กลเม็ดธรรมะสำหรับผู้นำมือใหม่ 3

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย คงธรรม, 27 กันยายน 2004.

  1. คงธรรม

    คงธรรม บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    "การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบั_ชา" เป็นหลักที่ช่วยให้เกิดความจงรักภักดี และความสามัคคี และการยอมรับในผู้ใต้บังคั_บั_ชาต่อผู้นำ เป็นสิ่งที่ผู้นำควรกระทำอย่างต่อเนื่อง...
    เทคนิคต่อไปนี้ได้สรุปมาจาก "เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบั_ชาของ ชลอ ธรรมศิริ และวิจิตร อาวะกุล"...

    1. รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง ผู้บังคับบั_ชาที่ดีควรเป็นผู้ที่ใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง ไม่ใช้อารมณ์ในการพิจารณาเรื่องต่างๆ การตัดสินใจที่ดีควรขึ้นอยู่กับเหตุและผล การได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนอาจทำให้ตัดสินใจหรือวินิจฉัยผิดพลาดได้ นอกจากนั้นผู้บังคับบั_ชาไม่ควรใช้อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง ชิงชัง หรือเคียดแค้นประกอบการตัดสินใจ เพราะจะทำให้การงานเสียหายได้ เนื่องจากเป็นการตัดสินใจที่ไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา มีแต่ความอคติ ลำเอียง ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อการงาน และต่อตัวผู้บังคับบั_ชาเอง ทำให้ผู้บังคับบั_ชาไม่เป็นที่รักใคร่ของผู้ใต้บังคับบั_ชา ดังนั้นผู้บังคับบั_ชาควรควบคุมอารมณ์ที่ก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ความโกรธ, ความโมโห ฉุนเฉียว ความหลงตนเองว่าเก่งกว่าคนอื่น ความหลงในอำนาจยศศักดิ์ ความมีอคติ เลือกที่รักมักที่ชัง และความอยุติธรรม ฯลฯ เพื่อไม่ให้การงานเสียหาย เพราะจะก่อให้เกิดความห่างเหิน ทำให้ผู้ใต้บังคับบั_ชาไม่กล้าเข้าใกล้ อันจะเป็นผลเสียต่อองค์กรโดยรวม

    2. รู้จักส่งเสริมให้กำลังใจแก้ผู้ใต้บังคับบั_ชา ผู้บังคับบั_ชาที่ดีต้องคำนึงถึงความรู้สึกของลูกน้องว่า ต้องการการรับรู้ และการยกย่องจากผู้บังคับบั_ชา เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้บังคับบั_ชาควรส่งเสริมกำลังใจ บำรุงรักษาน้ำใจลูกน้อง เพื่อจะได้ทุ่มเททำงานให้อย่างเต็มกำลังความสามารถ ผู้บังคับบั_ชาควรรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้กำลังใจ แสดงความเชื่อมั่นไว้วางใจ ไม่จู้จี้จุกจิก เอาใจใส่ความยากลำบากในการทำงานชองลูกน้อง ตลอดจนมีความจริงใจไม่เสแสร้งหรือหลอกไว้ใช้งาน

    3. รู้จักยกย่องชมเชยให้บำเหน็จความชอบ การยกย่องชมเชยเป็นการตอบแทนน้ำใจของผู้ใต้บังคับบั_ชา ดังนั้นผู้บังคับบั_ชา ควรชมเชยผู้ใต้บังคับบั_ชาในยามที่เหมาะสม เช่น พูดชมเชยเมื่อเขาทำดี, ให้รางวัลเมื่อเขาประสบความสำเร็จ เป็นต้น

    4. หลีกเลี่ยงการขู่บังคับ การข่มขู่เป็นการกระทำที่บีบคั้นจิตใจให้เกิดความรู้สึกคับแค้นกดดันหรือเกิดความกลัวจนไม่อยากทำงานให้ ดังนั้นผู้บังคับบั_ชาที่ดีไม่ควรใช้วิธีขู่บังคับตลอดเวลา หากลูกน้องทำความผิด ผู้บังคับบั_ชาอาจว่ากล่าวตักเตือนและลงโทษตามระเบียบ แต่ทั้งนี้ควรพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป บางครั้งลูกน้องอาจทำผิดโดยไม่เจตนา ถ้าเขาเป็นลูกน้องที่ดีมาตลอด ผู้บังคับบั_ชาควรให้โอกาสลูกน้องแก้ตัวใหม่และพูดให้กำลังใจ จะดีกว่าใช้วิธีข่มขู่

    5. ชี้แจงความเคลื่อนไหวในวงงานให้ทราบ ผู้บังคับบั_ชาควรหมั่นประชุม ชี้แจงนโยบาย วัตถุประสงค์ แผนงานและปั_หาต่างๆ ให้ลูกน้องได้ทราบความเคลื่อนไหวตลอดเวลา เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร ทุกคนจะได้ให้การช่วยเหลือสนับสนุนและแก้ปั_หาต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยกัน ทำให้ทุกคนรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรก่อให้เกิดความรู้สึกจงรักภักดี เปรียบเสมือนว่าตัวเองเป็นเจ้าของหน่วยงานคนหนึ่ง แต่ถ้าผู้ใต้บังคับบั_ชาเสนอความคิดเห็นหรือมีข้อเรียกร้องเรื่องใดเรื่องหนึ่งผู้บังคับบั_ชาควรรีบชี้แจงทำความเข้าใจ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบว่าทำได้หรือไม่ได้อย่างไร เพราะเหตุใด เพื่อขจัดข้อข้องใจให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว

    6. รักษาผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบั_ชา ผู้บังคั_ชาที่ดีควรรักษาและต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบั_ชา เพื่อสร้างขวั_กำลังใจเป็นการแสดงน้ำใจให้เห็นถึงความหวังดีของผู้บังคับบั_ชา ทำให้ลูกน้องรู้สึกชื่นชมยินดี ที่ผู้บังคับบั_ชาเอาใจใส่ สนใจปกป้องผลประโยชน์ที่เขาควรจะได้รับ เช่น การเลื่อนขั้น, การปรับวุฒิ, การเลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ และหากมีโอกาสอันควรผู้บังคับบั_ชาควรสนับสนุนให้ลูกน้องได้เลื่อนตำแหน่งสูงชึ้นโดยไม่กีดกันหน่วงเหนี่ยวเอาไว้ ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้เผู้ใต้บังคับคั_ชารู้สึกสำนึกในบุ_คุณ ทำให้เป็นที่สรรเสริ_ของบุคคลทั่วไปด้วย

    จากที่กล่าวมาข้างต้น หวังว่าผู้นำมือใหม่คงจะได้รับ ประโยชน์ไม่มากก็น้อยของให้ผู้นำจำไว้ดังนี้ว่า
    "หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น...ให้สิ่งใดแก่ผู้อื่น ย่อมได้สิ่งนั้นตอบแทน"
     

แชร์หน้านี้

Loading...