การสอบอารมณ์พระกรรมฐานคืออะไรครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 21 พฤษภาคม 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    การสอบอารมณ์พระกรรมฐานเขามีไว้เพื่ออะไรครับ แล้วใช้เวลาไหนครับ จำเป็นไหมที่ผู้ปฏิบัติทุกคนจะต้องมีการสอบอารมณ์พระกรรมฐาน?
     
  2. duangjaij

    duangjaij เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +322
    จากประสบการณ์..การสอบอารมณ์ ฯ เหมือนกับการสอบสัมภาษณ์ โดยพระอาจารย์ที่ฝึกให้เรา จะสอบตอนจบคอร์สฝึกปฏิบัติ ฯ โดยพระอาจารย์จะถามผู้ฝึกว่าฝึกแล้วติดขัดตรงไหน เป็นอย่างไร สงสัยอย่างไร และท่านจะแนะนำให้ว่าควรจะฝึกอย่างไรต่อไป บางอาจารย์ก็จะไม่มีการสอบอารมณ์ ฯ..แบ่งปันความรู้กันค่ะ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    การสอบอารมณ์...คือการที่เราเจอสถาวะอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะปฏิบัติ...มีความข้องใจ....จึงไปเข้าพบพระวิปัสสนาจารย์....เพื่อขอคำชี้แนะ........จริงๆแล้วก็คือ...มีปัญหาก็ไปถามนั่งหละครับ.....ถ้าพูดง่ายๆ.......

    ส่วนใหญ่ที่เข้าสอบอารมณ์ที่ทำเป็นหลักเกณฑ์.....มักจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติแนว...สติปัฎฐาน 4 (ยุบหนอพองหนอ).ครับ......

    ถามว่ามีความจำเป็นไม.....ก็ต้องตอบว่ามี...และไม่มี...ครับ

    มีสำหรับผู้ต้องการกำลังใจ....และความมั่นใจ...

    ไม่มีสำหรับผู้ที่ศึกษาเองได้....ตำหรับ...ตำรา...พระธรรมเทศนามีอยู่....ศึกษาเองได้.....อาจนานๆไปถามทีหนะครับ.....ส่วนใหญ่ไม่ถามครับ....ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ....มักไปทำบุญและกราบไหว้ครูบาอาจารย์มากกว่า.....

    คำถามเรื่องเวลา.....ไม่แน่นอนครับ....แล้วแต่คน
     
  4. metakunnung

    metakunnung Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +64
    ตอนแรกผมก็คิดว่าจำเป็นนะแต่ หลักของมันคือการพูดเพื่อระบายออกเท่านั่นล่ะครับ น่าแปลกอยู่อย่างนึงคือ การพูดออกไปเราก็จะผ่านอารมณ์วิปัสสนาที่แปลก ๆ และไม่เคยเจอได้น่ะครับ ผมก็เลยไปหาพระอาจารย์บ่อย ๆ แต่ก็หลักของมันคือเราแค่รู้สติแล้วก็อยู่ที่คำบริกรรมหรือ กำหนดอารมณ์ให้ทันเท่านั่นละครับ ถ้ายังไม่เข้าใจหรือพึ่งเริ่มปฏิบัติก็จำเป็นต้องสอบอารมณ์คร้บ หรือถ้าไม่มีก็ได้ แต่ถ้าไม่ผ่านอารมณ์จริง ๆ ก็ไปหาอาจารย์หรือผู้ปฏิบัติก่อนก็ได้ครับ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอะไรหรอกครับ ถ้าอยากคุยก็ได้น่ะคับ metakunnung@gmail.com ดีใจที่มีคนสนใจน่ะครับ ผมยอมรับจริง ๆ ว่าแต่ก่อนไม่สนเลย เลยลองเองรู้เองครับ มีอะไรมากมายที่รู้แต่เล่าไปแล้วให้คนอื่นเชื่อน่ะยากจริง ปัจจัตตังของแท้คือมันไม่ได้วิเศษอะไรน่ะครับ หมายถึงอารมณ์วิปัสสนาหรือทัีศนคติของโลกและความเป็น จริง น่ะครับ
     
  5. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    คือการสอบอารมณ์นั้นจะเป็นสิ่งที่จะได้แนะนำให้ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องและรวดเร็วกว่าการไม่ได้สอบอารมณ์
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เอ่อ... 2กรณีนะ
    กรณีที่1. จะโดนสอบอารมณ์จากครูเป็นผู้สอบอารมณ์ โดยจะสอบหลังจากที่เราได้ฝึกมาแล้ว แล้วอยู่ๆครูก็มาสอบโดยไม่ได้บอกกล่าว ก็ต้องดูว่า หากพระธรรม น้อมลงสู่ใจเมื่อไร ก้เริ่มสอบผ่าน เพราะคุณธรรมได้เกิดกับเราโดยไม่บังคับให้เกิด หากพระธรรมยังไม่ลงมาที่ใจก็คงสอบตก แต่ก็สอบไปเรื่อยๆจนพระธรรมน้อมลงสู่ใจ

    กรณีที่2. ผู้ที่อยู่รอบข้างเรา ไม่ว่าเป็น สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ว่าหยาบหรือละเอียด เป็นผู้สอบอารมณ์เรา หากพระธรรมน้อมลงสู่ใจเรา ก็สังเกตุที่เมื่อกระทบทั้งอายตนะ 12 แล้ว มีตากระทบรูปเป็นต้น หากมีความสะดุ้งน้อยลง และน้อยลงไปเรื่อยๆ ก็เริ่มจะสอบได้เรื่อยๆ จนกว่าจะรับปริญญา หากยังสะดุ้งมากเรื่อยๆก็แสดงว่าสอบตก ต้องอบรมให้มาก

    สำหรับการไปพบครูผู้สอนแล้วสอบถามเป็นการดีเพื่อจะได้ก้าวหน้าได้เร็วและถูกทางในวิธีการที่เราเดินว่าถูกทางไหม อย่างนี้ยังไม่เป็นการสอบอารมณ์ เรียกว่า วอร์มก่อนขึ้นชก เวลาชกจริงไม่มีคู่ชกที่ไหนจะบอกก่อนว่า เอ้ย จะต่อยขวาแล้วนะ
     
  7. บุคคลไปทั่ว

    บุคคลไปทั่ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +106
    ตบให้ตรงทาง...
     
  8. golfjeed

    golfjeed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +7
    หัวใจของการสอบคือ
    เพื่อให้ผู้ปฎิบัตินั้นปฎิบัติไปในทางที่ถูก เพราะบางทีระหว่างปฎิบัติไปจนถึงขั้นหนึ่ง จะมีมาร มาสร้างนิมิตให้เราคิดว่าสำเร็จแล้ว ทำให้เราหลงเข้าใจผิดว่าปฎิบัติถูก ทำให้ไม่ได้ของจริง
    พระอาจารณ์ผู้สอบอารมณ์ จึงต้องมีหน้าที่แนะนำว่าอันใหนถูกหรือผิด อันใหนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป บางคนเห็นว่าไม่สำคัญ แต่ผมว่าสำคัญสำหรับผู้ที่พึ่งปฎิบัติและไม่ค่อยรู้เรื่องการเจริญสติมากนัก
    แต่ต้องระวังไว้หนึ่งอย่างคือ พยามเลือกสำนักที่น่าเชื่อถือ เพราะถ้าอาจารย์สอนตามตำราโดยมิได้ปฎิบัติจริง คือเน้นหนังสือมากกว่าปฎิบัติ ก็จะไม่ดีสักเท่าไร เหมือนเรียนทำนาแล้วมาสอนทำนา จะไม่รู้ปัญหาจริงเวลาปฎิบัติแล้วก็จะสอนกันไม่ได้อะไร
    จึงฝากไว้ด้วยครับ
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ผู้สอบต้องรู้เข้าใจอารมณ์กรรมฐานด้วย เหมือนครูตรวจสอบปัญหานักเรียน
     
  10. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    สอบเพื่อติดตามผล
    สอบเอง ได้คะแนนจากตัวเอง
    ผู้อื่นสอบให้ ได้คะแนนจากผู้อื่น
     
  11. คุณบรรเจิด

    คุณบรรเจิด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    321
    ค่าพลัง:
    +714
    เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ
    ใครจะรู้ตัวเราเท่าตัวเราเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...