การห่มจีวรของพระภิกษุสงฆ์นิกายต่างๆ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย G@cKt, 16 กันยายน 2008.

  1. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    [​IMG]

    การห่มผ้าของภิกษุในสมัยพุทธกาล

    คำว่า “ไตรจีวร” หมายถึงผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัว คือ 1. สังฆาฏิ ผ้าทาบ 2. อุตราสงค์ ผ้าห่ม เรียกสามัญในภาษาไทยว่าจีวร 3. อันตรวาสก ผ้านุ่ง เรียกสามัญว่าสบง
    พระพุทธเจ้าทรงห่มจีวรแบบไหนและสีอะไร เป็นปัญหาหนึ่งที่เป็นที่สนใจของชาวพุทธอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน โดยเฉพาะในหมู่นักบวช ซึ่งถือวินัยการห่มจีวรว่าเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของความบริสุทธิ์ของนิกายที่ตนนับถือหรือบวชอยู่ การเลือกสีจีวรในการนุ่งห่มของพระในงานพิธีที่สำคัญต่าง ๆ
    ในปัจจุบัน นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับวงการสงฆ์ มักจะไม่ทราบว่าเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมิใช่น้อยเลย สิ่งที่น่าฉงนยิ่งไปกว่านั้นคือเรื่องวิธีการห่ม เช่น วิธีการห่มแบบมังกรพันแขน โดยจะหมุนลูกบวบไปทางขวาหรือทางซ้าย ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่อีกเช่นกัน
    ข้อถกเถียงเรื่องสีและวิธีการห่มจีวรนั้นไม่ใช่เฉพาะเมืองไทยเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่มีกันมานานแล้ว และก็จะมีต่อไป การศึกษาเรื่องจีวรของพระภิกษุนั้น ย่อมทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ที่แพร่กระจายไปทั่วทวีปเอเชียได้เป็นอย่างดี
    ในพระวินัยปิฎก เมื่อกล่าวถึงการห่มจีวรของภิกษุก็ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดมากนัก มีคำกล่าวไว้อย่างง่ายว่า พระพุทธองค์ทรงนุ่งสบง ทรงจีวร ซ้อนสังฆาฏิ เข้าสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาต กฎเกณฑ์ในเรื่องจีวรของพระภิกษุ จึงยังมีช่องว่างที่ทำให้ตีความได้หลายประเด็นอย่างวิธีการห่มจีวรของพระภิกษุในปัจจุบันที่เราพบเห็นกันในประเทศไทย พม่า รวมถึงศรีลังกา ต่างก็ถือว่าถูกต้องด้วยกันทั้งนั้น สีจีวรที่ออกเหลืองหม่น หรือสีเหลืองทอง ต่างก็มีปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎก


    สีของจีวร

    <TABLE id=table2 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด ที่แสดงให้เห็นถึงสีของจีวรของนักบวชนั้น มีบัญญัติในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งกล่าวถึงจีวรของนักบวชที่เรียกว่า สันยาสิน ซึ่งสวมใส่จีวรสี “เปลวเพลิง” มีอาศรมอยู่บริเวณชายป่า หรือการห่มผ้าสีเหลืองส้มของพระทางสายลังกาวงศ์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมเรียกกันในเมืองไทยว่า “พระมหานิกาย” นั้นก็สามารถเทียบเคียงได้กับที่บรรยายในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์นี้ แม้ในปัจจุบันนักบวชหรือนักพรตฮินดูนิกายต่าง ๆ ก็ยังนิยมนุ่งห่มจีวรสีเดียวกันนี้อยู่
    การที่สีจีวรของนักบวช สมณะ และสันยาสิน ดั้งเดิมน่าจะเป็นสีเปลวเพลิง น่าจะมีเหตุผลมาจากเป็นสีที่เห็นได้ถนัดชัดเจน โดยเฉพาะในป่า เพราะเป็น “สีแห่งความปลอดภัย” เนื่องจากสัตว์ทั้งหลายที่เห็นแต่ไกล นึกว่าเป็นกองไฟกำลังลุกไหม้อยู่ จึงหลีกเลี่ยงไม่เข้ามาใกล้ แม้นายพรานที่กำลังล่าสัตว์อยู่ก็สังเกตเห็นได้ง่าย เนื่องจากโดดเด่นกว่าสีอื่น ๆ

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    [​IMG]


    หลักฐานสนับสนุนสำคัญประการหนึ่ง คือ กฎหมายในต่างประเทศเช่น ประเทศสหรัฐฯ กำหนดให้ผู้ที่จะเดินทางเข้าไปในป่านั้น ต้องสวมเสื้อผ้าสีแสดหรือออกส้มเช่นเดียวกัน เพื่อความปลอดภัยจากการถูกนายพรานที่กำลังล่าสัตว์ในป่ายิงเข้าโดยไม่ตั้งใจ


    <TABLE id=table3 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">[​IMG]</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตสีที่ใช้ย้อมจีวรผ้ากาสายะ หรือผ้าย้อมฝาดได้หลายสี เช่น จากดินสีอรุณ (ดินสีแดง) หรือแก่นขนุน และสีใกล้เคียงอีกหลายชนิด ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนานั้น ได้เผยแพร่ไปได้รวดเร็วในยุคแรก ความจำเป็นของการหาวัสดุมาย้อมสีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ หรืออาจมองได้อีกประการหนึ่งว่า ทรงมีพุทธวินิจฉัยว่า เป็นเรื่องที่สามารถยืดหยุ่นได้เนื่องจาก ไม่ใช่แก่นของพระพุทธศาสนา ซึ่งมุ่งกำจัดความทุกข์ทางใจ
    ส่วนลักษณะการห่มนั้น ปรากฏว่ามีหลักฐานเป็นวัตถุธรรมที่เก่าแก่ที่สุด ที่นักโบราณคดีค้นพบในวัดทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นภาพพระภิกษุกำลังยืนแต่นุ่งเฉพาะผ้าสบง กายท่อนบนมิได้ห่มผ้าใด ๆ อยู่ด้วย พระภิกษุอินเดียในยุคแรกจึงไม่น่าจะสวมผ้าอังสะในขณะที่ตนเองอยู่ในวัด ส่วนการครองจีวรท่อนบนนั้นคงห่มเฉพาะตอนที่ตนเดินทางออกจากวัดเข้าไปในเขตหมู่บ้าน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    รูปปั้นและหินสลักของศิลปะคันธาระ แสดงให้เห็นถึงวิธีการห่มที่คล้ายการห่มของพระลังกาวงศ์โดยห่มปิดไหล่ทั้งสองข้างเช่นกัน และยังมีภาพหินสลักที่พบในปากีสถานอันอยู่ในเส้นทางที่มีชื่อเรียกว่า “กะราโกรัม” ว่าพระภิกษุห่มผ้าที่ยาวคล้ายทรงกระบอกไม่มีรอยแหวกด้านข้าง คล้ายกับที่พระลังกาวงศ์หรือมหานิกายสวมใส่เวลาครองผ้าออกนอกวัด วิธีการห่มจีวรของพระมหานิกายของไทยนั้นอาจมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนานิกายที่เผยแพร่ในตอนเหนือของอินเดียหรือแคชเมียร์ในยุคเมื่อประมาณ ๒๒๐๐ ปีมาแล้ว


    [​IMG]



    วิธีการห่มจีวรของนิกายเถรวาท


    <TABLE id=table1 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">[​IMG]</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=563>การห่มจีวรของพระในนิกายเถรวาทนั้น มีหลักฐานที่แน่ชัดมากขึ้นในราวศตวรรษที่ ๑๒ หรือราวปี พ.ศ. ๑๗๐๐ – ๑๘๐๐ ศูนย์กลางสำคัญของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทในขณะนั้นมีอยู่ ๓ แห่งด้วยกัน แต่ละแห่งเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน แต่ใช้บาลีเช่นเดียวกัน และมีการแลกเปลี่ยนอุปัชฌาย์และคัมภีร์ต่าง ๆ ระหว่างกัน อันได้แก่ วัดมหาวิหาร ในศรีลังกาแห่งหนึ่ง อาณาจักรของชาวพยู ทางตอนเหนือของพม่าอีกแห่งหนึ่ง และอาณาจักรทวาราวดีแถวลุ่มน้ำเจ้าพระยาอีกแห่งหนึ่ง
    ต่อมาชาวพยูได้รับภัยพิบัติ ผู้คนล้มตายกันทั้งเมืองจาดโรคระบาดครั้งใหญ่ชาวมอญได้เข้าไปครอบครองและได้รับวัฒนธรรมของพยูเข้าไปด้วย คัมภีร์เก่าแก่ของชาวพยูได้รับการแปลเป็นภาษามอญและต่อมาพม่าก็ได้แผ่อิทธิพลไปครอบครองดินแดนนี้ด้วย จึงได้แปลคัมภีร์เหล่านี้เป็นภาษาพม่าในสมัยต่อมา สิ่งที่น่าจะเป็นผลโดยตรงคือการเกิดวิธีการห่มผ้าของพระพม่าและมอญที่แตกต่างออกไปจากศรีลังกา สีของผาจีวรก็หลากหลายออกไปอีกด้วย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    การห่มจีวรของพระในประเทศไทยได้รับอิทธิพลการห่มผ้าจากทั้งสองประเทศ คือ ศรีลังกา และมอญ ส่วนการห่มผ้าของภิกษุที่มีผ้าประคดอกและสังฆาฏิพาดไหล่นั้น อาจจะเก่าแก่กว่าวิธีการห่มจากลังกาและอาจเป็นวิธีการห่มผ้าของภิกษุกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    การห่มผ้าในลักษณะเช่นนี้ยังพบกันมากในแถบสิบสองปันนา และยูนาน ส่วนของธรรมยุติกนิกาย ห่มผ้าลูกบวบหมุนซ้ายนั้นได้รับอิทธิพลจากพระมอญซึ่งอพยพเข้ามามากในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๒ และได้รับการปรับปรุงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าอยู่หัว ในสมัยที่พระองค์ทรงผนวช
    ในประเทศไทยนั้น พระภิกษุแต่เดิมครองจีวรแบบที่เรียกว่า ห่มมังกร หมุนผ้าลูกบวบทางขวาเวลาออกนอกวัด ส่วนเมือถึงเวลาทำสังฆกรรมจะห่มผ้ารัดประคดคาดที่หน้าอก และมีผ้าสังฆาฏิพาดที่ไหล่ซ้าย การห่มผ้าในลักษณะเช่นนี้ปัจจุบันมีน้อยวัด เนื่องจากมีคำสั่งของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ให้พระภิกษุทั่วสังฆมณฑลห่มผ้าตามแบบของธรรมยุติกนิกายทั้งหมด พระภิกษุส่วนใหญ่จึงนิยมห่มผ้าแบบธรรมยุตินิกายตั้งแต่นั้นเรื่อยมา ปัจจุบันแม้จะมีความแตกต่างกันบ้างแต่ก็ถือว่าเป็นการห่มแบบพระสงฆ์ไทย คืออยู่ในวัดห่มเฉลียงบ่า เวลาออกนอกวัดให้ห่มคลุมไหล่ทั้งสองข้าง


    การห่มจีวรของพระในนิกายมหายานชาติต่าง ๆ

    <TABLE id=table2 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" width="76%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle>
    [​IMG]




    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle>
    [​IMG]




    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    เมื่อพระพุทธศาสนาจากอินเดียเผยแผ่เข้าไปในจีน เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องสีของจีวรเนื่องจาก สีเหลืองนั้นเป็นสีของฮ่องเต้ประชาชนธรรมดาไม่มีสิทธิ์สวมใส่ ใครสวมใส่ชุดสีเหลืองต้องได้รับโทษ ผลคือพระจีนต้องเปลี่ยนสีจีวรเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้ โดยมีจีวรสำหรับเณรเป็นสีดำ และอากาศที่หนาวเย็นทำให้พระจีนต้องปรับตัวมีชุดกันหนาวข้างใน และใส่รองเท้าให้มิดชิด


    [​IMG]


    ในประเทศเวียดนาม แม้ว่าพระเวียดนามจะได้รับพระพุทธศาสนามาจากจีนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้รับมาทั้งหมด จะมีเอกลักษณ์ของตนเอง ที่ใส่จีวรสีเหลืองเปล่งปลั่ง เนื่องจากไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายของฮ่องเต้จีน


    [​IMG]


    ส่วนในทิเบต ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทำนองเดียวกันในเรื่องของชุดกันหนาว ซึ่งพระลามะสวมเสื้อกั๊กกันหนาวข้างใน หมวกและผ้าจีวรก็เป็นผ้าที่หนาทำจากขนสัตว์ และสีจีวรก็เปลี่ยนแปลงเป็นสีแดงปนม่วง สีนี้นิยมใส่กันมากในหมู่ชนเผ่าทั้งหลายที่อยู่ในที่ราบสูง เนื่องจากจะตัดกับสีของท้องฟ้าเป็นอย่างดีทำให้เห็นได้แต่ไกล และเป็นสีแห่งความปลอดภัยในพื้นที่แถบเทือกเขาหิมาลัย
    ภิกษุของมองโกเลียนั้นได้รับอิทธิพลจากทิเบต ในสมัยรุ่นหลานของเจงกิสข่าน หลานชายของจักรพรรดิเกิดความเลื่อมใสพระทิเบตรูปหนึ่ง โดยได้นิมนต์มาเป็นพระอาจารย์ประจำในราชสำนักและได้แต่งตั้งท่านให้เป็น “ดาไลลามะ หรือทะไลลามะ” ต่อมา การนุ่งห่มจีวรก็ได้พัฒนาไปมากเช่นกัน พระมองโกเลียจะสวมหมวกไว้เคราได้ และใส่จีวรที่คล้ายพระทิเบตแต่ มีลวดลายศิลปะของราชสำนักมองโกลเข้ามาด้วย
    ที่เกาหลีและญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาในประเทศจีน สีจีวรจึงคล้ายกัน โดยมีจีวรของสามเณรเป็นสีดำและสวมเสื้อกางเกงและรองเท้ากันความหนาวเย็นแบบพระจีนไปด้วย และต่อมาได้มีวิวัฒนาการเรื่องจีวรอย่างมากในญี่ปุ่นโดยเฉพาะในนิกายชิงกง หรือวัชรยานของญี่ปุ่นซึ่งนำมาทอ และวาดเป็นลวดลายวิจิตรพิสดารยิ่ง แต่ก็ยังคงลักษณะที่เป็นรูปคันนาเป็นตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่น้อยให้สังเกตได้ง่าย



    <TABLE id=table3 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">[​IMG]</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=563>ในญี่ปุ่น การทำจีวรพระเป็นศาสตร์ที่ได้รับตกทอดกันมากในวงศ์ตระกูล จีวรพระญี่ปุ่นที่สั่งทำพิเศษสำหรับเจ้าอาวาสนั้นมีราคาแพงมาก มีทั้งลวดลายและสีสันที่ละเอียดอ่อน เป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่เก่าแก่และมีอายุนับพันปี

    พระญี่ปุ่นยังได้รับพัฒนาจีวรของตนไปไกลกว่านั้นอีกมาก บางนิกาย ย่อจีวรให้เล็กลง จนเหลือเป็นเพียงผ้าผืนเล็กนิดเดียว คล้องเป็นเหมือนผ้ากันเปื้อนไขว้คอ กว้างประมาณคืบหนึ่งยาวประมาณคืบเศษ ๆ แต่ยังคงลักษณะลายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบคันนา แบบจีวรของพระในเมืองไทยให้เห็นอยู่ พระญี่ปุ่นบางนิกายย่อจีวรให้เล็กยิ่งไปกว่านั้นเสียอีก มิได้ห้อยคอเหมือนผ้ากันเปื้อนอีกต่อไป แต่มีขนาดจิ๋วปะอยู่ด้านในของสูทสากล มีลักษณะเหมือนป้ายยี่ห้อร้านตัดเสื้อชั้นดีทั่วไป เพื่อความสะดวกในชีวิตสังคมญี่ปุ่นสมัยใหม่ที่ต้องการความเรียบง่าย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    การห่มจีวรของพระในนิกายมหายาน

    นิกายมหายานนั้นเป็นการห่มจีวรที่ยุ่งยากที่สุดซับซ้อนและหลากหลายที่สุด พระลามะใส่จีวรที่มีสีแดงสด น่าดูที่สุด ส่วนการจะแยกว่าใครอยู่นิกายไหนนั้น ให้ดูที่สีผ้าอังสะ เช่นสีเหลืองนิกายเกลุก สีแสดนิกายศากยะ เป็นต้น
    <TABLE id=table1 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">[​IMG]</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">พระลามะนิกายศากยะ นุ่งห่มผ้าจีวรสีแดง สบงสีขาว ไว้ผมและหนวดยาวเฟื้อย เป็นที่สนใจของผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างยิ่ง จนอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นดาราของที่ประชุมเลยก็ว่าได้ แต่ความจริงท่านเป็นพระลามะจัมยัง ตาซิ ดอร์เจ ผู้นำทางจิตวิญญาณ นิกายศากยะ จากประเทศสเปน

    พระในนิกายเนนบุทสุซุ จากญี่ปุ่นใส่กางเกงและห่มจีวรเหลืองแก่ คล้ายพระไทย เป็นกลุ่มพระที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่ง บางท่านโกนผม บางท่านผมยาว หากไม่คุ้นเคยคงแยกลำบากว่าใครเป็นพระ ใครเป็นคฤหัสถ์




    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    [​IMG]


    พระในนิกาย เซน จากประเทศสวีเดนใส่กางเกงสีกรมท่า ใส่เสื้อ และห่มจีวรสีกรมท่า นี้ก็น่าดูไปอีกอย่าง


    [​IMG]


    พระเวียดนามห่มจีวรเหมือนพระไทย แต่ใส่กางเกง พระลังกาใส่เสื้อแทนอังสะ ห่มจีวรเหมือนพระไทย พระพม่าจีวรสีแดงสด พระเขมร พระลาว ห่มจีวรเหมือนพระไทย สีก็ใกล้เคียงกัน พระในนิกายเถรวาทยังรักษารูปแบบการห่มจีวรไว้ตามแบบพระเถระในอดีต

    ส่วนในนิกายมหายานมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามความเหมาะสม บางนิกายสีของจีวรอาจบ่งบอกถึงตำแหน่งฐานะทางการบริหารเช่นพระจีน พระเกาหลีเป็นต้น ดังนั้นในการประชุมร่วมระหว่างสองนิกาย เราจึงได้เห็นพระใส่จีวรหลายสี และแต่งกายหลายรูปแบบ แต่เราก็มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวกันคือพระศากยโคตมะพุทธเจ้า ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอาจจะแตกต่างกันบ้าง


    <TABLE id=table2 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">[​IMG]




    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">การแต่งกายของภิกษุในพระพุทธศาสนาทั้งสองนิกายคือมหายานและเถรวาทมีความแตกต่างกัน อาจจะเป็นสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศทำให้เครื่องแต่งกายต้องเปลี่ยนไปด้วย เช่นพระลามะในทิเบต อากาศหนาวมาก จึงต้องห่มจีวรสีแดง มองเห็นได้แต่ไกล ส่วนพระจีน เกาหลี ญี่ปุ่นต้องใส่กางเกงแทนสบง แต่เมื่อพระทั้งสองนิกายมาประชุมกัน ภาพที่มองจากมุมกว้างอาจจะมองเห็นแปลกแยก แต่เป็นความแตกต่างที่ลงตัว สีของจีวร รูปแบบการนุ่งห่ม ความเห็นที่แตกต่างได้รับการประสานและสรุปอย่างลงตัวในการประชุมสุดยอดชาวพุทธครั้งนี้ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปยังนานาอารยประเทศต่อไป</TD></TR></TBODY></TABLE>






    รวบรวม/เรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

    http://www.lanna.mbu.ac.th
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กันยายน 2008
  2. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    Colorful of the Buddhist priest in Japan

    1.jpg 2.jpg

    3.jpg 4.jpg

    5.jpg 6.png

    7.jpg
     
  3. NOP500

    NOP500 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +441
    โอ้โห ไม่เคยรู้มาก่อนเลย มีแยะจัง

    ขอบคุณที่ให้ความรู้ นะครับ

    สาธุ..สาธุ
     
  4. ปัจเจกพุทธะ

    ปัจเจกพุทธะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +121
    อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะ สีละ เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจาธิฏฐานะเมตตุเปกขา ยุทธายะ โว คัณหะถะอาวุธานีติ.
    ดูก่อนพระบารมีทั้งหลาย ขอเชิญพระบารมีคือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐานะ เมตตา และอุเบกขา จงมาที่นี่โดยเร็วพลัน แล้วพากันถือเอาอาวุธ เพื่อยุทธ์กับพญามาร (กิเลส) เถิด.
    อนุโมทนาครับ.
    บริจาคเงินช่วยวัดพระบาทน้ำพุ
    โทร.1900-222-200 6บาท/นาที
     
  5. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
     
  6. ศักดิ์

    ศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,187
    ค่าพลัง:
    +2,022
    [​IMG]
    阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛阿弥陀佛保佑我的全家和身边的朋友们
    อนุโมทนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...