ขอคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกนั่งสมาธิครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กนกเทพ, 5 กรกฎาคม 2015.

  1. กนกเทพ

    กนกเทพ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2015
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมกลับมานั่งสมาธิอีกครั้งครับ จากที่เคยนั่งสมาธิได้ 15-30 นาทีเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ผมได้มาฝึกใหม่ ตอนนี้ผมกำลังเรียนอยู่มหาลัยปี 2 นั่งได้ประมาณ 2 ชม. ต่อวัน ผมทำมาสองวันแล้วครับ ผมรู้สึกสนใจมากๆ เพราะผมนั่งครั้งแรกก็รู้สึกได้เลย ว่าภายในร่างกาย บริเวณ สมอง มีการเปลี่ยนแปลง ผมเริ่มจาก ภาวนา พุทโธ แล้วพอเมื่อย-ปวด ก็ภาวนา เมื่อยหนอ ปวดหนอ ผมอยากได้คำแนะนำในการนั่งสมาธิขั้นต่อไปครับ ผมเคยอ่านหนังสือของ ดร.สนอง วรอุไร แล้วสนใจ แล้ววัตถุประสงค์ในการฝึกคือ ฝึกสมองให้ฉลาด ฝึกกสิณ ฝึกอิทธิฤทธิ์ ถอดจิต บารมี ทีละขั้นนะครับ ขอคำอธิบายศัพท์ยากๆด้วยนะครับ เพราะบางคำที่ผมอ่านในเว็บ ผมไม่ค่อยจะเข้าใจเท่าไหร่ ผมเพิ่งเริ่ม และผมไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าวัด เลยต้องอาศัยเว็บนี้ครับ
     
  2. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    เดาว่า คงจะโดนกระหนาบเหมือนผมตอนเข้ามาโพสต์ครั้งแรกนะครับ ชื่อห้องนี้ อภิญญา สมาธิ แต่พอพูดไป มีความหมายนัยล่อเข้ามาตำหนิ ว่าอภิญญาเพื่อหลุดพ้นครับ วัตถุประสงค์เพื่อฉลาด กสิณ ฝึกอิทธิฤทธิ์ ถอดจิต ฝึกบารมี โดนตำหนิยับเยินแบบงง ว่าตูเข้าใจผิดชิมิ ต้องปรับตัวอยู่นาน 555

    ลองดูครับ ผมจะรอดู มันมีสองมาตรฐานไหม อย่าเพิ่งถอดใจไปก่อน ถ้าไม่มีใครคุยเรื่องที่ท่านว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2015
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    จขกท. เพิ่งฝึกหัดพัฒนาจิตได้สองวันเอง ยังน้อยนิด คุณควรฝึกตามวิธีที่เล่านั่นแหละไปอีกอย่างน้อยๆสัก 5 ปี :d แล้วค่อยคิดขั้นต่อไป
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    สมาธิในพระพุทธศาสนา พระสารีบุตร กำหนดการสังคยานา ครั้งแรก
    ตอน ศาสนานิครณ์ล่ม

    พระสารีบุตร กำหนดว่า สมาธิในพุทธศาสนามี 3อย่าง คือ

    สุญญตาสมาธิ
    อนิมิตสมาธิ
    อัปณิหิตสมาธิ

    ฟังแล้ว ยังกะ ต้องสำเร็จ อรหันต์ก่อน จึงฝึกได้ แต่อันที่จริง เปล่า มันเริ่ม
    ต้นตั้งแต่ ทาน ศีล ภาวนา ปรกตินี่แหละ

    เพียงแต่ ต้องตั้งเป้าที่ ตัวกิเลส เป็นข้าศึก ให้แม่นๆ

    ตัวแรกสุดคือ " กามสัญญา ราคะ ตัณหา " หาก กำหนดสมาธิ เพื่อสงัดจาก
    สิ่งเหล่านี้ได้ นั่นคือ กำลังฝึก สุญญตาสมาธิ

    เช่นว่า เอากสิณสัญญา ยกขึ้นมากำหนด บริกรรม เอาพุทโธมาบริกรรม เอา
    สภาวะธรรมยุบพอง มาอาศัยระลึก เหล่านี้ คือ ปฏิปทาเพื่อการ สงบ สงัดจาก
    ราคะ ตัณหา .....นั่นคือ ฝึกสุญญตาสมาธิ

    พอฝึกไปได้ชำนาญ ก็เกิด นิมิต ..... เนื่องจาก เราฝึกละตัณหา กามวิตก มาก่อน
    หน้า นิมิตใดๆเกิด เราจะเล่นกับนิมิตได้โดยไม่เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย คือ จะย่อได้
    ก็ไม่ใจฟู จะย่อไม่ได้ก็ไม่ใจแฟ๊บ ไม่ยินดี ยินร้าย ในผลของการฝึก การเห็น การรู้
    การไม่รู้ นี่คือ เห็นนิมิตก็เพียงแต่อาศัยระลึก ตามดูความยินดี ยินร้ายเกิดดับ ใจ
    ของผู้ฝึกจะ เห็น หรือเสพนิมิตจำนวนมาก แต่ไม่ติดข้อง คือ ไม่เอาเป็นเนื้อหาสาระ
    นอกจากกำหนดรู้การเกิดดับของเวทนา วิญญาณ ก็เรียกว่า ฝึกขั้น อนิมิตสมาธิ

    เมื่อฝึกต่อไปอีก จะชำนิชำนาญขึ้น ยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูดคิด เรียกว่า ในทุก
    อริยาบทปรกติ จิตใจเราจะเคล้าเคลียรไม่ห่างจากกรรมฐาน ไม่มีการตั้งท่า ตั้งคาบเวลา
    แบ่งว่า ตอนนี้เราเริ่มต้น ตอนนี้เราใกล้ท่ามกลาง บัดนี้เราถึงที่สุด จะสุดหรือไม่สุด จะเริ่ม
    หรือไม่เริ่ม ไม่ใช่สาระของจิต แต่ การที่จิตระลึกได้ว่าภาวนาอยู่ หรือ ไม่ได้ภาวนาอยู่
    ก็ตาม ก็ เอามาระลึกได้ ทั้งคู่ นี่เรียกว่า อัปณิหิตสมาธิ ไม่มีที่ตั้ง ไม่กำหนดท่า
    ไม่กำหนดชื่อกรรมฐาน จิตมันกระทบผัสสะอะไร ยังไง จิตมันผลิกขึ้นกรรมฐานของมัน
    เองตลอด

    สามอย่างนี้ เป็น สมาธิเริ่มต้น .......แค่ฟังให้เข้าใจ ไม่ถูกเดียรถียเป่าหูเป็น กรรมฐาน
    สมาธิอย่างอื่น รับรอง 7วัน 7เดือน 7ปี ต้องสามารถ

    ไม่ใช่ 20ปีผ่านไป ก็ยัง ชักชวนทำกรรมฐาน บทเริ่มต้นแบบเดียรถีย อยู่นั่น 7วันไม่รู้เรื่องรู้ราว
    ว่า ภาวนายังไง


    ธรรมะ ของพระพุทธองค์ เป็นของคนรู้เร็ว ไม่ใช่รู้ช้า
    ธรรมะ ของพระพุทธองค์ เป็นของคนมีปฏิภาณใส่ใจธรรมที่เป็นไปเพื่อการสิ้นกิเลส
    ไม่ใช่เพื่อการพอกพูล พลัดวันประกันพรุ่ง ยอมให้กิเลสมันกัดกินเราไปพลางๆก่อน
    อ้างบารมียังพร่อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2015
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    กิเลส มิใช่ธรรมชาติที่กำจัดได้ง่ายๆเลย ไม่ต้องถึงรากเง่า (ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ) หรอก เอาแค่เหลนๆ คือ นิวรณ์ ก็เล่นเอาเราอุจจาระแตก (ขี้แตก) แล้ว คิกๆๆ

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่หมั่นประกอบความเพียรในการฝึกอบรมจิต ถึงจะมีความปรารถนาว่า “ขอให้จิตของเราหลุดพ้นจากอาสวะเถิด” ดังนี้ จิตของเธอจะหลุดพ้นไปจากอาสวะได้ก็หาไม่ ...เหมือนไข่ไก่ ๘ ฟองก็ตาม ๑๐ ฟองก็ตาม ๑๒ ฟองก็ตาม ที่แม่ไก่ไม่นอนทับ ไม่กก ไม่ฟัก ถึงแม้แม่ไก่มีความปรารถนาว่า “ขอให้ลูกของเราใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก ทำลายเปลือกไข่ออกมาโดยสวัสดี เถิด” ดังนี้ ลูกไก่จะใช้ปลายเล็บ หรือจะงอยปาก ทำลายเปลือกไข่ออกมาได้ก็หาไม่
    (สํ.ข.17/261/186)


    พูดแต่ไม่ทำ ถึงทำแต่ก็ทำไม่ถูก ก็กำจัดมันไม่ได้ ต่อให้ทำถูกต้องเป็นสัมมาปฏิปทา ก็ต้องใช้เวลา
     
  6. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ลองอธิษฐานจิตด้วยว่า** ขอสัมมาทิฐิจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ ** สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเห็นชอบ
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    นำ ตย. ภาคลงมือทำของบุคคลคนหนึ่งให้ดู อารมณ์คล้าย จขกท. ทำไปเถอะทำแล้วส่งผลดีต่อชีวิตจิตใจตัวเอง ขณะทำอย่าคิดสงสัยว่ามันคืออะไร แต่ดูรู้เห็นตามที่มันเป็นของมัน เป็นยังไงก็รู้ยังงั้น


    พอดีก็ปฏิบัติกรรมฐานนั่งสมาธิมาก็นานพอสมควร ศึกษาจากเน็ตแต่ก็ยังไม่ชัดเจน แต่อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์

    1. นั่งสมาธิดูลมภาวนาเข้าออก สักพักภาวนาหาย ลมละเอียด จิตเริ่มนิ่ง หยุดความคิดได้สักพัก จิตเริ่มรวมเกิดปีติ รู้สึกเหมือนมีสารบางอย่างหลั่งลงมาจากสมองไหลไปตามร่างกายทุกส่วน แต่หัวจรดเท้า รู้สึกมีความสุขสบาย ร่างกายปลอดโปร่ง เบา แล้วก็ทรงอยู่ในอารมณ์นั้นสักพัก นี้เรียกว่า ได้ปฐมฌาน หรือเปล่าครับ ความรู้สึกแบบนี้ เวลานั่งบางครั้งพอออกจากสมาธิแล้ว รู้สึกบ่อน้ำตาตื้น พอได้ฟังธรรม หรืออ่านหนังสือธรรมะนี้ น้ำตามักจะไหลเกิดปีติอีก อาการนี้เป็นอยู่ประมาณ สองวันก็หายไป

    2. มีอยู่สองครั้งได้ ได้รับรู้อารมณ์ใหม่ หลังจากเกิดสุขแล้วจิตเหมือนเพ่งอยู่ในความมืด อยู่ๆ ก็เกิดมีลำแสงพุ่งรวมกันเป็นจุดเล็กๆๆ จุดเดียว จากนั้นก็ระเบิดออกกลายเป็นแสงสว่างโพลง มีความสุข สว่างไสวจิตรับรู้ได้ นิ่งอยู่แบบนั้น ไม่มีความรู้สึกถึงลมหายใจ และร่างกาย ไม่มีเสียงใดๆๆ แต่อยู่ได้แป๊บเดียว พอฉุดคิดว่ามันคืออะไร จิตถอดออกมาทันที มันเป็นความรู้สึกที่แปลก หรือตรงนี้เรียกว่า ปฐมฌาน หรือเปล่าครับ

    สภาวะตรงข้อสองนี้พยายามมาหลายเดือนละแต่ก็ยังไม่อีกเลย
     
  8. กนกเทพ

    กนกเทพ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2015
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    นั่งครั้งแรกๆ ผมกว่าจะเข้าสมาธิได้ก็ประมาณ ชม.ครึ่ง จิตก็นิ่งๆ อยู่อย่างงั้น พอถึงสอง ชม. รู้สึกว่าอิ่ม รู้สึกพอ เลยค่อยๆ ออกจากสมาธิ
    เมื่อคืนครับ ผมนั่งครึ่งชม. จิตก็เริ่มนิ่ง สักพักเหมือนมีใครเอาไฟฉายแสงสีนวลๆ ขาวๆ อ่อนๆ มาฉายใส่ตา ทั้งที่ผมปิดไฟหมดแล้ว เหมือนล่อให้ผมลืมตา ผมก็เลยกำหนดจิตไปที่อื่น ไม่ให้สนใจแสงนั่น แต่เหมือนม้าพยศครับ พอดึงไปที่อื่น ซักพักก็กลับมาที่เดิมอีก สักพัก ผมก็ออกจากสมาธิ ผมอยากรู้ครับ ทำยังไง ถึงจะผ่านตรงนี้ไปได้

    ปล. ผมรู้ครับ ว่าต้องใช้เวลาแน่ๆ แต่ผมอยากแน่ใจว่าผมได้เดินมาถูกทางหรือไม่ เพราะพวกท่านเปรียบเสมือนคนเลี้ยงแกะ ที่จะนำผมคือลูกแกะตาบอด ไปสู่แสงสว่าง
     
  9. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    ถูกทางไหม อยู่ที่เป้าหมายถูกหรือเปล่า นั่งสมาธิเพื่ออะไร

    ถ้าเพื่อฉลาด ในความหมายว่าสมองมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากขึ้น แค่นั่งสมาธิอาจไม่พอ เพราะจะดึงสมาธิมาใช้ในการเรียนรู้ไม่เป็น ต้องฝึกระลึกถึงอารมณ์สมาธิเพื่อเข้าสมาธิในยามที่ไม่ได้นั่งสมาธิ จึงควรฝึกเดินจงกรมด้วย หรือฝึกอิริยาบถ ๔ ด้วย เพราะเราเรียนหรือทำงานวันละ 6-8 ชม

    ส่วนนิมิตแสงสว่างที่เกิด บางคนนั่งก็เห็นนิมิต บางคนไม่เห็นนิมิต การเห็นนิมิตไม่บ่งบอกว่า มาถูกทาง แต่เป็นอาการปกติของบางคนที่อาจเป็นอย่างนี้ได้ การเห็นนิมิต ไม่ใช่เป้าหมายหลักที่วางไว้ ก็เพิกเฉยไม่ต้องสนใจ อย่าเอาจิตแกว่งออกนอกกรรมฐาน นิมิตพวกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ถ้ายังสนใจนิมิตก็ไม่ต่างกับจิตกระเพื่อมเมื่อได้ยินเสียง แปลว่า ไม่มีสมาธิพอ ก็จะคลาดจากเป้าหมายที่ต้องการฝึกสมาธิเสียเอง

    ส่วนเป้าหมายอื่น ถ้าสนใจจริงจัง ค่อยๆ ฝึกสมาธิไปก่อน แล้วใช้สมาธิไปในการอ่านพระไตรปิฎกเถอะครับ ศึกษาจากพระไตรปิฎกก่อนก็ได้ เพราะควรศึกษาให้ถ่องแท้ จะได้เห็นว่า พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้อย่างไรเกี่ยวกับเรื่องพวกนั้น ซึ่งถ้ามีสมาธิและใช้สมาธิเป็นในการเรียนรู้ ไม่ยากหรอกครับทค่จะเข้าใจ
     
  10. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ฝึก สติ ให้มากครับ จะทำให้เข้าสมาธิได้ดีขึ้น

    เวลาเข้าสมาธิควร บริกรรมด้วยครับ
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    อุปมาคนเลี้ยงแกะ แกะหลงทาง อะไรนี่ ...... กรุณาเอาไปโยนไว้ที่อื่นครับ
    อย่าเอาเข้ามาในศาสนาพุทธ

    อย่าสมาทานสิกขาบท ด้วย มิจฉาทิฏฐิ นำหน้าเด็ดขาด


    พระพุทธองค์ ตรัสเสมอว่า ทุกคน เป็น พุทธะ ได้ด้วยตัวเอง

    เหตุผล พระพุทธองค์ก็อธิบายสั้นๆ ง่ายๆ เข้าใจได้ไม่ยาก

    กิเลสของแต่ละคน ไม่มีใครเข้าไปจัดการได้ นอกจาก คุณ !!!

    และ หนทางการภาวนานั้น ก็เริ่มด้วยการ สงัดจากกาม สงบจากอกุศลธรรม

    กำหนดรู้จิตมีราคะ ก็ให้รู้ว่าจิตมีราคะ ทันทีที่ ระลึกได้ ราคะ จะเกิดร่วมกับ สติ และ สัมปชัญญะไม่ได้

    กำหนดรู้จิตมีโทษะ ก็ให้รู้ว่าจิตมีโทษะ ทันทีที่ ระลึกได้ โทษะ จะเกิดร่วมกับ สติ และ สัมปชัญญะไม่ได้

    กำหนดรู้จิตมีโมหะ ก็ให้รู้ว่าจิตมีโมหะ ทันทีที่ ระลึกได้ โมหะ จะเกิดร่วมกับ สติ และ สัมปชัญญะไม่ได้


    จิตที่มีสติ และ มีสัมปชัญญะ จะต้องให้ใครสะกิดบอกตัวคุณอีกไหมว่า นั่นคือ หนทางตรัสรู้ชอบด้วยตัวเอง

    จิตที่ปราศจากกิเลส อุปกิเลส คุณจะ สงสัยไหมว่า จิตคุณไม่เป็นสมาธิ ไม่สำเร็จฌาณ


    ดังนั้น ชาวพุทธ เราไม่ใช่ ลูกแกะหลงทาง และ ก็ไม่มี คนเลี้ยงแกะ เด็ดขาด

    หนทางนี้ ปราศจากการมีอาจารย์ เพราะ ทุกคนต้องมั่นใจได้สิ ต้องทราบตนได้สิว่า กิเลสเนี่ยะ มี หรือ หายไป
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    นั่งครั้งแรกๆ ผมกว่าจะเข้าสมาธิได้ก็ประมาณ ชม.ครึ่ง

    จขกท. ทำอย่างที่เล่า คคห.แรก ควรใช้คำพูดว่า เจริญสมาธิ เจริญสติ เจริญปัญญา เป็นต้น จะพูดว่าฝึก....ฝึกจิตก็เอา

    แต่ใช้พูดว่าเข้าสมาธิชวนให้เข้าใจผิด เดิมที่เดียวเราไม่มีสมาธิ จะเอาสมาธิที่ไหนมาเข้า ถูกไหม เมื่อไม่มีสมาธิจึงต้องมาเจริญสมาธิฝึกจิต เพือให้มีสมาธิไง


    เมื่อคืน ผมนั่งครึ่ง ชม. จิตก็เริ่มนิ่ง

    เห็นไหม ใช้เวลาน้อยลง นี่แปลว่า จิตมีสมาธิจากการฝึกแล้ว

    สักพักเหมือนมีใครเอาไฟฉายแสงสีนวลๆ ขาวๆ อ่อนๆ มาฉายใส่ตา

    นี่ก็หนึ่งที่เป็นเครื่องหมายของมัน (มีหลากหลายรูปแบบ)


    ผมก็เลยกำหนดจิตไปที่อื่น ไม่ให้สนใจแสงนั่น แต่เหมือนม้าพยศ พอดึงไปที่อื่น ซักพักก็กลับมาที่เดิมอีก
    ผมอยากรู้ครับ ทำยังไง ถึงจะผ่านตรงนี้ไปได้


    คุณต้องกำหนดรู้ตามสภาวะ ตย. เช่น เห็น ก็ เห็นหนอๆๆๆ ....เมื่อสติมั่นคงจากการกำหนดรู้ตามเป็นจริงแต่ละขณะๆนี่แหละ ก็จะผ่านตรงนี้ไปได้ (กำหนดรู้ทุกๆครั้งที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น .... มิใช่ครั้งเดียวเลิกเลย ไม่ใช่)

    ไม่ควรใช้วิธีหนีปัญหา จขกท. เคยสังเกตไหม
    จำพวกนี้ ถ้าเห็นแล้วตั้งใจดู มันจะจางหายไป แต่พอเรากำหนดอารมณ์กัมมัฏฐานไปเรื่อยๆ (ลืมๆมัน) ก็ปรากฏอีก ตั้งใจดู ก็หายอีก


    ผมอยากแน่ใจว่าผมได้เดินมาถูกทางหรือไม่

    ขอเปรียบเหมือนการเดินทาง ตอนนี้คุณเริ่มขึ้นถนนสายสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนาแล้ว แต่อย่างว่า เส้นทางนี้ยังอีกยาวไกล ต้องใช้เวลา หนทางข้างหน้าจะเป็นยังไง อยู่กับคุณแล้ว
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    (เส้นทางให้สังเกต)

    ธัมมุธัจจ์ แปลว่า ความฟุ้งซ่านธรรม พระอรรถถาจารย์เรียก วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสของวิปัสสนา, สภาวะที่ทำให้วิปัสสนามัวหมองข้องขัด, สภาพน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนาในขั้นที่เป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) แต่กลายเป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา โดยทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงชะงักหยุดเสีย ไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนา มี ๑๐ อย่าง คือ

    ๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน

    ๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว

    ๓. ญาณ ความหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไปไม่มีติดขัด

    ๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย

    ๕. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

    ๖. อธิโมกข์
    เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

    ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง

    ๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

    ๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

    ๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการสงบ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส

    ธรรมทั้งหมดนี้ (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม) โดยตัวมันเอง มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน จึงเกิดโทษเนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเอง
     
  14. กนกเทพ

    กนกเทพ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2015
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมรู้แล้วครับ อะไรคือแสงสว่างอ่อนๆ
    มันคือตอนที่ผมปรับสายตาได้ครับ ประมาณว่าเพิ่งปิดไฟแล้วมานั่งสมาธิ
    แล้วหนังเปลือกตาผมมันค่อนข้างบาง พอตามันปรับสายตาในความมืดได้ มันก็สว่างขึ้นอ่อนๆ ผมจะไม่หนีมันแล้วละครับ

    วันนี้ครับ นั่งแล้วแป๊บเดียวจิตเริ่มนิ่ง พอจิตนิ่งบ้าง อีกแป๊บนึง มันก็ไม่นิ่ง ผมเลยคิดได้ว่า ทุกอย่างมันไม่เที่ยงอยู่แล้วแม้แต่จิต ของเรา มันนิ่ง อีกสักหน่อยมันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
    ผมเลยเปลี่ยนมาเดินตามจิต จิตมันไปที่ไหน ผมก็กำหนดรู้ ว่ามันไปไหน กำหนดรู้ ว่ามันไม่นิ่ง ตอนนี้ยากมากๆครับ แต่ช่วงนี้ ผมไม่มีปัญหาทางร่างกายแล้วครับ ขาไม่ปวด นั่งนานๆ ได้สบายๆเลย
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ดีที่ วิเคราะห์ได้ว่า แสงนวลตา บางเวลา บางสถาณะการณ์ มันเป็น อารมณ์ที่
    ตายังทำงาน แล้ว จับเปลือกตา ......

    เปลือกตา มันมีแสงของมัน มันมีความอุ่นของมัน ..... ตาสัมผัสได้

    ถัดเข้ามาจากเปลือกตา เป็น เล็นตา เป็นเรติน่า เป็นฉากรับแสง หรือแม้นกระทั่ง
    ถัดเข้ามาที่ ประสาทตา ถัดเข้ามาอีกที่ สฬายตนะ สิ่งที่ รูปแสงก่อให้เกิดเนื้อ
    หรือสารเคมีของประสาทตา นี่ก็เป็นแสงได้ .....จากสว่างกว่าสีนวลตา อาจจะจ้า
    สุดจักรวาล อาจจะกระพริบสวยงาม ยุ๊บๆ ยั๊บๆ ....นี้ล้วนแต่ จิตมันเข้าไปรู้ได้
    หากจิตมีสมาธิ

    แต่ทั้งหมด เป็นเพียงการรู้ วิญญติรูป ยังไม่ถือว่า รู้รูป ยังหยั่งไม่ถึง มหาภูตรูป

    หากยังเพ่งเช่นนั้นต่อไป ....ก็ไม่แน่ว่าจะไปเห็นอะไร อาจจะลึกลงไปที่ ฮีโม
    แอนโกลบิน ลึกลงไปที่พลังงานควันตั้ม ล่วงเลยไปที่พระจันทร์ ที่ดวงอาทิตย์
    ล่วงเลยไปทุกสรรสิ่ง ทุกจิต แม้นแต่ไปเห็น วิญญาณขันธ์ของธรรมภายนอก(สัตว์อื่น)
    ก็ยังไม่ถือว่า เห็น มหาภูตรูป ยังเมาในวิญญติรูป เมาอุปทานขันธ์ไม่สิ้น
    และ...............เป็น อจิณไตย

    ดังนั้น

    คุณ ยกตรงส่วนที่ว่า มันเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง นี่คือ สุดยอดของการกำหนดรู้

    กำหนดรู้ลงไตรลักณ์ เห็นความเกิด ดับ ของ รอบของวัฏจักรรูปนาม ตรงนี้
    สามารถ แทงตลอดใน วิญญติรูปทั้งปวง ให้ คว่ำลงต่อหน้าต่อตา ไม่ต้องไปแสวง
    หาคำตอบ ด้วยการฝุ้งในสรรพสังขารา

    คว่ำลงเห็นเป็นเพียง ปัจจัยการ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

    เพราะ ดอกไม้มี คนจึงมี สัตว์จึงมี

    มันเป็นของมันอย่างนั้น ไม่ใช่เพราะ มีใครดลบันดาลสร้างขึ้น ทุกอย่างไหล
    ไปตาม ธาตุ การก่อรูปธาตุ แปรปรวนไปตามปัจจัยการ ปราศจากอัตตา ตัวตน
    บุคคล เราเขา

    มีแต่ความไม่รู้เท่านั้น ที่ครอบหัวใจ อุปทานให้สำคัญว่าเป็น สัตว์

    พอเผลอเพลินอุปทานลงไป ชาติ ชรา มรณะ ก็ร้อยรัดสัตว์นั้น ให้จมสังสารวัฏ ด้วยความไม่รู้


    แต่ผู้กำหนดรู้ลงไตรลักษณ์ หาติดข้องอยู่ไม่ วิญญูชนพึงรู้ ธรรมอันพ้นปัจจัยการ
    ได้ด้วยตนเอง
     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ตรงที่ รู้ว่ามันไม่นิ่ง

    ให้ ระลึกสภาวะ ที่ ระลึกรู้ได้ว่ามันไม่นิ่ง ยกขึ้น เป็น ญาณทัศนะ อย่างหนึ่ง

    แล้ว ยกเห็น ญาณรู้เห็นสิ่งไม่นิ่ง นั้นไม่เที่ยง เกิด แล้ว ก็ดับ ขึ้นไปอีก ทบหนึ่ง

    เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อเข้าไปทำอะไร ให้มันนิ่ง


    เราจะ ปฏิบัติเพื่อให้ ญาณรู้สรรพสิ่งไม่นิ่ง นั่นแหละ คือ สัญญาอย่างหนึ่งมีความแปรปรวน

    ยกตรงนี้ได้ จะเห็น " ความไม่รู้ "

    ความที่เราไม่รู้ แม้น " ญาณ " แม้น " ปัญญา " ก็มีสภาพไม่เที่ยง ตั้งอยู่ไม่ได้
    ไม่อยู่นำอำนาจ ตรงนี้แหละ ที่มันหลอกเรา ให้เที่ยวแสวงหา อมตะจากการเข้า
    สร้างมโนสัญญเจตนา จะทำให้เที่ยง ทำให้คลาดจาก กรรมฐาน

    ความยากมันเกิด เพราะ ปล่อยให้มโนสัญญเจตนาจะ ดิ้นรนรักษาอัตตา ตัวตน ซึ่ง มันขัดแย้งกับ ธรรม

    อนุโลมไปตาม ปัญญเองก็ไม่เที่ยง จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยง แล้ว จะค่อยๆ เอะใจ ถึง " ธรรมที่พ้นปัจจัยการ มีอยู่แน่ๆ "

    พระผู้มีพระภาคประกาศถึง ธรรมนั้นแน่ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2015
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต้องมีฐานให้จิตเกาะนะครับ คือลมหายใจเข้า กับ ลมหายใจออก (หรืออาการท้องพองกับยุบ) ไม่ใช่ตามไปเรื่อย พอมันออกจากหลัก ค่อยกำหนดรู้มัน กำหนดแล้วมาเกาะลมเข้าลมออกไป

    ใหม่ๆ ควรนั่ง 60 นาทีพอก่อน แล้วเดินจงกรมด้วย
     
  18. กรรมบัง

    กรรมบัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2015
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +25
    อนุโมทนาด้วย อายุยังน้อย เชื่อว่าจะพัฒนาได้เร็วถ้าตั้งใจจริงและต่อเนื่อง ลุงป้าน้าอาในเว็ปนี้คงจะเป็นกำลังใจให้ ขอให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ไปให้ไกล ไปให้ถึง ขอเอาใจช่วยนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...