การให้ทานพร้อมด้วยใจที่มีกำลังทำให้รวย

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย 2499, 24 มีนาคม 2016.

  1. 2499

    2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,033
    การให้ทานพร้อมด้วยใจที่มีกำลังทำให้รวย

    กรกฎาคม 10, 2014 โดย ธ. ธรรมรักษ์





    ในศาสนาพุทธนั้น ให้ความสำคัญกับกรรมทางใจมากที่สุด เพราะกรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นทั้งทางกาย ทางวาจา ที่เป็นต้นเหตุแห่งชะตากรรมของคนนั้น เริ่มมาจากใจทั้งสิ้น[​IMG]

    ใจจะเป็นผู้สั่งการ คอยบงการให้คนนั้นกระทำไปตามใจที่สั่ง สั่งไปทางความคิด ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ นำไปสู่การกระทำนั้นๆ ไม่ว่าทางดีหรือทางร้าย เพราะเพียงแต่เราคิดก็อาจจะก่อให้เกิดความทุกข์และความสุขที่สัมผัสได้ทาง ใจได้ทันที

    เช่น พอคิดพยาบาทก็เป็นทุกข์ พอคิดเมตตาก็เป็นสุข และกรรมทางใจนั้นเป็นเหตุที่ทำให้เกิดกรรมทางกายตามมา ถ้าไม่เริ่มที่ใจก่อน กายก็ทำอะไรไม่ได้ ถึงทำลงไป โดยไม่เจตนากรรมนั้นก็จะไม่มีผลเลย

    ใจจึงเป็นผู้กำหนดทุกพฤติกรรม ใจจึงเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตอย่างแท้จริง ในทุกการกระทำของเรา จิตจะเป็นผู้จดบันทึกทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว และเป็นผู้รายงานอย่างซื่อตรงเที่ยงแท้ไม่แปรผันด้วยอำนาจอื่นใด

    หลักการของสร้างบุญบารมีนั้นที่เราทราบกันดีว่า เริ่มจากการทาน ศีล ภาวนา ที่เป็นบันไดสามขั้น

    อันดับแรกคือการทาน ซึ่งเป็นการให้ที่ง่ายที่สุด แต่หลายคนให้แต่ไม่เกิดกรรมดีเพราะเหตุใด ให้เพราะหวังผลตอบแทน ให้เพื่อแข่งขัน ให้เพื่อเอาหน้าตาในสังคม ซึ่งการให้เหล่านี้จะเกิดผลน้อยมากๆ ในกรรมดีที่ทำ

    พระพุทธเจ้าเคยเตือนไว้ว่า การทำบุญให้ทานที่มีอานิสงส์น้อย คือการให้ทานด้วยใจที่มีเยื่อใย ด้วยจิตที่หวังสะสมบุญหรือหวังเสวยสุขในภพหน้า เป็นการทำด้วยจิตที่มีกิเลส ได้บุญเหมือนกันแต่ได้น้อยกว่าการทำบุญโดยไม่หวังผลตอบแทน

    ที่จริงถ้าจะทำบุญควรทำใจให้เป็นกุศล เช่น ทำด้วยใจที่ปรารถนาดีต่อผู้รับ อยากให้เขาได้รับความสุข พ้นจากทุกข์ ถวายสังฆทานแก่พระก็เพราะอยากอุปถัมภ์ท่านให้มีกำลังในการบำเพ็ญศาสนกิจ หรือต้องการส่งเสริมพุทธศาสนา การทำบุญแบบนี้นอกจากเกิดประโยชน์แก่ผู้รับแล้ว ยังช่วยลดกิเลสหรือลดความเห็นแก่ตัวได้ เพราะไม่ได้คิดถึงประโยชน์เข้าตัวเลย

    การให้ทานนั้น ใจแตกต่างกันย่อม ก็ให้ผลผิดกันได้ลิบลับ พระพุทธเจ้าจำแนกอาการของใจในขณะให้ไว้เป็นต่างๆ แต่ละอาการล้วนเป็นกำลังหนุนให้วิบากออกดอกออกผลเป็นความมั่งคั่ง หากใครให้ทานด้วยอาการของใจ ดังต่อไปนี้ครบถ้วนเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็จะมีผลไพบูลย์สูงสุด ส่งผลเป็นความมั่งคั่งถึงที่สุดเท่าที่ทานนั้นๆ จะอำนวย

    การให้ทานนั้น ควรฉลาดในการให้ทานด้วย พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงแนวทางการให้ทานที่เกิดผลทั้งผู้ให้และผู้รับไว้ในเรื่อง สัปปุริสทาน 5 ( คำว่า “ สัปปุริสทาน” หมายถึง การให้อย่างคนดี คนสงบ คนที่พร้อมมูลด้วยธรรม) ซึ่งต้องประกอบด้วยการให้ทาน 5 ลักษณะ คือ


    1) ให้ด้วยความศรัทธา คือ มีความเลื่อมใสอยู่ก่อนว่าทานนั้นเป็นของดี เป็นสิ่งที่พึงทำเพื่อใจเป็นสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ เป็นของที่ให้ความสุขในปัจจุบัน และเป็นเสบียงบุญที่จะติดตามไปให้ความสุขแก่เราในอนาคต ทั้งนี้ไม่ได้หมายเอาอาการโลภแบบจำเพาะเจาะจงว่าขอให้รวยเท่านั้นเท่านี้ เมื่อนั่นเมื่อนี่ ต้องวันนั้นวันนี้

    อาการทางใจเช่นนั้นไม่ใช่เป็นศรัทธาในบุญแต่แท้จริง แต่เป็นการลงทุนของนักธุรกิจในคราบนักบุญอย่างหนึ่ง เป็นผู้ที่มีใจโลภในการเอากำไรเข้าตัว หรือถ้าให้โดยปราศจากศรัทธา ให้อย่างเสียไม่ได้ ให้เพราะจำใจ ให้เพราะทำตามๆ คนอื่น

    แม้เกิดบุญขึ้นมาก ก็ไม่ได้เป็นบุญพอที่จะสร้างภพแห่งความมั่งคั่งแต่อย่างใด และเมื่อมีนิสัยให้ด้วยความศรัทธาดีแล้ว ยังมีผลให้รูปร่างหน้าตาและผิวพรรณงดงามยิ่งอีกด้วย


    2. ให้ทานโดยเคารพ การให้ทานแก่ผู้มีศีล ผู้ปฏิบัติธรรมด้วยความเคารพ การให้ทานด้วยวัตถุสิ่งของ ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของที่มีค่า มีราคาเสมอไป เพียงแต่แสดงน้ำใจไมตรีของผู้ให้ทาน ขณะให้ทานให้ทำด้วยใจผ่องแผ้ว ให้ทานด้วยความเคารพนอบ

    อย่าให้ทานเพราะเป้นของไม่ใช้แล้ว เป็นของเหลือเดน ให้แบบไม่เต็มใจจะให้ แบบยื่นๆ ส่งๆ ให้เป็นอันเสร็จพิธีเพราะหวังในบุญ เพราะจะเกิดผลบุญน้อยมากถึงขึ้นไม่ได้บุยเลยก็ได้เพราะเป็นทาสทาน เป็นทานที่ชั้วเลวที่สุด

    แต่คนที่ให้ทานด้วยความเคารพ อานิสงส์จะทำให้เป็นคนมั่งคั่ง มีสมบัติมาก และคนของบุคคลนั้น เป็นบุตรก็ดี ภรรยาก็ดี บ่าวก็ดี คนใช้ก็ดี คนงานก็ดี ย่อมเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย ตั้งอยู่ในคำสั่งสอน


    3. ให้ทานตามกาล
    การให้ทานที่ตรงกับความต้องการ ตรงกับเวลาย่อมเกิดผลดี เช่น ในช่วงเวลาที่กำหนด การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า ช่วงเวลาในการถวายภัตตาหารในช่วงก่อนเพล การถวายผ้าน้ำฝน การถวายเทียนพรรษา เป็นต้น

    อานิสงส์ให้เป็นคนมั่งคั่ง มีสมบัติมาก และผลประโยชน์ทั้งหลาย ที่มีมาตามกาลที่ควรจะมี ย่อมบริบูรณ์ แก่บุคคลนั้น คือว่าผลประโยชน์สิ่งใด ควรจะได้จะมีในกาลใด ก็ได้ก็มีผลประโยชน์สิ่งนั้นในกาลนั้น


    4. ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์
    เป็นการให้ทานด้วยความเมตา กรุณา ไม่มีผลประโยชน์อะไรแอบแฝง ไม่หวังผลตอบแทนอานิสงส์ทำให้เป็นคนมั่งคั่ง มีสมบัติมาก และจิตของบุคคลนั้น ย่อมน้อมไปด้วยทางที่ดีไม่คิดไปในทางที่ตกต่ำอีก



    5. ให้ทานไม่กระทบตนและคนอื่น
    เรื่องนี้สำคัญเมื่อให้ทานแล้ว ต้องไม่ทำให้ตัวเอง ครอบครัว เดือดร้อน หากให้ทานจนหมดตัวแล้ว ตัวเองเดือดร้อน สมาชิกในครอบครัวเดือดร้อน ไม่ว่าทานนั้นจะให้ทานด้วยทรัพย์ ด้วยวัตถุสิ่งของด้วยที่ดิน และแม้แต่เสียสละที่เกิดของเขต ผลการให้ย่อมกระทบตน กระทบครอบครัวได้รับความเดือดร้อน การให้ทานนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์บริบูรณ์ ดังนั้นการเดินสายกลางเป็นดีที่สุด


    พระพุทธองค์ตรัสถึงอานิสงส์ของการให้ทานด้วยครบทั้ง 5 ลักษณะที่กล่าวมาแล้วนั้นจะมี อานิสงส์ดังนี้

    เกิด มีอานิสงส์ใหญ่ บุคคลผู้ให้ ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก เพียบพร้อมทุกอย่าง เกิดมาเป็นมนุษย์ จึงเพียบพร้อมด้วย ข้าทาสบริวาร มีผู้คนเคารพนับถือได้รับการยกย่องจากชุมนุมชน เป็นผู้มีรูปร่างสวยงาม มีผิวพรรณ วรรณะผ่องใส เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด เป็นผู้มีรูปร่างสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน

    ทำให้เป็นผู้มีอายุยืนยาว ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่จักบริบูรณ์ตลอดกาล ย่อมปราศจากภัยจากไฟ จากน้ำ จากลม จากโจร จากพระราชาที่จะมายึดครองเอา แม้แต่ภัยจาก ทายาท ซึ่งไม่เป็นที่รักมาครอบครองเอาได้

    ชื่อว่าผู้ให้ย่อมทำให้ตนเองมีความสุข สบายใจ ปลอดโปร่งโล่งใจ ตรงข้ามกับการรับหรือเอาทรัพย์สินเงินทองจากผู้อื่น ทำให้ไม่สบายใจ อึดอัด เป็นภาระที่จะต้องตอบแทนบุญคุณ เป็นต้น

    เมื่อเราให้ทาน สิ่งที่ให้ที่เป็นส่วนหยาบ ก็คือสิ่งของที่เราสละไป ส่วนละเอียด ก็คือเราฆ่าความตระหนี่ได้สำเร็จ จนสามารถสละทรัพย์สิ่งของไปได้ ทันทีที่ฆ่าความตระหนี่ในใจได้สำเร็จ บุญก็ก่อเกิดขึ้นในใจเดี๋ยวนั้นเลย

    เป็นบุญจากการให้ทาน ชนิดตัดขาดออกจากใจ บุญชนิดนี้พอเกิดขึ้นมาแล้วจะมีคุณสมบัติอยู่อย่างหนึ่ง คือสามารถดึงดูดทรัพย์ สมบัติได้ เกิดอีกกี่ภพกี่ชาติบุญนี้จะติดตัวไป ทำให้สามารถดึงดูดทรัพย์สมบัติมาอยู่กับเราได้โดยง่าย

    คนที่ให้ทานมามาก และคิดให้ทานอยู่ตลอดเวลา พอเกิดขึ้นมาลืมตาดูโลก ยังไม่ทันทำอะไรเลยก็รวยแล้ว เพราะมีพ่อแม่ที่ร่ำรวย มีทรัพย์สมบัติเตรียมพร้อมไว้ให้ บางคนแต่เดิมพ่อแม่ก็ไม่รวย ทันทีที่เข้ามาอยู่ในครรภ์มารดา พอแม่เริ่มตั้งท้อง ทั้งพ่อทั้งแม่ไม่ว่าจะหยิบจะทำอะไรก็โชคดีไปหมด พอออกจากท้องแม่ โตขึ้นมาหน่อย สมบัติทุกอย่างก็มาพร้อมให้ใช้ นี่..เป็นผลของทานที่สร้างไว้ในอดีตชาติ ด้วยความตั้งใจและศรัทธาเต็มที่

    อย่างไรก็ตาม บางคนเมื่อเริ่มจะให้ทานไม่ได้ตั้งใจ แต่เมื่อทำไปแล้ว ภายหลังเกิดนึกดีใจว่าเราทำไปดีแล้ว เพราะคนอื่นจะได้ประโยชน์อีกมากมาย พวกนี้ก็ได้บุญติดตัวไปเหมือนกัน แต่เป็นบุญที่ให้ผลช้า เนื่องจากทำบุญโดยไม่ศรัทธามาก่อน เพราะฉะนั้นเกิดกี่ชาติๆ ในระยะเด็กๆ ถึงวัยรุ่น ช่วงที่ยังไม่ถึงวัยกลางคนจะยากจน แต่พอเลยวัยนั้นฐานะจะดีขึ้น เป็นผลเนื่องมาจากการที่ดีใจที่ได้ทำบุญ ดีใจช้า บุญก็ตามมาอย่างช้าๆ กว่าจะตามทันก็เมื่ออายุเข้าวัยกลางคน

    บางคนทำบุญทีแรกดีใจที่ได้โอกาสทำบุญ แต่พอทำไปแล้ว กลับนึกเสียดายภายหลัง บุญจึงส่งผลมาในลักษณะที่ว่า เมื่อยังเล็กร่ำรวย เข้าวัยกลางคนก็ยังรวยเรื่อยมา แต่พอตอนแก่ๆ อายุมากแล้ว การที่นึกเสียดายในภายหลัง ความเสียดายก็เริ่มมาตัดทอนกำลังบุญ เลยทำให้ยากจน อย่างนี้ก็มี

    ดังนั้นจึงสรุปตอบว่า ที่เราจนก็เพราะการให้ทานของเราภพในอดีตมันหย่อน เพราะฉะนั้นในภพชาตินี้ก็จงพยายามทำทานให้เต็มที่เต็มกำลังของเรา อย่าไปนึกตระหนี่หรือนึกเสียดายทานที่ให้ไปแล้ว และอีกอย่างหนึ่งอย่าไปตัดลาภใคร ใครเขาจะทำบุญก็อย่าไปขัด อย่าไปค้านเขา ตรงกันข้ามเห็นใครเขาตักบาตรทำบุญ ควรรีบสนับสนุนให้กำลังใจเขา รีบไปกล่าวอนุโมทนาให้เขาปลื้มใจให้มากที่สุด

    การให้ด้วยใจเป็นสุขนั้น ทำให้คนร่ำรวยได้จริงมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน คนรวยนั้นเขามีสูตรเฉพาะของเขาเลยว่า ยิ่งให้ยิ่งได้รับ

    วิธีที่จะแก้ไขในการให้ที่หวังผลที่เป็นกันมากนั้น ประเภทที่บอกว่าทำสิบบาทหวังผลล้านบาท เรื่องแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นจริง ไม่มีการลงทุนอะไรที่จะเกิดผลขนาดนี้อย่าไปเพ้ออย่าไปฝัน บุญนั้นจะส่งผลมากด้วยการให้ด้วยใจบริสุทธิ์เท่านั้น

    หลักการฝึกใจให้เป็นผู้ให้นั้น ต้องเริ่มจากการมีพรหมวิหาร 4 เป็นที่ตั้ง คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้เพราะมีความเมตตา มีใจกรุณา ปรารถนาให้ผู้รับนั้นเป็นสุข และเมื่อให้แล้วก็ไม่คิดเสียดาย แบบให้แล้วให้เลยวางเฉยไม่ยินดียินร้ายอะไร

    เริ่มให้จากคนที่เราคุ้นเคยกันเพื่อฝึกใจให้มีกำลัง พอชินในการให้แล้ว ก็เริ่มให้ผู้อื่นที่เราไม่รู้จัก ไม่จำเป็นต้องให้คนที่อยู่สูงกว่าเรา เพราะถ้าส่วนมากเรามักจะให้เพราะในใจนั้นหวังจะได้ผลตอบแทน หวังในอำนาจ บารมีให้เขาช่วยเหลือ เช่น ให้พระสงฆ์เพื่อหวังจะให้ท่านช่วยนั่นช่วยนี่ให้สำเร็จ ให้กับข้าราชการผู้ใหญ่ก็หวังจะให้เขาช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ

    ทางที่ดีที่สุด ควรให้คนที่ต่ำกว่าหรือไม่เลือกแบ่งชนชั้น วรรณะ เชื้อชาติใดๆ การให้นั้นไม่มีข้อแม้ แต่ผลจากการให้นั้น รับรองว่าช่วยค้ำจุนให้ชีวิตดีขึ้นแน่นอน และที่สำคัญยิ่งให้ยิ่งรวยครับ





    จากหนังสือเรื่อง เปิดบุญ เปลี่ยนรหัสกรรม โดย ธ.ธรรมรักษ์ และทศ คณนาพร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 เมษายน 2016
  2. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ขอดันกระทู้ค่ะ ได้ความรู้มากๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...