"...ก่อน - หลังการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน...."

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 12 ธันวาคม 2016.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]


    "...ในการฝึกปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน ในเบื้องต้น ควรไหว้พระสวดมนต์เพื่อทำจิตใจให้ผ่องใส มีความมั่นคงแน่วแน่ในการที่จะฝึกปฏิบัติ โดยการเริ่มด้วยการแสดงความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย พร้อมทั้งอธิษฐานเบญจศีลให้บังเกิดขึ้นในจิต อันจะเป็นพื้นฐานของสมาธิกรรมฐาน ทั้งจะก่อให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติ

    ไหว้พระสวดมนต์จบแล้ว นั่งราบ ตั้งใจอธิษฐานเบญจศีล (ศีลห้า) เพื่อให้เกิดศีลขึ้นในจิตใจอันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน โดยการตั้งจิตอธิษฐานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต งดเว้นจากการลักขโมย งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดมุสา งดเว้นจากการดื่มและเสพสุราของมึนเมาทุกชนิด อันจะเป็นที่ตั้งของความประมาท จากนั้น จึงเริ่มการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานไปตามวิธีอันเป็นที่สบายของตน

    หลังการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแล้ว ควรฝึกพิจารณาข้ออันควรพิจารณาเนือง ๆ (อภิณหปัจจเวกขณะ) พร้อมทั้งหัดแผ่พรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และแผ่ส่วนกุศลที่ตนได้กระทำแล้วแก่สรรพสัตว์ เป็นการเสริมจิตใจให้มีสติไม่ประมาทมัวเมาต่อชีวิต และมีความอ่อนโยนง่ายต่อการที่จะฝึกปฏิบัติในธรรมต่อ ๆ ไป..."



    พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๙

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    เพจธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    https://www.facebook.com/ThammaLuangpuMunPage
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ครูบาอาจารย์และหลวงปู่ดู่ ท่านจึงสอนไว้ว่า ..ผู้บำเพ็ญต่างจากผู้ฝึกปฏิบัติตรงที่
    ไม่มีเวลาเข้า-ออก จิตเป็นกรรมฐานได้ทันทีที่มีสติฯระลึกได้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานหลักหรือกรรมฐานกองใด อนุสสติกองใด ก็สลับสับเปลี่ยนขึ้นมาเป็นอารมณ์ของจิตใจได้ตลอด แทนที่จะปล่อยให้จิตใจไหลออกไปข้างนอกตามกระแสโลก
    ไม่ว่าหลับตา ลืมตา จะตื่น จะนอน จะอริยาบถใด เวลาใด จึงเป็นการบำเพ็ญ ไม่ใช่การฝึกเริ่มต้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...