ความสัมพันธ์ระหว่างสมถะและวิปัสสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย wangwang, 1 กรกฎาคม 2009.

  1. wangwang

    wangwang เมตตาคุณณัง อะระหังเมตตา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    406
    ค่าพลัง:
    +629
    สมถะและวิปัสสนาจะเกิดผลที่แตกต่างกัน ผลของสมถะ คือ สมาธิ เป็นความสงบใจ ส่วนผลของวิปัสสนา คือ ปัญญา ได้แก่ ความรู้เห็นตามความเป็นจริงจนใจยอมปล่อยวางการหลงยึดถือมั่น เมื่อไม่ยึดก็ไม่ทุกข์ จะมีวิธีการฝึกที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ดีการฝึกจิตทั้ง 2 ประเภทนี้ต่างก็เกื้อกูลซึ่งกันและกัน คือ
    ถ้าใจสงบก็จะเห็นตามความเป็นจริงของกายและจิตได้ชัดเจน จนปล่อยวางการหลงยึดถือได้มากขึ้นเรื่อยๆ เปรียบเหมือนกับว่า ถ้าเราวิ่งไปด้วยและดูสิ่งใดไปด้วยจะเห็นสิ่งนั้นไม่ชัดเจน แต่ถ้าหยุดดูสิ่งใดอยู่กับที่ ก็จะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
    ในทางตรงกันข้าม เมื่อเห็นตามความเป็นจริงของกายและจิตใจ จนปล่อยวางไปเรื่อยๆ หรือรู้เท่าทันจิตส่งออกนอกไปยึดถือเกาะเกี่ยวพัวพันสิ่งใด ได้ชัดเจนในทุกขณะปัจจุบัน ใจก็จะเป็นอิสระจากทุกสิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใจปล่อยวางหรือเป็นอิสระ ใจก็จะมีความสงบมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อใจยิ่งมีความสงบมากยิ่งขึ้นเท่าใดก็จะยิ่งพิจารนาให้เห็นตามความเป็นจริง หรือรู้เท่าทันจิตในขณะที่ส่งออกนอกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก็จะมีผลทำให้ใจมีความสงบมากยิ่งขึ้นไปด้วย ซึ่งจะเกื้อกูลกันอย่างนี้ตลอดไป ดังนั้นสมถะและวิปัสสนาจึงไม่อาจแยกกันได้โดยเด็ด
    ขาด
    บางส่วนจากหนังสือ ปฏิบัติธรรม เล่ม 1 พิมพ์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
    80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
    โดยชมรมผู้ปฏิบัติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม
     
  2. wangwang

    wangwang เมตตาคุณณัง อะระหังเมตตา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    406
    ค่าพลัง:
    +629
    พระอรหันต์ทุกประเภท บรรลุทั้งเจโตวิมุติ ทั้งปัญญาวิมุติ ย่อมบำเพ็ญไตรสิกขาบริบูรณ์
    บางส่วนจาก มุตโตทัย แนวทางปฏิบัติให้หลุดพ้น ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
    (17) หน้า 38
    อนาสวํ เจโตวิมุตฺติ ปญฺญาวิมุตฺติ ทิฏฺเฐวธมฺเม สุขํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา อุปฺปสมฺปชฺช วิหรติ
    พระบาลีนี้แสดงว่า พระอรหันต์ทั้งหลายไม่ว่าประเภทใด ย่อมบรรลุทั้งเจโตวิมุติ ทั้งปัญญาวิ
    มุติ ที่ปราศจากอาสวะในปัจจุบันนี้ หาได้แบ่งแยกไว้ว่า ประเภทนั้นบรรลุแต่เจโตวิมุติ หรือ
    ปัญญาวิมุติไม่ ที่เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่า เจโตวิมุติเป็นของพระอรหันต์ผู้ได้สมาธิมา
    ก่อน ส่วนปัญญาวิมุติเป็นของพระอรหันต์สุขวิปัสสกะ ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ ไม่ได้สมาธิมา
    ก่อนนั้น ย่อมขัดแย้งต่อมรรค มรรคประกอบด้วยองค์ 8 มีทั้งสัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ ผู้จะบรรลุวิมุติธรรมจำต้องบำเพ็ญมรรค 8 บริบูรณ์ มิฉะนั้นก็บรรลุวิมุติธรรมไม่ได้ ไตรสิกขามี
    ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา อันผู้ได้อาสวักขยญาณ จำต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้จบบริบูรณ์ทั้ง3ส่วน
    ฉะนั้นจึงว่า พระอรหันต์ทุกประเภทต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุติ ทั้งปัญญาวิมุติ ย่อมบำเพ็ญไตรสิกขาบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แลฯ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    ... สมถะหรือวิปัสสนาก่อน ...

    ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

    พระอานนท์ตอบ ว่า “....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

    ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
    ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
    ตอ. G.S. II : ๑๖๒

     
  4. wangwang

    wangwang เมตตาคุณณัง อะระหังเมตตา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    406
    ค่าพลัง:
    +629
    ความแตกต่างระหว่างสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    จาก หนทางพ้นทุกข์ โดย ดร.พระมหาปรีชา ธมฺมญาโณ (มหาภิงสนากร) วัดใหม่อมตรส
    1 ความแตกต่างกันโดยอารมณ์
    กล่าวคือ สมถกัมมัฏฐาน ใช้สมมุติบัญญัติเป็นอารมณ์ กรรมฐานประเภทนี้แม้ท่านจะวางอารมณ์ไว้ให้เลือกปฏิบัติถึง 40 ชนิดก็จริง แต่อารมณ์เหล่านั้นล้วนเป็นเรื่องสมมุติบัญญัติขึ้นทั้งสิ้น
    ส่วน วิปัสสนากัมมัฏฐาน ใช้ปรมัตถบัญญัติ คือสิ่งที่มีอยู่และเป็นอยู่โดยปรกติตามธรรม
    ชาติ เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติ เช่น กาย กับ ใจ ซึ่งเราท่านต่างก็รู้จักกันทุกคน ต่างแต่ว่าใน
    ทางปฏิบัตินั้น กาย ท่านบัญญัติเป็น รูป คือสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ด้วยตนเองไม่ได้ เคลื่อนไหวด้วยตนเองก็ไม่ได้ จำต้องอาศัยสิ่งอื่นทำให้เคลื่อนไหว ล้วนจัดเป็นรูปธรรมทั้งสิ้น ส่วน ใจ ท่านบัญญัติเรียกว่าเป็น นาม คือสภาวธรรมที่สามารถรับรู้อารมณ์ด้วยตัวของมันเองได้ สั่งให้รูปธรรมเคลื่อนไหวก็ได้ ดังนั้นในการเจริญวิปัสสนา ท่านจึงสอนให้ใช้ นามกำหนดรูป หรือ นามกำหนดนามด้วยกัน
    2 แตกต่างกันโดยอภินิหาร
    กล่าวคือ ท่านผู้เจริญสมถกรรมฐานใช้สมมุติบัญญัติ 40 ประการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น
    เพ่งพินิจเป็นอารมณ์ จนกระทั่งจิตเป็นสมถะสงบระงับจากกิเลสชั้นกลาง คือนิวรณ์ธรรมทั้ง5
    ตั้งมั่นเป็นสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิ แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียว เกาะเกี่ยวกันเป็นองค์ฌาน
    ในบรรดาฌานทั้ง 5 ฌานใดฌานหนึ่ง หากพึงประสงค์จะพ้นทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน น้อมสติ
    ระลึกหน่วงเหนี่ยวเอาองค์แห่งฌานนั้นๆซึ่งปรากฏเด่นชัด ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ พิจารณาให้เห็นประจักษ์ว่า สิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง ทั้งเป็นทุกข์และปราศจากความเป็นตัวตน จิตหลุด
    พ้นจากอาสวะทั้งหลายทั้งปวงชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว กิจที่ต้องทำก็ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกต่อไป เป็นพระอรหันต์สาวกโดยสมบูรณ์ ด้วยเหตุที่
    ท่านเจริญสมถกรรมฐานได้องค์ฌานมาเป็นบาทรองพื้นฐาน บางองค์จึงมีความแตกฉานใน
    ปฏิสัมภิทา 4 บางองค์ก็แตกฉานในอภิญญา 6 คือ ท่านมีความรู้ยิ่งยวด มีความรู้ยิ่งใหญ่ เหนือมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย (รายละเอียดปลีกย่อยหาอ่านได้ในเวปนี้)
    บรรดาท่านที่เจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานมาก่อนนั้น หาได้มีอภินิหารเหมือนกันทุกองค์ไม่ มีบางท่านเท่านั้นที่แตกฉานในปฏิสัมภิทา บางท่านก็ได้อภิญญาแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน บางท่านก็สำเร็จเป็นเพียงฌานเฉยๆ ไม่มีอภินิหารอะไรเลย ทั้งนี้เป็นเพราะบุญญาธิการ หรือเป็นวาสนาบารมีของแต่ละท่าน ที่ได้บำเพ็ญมาแตกต่างกัน ครั้นได้สติระลึกน้อมนึกเอาองค์ฌานที่ตนได้ และเป็นองค์ฌานที่ปรากฏชัด ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์
    พิจารณาเห็นประจักษ์ ถึงความเกิดขึ้นและเสื่อมไปแห่งนามรูป จนเกิดวิปัสสนาญาณ ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาน เป็นพระอรหันต์สาวก เรียกนามตามพระไตรปิฎกว่า "พระอรหันต์
    สาวกฝ่ายเจโตวิมุติ"
    ส่วนท่านที่ปฏิบัติธรรมเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นหนทางสายตรงจนบังเกิด
    วิปัสสนาญาณ ละกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาน พ้นจากกองทุกข์ เพราะสิ้นชาติ ปราศจากชรา
    พยาธิ และมรณะกันดาร ไม่เกิดมีอภินิหาร ถวายนามตามวิบากขันธ์ว่า "พระอรหันต์สุกขวิ
    ปัสสก" ตามทางสายตรง
    เสมอกันโดยอานิสงส์
    ทั้งพระอรหันต์ฝ่ายเจโตวิมุตติผู้หลุดพ้นจากกองทุกข์ด้วยอำนาจแห่งใจ โดยเคยอาศัย
    ดำเนินทางเส้นคู่ขนาน กล่าวคือ เริ่มบำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเกิดเป็นองค์ฌาน แล้วหันมาเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เกิดวิปัสสนาญาณ สิ้นกิเลสเป็นพระอรหันต์ก็ดี ทั้งพระอรหันต์ฝ่ายสุกขวิปัสสกยกจิตของตนให้พ้นจากกองทุกข์ สิ้นกิเลสเป็นพระอรหันต์ด้วยอำนาจแห่งปัญญาญาณ ถวายนามตามวิบากขันธ์ว่า "พระอรหันต์สาวกฝ่าย
    ปัญญาวิมุตติ" พระผู้มีจิตบริสุทธิ์ พ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงด้วยอำนาจแห่งปัญญาก็ดี หนทาง
    สองสายคู่ขนานกันนี้ ผลสุดท้ายก็มาบรรจบกันที่ ต่างก็มีความหลุดพ้นจากกองแห่งทุกข์เป็น
    อานิสงส์ ประชุมลงสู่จุดหมายอันเดียวกันกล่าวคือ "อมตมหานครนฤพาน" ฉะนี้แล ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...