ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ อธิบายในส่วนที่สองเรื่อง "เวทนา"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ชัยบวร, 30 พฤษภาคม 2012.

  1. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ขันธ์ 5หรือ เบญจขันธ์ อธิบายในส่วนที่สองเรื่อง "เวทนา"
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ลงไว้เพื่อการศึกษาทางพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ เพื่อเป็นหนทางในการเข้าใจและเข้าถึง เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ (มีภาษาอังกฤษประกอบ) รายละเอียดจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวมซึ่งบัญญัติเรียกว่าบุคคลสัตว์ตัวตนเรา-เขาเป็นต้นส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต (The Five Groups of Existence; Five Aggregate)

    เวทนาขันธ์ กองเวทนา ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือ เฉย ๆ (feeling; sensation) มี 4 ประการ

    เวทนา 2 การเสวยอารมณ์ (feeling; sensation) แบ่งได้คือ

    1. กายิกเวทนา เวทนาทางกาย (physical feeling)
    2. เจตสิกเวทนา เวทนาทางใจ (mental feeling)

    เวทนา 3 การเสวยอารมณ์ ความรู้สึกรสของอารมณ์ (feeling; sensation) แบ่งได้คือ

    1. สุขเวทนา ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม (pleasant feeling; pleasure)
    2. ทุกขเวทนา ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม (painful feeling; pain)
    3. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกเฉย ๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา (neither - pleasant - nor - painful feeling; indifferent feeling)

    เวทนา 5 การเสวยอารมณ์ (feeling) แบ่งได้คือ

    1. สุข ความสุข ความสบายทางกาย (bodily pleasure or happiness)
    2. ทุกข์ ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย (bodily pain; discomfort)
    3. โสมนัส ความแช่มชื่นสบายใจ สุขใจ (mental happiness; joy)
    4. โทมนัส ความเสียใจ ทุกข์ใจ (mental pain; displeasure; grief)
    5. อุเบกขา ความรู้สึกเฉย ๆ (indifference) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อทุกขมสุขเวทนา

    เวทนา 5 นี้ยังเกี่ยวข้องกับธรรมเรื่องอินทรีย์ 22 อีก ซึ่งจะต้องอธิบายอีกยาว

    เวทนา 6 การเสวยอารมณ์ (feeling) แบ่งได้คือ

    1. จักขุสัมผัสชาเวทนา เวทนาเกิดจาดความสัมผัสทางตา (feeling arisen from visual contact)
    2. โสต-เวทนา เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู (from auditory contact)
    3. ฆาน-เวทนา เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก (from olfactory contact)
    4. ชิวหา-เวทนา เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น (from gustatory contact)
    5. กายเวทนา เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย (from bodily contact)
    6. มโนเวทนา เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ (from mental contact)[​IMG]


    ธรรมะของพระพุทธศาสนา[​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...