ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ อธิบายในส่วนที่สี่เรื่อง "สังขาร"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ชัยบวร, 3 มิถุนายน 2012.

  1. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ขันธ์ 5หรือ เบญจขันธ์ อธิบายในส่วนที่สี่เรื่อง "สังขาร"
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ลงไว้เพื่อการศึกษาทางพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ เพื่อเป็นหนทางในการเข้าใจและเข้าถึง เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ (มีภาษาอังกฤษประกอบ) รายละเอียดจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวมซึ่งบัญญัติเรียกว่าบุคคลสัตว์ตัวตนเรา-เขาเป็นต้นส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต (The Five Groups of Existence; Five Aggregate)

    สังขารขันธ์ กองสังขาร ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต (mental formation; volitional activities) แบ่งได้ 5 ประการ

    สังขาร 3 (1) สภาพที่ปรุงแต่ง (formation; determination; function)

    1. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก (bodily formation; bodily function)
    2. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวืจาร (verbal formation; verbal function)
    3. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา (mental formation; mental function)

    สังขาร (ธรรมะของพระพุทธศาสนา) ในหมวดนี้มักมาในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าผู้เข้านิโรธสมาบัติ วจีสังขาร กายสังขาร และจิตตสังขาร ดับไปตามลำดับ

    สังขาร 3 (2 ) สภาพที่ปรุงแต่ง ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งการกระทำ สัญเจตนา หรือเจตนาที่แต่งกรรม (formation; determination; volition)

    1. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย (bodily formation; bodily volition)
    2. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา (verbal formation; verbal volition)
    3. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ (mental formation; mental volition)

    สังขารในหมวดนี้ (ธรรมะของพระพุทธศาสนา)ได้ในความหมายของคำว่า "สังขาร" ในปฏิจจสมุปบาท

    ธรรมะของพระพุทธศาสนา [​IMG]

    ยังมีอีกนะครับ ยังไม่หมดเรื่องเกี่ยวกับสังขารนะครับ

    ผมมีเจตนาดี เพราะมีสัญญาดี เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน นอกจากนี้ผมยังมีหนังสือธรรมะดี ๆ ของพระภิกษุสงฆ์ท่านอื่น ๆ อีกมาก สามารถนำมาลงไว้เพื่อประกอบกุศลกรรมได้เรื่อย ๆ ครับ อาทิ ท่านพุทธทาสภิกขุ หลวงปู่จันทา พระมหาสมปอง หรือฆราวาสผู้มีธรรม เช่น คุณวรยุทธ พิชัยศรทัต เป็นต้น ขอบคุณครับ [​IMG]
     
  2. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ต่อนะครับ...สังขารในส่วนที่เหลือ 1.

    อภิสังขาร 3 สภาพที่ปรุงแต่ง ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม (volitional formation; formation;activity)

    1. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร (formation of merit; meritorious)
    2. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย (formation of demerit; demeritorious Formation)
    3. อาเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอาเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร 4 หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน (formation of the imperturbable; impertubability - producing volition)

    อภิสังขาร 3 นี้ (ธรรมะของพระพุทธศาสนา) เป็นความหมายของสังขารในหลักปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงไว้อีกนัยหนึ่งเพิ่มจากนัยว่าสังขาร 3 (2)


    สังขาร 4 คำว่า "สังขาร" ที่ใช้ในความหมายต่าง ๆ (applications of the word formation) [​IMG]

    1. สังขตสังขาร สังขารคือสังขตธรรม ได้แก่ สิ่งทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง รูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ใช้ในประโยชน์ที่ว่า

    " อนิจฺจา วต สฺงขารา " เป็นต้น (formation consisting of the formed)

    2. อภิสังขตสังขาร สังขารคือสิ่งที่กรรมแต่งขึ้น ได้แก่ รูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ในภูมิสามที่เกิดแต่กรรม (formation consisting of the karma - formed)

    3. อภิสังขรณกสังขาร สังขารคือกรรมที่เป็นตัวการปรุงแต่ง ได้แก่ กุศลเจตนา และ อกุศลเจตนาทั้งปวงในภูมิสาม ได้ในคำว่า "สังขาร" ตามหลักปฎิจจสมุปบาท คือ สังขาร 3 (1) อภิสังขาร 3 (formation consisting in the act of kamma - forming)

    4. ปโยคาภิสังขาร สังขารคือการประกอบความเพียร ได้แก่กำลังความเพียรทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม (formation consisting in exertion or impetus)

    ธรรมะของพระพุทธศาสนา [​IMG]

    ยังมีอีกนะครับ....<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. Kinglondon

    Kinglondon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2010
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +70
    กด Like เลย:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...