ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วรรณกรรมของชาวต่างชาติเกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไทย-จีนร่วมมือกันโจมตีพะโค

    โดย รศ.ดร.ประจักษ์ สายแสง, ดร.ทิวารักษ์เสรีภาพ (ต่อ)


    ครั้นถึงเมื่อเดือน 12 ปีที่ 21 ก็ตรงกับ คริสตศักราช 1593 ประมาณ พุทธศักราช 2136 เฉินยุ่งปิน นี่คงเป็นขุนนางจีนคนนี้ ได้ก่อสร้างป้อมปราการ ฟังดูดีนะเนี่ย ก่อสร้างป้อมปราการได้ดำเนินการปลูกข้าว โดยให้ทหารปลูกข้าวแล้วก็ว่าจ้างชาวบ้านทั้งหมดปลูกข้าว อยู่บริเวณชายแดนพม่า เพราะจีนนั้นตอนนั้นกำลังทำสงครามกับพม่าอยู่ ชาวบ้านแถวนั้นก็จีนเขาจ้างมาปลูกข้าว สะสมเสบียงกรังพร้อมที่จะทำสงครามกับพม่า

    ทางพม่ารู้ดีว่าถ้าหากว่าเฉินย่งปินเนี่ยแกสะสมเสบียงเป็นอย่างดีบริเวณนั้น แล้วก็สร้างป้อมปราการที่แข็งแรงขึ้นบริเวณนั้นแล้วไซร้ มันก็จะเป็นอุปสรรค ทำให้พม่ารบกับจีนได้ไม่สะดวกนัก ดีไม่ดีจะเพรี่ยงพร้ำแก่จีนด้วยซ้ำไป เพราะว่าจีนเขามีป้อมปราการแข็งแรงมีเสบียงกรังพร้อม ก็พร้อมที่จะรบกับพม่าเป็นอย่างดี พม่าก็เลยพยายามต่อต้าน ขัดขวางไม่ให้ทำนา ไม่ให้สร้างป้อมปราการขัดขวางอยู่เสมอ โดยส่งกำลังเข้าโจมตีป้อมปราการนั้นหลายครั้งหลายหน
    เมื่อเป็นเช่นนี้เนี่ย เฉินย่งปินก็เห็นว่า ถ้าแม้นว่าไม่มีคนช่วยตัว ไม่มีกองทัพมาช่วยตัว ตัวก็คงจะรบกับพม่าไม่ถนัดนัก เพราะพม่าก็โจมตีปราการของตัวอยู่ตลอด

    เฉินย่งปินก็เลยจัดส่งทหารคนหนึ่งชื่อ หวงกง ตอนนั้นเนี่ยเฉินย่งปินแกเป็นผู้ตรวจราชการของจีนนะอำนาจสูง ก็ส่งทหารชื่อหวงกง หวงกงนี่เป็นจีนฮ๊กเกี้ยน คนไทยแต่ก่อนเขาชอบจีนฮกเกี้ยนนะ ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ถ้าเป็นจีน ฮกเกี้ยนล่ะความรู้สูง ถ้าไม่ใช่ฮกเกี้ยนก็ความรู้ไม่สูง ดูเหมือนผมจะเคยพูดในวรรณกรรมสองแควไว้ว่า สมเด็จกรมพระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ ได้ทรงแต่งโคลงบทหนึ่งสรรเสริญจีนฮกเกี้ยน ว่าเป็นคนมีความรู้สูง โดยกล่าวสรรเสริญว่า

    ....โหรจีนรับสั่งให้ไล่เสีย ชั่วถ่อยคอยตั้วเฮียเสิกเสี้ยน ควรตัดเชือกหางเปียโยนล่อง มันใช่เจ็กหกเกี้ยนต่ำช้าวิชาเลว.... นั่นแปลว่าคนไทยเนี่ยสรรเสริญคนจีนฮกเกี้ยนมาก และในตอนนั้นแหละครับ เฉินยงปินผู้ตรวจราชการของจีนเนี่ย ก็เลยส่งหวงกง ซึ่งเป็นชาวฮกเกี้ยน เป็นฑูตไปกรุงศรีอยุธยา โดยนำเอาสาส์นไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะมุ่งหมายจะไปเจรจากับอยุธยา ให้ทางอยุธยานั้นร่วมมือกับแม่ทัพจีนคนหนึ่ง ชื่อว่า เต๋อเลิง เต๋อเลิงนั้นเป็นแม่ทัพจีน ขอให้อยุธยานั้นร่วมมือกับเต๋อเลิงตีขนาบพม่า ทั้งจากภายนอกพม่าและตีรายวันพม่าเองด้วย ของกองทัพสยามไปช่วยจีน

    ทูตที่ส่งเข้ามา ก็เดินทางมาถึงสยาม เดินทางเข้ามาเจรจากันเรียบร้อยทุกประการ ทางกรุงศรีอยุธยานี่ก็เห็นด้วย กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นก็ได้ทรงส่งกองทัพบกเข้าช่วยจีนรบพม่า โดยส่งเข้าตีเมืองพะโค ตีได้ด้วยครับ แล้วก็ในจดหมายเหตุของจีนบอกว่า ตีได้เสร็จก็ทำให้เมืองพะโคเป็นเมืองร้างไปเลย เมืองพะโคก็คือ หงสาวดีในตอนนั้น กล่าวถึงว่าเมืองพะโคถูกกองทัพของไทยตีได้ แล้วก็เป็นเมืองร้างไป

    เรื่องนี้ผมไม่แน่ใจว่าในพงศาวดารไทยกล่าวถึงหรือไม่ แต่ในจดหมายเหตุของจีนกล่าวถึง ช่วงที่ผมไปที่เมืองพะโคหรือหงสาวดีเมื่อ 4-5 ปีมาแล้ว ผมพบกับภัณฑารักษ์คนหนึ่งซึ่งอยู่ที่วังของบุเรงนอง ผมจำชื่อไม่ชัด ชื่อ จ่อจ่อ หรือเปล่าไม่แน่ใจ เขาเล่าให้ผมฟังว่า เพียนริศ หรือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เสด็จยกทัพเข้าตีหงสาวดีหรือพะโค แล้วก็เผาเมืองเป็นเมืองร้างไปเลย ผมก็บอกว่าผมไม่เคยพบเรื่องนี้ ไม่เคยอ่านเรื่องนี้ แต่พอมาดูจากจดหมายเหตุจีน เขียนไว้อย่างนั้นว่าทัพของสยามได้นัดหมายกับกองทัพจีน โดยทัพสยามได้เข้าตีเมืองพะโค และเมืองพะโคก็ถูกทำให้ร้างไป

    หลังจากนั้นเต๋อเลิง ซึ่งเป็นแม่ทีพจีนก็ร่วมมือกับทางกองทัพอยุธยาเข้าตีพม่าอยู่เรื่อยๆ พม่าก็เลยไม่สามารถที่จะเข้าไป ยกทัพเข้าไปที่ป้อมปราการที่เฉิงยงปินเขาอยู่ เฉินย่งปินก็สร้างป้อมปราการได้ง่าย นี่ก็เป็นเรื่องจดหมายเหตุของจีนนะครับ ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์สัมพันธไมตรีระหว่างจีนกันกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือสรุปความก็กล่าวว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้เข้าตีเมืองพะโคหรือหงสาวดีได้แล้วก็ทำเมืองนั้นร้างไปเลย จีนว่าอย่างนั้น

    สงสัยนิดหน่อย เพราะว่าปลายปี พ.ศ.2136 หลังพระราชพิธีอาสวยุทธและพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคถวายผ้าพระกฐินแล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงบริหารสั่งให้เตรียมตัวไปตีพระยาละแวก แต่ทำไมเอกสารจีนว่าปลายปีนั้นทรงร่วมกับกองทัพจีนตีพะโคแตกและเผาจนร้างไปเลย..จะหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกทีค่ะ
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เนตเริ่มหนืด เมื่อสักครู่กำลังส่งเรื่องเกี่ยวกับพระราชไมตรีระหว่างพระราชอาณาจักรสยามกับพระราชอาณาจักรโชซอน หายไปหมดเลย ไว้พรุ่งนี้จะเอาส่วนเกี่ยวกับเกาหลีมาลง ซึ่งสมัยที่ตรงกับสมเด็จฯท่านเป็นพระจักรพรรดิซอนโจค่ะ

    เกร็ดความรู้เพิ่มเติมนะคะ สมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงกับสมัยของพระนางเจ้าอลิซาเบธที่หนึ่งแห่งราชอาณาจักรอังกฤษค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2009
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วันนี้การจารจรบนเวปคล่องตัวดีนะคะ

    จะเอาพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับเกาหลีมาลง

    และจะต่อด้วยบทความลัทธิชาตินิยมฯ เสาร์อาทิตย์นี้จะพยายามให้จบค่ะ

    อดีตคือประวัติศาสตร์ จริงเท็จอย่างไร มันก็จะอยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลงอีก

    กำหนดรู้และปล่อยวางคือสิ่งสำคัญของที่พุทธศาสนิกชนต้องฝึกใจตนให้ดี

    เดินตามรอยพระพุทธองค์และพระสงฆ์องค์เจ้าที่เดินบนเส้นทางธรรมนี้ในขณะที่ยังเห็นรอยพระบาทของท่านกันอยู่

    การฝึกใจตน รู้ใจตน เห็นกรรมของตน เห็นจิตตน และจิตที่ไม่ก้าวล่วงใครไม่ว่ากรณีใดก็ตาม จะทำให้ใจสงบที่สุด

    ภารกิจของชีวิตอันทรงขันธ์ 5 นี้ยังมีอีกมากแต่เวลาของชีวิตหดสั้นลงทุกที ไม่ควรเสียเวลามาคำนึงถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว

    และไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไปกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง จิตปัจจุบันคือผู้กำชะตาชีวิตของเราในภายหน้ามากกว่า

    ทางสายธาตุคิดว่าหลังจากพิมพ์บทความ ลัทธิชาตินิยมฯจบ คงจะห่างกระทู้ไปบ้างแล้ว ไปฝึกสติ ฝึกจิต ของตนเองให้ดีขึ้น

    คิดว่าจะพิมพ์กระทู้นี้เก็บไว้ เก็บไว้อ่านเล่นค่ะ อย่างที่เน้นเสมอๆเลยค่ะ ความจริงทุกอย่างบนโลกใบนี้เป็นความจริงสมมุตทั้งนั้น

    ตามค้นหาปรมัตสัจจะหรือความจริงแท้มีหนทางอีกยาว ต้องรีบทำแล้วค่ะ ชีวิตนี้น้อยนัก
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วรรณกรรมของชาวต่างชาติเกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรื่องเกี่ยวกับอาณาจักรโชซอน

    ถ้าเราไปดูจากประเทศอื่นบ้างล่ะ ทางเกาหลีเนี่ยได้บันทึกเรื่องราว ปรากฏในบันทึกชื่อ ชวนเมี้ยวจงซิง ของเกาหลี บันทึกของเกาหลีนั้นกล่าวว่า จดหมายเหตุของเกาหลีได้กล่าว ในเดือน 11 คริสตศักราช 1952 ตรงกับพุทธศักราช 2135 บอกว่า เจิ้งคุนโซ่ ได้กลับจากนครหลวง กลับจากนครหลวงแล้วไปไหนในนี้ก็ไม่ได้บอกเอาไว้ แต่ข้อความในนั้นเขียนเอาไว้ว่า ขณะนั้นฮั่วปาหลาราชทูตจากสยาม ฮั่วปาหลาฟังดูคล้ายๆ กับอุปราชนะ แต่ในนี้บอกว่าฮั่วปาหลาราชทูตจากสยามก็มาถวายเครื่องราชบรรณาการที่นครหลวง ไปที่เกาหลี ทราบว่ามีข้อเสนอเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางตะวันออก หมายถึงว่า สยามจะช่วยเกาหลีในทางการทหาร โดยสยาม สยามก็กรุงศรีอยุธยานะครับ ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเนี่ย โดยสยามนั้นแสดงความจำนงขออาสานำทัพไปปราบปรามกวาดล้างถึงถิ่นฐานโจรเตี้ย ถิ่นฐานโจรเตี้ยมันตรงไหน จะเป็นทางเกาะฮอกไกโดรึเปล่า ของญี่ปุ่นน่ะ

    บอกว่าสยามหรืออยุธยาจะไปกวาดล้างถึงถิ่นฐานโจรเตี้ย เฉินเผิงเพิ่งฟูอี ก็ได้กราบบังคมทูลขอให้ส่งกำลังทหารจากสยาม จากเกาะในทะเลเข้าตีถึงรังโจรเตี้ย ก็เป็นขุนนางอีกคนหนึ่งของเกาหลีก็กราบทูลจักรพรรดิของเกาหลี เขาเรียกจักรพรรดิหรือเปล่าตอนนั้นผมไม่แน่ใจนะ กราบทูลผู้เป็นใหญ่ของเกาหลีเนี่ยผมใช้คำอย่างนี้น่าจะดี

    ขอให้ส่งกำลังทหารจากสยามจากเกาะในทะเล ถ้าพูดอย่างนี้ก็แปลว่าอยุธยามีกำลังทหารอยู่ในเกาะในทะเลมากมาย จนกระทั่งเกาหลีขอให้กำลังจากสยามเข้าตีถึงรังโจรเตี้ย แต่ว่าทางราชสำนักก็ไม่ได้ดำเนินการเรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องที่ฟังแล้วก็เออ.. นี่เป็นจดหมายเหตุของเกาหลีเขา พอมารวมกับจดหมายเหตุของจีนนี้ ก็เลยทราบว่าในประมาณพุทธศักราช 2135 มันมีความสัมพันธ์อะไรกันหลายประการ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาเนี่ยพอประมวลได้ว่าอานุภาพของกองทัพเรือของไทยนั้นคงไม่ใช่ธรรดาเสียแล้วนะครับ เพราะว่าไปไกลขนาดถึงญี่ปุ่น ขนาดถึงเกาหลีได้ แล้วก็มีกำลังมากอยู่พอสมควร จนกระทั่งทั้งจีนและเกาหลีไม่ยอมให้กองทัพของสยามเข้าตีญี่ปุ่น เพราะถ้าตีแล้วชนะมันก็จะน่าคิด ก็จะกลายเป็นว่าอานุภาพของกองทัพเรือของสยามในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นมีมากมายเหลือเกิน

    นี่ก็เป็นข้อความจากจดหมายเหตุของชาวต่างชาติ เป็นวรรณกรรมของชาวต่างชาตินะครับ ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ผมนำเสนอในที่นี้ก็ตามคำขอของท่าน


    หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ǃó?Ã?ͧ?҇?蒧?ҵԠ?ը‡?Ѻ ʁധ??Ð??ǃ?҃Ҫ ?ҡ?ŧ͡ ⍠?๪Ѩ? oknation.net
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)

    [​IMG]
    เรือเต่า


    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)
    </DD></DL>ในพ.ศ. 2130 โทโยโทมิ ฮิเดโยชิิ โชกุนซึ่งได้รวบรวมประเทศญี่ปุ่นในยุคเซงโงกุุได้จนสำเร็จ คิดวางแผนที่จะบุกยึดจีนราชวงศ์หมิง แต่ระหว่างทั้งสองประเทศนั้นมีโชซอนคั่นกลาง โทโยโทมิจึงได้สั่งให้โซ โยชิโทชิ เจ้าผู้ครองเกาะซึชิมา ไปยื่นคำขาดแก่โชซอนให้ช่วยเหลือญี่ปุ่นในการบุกยึดราชวงศ์หมิง แต่เกาะซิชิมาได้รับเอกสิทธิ์จากโชซอนให้เป็นทางผ่านการค้ากับโชซอนเพียงเกาะเดียว ทำให้โซเจ้าผู้ครองเกาะไม่อยากจะทำลายความสัมพันธ์อันดีกับโชซอนและทำลายการค้า จึงส่งบรรณาการให้กับโชซอนแทน พระเจ้าซอนโจจึงส่งทูตไปยังเกียวโตเพื่อขอบพระทัยโทโยโทมิ แต่โทโยโทมิเข้าใจว่าทูตโชซอนมาส่งบรรณาการจึงเขียนจดหมายตอบกลับไปให้โชซอนเข้าร่วมสงครามกับราชวงศ์หมิง
    พระเจ้าซอนโจและบรรดาขุนนางพากันตะลึง ว่าญี่ปุ่นจะบุกยึดจีน ด้วยเหตุที่โชซอนเป็นเมืองขึ้นจีน การจะทำสงครามกับจีนคงเป็นไปไม่ได้ จึงตัดสินใจรอรายละเอียดที่ชัดเจนจากญี่ปุ่น แต่โทโยโทมิเห็นว่าส่งคำขอไปสองครั้งแล้วไม่ตอบรับก็ส่งกองทัพบุกโชซอนในพ.ศ. 2135 บุกยึดปูซาน และรุกไปทางเหนือยึดฮันยางได้อย่างรวดเร็ว เพราะญี่ปุ่นมีปืนแต่โชซอนมีธนู และเผาพระราชวังเคียงบกยับเยิน แต่พระเจ้าซองโจทรงหลบหนีไปเปียงยางก่อนหน้านี้แล้ว ทัพญี่ปุ่นจึงบุกไปทางเหนือยึดเปียงยาง แต่ทางทะเลนั้นมีขุนพลลี ซุนชิน สกัดกั้นการส่งเสบียงของญี่ปุ่นทางน้ำได้โดยใช้คอบุกซอน (เรือเต่า) เรือที่มีเกราะเหล็กลำแรกของโลก และทางบกมี ควาน ยูล โต้ทัพญี่ปุ่นกลับทางบก พระเจ้าซอนโจทรงหลบหนีไปปักกิ่งและร้องขอให้จักรพรรดิหว่านลี่ช่วยเหลือ ฮ่องเต้หว่านลี่ส่งทัพมาช่วยจนยึดเปียงยางคืนได้ในพ.ศ. 2131 และทำลายเสบียงญี่ปุ่นจนต้องทิ้งเมืองฮันยาง จนในที่สุดจีนและญี่ปุ่นก็สงบศึกกัน
    [​IMG]
    ลี ซุนชิน


    สงครามทำให้โชซอนปรับปรุงการป้องกันประเทศของตนใหม่ โดยจัดการสร้างป้อมรอบฮันยาง มีการรับเอาปืนเข้ามาใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อการเจรจาสงบศึกของจีนและญี่ปุ่นไม่เป็นผล โทโยโทมิก็ส่งทัพมาบุกอีกในพ.ศ. 2140 แต่ถูกทัพโชซอนและจีนต้านทานไว้ได้เป็นส่วนใหญ่ และทางน้ำลีซุนชิน ทำลายทัพเรือญี่ปุ่นยับเยิน โทโยโทมิเสียชีวิตในพ.ศ. 2141 ญี่ปุ่นจึงถอยทัพกลับ และถูกทัพเรือโชซอนโจมตีที่โนรยาง แต่ลีซุนชินถูกยิงเสียชีวิต
    เมื่อสิ้นสงครามแล้วประเทศโชซอนก็ตกอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง ทุกชนชั้นไม่ว่าจะเป็นยังบันหรือสามัญชนล้วนอดอยาก ทำให้ยังบันเริ่มที่จะขายต่ำแหน่งเอาเงิน ถอยร่นไปอยู่ไร่อยู่นาก็มี และสามัญชนก็กลับเริ่มที่จะมีโอกาสเป็นขุนนางและร่ำรวยมากขึ้น ระบอบสังคมที่เข้มงวดควบคุมโดยหลักขงจื้อต้องสั่นสะเทือน ที่สำคัญงานศิลปะต่างๆสมบัติล้ำค่าทั้งหลายล้วนถูกญี่ปุ่นยึดเอากลับไปหมด ศิลปินต่างๆช่างฝีมือก็สิ้นชีวิตในสงครามเสียหมด ยุคนี้จึงเป็นยุคเสื่อมของโชซอนทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม


    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าท่านทรงเกรียงไกรยิ่ง หากมีพระชนมายุยืนยาวอีกสักนิด คงมีประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ทรงคุณค่าน่าจดจำอีกมาก

    ขนาดพระราชอาณาจักรโชซอนในแดนไกล ยังรู้ถึงฝีพระหัตถ์ในการรบของพระองค์ ถึงกับขอให้พระองค์มาทรงช่วยปราบทีเดียว

    พระจักรพรรดิเกาหลีที่คนไทยรู้จักในราชวงศ์นี้คือ พระเจ้าจองโจ หรือ ลีซาน ที่เพิ่งดูจบกันไป

    รายพระนามกษัตริย์ในราชวงศ์โชซอน<TABLE class=wikitable><TBODY><TR><TH>พระนามเดิม</TH><TH>พระนามาภิไธย</TH><TH>ปีที่ครองราชย์ (พ.ศ.)</TH></TR><TR><TD>ลี ซอ-เก</TD><TD>แทโจ</TD><TD>1935 - 1941</TD></TR><TR><TD>ลี พัง-กวา</TD><TD>จองจง</TD><TD>1941 - 1943</TD></TR><TR><TD>ลี พัง-วอน</TD><TD>แทจง</TD><TD>1943 - 1961</TD></TR><TR><TD>ลี โท</TD><TD>เซจงมหาราช</TD><TD>1961 - 1993</TD></TR><TR><TD>ลี ฮยาง</TD><TD>มุนจง</TD><TD>1993 - 1995</TD></TR><TR><TD>ลี ฮง-วี</TD><TD>ทันจง</TD><TD>1995 - 1998</TD></TR><TR><TD>ลี ยู</TD><TD>เซโจ</TD><TD>1998 - 2011</TD></TR><TR><TD>ลี ควาง</TD><TD>เยจง</TD><TD>2011 - 2012</TD></TR><TR><TD>ลี ฮยอล</TD><TD>ซองจง</TD><TD>2012 - 2037</TD></TR><TR><TD>ลี ยุง</TD><TD>องค์ชายยอนซัน</TD><TD>2037 - 2049</TD></TR><TR><TD>ลี ยอก</TD><TD>จุงจง</TD><TD>2049 - 2087</TD></TR><TR><TD>ลี โฮ</TD><TD>อินจง</TD><TD>2087 - 2088</TD></TR><TR><TD>ลี ฮวาน</TD><TD>เมียงจง</TD><TD>2088 - 2110</TD></TR><TR><TD>ลี ยอน</TD><TD>ซอนโจ</TD><TD>2110 - 2151(ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)</TD></TR><TR><TD>ลี ฮน</TD><TD>องค์ชายควางแฮ</TD><TD>2151 - 2166</TD></TR><TR><TD>ลี จง</TD><TD>อินโจ</TD><TD>2166 - 2192</TD></TR><TR><TD>ลี โฮ</TD><TD>ฮโยจง</TD><TD>2191 - 2202</TD></TR><TR><TD>ลี ยอน</TD><TD>ฮยอนจง</TD><TD>2202 - 2217</TD></TR><TR><TD>ลี ซุน</TD><TD>ซุกจง</TD><TD>2217 - 2263</TD></TR><TR><TD>ลี ยุน</TD><TD>คยองจง</TD><TD>2263 - 2267</TD></TR><TR><TD>ลี คึม</TD><TD>ยองโจ</TD><TD>2267 - 2319</TD></TR><TR><TD>ลี ซาน</TD><TD>จองโจ</TD><TD>2319 - 2343</TD></TR><TR><TD>ลี คง</TD><TD>ซุนโจ</TD><TD>2343 - 2377</TD></TR><TR><TD>ลี ฮวาน</TD><TD>ฮอนจง</TD><TD>2377 - 2392</TD></TR><TR><TD>ลี พยอน</TD><TD>ชอลจง</TD><TD>2392 - 2406</TD></TR><TR><TD>ลี เมียง-บก</TD><TD>โกจง</TD><TD>2406 - 2440</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [แก้] รายนามกษัตริย์ในราชวงศ์ลี

    หลังจากสถาปนาเป็นจักรวรรดิเกาหลี ราชวงศ์โชซอนก็เปลี่ยนชื่อเป็นราชวงศ์ลี และยังคงสืบทอดบัลลังก์อยู่จนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีใต้ยังมิได้รับรอง หรือเข้ามายุ่งเกี่ยวใดๆ จึงยังไม่ถือได้ว่าเป็นการฟื้นฟูอย่างเป็นทางการ
    <TABLE class=wikitable><TBODY><TR><TH>พระนามเดิม</TH><TH>พระนามาภิไธย</TH><TH>ศักราช</TH><TH>ปีที่ครองราชย์ (พ.ศ.)</TH></TR><TR><TD>ลี เมียง-บก</TD><TD>สมเด็จพระจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิเกาหลี</TD><TD>ควางมู</TD><TD>2440 - 2450</TD></TR><TR><TD>ลี ชอก</TD><TD>สมเด็จพระจักรพรรดิเมอยองแห่งจักรวรรดิเกาหลี</TD><TD>ยุงฮี</TD><TD>2450 - 2453</TD></TR><TR><TD>ลี อึน</TD><TD>สมเด็จพระจักรพรรดิอุยมินแห่งเกาหลี</TD><TD>อุยมิน</TD><TD>2453 - 2513</TD></TR><TR><TD>ลี กู</TD><TD>สมเด็จพระจักรพรรดิโฮอุนแห่งเกาหลี</TD><TD>กู</TD><TD>2513 - 2548</TD></TR><TR><TD>ลี เฮ-วอน</TD><TD>สมเด็จพระจักรพรรดินีเฮวอนแห่งเกาหลี</TD><TD>เฮวอน</TD><TD>2548 - ปัจจุบัน</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [แก้] ฐานันดรศักดิ์ราชวงศ์โชซอน
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 93

    เมืองเมาะลำเลิงขอเป็นเมืองขึ้น

    สมิงอุบากองถือหนังสือเจ้าเมืองเมาะลำเลิงมาขอความช่วยเหลือว่า พระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตะมะจะยกมาตี ขอให้กรุงศรีอยุธยาช่วย เมืองทั้งสองนี้เป็นเมืองมอญขึ้นกับกรุงหงสาวดีแต่กลับมาขอให้ไทยช่วย แปลว่ากรุงหงสาวดีเสื่อมอำนาจลงแล้ว พระนเรศวรให้พระยาศรีไสยณรงค์ (คนใหม่) ถือพลสองพันยกไป เมืองเมาะตะมะ ทราบเข้าจึงไม่กล้ายกมารบ ไทยจึงได้เมืองเมาะลำเลิงของพม่าไว้เป็นพรรคพวกอีกเมืองหนึ่ง

    [​IMG]

    กุหลาบเมาะลำเลิง

    [​IMG]

    ดอกโบตั๋น ชนิดกลีบดอกไม่ซ้อนแน่น​

    [​IMG]

    สีชมพูอ่อน หวาน​


    [​IMG]

    ดอกโบตั๋นสีแดง ชนิดกลีบซ้อนแน่น​


    [​IMG]

    โบตั๋นบางพันธุ์ดอกใหญ่มาก เท่าหน้าคนก็มี​

    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=22949[/MUSIC]​


    กุหลาบเมาะลำเลิง กับ ต้นดอกโบตั๋น ทั้งสองพันธุ์เป็นตระกูลตะบองเพชรทั้งคู่มั้ง คืออ่านผ่านๆตาว่าตระกูลเดียวกัน​

    ดอกโบตั๋นนี้ อาจไม่มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยหรือไม่อย่างไรก็ไม่แน่ใจ ในสมัยอยุธยานั้นอาจใช้ดอกไม้ที่ใกล้เคียงกันเพื่ออ้างถึงกัน​



    [​IMG]

    ดอกโบตั๋นงามแบบมีบุคลิกอย่างกะสาวจีนชั้นสูง ที่ ​

    1. สวย
    2. ชาติตระกูลดี
    3. ภูมิรู้สูง(ความสุขุมลุ่มลึก)
    4. สูงส่ง(ดูแล้วไม่กล้าเด็ดมาเชยชม )

    ดอกโบตั๋นที่ปรากฏในภาพเขียนของบรรดาศิลปินจีนโบราณ แม้จะเป็นภาพเขียนสีขาวดำ แต่เรากลับรู้สึกว่ามันมีชีวิตชีวา คล้ายกับว่า สีสันทุกสีในโลกนี้มันมาบรรยายความงามไม่ได้จนต้องใช้เพียงสีขาว-ดำ ชมดอกโบตั๋นผ่านภาพศิลป์และบทกวี ชวนหลงใหลยิ่งกว่านี้อีกนะคะ

    โบตั๋นเป็นดอกไม้ที่ชาวจีนนิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวนกันอย่างมากมายเป็นเวลามากกว่าพันปีแล้ว ช่วงแรกๆมักจะปลูกกันในสวนของคนชั้นสูงหรือราชวงศ์
    ดอกโบตั๋น หรือ หมู่ตาน (牡丹花;Peony)
    เป็นดอกไม้ที่มีความหมายพิเศษสำหรับชาวจีน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
    โบตั๋น เป็นหนึ่งในดอกไม้อีกชนิดหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน
    ในสมัยราชวงศ์ชิง (แมนจู) ราวปี พ.ศ.2446 (ค.ศ.1903)

    ทางราชสำนักราชวงศ์ได้ประกาศให้ดอกโบตั๋น เป็นดอกไม้ประจำชาติจีน
    แต่ต่อมาเมื่อเปลี่ยนระบบการปกครอง จึงเปลี่ยนมาเป็นดอกเหมย แทนที่

    ต่อมาก็มีการสอบถามความคิดเห็นจากประชาชน
    ว่าดอกไม้ประจำชาติจีนควรเป็นดอกอะไรจึงจะเหมาะสมที่สุด

    ก็มีความคิดที่แตกต่างกันไปมากมายจนหาข้อสรุปไม่ได้
    บ้างก็ว่า ดอกโบตั๋น บ้างก็ดอกเหมย บ้างก็บอกว่าดอกกล้วยไม้จีน

    กุหลาบจีน และ ดอกเบญจมาศก็ติดอันดับการโหวตกะเขาด้วย
    ดอกโบตั๋น เป็นดอกไม้ที่มีความหมายดีๆเป็นมงคล

    กล่าวคือเป็นดอกไม้ที่เป็นตัวแทนของความมั่งมีศรีสุข
    มีลาภยศยิ่งใหญ่สูงส่ง ควรค่าแก่การยกย่องนับถือ
    และอีกความหมายหนึ่ง คือ ตัวแทนของความยุติธรรม




    เอาความหมายของดอกไม้ชนิดนี้มาลงไว้อ่านกันเพลินๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2009
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 93


    กรุงกัมพูชาขอเป็นเมืองขึ้น

    พระนเรศวรตีเมืองละแวกได้แล้ว มิได้แต่งตั้งผู้ใดปกครองไว้เพราะไม่มีเจตนาไปปล้นบ้านชิงเมืองเพื่อเอาราชสมบัติ นักพระศรัทธาซึ่งเป็นพระราชบุตรพระยาละแวกได้หนีออกจากเมืองไปในเวลากรุงแตกไปอยู่ในป่ากับบ่าวไพร่สามสิบคน ครั้นทราบว่าทัพไทยยกทัพกลับแล้วก็พากันกลับไปเมืองละแวกสืบต่อพระราชบิดา ทรงนามว่า พระสุธรรมราชา

    พระสุธรรมราชาเห็นว่าจะอยู่ให้เป็นสุข ก็ควรขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา จึงมีพระราชสาส์นมาขอเป็นประเทศราช ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระนเรศวรก็มีพระเมตตาแก่พระสุธรรมราชา มีราชสาส์นตอบรับไป

    ตีกรุงหงสาวดีครั้งแรก

    พระนเรศวรทรงดำริว่า ตั้งแต่เริ่มทำสงครามกันมามีพม่าเป็นฝ่ายยกมารุกรานไทยก่อนทุกครั้ง เพื่อจะป้องกันมิให้พม่ายกมารุกรานไทยอีก ควรยกไปตีพม่าให้เกิดความ ขยั้นครั่นคร้ามเสียบ้าง ครั้น พ.ศ. 2138 พระนเรศวรจึงนำทัพมี กำลังพลหนึ่งแสนสองหมื่นยกไปเมืองเมาะตะมะ จัดการรวบรวมเมืองมอญที่เอาใจออกห่างจากพม่ามาสมทบกับทัพไทยแล้วยกต่อไป ล้อมกรุงหงสาวดี

    การยกไปครั้งนี้ พระนเรศวรตั้งพระราชประสงศ์ไว้สามประการคือ

    (1) ถ้ากรุงหงสาวดีอ่อนแอพอจะตีเอาได้ก็จะตีเอาเลย

    (2) แต่ถ้ากรุงหงสาวดียังมีกำลังแข็งแรงอยู่ยังจะตีเอามิได้ ก็จะได้ศึกษาภูมิประเทศและเหตุการณ์ไว้เพื่อเตรียมยกไปตีใหม่ในคราวหน้า

    (3) พม่าได้กวาดต้อนเอาคนไทยไปหลายครั้ง ในการยกไปครั้งนี้ก็จะได้เอาคนไทยกลับคืนมา และจะกวาดต้อนเอาผู้คนชาวพม่ามาไว้เป็นกำลังในเมืองไทยบ้าง

    กองทัพไทยตั้งล้อมอยู่สามเดือนแล้วก็ยังตีเอาไม่ได้ พอได้ข่าวว่าเมืองแปรและเมืองอังวะกับเมืองตองอู ซึ่งเจ้าเมืองเป็นญาติกับพระเจ้าหงสาวดีกำลังยกทัพมาช่วย ขืนอยู่ไปก็จะโดนศึกกระหนาบ ซึ่งมีกำลังพลมากกว่าไทยหลายเท่านัก พระนเรศวรจึงเลิกทัพกลับมาใน พ.ศ. 2139 และได้กวาดต้อนเอาผู้คนมาด้วยเป็นอันมาก

    คราวนี้ไทยเป็นฝ่ายไปล้อมกรุงหงสาวดีบ้างแล้ว ไม่ใช่จะต้องตกเป็นฝ่ายรับแต่ฝ่ายเดียวอีกต่อไป
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่2 มี 7 หน้า จากนั้นก็จะเป็นสงครามครั้งสุดท้าย

    คือว่าสังขารไม่ให้เลยค่ะ ^^ พิมพ์หนังสือตอนกลางคืนแล้วมันลายตา

    พรุ่งนี้จะมาพิมพ์สงครามตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2 ให้สำเร็จ


    มีเรื่องที่พระองค์ไลถูกยกเป็นบุตรบุญธรรมของพระยาศรีธรรมาธิราชและ

    น้องสาวของพระยาศรีธรรมาธิราชนี้เป็นพระสนมในสมเด็จพระเอกาทศรถ

    และน้องสาวของพระยาศรีธรรมาธิราชผู้นี้ตามบันทึกของวันวลิตนั้นเป็น

    พระราชมารดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนั่นเอง

    แต่ทางสายธาตุไม่แน่ใจเลยว่าพระยาศรีธรรมาธิราชนี้เป็นใครเพียงแต่

    สันนิษฐานว่ามีเค้าโครงชื่อมาจากสายราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช

    ซึ่งสายวงศ์นี้สามารถส่งพระธิดามารับราชการฝ่ายในที่พระสนม

    ในตำแหน่ง พระอินทรเทวี ซึ่งฟังดูสอดคล้องกับชื่อของสมเด็จ

    พระเจ้าทรงธรรมที่มีพระนามเดิมว่า พระอินทรราชา นั่นเอง

    และตำแหน่งออกญาศรีธรรมาธิราชนี้ไปตรงกับราชทินนามเต็มๆ

    ของพระยาพระคลัง

    กรมคลัง...ออกญาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตพิพิทรัตนราชโกษาธิบดีอะไภยพีริยปรากรมภาหุ

    คิดว่าตำแหน่งพระยาพระคลังนี้น่าจะสงวนให้กับ

    ขุนนางที่มีสายเชื้อของราชวงศ์ เพราะเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้

    ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน และเจ้าพระยาโกษาเหล็ก

    เจ้าพระยาโกษาปานก็เคยดำรงตำแหน่งนี้ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

    ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวร ต่อมาถึงสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ

    จวบจนสมัยพระเจ้าทรงธรรม ตำแหน่งพระยาพระคลังอาจให้กับขุนนางจากสายวงศ์ศรีธรรมโศกราช

    อันมีสายสัมพันธ์กับราชสำนักมานานพร้อมทั้งได้ถวายธิดาไว้ที่พระสนมเอกด้วย

    จึงคาดว่าออกญาศรีธรรมาธิราชนี้น่าจะดำรงตำแหน่งพระยาพระคลังนั่นเอง

    “บิดาของออกญากลาโหม (พระเจ้าปราสาททอง) เป็นพี่ชายคนใหญ่ของพระชนนีของพระเจ้าทรงธรรม

    ชื่อว่าออกญาศรีธรรมาธิราช (Oya Sidarma Thyra) ท่านผู้นี้มียศบรรดาศักดิ์ แต่พ้นจากราชการ

    ไม่มีส่วนในกิจการบ้านเมืองเลย (ความในภาษาอังกฤษว่า Calahom’s father was the eldest and legimate

    brother of the mother of the Grate King, and was called Oya SidarmaThyra)


    หรือจะมีแต่ยศไม่มีตำแหน่งแล้ว ทางสายธาตุไม่แน่ใจว่าเชื้อสายของพระองค์ไลได้รับการยอมรับแค่ไหนในราชสำนักไทย


    ซึ่งความยอมรับอาจเป็นเหตุให้ต้องยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของออกญาเพื่อให้ปกครองบ้านเมืองราบรื่นก็ได้


    โดยพระองค์ไลต้องแยก ให้เจ้าขรัวมณีจันทร์มีประวัติเป็นชายาของพระนเรศวรคงไว้ เพื่อจะได้ไม่ผิดตัวว่า


    เจ้าขรัวมณีจันทร์นี้ได้เคยดำรงตำแหน่งพระชายาแห่งองค์มหาราชมาก่อน ส่วนตัวของพระองค์ยอมได้ชื่อว่า


    เป็นเพียงบุตรบุญธรรมของออกญาศรีธรรมาธิราชและยอมลดลงเป็นสามัญชนอยู่นานทีเดียว


    และปีพ.ศ.เกิดของพระองค์ไลที่ระบุว่า พ.ศ. 2143 นั้นที่จริงควรจะเป็น พ.ศ. 2130


    เพื่อสอดคล้องกับชีวิตใหม่ประวัติใหม่ พระองค์อาจให้ลดอายุลง 10 ปี แต่ที่มีลดลงไปอีก 3 ปี


    มาจากพระองค์ไลทรงเปลี่ยนปีปฎิทินไป 3 ปี วัน วลิตเข้ามาในสมัยของพระองค์ ก็อาจจะจดปี


    ตามที่คนไทยระบุให้ฟัง ภรรยาวัน วลิตเป็นคนไทยก็อาจจะพูดตามที่ทางการแจ้งออกมาว่า


    พระเจ้าปราสาททองเกิดปีใด พ.ศ.ใด แต่ที่พระองค์ไม่เคยลืมเลยคือการยกฐานะของพระองค์บัว


    ให้ขึ้นมามีฐานันดรศักดิ์สูงเท่าหรือยิ่งกว่าเดิม หากเจ้าขรัวมณีจันทร์มีอายุที่ยาวกว่านี้


    พระนางคงจะหมดห่วงที่พระองค์ไลปลอดภัยและได้รับพระเกียรติยศคืนมาสมความยิ่งใหญ่ในสายเลือดของพระองค์


    พระเจ้าปราสาททองนี้มีความกตัญญูสูงมาก เพื่อให้คนได้ระลึกถึงพระราชมารดา


    จึงสร้างวัดไชยวัฒนาราม บนที่ดินเดิมที่เคยเป็นท่าเรือสินค้าของครอบครัว


    และพระองค์ท่านอาจได้เข้ามาจัดการใหม่เกี่ยวกับพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยเป็นแน่


    เพราะพระองค์ทรงอำนาจสิทธิ์ขาดเมื่อขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2009
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 94


    ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2

    พระนเรศวรกลับจากไปเหยียบชานเมืองหงสาวดีมาแล้วก็สงบรอโอกาสอยู่สองปี ในระหว่างนั้นในเมืองพม่าได้เกิดเรื่องแตกความสามัคคีกันขึ้น เพราะการที่กรุงหงสาวดีเอาชนะไทยไม่ได้ มิหนำมีแต่แพ้แล้วแพ้เล่า จนถึงกับกองทัพไทยไปตั้งล้อมกรุงหงสาวดีอยู่ตั้งสามเดือน ซึ่งไม่เคยมีเชื้อชาติใดเคยทำมาก่อน มันเป็นการแสดงว่าพระเจ้าหงสาวดีหมดศักดิ์ศรี พระบรมเดชานุภาพไม่มีเหลืออยู่อีกแล้ว เพราะฉะนั้นเมืองขึ้นที่พลเมืองไม่ใช่เป็นเชื้อชาติพม่าก็ไม่ยอมขึ้นกับพม่าต่อไป ส่วนเมืองที่พลเมืองเป็นพม่า และเจ้าเมืองเป็นญาติกับพระเจ้าหงสาวดีสมัยนั้น มันหมายถึงเป็นหัวหน้าของคนเชื้อชาติพม่าทั้งหมด

    เหตุที่เกิดแตกสามัคคีขึ้นในพม่านั้นก็คือ ระหว่างที่กองทัพไทยไปตั้งล้อมกรุงหงสาวดีอยู่ พระเจ้าตองอูซึ่งเป็นลูกของลุง พระเจ้าอังวะซึ่งเป็นราชบุตรไปถึงก่อน พระเจ้าหงสาวดีก็ตรัสยกย่องให้บำเหน็จ แต่พระเจ้าแปรซึ่งเป็นราชบุตรอีกองค์หนึ่งยกทัพไปช้าถึงกลางทางทราบข่าวเข้า ก็น้อยใจ และแค้นใจว่า พระเจ้าตองอูยุยง จึงยกทัพไปตีเมืองตองอูเสียเลย แต่นัดจินหน่อง บุตรพระเจ้าตองอูรักษาเมืองไว้ได้ พระเจ้าแปรเลยกลับไปตั้งแข็งเมือง

    ต่อมากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างก็ตั้งแข็งเมืองบ้าง พระเจ้าหงสาวดีกลัวเมืองขึ้นจะพากันแข็งเมืองหมด จึงสั่งให้เจ้าประเทศราช ส่งบุตรหลานไปฝึกราชการในกรุงหงสาวดี คือจะเอาไว้เป็นตัวประกัน แบบเดียวกับบุเรงนองขอเอาพระนเรศวรไปเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมืองเชียงใหม่ เมืองตองอู เมืองยะไข่เฉยเสียไม่ส่งไป พระเจ้าหงสาวดีก็ไม่มีน้ำยาอะไรจะไปบังคับได้
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 95

    ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2 (ต่อ)

    อนึ่ง พระยาศรีไสยณรงค์ที่ส่งไปช่วยคุ้มครองป้องกันเมืองเมาะลำเลิงได้รายงานเข้ามาว่า พระเจ้าแปรที่ยกล่วงด่านเข้ามาแล้วถูกตีแตกไปนั้น ได้ถูกถอดจากยศศักดิ์ ไพร่พลที่มาด้วยแล้วแตกทัพนั้น ก็กลัวพระเจ้าหงสาวดีจะลงโทษเอาไฟคลอกเสีย จึงไม่กลับเมืองไปตั้งคุมกันอยู่ในป่า พวกข้าหลวงไปจับก็ต่อสู้ หัวเมืองทั้งหลายเห็นพระเจ้าแปรถูกลงโทษก็พากันกระด้างกระเดื่องอยู่

    พระนเรศวรเห็นได้โอกาส จึงให้เจ้าพระยาจักรีถือพลหมื่นห้าพันไปตั้งยุ้งฉางทำไร่นาเตรียมเสบียงอาหารไว้ และให้ตั้งกองต่อเรือรบเรือไล่ที่เกาะพะรอก แขวงเมืองวังราว ให้เมืองทะวายเกณฑ์พลห้าพันไปตั้งที่เกาะพรวนทางฝั่งตะวันตก เป็นกองหนุนเจ้าพระยาจักรี ส่วนกองทัพพระยาศรีไสยณรงค์คงตั้งอยู่ต่อไป แต่ตัวพระยาศรีไสยณรงค์ให้ไปทำงานในกรุงศรีอยุธยา

    ฝ่ายพวกเจ้าเมืองมอญเมืองพม่าทั้งหลาย มีเมืองเมาะตะมะ เมืองละเคิ่ง เมืองขลิก เมืองบัวเผื่อน เมืองยะไข่ เมืองพะสิม และเมืองตองอูรู้ข่าวว่าไทยเตรียมจะยกไปตีกรุงหงสาวดี ก็คิดเอาตัวรอด ลอบแต่งหนังสือกับเครื่องราชบรรณาการส่งผ่านเจ้าพระยาจักรีเข้ามาขออ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยา และรับว่าถ้ากองทัพไทยยกไปเมื่อใดก็จะคอยช่วยเหลือ พระนเรศวรก็รับไว้

    ครั้งนั้นในเมืองตองอู มีพระภิกษุองค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาส ชื่อมหาเถรเสียมเพรียมได้เข้าไปหาพระเจ้าตองอูแนะนำว่า เรื่องอะไรจะไปยกเมืองให้แก่ไทย ควรเอาตัวพระเจ้าหงสาวดีมารักษาไว้แล้วก็เป็นใหญ่ในพม่าเสียเองจะดีกว่า พระเจ้าตองอูเลื่อมใสจึงทำตามอุบายที่พระมหาเถรเสียมเพรียมแนะให้ จึงมีหนังสือไปขู่เจ้าเมืองมอญทั้งหลายว่า ตนรู้ว่าเมืองมอญเหล่านั้นคิดกบฏ ถ้าตนทูลพระเจ้าหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีก็คงจะใช้ให้ตนมาปราบปราม แต่ถ้าเจ้าเมืองเหล่านั้นกลับใจมาทำความชอบแก่แผ่นดินตนก็จะไม่กราบทูลพระเจ้าหงสาวดี การทำความชอบแก่แผ่นดินก็คือ คอยจับพวกคนไทยในกองทัพที่มาตั้งอยู่ ณ เมืองเมาะลำเลิงนั้น อย่าให้ทำนาสะสนเสบียงได้ พวกเจ้าเมืองมอญทั้งหลายได้รับหนังสือขู่ ก็เกรงกลัวจึงปฎิบัติตามที่พระเจ้าตองอูแนะนำ เจ้าพระยาจักรีเห็นพวกมอญกลับกลายมาแสดงตัวเป็นศัตรู ก็มีรายงานเข้ามา
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล

    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 96

    ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2 (ต่อ)

    พระนเรศวรทรงทราบก็ตรัสว่า เจ้าพระยาจักรีก็เคยทำสงครามมาแต่ไม่มีปัญญาที่จะไปตีเมืองที่กลับมาเป็นศัตรูเหล่านั้น โดยเฉพาะเมืองเมาะตะมะ ก็ตั้งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำเท่านั้น ทำศึกเหมือนทารกอมมือเช่นนี้ จะฆ่าเสียก็เสียดายคมหอกคมดาบ จึงมีหนังสือคาดโทษไปว่า จะตีเอาเมืองเมาะตะมะได้หรือไม่ ถ้าเห็นว่ามีแต่ได้ฝ่ายเดียวก็ให้ตีเอา ถ้าเห็นว่าจะตีเอาไม่ได้ ก็ให้รักษาแต่เมืองเมาะลำเลิงไว้ให้มั่นจนกว่าทัพหลวงจะยกมาตีเอง ปรากฏว่าเจ้าพระยาจักรีไม่กล้าตี ได้แต่เร่งต่อเรือรบเรือไล่จนเสร็จ และแต่งทัพออกไปป้องกันให้คนเกี่ยวข้างกองละห้าร้อยคน คอยสะกัดตีมอญที่มารังควานอยู่ทุกวัน พวกมอญเห็นทัพไทยเอาจริง ต่อสู้ต้านทานไม่ได้ ก็หนีเข้าป่าไป ฝ่ายไทยก็เร่งเกี่ยวข้าวเข้าฉางไว้จนครบ

    ครั้นถึงเดือน 3 ขึ้น 1 ค่ำ พ.ศ. 2142 ทัพหลวงก็ยกไปมีกำลังพลแสนหนึ่ง ช้างแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย เดินทัพห้าวันถึงกาญจนบุรี ก็หยุดพักแรม เวลา 10 ทุ่ม พระนเรศวรทรงสุบินว่ามีหมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง มาคาบเอาช้างใหญ่พาไปที่อยู่ของมัน พระองค์ตามไปชิงเอาก็ชิงเอามิได้ เมื่อตื่นบรรทมถามโหรดู โหรทูลว่าฝันนี้เป็นเทพสังหรณ์บอกเหตุให้ทราบล่วงหน้า ไม่มีอันตรายต่อพระองค์ คือจะมีเจ้าเมืองใดเมืองหนึ่ง มาปลอมปล้นเอาพระเจ้าหงสาวดีไปไว้ยังเมืองของตน พระนเรศวรไม่เชื่อโหร ตรัสว่าพระเจ้าหงสาวดีเป็นใหญ่ในรามัญประเทศมาตั้งแต่ครั้งพระราชบิดาเรา มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น คงจะไม่มีใครกล้าอาจเอื้อมทำอันตรายดอก แต่เราจะต้องไปแก้แค้นเมืองเมาะตะมะ และหัวเมืองมอญทั้งปวงที่บังอาจดูหมิ่นเราเสียก่อน ส่วนเรื่องอื่นนั้นเอาไว้ค่อยคิดต่อไปภายหลัง

    รุ่งขึ้นเดินทัพอีกเจ็ดวัน ถึงด่านพระเจดีย์สามองค์ พักทัพที่ลำน้ำกษัตริย์ พวกลาดตระเวนทราบก็แจ้งแก่เจ้าเมืองเมาะตะมะ เจ้าเมืองเมาะตะมะก็บอกต่อไปกรุงหงสาวดีและเมืองตองอู ขณะนั้นพระเจ้าหงสาวดีประชวรอยู่ สั่งให้เสนาบดีช่วยกันรักษาเมือง จึงให้แจ้งไปให้พระยาตองอูซึ่งเป็นหลานให้เร่งยกทัพมาช่วย และแจ้งไปยังหัวเมืองอื่นๆด้วย
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 97


    ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2 (ต่อ)

    และพระยาตองอูกับพระเจ้าเมืองยะไข่นั้น เคยมีหนังสือมาทูลพระนเรศวรว่า ถ้าพระองค์ยกไปถึงหงสาวดีเมื่อใด ก็จะยกทัพมาช่วย ทั้งนี้เพราะเจ้าเมืองยะไข่อยากจะได้เมืองขึ้นของหงสาวดีที่อยู่ชายทะเลต่อแดนกับเมืองยะไข่ เมื่อพระนเรศวรทรงรับเป็นไมตรีแล้ว พระเจ้ายะไข่ก็ยกทัพมายึดเมืองสิเรียม ซึ่งอยู่ปากน้ำเมืองหงสาวดีไว้ คอยรอท่ากองทัพไทย ส่วนพระยาตองอูก็อยากจะเป็นพระเจ้าหงสาวดีแทนในเมื่อพระนเรศวรตีเมืองหงสาวดีได้แล้ว

    แต่พระยาตองอูมาเปลี่ยนแผน เมื่อพระมหาเถรเสียมเพรียมแนะนำ นอกจากยุยงและขู่เจ้าเมืองมอญให้ต่อต้านกองทัพไทยแล้ว ก็ยังชักชวนพระเจ้ายะไข่ให้ยกไปติดเมืองหงสาวดี แล้วพระยาตองอูจะทำทียกมาช่วยพระเจ้าหงสาวดี พอทัพเมืองตองอูเข้ากรุงหงสาวดีได้ก็จะอย่าทัพกับพระเจ้ายะไข่เสีย และจะยกเมืองชายทะเลให้พระเจ้ายะไข่ด้วย พระเจ้ายะไข่เห็นว่าจะได้ประโยชน์มากกว่ารอท่ากองทัพไทย จึงตกลงด้วย

    ดังนั้นพอได้ทราบข่าวกองทัพไทยยกมาแล้ว จึงมีหนังสือหลอกลวงไปถึงเมาะตะมะ ให้กวาดต้นผู้คนเข้าเมืองเมาะตะมะ และให้ชักชวนหัวเมืองมอญทั้งหมดช่วยกันต่อสู้ป้องกัน อย่าให้กองทัพไทยข้ามแม่น้ำมาเมืองเมาะตะมะได้ ถ้าศึกหนักก็บอกไปจะยกทัพเมืองตองอูมาช่วย เวลานี้จะต้องรีบไปกรุงหงสาวดีก่อน ครั้นแล้วพระยาตองอูก็ถือพลหมื่นหนึ่งรีบยกไปกรุงหงสาวดี พลเมืองที่เหลือก็ให้เอาเข้าไว้ในเมืองตองอูหมด

    ฝ่ายพระเจ้ายะไข่ก็จัดการตามตกลง ยกทัพจากเมืองสิเรียมไปติดกรุงหงสาวดีไว้ ครั้นกองทัพเมืองตองอูมาถึง พระเจ้าหงสาวดีเกิดระแวงพระทัย จึงไม่ให้กองทัพตองอูเข้ากรุง ให้เข้าไปได้แต่พระยาตองอูเท่านั้น กรุงหงสาวดีจึงมีกองทัพเมืองยะไข่กับเมืองตองอูล้อมไว้
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 98

    ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2 (ต่อ)

    ข้างพระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตะมะไม่รู้ว่าถูกหลอก จึงสั่งเมืองมอญทั้งหลายที่ขึ้นกับเมืองเมาะตะมะ 32 หัวเมือง ให้อพยพคนเข้าอยู่ในเมืองเมาะตะมะ แต่ปรากฏว่ามีหลายเมืองไม่ยอมปฎิบัติตามกลับพาคนหนีเข้าป่าเสีย ที่ยอมไปอยู่เมืองเมาะตะมะก็มีแต่เมืองที่คิดว่าเมืองเมาะตะมะจะสู้กองทัพไทยได้

    พระนเรศวรพักพลที่แม่น้ำกษัตริย์สามวัน ก็เดินทัพต่ออีกหกวันถึงเมืองเมาะลำเลิง พักอยู่สามวันก็ให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพยกข้ามแม่น้ำไปตีเอาเมืองเมาะตะมะ รุ่งขึ้นเจ้าพระยาจักรีก็ยกทัพข้ามแม่น้ำไป พระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตะมะแต่งเรือรบออกต่อสู้ก็พ่ายแพ้ ทหารไทยขึ้นฝั่งได้ก็รุกไล่ปีนกำแพงเข้าไปยึดเมืองเมาะตะมะได้ พระยาลาวกับท้าวพระยามอญทั้งหลายขึ้นช้างหนีไปได้ 50 เส้น ก็ถูกหมื่นสุดจินดากับทหารจับตัวได้ ไพร่พลมอญแตกหนีซอกซอนไปอยู่ทุกตำบล ถูกทหารไทยไล่ฆ่าฟันตายมาก พระนเรศวรให้เอาตัวพระยาลาวมาคว่ำเฆี่ยน แล้วคุมตัวเอาไปพิจารณาโทษในเมืองไทย แล้วสั่งลำเลียงช้างม้ารี้พลข้ามแม่น้ำไป รุ่งขึ้นจึงยกไปตั้งทัพอยู่ในเมืองเมาะตะมะ

    ส่วนเจ้าพระยาจักรีนั้น ให้เอาตัวจำขังไว้ ณ เมืองเมาะลำเลิง ให้พระยาธนบุรีกับขุนหมื่นทั้งหลายอยู่รักษาเมืองเมาะลำเลิงแทน ให้กวาดต้อนชาวมอญที่แตกหนีเข้ามาอยู่ในเมืองเมาะลำเลิง กับให้เจ้าพระยาสวรรคโลก พระยาพิชัย พระยากาญจนบุรี อยู่รักษาเมืองเมาะตะมะ ส้องสุมพวกมอญที่กระจัดกระจายไปนั้นมารวมไว้ ต่อจากนั้นก็ยกทัพโดยทางบกจากเมืองเมาะตะมะไปถึงฝั่งแม่น้ำสะโตง

    ฝ่ายทางกรุงหงสาวดีนั้นก็เกิดว้าวุ่น ไหนกองทัพไทยกำลังยกมา ไหนทัพเมืองยะไข่ก็มาตั้งอยู่เตรียมจะโจมตี ส่วนกองทัพเมืองตองอูนั้นจะเป็นศัตรูหรือมิตรก็ยังไม่แน่ พวกข้าราชการแตกออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งเชื่อว่าพระยาตองอูนั้นซื่อสัตย์ควรให้เข้ามาตั้งอยู่ในกรุง อีกพวกหนึ่งไม่ไว้ใจ ครั้นพระเจ้าหงสาวดีได้ข่าวว่า พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถมาถึงเมืองเมาะตะมะแล้ว มีความหวาดกลัวยิ่งนัก กลัวจักถูกทำพิธีประถมกรรมแบบพระยาละแวก ประกอบกับพระญาติวงศ์ และข้าราชการไพร่บ้านพลเมือง ก็พากันหนีทิ้งพระองค์ไปเข้ากับพระยาตองอูมากแล้ว จะทำลังเลอยู่ต่อไปมิได้ ด้วยกองทัพไทยเดินใกล้เข้าไปทุกที จึงจำใจอนุญาตให้พระยาตองอูนำทัพเข้ากรุงหงสาวดี และมอบหน้าที่พระยาตองอูเป็นผู้บัญชาการแทนพระองค์ทุกอย่าง
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 99

    ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2 (ต่อ)

    พระยาตองอูจึงอย่าทัพกับพระเจ้ายะไข่ ตามที่ตกลงกันไว้ กับขอให้ทัพยะไข่พยายามหน่วงเหนี่ยวทัพไทยไว้ด้วย แล้วก็จัดการเก็บทรัพย์สินมีค่า และกวาดต้อนผู้คนมารวมไว้ พอทราบข่าวว่าเสียเมืองเมาะตะมะแก่ไทยแล้ว ก็ให้ทหารเผาค่ายหอรบปราสาทราชวัง วัดวาและเหย้าเรือนในกรุงหงสาวดีหนีหมด แล้วรีบกวาดต้อนตองอูปล่อยกรุงหงสาวดีให้ทหารยะไข่เข้าค้นเก็บทรัพย์ที่เหลืออยู่ กรุงหงสาวดีที่ใหญ่โตมโหฬาร และเคยทำความเดือดร้อนให้กับคนไทยก็ถึงแก่กาลพินาศฉิบหาย เพราะเวรตามทันด้วยประการฉะนี้

    ฝ่ายทัพไทยถึงแม่น้ำสโตง พระนเรศวรก็ให้พระยามหาเทพคุมกองทัพม้าสองร้อยยกล่วงหน้าไปก่อน ให้พระยาเพชรบุรีคุมพลสามพันหนุนตามไป แล้วจัดการนำทัพหลวงข้ามแม่น้ำสโตง เดินทัพต่อไปยังหงสาวดี พวกเมืองยะไข่ทราบว่าทัพไทยยกไปก็พากันหนีไปสิ้น เมื่อพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถไปถึงกรุงหงสาวดีนั้น พระยาตองอูพาพระเจ้าหงสาวดีหนีไปแปดวันแล้ว พระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นกรุงหงสาวดีเหลือแต่ซากโทรมอยู่ ก็ให้ตั้งทัพในตำบลสวนหลวง แล้วตรัสกับท้าวพระยานายทัพนายกองว่า

    พระยาตองอูให้คนถือสาส์นไปขอเป็นไมตรีกับเรา และสัญญาให้เรายกทัพหลวงมาช่วยรบเอาเมืองหงสาวดี แล้วพระยาตองอูก็ไม่รอทัพหลวงยกมาปล้นเอาเมืองหงสาวดีเสียเอง ครั้นรู้ว่าเรายกมาหงสาวดีก็มิได้แต่งทูตมาตามทางไมตรี กลับหนีไปเมืองตองอูเสีย ควรเราจะยกทัพไปเมืองตองอูให้รูแน่ว่าพระยาตองอูจะเป็นไมตรีกับเราหรือไม่เป็น พระองค์จึงให้พระจันทบุรีกับพวกอยู่รั้งเมืองหงสาวดีแล้วยกทัพไปเมืองตองอู ซึ่งเป็นทางกันดารอยู่ห่างจากหงสาวดีไป 6,000 เส้น มีภูเขาเป็นเขต ตลอดระยทางไม่มีผู้ใดมาต่อสู้ พอถึงจึงตั้งล้อมเมืองไว้
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 100

    ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2 (จบ)

    พระยาตองอูให้ทูตนำแหวนทรงสามยอดของพระเจ้าหงสาวดีมาถวาย พระนเรศวรสั่งทูตตองอูไปว่า ที่ยกทัพมานี้ไม่ใช่จะมาตีเมืองหงสาวดี แต่พระยาตองอูมีสาส์นไปเชิญเราให้มาเอาเมืองหงสาวดีเอง และพระยาตองอูจะยกพลมาช่วยด้วย แต่พระยาตองอูกลับไม่คอยทัพหลวง ชิงปล้นเอาเมืองหงสาวดีเสียเอง เพราะฉะนั้นได้ช้างดี ม้าดีเท่าใด ให้ส่งไปถวายตามทางไมตรี แล้วพระองค์จะยกทัพกลับไป แต่พระยาตองอูก็เฉยเสียไม่ตอบ เพราะว่าก่อนทัพไทยไปถึงนั้น พระยาตองอูได้ย้ายเอาช้างใหญ่ไปซ่อนไว้นอกเมืองแล้ว เมื่อไม่ตอบพระนเรศวรก็สั่งให้โจมตี

    แต่เรื่องช้างนี้ ทหารไทยไปลาดตระเวนพบชาวตองอูนำไปซ่อนไว้ไกลถึงตำบลแม่ช้าง ใกล้กับเมืองอังวะ จึงจับเอามาได้ถึง 50 เศษ

    เมืองตองอูนั้นมีคูเมืองกว้างและลึกมาก พระนเรศวรให้ขุดเหมืองระบายน้ำในคูเมืองให้ไหลไปลงแม่น้ำ เหมืองนั้นในปัจจุบันยังมีอยู่ พม่าเรียกว่าเหมืองสยาม พอน้ำในคูเมืองแห้งก็ยกเข้าปล้นเมืองหลายครั้ง ชาวเมืองได้ต่อสู้ป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งมาก ปล้นไม่สำเร็จ ครั้นนานเข้าก็เกิดขัดสนเสบียงอาหาร เพราะแต่เดิมเตรียมมาเพียงแค่ตีเมืองหงสาวดีเท่านั้น ทหารไทยเที่ยวออกลาดตระเวนหาข้าวทั่วเขตตองอู ไปจนถึงแดนเมืองอังวะ ราคาข้าวแพงถึงทะนานละสิบสลึงถึงสามบาท

    ทัพไทยพยายามตีเมืองตองอูอยู่สองเดือนถึงต้น พ.ศ. 2143 รี้พลอดอยากซูบผอมถึงล้มตายก็มี ทั้งฝนก็ตกหนัก ความไข้ก็ชุก พระนเรศวรจึงให้เลิกทัพเดินทางกลับ ฝ่ายตองอูก็ไม่ส่งทัพออกตามตี เพราะในเมืองตองอูเอง ก็อดอยากอิดโรยอยู่เหมือนกัน ทัพไทยจึงถอยมาได้โดยสะดวก
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เพลง พระนเรศวรมหาราช

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.555475/[/MUSIC]


    เนื้อร้อง / ทำนอง/ขับร้อง กัญญนัทธ์ ศิริ

    สงวน ลิขสิทธ์ 22 ม.ค 2552
    <!-- google_ad_section_end -->​
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 101


    ชำระคดีเมืองเชียงใหม่

    ขณะนั้นเจ้าเมืองต่างๆ ในลานนาไทยมีเมืองเชียงแสน เชียงรายเป็นต้นไม่ชอบพระเจ้าเชียงใหม่ จะเอาพระยารามเดโชเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน พวกนี้ได้นำความไปฟ้องถึงเมืองตองอู พระนเรศวรจึงให้พระเอกาทศรถแบ่งกองทัพ แยกไปเมืองเชียงใหม่ไประงับข้อพิพาท ส่วนพระองค์นำทัพกลับมาทางเมืองเมาะตะมะ ดูแลเมืองมอญทั้งปวงแล้ว เสด็จกลับพระนครกวาดต้อนพม่ามอญมาด้วยเป็นอันมาก

    ครั้งนี้พระเจ้าเชียงใหม่มังนรธาช่อกับพระยารามเดโช ไปเจรจากันที่เมืองลำพูน โดยมีพระเอกาทศรถเป็นประธาน ในปี พ.ศ. 2143 พระเจ้าเชียงใหม่ถวายเจ้านางโยธยามี๊พระยา พระธิดาพระเจ้าเชียงใหม่มาถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหลังจากระงับข้อพิพาทได้เรียบร้อยแล้ว
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา

    ข้อความในพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขาอยู่ตอนหนึ่งที่ว่า

    “ลุศักราช ๙๕๓ ปีเถาะตรีศก พระศรีสุพรรณมาธิราช ผู้เป็นพระยาละแวก ก็ให้พระยากลาโหมผู้เป็นลูกเขยมากราบทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ว่า พระยาอ่อนอันหนีไปอยู่ด้วยซองพรรค์ในตำบลแสงสโทงนั้น ประมูลซองพรรค์ทั้งปวงได้มากแล้ว ว่าจะยกมารบพระยาละแวก พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการให้แต่งทัพ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระมหาธรรมราชา และช้างเครื่อง ๕๐ ช้าง ม้า ๑๐๐ พล ๑๐,๐๐๐ และเจ้าพระยาธรรมาธิบดี เจ้าพระยาสวรรคโลก พระยากำแพงเพชร พระยาสุโขทัย พระยาพันธารา ยกไปทางโพธิสัตว์ และยกให้ไปตีทัพพระยาอ่อนในตำบลแสงสโทงนั้น ครั้งตีทัพพระยาอ่อนแตกฉานแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ก็ยกทัพคืนมาโดยทางพระนครหลวงมาถวายบังคม พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์

    อีกฉบับหนึ่งของพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ก็มีข้อความที่ว่านี้ด้วย แต่เขียนสั้นกว่า “ศักราช ๙๖๕ เถาะศก ทัพพระเจ้าฝ่ายหน้า เสด็จไปเอาเมืองขอมได้”

    ตำแหน่ง “พระเจ้าฝ่ายหน้า” นั้นเป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบให้กับองค์อุปราชเสมอ แต่ตำแหน่ง “พระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชา” นี้เมื่อบวกลบคูณหารออกมาแล้วก็น่าเชื่อว่าเป็นคนๆ เดียวกัน


    คำถามที่ว่าพระองค์ทรงเป็นลูกเธอของใครนั้น เป็นคำตอบที่หาไม่ยากครับ พระราชโอรสของสมเด็จพระนเรศวรนั้น ในพงศาวดารไม่เคยระบุชื่อ ส่วนลูกเธอของพระเอกาทศรถนั้น พงศาวดารยืนยันชัดเจนว่าทรงมีอยู่ ๒ พระองค์คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาค ฉะนั้นคำตอบที่ถูกต้องก็คือ พระมหาธรรมราชา ทรงเป็นลูกเธอของสมเด็จพระนเรศวรอย่างไม่ต้องสงสัย

    ส่วนพระชายาของพระนเรศวรนั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าน่าจะเป็นคนๆ เดียวกับที่วัน วลิต ระบุนามเอาไว้ว่า “เจ้าขรัว มณีจันทร์” ผู้เป็นชายาหม้ายของพระนริศ พระองค์ดำ


    ศักราช 965 เป็นปีพ.ศ. 2146 พระองค์ไลน่าจะมีพระชนมายุ 16 ชันษาแล้ว พระองค์ท่านอาจได้รับพระบรมราชโองการให้ไปตีเขมร...ทางสายธาตุ


    คัดมาจาก
    PANTIP.COM : K4863557

    ในปีเดียวกันนั้นทางเมืองหลวงกำลังเตรียมไพร่พล โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถจะเสด็จไปตีตองอูอีกครั้ง


    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสวรรคตในปี พ.ศ. 2148 พระองค์ไลจึงมีพระชนมายุ 18 ชันษา

    ปรากฏในเอกสารชาวต่างชาติในฐานะพระราชนัดดาสมเด็จพระเอกาทศรถในจดหมายเหตุชาวต่างชาติ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    จากจดหมายเหตุฟานฟลีต (The Historical Account of the War of Succession Following the Death of King Pra Interajasia, 22nd King of Ayuthian Dynasty) เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet)

    "ขณะนั้นออกญากลาโหมเพิ่งมียศเป็นพระหมื่นศรีสรรักษ์ และมีอายุประมาณ ๑๘ ปี วันหนึ่งเมื่อมีการทำพิธีนี้เขาได้อยู่ที่ชนบทนั้นด้วย โดยมากับน้องชายซึ่งบัดนี้เป็นฝ่ายหน้าหรือมหาอุปราช ทั้ง ๒ คนขี่ช้างมีบ่าวไพร่ติดตามมาหลายคน และได้โจมตีพระยาแรกนาอย่างดุเดือด ดูเหมือนว่ามีเจตนาจะฆ่าพระยาแรกนาและกลุ่มผู้ติดตามทั้งหมดด้วย ฝ่ายองครักษ์เห็นดังนั้นก็เข้าต่อสู้ป้องกันพระเจ้าแผ่นดินปลอม ต่อต้านสองขุนนางหนุ่ม และขว้างก้อนหินไปถูกน้องชายได้รับบาดเจ็บ พระหมื่นศรีสรรักษ์ก็ถอดดาบและโถมเข้าสู้อย่างดุเดือด จนพระยาแรกนาและองครักษ์จำต้องถอยหนี พระยาแรกนากลับมายังพระราชวังและนำความกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวถึงเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดยพระหมื่นศรีสรรักษ์เป็นผู้ก่อ"

    น้องชายที่เป็นฝ่ายหน้าหรือมหาอุปราชก็คือเจ้าฟ้าสุทัศน์ (ลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ไล)


    "พระเจ้าอยู่หัวกริ้วเป็นกำลังถึงเรื่องความชั่วร้ายที่ได้เกิดขึ้น พระองค์รับสั่งให้ค้นหาตัวพระหมื่นศรีสรรักษ์ และให้นำมายังพระราชวัง แต่คนชั่วผู้นี้รู้ตัวดีว่ามีผู้ติดตามจับ จึงซ่อนตัวอยู่ในโบสถ์กับบรรดาพระสงฆ์ และไม่กล้าเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินในขณะที่ทรงพิโรธหนัก เมื่อพระเจ้าแผ่นดินไม่อาจลงโทษให้สมกับพระอารมณ์ขุ่นเคืองได้ ออกญาศรีธรรมาธิราชจำต้องได้รับผลการกระทำนี้ พระองค์รับสั่งว่าจะประหารชีวิตเขาถ้าหากไม่นำตัวบุตรชายมาเฝ้า พระหมื่นศรีสรรักษ์เมื่อทราบข่าว จึงออกจากที่หลบซ่อนมาเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว และทูลขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ถูกมหาดเล็กจับตัวไว้ พระเจ้าแผ่นดินทรงฟันเขา ๓ ทีที่ขาทั้ง ๒ ข้าง จากหัวเข่าลงมาถึงข้อเท้า แล้วพระองค์จับเขาโยนเข้าไปในคุกใต้ดิน รับสั่งให้พันธนาการไว้ด้วยโซ่ตรวนที่ส่วนทั้ง ๕ ของร่างกาย พระหมื่นศรีสรรักษ์ถูกจำขังอยู่ในคุกมืดเป็นเวลา ๕ เดือน จนกระทั่งเจ้าขรัวมณีจันทร์ (Zian Croa Mady Tjan) ชายาม่ายของพระเจ้าอยู่หัวในพระโกศ คือพระ Marit หรือพระองค์ดำ ได้ทูลขอ จึงได้กลับเป็นที่โปรดปรานอีก"

    เหตุการณ์น่าจะเกิดภายหลังการพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชผ่านไปแล้ว ระหว่างนี้พระองค์ไลคงดำรงฐานะเป็นสามัญชนแล้วได้รับยศเป็นจมื่นศรีสรรักษ์ต้องโทษคุมขัง จึงปรากฎชื่อของเจ้าขรัวมณีจันทร์ไปช่วยจมื่นศรีสรรักษ์ให้ออกจากคุกคุมขัง


    การแก่งแย่งชิงราชสมบัติเกิดขึ้นเสมอๆในสมัยอยุธยา หากเรามองด้วยใจเป็นกลางก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก ตำแหน่งสูงสุดมีตำแหน่งเดียว คนอยากได้ตำแหน่งนั้นมีมากกว่าหนึ่งก็ต้องชิงชัยกัน ธรรมดา แม้หลังจากสมัยพระเจ้าปราสาททองเองก็ดี ที่น้องชายพระเจ้าปราสาททอง(น่าจะเป็นบุตรออกญาศรีธรรมาธิราชคนหนึ่ง)ร่วมกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระเจ้าไชย แล้วก็ต่อจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ถูกพระเจ้าเสือกับพระเพทราชา ร่วมกันชิงราชสมบัติอีก เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่ปรากฎเป็นธรรมดาในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา คงไม่ใช่ที่คนรุ่นหลังจะไปบอกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด จึงคงรับรู้ว่าประวัติศาสตร์เป็นมาอย่างไรก็พอ ตระหนักรู้แต่ไม่เอาใจไปข้องเกี่ยว .... ทางสายธาตุ

    อ่าน สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระเจ้าลูกเธอ ผู้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ ได้ที่
    PANTIP.COM : K4863557
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2009
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 101


    สงครามครั้งสุดท้ายของพระนเรศวร

    ทางเมืองพม่านั้น ต่อมานัดจินหน่อง บุตรพระยาตองอูซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าหงสาวดีเอง ได้ลอบวางยาพิษฆ่าพระเจ้าหงสาวดีนันทะบุเรงถึงแก่สวรรคต ด้วยหมายจะประกาศตนเป็นกษัตริย์พม่าแทน แต่ไม่มีเมืองใดรับรอง ต่างก็พากันตั้งตัวเป็นอิสระขึ้นทั้งหมด เป็นอันว่ามหาอาณาจักรที่บุเรงนองผู้ชนะสิบทิศใช้ชีวิต คนนับแสนนับล้านตั้งขึ้นมานั้น ก็อยู่ไม่ถึงชั่วชีวิตลูกหลานต้องสลายลงแล้ว เมืองต่างๆก็ชิงอำนาจกันเป็นใหญ่ พระเจ้าอังวะพระอนุชาของนันทะบุเรงมีกำลังมากกว่าเมืองอื่นๆ ได้ทำพิธีราชาภิเศกเป็นกษัตริย์พม่า มีนามว่าพระเจ้าสีหสุธรรมราชา ตั้งหน้าแผ่อำนาจไปทางแคว้นไทยใหญ่ ตีเมืองไทยใหญ่ได้เป็นลำดับไปจนถึงเมืองนายซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทย และยังจะมาตีเมืองแสนหวีซึ่งเป็นเมืองของไทยอีกด้วย

    ขณะนั้นเป็น พ.ศ. 2146 พระนเรศวรสั่งให้เตรียมพลจะยกไปเมืองตองอูอีกครั้ง แต่พอมีข่าวพระเจ้าอังวะมาตีเอาเมืองนายไป จึงยกพลหนึ่งแสนขึ้นไปทางเมืองเชียงใหม่ แล้วแยกออกเป็นสองทัพ ให้พระเอกาทศรถยกไปทางเมืองฝาง พระองค์เสด็จไปเมืองห้างหลวงให้ตั้งค่ายที่ตำบลทุ่งแก้วหน้าเขาเขียว ณ ที่นั้นพระนเรศวรประชวรเป็นไข้ป่า และเป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์แล้วกลายเป็นบาดพิษ พระอาการหนักให้ข้าหลวงไปเชิญพระเอกาทศรถมาเฝ้า พระเอกาทศรถเสด็จมารักษาพยาบาลอยู่ได้สามวัน พระนเรศวรก็สวรรคต เมื่อวันจันทร์เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ พ.ศ. 2148 มีพระชนม์ได้ 50 พรรษา พระเอกาทศรถจึงได้เลิกทัพ เชิญพระบรมศพกลับกรุงศรีอยุธยา
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระเกียรติคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 102-104 (จบบริบูรณ์)


    พระเกียรติคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    1. สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีพระชาติเป็นไทยแท้ โดยทางพระราชบิดามีเชื้อสายสืบมาจากพระราชวงศ์พระร่วง กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะพระราชบิดา ก็เป็นหัวหน้าก่อการปฎิวัติ กำจัดโจรราชสมบัติ ทางพระราชมารดา พระอัยยิกาของพระองค์คือสมเด็จพระสุริโยทัย วีรสัตรีที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ พระองค์จึงมีพระอุปนิสัยกล้าหาญชาญชัย หาคนที่จะกล้าขนาดพระองค์ได้ยากนัก เป็นวีรกษัตริย์อันประเสริฐ

    2. พระองค์ทรงเสียสละเวลาตลอดพระชนม์ชีพ ให้แก่ความเป็นไทย และความมั่นคงยิ่งใหญ่ของชาติไทย ไม่ทรงฝักใฝ่ในกามารมณ์และความสุขส่วนพระองค์

    3. พระองค์ทรงรอบรู้การทหาร และยุทธวิธีอย่างดีเยี่ยม ทรงรวบรวมตำราพิชัยสงครามขึ้นไว้ ยังมีปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ มียุทธวิธีหลายอย่างที่ทรงคิดขึ้นได้ และนำออกใช้อย่างได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ไพร่พลน้อย เอาชนะกองทัพที่มีไพร่พลมากกว่าหลาย ๆ เท่า

    4. การบริหารและการเป็นผู้นำ ในเวลารบ พระองค์มักจะออกหน้าทหารเสมอ เป็นแม่ทัพที่ทหารรักมาก แต่ก็กลัวมากยิ่งกว่ากลัวความตายเสียอีก การบังคับบัญชารักษาระเบียบวินัยเฉียบขาด ถ้าแพ้เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ หรือขลาดไม่กล้าเสียสละให้ชาติ ก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง หากชนะและทำดีก็ปูนบำเหน็จรางวัลให้อย่างงาม

    5. พระองค์เป็นแบบอย่างในความสามารถใช้อาวุธทุกชนิดทั้งอาวุธสั้น อาวุธยาวและปืนแม่นยำเป็นพิเศษ

    6.พระองค์มีน้ำพระทัยเป็นนักกีฬา ต่อสู้กันซึ่งหน้าให้โอกาสแก่ศัตรู เมื่อชนะก็ให้เกียรติแกผู้แพ้ และช่วยเหลือเลี้ยงดูแก่ครอบครัวของผู้แพ้เป็นอย่างดี ไม่มีใจพยาบาทอาฆาตต่อไป

    7. พระองค์มีพระทัยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทุกครั้งที่กลับมาจากการรบ ก็ทรงเปลื้องเครื่องทรงอันมีค่าถวายเป็นพุทธบูชาแม้เมื่อไปพบกรุงหงสาวดีถูกเผา พระองค์ก็ยังเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปในซากสลักหักพังนั้น เพื่ออโหสิกรรมให้แก่ชาวหงสาวดี ไม่มีเวรต่อกันสืบไป

    8. พระองค์เป็นผู้มีบุญญาธิการเป็นพิเศษ เวลาเสด็จไปราชการสงครามรายสำคัญ ๆ ก็มีพระบรมสารีริกธาตุเสด็จปาฎิหาริย์หรือทรงพระสุบินนิมิตบอกเหตุ หลายครั้งที่พระองค์ออกหน้าทหารทำการรบหวุดหวิดจะต้องอาวุธเป็นอันตราย แต่พระองค์ก็รอดมาได้ทุกครั้ง

    9. พระองค์มีพระคุณต่อประเทศชาติ ประชาชนคนไทย ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทรงกู้ชาติจากการอยู่ใต้อำนาจพม่าและทรงขยายอาณาเขตให้กว้างใหญ่กว่ายุคไหน ๆ ทิศเหนือถึงเมืองแสนหวี แคว้นไทยใหญ่ ทิศตะวันออกถึงเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทร์และกัมพูชาทั้งประเทศ ทิศตะวันตกได้หัวเมืองมอญฝ่ายใต้ทั้งหมด ทิศใต้เกือบตลอดแหลมมะลายู

    10. พระองค์เป็นผู้สร้างชาตินิยมให้แก่ชาติไทย รวมคนไทยให้สามัคคีกันเป็นปึกแผ่น ไม่แยกเป็นไทยเหนือไทยใต้ ไทยใหญ่หรือไทยน้อย เมื่อเป็นเชื้อชาติไทยเหมือนกันแล้ว พระองค์ก็ช่วยเหลือและให้ความคุ้มครองป้องกัน

    สรุปแล้วพระองค์เป็นเทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย แม้เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว ดวงพระวิญญาณของพระองค์ก็ยังให้ความคุ้มครองป้องกันอยู่ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารตอนกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ว่า "อนึ่ง รูปพระนเรศวรเจ้าโรงแสงใน กระทืบพระบาทสนั่นไปทั้งสี่ทิศ อากาศก็วิปริตไปต่างๆ บอกเหตุลางจะเสียกรุง"

    แม้ในปัจจุบันนี้ พระบรมรูปปฎิมาที่สร้างขึ้นเอาไว้ในศาลเป็นที่สักการะบูชา และเหรียญรูปพระนเรศวรที่สร้างขึ้นอย่างถูกวิธีและเข้าพิธีพุทธาภิเศกแล้ว บุคคลใดมีไว้และสักการะบูชาเป็นนิตย์ ก็ยังเป็นวัตถุมงคลที่ให้คุณเอนกประการอยู่

    --------- จบบริบูรณ์ ---------
     

แชร์หน้านี้

Loading...