ขันธ์5ตามดูการเกิดดับ ของจิตสังขาร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แค่พลัง, 17 กรกฎาคม 2020.

  1. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    จิตตสังขาร




    จิต ส่วนที่หมายถึงจิตตสังขาร มีความหมายถึง สิ่งปรุงแต่งอันเกิดแต่จิต ท่านได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้
    1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา
    2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม คือมโนสังขาร (การกระทำทางใจเช่นความคิด)
    ดังนั้น จิตตสังขารหรือจิตสังขาร จึงมีความหมายครอบคลุมถึงทั้งเวทนา,สัญญาและมโนสังขาร และมักเรียกกันย่อๆว่าจิตบ้าง ดังคำว่า เห็นจิต ดูจิต จิตเห็นจิต สติเห็นจิต ต่างล้วนหมายถึงการมีสติระลึกรู้เท่าทันจิตตสังขาร ที่ครอบคลุมทั้งเวทนา,สัญญา และมโนสังขารคือความคิดนึกที่ประกอบด้วยอาการของจิตเช่นโทสะ โมหะ ราคะ ฟุ้งซ่าน หดหู่ ฯลฯ.เหล่านี้นี่เอง บางครั้งบางท่านจึงมีความสับสนในการสื่อ ไปพยายามหาจิต ดูจิต ไปหมายมั่นเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่าเป็นจิตขึ้น หรือไปหมายถึงจิตที่หมายถึงวิญญาณว่ามีตัวตน(อัตตา) ทั้งๆที่จิตหรือวิญญาณไม่มีตัวตนเพราะความที่เป็นอนัตตา ที่เมื่อมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งคือเกิดการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในและภายนอก จิตหนึ่งจึงเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป เกิดดับ เกิดดับๆๆ...อยู่อย่างนี้ อยู่ตลอดเวลา ตามการกระทบหรือประจวบกันดังกล่าว เหมือนดังเงา ที่เมื่อมีเหตุคือวัตถุทึบแสง แสง พื้นที่รับแสง มาประจวบคือมาเป็นปัจจัยกัน ก็เกิดขึ้น และเมื่อเหตุปัจจัยใดแปรปรวนหรือดับไป ก็ย่อมแปรปรวนหรือดับหรือหายไป ตามเหล่าเหตุปัจจัยเหล่านั้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเรื่อง จิตคืออะไร?)

    สังขาร หมายถึงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น หรือสิ่งที่เกิดแต่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นมาทั้งหลายทั้งปวง จึงมีความหมายที่กว้างขวางครอบคลุมแทบทุกสรรพสิ่ง ยกเว้นแต่เพียงอสังขตธรรมอันเป็นเพียงสภาวะ กล่าวคือสภาวธรรมหรือสภาวะของธรรมชาติ ดังเช่น พระนิพพานหรือนิพพานธรรม ดังที่ได้กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วในบทพระไตรลักษณ์ หรืออนัตตา

    สังขารในขันธ์ ๕ ที่หมายถึง สังขารขันธ์ จึงมีความหมายว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากเหตุ อันคือขันธ์ต่างๆมาเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งกัน จึงยังให้เกิดผลอันคือสังขารขันธ์ที่หมายถึงการกระทำต่างๆ ดังนั้นจิตตสังขารจึงหมายถึง สิ่งปรุงแต่งทางจิตหรือใจ แล้วแสดงออกมาทางการกระทำต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ พวกใหญ่ๆ คือ การกระทำทางกาย(กายสังขาร) ๑. ทางวาจา(วจีสังขาร) ๑. และทางใจ(จิตสังขาร,จิตตสังขาร,มโนสังขาร) ๑. (อย่าไปสับสน กับที่มีผู้ใช้คำว่า สังขารในภาษาไทยหรือโลกิยะ ที่ใช้กันโดยทั่วไปหมายถึงสังขารกายหรือสังขารของกายคือร่างกายคือรูปหรือรูปขันธ์ก็มี เมื่อพิจารณาธรรมจึงมักสับสนเอนเอียงฝักใฝ่ไปคอยเข้าใจอยู่ในทีโดยไม่รู้ตัวว่า เป็นสังขารร่างกายแต่ฝ่ายเดียวตามความเห็นความเข้าใจอันคือทิฏฐิทางโลก จึงไม่สามารถเห็นธรรม)

    ในคราวนี้เราจะกล่าวกันถึงจิตสังขาร, จิตตสังขาร, มโนสังขาร ที่หมายถึงสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัยมาปรุงแต่งกัน กล่าวคือเกิดจากการผัสสะกันของเหตุปัจจัยต่างๆ อันคือขันธ์ต่างๆ จนเป็นผลหรือผลลัพธ์ออกมา คือเกิดผลเป็นการกระทำออกมาทางจิตหรือใจ ดังเช่น จิตคิด(จิตที่เกิดแต่มีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่งกันจนเกิดเป็นความคิดขึ้น) จิตนึก(จิตที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งจนเกิดความนึกจำ) หรือเป็นจิตสังขารที่ประกอบด้วยอาการของจิต(เจตสิก)ต่างๆ ดังเช่น การเห็นอาการของจิตในจิตตานุปัสสนา ดังเช่น

    จิตโมหะ จิตถูกปรุงแต่งจากการผัสสะของขันธ์ต่างๆจนมีผลเป็นความหลงไม่รู้ตามความเป็นจริง, ความคิดนึกที่ประกอบด้วยอาการของจิตคือโมหะ

    จิตโทสะ จิตถูกปรุงแต่งจากการผัสสะจนมีผลเป็นความโกรธ, ความคิดนึกที่ประกอบด้วยอาการของจิตคือโทสะ

    จิตโลภะ จิตถูกปรุงแต่งจากการผัสสะจนมีผลเป็นความโลภ, ความคิดความนึกที่ประกอบด้วยโลภะ

    จิตมีราคะ จิตถูกปรุงแต่งจากการผัสสะจนมีผลเป็นราคะ, ความคิดนึกที่ประกอบด้วยอาการของจิตคือราคะ

    จิตฟุ้งซ่าน จิตถูกปรุงแต่งจากการผัสสะจนมีผลเป็นจิตฟุ้งซ่าน อาการของจิตที่ปรุงแต่งคือคิดนึกไม่หยุดไม่หย่อน ไม่รู้ตัว

    จิตหดหู่ จิตถูกปรุงแต่งจากการผัสสะจนมีผลเป็นความหดหู่,เหี่ยวแห้งใจ, ความคิดนึกที่ประกอบด้วยอาการของจิตคือหดหู่

    จิตเป็นสมาธิ จิตถูกปรุงแต่งจากการกระทำจนมีผลเป็นสมาธิขึ้น, ความคิดนึกที่ประกอบด้วยอาการของจิตคือสมาธิ

    จิตเป็นฌาน จิตถูกปรุงแต่งจากการผัสสะด้วยเจตนากระทำจนมีผลเป็นฌาน(มหรคต)ขึ้น, คิดนึกที่ประกอบด้วยอาการของจิตที่เกิดแต่ฌาน

    จิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่า จิตที่ไปยึดไปกำหนดหรือจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

    จิตหลุดพ้น จิตไม่ปรุงแต่ง,จิตไม่ยึดมั่นถือมั่น

    ถ้าพิจารณาจากกระบวนธรรมที่เนื่องสัมพันธ์ในการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ ที่จำต้องทำงานประสานและเนื่องสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็กล่าวได้ว่า สังขารขันธ์ทางจิตหรือจิตสังขาร เป็นผลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทางจิต จากการดำเนินประสานกันของกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ จากการผัสสะนั่นเอง, ส่วนความคิดอันเป็นฝ่ายเหตุหรือทำหน้าที่เป็นรูปหรืออารมณ์หรือสิ่งที่ถูกรู้นั้น ก็คือธรรมารมณ์นั่นเอง ก็เป็นสังขารอย่างหนึ่งในไตรลักษณ์ แต่ไม่ใช่สังขารขันธ์อันเป็นผล, คิด,นึกทั้งสองนี้ จึงมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ดังแสดงรายละเอียดได้ดังนี้

    ธรรมารมณ์(คิด,นึกที่เป็นเหตุ) anicross01_red.gif ใจ anired02_next.gif มโนวิญญาณ anired02_next.gif ผัสสะ anired02_next.gif สัญญาจำ anired02_next.gif เวทนา anired02_next.gif สัญญาหมายรู้ anired02_next.gif สังขารขันธ์ทางใจ(จิตตสังขาร) ต่างๆนาๆ เช่น คิดที่เป็นผล

    จิตตานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔ จิตเห็นจิต จึงมีหมายถึง การปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อให้มีจิตแรกที่หมายถึงสติตามดู รู้เท่าทัน และพิจารณาให้เข้าใจ(ปัญญา)ในเหล่าจิตตัวหลังที่หมายถึงอาการของจิตหรือจิตสังขารนี้นั่นเอง หรือก็คือ สติเห็นจิตสังขาร นี้นี่เอง หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า สติเห็นจิตบ้าง จิตเห็นจิตบ้าง จึงมักไปเข้าใจกันผิดๆมีการพยายามไปเห็นแต่ธรรมารมณ์หรือจิตคิดอันเป็นฝ่ายเหตุ แต่อย่างเดียวก็มี ทั้งๆที่ยังไม่มีกำลังสติและปัญญาพอจะเข้าใจว่าธรรมารมณ์หรือสัญญาเป็นสภาวธรรมหนึ่งของชีวิตที่สามารถหรือต้องผุดขึ้นมาเองได้บ้างเป็นธรรมดา และจำเป็นยิ่งในการงานการดำรงชีวิตตราบที่ขันธ์ ๕ ยังไม่แตกดับตายไป นักปฏิบัติที่พยายามไปหยุดคิดหยุดนึกหรือกดข่มฝ่ายธรรมารมณ์โดยไม่รู้ไม่เข้าใจว่า ต้องหยุดแต่จิตสังขารฝ่ายปรุงแต่งที่เกิดต่อสืบเนื่องเท่านั้น ย่อมก่อให้เกิดความเฉื่อยชา ซึมเซา ซึมทื่อ ไม่รู้จักหน้าที่ที่ควรพึงกระทำ ฯ.ขึ้นในที่สุดต่อผู้ปฏิบัติผู้นั้น ดังนั้นจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ จึงไม่ใช่หมายถึงจิตเห็นธรรมารมณ์อันทำหน้าที่เป็นเหตุแต่ฝ่ายเดียว แต่เป็นการเห็น,การเข้าใจทั้งในจิตสังขารหรืออาการของจิต(เจตสิก)อันเป็นฝ่ายผลหรือผลลัพธ์เป็นสำคัญด้วย, บางทีก็มีการเข้าใจผิด ไปพยายามปฏิบัติทำจิตให้เห็นจิต อย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม กล่าวคือพยายามให้เห็นเป็นตัวตนของจิต ด้วยเข้าใจตีความผิด โดยอาศัยกำลังของสมถสมาธิปรุงแต่งปั้นแต่งบางสิ่งขึ้น หรือเรียกว่าปั้นจิต ดังเช่น ไปเข้าใจหรือปรุงแต่งในโอภาสอันเจิดจ้าน่าพิศวง หรือนิมิตในรูปบางประการว่าเป็นจิต กล่าวคือ พยายามปฏิบัติโดยไม่รู้ด้วยอวิชชาว่า เป็นไปในแนวทางเห็นจิตหรือปั้นจิตว่ามีอัตตาตัวตน จึงเป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง จึงควรทำความเข้าใจหรือทำการวิปัสสนาให้เกิดปัญญาอย่างถูกต้อง แล้วฝึกสติตามระลึกรู้เท่าทันในจิตที่หมายถึงจิตสังขารหรืออาการของจิตบางประการที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวไว้ในสติปัฏฐาน ๔ จึงจักถูกต้องดีงาม ดังเช่น จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะอันเป็นเจตสิกคืออาการของจิต(ข้อที่๒๑) แล้วยังต้องประกอบด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น กล่าวคือการอุเบกขาเสียนั่นเอง, จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ ฯ. จิตมีโลภะ ก็รู้ว่าจิตมีโลภะ ฯ. จิตบริกรรมพุทโธอย่างมีสติ ก็เป็นการจิตตานุปัสสนา กล่าวคือจิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่าคือมีพุทโธอันเป็นจิตสังขารอย่างหนึ่งจึงต้องมีเจตนา(สัญเจตนา)ขึ้นมา ก็รู้(คือมีสติ)ว่า จิตมีสิ่งอื่นคือพุทโธยิ่งกว่าสิ่งอื่นหรือเป็นเอก แต่ถ้าเป็นการบริกรรมพุทโธนั้นเพื่อเป็นเครื่องกำหนดหรืออารมณ์เพื่อให้กระทำให้เกิดสมาธิแต่อย่างเดียว คือเน้นอยู่ที่องค์ฌาน,สมาธิ ก็เป็นเพียงสมถสมาธิเท่านั้น พึงเข้าใจอย่างถูกต้องด้วย เพื่อจักได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องแนวทาง คือ ปฏิบัติสมถสมาธิก็ทำได้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติวิปัสสนาเช่นสติปัฏฐาน ๔ ก็ถูกต้อง

    เมื่อพิจารณาจากขันธ์ ๕ อื่นๆ อันเกิดแต่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

    ตา กระทบ รูป เมื่อมีตาและยังมีชีวิตอยู่ ย่อมเกิดจักขุวิญญาณ จึงย่อมต้องเห็นรูป เป็นธรรมดา

    เพราะตาและรูปล้วนเป็นอนัตตา magnify4.gif จึงย่อมไม่สามารถบังคับในตาหรือรุปว่าไม่ให้เกิดจักษุวิญญาณหรือไม่ให้เห็น อันย่อมเป็นไปไม่ได้

    หู กระทบ เสียง เมื่อมีหูและยังมีชีวิตอยู่ ย่อมเกิดโสตวิญญาณ จึงย่อมต้องได้ยินเสียง เป็นธรรมดา

    จมูก กระทบ กลิ่น เมื่อมีจมูกและยังมีชีวิตอยู่ ย่อมเกิดฆนะวิญญาณ จึงย่อมต้องได้กลิ่น เป็นธรรมดา

    ลิ้น กระทบ รส เมื่อมีลิ้นและยังมีชีวิตอยู่ ย่อมเกิดชิวหาวิญญาณ จึงย่อมต้องรับรู้รส เป็นธรรมดา

    กาย กระทบ โผฏฐัพพะ เมื่อมีกายและยังมีชีวิตอยู่ ย่อมเกิดกายวิญญาณ จึงย่อมต้องรับรู้รสสัมผัสจากกาย เป็นธรรมดา

    โยนิโสมนสิการในธรรมข้างต้นนี้ จะเห็นเข้าใจได้ว่า ไปบังคับให้ ไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน ไม่ให้รับรู้ กล่าวคือ จะไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็น ย่อมเป็นไปไม่ได้ ใจก็เป็นไปในลักษณาการเดียวกัน

    ใจ กระทบ ธรรมารมณ์ เมื่อมีใจคือยังมีชีวิตอยู่ ย่อมเกิดมโนวิญญาณ จึงย่อมต้องเกิดการรับรู้เข้าใจในธรรมารมณ์เป็นธรรมดา เฉกเช่นกัน

    กล่าวคือ ย่อมต้องเกิดกระบวนธรรมเหล่านั้นขึ้นเป็นธรรมดา ไม่เป็นอื่นไปได้ จะไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ย่อมเป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกับอายตนะอื่นๆ เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิตในการรับรู้สิ่งที่มาผัสสะ แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็สามารถลดทอนการเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านี้ได้บ้างในช่วงปฏิบัติโดยการสำรวม สังวร ระวัง เสียนั่นเอง ดังเช่น การปลีกวิเวก อันย่อมเกิดการผัสสะน้อยลงนั่นเอง จึงมีการผัสสะอันเกิดแต่ภายในตนเองคือใจเป็นสำคัญแต่ฝ่ายเดียว, ด้วยเหตุดังนี้ พระองค์ท่านจึงให้รู้เท่าทันในจิตตสังขารแล้วอุเบกขา, ดังนั้นการปฏิบัติแบบพยายามหยุดคิดหยุดนึกในเหล่าธรรมารมณ์ทั้งปวงโดยขาดความรู้ความเข้าใจจึงเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ไม่ควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

    กล่าวคือ ในการปฏิบัตินั้น เป็นไปตามธรรมชาติในการทำงานหรือรับรู้ต่างๆอันเกิดแต่การทำงานของขันธ์ต่างๆ ไม่กดข่มด้วยกิเลสตัณหา เมื่อเกิดสังขารขันธ์เช่นจิตสังขารอันเป็นผลแล้ว ก็อาศัยสติเป็นผู้รู้เท่าทัน สมาธิคือจิตตั้งมั่นแน่วแน่ และปัญญาเป็นตัวจัดการปัญหา กล่าวคือ สิ่งใดที่จักทำให้เกิดทุกข์ก็ไม่ไปเสพเสวยผลนั้นต่อเนื่องไป กล่าวคืออุเบกขาเสียนั่นเอง

    สตินั้นก็เป็นสังขารขันธ์ทางจิตอย่างหนึ่งเช่นกัน จริงๆแล้วก็คือจิตนั่นเอง(สติเป็นหนึ่งในเจตสิก ๕๒ ข้อที่ ๒๙) คือเป็นอาการหรือกริยาหนึ่งของจิต กล่าวคือ จิตที่เมื่อไปทำหน้าที่ระลึกรู้เท่าทัน เช่น ระลึกรู้เท่าทันความคิดหรือจิตสังขารอื่นๆ หรือเวทนาต่างๆที่เกิดขึ้น บางครั้งจึงใช้คำว่าจิตแทนคำว่าสติก็มี ดังเช่น จิตเห็นจิต ขยายความว่า สติเห็นจิตสังขารนั่นเอง จึงไม่ใช่การพยายามปฏิบัติให้จิตเห็นจิต ชนิดให้เป็นรูปธรรม เป็นตัวตน เป็นแสง(โอภาส) เป็นนิมิตใดๆทั้งสิ้น, ตัวผู้เขียนเองในสมัยก่อนก็ปฏิบัติแบบจิตเห็นจิต เป็นตัวตน เห็นจิตตนเองและผู้อื่นเป็นดวงสว่างสุกใสด้วยแสงสีต่างๆนาๆ อันเกิดแต่อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตด้วยอำนาจของฌานสมาธิปรุงแต่งขึ้น อันล้วนเป็นไปด้วยอวิชชา ตลอดจนเคยปฏิบัติในลักษณะพยายามหยุดคิดหยุดนึกทั้งปวงแม้ในเหล่าธรรมารมณ์มาแล้วเช่นกัน ซึ่งให้ผลดีในระยะแรกเท่านั้นเอง หลังจากนั้นก็ก่อปัญหาอย่างมากมาย

    บ้างก็นิยมเรียกสติอันเป็นจิตสังขารกันว่า ธาตุรู้, ผู้รู้ แต่บางครั้งเพราะความไม่เข้าใจ จิตจึงเกิดการไปยึดเอาสิ่งที่อุปโลกคือ ผู้รู้ ว่าเป็นตัวเป็นตนขึ้นโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือไปยึดว่าจิตอันคือจิตสังขารชนิดสติให้ว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นองค์ เป็นเทพ เป็นของวิเศษ เป็นภาพ เป็นเสียง กล่าวคือไปยึดมั่นหมายมั่นด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นของวิเศษ อันเป็นไปในแนวไสยศาสตร์ เวทมนต์คาถาเสียก็มี จึงไปยึดไปเชื่ออย่างงมงาย เป็นทิฏฐุปาทาน หรือสีลัพพตปาทาน จนสัมมาสติที่ฝึกหัดดีนั้นกลับกลายเป็นมิจฉาสติเสียก็มี จึงย่อมยังให้เกิดมิจฉาญาณในที่สุด กล่าวคือ ถ้าผู้รู้ผุดนึกเข้าใจในสิ่งใดขึ้นมา ก็อธิโมกข์คือเชื่อถืออย่างงมงาย ยึดถือยึดมั่นไปว่าถูกต้องเป็นจริงเป็นจัง ด้วยคิดว่าเป็นไปด้วยอำนาจวิเศษ อย่างนี้ผู้เขียนก็เป็นมาแล้ว ด้วยเหตุดังนี้ การเห็นจิตว่าเป็นตัวตนนั้น จึงเป็นการเห็นผิดที่ร้ายกว่าการเห็นเข้าใจว่ากายเป็นตัวตนอย่างแท้จริงเที่ยงแท้เสียอีก อันเป็นไปดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ดังนี้

    พุทธพจน์

    "ภิกษุทั้งหลาย การที่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ จะเข้าใจไปยึดถือว่าร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ว่าเป็นตัวตน (webmaster - ขยายความว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นความเข้าใจที่ผิดก็ตาม แต่ก็ )ยังดีกว่าจะยึดถือจิตว่าเป็นตัวตน เพราะว่า กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ยังปรากฎให้เห็นว่าดำรงอยู่(ขยายความว่า แสดงให้เห็นว่าคงทนอยู่ไม่ได้อย่างแท้จริง อย่างไรเสียก็ต้องแสดงให้เห็นว่าอยู่ได้)เพียงปีหนึ่งบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ - ๔ - ๕ ปีบ้าง ๑๐ - ๒๐ - ๓๐ - ๔๐ - ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง แต่สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน หรือวิญญาณนี้ ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน (ขยายความว่า จิตนั้น เกิดแล้วดับ...เกิดแล้วดับๆ อยู่ทั้งในขณะตื่น และแม้ขณะหลับ ไป เช่นการฝัน เมื่อไม่เข้าใจว่า จิตเกิดแต่เหตุปัจจัยจึงมีอาการเกิดดับๆๆ...อยู่เรื่อยตลอดเวลา จึงเกิดการเข้าใจผิดไปยึดว่ามีตัวมีตนจริงๆ จึงเป็นการหลงผิดที่พระองค์ท่านตรัวไว้ว่า ร้ายยิ่งกว่าการไปหลงผิดไปยึดติดยึดถือว่ากายเป็นตัวตนเสียอีก เพราะย่อมยังให้ไม่เข้าใจความเป็นเหตุปัจจัยและพระไตรลักษณ์ จึงไม่สามารถเจริญก้าวหน้าในธรรมได้)"

    อัสสุตวตาสูตร




    จิต คืออะไร

    ทำไมจึงอยู่ในสภาพเกิดแล้วดับ...เกิดแล้วดับ...จึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา!


    back1.gif

    title.gif
     
  2. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ถ้าใครไม่มี ขณิขสมาธิ ก็ไม่สามารถอ่านอะไรยาวๆ ได้ ...พวกสมาธิสั้น จบ
     
  3. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    ทางเข้าเกมกล้องสมาร์ทโฟนออกมานานแล้ว โดยเฉพาะการประมวลผลภาพโดยใช้ AI คุณจะได้ภาพที่สวยงามด้วยรุ้ง นี่เป็นความจริงที่ค่อนข้างเกินไป (หรือบางครั้งไม่ได้) สำหรับกล้องทั่วไปและดูเหมือนว่า Google กำลังพิจารณาการต่อต้านคุณสมบัติเหล่านี้เช่นกันMishaal Rahman ผู้พัฒนา XDA และบรรณาธิการ XDA ได้เผยแพร่เอกสารข้อกำหนดความเข้ากันได้กับ Android (CDD) ของ Google สำหรับ Android 11 อย่างไรก็ตามค่าเริ่มต้นของ Android 11 ข้อมูลข้างต้นไม่ได้ระบุว่ากล้องของผู้ผลิตสมาร์ทโฟนไม่สามารถเข้าสู่โหมดความงามได้ แต่จะปิดไว้ตามค่าเริ่มต้น หากมีคนต้องการใช้งานคุณจะต้องเปิดด้วยตนเองในภายหลัง โดยค่าเริ่มต้นกล้องควรมีความผิดเพี้ยนจริง
     
  4. ละอองไฟ

    ละอองไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    2,469
    ค่าพลัง:
    +1,398
  5. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    ปถุชนแบบผมดับหลังการณ์ได้กัพอแล้ว
    เห็นรูปเดิมสัญญาเดิมมาเลย55
     
  6. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    ตามผัสสะไม่ค่อยทันอยู่กะโลกกิเลสอิ่ม
     
  7. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ดูสังขารไป พุงกระทิ ก็พยายามไป ไปไหนไม่ได้ ติดพุงกะทิ
    แถมเพิ่มกระติก อีก 2 อัน ...
    ว่าแล้วก็คิดถึงพี่เล่าปัง ....เล่าปาาาาาาง
     
  8. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    http://www.nkgen.com/jit.htm

    เวปนี้ จุดบอร์ดเพียบ ไปอ่านพระไตรปิฎก ดีกว่านะ

    หรือธรรม คำสอนหลวงพ่อเยื้อน ดีกว่านะ
     
  9. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    อันนี้มันไม่ถูกเหรอแก
     
  10. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    ผมกะชัดเจนมาหาฟังธรรมเพื่อปรับปรุงแนวคิดผม
    จะตัดกิเลสได้บ่ได้กะทำไปเรื่อย
    อยากหมดกิเลสผมคงบวชไปแล้วจะมานั่งเน๊ตทามมัย
     
  11. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    อยู่โลกได้แต่ฝึกสติไปเรื่อยๆละผมว่า
     
  12. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เขาจะเสริม ความคิดเห็นส่วนตัวไปเยอะ
    ไปหาฟังธรรม จากพระไตรปิฎก จากครูอาจารย์ เพียว ๆ ไม่มีแต่งเติม
    จะได้ธรรม วิธีทำที่ถูกต้องกว่า
     
  13. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ปราบหลวงพ่อเยื้อนก็ฟังนะ

    แต่พักนี้ไม่รุเป็นอะไรมันอยากแต่พูดธรรมะ อ่าน
    ฟัง ก็งงๆกับตัวเองเหมือนกัน
     
  14. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    เล่ามายังไหว55
     
  15. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    สัทธากำลังขึ้นทิ้งลูกผัวให้หมดช่วงนี้ละจัดเลย55
     
  16. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ผัวชั้นอ่านตลอดนะร่อน โดยเฉพาะโพสข้างบน
     
  17. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ฟังเอาแต่ วิธีการ ที่เหลือ ก็ลงมือ ทำ

    วิธีการจำได้แม่นแล้ว ก็ฝึกเอาเอง ไม่มีใครห้ามหรือบังคับฝึก
    เรื่องอยากแพล่มธรรมะ มันก้เป็นเรื่องทำมะดาสำหรับคนฝึก

    แต่ถ้ารู้สึกแบบนี้ ครูท่านจะห้าม ไว้ ว่า อย่าเพิ่งไปอยากแพล่ม
    ต้อง ฝืนทวนความอยากแพล่มไปก่อนอีก เพราะ การไปแนะนำใคร ก้เป็นกรรมอย่างนึง จะกลับมาหาตัวเองด้วย ถ้า จิต สติ อ่อน ก็เหลว ฟุ้ง

    จะโพสแนะนำคำสอน ควรเลือกโพสให้ดี
    เลือกไม่ดีก้เป็นกรรมกลับมาหาตัวเอง
     
  18. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    คงนั่งขำผมว่า55
     
  19. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    ดีแล้วชีวิตควรหาความสันโดษให้ตัวเองบ้าง
    มากน้อยกะตามสมควร
     
  20. ละอองไฟ

    ละอองไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    2,469
    ค่าพลัง:
    +1,398
    พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคตรัสที่เขาคิชฌกูฏ
    เมื่อครั้งที่มีเทวดามาเข้าเฝ้าพระองค์ที่คิชฌกูฏ
    พระพุทธองค์ตรัสเรียกเทวดาว่าเทวดาสองตน
    ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าจิตหนึ่งดวงก็คือจิตหนึ่งตน
    พระดำรัสของพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งไม่มีสองคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2020

แชร์หน้านี้

Loading...