กรรมฐานที่......หลวงปู่ดู่ท่านสอน

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย s_klongkleaw, 25 มีนาคม 2008.

  1. s_klongkleaw

    s_klongkleaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +239


    หลวงปู่ดู่.jpg




    <o></o>​
    หลัก ในการนั่งสมาธิ ให้ใช้ขาขวาทับขาซ้าย มือขวากำพระวางบนมือซ้าย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองจรดกัน วางบนตักพอสบายๆ ปรับกายให้ตรง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน สูดลมหายใจยาวๆ ลึกๆ สัก ๓ ครั้ง<o></o>
    ครั้งที่ ๑ ให้ภาวนาว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ<o></o>ครั้งที่ ๒ ภาวนาว่า ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ<o></o>และครั้งที่ ๓ ภาวนาว่า สังฆัง สรณัง คัจฉามิ<o></o>
    จากนั้น จึงผ่อนลมหายใจให้เป็นไปตามธรรมชาติ ยังไม่ต้องนึกคิดสิ่งใด ทำใจให้ว่างๆ วางอารมณ์ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคต เมื่อลมหายใจเริ่มละเอียด และจิตใจเริ่มโปร่งเบาขึ้นบ้างแล้ว จึงค่อนเริ่มบริกรรมภาวนา โดยกำหนดจิตไว้ที่หน้าผาก (เอาสติมาแตะรู้เบาๆ) แล้วตั้งใจภาวนาคาถาไตรสรณคมน์ ดังนี้<o></o>
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ<o></o>ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ<o></o>สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ<o></o>
    เมื่อบริกรรมภาวนาจบแล้ว ก็ให้วกกลับมาเริ่มต้นใหม่เช่นนี้เรื่อยไป มี สิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ ขณะที่บริกรรมภาวนาอยู่นั้น ให้มีสติระลึกอยู่กับคำภาวนา โดยไม่ต้องสนใจกับลมหายใจ คงปล่อยให้ลมหายใจเข้าออกเป็นไปตามธรรมชาติ ปราศจากการควบคุมบังคับ ภาวนาด้วยใจที่สบายๆ และให้ยินดีกับองค์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เกิดขึ้นในจิต เมื่อจิตมีความสงบสว่าง ก็น้อมแผ่เมตตาออกไป โดยว่า<o></o>
    พุทธัง อนันตัง<o></o>ธัมมัง จักรวาลัง<o></o>สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ<o></o>
    แล้วตั้งใจภาวนาต่อไป เมื่อจิตถอนขึ้นจากความสงบ ให้ยกเอากายหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดขึ้นพิจารณา โดยน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ<o></o>
    อนิจจัง (ความไม่เที่ยง)<o></o>ทุกขัง (ความทนได้ยาก)<o></o>และอนัตตา (ความไม่ใช่ตัวตนอันเที่ยงแท้)<o></o>
    เมื่อรู้สึกว่าจิตเริ่มซัดส่าย หรือขาดกำลังในการพิจารณา ก็ให้วกกลับมาภาวนาคาถาไตรสรณคมน์อีก เพื่อดึงจิตให้เข้าสู่ความสงบอีกครั้ง ทำสลับเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะเลิก<o></o>
    ก่อนจะเลิกให้อาราธนาพระเข้าตัวโดยว่า<o></o>
    สัพเพ พุทธา สัพเพ ธัมมา สัพเพ สังฆา<o></o>พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง<o></o>อะระหันตานัญ จะเตเชนะ<o></o>รักขัง พันธามิ สัพพะโส<o></o>พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ<o></o>
    แล้วจึงแผ่เมตตาอีกครั้ง โดยว่าเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในตอนต้น อนึ่ง การภาวนานั้น ท่านให้ทำได้ทุกอิริยาบท คือ ยืน เดิน นั่ง นอน การปฏิบัติจึงจะก้าวหน้า และชื่อว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาท....<o></o>
    <o></o> ที่มา : กายสิทธิ์<o></o>
     

แชร์หน้านี้

Loading...