การเขียนชื่อลงในของที่นำไปถวายพระหรือวัด

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พรนานา, 7 มกราคม 2010.

  1. พรนานา

    พรนานา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +24
    ก่อนอื่นก็ต้องสวัสปีใหม่ก่อนนะคะ มีเรื่องที่สงสัยค่ะขอความกรุณาท่านผู้รู้แนะนำด้วยค่ะ คือเวลาเรานำข้าวของเครื่องใช้ ทั้ง ถ้วย ชาม ช้อน หม้อ ฯลฯ ไปถวายวัดจำเป็นหรือเปล่าว่าจะต้องเขียนที่สัญญลักษณ์ว่าเป็นของใคร แล้วคนที่เขียนชื่อติดไว้นั้นจะได้บุญจริงหรือเปล่าคะ
     
  2. samsong

    samsong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    438
    ค่าพลัง:
    +814
    คำถามนี้ผมก็อยากทราบเหมือนกันครับ

    เชิญท่านผู้รู้มาตอบหน่อยนะครับ
     
  3. fcaon

    fcaon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +72
    ถ้าการให้ทาน ด้วยจิตที่เป็นกุศล และเสียสละ โดยตนเองไม่เดือดร้อน
    ก็ได้ประโยชน์ครับ

    แต่ถ้ามีการยึดติด กับชื่อเสียง หรือ สิ่งของ ว่าเป็นของที่ตนให้
    นั่นก็คือ ยังไม่ละจากกิเลส ละจากอัตตา
     
  4. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    เวลาที่เรานำสิ่งของไปถวายวัด ไม่จำเป็นต้องเขียนสัญญลักษณ์ว่าเป็นของใครหรอกครับ และแม้ไม่เขียนชื่อไว้ ก็ได้บุญเหมือนกัน

    การบริจาคทานก็เพื่อลดความโลภ หากยังไปเขียนชื่อติดไว้ ก็จะมี 2 นัย คือ
    1 เสียดาย
    2 อยากอวด

    ซึ่งจุดประสงค์ทั้ง 2 อย่างนี้ ทำให้บุญพร่อง เพราะเจตนาตอนปลายไม่บริสุทธิ์ ของอะไรก็ตาม เมื่อถวายให้กับวัดไปแล้ว ก็ถือว่าเป็นของสงฆ์ไปแล้ว ไม่ใช่ของๆเราอีกต่อไปแล้ว บางคนที่ละเอียด ก็ถึงขั้นว่า ถ้าตั้งใจจะถวายของอะไรก็ตามให้กับวัด ให้กับพระสงฆ์องค์เจ้า แม้ยังไม่ได้นำไปถวาย ก็จะไม่ยึดถือว่าเป็นสมบัติของตัวเองอีก

    ที่บอกว่า แม้ไม่เขียนชื่อไว้ ก็ได้บุญเหมือนกันนั้น เป็นเพราะในทางพุทธศาสนา การทำบุญนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การทำใจ .... ใจต้องมาก่อน ทันทีที่มีเจตนาว่าจะให้ แม้ยังไม่ทันให้ บุญเกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างนั้นจริงๆ ถ้าเราไม่มี "ใจ" ที่คิดจะให้ ถามว่าเราจะให้ทานได้ไหม ทำบุญได้ไหม ก็ทำไม่ได้ หรือทำได้ก็เพราะโดนบังคับ ขัดไม่ได้ กลัวคนอื่นจะหาว่าขี้เหนียว ฯลฯ เพราะฉะนั้น เมื่อการทำบุญยึดถือเรื่อง "ใจ" เป็นอันดับหนึ่ง ก็จงทำใจให้ละวางจากสิ่งที่ถวายนั้นเสีย ตรงกันข้าม กลับทำใจให้ระลึกถึงคุณงามความดีที่เราทำไว้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจให้แช่มชื่น อย่างนี้แหละถึงเรียกว่า "ทำบุญเป็น"

    สงสัยข้อหนึ่ง ทำไมเจ้าของกระทู้ถึงสงสัยว่าเวลานำของไปถวายวัด จำเป็นที่จะต้องเขียนชื่อหรือทำสัญลักษณ์ไว้หรือไม่ และจะได้บุญหรือไม่ อยากทราบว่าเจ้าของกระทู้ไปได้ยินได้ฟังมาจากไหน หรือนึกสงสัยเอง ?

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
     
  5. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    เขียนหรือไม่เขียน ก็ได้บุญ

    แต่ถ้าเขียนชื่อของเราไว้ที่ เครื่องใช้ต่าง ๆ เวลาที่วัดนั้น ๆ มีงานบุญ

    จะต้องใช้ จาน ชาม ถ้วย หม้อ ฯลฯ คนที่มาเห็นก็อาจจะ โมทนาบุญกับเรา

    เช่น เราเขียนชื่อเอาไว้ที่ หม้อแกง คนที่จะใช้หม้อนั้นมาทำกับข้าวเลี้ยงพระ

    เมื่อได้เห็นชื่อก็สามารถที่จะ ยินดีโมทนาไปกับเราที่เรา ซื้อของถวายวัด เป็นต้น

    .
     
  6. พรนานา

    พรนานา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +24
    ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างค่ะ ก็ไม่ได้ยินมาจากที่ไหนหรอกค่ะ ที่สงสัยนั้นก็คือเวลาเราไปวัด เราจะเห็นของที่วัดมีการเขียนติดไว้ จากคนนั้น ให้คนนี้ เลยมีคำถามในใจว่าเรานำของมาถวายบ้างเราต้องเขียนแบบนั้นมั้ย..หรือไม่ต้องเขียนก็ได้ ขอบคุณค่ะ.
     
  7. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    การเขียนที่คุณเห็นอย่างนั้น ไม่ใช่เป็นการเขียนในลักษณะที่แสดงความเป็นเจ้าของ หากแต่เป็นการเขียนในลักษณะที่อุทิศส่วนกุศล คือ นายคนนี้สร้างถวายเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ...... ซึ่งไม่เฉพาะจานชาม กุฏิเอย พระพุทธรูปเอย ก็จะมีการเขียนในลักษณะอย่างนี้เหมือนกัน

    ดีแล้วครับที่รู้จักสังเกตและสงสัย อย่างที่ผมบอกไปแหละครับว่า "เจตนา" ในทางพระศาสนาเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าการเขียนชื่อนั้นเรามีเจตนาเพื่อจะโอ้อวด เพื่อจะให้คนอื่นทึ่งตะลึงงัน อย่างนี้บุญก็ไม่เต็ม ไม่ใช่ว่าไม่ได้บุญนะครับ ได้บุญอยู่ แต่ยังไม่เต็มที่

    แต่ถ้าการเขียนชื่อนั้นก็เพื่อให้คนอื่นอนุโมทนาบุญด้วย อย่างนี้ก็เป็นเจตนาดี คุณได้บุญเพิ่มขึ้น เรียกว่า บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญนั้น คือให้คนอื่นได้ชื่นชมยินดีกับผลบุญที่คุณถวายข้าวของเครื่องใช้ให้กับวัดนั่นแหละครับ

    เจตนาตรงนี้ คุณเท่านั้นที่จะเป็นผู้ตอบได้ว่า หากคุณเขียนชื่อไว้ คุณเขียนด้วยจุดประสงค์อย่างไร

    การทำบุญนั้นเพื่อเป็นการละความโลภ อันถือเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง ในขณะเดียวกันสิ่งที่เราอาจจะมองข้ามไปก็คือ ก็เพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นด้วย ยึดมั่นถือมั่นในลักษณะเจ้าข้าวเจ้าของในสิ่งที่ถวายวัดนั่นแหละ เราอาจลืมนึกไปแล้วว่า ของนั้นถวายให้กับวัดไปแล้ว เพราะฉะนั้น การทำบุญนั้นเราต้องพัฒนาจิตใจให้ลดละความยึดมั่นถือมั่นด้วย ไม่ต้องการแม้คำสรรเสริญ ไม่ต้องการชื่อประดับไว้ ทำแล้วก็คือแล้วไป นั่นแหละเป็นที่มาของคำว่า "ปิดทองหลังพระ"

    กิเลสอย่างหนึ่งที่มันจู่โจมเราก็คือ ความอยากอวดในการที่เราทำความดี โอ้โห บางครั้ง เราได้ทำอะไรที่มันดูแล้วยิ่งใหญ่ สุดยอด สุโค่ย โอ้โห หัวใจพองโต หน้าบาน เราอยากจะบอกเล่าให้คนอื่นรับฟังด้วย ตรงนี้แหละสำคัญ ถ้าการที่เราอยากบอกเล่านั้น เพื่อให้คนอื่นอนุโมทนา ก็เรียกว่าเรามีความเมตตากรุณา แต่ถ้าเราอยากบอกเล่าเชิงอวด อยากได้ยินคำสรรเสริญเยินยอ ก็เรียกว่าเสียท่ากิเลสเข้าแล้ว จะมีกิเลสอันใดเล่าสำหรับผู้ศึกษาธรรมที่จะร้ายแรงยิ่งกว่า "ความหลง"

    ขอสรุปอีกครั้งว่า การถวายจานชามให้กับวัดนั้น เขียนชื่อก็ได้ ไม่เขียนก็ได้ และแม้ไม่เขียน ก็ได้บุญเหมือนกัน

    ปล. พูดมากคงไม่ว่ากันนะครับ
     
  8. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    มีผลครับ

    แต่ต้องเข้าใจว่า ที่มีผลนั้น เป็นปัจจัยเสริม ส่วนปัจจัยหลัก ก็คือ กรรมของคุณนั่นเอง ซึ่งเรื่องกรรมเนี่ย คงไม่ต้องอธิบายมาก เพราะคงเคยได้ยินได้ฟังมาแล้ว

    ที่บอกว่าเป็นปัจจัยเสริมคือ เหมือนเป็นการเสริมดวงชะตานั่นแหละ
    เวลาที่เรากราบไหว้พระพุทธรูปที่เขียนชื่อวันเกิดของเราไว้ที่ฐานพระพุทธรูปในบ้านของเรา เราก็กราบไหว้พระพุทธรูปด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ดวงจิตเป็นกุศล ดวงจิตของเราก็จะนำสิ่งดีๆเข้าหาตัวเอง เป็นการบูชาดวงชะตาเราเอง กรณีที่นำไปถวายพระที่วัดก็เหมือนกัน เวลามีคนมากราบไหว้ ก็ได้กราบพระพุทธรูปที่เรานำมาถวาย ดวงชะตาของเราก็ได้รับผลไปด้วย

    เรื่องพวกนี้อย่านึกว่าไม่มีผลนะครับ สมมติว่าตื่นเช้าขึ้นมา เราก็แช่งตัวเอง "วันนี้ท่าทางซวยแน่ๆ" ทำทุกเช้า รับรองซวยจริงๆ อธิบายได้ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของพลังงาน

    บุญเป็นพลังงาน จิตที่สงบก็เป็นพลังงาน ความเคียดแค้น ความเลื่อมใสศรัทธา ก็เป็นพลังงาน ยิ่งโดยเฉพาะความเลื่อมใสศรัทธาของคนหมู่มาก ก็ก่อให้เกิดพลังงานที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นการที่เราคิดแต่เรื่องร้ายๆ คิดว่าตัวเองจะเจอแต่เรื่องร้ายๆ ก็จะเจอจริงๆ จิตจะดูดสิ่งเลวร้ายเข้ามาตัวเองนั่นแหละ เพราะฉะนั้นมีคำสอนว่า จิตจะต้องคิดถึงสิ่งดีๆ จิตจะต้องเบิกบาน จิตจะต้องเบาสบาย แม้กระทั่งตอนที่เจอปัญหาหนักๆ ก็ต้องวางลง ทำใจให้เบาสบาย มันทำยากนะ แต่ถ้าทำได้จะดี เมื่อจิตไม่เครียด ก็จะเกิดปัญญา หาทางออกได้ หรือหากจะมีสิ่งใดเข้ามาช่วยเหลือ ก็จะช่วยได้ง่ายขึ้น เหมือนกับว่ามีคนจะมาช่วยเรา หากเราปิดประตูบ้าน เค้าจะมาช่วยเราได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ก็ต้องเปิดประตูบ้านของตัวเราเอง ก็คือทำจิตให้เบาสบายนั่นเอง

    มีของแถมอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องการผูกดวงเนี่ย เราอย่าเห็นว่าเป็นเรื่องงมงายนะครับ หรือแม้กระทั่งพวกโหราศาสตร์ก็เหมือนกัน เค้าก็มีดีอยู่ เราอย่าไปดูถูกเชียว เพราะที่เค้าผูกดวง ผูกชะตาบ้านเมือง หรือจับยามสามตาเวลาจะรบทัพจับศึกเนี่ย ก็มีศาสตร์มารองรับนะ เพียงแต่ว่า เราในฐานะพุทธศาสนิกชน เราต้องเรียงลำดับความสำคัญให้ถูก กรรมเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องหลัก ส่วนดวงชะตาอะไรต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องรอง อย่านำเรื่องรองมาเป็นเรื่องหลักก็แล้วกัน
     
  9. kim2533

    kim2533 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,613
    ค่าพลัง:
    +6,305
    อยู่ที่เจตนาครับ เจตนาดีก็ได้บุญ เจตนาไม่ดีก็ได้บุญ แต่แถมบาปมาด้วยนะครับผมว่า
     
  10. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,306
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    เราได้บุญตั้งเเต่ใจที่เจตนาอยากทําบุญเเล้วครับ ไม่ต้องกังวลไปครับ ถ้าเปรียบก็เหมือนกับ คนที่ปิดทองหลังพระครับ ทําดีเเต่ไม่ต้องประกาศให้ใครรู้ครับ อาจจะไม่มีใครรู้ เเต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนนั้นท่านทราบอย่างเเน่นอนครับ ขอให้ตั้งใจทําดีต่อไปครับ เจริญในธรรมครับ
     
  11. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    เพราะเหตุที่บุญ-บาป มันไม่หลงเจ้าของ..แม้เราจำมันไม่ได้แต่ก็ยังตามให้ผลอยู่ดี

    ในความเห็น....ส่วนตัว

    ของใช้ปัจจัย 4 ถวายสงฆ์เราสามารถเขียนได้

    เช่น ภาชนะถ้วยชาม ถวายวัด เต้นผ้าใบ กุฎิ ประตูหน้าต่างวิหาร ศาลาห้องน้ำ เพื่อเป็นอนุสติ

    เพราะเจ้าภาพสร้างมีเจตนากุศล และแสวงหาวัตถุมาโดยชอบและสละไว้ค้ำชูพระศาสนา

    แต่ที่น่าสังเกตคือ

    [​IMG]

    องค์พระพุทธรูปโบราณไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างอยู่บนฐานพระเพราะเป็นของสูง

    มาพิจารณาอาจเหตุด้วยพระสงฆ์และพระอริยะย่อมต้องกราบไหว้องค์พระ

    คนโบราณจึงเลี่ยงที่จะเขียนชื่อตนที่หน้าฐานพระเพราะพระสงฆ์ท่านย่อมกราบไหว้จึงเลี่ยงไม่เขียนชื่อตน

    เพื่อป้องกันการปรามาทพระรัตนตรัยนั่นเองคงเป็นความรู้สึกที่ไม่ดีที่ควรสำรวมระวังและพิจารณาให้รอบคอบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12385.jpg
      12385.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.6 KB
      เปิดดู:
      18,869
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2010
  12. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    กราบอนุโมทนาค่ะ เฮียปอ
    ติงเห็นด้วยค่ะ
    แต่ปกติติงไม่เขียน
    แต่บางครั้งพระอาจารย์ท่านก็เมตตาให้ช่างเขียนให้ค่ะ
    เช่นเวลาถวายพระประธาน หรือเสนาสนะต่างๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...