คาถาอุษณีวิชยธารณีสูตร

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย อาหลี_99, 8 มิถุนายน 2014.

  1. อาหลี_99

    อาหลี_99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +2,992
    [​IMG]

    อุษฺณีษวิชยธารณีสูตฺร

    佛頂尊勝陀羅尼經 สรฺวทุรฺคติปริโศธนอุษฺณีษวิชยธารณีสูตฺร

    唐周罽賓國沙門佛陀波利奉詔譯 พระพุทธปาละแห่งกุภานะประเทศสมัยราชวงศ์ถัง แปลสู่พากษ์ภาษาจีน พระภิกษุนนทิชัย เสี่ยไค่ (釋聖凱) แปลสู่พากษ์ภาษาไทยบริบูรณ์ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๐.๓๕ นาฬิกา

    如是我聞。一時薄伽梵。在室羅筏住誓多林給孤獨園, 與大苾芻眾千二百五十人俱。又與諸大菩薩僧萬二千人俱。
    ดังที่ได้สดับมา สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เชตวันวิหารแห่งอนาถปิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี พร้อมด้วยหมู่ แห่งพระภิกษุสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป และหมู่แห่งพระมหาโพธิสัตว์ ๑๒,๐๐๐ องค์

    爾時三十三天於善法堂會。有一天子名曰善住。與諸大天 遊於園觀。又與大天受勝尊貴。與諸天女前後團繞。歡喜 遊戲。種種音樂。共相娛樂。受諸快樂。
    ในกาลนั้น ณ ศาลาสุธรรมาสภา ในดาวดึงสเทวโลก มีเทวบุตร หนึ่งนามว่า สุสถิต พร้อมด้วยหมู่แห่งมหาเทพ และเทวธิดาทั้ง หลายห้อมล้อม ล้วนเที่ยวชมสวน และรื่นเริงบันเทิงกับทิพย ดนตรีและทิพยสุข

    爾時善住天子即於夜分。聞有聲言。善住天子卻後七日。 命將欲盡。命終之後。生贍部洲。受七返畜生身。即受地 獄苦。從地獄出。希得人身。生於貧賤。處於母胎。即無 兩目。
    ในนิสีทยามนั้น สุสถิตเทวบุตรได้สดับเสียง กล่าวว่า สุสถิต เทวบุตรหลังจากนี้ ๗ ทิวา จักต้องจุติและบังเกิดในชมพูทวีป บังเกิดในร่างสัตว์ดิรัจฉาน ๗ ชาติ และได้รับทุกข์ในนรกภูมิ เมื่อพ้นจากนรกภูมิแล้ว จักเกิดเป็นมนุษย์ยากจนขัดสน จักษุทั้ง สองบอดตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

    爾時善住天子聞此聲已。即大驚佈。身毛皆豎。愁憂不 樂。速疾往詣天帝釋所。悲啼號哭。惶怖無計。頂禮帝釋 二足尊 已。白帝釋言。聽我所說。我與諸天女共相圍 繞。受諸快樂。聞有聲言。善住天子卻後七日。命將欲 盡。命終之後。生贍部洲。七返受畜生身。受七身已。即 墮諸地 獄。從地獄出。希得人身。生貧賤家。而無兩 目。天帝。云何令我得免斯苦。
    ครั้นเมื่อสุสถิตเทวบุตรได้สดับเสียงนั้นสิ้นลง ได้บังเกิดความ ครั่นคร้าม ขนลุกชูชัน เศร้าโศก จึงเร่งรีบไปยังสำนักแห่งท้าว สักกรินทร์เทวราช ร้องไห้คร่ำครวญด้วยความกลัวอันหา ประมาณมิได้ ถวายบังคม ณ เบื้องบาททั้งสองแห่งท้าวสัก กรินทร์เทวราช แล้วกราบทูลว่า “สดับคำแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้า พร้อมด้วยเหล่าเทวธิดาที่รายล้อม ได้รับความบันเทิงอยู่ ได้ สดับเสียง กล่าวว่า ‘สุสถิตเทวบุตรหลังจากนี้ ๗ ทิวา จักต้อง จุติ และบังเกิดในชมพูทวีป บังเกิดในร่างสัตว์ดิรัจฉาน ๗ ชาติ เมื่อครบ ๗ ชาติแล้วจักลงสู่นรกภูมิ เมื่อพ้นจากนรกภูมิแล้ว จัก เกิดเป็นมนุษย์ในครอบครัวยากจนขัดสนและจักษุทั้งสองบอด’ ท้าวสักกรินทร์เทวราช จักทำเยี่ยงใด ข้าพเจ้าจักมิต้องรับทุกข์ นี้?”

    爾時帝釋聞善住天子語已。甚大驚愕。即自思惟。此善住 天子受何七返惡道之身。
    เมื่อท้าวสักกรินทร์เทวราชสดับคำแห่งสุสถิตเทวบุตรจบลง บังเกิดความตกตะลึงอย่างยิ่ง จึงพิจารณาด้วยพระองค์เอง สุ สถิตเทวบุตรนี้จักได้รับกายแห่งทุคติภูมิทั้ง ๗ ชาติเยี่ยงใด?

    爾時帝釋須臾靜住。入定諦觀。即見善住當受七返惡道之 身。所謂豬狗野干獮猴蟒蛇鳥鷲等身。食諸穢惡不淨之 物。 ใ
    นกาลนั้นท้าวสักกรินทร์เทวราชจึงสำรวมจิตเข้าสู่สมาธิ พิจารณา ได้ทัศนาเห็นทุคติภูมิทั้ง ๗ ชาติของสุสถิตเทวบุตรว่า จักต้องไปบังเกิดในร่างสุกร, สุนัข, หมาใน, ลิง, งูเหลือม, นก และ แร้ง กินแต่สิ่งสกปรกไม่สะอาดเป็นอาหาร

    爾時帝釋觀見善住天子。當墮七返惡道之身。極受苦惱。 痛割於心。諦思無計。何所歸依。唯有如來應正等覺。令 其善住得免斯苦。
    ในกาลที่ท้าวสักกรินทร์เทวราชพิจารณาเห็นสุสถิตเทวบุตรต้อง เกิดในดิรัจฉานภูมิ ๗ ชาตินั้น ได้บังเกิดความสังเวชเป็นที่สุด มิ อาจคิดหาวิธีใดได้ จักมีผู้ใดเล่าที่เป็นที่พึ่งได้นอกเสียจากพระ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงจักสามารถยังสุสถิต เทวบุตรนี้มีต้องรับทุกข์

    爾時帝釋即於此日初夜分時。以種種花鬘塗香末。以妙天 衣莊嚴執持。往詣誓多林園。於世尊所。到已。頂禮佛 足。右繞七匝。即於佛前。廣大供養。佛前胡跪而白佛 言。世尊。善住天子云何當受七返畜生惡道之身。具如上 說。
    ในปฐมยามแห่งนิสีทกาลวันนั้น ท้าวสักกรินทร์เทวราชจึงนำ กุสุมมาลา (พวงมาลัย),สุคนธชาติ และธูป อลังการด้วยทิพย สาฎกอันประณีต เสด็จไปยังสำนักแห่งพระโลกนาถเจ้า ณ พระ เชตวันมหาวิหาร เมื่อถึงแล้ว ถวายบังคม ณ เบื้องพระ พุทธบาท ประทักษิณาวรรต ๗ รอบ ถวายเครื่องสักการะอย่าง ยิ่งใหญ่ ณ เบื้องพระพักตร์แห่งพระพุทธเจ้า คุกพระชานุ แล้วกราบบังคมทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเรื่องแห่งสุสถิต เทวบุตรจักต้องไปบังเกิดในทุคติภูมิแห่งดิรัจฉาน ๗ ชาติดังได้ กล่าวไว้ในข้างต้น

    爾時如來頂上。放種 種光。遍滿十方一切世界己。其光 還來繞佛三匝。從佛口入。佛便微笑告帝釋言。天帝。有 陀羅尼。名為如來佛頂尊勝。能淨一切惡道。能淨徐一切 生死苦惱。又能 淨除諸地獄閻羅王界畜生之苦。又破一 切地獄。能迴向善道。
    ในกาลนั้นพระอุษณีษาแห่งพระตถาคตเจ้าได้บังเกิดรัศมี ประการต่างๆกระจายไปทั่วโลกธาตุทั้งทศทิศ แล้วกลับมาวน รอบพระพุทธเจ้า ๓ รอบจึงเข้าสู่พระพุทธโอษฐ์ พระพุทธเจ้า ทรงแย้มพระโอษฐ์แล้วตรัสกับท้าวสักกรินทร์เทวราชว่า “ดูกร ท้าวสักกรินทร์เทวราช มีธารณีนามว่า ‘ตถาคตอุษฺณีษาวิ ชยา’ สามารถยังความบริสุทธิ์ให้กับทุคติภูมิ สามารถดับทุกข์ แห่งการเกิดตาย ทั้งสามารถดับทุกข์แก่สัตว์นรกในยมโลกให้ พ้นจากนรกทั้งปวง สามารถกลับมาสู่สุคติภูมิได้”

    天帝。此佛頂尊勝陀羅尼。若有人聞。一經於耳。先世所 造一切地獄惡業。悉皆消滅。當得清淨之身。隨後所生 處。憶持不忘。從一佛剎至一佛剎。從一天界至一天界。 遍歷三十三天。所生之處。憶持不忘。
    “ดูกร ท้าวสักกรินทร์เทวราช อุษฺณีษาวิชยาธารณีนี้ หากผู้ใดได้ สดับครั้งเดียวด้วยหู อกุศลกรรมในอดีตชาติอันจักทำให้ต้องตก นรกภูมิย่อมมลายสูญไป ได้กายอันบริสุทธิ์ จักไปบังเกิด ณ ที่ ใด ย่อมจดจำธารณีนี้ได้ จากพุทธเกษตรหนึ่งไปยังพุทธเกษตร อื่น จากเทวโลกหนึ่งไปยังเทวโลกอื่น ตลอดจนดาวดึง สเทวโลก ไม่ว่าจักไปบังเกิด ณ สถานที่ใด ย่อมจดจำได้มิลืม เลือน”

    天帝。若人命欲將終。須臾憶念此陀羅尼。還得增壽。 得身中意淨。身無苦痛隨其福利。隨處安隱。一切如來之 所觀視。一切天神恆常侍衛。為人所敬。惡障消滅。一切 菩薩同心覆護。
    “ดูกร ท้าวสักกรินทร์เทวราช หากชีวิตแห่งบุคคลจักสิ้นลง ใน ขณะนั้นได้ระลึกถึงธารณีนี้ ย่อมจักกลับมามีอายุยืน มีกายอัน บริสุทธิ์ไร้ความทุกข์ประสบแต่ความสุข อยู่ ณ ที่ใดประสบแต่ ความเกษม พระตถาคตเจ้าทั้งปวงย่อมทัศนาเห็น เหล่าเทพทั้ง ปวงอภิบาลรักษา เป็นที่เคารพแห่งประชาชน อกุศลวิบากมลาย สูญ พระโพธิสัตว์ทั้งปวงร่วมใจปกปักรักษา”

    天帝。若人能須臾讀誦此陀羅尼者。此人所有一切地獄畜 生閻羅王界餓鬼之苦。破壞消滅。無有遺餘。諸佛剎土。 及諸天宮。一切菩薩所住之門。無有障礙。隨意遊入。 “ดูกร ท้าวสักกรินทร์เทวราช หากบุคคลสามารถสังวัธยายธารณี นี้แม้ขณะเดียว ความทุกข์ในนรกภูมิ สัตว์ดิรัจฉาน และเปรตภูมิ ทั้งปวงของบุคคลนี้ย่อมสลายมลายสิ้น มิเหลืออยู่ ย่อมมีอิสระ ที่จักเที่ยวไปในพุทธเกษตรทั้งปวง เทวโลกทุกชั้น และหนทางสู่ สถานแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งปวงไร้อุปสรรคขวางกั้น”

    爾時帝釋白佛言。世尊。唯願如來為眾生增益壽命之法。 爾時世尊知帝釋意。心之所念。樂聞佛說是陀羅尼法。即 說咒曰:
    ในกาลนั้นท้าวสักกรินทร์เทวราชทูลต่อพระพุทธเจ้าว่า “พระโลกนาถเจ้า ขอพระตถาคตเจ้าอนุเคราะห์แสดงธรรมอัน จักยังสรรพสัตว์ให้มีอายุวัฒนาด้วยเถิด” เมื่อพระโลกนาถเจ้าทรงทราบวาระจิตแห่งท้าวสักกรินทร์เทว ราชมีความยินดีสดับธารณีธรรมอันพระพุทธเจ้าจักทรงแสดง จึงทรงแสดงธารณีดังนี้

    曩謨(一)婆[言*我][口*縛]帝(二)怛喇(二合)路枳也(三 二合)缽囉底(四)尾始瑟吒(二合)野(五)沒馱野(六)婆[言* 我]縛帝(七)怛你也(二合)他(八)唵(九)尾戌馱野(十)娑麼 娑麼三滿哆(十一)[口*縛]婆娑(十二)娑頗(二合)囉拏(十 三)櫱帝[言*我]賀曩(十四)娑[口*縛](二合)婆[口*縛]尾 秫弟(十五)阿鼻詵左睹[牟*含](十六)素櫱哆(十七)[口* 縛]囉[口*縛]左曩(十八)阿蜜[口*栗](二合)哆(十九)鼻 [目*麗]罽(二十)摩賀曼怛囉(二合)橎乃(二十一)阿賀囉 阿賀囉(二十二)阿庾散馱囉柅(二十三)戌馱野戌馱野(二 十四)[言*我][言*我]曩尾秫弟(二十五)鄔瑟膩灑(二十 六)尾惹野尾秫弟(二十七)娑賀娑囉(二十八二合)囉濕銘 (二十九二合)散[口*祖]你帝(三十)薩[口*縛]怛他櫱哆 (三十一)[口*縛]路迦[寧*頁](三十二)殺橎(引)囉弭哆 (三十三)跛哩布囉抳(三十四)薩[口*縛]怛他(引)櫱哆(三 十五)紇哩(二合)娜野(三十六)地瑟奼(二合)曩(三十七)地 瑟恥(二合)跢(三十八)摩賀母捺哩(三十九二合)[口*縛] 日囉(二合)迦野(四十)僧賀跢曩尾秫弟(四十一)薩[口* 縛][口*縛]囉拏(四十二)跛野訥櫱帝(四十三)跛哩尾秫弟 (四十四)缽囉(二合)底(四十五)[寧*頁]襪跢野(四十六)阿 欲秫弟(四十七)三摩野(四十八)地瑟恥(二合)帝(四十九) 麼柅麼柅(五十)摩賀麼柅(五十一)怛闥哆(五十二)部跢句 致(五十三)跛哩秫弟(五十四)尾窣普(二合)吒(五十五)沒 地秫弟(五十六)惹野惹野(五十七)尾惹野尾惹野(五十八) 娑麼囉(五十九)薩[口*縛]沒馱(六十)地瑟恥(二合)哆秫 弟(六十一)[口*縛]日哩(二合)[口*縛]日囉(二合)櫱陛 (六十二)[口*縛]日[口*覽](六十三二合)婆[口*縛]睹麼 麼(六十四稱名)舍哩[口*覽](六十五)薩[口*縛]薩怛[口* 縛](六十六二合)難(上)左迦野(六十七)尾秫弟(六十八)薩 [口*縛][言*我]帝(六十九)跛哩秫弟(七十)薩[口*縛]怛 他櫱哆(七十一)三麼濕[口*縛](二合)娑演睹(七十二)薩 [口*縛]怛他櫱哆(七十三)三麼濕[口*縛](二合)娑(七十 四)地瑟恥(二合)帝(七十五)沒地野沒地野(七十六)尾沒 地野(七十七)冒馱野冒馱野(七十八)尾冒馱野尾冒馱野 (七十九)三滿哆(八十)跛哩秫弟(八十一)薩[口*縛]怛他 櫱哆(八十二)紇哩(二合)娜野(八十三)地瑟奼(二合)曩(八 十四)地瑟恥(二合)哆(八十五)摩賀母捺[口*(隸-木+士)] (二合)娑[口*縛](二合)賀

    นโม ภควเต ไตรโลกฺย ปรฺติวิศิษฺฏาย พุทฺธาย ภควเต ตทฺยถา โอมฺ วิศุทฺธย วิศุทฺธย อสม สม สมนฺตวภาส สฺผรณ คติ คหน สฺวภาว วิศุทฺเธ อภิษิญจตุ มามํ สุคต วร วจน อมฺฤต อภิเษไก มหา มนฺตฺร ปไท อาหร อาหร อายุ: สํ ธารณิ โศธย โศธย คคน วิศุทฺเธ อุษฺณีษ วิชย วิศุทฺเธ สหสฺร รศฺมิ สํ โจทิเต สรฺว ตถาคต อวโลกนิ ษฏฺ ปารมิตา ปริปูรณิ สรฺว ตถาคต มติ ทศ ภูมิ ปรติ ษฐิเต สรฺว ตถาคต หฤทย อธิษฐานา ธิษฐิต มหา มุ ทฺเร วชฺร กาย สํ หตน วิศุทฺเธ สรฺวาวรณ อปาย ทุรฺคติ ปริ วิศุ ทฺเธ ปฺรติ นิวรฺตย อายุ: ศุทฺเธ สมย อธิษฺฐิเต มณิ มณิ มหา มณิ ตถตา ภูต โกฏิ ปริศุทฺเธ วิสฺผุฏ พุทฺธิ ศุทฺเธ ชย ชย วิชย วิชย สฺมร สฺมร สรฺว พุทฺธ อธิษฺฐิต ศุทฺเธ วชฺริ วชฺร ครฺเภ วชฺรมฺ ภาวตุ มม ศรีรํ สรฺว สตฺตฺวานามฺ จ กาย ปริ วิศุทฺเธ สรฺว คติ ปริ ศุทฺเธ สรฺว ตถาคต สิญฺจ เม สมาศฺ วาส ยนฺตุ สรฺว ตถาคต สมาศฺวาส อธิษฺฐิเต พุทฺธฺย พุทฺธฺย วิพุทฺธฺย วิพุทฺธฺย โพธย โย วิ โพธย วิโพธย สมนฺต ปริศุทฺเธ สรฺว ตถาคต หฤทย อธิษ ฐานา ธิษฺฐิต มหา มุทฺเร สฺวาหา

    佛告帝釋言。此咒名淨除一切惡道佛頂尊勝陀羅尼。能除 一切罪業 等障。能破一切穢惡道苦。天帝。此大陀羅尼 八十八殑伽沙俱胝百千諸佛。同共宣說。隨喜受持。大日 如來智印印之。為破一切眾生穢惡道苦。為一切地獄畜生 閻羅王界眾生得解脫故。臨急苦難。隨生死海中眾生得解 脫故。短命薄福。無救護眾生。樂造雜染惡業眾生得饒益 故。又此陀羅尼於贍部洲住持力故。能令地獄惡道眾生。 種種流轉生死。薄福眾生。不信善惡業。失正道眾生等得 解脫義故。
    พระพุทธเจ้าตรัสแก่ท้าวสักกรินทร์เทวราชว่า “ธารณีนี้นามว่า สรฺวทุรฺคติปริโศธนอุษฺณีษวิชยธารณี อันสามารถดับวิบาก แห่งอกุศลกรรมทั้งปวงได้ สามารถทำลายทุกข์ในทุคติภูมิทั้ง ปวงได้ ท้าวสักกรินทร์เทวราช ธารณีนี้ปวงพระพุทธเจ้าอันมี จำนวนดุจเม็ดทรายใน ๘๘ โกฏิทสลักขคงคานที ล้วนปิติยินดี สนับสนุน พร้อมเพรียงกันตรัสแสดงธารณีอันได้รับการประทับ ด้วยมุทราปัญญาแห่งพระมหาไวโรจนตถาคตเจ้า เพื่อทำลาย เสียซึ่งทุคติภูมิแห่งสรรพสัตว์ เพื่อปลดเปลื้องสรรพสัตว์พ้นเสีย จากภูมิแห่งดิรัจฉาน, อสูรกาย และนรก เพื่อปลดเปลื้องสรรพ สัตว์จากทุกข์ในห้วงมหรรณพแห่งการเกิดตาย, ผู้อายุสั้น บุญ เบาบาง, สรรพสัตว์ผู้ไร้การคุ้มครองช่วยเหลือ ตลอดจนสรรพ สัตว์ผู้ชอบประกอบอกุศลกรรมทั้งปวงให้ได้รับประโยชน์ นอก จากนี้ ด้วยอานุภาพแห่งการอธิษฐานธารณีนี้ในชมพูทวีป สามารถนำสรรพสัตว์ในนรกภูมิและทุคติภูมิต่างๆ, ผู้มีกุศลอัน เบาบางในวัฏฏแห่งการเกิดตาย, ผู้ไม่ศรัทธาในกุศลแล อกุศลกรรม และผู้ไม่ตั้งอยู่ในสัมมามรรคาให้ได้หลุดพ้นสู่กุศล”

    佛告天帝。我說此陀羅尼。付囑於汝。汝當授與善住天 子。復當受持讀誦思惟。受樂憶念供養。於贍部洲一切眾 生。廣為宣說此陀羅尼印。亦為一切諸天子。故說此陀羅 尼印。付囑於汝。
    พระพุทธเจ้าตรัสแก่ท้าวสักกรินทร์เทวราชว่า “เราแสดงธารณี นี้ มอบให้แก่เธอ เธอจงถ่ายทอดแก่สุสถิตเทวบุตร และเธอพึง น้อมรับตั้งใจสังวัธยาย จดจำ ภาวนา และสักการะด้วยความ ยินดี ธารณีมุทรานี้จักได้ประกาศแสดงแก่สรรพสัตว์ในชมพู ทวีปอย่างไพศาล และเพื่อเหล่าเทวบุตรทั้งปวง จึงได้แสดงธาร ณีมุทรานี้มอบให้แก่เธอ”

    天帝。汝當善持守護。勿令忘失。天帝。若人須臾得聞此 陀羅尼。千劫已來。積造惡業重障。應受種種流轉生死地 獄餓鬼畜生閻羅王界阿修羅身夜叉羅剎鬼神布單那羯吒希 單那阿波娑摩羅蚊虻龜狗蟒蛇一切諸鳥。及諸猛獸。一切 蠢動含靈。乃至蟻子之身。更不重 受。即得轉生。諸佛 如來。一生補處菩薩。同會處生。或得大姓婆羅門家生。 或得大剎利種家生。或得豪貴最勝家生。天帝。此人身得 如上貴處生者。皆由聞此陀羅尼故。轉所生處。皆得清 淨。天帝。乃至得到菩提道場最勝 之處。皆由讚陀羅尼 功德。
    “ดูกร ท้าวสักกรินทร์เทวราช เธอพึงยึดถือและรักษาด้วยดี อย่า ให้ลืมเลือนสูญหาย ท้าวสักกรินทร์เทวราช หากมีบุคคลได้สดับ ธารณีนี้ อกุศลกรรมวิบากอันหนักหน่วงที่ได้สะสมมานับพันกัปป์ ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในนรกภูมิ เปรตภูมิ ดิรัจฉานภูมิ อสูรกาย ยักษ์ รากษส ผี ปีศาจ ปูตนา กฏปูตนา อปสมาร ยุง ริ้น เต่า สุนัข งูเหลือม นกทุกพันธุ์ สัตว์ร้าย สัตว์เลื้อยคลาน และมดเป็นที่สุด เปลี่ยนให้มิต้องได้รับ และได้ไปบังเกิดใน สถานที่สมาคมแห่งพระพุทธตถาคตและเอกชาติประติพัทธ์ โพธิสัตว์ หรือบังเกิดในตระกูลพราหม หรือบังเกิดในตระกูล กษัตริย์ หรือบังเกิดในตระกูลร่ำรวยและทรงอำนาจ ท้าวสัก กรินทร์เทวราช กายบุคคลนั้นได้ไปบังเกิดในสถานที่อันสูงส่ง เยี่ยงนั้น ก็ด้วยการได้สดับธารณีนี้ สถานที่ที่ได้ไปบังเกิดล้วน สะอาดบริสุทธิ์ ท้าวสักกรินทร์เทวราช แม้การได้บรรลุสู่ปรมัตถ โพธิมณฑลสถาน ก็ด้วยจากการสรรเสริญธารณีกุศลนี้”

    如是天帝。此陀羅 尼名為吉祥。能淨一切惡道。此佛頂 尊勝陀羅尼。猶如日藏摩尼之寶。淨無瑕穢。淨等虛空。 光焰照徹。無不周遍。若諸眾生,持此陀羅尼。亦復如 是。亦如閻浮檀金。明淨柔軟。令人喜見。不為穢惡之所 染著。天帝。若有眾生。持此陀羅尼。亦復如是。乘斯善 淨。得生善道。天帝。此陀羅尼所在之處。若能書寫流 通。受持讀誦。聽聞供養。能如是者。一切惡道。皆 得 清淨。一切地獄苦惱。悉皆消滅。
    “ดังนี้ท้าวสักกรินทร์เทวราช ธารณีนี้ได้นามว่าศุภมงคล สามารถยังทุคติภูมิให้บริสุทธิ์ อุษฺณีษาวิชยธารณีนี้ดุจดังสุริย ครรภ์มณี บริสุทธิ์ไร้ตำหนิ กระจ่างดุจอากาศ ส่องประกายสุกใส ไปทั่วทิศ หากสรรพสัตว์ยึดถือธารณีนี้ สัตว์นั้นย่อมดุจดังเช่น นั้น ธารณีนี้ดุจดังชมพูนทสุวรรณ สว่าง บริสุทธิ์ อ่อนโยน ยัง บุคคลให้ยินดีทัศนา สิ่งสกปรกมิอาจทำให้มีมลทินได้ ท้าวสัก กรินทร์เทวราช หากสรรพสัตว์ยึดถือธารณีนี้ สัตว์นั้นย่อมดุจดัง เช่นนั้น ด้วยกุศลอันบริสุทธิ์นี้ สัตว์นั้นย่อมบังเกิดในสุคติภูมิ ท้าวสักกรินทร์เทวราช สถานที่ใดที่มีธารณีนี้อยู่ หากสามารถ ลิขิต เผยแผ่ น้อมรับ สังวัธยาย สดับตรับฟัง และสักการะบูชา หากกระทำได้เช่นนี้ ทุคติภูมิทั้งปวงย่อมบริสุทธิ์ ความทุกข์ใน นรกภูมิทั้งปวงย่อมมลายสูญ”

    佛告天帝。若人能書寫此陀羅尼。安高幢上。或安高山。 或安樓上。乃至安置窣堵波中。天帝。若有苾芻苾芻尼優 婆塞優婆夷族姓男族姓女於幢等上。或見或與相近。其影 映身。或風吹陀 羅尼山幢等上塵落在身上。天帝。彼諸 眾生。所有罪業。應墮惡道地獄畜生。閻羅王界。餓鬼 界。阿修羅身惡道之苦。皆悉 不受,亦不為罪垢染汙。 天帝。此等眾生皆為一切諸佛之所授記。皆得不退轉。於 阿耨多羅三藐三菩 提。
    พระพุทธเจ้าตรัสแก่ท้าวสักกรินทร์เทวราชว่า “หากบุคคล สามารถลิขิตธารณีนี้บนธวัชอันสูง หรือบนเขาสูง หรืออาคาร สูง หรือที่สุดบรรจุในสถูป ท้าวสักกรินทร์เทวราช หากมีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา กุลบุตร กุลธิดา ได้ทัศนา ได้อยู่ใกล้ ได้ถูกเงาทาบบนกาย หรือลมที่พัดพาละลองธารณีที่อยู่บนธวัช และเขาสูงนั้นเป็นต้น ตกลงสู่ร่างกาย ท้าวสักกรินทร์เทวราช อกุศลกรรมทั้งปวงของสรรพสัตว์นั้นอันจักทำให้ต้องตกไปสู่ ทุคติภูมิได้แก่สัตว์นรก ยมโลก เปรตภูมิ อสูรกาย ย่อมมิต้องได้ รับ และมิต้องมลทินจากบาปอันสกปรกนั้น ท้าวสักกรินทร์เท วราช สรรพสัตว์เหล่านี้ย่อมได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ทั้งปวงว่าเป็นผู้ไม่ถอยจากอนุตตรสัมมาสัมโพธิ”

    天帝。何況更以多諸供具。華鬘 塗香末香幢旛寶蓋等。 衣服 瓔珞作諸莊嚴。於四衢道造窣堵波。安置陀羅尼。 合掌恭敬。旋繞行道。歸依禮拜。天帝。彼人能如是供養 者。名摩訶薩埵。真是佛子。持法棟梁。又是如來全身舍 利窣堵波塔。
    “ท้าวสักกรินทร์เทวราช หากบุคคลบูชาด้วยเครื่องสักการะอัน มาก ดังเช่น กุสุมมาลา สุคนธชาติ ธูป ปฏากธวัช รัตนฉัตรเป็น ต้น อลังการด้วย สาฎก เกยูร สร้างสถูปในจตุรสาธารณมรรคา บรรจุธารณี ประนมหัตถ์สักการะ ประทักษิณ วันทนา ขอสรณะ ท้าวสักกรินทร์เทวราช บุคคลผู้สามารถบูชาได้เยี่ยงนี้ย่อมได้ชื่อ ว่ามหาสัตว์ เป็นพุทธบุตรอันแท้จริง เป็นผู้ถือธรรมเป็นหลัก และสถูปนั้นย่อมเป็นสถูปบรรจุพระสารีริกกธาตุทั่วทั้งพระวรกาย แห่งตถาคต”

    爾時閻羅法王。於時夜分。來詣佛所。到已。以種 種天 衣妙華。塗香莊嚴供養佛已。繞佛七匝。頂禮佛足而作是 言。我聞如來演說。讚持大力陀羅尼者。故來修學。若有 受持讀誦是陀羅尼者。我常隨逐守護。不令持者墮於地 獄。以彼隨順如來言 教而護念之。
    สมัยนั้นพระยายมราช ในยามนิสีทกาล ได้เสด็จมายังที่ประทับ แห่งพระพุทธเจ้า เมื่อถึงแล้ว ได้ถวายเครื่องสักการะแด่พระ พุทธเจ้า อันอลังการด้วยทิพยสาฎก บุษบาอันประณีต สุคนธ ชาติ และธูป ประทักษิณรอบพระพุทธเจ้า ๗ รอบ อภิวาท ณ เบื้องพระพุทธบาท แล้วทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้า ได้สดับพระตถาคตดำรัสสรรเสริญการยึดถือ มหาพลธารณีนี้ จึงได้มาศึกษาปฏิบัติ หากมีผู้ได้รับ ยึดถือ สังวัธยาย ซึ่งธารณีนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจักตามปกปักรักษา มิให้ผู้ นั้นตกสู่นรกภูมิ ด้วยผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติตามพระอนุสาสนีแห่งพระ ตถาคต”

    爾時護世四天大王。繞佛三匝白 佛言。世尊。唯願如來 為我廣說持陀羅尼法。爾時佛告四天王。汝今諦聽。我當 為汝宣說受此陀羅尼法。亦為短命諸眾生說。當兒洗浴。 著新淨衣。白月圓滿十五日時。持齋誦此陀羅尼。滿其千 遍。令短命眾生。還得增壽。永離病苦。一切業障。悉皆 消滅。一切地獄諸苦。亦得解脫。諸飛鳥畜生含靈之類。 聞此陀羅尼。一經於耳。盡此一身。更不復受。
    ในกาลนั้นท้าวจตุโลกบาลมหาราช ประทักษิณ ๓ รอบ แล้วทูล ต่อพระพุทธเจ้าว่า “พระโลกนาถเจ้า ขอพระตถาคตเจ้าโปรดตรัสอธิบายวิธีการยึด ถือธารณีนี้ด้วยเถิด” ในกาลนั้นพระพุทธเจ้าตรัสแก่ท้าวจตุโลกบาลมหาราชว่า “เธอ จงตั้งใจสดับ เราจักแสดงแก่เธอถึงวิธีรับธารณีนี้ สำหรับสรรพ สัตว์ผู้มีอายุสั้น ในวันปริปูรณศุกลปักษ์ขึ้น ๑๕ ค่ำ พึงอาบน้ำ สวมเสื้อผ้าอันใหม่สะอาด ถืออุโบสถศีล สังวัธยายธารณี ให้ ครบ ๑,๐๐๐ จบ ย่อมยังให้สรรพสัตว์ผู้อายุสั้น ให้กลับมีอายุ วัฒนา ห่างไกลจากพยาธิทุกข์ สรรพกรรมาวรณ์ล้วนมลายสูญ หลุดพ้นจากทุกข์ในนรกทั้งปวง เหล่านกและสัตว์ดิรัจฉานได้ สดับธารณีนี้ครั้งหนึ่งด้วยหู เมื่อสิ้นกายนี้ มิต้องกลับมาเป็นสัตว์ ดิรัจฉานอีก”

    佛言。若人遇大惡病。聞此陀羅尼。即得永離一切諸病。 亦得消滅。應墮惡道。亦得除斷。即得往生寂靜世界。從 此身已。後更不受胞胎之身。所生之處。蓮華化生。一切 生處。憶持不忘。常識宿命。
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสสืบไปว่า “หากบุคคลเป็นโรคร้ายแรงได้ สดับธารณีนี้ย่อมห่างไกลจากพยาธิทั้งปวง โรคร้ายมลายสูญ หากต้องตกไปในทุคติภูมิย่อมถูกขวางมิให้ต้องตกไปในทุคติ ภูมิ และไปบังเกิดในโลกธาตุอันศานติ เมื่อพ้นจากกายนี้มิ ต้องกลับมาเกิดในครรภ์ ไปบังเกิด ณ สถานที่ใด ล้วนบังเกิด จากปทุมชาติ ทุกที่ที่ไปบังเกิด ยึดถือธารณีมิลืมเลือน และรู้ อดีตชาติ”

    佛言。若人先造一切極重罪業。遂即命終。乘斯惡業。應 墮地獄。 或墮畜生閻羅王界。或墮餓鬼。乃至墮大阿鼻 地獄。或生 水中。或生禽獸異類之身。取其亡者隨身分 骨。以土一把。誦此陀尼二十一遍。散亡者骨上。即得 生天。
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสสืบไปว่า “หากบุคคลได้เคยประกอบ อกุศลกรรมอันหนักยิ่งทุกประการ เมื่อถึงกาลกริยา อาศัย อกุศลกรรมนั้นยังให้ตกไปในนรกภูมิ หรือไปบังเกิดเป็นสัตว์นรก ในยมโลก หรือบังเกิดเป็นเปรต ตลอดจนอเวจีมหานรกเป็นที่ สุด หรือบังเกิดเป็นชลสมภพสัตว์ หรือบังเกิดในกายแห่งสกุน ชาติและดิรัจฉาน พึงนำอัฏฐิส่วนหนึ่งของผู้วายชนม์ และนำ ดิน ๑ กำมือ สังวัธยายธารณี ๒๑ จบ แล้วโปรยบนอัฏฐินั้น ผู้ วายชนม์ย่อมไปบังเกิดในเทวโลก”

    佛言。若人能日日誦此陀羅尼二十一遍。應消一切世間廣 供養。捨身 往生極樂世界。若常誦念。得大涅槃。復增 壽命。受勝快樂。捨此身已。即得往生種種微妙諸佛剎 土。常與諸佛俱會一處。一切如來恆為演說微妙之義。 一 切世尊即授其記。身光照曜。一切佛剎。
    พระพุทธเจ้าตรัสสืบไปว่า “หากบุคคลสามารถสังวัธยายธารณีนี้ ทุกวัน วันละ ๒๑ จบ ย่อมจักได้รับการสักการะอย่างไพศาล เมื่อละกายนี้ย่อมไปบังเกิดในสุขาวดีโลกธาตุ หากภาวนาตลอด เวลาย่อมบรรลุมหานิรวาณ ยังอายุให้วัฒนา ได้รับปรมัตถสุข เมื่อละกายนี้ ย่อมไปบังเกิดในพุทธเกษตรอันมัญชุประณีต ได้ อาศัยอยู่ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง ได้สดับตรับฟังพระ ธรรมอันประณีตสุขุมจากปวงพระตถาคตเจ้า พระโลกนาถเจ้า ทั้งหลายย่อมให้พุทธพยากรณ์ และรัศมีกายฉายส่องไปทั่วพุทธ เกษตรทั้งปวง”

    佛言。若誦此陀羅尼法。於其佛前。先取淨土作壇。隨其 大小方四角作。以種種草華散於壇上。燒眾名香。右膝著 地胡跪。心常念佛。作慕陀羅尼印。屈其指頭。以大母指 壓。合掌當其心上。誦此陀羅尼一百八遍訖。於其壇中。 如雲王雨華。能遍供養八十八俱胝殑伽沙那庾多百千諸 佛。彼佛世尊咸共讚言。善哉希有。真是佛子。即得無障 智三昧。得大菩提心莊嚴昧。持此陀羅尼法。應如是。
    พระพุทธเจ้าตรัสสืบไปว่า “หากจักสังวัธยายธารณีนี้ พึงอยู่ เบื้องพระพักตร์พระพุทธรูป นำดินอันบริสุทธิ์กระทำมณฑล รูปสี่ เหลี่ยม ใหญ่ เล็กตามปรารถนา นำหญ้า และบุปผาชาตินานา พันธุ์โปรยบนมณฑล เผาธูปหอม นั่งคุกเข่าเบื้องขวา ระลึกถึง พระพุทธเจ้า กระทำธารณีมุทรา งอปลายนิ้วชี้กดลงบนนิ้วโป้ง แล้วประนมหัตถ์อยู่ที่ระดับหัวใจ (ดังรูป) สังวัธยายธารณีนี้ ๑๐๘ จบ ณ กลางมณฑลนั้น ปุษยวรรษย่อมโปรยปรายลงมา จากอายาสิตาวลาหก เพื่อสักการบูชาปวงพระพุทธเจ้าอันมี จำนวนดุจเม็ดทรายใน ๘๘ โกฏิทสลักขนยุตคงคานที พระ พุทธเจ้าเหล่านั้นจักสรรเสริญว่า ‘สาธุ อัศจรรย์หนอ ผู้นี้คือพุทธ บุตรที่แท้จริง’ และย่อมจักบรรลุนิราวรณชญานสมาธิ บรรลุมหา โพธิจิตตาลังการสมาธิ วิธีการถือธารณีนี้ ย่อมเป็นดังนี้”

    佛言天帝。我以此方便。一切眾生應墮地獄道。令得解 脫。一切惡道。亦得清淨。復令持者。增益壽命。 
    พระพุทธเจ้าตรัสแก่ท้าวสักกรินทร์เทวราชว่า “เราอาศัยอุปายโกศลนี้ จึงยังให้สรรพสัตว์ที่จักต้องตกไปใน นรกภูมิได้หลุดพ้น ทุคติภูมิทั้งปวงได้เข้าถึงความบริสุทธิ์ และ ให้ผู้ถือธารณีนี้ มีอายุวัฒนา”

    天帝。汝去將我此陀羅尼。授與善天子。滿其七日。汝與 善住俱來見我。爾時天帝於世尊所。受此陀尼法。奉持還 本天。授與善天子。
    “ท้าวสักกรินทร์เทวราช เธอพึงนำธารณีนี้แห่งเรา ไปมอบให้แก่ สุสถิตเทวบุตร ครบ ๗ ทิวาวาร เธอและสุสถิตเทวบุตรพึงมาพบ เรา” ในกาลนั้นท้าวสักกรินทร์เทวราชอยู่ ณ สำนักพระโลกนาถเจ้า รับธารณีธรรมนี้ นำกลับไปยังเทวโลก และมอบแก่สุสถิต เทวบุตร

    爾時善住天子。受此陀羅尼已。滿六日六夜。依法受持。 一切願滿。應受一切惡道等苦。即得解脫。住菩提道。增 壽無量。甚大歡喜。高聲歎言。希有如來。希有妙法。希 有明驗。甚為難得。令我解脫。
    เมื่อสุสถิตเทวบุตร ได้รับธารณีนี้แล้ว อาศัยธรรมนี้ปฏิบัติครบ ๖ ทิวาราตรี เพื่อยังความปรารถนาทั้งปวงให้บริบูรณ์ หลุดพ้น จากกรรมอันทำให้จักต้องรับทุกข์ในทุคติภูมิทั้งปวง สถิตอยู่ใน โพธิมรรค อายุวัฒนายืนยาว มีปีติอันยิ่ง ป่าวร้องด้วยเสียงอัน ดังว่า “พระตถาคตเจ้าอัศจรรย์หนอ พระธรรมอันประณีต อัศจรรย์หนอ อันพิสูจน์ได้อัศจรรย์ยิ่งนัก อันยากที่จะได้รับยิ่ง ได้นำเราให้หลุดพ้น”

    爾時帝釋至第七日。與善住天子。將諸天眾。嚴持華鬘塗 香末香寶幢幡蓋天衣瓔珞。微妙莊嚴。往詣佛所。設大供 養。以妙天衣。及諸瓔珞供養世尊。繞百千匝。於佛前 立。踊躍歡喜。坐而聽法。
    เมื่อครบ ๗ ทิวาวาร ท้าวสักกรินทร์เทวราชพร้อมด้วยสุสถิต เทวบุตร ได้นำเหล่าเทวา นำกุสุมมาลา สุคนธชาติ ธูป ปฎาก ธวัช รัตนฉัตร ทิพยสาฎก เกยูร อันมัญชุประณีตอลังการ ไปยัง สำนักแห่งพระพุทธเจ้า กระทำมหาสักการะ ด้วยเครื่องสักการะ เหล่านั้นถวายแด่พระโลกนาถเจ้า ประทักษิณร้อย พัน รอบ แล้ว หยุดอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์แห่งพระพุทธเจ้า มีปีติอันมิอาจกลั้น ได้ นั่งลงเพื่อสดับพระธรรม

    爾時世尊舒金色臂。摩善住天子頂。而為說法。受菩提 記。佛言。此經名淨除一切惡道。佛頂尊勝陀羅尼。汝當 受持。爾時大眾聞法歡喜。信受奉行。
    ในกาลนั้นพระโลกนาถเจ้าจึงทรงยื่นสุวรรณพาหาและลูบที่เศียร แห่งสุสถิตเทวบุตร ทรงแสดงพระธรรมเทศนา และพยากรณ์ โพธิแก่สุสถิตเทวบุตร พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “ธารณีนี้นามว่า ‘สรฺวทุรฺคติปริโศธนอุษฺณีษวิชยธารณี’ เธอพึง รับและถือ” ในสมัยนั้นมหาชนได้สดับธรรมด้วยความปิติยินดี ศรัทธา น้อม รับ นำไปปฏิบัติ สรฺวะทุรฺคะติปะริโศธะนะอุษฺณีษะวิชะยะธารณี นะโม ภะคะวะเต ไตรโลกยะ ปะรติวิศิษฏายะ พุทธายะ ภะคะวะ เต ตัทยะถา โอม วิศุทธะยะ วิศุทธะยะ อะสะมะ สะมะ สะมันตะ วะภาสะ สผะระณะ คะติ คะหะนะ สวะภาวะ วิศุทเธ อภิษิญจะตุ มามัม สุคะตะ วะระ วะจะนะ อะมฤตะ อะภิเษไก มะหา มันตระ ปะไท อาหะระ อาหะระ อายุ: สัม ธาระณิ โศธะยะ โศธะยะ คะ คะนะ วิศุทเธ อุษณีษะ วิชะยะ วิศุทเธ สะหัสระ รัศฺมิ สัม โจทิ เต สะรวะ ตะถาคะตะ อะวะโลกะนิ ษัฏ ปาระมิตา ปะริปูระณิ สะ รวะ ตะถาคะตะ มะติ ทะศะ ภูมิ ปะระติ ษะฐิเต สะรวะ ตะถาคะ ตะ หะฤทะยะ อะธิษฐานา ธิษะฐิตะ มะหา มุทเร วัชระ กายะ สัม หะตะนะ วิศุทเธ สะรวาวะระณะ อะปายะ ทุรฺคะติ ปะริ วิศุท เธ ประติ นิวะรฺตะยะ อายุ: ศุทเธ สะมะยะ อะธิษฐิเต มะณิ มะ ณิ มะหา มะณิ ตะถะตา ภูตะ โกฏิ ปะริศุทเธ วิสผุฏะ พุทธิ ศุท เธ ชะยะ ชะยะ วิชะยะ วิชะยะ สมะระ สมะระ สะรวะ พุทธะ อธิ ษฐิตะ ศุทเธ วัชริ วัชระ คะระเภ วัชรัม ภาวะตุ มะมะ ศะรีรัม สะ รวะ สัตตฺวานาม จะ กายะ ปะริ วิศุทเธ สะรวะ คะติ ปะริศุทเธ สะ รวะ ตะถาคะตะ สิญญะจะ เม สะมาศ วาสะ ยันตุ สะรวะ ตะถา คะตะ สะมาศวาสะ อะธิษฐิเต พุทธฺยะ พุทธฺยะ วิพุทธฺยะ วิพุทธฺ ยะ โพธะยะ โพธะยะ วิโพธะยะ วิโพธะยะ สะมันตะ ปะริศุทเธ สะรวะ ตะถาคะตะ หะฤทะยะ อะธิษ ฐานา ธิษฐิตะ มะหา มุทเร สวาหา หฤทัยธารณี โอม อะมฤตะ-เตชะวะติ สวาหา

    嗡。 阿彌里打。得嘎。乏底。梭哈。 (โอม อามิลิตา เตอกา ฟาตี ซอฮอ)

    ขอบคุณแหล่งข้อมูล>>>
    Uṣṇīṣa Vijaya Dhāraṇī Sūtra - Wikipedia, the free encyclopedia
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=ukVxfi0ywcE"]大佛頂尊勝陀羅尼 Usnisa Vijaya Dharani Test(3) - YouTube[/ame]


    HTML:
    
    
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...