เรื่องเด่น ความสุขความทุกข์ทางพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย MonYP, 11 สิงหาคม 2017.

  1. MonYP

    MonYP เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    32
    ค่าพลัง:
    +681
    %E0%B8%A0%E0%B8%9B-%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2.jpg

    ความสุขความทุกข์ทางพระพุทธศาสนา

    คนทุกคนย่อมต้องการความสุข ฆราวาสก็ต้องการอย่างหนึ่ง บรรพชิตก็ต้องการอย่างหนึ่ง ความสุขที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มีดังนี้คือ

    ความสุขของฆราวาส มีดังนี้
    ๑. สุขเกิดจากการมีทรัพย์
    ๒. สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
    ๓. สุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
    ๔. สุขเกิดจากการทำงานสุจริต

    ความจนเป็นทุกข์ ความเป็นหนี้ก็เป็นทุกข์
    พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ความจนเป็นทุกข์ในโลก ความเป็นหนี้ การเสียดอกเบี้ย การถูกทวง เป็นทุกข์ในโลก และพระองค์ได้ทรงแสดงเหตุแห่งการตั้งตัวได้ มีทรัพย์สมบัติ มีฐานะมั่นคง ไม่ยากจน มีความรู้ดี และมีความสุขในปัจจุบัน

    ธรรมที่ให้ได้ประโยชน์สุขในปัจจุบัน และทำให้พ้นความจน(หัวใจเศรษฐี) มีดังนี้
    ๑. สมบูรณ์ด้วยความขยัน เช่น ขยันหาความรู้ ขยันหาทรัพย์ ขยันในการทำการงาน

    ๒. สมบูรณ์ด้วยการระวังรักษา เช่น รักษาสมบัติที่มีอยู่มิให้เสียหาย รักษาการงานมิให้เสียหาย รักษาความรู้เก่า และหาความรู้ใหม่เพิ่มเติม
    ๓. คบคนดีเป็นเพื่อน ไม่คบคนชั่ว

    ๔. เลี้ยงชีพโดยควรแก่รายได้ คือ ไม่เกินรายได้ อย่าให้ต้องมีหนี้

    เมื่อทำได้ครบเช่นนี้แล้วก็ย่อมที่จะสามารถตั้งตัวได้ มีทรัพย์สมบัติ มีฐานะมั่นคง และมีความสุขในโลกนี้ ไม่ต้องทุกข์เพราะความยากจน เป็นลูกหนี้เขา เรื่องนี้เป็นวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วย และบางท่านเรียกว่า หัวใจเศรษฐี

    เมื่อมีทรัพย์สมบัติแล้วก็ต้องใช้ทรัพย์ พระพุทธองค์ทรงแสดงวิธีใช้ทรัพย์ไว้ด้วยดังนี้

    วิธีใช้ทรัพย์ ๕ ประการคือ
    ๑. ใช้เลี้ยงตัวและบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อแม่ ลูกเมีย ให้เป็นสุข

    ๒. ใช้เลี้ยงเพื่อนและผู้เกี่ยวข้องให้เป็นสุข

    ๓. ใช้ขจัดอันตราย เช่น ความเจ็บไข้ของตนและผู้อื่น เป็นต้น

    ๔. ใช้ทำพลี คือสงเคราะห์ญาติและพวกพ้อง ต้อนรับแขก ทำบุญอุทิศให้คนตาย ให้เป็นของหลวง เช่น การเสียภาษี เป็นต้น ใช้ช่วยบ้านเมือง

    ๕. ใช้บำรุงสมณะผู้ประพฤติดี และในทางที่ควรอื่นๆ เช่น เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นต้น

    ที่มา 1ใน84000
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 ตุลาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...