กรรมคืออะไร?

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Sataniel, 11 สิงหาคม 2018.

  1. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,363
    Ep1: กรรม(karma)



    ชีวิต คืออะไร? ทำไมบางคนเกิดมาร่ำรวยล้นฟ้า บางคนเกิดมาหน้าตาดี บางคนเกิดมามีพรสวรรค์ ขณะที่บางคนกลับพบเจอแต่เรื่องไม่สมหวัง ชีวิตมีแต่ความทุกข์ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ใครๆก็อยากรู้คำตอบ แต่พวกคุณรู้อะไรไหม?


    “ไม่ว่าจะเรื่องแย่ๆหรือเรื่องดีๆ พวกคุณนั่นแหละที่กำหนดมันเองโดยที่พวกคุณไม่รู้”



    หลายๆคนอาจจะนึกว่านี่คือคำพูดเชิงปรัชญา ผมก็เคยคิดเช่นนั้น แต่มันจะแน่หรือ? สำหรับผม ผมรู้แล้วว่ามันไม่ใช่ปรัชญาแต่มันคือ “กรรม”(การกระทำ/dynamic) นั่นแหละ หลายคนที่ได้ฟังอาจหัวเราะออกมาว่านี่มันยุคไหนแล้ว วิทยาศาสตร์ก้าวไกลถึงขนาดนี้ยังจะเชื่ออะไรอีก? แต่สิ่งที่ผมจะพูดไม่เกี่ยวกับความเชื่อ มันคือ ความจริง(สัจธรรม/nature law) หากจะยกตัวอย่าง ก็เปรียบเสมือน ลมพัดโดนผิวกาย ไม่ว่าจะเชื่อว่าลมพัดจริงหรือลมพัดไม่จริง ลมมันก็ยังพัดของมันอยู่ดี เป็นเช่นนั้นตามธรรมดา

    เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์ นั้นชอบเสพ ธรรมารมณ์(ความรู้สึก/Feelings) ผมก็เช่นกัน ไม่ว่าจะความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉยๆ อารมณ์ของพวกคุณก็วนเวียนกลับมาอยู่ใน ธรรมารมณ์จำพวกนี้ และนี่แลคือสัจธรรม ชีวิตที่มีแต่ทุกข์ หรือชีวิตที่มีแต่สุข ก็พวกคุณนั่นแหละเลือกที่จะเสพมันเอง โดยผ่านทายกายกรรม(การกระทำ) วจีกรรม(คำพูด) และมโนกรรม(การคิดที่ทั้งแบบภาพและแบบเสียง) ผมจะยกตัวอย่างเพื่อท่านที่ไม่เข้าใจจะได้รู้ถึงสัจธรรมข้อนี้ เช่น บางคนนินทาผู้อื่นเพื่อที่จะเสพธรรมารมณ์สนุก ที่ได้นินทาผู้อื่น หรือบางคนไปอ่านนิยายและมโนถึงเรื่องราวเพื่อเสพธรรมารมณ์สุขหรือฝันกลางวัน ขณะที่บางคนไปชกต่อยผู้อื่นเพื่อธรรมารมณ์สนุกที่ได้แก้แค้น บางท่านอาจจะเริ่มเข้าใจแล้ว แต่บางท่านอาจจะถามว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับ กรรม(การกระทำ/dynamic) คำตอบคือเพราะมีธรรมารมณ์(ความรู้สึก/feelings) จึงต้องการจะเสพอีก เป็น ปฏิจะสมุปบาท(ปฏิกริยาลูกโซ่/The interlink law/The chain reaction) แน่นอนมันเป็นเรื่องจริงเพราะมันคือธรรม คำว่าธรรม นั้นแปลว่าธรรมชาติหรือตามธรรมดา นี่คือความหมายของคำว่าธรรม ไม่ใช่ว่าต้องเป็นคนดีจ๋า ใครด่าว่าก็ไม่ตอบโต้ พวกนี้คือพวกไม่รู้ ธรรมตามจริง พวกหลอกตนเอง คำกล่าวของพระพุทธเจ้าว่า “ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า” ไม่ได้ให้ไปนั่งหลอกตัวเองไปวันๆ และนี่ฉะแลคือเหตุที่ห้าม เพศที่สามทั้งหลาย บวช เพราะพวกนี้ไม่รู้สัจธรรมตามจริงหลอกตนเอง ทั้งๆที่สภาวะธรรม(ชาติ) ที่ปรากฏคือเพศชาย หรือ หญิง แต่กลับหลงในเพศเดียวกัน ทั้งๆที่ฮอร์โมนเพศก็ตรงตามปกติ หรือหากบางคนผิดปกติก็เพราะกรรม(dynamic) เพราะมีการกระทำจากฮอร์โมนจึงทำให้ไม่เป็นเพศที่ตรงตามสัจธรรม ลองสังเกตอาการของเพศที่สาม มักจะมี ธรรม(ชาติ) ที่แตกต่างกัน โดยเหล่า ตุ้ด นั้นจะวี้ดว้ายกระตู้ฮู้ ซึ่งแปลกประหลาด เพราะเพศหญิงจริงๆ กลับไม่วี้ดว้ายกระตู้ฮู้ เท่านี้ ด้วยเหตุว่า ธรรม(ชาติ)ของเพศชายนั้นมีความกล้าหาญกล้าแสดงออก กว่าเพศหญิง และเพศหญิงมักจะแก้ปัญหาด้วยการหนีปัญหาในกรณีที่ตนแก้ไม่ได้นี่คือธรรม(ชาติ)ของเพศหญิง นี่ฉะแลคือคำว่าไม่รู้ธรรมตามจริง ธรรมชาติที่แสดงออกมาก็คือเพศชายชัดๆ แต่กลับกระทำตนเยี่ยงเพศหญิง ทอมก็เช่นกัน แสดงความห้าวหาญของเพศชายออกมา ทั้งๆที่จิตก็อ่อนละมุนจึงทำให้ผู้หญิงที่คบกับทอมสามารถรู้ใจกันได้มากกว่า แน่นอนพวกนี้ก็ไม่ใช่คนเลว แต่เป็นผู้ที่ไม่อาจสำเร็จถึงสัจธรรมในระดับลึกๆได้เลย เพราะไม่รู้ธรรมตามจริง พระพุทธเจ้าจึงห้ามบวชไว้ตั้งแต่ต้น


    กลับมาในเรื่องของกรรม(dynamic) ที่ต่อให้ใครเชื่อและไม่เชื่อก็ตกอยู่ในกรรมอยู่ดี เช่น ผู้หญิงที่สวยมากแต่ไม่ประสบความสำเร็จในความรัก ด้วยเหตุว่าตนอยากให้คนที่ตนชอบมาคอยดูแลเอาใจ เมื่อไม่ได้ดั่งใจ ก็เลิก เพราะคิดว่าตนงดงาม ซึ่งก็จริงแต่เพราะกรรม(การกระทำ)โดยมโนกรรม(ความคิด)เช่นนี้แหละ จึงทำให้แฟนของเธอเบื่อ เพราะต้องคอยตามใจอย่างงั้นอย่างงี้พอไม่ได้ดั่งใจก็ด่าว่า หรือบางคนอาจจะแค่นินทา บางคนอาจจะแค่คิด และสุดท้ายก็เลิกกัน และกรรม(การกระทำ)จะแสดงผลไปเรื่อยๆจนกว่าจะหลุดออกจากกรรมนี้ นี่แลคือสัจธรรม และในกรรมยังแยกย่อยไปได้อีกมากมาย เช่น แฟนไม่ยอมโทรหา มโนกรรมจึงทำงาน คิดว่าเขาไปไหน เขาทำอะไรทำไมไม่กลับ มันมีกิ๊กแน่ๆ เหตุแห่งทุกข์ทั้งหมดเกิดจากไม่รู้ ธรรมตามจริง อวิชชา(ความไม่รู้)จึงบังเกิด ทั้งๆที่สัจธรรมก็แสดงออกมาอยู่ต่อหน้าว่า ความจริงคือ กูไม่รู้ว่ามึงอยู่ไหน คิดไปก็เปล่าประโยชน์ แค่นั้นแล ผู้ที่รู้ทันก็จะปรับอารมณ์กลับมาเป็นปกติได้ แต่หากรู้ไม่ทันมัน มันก็จะกลับมาอีกและก็จะกลับไปหลงต่อไป แต่ผู้ที่หลงก็จะกระทำกรรมต่อไปเรื่อยๆ กรรมเก่าๆ(การกระทำในรูปแบบเดิมๆ) จึงวนย้อนกลับมา เรื่อยๆเพราะกระทำตนแบบเดิมๆ โดยไม่รู้ตัว บางคนกลับหนักกว่า ยอมทำตัวดีๆให้ผู้ชายมารักมาชอบ แท้จริงแล้วนั่นก็หลงเช่นกัน เพราะต้องการให้เขามาคอยเอาอกเอาใจจึงทำดีด้วย พอไม่ได้ดั่งใจก็เสียใจร้องไห้ หากรู้ธรรมตามจริงก็ย่อมพบว่า กูไม่รู้อีกนั่นแหละ ว่าทำดีแล้วเขาจะดีกลับด้วยหรือเปล่า เราจะรู้ได้ต่อเมื่อรู้สัจธรรมตามจริง และสังเกตดูการกระทำ คำพูด และความคิดของเขาเอง ถึงแม้จะไม่จริง 100% เพราะมนุษย์ชอบโกหก แต่ก็พอจะรู้ได้ นี่คือเหตุและผล ที่ทำให้ชีวิตบางคนตกต่ำอยู่อย่างนั้น บางคนก็ดีอยู่อย่างงั้น ในกรณีของมโนกรรม


    ในกรณีของกายกรรม ก็เช่นการซื้อหวย หากซื้อถูกเลขไม่ว่าจะได้เลขดีมาจากไหน หรือซื้อมั่วๆหากถูกมันก็ถูกอีกนั่นแหละ หากเล่นหุ้นถ้าซื้อถูกตัวแม้ไม่ศึกษามันก็ได้เงินอยู่ดี วจีกรรมก็เช่นกัน หากโกหกผู้อื่นมากๆผู้อื่นก็จะไม่เชื่อถือ หรือหากพูดแต่ความจริง ก็จะมีแต่คนเชื่อเพราะมีสัจจะ บางคนที่ยึดติดหนักๆเข้า เมื่อโดนด่าว่า ก็จะคิดหรือพูดออกมาว่า กูจะทำอะไรก็เรื่องของกูมาเสือกอะไรด้วย แน่นอนเป็นความจริงว่าผู้ที่พูดอาจจะเสือก(ยุ่งเรื่องชาวบ้าน) จริง แต่การตอบเช่นนี้นับว่าหลงทางหนักๆเลย หากจะใช้ตรรกะปัญญาอ่อนเช่นนี้ซึ่งมีมาก ทั้งในวัยรุ่น และวัยทำงาน รวมถึงคนชราด้วย หากจะใช้ตรรกะพรรค์นี้ หากตัวผมมีปืน ผมจะเดินไปยิงใครก็ได้ใช่ไหม? เพราะถือว่ามีปืน ปืนมีไว้ยิง กูจะทำอะไรก็เรื่องของกู ถ้ากูมีปืนกูก็จะยิง นี่เหรอ? ตรรกะปัญญาอ่อนที่มนุษย์โลก ทั่วโลกใช้กัน ตรรกะที่มาจากมโน(ความคิด)ที่ยึดถือตัวเองว่ายิ่งใหญ่สุดๆ ทุกคนต้องคล้อยตาม หรือบางคนอาจจะไม่ได้คิดเช่นนี้ แต่อายที่โดนต่อว่า ซึ่งการต่อว่านั้นก็คิดไปเองอีก ต่อว่าคือ การด่า แต่การแนะนำ ว่าไม่ควรทำ คือการชี้แนะ พวกนี้ก็ไม่รู้ธรรมตามจริงเช่นกัน เมื่อปฏิเสธ กรรมก็ยังติดอยู่เพราะยังทำเช่นเดิมไปตลอด จนกว่าจะคิดได้ว่า ทำไมกูไปไหนถึงมีแต่คนไม่ชอบกูวะ? ทำไมสังคมรังเกียจ หรือ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าก็เสพแต่ธรรมารมณ์แบบนั้น มันก็เป็นเช่นนั้นแหละ ทำตัวเองกันทั้งนั้น ทั้งกายกรรม มโนกรรม และวจีกรรม รวมถึงผมด้วยกว่าผมจะรู้ได้ก็เสียเวลาชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึง 23 ปี ถึงพึ่งจะรู้ แล้วพวกท่านละ ? ตกอยู่ในกรรมของท่านเองกันมาเท่าไหร่แล้ว ? รู้ตัวกันหรือยัง? และนี่ยังเป็นการพิจารณาเรื่องกรรมในแบบของโลก(การพิจารณาโดยการคิด หรือมโน)โดยผสมกับการเข้าสภาวะในการตรวจสอบไม่ใช่การพิจารณาธรรมตามแบบของพระพุทธเจ้า(การดำรงอยู่ในสภาวะนั้นๆและรู้ได้ว่ามันมีอาการอย่างไร)เพื่อหาเหตุและผลของกรรมอย่างแท้จริง





    Ep2: สัมปยุทธตาธัมมา(Compatibility)



    ผลแห่งกรรมที่แสดงออกมานั้นยังแยกย่อยไปได้อีก โดยอีกทางคือ สัมปยุทธตาธัมมา(สภาวะที่เข้ากันได้) โดยวิธีการที่กรรมแสดงผลคือ หากเราเข้าสภาวะสุข แต่ในกลุ่มที่เราไปเข้านั้นกลับประกอบไปด้วย บุคคลที่อยู่ในสภาวะทุกข์ โดยผู้ฝึกสติปัฏฐาน จนมีสติ รู้ สรรพสิ่งที่มีอยู่จริงได้ ไม่ใช่มโนเอา เช่น รู้ว่าอากาศเย็น รู้ว่าอากาศร้อน ย้ำว่าอากาศไม่ใช่ลมเย็น นี่คือมีสติรู้ โดยสภาวะของการเข้าสมาธิคือเพ่งธรรมารมณ์(เพ่งความรู้สึก,สภาวะธรรมที่เป็นธรรมารมณ์,feelings) ซึ่งผิดเพราะเป็นมิจฉาสมาธิไม่มีสติพอจะรู้สรรพสิ่งใดๆ ยกตัวอย่างเมื่อเราตั้งสมาธิมั่นเราจะไม่รู้สึกถึงสภาพรอบตัว ซึ่งทุกคนเริ่มต้นแบบผิดๆโดยการ ดู(เพ่งสมาธิ)ลมหายใจ ทั้งๆที่หลักของพระพุทธเจ้าคือ รู้ลมหายใจ นี่ฉะแลคือบ่อเกิดของการมิจฉาทิษฏิ โดยหากมีสติรู้ขณะมีสมาธิประกอบด้วยจึงนับเป็นสัมมาสมาธิ ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ และนี่คือเหตุ และ ผล ของการไม่อาจบรรลุสัจธรรมอันสูงสุดของเหล่าพราหมณ์โยคีต่างๆ แม้จะมีสมาธิอันสูงลิบ ก็จะไปตันที่เนวสัญญา เพราะขาดสติรู้


    กลับมาการที่มีสติรู้ รู้มีความหมายที่กว้างมากผู้ที่ดูลมหายใจมักจะเข้าใจว่านี่คือสติรู้ลมทั้งๆที่ความจริงคือการ เพ่งไปที่ความรู้สึกของลมหายใจและย่อมเป็นเช่นนั้นเพราะคนที่ทำอานาปานสติตอนแรก ทุกผู้คนย่อมไม่รู้ลมหายใจ จึงไปดูเพื่อจะรู้สึกถึงลมหายใจ ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายคือ เวลาลมพัดมาโดนแม้ท่านจะไม่ดูมัน ท่านก็รู้อยู่ว่ามีลมมาโดนท่าน ขณะที่การดูหรือการเพ่งลมหายใจนั้นท่านไม่รู้แบบนี้ แต่ท่านไปดูมันถึงได้รู้สึกและรู้สึกคนละแบบกับการรู้เสียด้วย ซึ่งสมาธิและสติของพระพุทธเจ้า เริ่มจากความรู้สึกทั้งตัว(ใต้ผิวหนัง) แต่กระนั้นผมจะยังไม่พูดถึงเรื่องนี้ ดังนั้นกลับมาที่สัมปยุทธตาธัมมา แปลว่า ธรรมที่สัมปยุทธกัน หรือ ธรรมที่เข้ากันได้ แปลภาษาของมนุษย์ในยุคนี้คือ สภาวะที่เข้ากันได้ เช่น หากท่านอยู่ในกลุ่มที่มีสภาวะสุขกันทุกๆวัน แล้วอยู่ดีๆมีบุคคลในกลุ่มหนึ่งอยู่ในสภาวะเบื่อเซ็ง หรืออะไรก็ตามแต่ที่สภาวะธรรม(ชาติ)นั้นๆเข้ากันไม่ได้ ก็จะถีบตัวออกห่างไปเอง เพราะคนที่เบื่อและเซ็งเขาอยู่ในสภาวะเบื่อ เมื่อธรรมนั้นเข้ากันไม่ได้กับสภาวะสุข ก็จะเบื่อกับการมาอยู่ตรงนี้และอยากจะกลับบ้านหนีออกห่างจากผู้ที่อยู่ในสภาวะที่เข้ากันไม่ได้ เป็นปรกติ แต่หากคนทุกข์เจอกับคนทุกข์ เพราะสภาวะที่เข้ากันได้จึงได้ ปรับทุกข์ระบายทุกข์กันได้มากกว่า โดยธรรมบางชนิดก็เข้ากันได้ หากผู้ใดอยู่ในสภาวะเมตตา กรุณา มุทิตา ก็จะสามารถเข้ากับสภาวะทุกข์ได้ และธรรมที่ใหญ่กว่าสามารถกดข่มสภาวธรรมที่เล็กกว่าได้ เช่น หากท่านมีโมหะ(หลง) ก็สามารถเกิด โลภะ(โลภ) ได้ แต่หากท่านมีโทสะ แม้กระทั่งกามราคะ ที่ว่าเป็นธรรมอันบุรุษพ่ายก็ยังไม่สามารถกดข่มโทสะได้ ไม่เคยมีผู้ชายคนใดหื่นขณะที่กำลังบันดาลโทสะอยู่ ลองพิจารณาธรรมตามจริง(เข้าสภาวะและรับรู้ธรรมารมณ์ของสภาวะนั้นๆไม่ใช่มโนเอาเอง)ย่อมได้คำตอบเอง โดยโทสะจะมีสภาพ ร้อนรุ่ม อัดแน่น หรือจะเรียกว่า เนื้อของสภาวะโทสะก็ได้ ส่วนเนื้อของกามราคะจะเป็นสภาวะ เคลื่อนคล้ายๆน้ำแต่ร้อนรุ่ม และสภาวะเพ่งโทษ จิกกัด ก็เช่นกัน โดยสภาวะเพ่งโทษนั้นหากอยู่ในสภาวะจนเป็นฌาน(ตั้งมั่นอยู่ในธรรมนี้)และเป็นเอกคัตารมณ์(อารมณ์เด่นอารมณ์เดียว)หากมีอารมณ์อื่นๆจรเข้ามาก็ไม่ถอนจิตจากสภาวะนี้ ถือว่าอันตรายมากเพราะ ฌานนั้นคือสภาวะของจิตที่ตั้งมั่นกว่าปรกติจึงเกิดได้ ยกตัวอย่าง หากเราทำชั่ว จิตใจย่อมร้อนรุ่ม กลัว แต่หากทำไปเรื่อยๆ จนใจเย็นไม่ติดขัด เหมือนฆาตกรเวลาทำผิดที่ตอนแรกใจสั่นกลัว ภายหลังกลับเดินจิตตั้งมั่นอยู่แต่ในสภาวะนี้คือเพ่งโทษใครขวางตูฆ่าหมดทำจนเลือดเย็นมีสมาธิไม่วิตกอะไรเลย นี่ฉะแลฌาน ดังนั้นจริงๆทุกสภาวะเป็นฌานได้หมดเพราะฌานคือการอยู่ในสภาวะที่เราตั้งอยู่ซึ่งจะเป็นสภาวะอะไรก็ได้ก่อนที่จะตั้งฐานไปเป็นฌาน พอตั้งมั่นแล้วจึง ปิติ สุข และ เฉย แต่นั่นคือกรณีของ ฌาน 4 ในธรรมารมณ์ที่เสพสุข หรือที่เรียกว่า พรหมวิหาร 4 โดยผู้ที่ฝึกแบบมิจฉาสมาธิแบบฌานฤาษีย่อมตั้งฐานโดยสภาวะเพ่งความรู้สึก จึงไม่อาจพบกับฌานในสภาวะอารมณ์แบบอื่นๆได้เลย แต่หากเป็นฌานในธรรมารมณ์ที่เป็นทุกข์นั้น จะกลับกัน คือ อิจฉา ริษยา อาฆาต และ พยาบาท ซึ่งตรงกันข้ามกับ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ของพรหมโดยสิ้นเชิงสภาวะของคนที่เข้าถึงธรรม(ที่ไม่ดี)ในระดับนี้จะถูกเรียกว่าเลือดเย็น เสียแล้ว แน่นอนที่ไปของบุคคลเช่นนี้ นรกเย็น(โลกันตรนรก) เพราะใจไม่ร้อนรุ่มจากการทำชั่วเสียแล้ว นี่ฉะแล พรหมคือจิตระดับสูงสุดของภพภูมิที่เป็นรูป พวกสัตว์ในโลกันตร์ก็ถือว่าสูงสุดในหมู่ผู้หลงผิดเช่นกัน เพราะเป็นฌานเหมือนกันเสียด้วย


    เช่นกันกับธรรมารมณ์ ด้านลบทั้งหมด ไม่ว่าจะเบื่อ เซ็ง หากท่านใดเดินจิตได้ก็จะรู้เองว่า มันเหมือนกัน เพราะเริ่มจากเบื่อ เบื่อมากๆเข้าใครพูดอะไรก็ขัดหูขัดตา ซึ่งหากคนที่ไม่ได้เป็นฌานก็จะร้อนรุ่ม เป็นปกติ แต่หากท่านใดเป็นฌานแล้วก็จะพบว่า มันเบื่อเป็นปกติ เบื่อจนเจอใครที่สภาวะเข้ากันไม่ได้ก็อยากจะทำให้ทุกข์(หมั่นไส้) ซึ่งก็คือ อาฆาต พยาบาท จนกระทั่งไปถึงการยินดีเมื่อผู้อื่นทุกข์ และสุดท้ายคือเฉยชาต่อการทำชั่วเสียแล้ว ซึ่งรูปลักษณ์ของกายทิพย์ที่ปรากฏ คือสัตว์ที่มีฟันแหลม เล็บคม เพราะกรรมที่จิตชอบจิกกัดทำร้ายชาวบ้าน รูปลักษณ์จึงเป็นฉะนี้แล ไม่งดงามน่าทัศนาเฉกเช่นเหล่าพรหมแม้แต่น้อย แถมอายุของเหล่าพรหมก็นานมากๆ เหล่าสัตว์ในโลกันตรนรกก็เช่นกัน ผู้ใดที่ได้หลงไปสู่ภูมินี้นับเป็นกรรมหนักมาก เพราะหากถอนจิตได้ก็ย่อมไปเจอนรกขุมไฟ ต่อนั่นแล


    ปล.หากผิดบอร์ด mod จะย้ายก็ได้ครับไม่รู้ว่าควรจะตั้งในห้องไหนดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...