การบวชครั้งทื่สอง ต้องคำนึงถึงฤกษ์สึกเหมือนครั้งแรกไหมครับ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย darkphoenix, 4 พฤษภาคม 2008.

  1. darkphoenix

    darkphoenix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +608
    พระรวมถึงคนโบราณบอกว่าฤกษ์สึกมีผลเป็นเหมือนชะตาชีวิตใหม่เรา หรือ เหมือนมี่ผลต่อชะตาของเรา อะไรสักอย่างเนี่ย เพราะสึกไม่ดีเป็นบ้า หรือตายได้เลย(พระท่านว่าไว้)

    แต่ ถ้าเราบวชซ้ำเป็นครั้งที่สอง ฤกษ์สึกถือว่ามีผล หรือ ต้องหาไว้ไหมครับ

    ผู้รู้ช่วยแจงทีครับ


    ปล.ไม่เอาคำตอบแบบไม่ต้องไปสนใจมัน ถือว่า ฤกษ์สะดวกละกัน ไม่เอานะคำตอบแบบนี้
     
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130


    ยังไม่ได้บวชเลยจะหาฤกษ์สึกแล้วหรือ

    ถ้าใจเราต้องการวันเวลาที่ดี ต้องการความเป็นมงคล...ก็หาเอาไว้ก็ได้ครับ
    แต่ถ้าคิดว่าไม่สำคัญก็ไม่ต้องก็ได้ครับ เหมือนกับเรื่องฤกษ์ยามที่เอามาให้อ่านครับ

     
  3. ณัฐสิทธิ์

    ณัฐสิทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,916
    ขอแสดงความเห็นแบบ SAFE SAFE นะครับ

    1. ถ้ามั่นใจในคุณแห่งพระรัตนตรัย แล้วน้อมเอามาเป็นสรณะ ที่พึ่งที่กำจัดภัยได้จริง ก้ไม่ต้องสนใจฤกษ์ยามครับ
    2. ถ้ามั่นใจในคุณงามความดีของตนที่สั่งสมบำเพ็ญบารมีมาตลอดชีวิต ว่าจะสามารถปกป้องตนให้พ้นภัย และเป็นเข็มทิศนำมาซึ่งมงคล ๓๘ ประการ
    ก็ไม่ต้องสนใจฤกษ์ยามครับ
    3. ถ้ายอมรับกฏแห่งกรรม ไม่ว่าจะเป็นกรรมดี-ชั่ว ของตนในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ ตนเองจะเป็นผู้เสวยผลแห่งกรรมนั้นอย่างเที่ยงตรงโดยมิต้องสงสัย ก็ไม่ต้องสนใจฤกษ์ยามครับ
    แต่ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสเช่นเราๆท่านๆก็ไม่ค่อยแน่ใจตนเองว่า
    1.ธรรมะศรัทธาเต็มไหม? แกว่งไหม?
    2.ไม่สามารถระลึกชาติได้ย้อนไปไกลโพ้นว่าแต่ละชาติสร้างวีรกรรม-วีรเวรไว้เป็นกุศลหรืออกุศลกรรมมายังไง
    3.ยังทำใจไม่ได้เมื่อ วิบากกรรมชั่วจะให้ผล โวยวายตีโพยตีพายว่าฟ้าดินช่างไม่ยุติธรรม ทำดีไม่ได้ดี ... อะไรเทือกนั้น

    ถ้าคุณจะไปดูฤกษ์ยามก็ไม่มีใครว่าได้ครับ เพื่อความสบายใจ มีทั้งหมด ๙ ฤกษ์ยามใน ๒๗ หมวดนักษัตร ตามตำนานโบราณของแต่ละนักษัตรจะพูดถึงที่มาว่าฤกษ์นี้ที่ให้ผลแบบนี้เพราะมีที่มาที่เป็นอย่างไร

    ฤกษ์ยาม คือ สภาวะแวดล้อม
    ส่วนบุญกุศล-บาปอกุศล คือชะตากรรม ....ครับ

    สมมติแบบ เบาๆนะครับว่า

    ถ้าชะตากรรมกำหนดแล้วว่า คุณต้องเปียกฝนแน่ๆวันนี้
    คุณก็เตรียมตัวล่วงหน้าทั้ง ร่ม-หมวก-เสื้อกันฝน พร้อมเพรียงเต็มอัตราศีก
    แต่พอเหตุการณ์มันเกิดขึ้น
    มันดันมีตัวแปร variable ที่มองไม่เห็น..เช่นว่า
    คุณลืมร่มไว้ที่ห้องน้ำ หรือ หมวกโดนลมพัดปลิว หรือ เสื้อกันฝนดันกรอบฉีกขาดเพราะใช้แล้วลืมตากแดดขึ้นรา
    คราวนี้ก็..เจ๊งบ๊งเลย
    เปียกบอนน่ะสิ อาจมากน้อยตามกำลังสติขณะเกิดฝนตก

    ฤกษ์ดี....ไม่อาจคุ้มครองคนชั่ว
    ฤกษ์ร้าย..ก็ไม่อาจทำลายคนดี...เช่นกัน

    ปล. ผมเองเคยบวชหมู่และสึกแบบหมู่ โดยไม่ได้ดูฤกษ์หรือขอฤกษ์พระ
    สึกออกมาก็ยังลุ่มๆดอนๆ ในขณะที่บางคนอาจจะรุ่งโรจน์ไปแล้ว
    แต่สิ่งที่ผมได้และภูมิใจคือ..
    ในทางธรรมแล้ว
    เกียร์ถอหลังยผมถอดทิ้ง วิ่งใส่เกียร์เดินหน้าลูกเดียว....ครับ
    แม้จะเป็นน้ำมันตราเต่า...
    แต่เคริ่องยนต์ทางธรรมก็พาดำเนินให้ชีวิตมีแต่เบากายสุขใจครับ

    วาสนา.. ฟ้าเป็นผู้สั่ง
    แต่ชะตากรรม ..มนุษย์เป็นผู้สร้าง
    อิติ....ดังนี้แล
     
  4. fifaff

    fifaff สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +7
    หากท่านบวชเพื่อหวังมรรค ผล นิพพาน และศึกษาตามหลักที่พระพุทธเจ้าสอนแล้วนะครับ ท่านจะไม่สนใจ ฤกษ์เลยครับ
     
  5. Dairies

    Dairies สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +23
    ตามที่เคยได้ฟังธรรม มาบ้างนะครับ...

    พระพุทธองค์ ไม่ได้สอนเรื่องฤกษ์ยาม...

    ขอยกตัวอย่างบุคคลเลยแล้วกัน ที่ไม่เชื่อฤกษ์ยาม...คือ รศ.ดร.สนอง วรอุไร...

    ท่านได้บวชหลังจากเรียนจบระดับปริญญาเอก ด้านไวรัสวิทยา จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งบวชกับท่านเจ้าคุณโชฎกฯ ที่วัดมหาธาตุ... ระหว่างบวช ดร.สนองได้สอบถามเรื่อง ฤกษ์ยามกับท่านเจ้าคุณโชฎกฯ ก็ได้ความว่า พระพุทธองค์ไม่ได้สอนให้เชื่อเรื่องฤกษ์ยาม...เมื่อได้รับคำตอบเช่นนั้น ดร.สนองก็ทำการกำหนดวันลาสิกขาบทด้วยตัวท่านเอง...

    หลังจากสึกแล้ว ชีวิตของ ดร.สนองก็ไม่ได้ตกต่ำลงแต่ประการใดเลย แต่ยังเป็นผู้ที่ยิ่งเจริญในธรรม มีธรรมะคุ้มใจอย่างมากเลยทีเดียว...

    ผมคิดว่าตัวอย่างของ รศ.ดร.สนอง วรอุไร คงเป็นแบบอย่างที่ดีได้ครับ...
     
  6. rux

    rux เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    308
    ค่าพลัง:
    +990
    แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคลครับ
    แต่ลองสังเกตดูว่าการจัดพิธีสำคัญต่างๆ ของทางพระราชวังก็ต้องดูฤกษ์ยาม โดยโหรประจำพระราชวัง นั้นก็แสดงว่ามีผล
    เปรียบเสมือนเราข้ามถนนโดยไม่ดูซ้ายดูขวา(ฤกษ์สะดวก) ถ้ารอดก็ดีไป แต่ถ้าไม่รอดก็....
     
  7. fifaff

    fifaff สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +7
    การถือฤกษ์ยามเป็น ประเพณี ของศาสนาพราหมณ์ครับ และซึ่งในประเทศไทย เรา พราหมณ์กับพุทธ อยู่รวมกันอย่างผสมกลมกลืนครับ จึงตอบได้ว่า ไม่ผิดแต่อย่างใด ถ้าจะถือหรือไม่ถือ แต่ในฐานะที่เคยบวชมาก่อน และจะบวชอีก ก็ แนะนำว่าหากท่านเลือกบวชในวัดที่ มีการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ดีๆ มากๆ แล้วท่านจะได้คำตอบสำหรับเรื่องนี้ แบบไม่ต้องสงสัย และไม่ต้องอธิบายอีก เลย
     
  8. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    ผมเห็นด้วยกับท่าน ๑๐๐ % ครับ
     
  9. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    เห็นด้วยอีกเหมือนกันครับ
     
  10. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    เห็นด้วยอีกเหมือนกันครับ
     
  11. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    แต่ความเห็นของผมเอง แนะนำให้หาฤถษ์สึกครับ อีกมุมมอง เพราะเป็นประเพณี ปฏิบัติ กันมาแต่ รุ่นก่อนปู่ ย่า ตายาย พ่อ แม่ ทำกันมาตั้งแต่โคตร เหง้าของเรา ทำตามพราหม์มาแต่ยุคโบราณ เป็นการสืบทอดประเพณีปฏิบัติ ได้กำลังใจกับหมู่ญาติ และ พ่อ แม่ พี่น้องเรา ทำแล้ว เขาสบายใจ แล้วไม่ผิด พระธรรมวินัย ก็ทำให้พวกท่านเหล่านั้นสบายใจเถอะครับ พวกท่านไม่สบายใจ คอยมาทัก จะขัดใจกันอีก ทักมาก เราไม่นิ่งก็เขวได้ แล้วไม่สบายใจตาม

    ความเชื่อที่ว่า การบวชเป็นการเกิดใหม่ ในพระศาสนา คือตายจากคน ไปเป็นพรหม ( ถือพรหมจรรย์ ) ทำให้การบวช ไม่ต้องมีฤษถ์ เพราะไปสูง แต่ พอสึก คือการตายจากพรหม มาเป็นมนุษย์ มาสู่ที่ต่ำ ทำให้มีความเชื่อในการหาฤษถ์ ตอนสึก หมอดูบางท่านพิถิพิถัน ในการดูดวง จะผูกดวงสึกด้วย....แหะๆ อาจารย์ผมเอง( พลตรีประยูร พลอารีย์ โหรหลวงยูเรเนี่ยน ผู้ล่วงลับไปแล้ว )
    ท่านจะดูดวงจากฤถษ์ สึกด้วยเพราะถือว่าเกิดใหม่

    ถ้าทำแล้วสบายใจกว่า ทำไปเถอะครับ ใจสบาย จิตสบาย และการบวชก็คือประเด็นไม่ใช่การสึก เมื่อบวชต้องตั้งใจบวช ตั้งใจปฏิบัติตามคำของพระอุปัณาย์ อย่างเคร่งครัด ปฏิบัติพระกรรมฐานที่ท่านให้มาตอนขอบวช ในการพิจารณา เกศา โลมา นขา ตันจา ตะโจ ให้ประคองสติทุกลมหายใจตอนบวชครับ

    ขออนุโมทนาในการบวชครับ
     
  12. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269

    ขอแก้คำผิดในการพิมพ์น่ะครับ ทันตา ตโจ ครับ ภาษาไทยผมไม่แข็งแรงครับ

    ตอนบวช พระอุปัฌาย์ ท่านให้พระกรรมฐาน เพื่อพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง พิจารณาสังขารน่ะแหละ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...