฐานใหม่ของความ “เป๊ะ” ให้นักเรียนนายเรือ

    37.img155-696x1024.jpg
    นาวาเอก หลวงสำรวจวิถีสมุทร์ หรือ ฟุ้ง พร้อมสัมพันธ์ เจ้ากรมอุทกศาสตร์ ลำดับที่ 5 อดีตนักเรียนนายเรือหมายเลข 75 สำเร็จออกเป็นนักเรียนทำการนายเรือชุดแรกใน พ.ศ 2454 ซึ่งคือช่วงเวลาคาบเกี่ยวกับการทรงออกจากราชการ ได้ถ่ายทอดความทรงจำไว้ในบทความเรื่อง “ชีวิตของนักเรียนนายเรือ สมัยที่ผู้เขียนเป็นนักเรียนอยู่” เผยแพร่ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ปีที่ 54 เล่ม 11 ความตอนหนึ่งว่า

    … ตอนบ่ายวันพฤหัสหยุดเรียน เพราะมีการตรวจความสะอาดบนตอน อย่างที่เรียกว่า General Inspection นักเรียนต้องจัดเตียงนอนของตนให้สะอาด มีเสื้อผ้าหรือสิ่งของอะไรในหีบต้องเอาขึ้นมาวางบนเตียงให้เรียบร้อยทั้งหมด รองเท้าหนังต้องขัดให้มัน รองเท้าผ้าใบต้องทาฝุ่นให้สะอาด ปืน ร.ศ. ประจำตัวต้องทำความสะอาดไม่ให้มีสนิม ทองเหลืองหุ้มปากกระบอกต้องขัดให้ขึ้นเงา พอถึงเวลาก็มีผู้บังคับการและพวกครูๆ มาตรวจ บางครั้งเสด็จในกรมก็เสด็จมาตรวจบ้าง …

    สำหรับโต๊ะกินข้าวโต๊ะที่หนึ่ง หรือ “โต๊ะนักเลงโต” ซึ่งชุมนุมนักเรียนรุ่นใหญ่เอาไว้นั้น พลเรือตรี พระยาหาญกลางสมุทร ได้บันทึกถึงความเปลี่ยนแปลงหลังการทรงเข้ามาจัดการศึกษาใหม่ว่า

    … โต๊ะอาหารผู้ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลนั้น ไม่มีอีกแล้ว …

    เรื่องราวนี้ สะท้อนถึงการทรงสร้างแนวปฏิบัติที่เป็นแบบแผน บนหลักเกณฑ์กติกาเดียวกัน สำหรับให้ทุกคนยึดถือเป็นมาตรฐานร่วมอย่างไม่มีการเหลื่อมล้ำ โดยมีการพัฒนาศักยภาพเป็นเป้าหมาย

    หลวงสำรวจวิถีสมุทร์ แสดงทัศนะต่อความเข้มงวดหรือลำบากตรากตรำระหว่างการเรียน อันเป็นสิ่งที่นักเรียนนายเรือยุคนั้นต่างเล่าขานอย่างสอดคล้องกันว่า

    … การที่ท่านฝึกให้เราอดอยากอดทนนั้น ก็นับว่ามีคุณประโยชน์อยู่มาก หากภายหลังไปพบความยากลำบากอะไรเข้าก็เห็นเป็นของธรรมดา …

    แม้จะทรงเข้มงวดกวดขันด้านระเบียบวินัย แต่ก็ทรง “เอ้า ตามใจ” ในบางแง่มุม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะทรงเห็นประโยชน์ที่จะตกแก่นักเรียน จากการทรงตามใจนั้น

    … สมัยเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ เวลากลางคืนนักเรียนจะดูหนังสือดึกดื่นเท่าไรก็ได้ ไม่มีห้าม ครั้นถึงสมัยเสด็จในกรมหลวงสิงห์ฯ พอเป่าแตรนอนแล้วนักเรียนต้องนอนหมด ใครจะดูหนังสือในห้องเรียนหรือที่ไหนก็ไม่ได้ แม้จะดูในมุ้งก็ไม่ได้ …

    ขณะเดียวกัน ความทรงจำอีกมุมหนึ่งของหลวงสำรวจวิถีสมุทร์ ก็ชวนให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่าจริง ๆ แล้ว เสด็จในกรมฯ อาจมิได้ทรง “ดุ” บรรดาศิษย์อย่างมากมายเป็นกิจวัตร ดังที่งานเขียนพระประวัติบางฉบับได้ฉายภาพเอาไว้

    … เขาพูดกันว่าเสด็จในกรมเวลาออกทะเลดุนัก ข้าพเจ้าไม่เคยไปในเรือลำเดียวกับพระองค์ท่านจึงไม่เห็นความดุ …

    เสด็จในกรมฯ ทรงจัดระเบียบโรงเรียนนายเรือได้ไม่นาน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับพัฒนาการของโรงเรียนนายเรือ ความบางตอนว่า

    การปกครองโรงเรียนก็เจริญขึ้นเห็นทันตา การที่นักเรียนหลบหนีออกจากโรงเรียนก็เปนอันไม่มีแล้ว … ตามที่จัดได้ถึงเพียงนี้ย่อมนับกว่าเปนการเจริญได้เกินกว่าคาดหมาย แม้แต่คนภายนอกก็มีความนิยมมากขึ้น มีนักเรียนสมัครเข้ามาอยู่เสมอ … การที่เป็นไปได้ถึงเพียงนี้ ก็ต้องอาไศรยผู้ซึ่งได้เล่าเรียนวิชาทหารเรือมาแล้ว แลซึ่งมีน่าที่ราชการอยู่ในตำแหน่งอื่นแล้วนั้นมาช่วยสอนด้วย … แลรองผู้บัญชาการ (หมายถึงเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ) ก็ได้ทรงฝึกสอนเองด้วย แลประกอบทั้งความกวดขัน จึงได้สามารถอำนวยการศึกษาให้สำเร็จไปตามหลักสูตร… รองผู้บัญชาการก็เสด็จไปควบคุมอยู่ที่โรงเรียน ตั้งแต่เวลาเช้า ๒ โมงจนค่ำแล้วทุกวัน …

    หนังสือ “100 ปี การเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนนายเรือ” ได้สรุปสิ่งที่ทรงจัดปรับปรุงในด้านการปกครองของโรงเรียนนายเรือไว้ว่า ทรงจัดการปกครองแบบเดียวกับการปกครองในเรือรบ กล่าวคือ ทรงแบ่งนักเรียนเป็น 2 แผนก แผนกที่หมายเลขประจำตัวเป็นเลขคู่เรียกว่าแคมซ้าย ส่วนแผนกเลขคอน หรือเลขคี่ เรียกว่าแคมขวา

    จากนั้น ก็แบ่งแต่ละแคมออกเป็น 4 ตอน เรียกว่า ตอนหัวเรือ ตอนเสาหน้า ตอนเสาหลัง และตอนท้ายเรือ รวมทั้งสิ้นเป็น 8 ตอน แล้วแต่งตั้งนักเรียนเป็น “กัปตันตอน” ตอนละหนึ่งคน ทำหน้าที่บังคับบัญชานักเรียนอื่นได้ในเวลาที่ที่ไม่มีครูกำกับ และเลือกนักเรียนที่มีความสามารถและประพฤติดี ขึ้นเป็น “หัวหน้ากัปตันตอน” อีกผู้หนึ่ง เพื่อให้เกิดการฝึกการบังคับบัญชาระหว่างกัน

    ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ ทรงจัดให้มีการประชุมกัปตันตอนทุกวันเสาร์ เพื่อออกความคิดเห็นในเรื่องความขัดข้องต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อปรับปรุงแก้ไขระเบียบโรงเรียนให้เหมาะสมก้าวหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งการประชุมกัปตันตอนทุกสัปดาห์นี้ นับเป็นครั้งแรก ที่ “ผู้น้อย” ได้มีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อพัฒนาปรับปรุงหน่วยงานที่ตนสังกัด

    สิ่งนี้ย่อมสะท้อนได้อย่างแจ่มชัด ถึงการทรงให้ความสำคัญกับการรับฟังเสียงจากผู้ใต้บังคับบัญชา ควบคู่กับการทรงส่งเสริมให้บรรดาศิษย์ของพระองค์มีความคิดเป็นของตัวเอง และกล้าแสดงความคิดของตนออกมาอย่างสร้างสรรค์

    พระจริยวัตรเปิดรับความคิดเห็นอย่างพระทัยกว้างเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ทรงกระทำเสมอมา แม้เมื่อทรงมีตำแหน่งราชการและพระอิสริยยศสูงยิ่งแล้ว

    วิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทและกิจการทหารเรือไทย สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์” โดย มลิวัลย์ คงเจริญ ตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2517 ได้ระบุถึงพระกรณียกิจอย่างหนึ่งของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่ทราบกันแพร่หลายมากนักเอาไว้ว่า

    … ใน พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) กระทรวงทหารเรือได้จัดตั้ง “สภาบัญชาการกลางกระทรวงทหารเรือ” ขึ้น เป็นที่ประชุมศึกษาราชการ กำหนดให้มีการประชุมทุกสัปดาห์แรกของเดือน … นอกจากสภาบัญชาการกลางซึ่งเป็นสภาใหญ่แล้ว พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ยังได้ทรงขอมติจากสภาบัญชาการฯ ตั้งสภาย่อยขึ้นอีก 2 สภา คือสภาธุรการ … นอกจากนี้ก็มีสภาการช่าง …

    … สภาบัญชาการ ฯ ได้เป็นที่ปรึกษาราชการของเสนาบดีกระทรวงทหารเรือได้อย่างดียิ่ง … พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์นั้น ทรงมั่นพระทัยจะดำเนินการไปได้ผลสำเร็จ เพราะพระองค์ได้ทรงระบุเหตุผลในการจัดตั้งสภาบัญชาการกลางทหารเรือ ไว้ดังนี้

    … การที่จะมีประชุมกันนั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ฟังข้อคิดเห็นต่าง ๆ ของกรมอื่น ๆ ที่จะดำเนิรต่อไปโดยความพร้อมเพรียงกัน จักได้เป็นโอกาสแสดงความเห็นหรือสอบถามความดำริห์แลโต้แย้ง แนะนำให้เป็นที่แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ..ฯลฯ … ราชการจักดำเนิรเร็วขึ้นประการหนึ่ง กับทั้งทางดำริห์ก็จะเป็นที่มั่นคงขึ้น โดยได้รับความเห็นของกรมอื่น ๆ อีกชั้นหนึ่งด้วยเป็นประการสอง …

    รายงานการประชุมแต่ละครั้ง แสดงให้เห็นว่านายทหารเรือไทยต่างก็พยายามใช้ความคิดและความรู้ของตนอย่างเต็มที่ ทั้งมีความเข้าใจถึงหน้าที่และสิทธิของตนเองดี ทั้ง ๆ ที่พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงมีอาวุโสสูง และทรงเป็นครูของนายทหารที่เข้าประชุมเป็นส่วนใหญ่ แต่ข้อเสนอของพระองค์ก็ไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเสมอไป พระองค์เองก็ทรงระมัดระวังไม่ให้นายหหารอาวุโสน้อยต้องลำบากใจในการแสดงความคิดเห็นว่าจะต้องคล้อยตามผู้ใหญ่ ในกรณีที่จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นและออกเสียงเพื่อชี้ขาดในเรื่องที่อภิปรายแล้วยังตกลงไม่ได้นั้น พระองค์ทรงใช้วิธีให้ออกเสียงตามลำดับอาวุโสต่ำสุดขึ้นไปถึงอาวุโสสูงสุด ด้วยวิธีดังกล่าวนี้ สภาบัญชาการกลางทหารเรือจึงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการในกองทัพเรือได้ดี …

    เนื้อหาวิทยานิพนธ์ดังที่คัดมาข้างต้นนี้ บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ มิได้มีพระประสงค์ให้บรรดา “ลูก ๆ” พากันเชื่อฟังและคล้อยตามพระองค์อย่างไม่มีเงื่อนไข หากทรงต้องการให้ศิษย์ของพระองค์มีความคิดเป็นตัวของตัวเอง กล้าวิเคราะห์ไตร่ตรอง และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นนั้นโดยมุ่งประโยชน์แก่ราชการและส่วนรวม มีขีดความสามารถที่จะใช้ความรู้ความคิด เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ราชนาวีสยามและชาติบ้านเมืองได้อย่างเต็มความสามารถ

    การทรง “สร้างคน” ให้มีศักยภาพทางปัญญาเช่นนี้ คงจะเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่ทำให้บรรดาศิษย์ที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้ สามารถสืบทอดพระปณิธานในการพัฒนาราชนาวีสยาม อันเป็นสิ่งแน่วแน่ในพระทัยตลอดพระชนม์ชีพ

    35.img267-1-711x1024.jpg
    ที่มา : https://hrh-abhakara-120anv-homecoming.com/hrhyoungster/
     
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283

แชร์หน้านี้

Loading...