การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 11 กรกฎาคม 2008.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

    ขณะดำเนินชีวิตประจำวันนั้น จะมีสิ่งต่างๆมากระทบผัสสะตลอดเวลา เมื่อธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดมากระทบและรู้เท่าทัน ก็ให้ปฏิบัติธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)นั้น เพราะธรรมหรือสิ่งที่มาผัสสะนั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ตลอดจนจริตของนักปฏิบัติเอง จึงมีความชำนาญชํ่าชองในการเห็นการรู้ในธรรมทั้ง ๔ ที่ย่อมแตกต่างกันออกไปตามจริตและสังขารที่ได้สั่งสมไว้นั่นเอง และธรรมทั้ง ๔ นั้นเมื่อเห็นและรู้เท่าทัน ต่างก็ล้วนมีคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น ดังนั้นในการดำรงชีวิตประจำวันแล้วมีสติเห็นในธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดก่อนก็ได้ เพราะย่อมเกิดคุณดังนี้

    รู้เท่าทันกาย เพื่อทำให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในกายอันเป็นที่รักยิ่งโดยไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ ว่าล้วนสักแต่ธาตุ๔ หรือสิ่งปฏิกูล ล้วนต้องเน่าเสีย คงทนอยู่ไม่ได้ ฯลฯ. เห็นการเกิดดังนี้จนชํ่าชอง เช่น ส่องกระจกก็รู้เท่าทันว่าห่วงกาย เห็นเพศตรงข้ามที่ถูกใจ ฯลฯ. ก็รู้เท่าทัน ว่าสักแต่ว่ากายล้วนเป็นดั่งนี้เป็นต้น แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการดับในที่สุด

    รู้เท่าทันเวทนา เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในเวทนาความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง เช่น เห็นรูปที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ, ได้ยินเสียง(คำพูด)ที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ เห็นอาหารที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ ก็ย่อมต้องเกิดความรู้สึก(เวทนา)ต่อสิ่งนั้นๆเช่นนั้นเอง ฯลฯ. เมื่อรู้เท่าทันจนชำนาญ จิตเมื่อเห็นความจริงการเกิดการดับและเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้บ่อยๆสักว่าเวทนาเป็นดังนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในเวทนาต่างๆเหล่านั้นในที่สุด

    รู้เท่าทันจิต เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในจิตสังขาร(ความคิด ความนึกต่างๆ) เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ เป็นสังขารต่างๆทางใจเกิดขึ้นเช่น โทสะ(โกรธ) โลภ หลง ดีใจ เสียใจ ต่างๆ เมื่อเห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง จิตเมื่อเห็นความจริงเช่นนี้บ่อยๆสักว่าจิตเกิดเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในจิตสังขารความคิดปรุงแต่งเหล่านั้นในที่สุด

    รู้เท่าทันธรรม เพื่อให้เกิดนิพพิทาและภูมิรู้ภูมิญาณความรู้ความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ในสิ่งต่างๆนั่นเอง เมื่อเกิดกาย เวทนา หรือจิตตามข้างต้น แล้วเกิดเห็น ธรรมะใดๆก็หยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือคิดนึกสังเกตุในสิ่งเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ การคิดนึกดังนี้ไม่ใช่การคิดนึกปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดทุกข์ แต่เป็นคิดนึกที่จำเป็นในการดับทุกข์อย่างยิ่ง เช่นเห็นทุกข์หรือรู้ว่าเป็นทุกข์ก็รู้ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยใด(เห็นปฏิจจสมุปบาท), เห็นความไม่เที่ยง(เห็นพระไตรลักษณ์) ดังนี้เป็นต้น


    การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ อย่างถูกต้อง

    การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในขั้นต้นนั้น ต้องใช้สมาธิเป็นบาทฐานในการปฏิบัติ เป็นการฝึกสมาธิและสติในขั้นแรกอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดสมาธิที่หมายถึงความตั้งใจมั่น แล้วน้อมจิตที่สงบตั้งมั่นดีแล้วอันย่อมมีกำลังแล้วนั้นไปพิจารณาสังเกตุศึกษาให้เห็นธรรม(สิ่ง)ต่างๆตามความเป็นจริงให้ชัดเจนขึ้น เช่นเห็นกาย และดำเนินก้าวต่อไปโดยการสังเกตุให้เห็นให้รู้เข้าใจเวทนา และจิตสังขารต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดจนใช้พิจารณาธรรมต่างๆเพื่อให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณเข้าใจในสภาวะธรรมต่างๆอย่างปรมัตถ์ถูกต้อง เมื่อปฏิบัติดังกล่าวดีแล้วก็ต้องนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจึงจักถูกต้องและบังเกิดผลสูงสุดขึ้นได้

    การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในสมาธิในเบื้องต้นนั้น หาที่สงัด ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นนั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เกิดจิตเกิดความตั้งใจมั่นระดับเบื้องต้นก่อน คือ ไม่เลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับประณีตจนปฏิบัติไม่ได้ หรือลงภวังค์ หรือหลับไปอย่างง่ายๆ เพื่อจะได้ปฏิบัติให้เกิดสติและสัมมาสมาธิ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาทำความเข้าใจใน กาย เวทนา จิต และธรรมอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง(ปรมัตถ์) ก็เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริงๆอีกครั้งในขณะดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เฉพาะในการปฏิบัติในรูปแบบแผนเท่านั้น คือ ต้องนำไปฝึกฝนอบรมอีกครั้งหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันจนเป็นมหาสติ หรือเป็นดังเช่นสังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท)แต่มิได้เกิดแต่อวิชชา, กล่าวคือเมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องและประจำสมํ่าเสมอ จิตจะเริ่มกระทำตามสังขารที่ได้สั่งสมอบรมไว้เองโดยอัติโนมัติในชีวิตประจำวัน นั่นแหละมหาสติหรือสังขารธรรมอันถูกต้อง เป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดในการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔

    ที่มา : ปฎิจจสมุปบาท
     
  2. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,942
    ค่าพลัง:
    +1,253
    สมาธิ ที่เกื้อหนุนการทำวิปัสสนา มี 3 อย่าง ( เท่าที่จำได้ )

    1. คือ การถอยจากอัปปนาสมาธิ
    2. คือ การคงอยู่ที่อุปปจารสมาธิ
    3. คือ การใช้ขณิกะสมาธิ

    ข้อที่ 1 และ 2 นั้น ไม่ขอกล่าวถึง อยากกล่าวถึงแค่ ขณิกสมาธิ

    ก็คือ สมาธิที่เกิดขึ้นช่วงขณะจิตสั้นๆ ซึ่ง ตัวสมาธิตัวนี้เกิดขึ้นอยู่
    แล้วในชีวิตประจำวันของสิ่งมีชีวิตทั่วไป ผิดที่คน จะสามารถเอา
    สมาธิตัวนี้มาเกิดนำตัวรู้ได้ คือ พอขณิกสมาธิเกิด ก็จะเป็นฐานให้
    เกิด สติ รู้สึกตัวได้ในขณะนั้นๆ ได้

    พอเรา รู้สึก ตัวตาม ขณิกสมาธิไว้บ่อยๆ เนืองๆ จิตก็ได้รับการอบรม
    ว่า พอเกิดขณิกสมาธ จิตจะต้องหาเรื่องไป ระลึกอะไรสักอย่าง ที่นี้
    ถ้าเป็นสภาวะธรรมที่เคยดูแล้ว รู้จักแล้ว มันก็จำได้ พอมันจำได้มันก็
    เหมือนเด็กดีใจที่เห็น จิตก็จะเบิกบาน ตื่น

    ที่นี้ถ้า จิตก็จะเบิกบาน ตื่น ขึ้นถูกอบรมมากๆ จิตก็จะน้อมไปหาการ
    ตามรู้ การมีสติ เอง ( ฉันทะเกิดเองด้วยจิต ) เขาก็จะเริ่มตั้งมั่นเป็น
    ผู้รู้ ผู้ดู เพื่อจกจำสภาวะให้มากๆ แล้วเขาก็จะเห็นความเป็นจริงที่
    ถูกปิดบังโดยรูป ทำให้เห็นนาม และไตรลักษณ์ จนกระทั่งเขาเห็น
    ถึงความไม่จริง เขาก็วางสภาวะธรรมนั้นๆ ลง ถ้าสภาวะธรรมที่
    ถูกวางลงเป็นตัวกิเลส นั้นก็คือ การ ละ และ ประหาร ที่จิตทำของ
    เขาเอง เราไม่ต้องทำอะไรเลย แต่หมั่นตั้งต้นคอบอบรมจิตเท่านั้น

    ดังนั้น สมาธิที่มีประโยชน์ที่สุด สำหรับคนที่ต้องใช้ชีวิตดิ้นรน ก็คือ

    ขณิกะสมาธิ

    * * *

    เมื่อ ขณิกะสมาธิแนบกับวิปัสสนาญาณได้ ก็จะเกิดการรู้ที่ทันเป็นปัจจุบัน
    อยู่กับปัจจุบัน

    เมื่ออยู่กับปัจจุบันได้ช่วงระยะหนึ่ง มากพอที่ ปฏิฆสัญญา ไม่เกิดขึ้น ก็จะ
    ไหลเข้าสู่ ฌาณ 2 โดยอัตโนมัติ แล้วก็จะให้สมาธิตัวนี้เป็นฐานวิปัสสนา
    ต่อไป ช่วงนี้ก็จะมีอาการปิติผุดให้เห็นเป็นสิ่งรู้ เป็นของถูกรู้ถูกดูต่อไป

    เมื่อดูต่อไป ความชอบใจในอาการปิติก็จะหมด เป็นกลาง ก็จะเข้าสู่
    ภาวะสุขเป็นองค์ฌาณต่อไป แต่เนื่องจากเป็นสุขที่ไม่เจืออามิส ไม่มี
    เครื่องล่ออย่างเช่นกสิณ จะทำให้จิตใจตั้งมั่น เป็นสุขยิ่งกว่า เป็นสุขที่
    ไม่ได้เกิดจากการอิงอาศัยอะไร ตอนนี้ก็จะได้รู้จักตัวราคะละเอียด
    ก็จะดูตัวนี้ต่อไป จนกระทั้งกำจัดมันได้ ก็จะเข้าสู่อัปปนาสมาธิไปเอง

    แต่เป็นอัปปนาสมาธิที่มีตัวสติบริบูรณ์ จึงเป็นมหาสติ ที่มีอานิสงค์มากกว่า
    การทำอัปปนาสมาธิแบบอื่น จึงเรียก สัมมาสมาธิ ซึ่งเมื่อเป็นสัมมาสมาธิ
    ก็จะเอื้อให้เกิด สัมมาปัญญาได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2008
  3. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    อนุโมทนาครับ

    คุณจินนี่ วางเนื้อธรรมเน้น ๆ เลยนะครับแต่ละเรื่องที่มาลง

    ทางตรงทั้งนั้นเลยครับ [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...