เว็บพลังจิต กรรมของชาติ กรรมของส่วนรวม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย มิตรตัวน้อย, 26 พฤศจิกายน 2008.

  1. มิตรตัวน้อย

    มิตรตัวน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +896
    <TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    มนุษย์ไม่เคยนึกให้ถึงว่าความรุนแรงที่เกิดแก่ตนบ้าง เกิดแก่คนนั้นคนนี้บ้าง เกิดแก่ประเทศชาติบ้าง นั้นเกิดแต่กรรมไม่ดีใด เพราะผลทุกประการเกิดแต่เหตุ ผลที่ไม่ดีที่แรงมากแรงน้อยต่างๆ นานา ต้องมีเหตุที่ได้กระทำแล้วจริงทั้งนั้น เกิดแก่ผู้ใดก็แสดงว่าผู้นั้นทำเหตุไว้ เกิดแก่ประเทศชาติใดก็แสดงว่าผู้คนในประเทศชาตินั้น ที่จำนวนไม่น้อย ได้ทำเหตุไว้แน่นอน

    แต่ผู้ไมมีญาณหยั่งรู้ย่อมไม่รู้ได้ว่าทำเหตุใดไว้ ผู้ใดหรือหมู่คณะใดเป็นผู้ทำไว้ เราทุกคนก็อาจจะเป็นหนึ่งที่ได้ร่วมกระทำเหตุไม่ดีไว้ ทำให้เกิดผลไม่ดีที่ปรากฏให้เห็นทั่วไป ในที่นี้จะพูดถึงที่เป็นผลกว้างขวางครอบคลุมไปในประเทศชาติ ตลอดถึงกระทั่งในโลกทีเดียว

    พวกเราที่รวมกันเป็นคนในโลก ในประเทศชาติ เมื่อมีความเดือดร้อนวุ่นวายปั่นป่วนเกิดขึ้นมากมายผิดปกติ ในโลกก็ตาม ในบ้านเมืองของเราก็ตาม น่าจะคิดให้ลึกสักหน่อยว่า ต้องเป็นกรรมที่ไม่ใช่เล็กน้อย นั่นก็คือต้องไม่เป็นกรรมของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

    กรรมที่เกิดแก่ส่วนรวม คือเกิดแก่บ้านเมืองแก่ประเทศชาติ ตามเหตุผลแล้วต้องเป็นกรรมของส่วนรวม ของประเทศชาติ ซึ่งมีเราทุกคนรวมอยู่เป็นหนึ่งแน่นอน ยอมรับว่าความร้อนของบ้านเมืองเรา ซึ่งต้องเกิดแต่กรรมไม่ดีไม่งามแน่นอน เราต้องเป็นหนึ่งในผู้ก่อกรรมอันยังให้ความเดือดร้อนนั้นเกิด

    ถ้าทุกคนหรือมากคน ยอมคิดได้เช่นนี้ แล้วยอมแก้ไข ด้วยการพยายามทำกุศลกรรม คือทำดี ลดละการทำอกุศล คือทำไม่ดี ให้เต็มสติปัญญาความสามารถ ย่อมยังให้เกิดผลดีได้ มากคนคิดได้ มากคนทำดี มากคนลดละเลี่ยงหลีกการทำความชั่ว การทำบาปอกุศล ย่อมยังให้เกิดผลดีได้มากเป็นธรรมดา แก่ประเทศชาติ ทำเหตุดีมาก ผลดีย่อมมาก แน่นอน




    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    ที่มา www.dhammajak.net
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • CIMG2481ม.jpg
      CIMG2481ม.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.8 KB
      เปิดดู:
      164
    • scan0001_2.gif
      scan0001_2.gif
      ขนาดไฟล์:
      47.5 KB
      เปิดดู:
      130
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 เมษายน 2010
  2. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ ตอนที่ ๕
    (พระสงฆ์กับการเมือง)

    ผศ.มานพ นักการเรียน
    ๐๔ มีนาคม ๒๕๔๙
    ความหมายของพระสงฆ์
    พระสงฆ์คือ หมู่สาวกผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในทางรัฐศาสตร์ พระสงฆ์หรือองค์การทางศาสนาเป็นกลุ่มทางสังคม ที่มีวัตถุประสงค์ของทางการเมือง (รวมด้วย) คือให้รัฐบาลช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของคณะสงฆ์และมีนโยบายการพัฒนาคณะสงฆ์/พระพุทธศาสนา
    การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองเป็นเรื่องแห่งปัจจุบันสมัย ที่ทุกคนควรเข้าไปเกี่ยวข้อง บางคนที่มีความคิดล้ำหน้ามองว่า พระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการเรียกร้องสิทธิของคณะบุคคลเท่าที่ควรจะเป็น
    พระสงฆ์คงเหลือบทบาทหรือพันธกิจอยู่เพียง ๒ บ และ ๒ ส คือ บ = บิณฑบาต บ =บังสุกุล ส = สังฆทาน และ ส = สวดมนต์ ซึ่งเป็นเรื่องกิจวัตรและกิจกรรมทางพิธีกรรม โดยไม่ได้ใส่ใจต่อทุกขสัจของสังคมรอบด้าน

    พระพุทธเจ้ากับการเมือง
    ๑. กรณีห้ามการระงับข้อพิพาทไขน้ำเข้านาของพระญาติทั้ง ๒ ฝ่าย
    พระพุทธเจ้าทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง เมื่อทั้ง ๒ ฝ่าย มีความตึงเครียดเผชิญหน้า รอให้มีการปะทุออกมา อันจะก่อให้เกิดความสูญเสียทำลายชีวิตผู้คน กรณีนี้คือเรื่องการห้ามหรือการระงับข้อพิพาทไขน้ำเข้านาของพระญาติทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายศากยวงศ์ซึ่งเป็นฝ่ายพระบิดา และฝ่ายโกลิยวงศ์ซึ่งเป็นฝ่ายพระมารดา พระพุทธเจ้าทรงสอบสวนไต่ถามถึงที่มาของเรื่องและทรงให้ข้อคิดแก่พวกพระญาติ
    พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระญาติว่า “มหาบพิตร ทะเลาะด้วยเรื่องอะไรกัน“
    “พวกข้าพระองค์ไม่ทราบ พระเจ้าข้า”
    “แล้วใครจักทราบเล่า”
    พวกพระญาติจึงสอบถามไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง แล้วกราบทูลว่า “ทะเลาะกันเพราะน้ำ พระเจ้าข้า”
    “น้ำมีราคาเท่าไร มหาบพิตร”
    “มีราคาน้อย พระเจ้าข้า”
    “กษัตริย์ทั้งหลายมีราคาเท่าไร มหาบพิตร”
    “ขึ้นชื่อว่ากษัตริย์ทั้งหลายประเมินค่ามิได้ พระเจ้าข้า”
    “การที่พวกท่านทำให้กษัตริย์ซึ่งหาค่ามิได้ให้ฉิบหาย เพราะเหตุแห่งน้ำเพียงเล็กน้อย สมควรแล้วหรือ”
    พวกพระญาติยอมรับโดยดุษณีภาพ สุดท้ายพระบรมศาสดาจึงตรัสเตือนพวกพระญาติว่า “มหาบพิตร เพราะเหตุไร พวกท่านจึงกระทำกรรมเช่นนี้ เมื่อเราไม่มีอยู่ ในวันนี้ แม่น้ำคือโลหิตจักไหลนอง พวกท่านทำกรรมไม่สมควร เป็นผู้มีเวรด้วยเวร ๕ มีความเดือดร้อนเพราะยังเต็มไปด้วยกิเลส มีความขวนขวายแสวงหากามคุณอยู่ แต่เราตถาคตมีนัยตรงกันข้าม”

    ๒. กรณีห้ามการทำสงคราม
    อีกกรณีหนึ่ง พระเจ้าวิฑูฑภะ โอรสพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อได้ราชสมบัติแล้ว ทรงระลึกถึงเวรที่พวกศากยะก่อไว้จึงยกกองทัพไปเพื่อจะล้างแค้นพวกเจ้าศากยะที่ดูหมิ่นตน พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเสด็จไปประทับ ณ ร่มไม้ใบบางต้นหนึ่งในรัฐสักกะ ดักทางที่กองทัพพระเจ้าวิฑูฑภะจะผ่านไป
    พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จไปถึงที่นั่น ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าประทับอยู่เช่นนั้น จึงเสด็จเข้าไปถวายอภิวาทนิมนต์เสด็จไปประทับที่ร่มไม้อีกต้นหนึ่งในรัฐโกศลซึ่งมีใบหนาทึบสนิทดีกว่า แต่พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ช่างเถอะ มหาบพิตรร่มเงาของญาติเย็นสบายดี” พระเจ้าวิฑูฑภะก็ทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาคุ้มครองพระญาติ จึงถวายบังคมยกกองทัพกลับกรุงสาวัตถี

    เมื่อทรงนึกถึงการดูหมิ่นของพวกศากยะขึ้นมาอีก ความแค้นอาฆาตก็พุ่งขึ้นจึงยกกองทัพไปอีกถึง ๒ ครั้ง พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปประทับนั่งให้เห็นอย่างนั้น ทำให้พระองค์ต้องยกทัพกลับ ในวาระสุดท้ายพระพุทธเจ้าทรงวางเฉย เพราะทรงเห็นบุพกรรมองพวกศากยะที่ทำไว้หนักนัก เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะยาตราทัพออกไปไม่เห็นพระพุทธเจ้าก็บุกทะลวงเข้าไปจนถึงกรุงกบิลพัสดุ์ แล้วสั่งให้ฆ่าพวกศากยะตายไปไม่เหลือแม้แต่ทารกที่ยังดื่มนมอยู่ก็ไม่ไว้ชีวิต แต่เหมือนพวกศากยะที่หนีรอดไปได้ด้วยกลอุบายก็มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย
    พระเจ้าวิฑูฑภะเมื่อล้างแค้นได้สมประสงค์แล้วก็ยกทัพกลับไปพักอยู่ที่หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี เผอิญในคืนนั้นฝนตกหนักจึงเกิดน้ำหลากไหลมาท่วมกองทัพของพระเจ้าวิฑูฑภะจมน้ำตายเสียเป็นส่วนมาก พระเจ้าวิฑูฑภะเองก็สิ้นพระชนม์ในคราวนี้ด้วย เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะสิ้นพระชนม์แล้ว รัฐโกศลก็ขาดกษัตริย์จึงต้องตกอยู่ในอาณัติของพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งรัฐมคธ

    ที่มา : http://www.src.ac.th/web/index.php?o...=427&Itemid=69
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2008
  3. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    เวร....คือ....การจองล้าง..จองผลาญ..ซึ่งกันและกัน ดังนั้น..บุคคลผู้จองเวร....จะมีใจผูกแค้น..ต่อคู่เวร..กับตนเองปรารถนา..จะให้เขาพินาศ..ต่างๆ เมื่อจองเวรต่อเขา..เขาก็จะจองเวรตอบ มุ่งหวัง..จะเข้าห้ำหั่นกัน..ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วเวรจะระงับ..ได้อย่างไร

    แต่ถ้าทั้งสองฝ่าย..พิจารณาเห็นโทษ..แล้วหยุดเสีย ทั้งสองฝ่าย..หรือฝ่ายใด..ฝ่ายหนึ่ง....โดยมีขันติ..และเมตตา..เข้าช่วย เวรก็จะสงบ..และระงับได้ การอภัยทาน คือ การทำทานที่ยากที่สุดแต่ผลได้รับสูงที่สุด ทั้งต่อจิตใจและสุขภาพ ในกาลไหนๆ เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร

    จากทางแห่งความดี อ.วศิน อินทสระ


    พระพุทธภาษิต :

    น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ อเวเรน จ สมฺมนฺติ เอส ธมฺโม สนนฺตโน

    คำแปล : ในกาลไหนๆ เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร นี่เป็นธรรมเก่า อธิบายความ การผูกเวร ก็เหมือนกับการผูกพยาบาท เมื่อต่างฝ่ายต่างผูกใจเจ็บกันอยู่ เวรก็ไม่สามารถระงับลงได้

    แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลิกผูกเวรเสียด้วยการให้อภัยและแผ่เมตตาให้เสมอๆ เวรย่อมระงับลงได้ในเวลาไม่นาน การไม่ผูกเวรทำให้จิตใจเราสบาย

    เมื่อใดใจผูกเวร เมื่อนั้นมองไปไหนก็เห็นแต่ศัตรู แต่เมื่อใดใจของเราไม่มีเวรกับใคร มีแต่เมตตาปรานี เมื่อนั้น มองไปทางใดก็เจอแต่มิตร เพราะฉะนั้น พระเจ้าโกศล เมื่อให้โอวาทพระราชโอรส ทรงพระนามว่า ฑีฆาวุกุมาร จึงตรัสว่า

    ฑีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่กาลยาว อย่าเห็นแก่กาลนั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร นี่เป็นธรรมเก่า เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาด เพื่อความสบายใจของตนเอง จึงไม่ควรผูกเวรไว้กับใครๆ จงจำแต่ความดีที่ผู้อื่นทำแก่ตน แต่อย่าจำความร้ายที่เขาทำให้ เพราะมันไม่มีประโยชน์แก่จิตใจ

    คำว่า อย่าเห็นแก่กาลยาว นั้น หมายความว่าอย่าผูกเวรเอาไว้ เพราะเวรยิ่งผูกก็ยิ่งยาว คำว่า อย่าเห็นแก่กาลสั้น นั้น หมายความว่า อย่ารีบด่วนแตกจากมิตร

    มีอะไรก็ค่อยๆ ผ่อนปรนกันไป ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจเข้าใจผิดก็ได้ อย่าด่วนลงโทษใครง่ายเกินไป และอย่ารีบแตกจากใคร ขอให้พิจารณาเสียร้อยครั้งพันครั้ง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2008
  4. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    อภัยทานัง อามิสทานัง ชินาติ


    การให้อภัยทาน ย่อมชนะเสียซึ่งทานทั้งปวง

    <O:p</O:p
    ......ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งที่มุ่งหมายจะเทศน์กันในวันนี้ก็คืออภัยทาน อภัยทานนี้เป็นการให้ทานที่ไม่ต้องลงทุนด้วยวัตถุ แล้วก็เป็นทานสูงสุด พระพุทธเจ้ากล่าวว่าใครเป็นผู้มีอภัยทานประจำใจ คนนั้นเป็นผู้เข้าถึงปรมัตถบารมีแล้ว คำว่าปรมัตถบารมีนี้เป็นบารมีสูงสุด เป็นบารมีที่จะทำให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน คำว่าอภัยทานก็ได้แก่การให้อภัยซึ่งกันและกัน หมายความว่าคนใดก็ตาม เขาทำให้เราขุ่นเคือง ทำให้เราไม่ชอบใจด้วยกรณีใดๆก็ตาม

    ถ้าหากเราคิดพิจารณาเข่นฆ่าจองล้างจองผลาญ ถ้าเขาด่าเรา เราคิดว่าโอกาสสักวันหนึ่งข้างหน้าเราจะด่าตอบ เขาลงโทษเรา เราจะลงโทษตอบ เขาตีเรา เราคิดว่าเราจะตีตอบ แต่โอกาสมันยังไม่มี คิดเข้าในใจว่าเราจะทำอันตรายตอบ อย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็น อาฆาต คือ พยาบาท เป็นไฟเผาผลาญดวงจิต เพราะคนที่เรากำลังคิดจะฆ่าก็ดี คิดจะประทุษร้ายก็ดี นี่เขายังไม่ทันรู้ตัวเขามีความสุข เราคนที่คิดจะทำเขานั่นแหละตั้งแต่แรกหาความสุขไม่ได้

    นี่กล่าวถึงโทษโทสะและพยาบาท เพราะจะทำให้เราไม่ชอบใจ ถ้าหากว่าใครเขามาทำให้เราไม่ชอบใจ เรามาคิดกลับเสียอีกมุมหนึ่ง คิดหากฎความเป็นจริงว่า คนที่ทำให้เราไม่ชอบใจนี่มีอะไรเป็นเหตุ เราไปกวนใจเขาก่อนหรือว่าอยู่ดีๆ เขามากวนใจเรา ถ้าเราไปกวนใจให้เราเกิดความไม่สบายใจ เขาประทุษร้ายเราบ้าง เขาด่าเราบ้าง สร้างความเจ็บใจให้แก่เรา ก็คิดว่านั้นมันเป็นโทษ คือความผิดของเรา นี่ควรจะยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบาน เรียกว่ายอมรับผิด แล้วก็ไม่โกรธตอบเขา

    ตานี้ถ้าเราอยู่ดีๆแล้วเขาเกิดคิดจะฆ่าเราบ้าง คิดจะด่าเราบ้าง มาด่าเราบ้าง อิจฉาริษยาเราบ้าง รุกรานในด้านทรัพย์สินบ้าง ถ้าเราพิจารณาตนแล้วว่า ชาตินี้เราไม่เคยทำอะไรให้แก่เขา ตานี้เราจะทำยังไงจึงจะให้อภัยทานได้ เราตั้งใจคิดว่าเราจะให้อภัยแก่เขา แต่ว่าเราเป็นคนไม่ผิด คนไม่ผิดมาถูกลงโทษ ถ้าให้อภัยแก่เขามันเสียเหลี่ยม นี่ชาวบ้านเขาว่ากันยังงี้ แต่พระไม่ว่ายังงั้นหรอก พูดกันคนละอย่าง ถ้าเราคิดไม่ออกก็มองไปดูพระพุทธเจ้า .....


    ......องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า การที่ตถาคตถูกพระเทวทัตทรมานมาทุกชาติกลั่นแกล้งมาทุกชาติ ไม่ใช่ว่าตถาคตเป็นคนผิด แต่ว่าตถาคตน่ะเป็นคนถูกทุกชาติ แต่ว่าอาศัยกรรมที่เขาจองไว้กับตถาคตเขาจึงทำอย่างนี้ พระจึงถามว่าทำไมองค์สมเด็จพระมหามุนีจึงไม่มีความโกรธในพระเทวทัต เพราะเขาแกล้งในทีนะ ที่เป็นคนทำความถูก

    ท่านก็เลยบอกว่า ไอ้การโกรธไม่มีประโยชน์ การพยาบาทไม่มีประโยชน์ มันเป็นไฟเผาผลาญ เพราะเราบำเพ็ญบารมีมา ก็ปรารถนาให้เข้าถึงซึ่งพระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าเราไปคบกับความโกรธก็ดี ความพยาบาทก็ดี กรรมทั้งหลายเหล่านี้มันจะกำจัดต่อความดีของเรา แม้แต่สวรรค์ชั้นกามาวจรสวรรค์ก็จะไม่ได้พบ จะพบแต่อบายภูมิทั้ง 4 ประการ กล่าวคือ ตกในนรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรการบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง หรือว่าเป็นคนที่เกิดมาเต็มไปด้วยความทุกข์บ้าง

    พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เธอจงปรารภอภัยทานเป็นสำคัญ เมื่อบุคคลผู้ใดก็ดีที่เขาทำให้เราไม่ชอบใจ จงคิดเสียว่า เราเคยมีกรรมเก่าที่เคยทำให้เขาไม่ชอบใจไว้ มาชาตินี้เขาจึงได้จองล้างจองผลาญเรา เราคิดให้อภัยเสีย มันก็จะปลอดภัย แล้วอีกประการหนึ่ง ถ้ามีการให้อภัยเกิดขึ้น ความเร่าร้อนของจิตก็จะไม่มี มีแต่ความผ่องใส นี่แหละบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้อาตมาเทศน์เรื่องทานกถาทานด้วยกัน กล่าวคือ อามิสทานอย่างหนึ่ง และธรรมทานอย่างหนึ่ง

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมทานก็มีความมุ่งหมายแต่อภัยทานเป็นสำคัญ เพราะว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านที่นั้งอยู่ในที่นี้ก็ดีหรือไม่ได้มาก็ดี คนทั้งโลกย่อมกระทบกับความกระทบกระทั้งเป็นปัจจัย เรียกว่าเป็นปกติ ถ้าความกระทบกระทั้งเป็นปัจจัย กล่าวคือสิ่งใดก็ตาม บุคคลใดก็ตาม หรือว่าสัตว์ตนใดก็ตาม ที่ทำให้เราไม่ชอบใจ ก็พิจารณาตัวเสียก่อนว่า ชาตินี้เราทำความผิดอะไรให้เขาเจ็บใจหรือเปล่า ถ้ารู้สึกว่าเราทำก่อนแล้วเขามาทำทีหลัง ก็ถือว่าเป็นการชดใช้กรรม คือใช้หนี้กันไป

    ถ้าพิจารณาไปแล้วเห็นว่าเราไม่เคยทำความผิดอะไรให้กับเขา เขากลั่นแกล้งเราโดยเจตนา เราก็คิดเอาพระพุทธเจ้าเป็นพยาน ถือพระพุทธเจ้าเป็นแบบฉบับว่าชาตินี้เราไม่ได้ทำแก่เขา ชาติที่แล้วเราคงจะทำแก่เขา หรือว่าถ้าชาติที่แล้วเราไม่เคยทำกับเขา ชาติที่แล้วเรามองไม่เห็น ก็กลับมาคิดลงไปอีกทีว่า คนที่ทำให้เราไม่ชอบใจคนนี้เป็นคนโง่ ถ้าคนฉลาดแล้วเขาไม่ขัดใจใคร การขัดคอคนการขัดใจคนมันมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความเร่าร้อน ทำความเป็นมิตรสหายให้แตกร้าวจากกัน ทำความสามัคคีให้แตกแยกออกไป

    นี่แหละ เมื่อเราเห็นเขาเป็นคนโง่อย่างนี้ เราจะไปโกรธคนโง่ทำไม ขึ้นชื่อว่าคนโง่ทำอะไรก็เต็มไปด้วยความประมาท ขาดการยับยั้ง นี่ปลงใจอย่างนี้ ทำจิตให้เป็นอภัยทานนับแต่บันนี้เป็นต้นไปว่า คิดว่าใครเขาจะทำอะไรก็ช่าง เราไม่ชอบใจ เราก็ถือคำว่าช่างมัน อย่างท่านวังบูรพา ท่านเคยเขียนไว้ที่หน้าวังว่า ช่างมัน อย่างนี้ ท่านทำของท่านถูก ช่างเขา เขาทำไม่ดีมันก็เป็นความเร่าร้อนของจิตของเขา เราทำดีมันเป็นความเยือกเย็นของจิตเรา คิดไว้เพียงเท่านี้ จิตใจของท่านพุทธบริษัทก็จะผ่องใส ถ้าหากว่าบังเอิญจะตาย ....

    .....ถ้าบุคคลใดเวลาจะตาย มีอารมณ์ผ่องใส อารมณ์ผ่องใสจะเกิดได้ก็ต้องอาศัยเมตตาบารมี คืออภัยทานนั้นเอง ถ้าอารมณ์ของบุคคลผ่องใส บุคคลนั้นตายไปแล้วก็ไปเกิดในสุคติ เกิดเป็นพรหม ถ้าดีไปกว่านั้นอีกนิดก็ไปพระนิพพานเลย....

    คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม 17 เรื่องอภัยทาน หน้า 110

    ที่มา : http://palungjit.org/showthread.php?p=984513
    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
    <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  5. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (อ้างอิงจากหนังสือ:พระบรมราโชวาทและพระบรมราโชบายในการบริหารงานตำรวจ:รวบรวมโดย พล.ต.ท.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช) ที่ทรงเตือนสติและเป็นข้อคิดให้คนไทย น้อมรับใส่เกล้าฯซึ่งมีพระราชดำรัสไว้เมื่อเดือน พ.ค. 2535 ใจความว่า

    “...ช่วยกันคิด คือหันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน เพราะว่าเป็นประเทศ ของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน ต้องเข้าหากัน ไม่เผชิญหน้ากันแก้ปัญหา เพราะว่าอันตรายมีอยู่ เวลาคนเราเกิดความบ้าเลือด ปฏิบัติการรุนแรงต่อกัน มันลืมตัว ลงท้ายก็ไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไรแล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทางชนะ อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้แล้ว ก็ที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชนเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ถ้าสมมุติว่ากรุงเทพมหานครเสียหาย ประเทศ ก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะเวลาอยู่บนกองสิ่งปรักหักพัง...”

    ที่มา : http://news.sanook.com/crime/crime_17111.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2008
  6. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=left>
    พระบรมราโชวาท ความสามัคคี
    </TD></TR><TR><TD vAlign=center align=left>

    "...ความสามัคคีนี้ หมายถึงว่ามีสิ่งใดที่อาจ ขัดแย้งซึ่งกัน และกันบ้าง ก็ต้องปรองดองกันเสีย และหา ทางออกโดยที่ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง กันเพราะความสามัคคีเป็นกำลังอย่างสูงสุดของ หมู่ชน..."

    พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่กลุ่มชาวไร่
    หมู่บ้านตัวอย่าง โครงการไทย-อิสราเอล
    จังหวัดเพชรบุรี 25 พฤษภาคม 2513​


    "...ความพอพระราชหฤทัยของพระราชาอยู่ที่ว่า แต่ ละคนจะทำหน้าที่ของตัวด้วยความตั้งใจ มีความคิดพิจารณาที่รอบคอบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง กัน ส่งเสริมความสามัคคี และปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม..."

    พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับ
    พระราชทานเหรียญราชรุจิ
    ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน 23 มกราคม 2513​

    "...ชาติของเรารักษาเอกราชอธิปไตยมาได้จนถึงทุก วันนี้ด้วยความสามัคคี ผู้ใดเดือดร้อนก็ได้รับการ บรรเทาความเดือดร้อนนี่เป็นหลักสำคัญของการปกครอง ประเทศไทยมาแต่โบราณกาล..."

    พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการบริหาร
    และอาสาสมัคร มูลนิธิราชประจำนุเคราะห์ฯ
    ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร 30 ตุลาคม 2508​

    "...ประเทศไหนถ้าประชาชนพลเมือง มีความสามัคคีกลมเกลียว กันดี มีระเบียบวินัย ประเทศนั้นก็เจริญและอยู่ ในฐานะดีจึงเห็น ได้ว่าความสามัคคีกลมเกลียวกันระหว่างคนในชาติ และ ความเข้าใจรักษาระเบียบวินัยเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง ที่จะช่วยนำประเทศชาติสู่ความวัฒนาถาวร..."

    พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสเสด็จฯ ออกให้ประชาชนเฝ้า
    ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม 19 มกราคม 2504​





    "... การที่ประเทศของเราได้รักษาอธิปไตย และดำรงฐานะมา ด้วยดีได้ตลอดมานั้น ก็ด้วยอาศัยความร่วมมือ ของทุกๆฝ่าย ต่างช่วยกันปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ด้วย ความสามัคคีและความพร้อมที่จะเสียสละ เพื่อประโยชน์ ของส่วนรวม...

    พระบรมราโชวาท ในพีธีตรวจพลสวนสนาม
    เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา
    ณ ลานพระราชวังดุสิต 3 ธันวาคม 2504​

    "...สามัคคี คือการเห็น แก่บ้านเมืองและช่วยกันทุก วิถีทางเพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วย การเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างตรงไปตรง มา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม เพราะประโยชน์ส่วนรวม นั้น คือความมั่นคงของบ้านเมือง..."

    พระราชดำรัส พระราชทานในพีธี
    ประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล
    ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 15 มกราคม 2519​

    "...เมืองไทยนี้อยู่ได้ด้วยความสามัคคี ด้วยความเข้ม แข็ง ด้วยความเสียสละ อาศัยความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งกันและกัน และถ้ารักษาความ เห็นอกเห็นใจนี้แล้ว ประเทศชาติของเราก็จะ เป็นที่อาศัยที่อุดมสมบูรณ์และน่าสบายต่อไปชั่ว กาลนาน..."

    พระราชดำรัส พระราชทานในพิธีพระราชทาน
    ธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านจังหวัดขอนแก่น
    ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 19 กุมภาพันธ์ 2519​

    "...บ้านเมืองไทยสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้โดยดี เพราะว่าจิตใจสามัคคีและแสดงออกซึ่งสามัคคี ถ้าตราบใด เรารักษาความสามัคคีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกัน และกันไว้ได้ เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความ สุขตราบนั้น..."

    พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะประชาชนจังหวัดราชบุรี
    พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 16 พฤศจิกายน 2531​

    "...ความสามัคคีนั้นหมายถึงความเห็นใจซึ่งกันและกัน ทั้งในทางส่วนบุคคลทั้งในด้านวิชาการ ต้องเห็น ใจว่าแต่ละคนมีหน้าที่ มีความรู้ในวิชาการของ แต่ละคน ถ้าดำเนินวิชาการนั้นๆไปตามลำพัง หรือตามแนวเดียว เท่านั้นเอง ก็จะไม่สามารถที่จะดำเนินได้โดยดี..."

    พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงานสุรสีห์รำลึก
    ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน 21 มีนาคม 2522​

    "... ความสามัคคีนี้ เป็นคุณธรรมสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งหมู่ชน อยู่รวมกันจำเป็นต้องมี ต้องถนอมรักษาและ ต้องนำมาใช้อยู่สม่ำเสมอ ถ้าแต่ละฝ่ายเข้ามาร่วมกันทำงานด้วยความ ตั้งใจดี ด้วยความสามัคคี ความรู้ความสามารถ และ ด้วยความคิดที่สร้างสรรค์ งานก็สำเร็จสมบูรณ์งด งามตามประสงค์ทุกอย่าง..."

    พระราชดำรัส ในการเสด็จออกมหาสมาคม
    งานพระราชพีธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2530​

    "...คราวใดที่ชาวไทยมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อประเทศชาติแล้ว ชาติก็ได้รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความสุขความ เจริญ แต่คราวใดที่ขาดความสามัคคีกลมเกลียวกัน ก็ต้อง ประสบเคราห์กรรมกันทั้งชาติ จึงเป็นหน้าที่ของ เราทั้งหลาย ที่จะต้องร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ ให้ดีที่สุด..."

    พระบรมราโชวาท ในพิธีสวนสนามทหารรักษาพระองค์
    ณ ลานพระราชวังดุสิต 3 ธันวาคม 2505​

    "...ความสามัคคีพร้อมเพรียงแห่งหมู่คณะ ที่จะเกิดมี ขึ้นได้นั้น ย่อมจะเนื่องมาจากความคิด ความเห็น และใจจริงที่มุ่งหมายและยึดมั่นในสิ่งใดสิ่ง หนึ่งรวมกัน..."

    พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่สมาคมนักเรียนไทยในรัฐเยอรมันฯ
    เพื่ออัญเชิญลงพิมพ์ในหนังสือ เพื่อนไทย สิงหาคม 2521​

    "...ประเทศของเรารักษาเอกราช อธิปไตยและอิสระภาพให้ สมบูรณ์มั่นคงมาได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะคนไทย ทุกหมู่เหล่ารู้รักความสามัคคี และรู้จักทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ประสานส่งเส ริมกัน เมื่อทุกคนมุ่งใจปฏิบัติดังนี้ ความถูก ต้องเรียบร้อย ความพัฒนาก้าวหน้า และความมั่นคง เป็นปึกแผ่นจึงบังเกิดขึ้น..."

    พระบรมราโชวาท ในพีธีถวายสัตย์ปฏิญาณ
    และสวนสนามทหารรักษาพระองค์
    ณ ลานพระราชวังดุสิต 3 ธันวาคม 2534​

    "...ประเทศชาติกำลังพัฒนาในทุกด้านและต้องการ ความสามัคคีความเรียบร้อย ผลดีทั้งปวงดังกล่าวจะ เกิดขึ้นได้ ด้วยประชาชนมีหลักของใจอันมั่นคง มีศรัทธาและปัญญาอันถูกต้อง ปฏิบัติตนอยู่ในทาง ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม..."

    พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในการประชุมใหญ่
    ของสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร
    ณ จังหวัดกาฬสินธุ์ 17 ธันวาคม 2512​

    "...สามัคคีหรือการปรองดองกันไม่ได้หมายความว่าคน หนึ่งพูดอย่างหนึ่งคนอื่นต้องพูดเหมือนกันหมด ลงท้ายชีวิตก็ไม่มีความหมาย ต้องมีความแตกต่างกัน แต่ต้องทำงานให้สอด คล้องกัน แม้จะขัดกันบ้างแต่ต้องสอดคล้องกัน..."

    พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ
    ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
    ณ ศาลาดุสิตตาลัย 4 ธันวาคม 2536​

    "...ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับความ รักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้องสอง ประการนี้ คือ คุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริ ญมั่นคงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน..."

    พระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย
    เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2532​

    "...ทุกๆคนในชาติ ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ ถ้า แต่ละคนต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นผลดีที่ สุดที่จะกระทำได้ ด้วยความรักชาติและมีความสามัคคีกลมเกลียวกัน แล้วชาติของเราจะเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น..."

    พระบรมราโชวาท ในพีธีถวายสัตย์ปฏิญาณ
    และสวนสนามของทหารรักษาพระองค์
    ณ ลานพระราชวังดุสิต 3 ธันวาคม 2504​

    "...ความสามัคคี เป็นคุณสมบัติประจำตัวของคนไทย ที่ได้ อบรมสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษโดยไม่ขาดสาย ทั้งนี้ เพราะคนไทยตราบตระหนักว่าหมู่ คณะที่มีสามัคคีแน่นแฟ้นสมบูรณ์ย่อมมีกำลังกล้า แข็งทั้งในการคิดและการปฏิบัติ..."

    พระบรมราโชวาท พระราชทานในการประชุมใหญ่
    สามัคคีสมาคม 26 กรกฎาคม 2534​

    "...ตามประวัติศาสตร์ของเราจะเห็นได้ว่า คราวใด ที่ชาวไทยมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ชาติก็รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความเจริญรุ่งเรือง แต่ คราวใดที่ขาด ความสามัคคีกลมเกลียวกัน ก็ต้องประสบเคราะห์กรรมทั้ง ชาติ..."

    พระบรมราโชวาท ในพีธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน
    และสวนสนามของทหารรักษาพระองค์
    ณ ลานพระราชวังดุสิต 3 ธันวาคม 2505​

    "...ความสามัคคีนี้ เป็นคุณธรรมสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งหมู่ ชนผู้อยู่ร่วมกันจำเป็นต้องมี ต้องถนอมรักษา และต้องนำมาใช้อยู่สม่ำเสมอ เนื่องด้วยสรรพกิจการงานที่เป็นส่วนรวมทุกด้าน ทุกระดับ ต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ายร่วมกันทำกิจกรรม

    พระราชดำรัส ในการเสด็จออกมหาสมาคม
    เนื่องในพระราชพีธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2530​

    ที่มา : http://www.thaisnews.com/prdnews/king/tamroy/harmony.html
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2008
  7. คนบรรพต

    คนบรรพต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2007
    โพสต์:
    647
    ค่าพลัง:
    +4,456
    ทุกสิ่งในโลกล้วนอนิจจัง มีเกิดได้ก็ย่อมมีดับได้เป็นธรรมดา ไม่มีอะไรยั่งยืนจีรังครับผม
     
  8. sawasdeebangkok

    sawasdeebangkok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +100
    เวรกรรม

    ฟ้ามืด ก็ต้องมีฟ้าสว่าง อนาคตประเทศไทยอาจเจริญสุดๆ ในอาคเนย์ก็ได้ ใครจะไปรู้

    ตัวอย่าง ตอนเสียกรุงศรีฯ จนมาเจริญเติบโตในกรุงเทพฯ ที่เจริญก้าวหน้ากว่า พม่า เขมร ลาว (คงเป็นวัชจักรมั้ง)
     
  9. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    กรุณาอย่าแสดงความเห็นเกี่ยวกับความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นนะครับ ผมนำเสนอเพื่อให้เราวางกำลังใจเป็นครับ เว็บพลังจิตไม่เลือกข้าง และไม่สนับสนุนฝ่ายใดครับ เราเป็นกลาง และยอมรับในทุกความคิดของเพื่อนๆครับ เพียงแต่เราเลี่ยงที่จะแสดงออกมาครับ

    ก็ขอให้ทุกท่านช่วยกันแสดงความเห็นเชิงสร้างสรรค์ เพื่อมิติใหม่ในการแสดงความเห็นของเว็บพลังจิตที่ปลอดการเมืองครับ

    ตัวอย่างที่ดีที่สุดของเรา คือ พ่อหลวงของเรา ซึ่งท่านเป็นแบบอย่างที่ดีในการวางกำลังใจครั้งนี้

    โมทนาครับ
     
  10. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    ผมไม่อยากให้ด่ากันนะครับ ตอบกลางๆดีกว่า ไม่อยากให้โทษกันไป โทษกันมานะครับ

    ประเทศก็เหมือนพ่อแม่

    พธม. กับ นปช. ก็เหมือนพี่น้องกัน ทั้ง 2 อยู่ในตระกูลเดียวกัน

    พี่กับน้องทะเลาะกัน ผลเสียย่อมเกิดกับพ่อแม่

    พี่หาว่า น้องเกเร ต้องจับเข้าคุก และตัดออกจากตระกูล

    น้องก็บอกว่า พี่ขี้โกง ต้องจับเข้าคุก และตัดออกจากตระกูล

    ต่างฝ่ายต่างบอกว่า ตัวเองทำเพื่อตระกูล เพื่อรักษาตระกูล และแสดงออกซึ่งความรักของตระกูล ถามว่าใครได้บุญ หรือใครได้บาป

    คำตอบก็ คือ "ใจ" ของพี่และน้อง

    ถ้าพี่เกลียดน้อง โทสะและโมหะอยู่ในใจพี่

    ถ้าน้องเกลียดพี่ โทสะและโมหะอยู่ในใจน้อง

    ถ้าพี่และน้องหันหน้ามาคุยกัน โทสะและโมหะก็จะสลาย สิ่งใดที่น้องและพี่ทำผิด ก็ตักเตือนกัน และต้องรับผลของกรรม เพราะนั่น คือ "กฎแห่งกรรม"

    เรื่องบางเรื่อง พ่อแม่ ลงมาตัดสินไม่ได้ เพราะถ้าเข้าข้าง "พี่" ก็จะเสีย "น้อง" ถ้าเข้าข้าง "น้อง" ก็จะเสีย "พี่"

    ถามใจตัวคุณเองดูว่า ถ้าคุณเป็นพ่อแม่ คุณจะเลือก "พี่" หรือ "น้อง" หรือว่าปล่อยให้ "พี่" กับ "น้อง" ตีกันจนกว่าจะเข้าใจว่า "ความสูญเสีย" มี "ทุกข์เพียงใด" เพื่อที่พี่และน้องจะได้เห็นคุณค่าของคำว่า "ครอบครัว" และรักษาครอบครัวไว้ให้มีความสุข

    ประเทศไทย ก็เหมือนครอบครัวครับ เราต้องวางกำลังใจเหมือน "พ่อและแม่" ครับ มองดูห่างๆ แต่อย่าเข้าไปตัดสินครับ

    การอยู่เฉยๆไม่ได้หมายความว่า "ไม่รักครอบครัว" แต่การอยู่เฉยๆ คือ การเข้าใจผลดีและผลเสียของการเข้าไปตัดสิน ซึ่งเมื่อประเมินแล้วพบว่า "ผลเสีย" จากการเข้าไปตัดสินนั้นเป็นโทษแก่คนหมู่มาก เราก็ต้องวาง "อุเบกขา" นั่นคือ เรารู้เท่าทันเหตุและผลของกรรม ซึ่งก็คือ การกระทำนั่นเองครับ

    โมทนาครับ

    ปล. พิจารณาเอาเองเถอะครับว่า เราควรทำตัวอย่างไรในสถานการณ์แบบนี้ครับ สำหรับผม เชื่อว่ากฎแห่งกรรมจะเป็นผู้ควบคุมเรื่องนี้ครับ <!-- / message --><!-- sig -->
     
  11. รถถัง2

    รถถัง2 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +13
    โมทนากับความเห็นของคุณคมครับ ผมไม่ขอออกความเห็นดีกว่าเดี๋ยวจะมีอีก ฝ่ายมาโต้จะทำให้แบ่งฝ่ายทะเลาะกันเปล่าๆๆ เดี๋ยวถ้าผมโพสอะไรไปก็จะจับผมแบนอีก ไปดีฝ่า
     
  12. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    ออกความเห็นได้ครับ แต่อย่าไปเกี่ยวกับการเมือง และอย่าไปสรุปว่าใครผิด หรือ ใครถูกครับ ลองแสดงความเห็นด้วยใจเป็นกลาง และนำธรรมะมาแก้ไขปัญหาดูครับ แล้วเราจะเข้าใจว่า เราควรวางกำลังใจอย่างไร เพื่อให้สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ของไทย ดำเนินต่อไปด้วยความเข้มแข็งครับ

    โมทนาครับ
     
  13. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    ที่นี้ วุ่นวายหน่อ
    ที่นี้ ขัดข้องหน่อ
    ไม่ว่าจะฝ่ายใด ก็ตาม ก็ทำให้ชาติวุ่นวายและขัดข้องได้เหมือนกัน
     
  14. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    โมทนาครับ

    มองการเมือง เหมือนกีฬาครับ

    เหมือนแมนยูฯ - ลิเวอร์พูล แข่งกันในเกม พอหมดเวลาก็เพื่อนกันครับ

    ผมก็เป็นเด็กหงส์เหมือนกันครับ
     
  15. TaeyoLySiS

    TaeyoLySiS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +278
    มันก็เป็นเช่นนี้แหละ

    แหม
    คนทุกคนบนโลกนี้นั้น ก็ยังไม่นับถือศาสนาเดียวกันหมดทั้งโลกเลย

    ธรรมดาโลก..

    เมตตา กรุณา มุทิตา ก็แล้ว ยังไม่ได้ผล ก็ต้องอุเบกขา
     
  16. 1redstar

    1redstar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    622
    ค่าพลัง:
    +1,368
    การเมืองเปนเรื่องของธรรมะ
    ถ้าการเมืองไม่มีธรรมะ (โลภะ+โมหะ) ก็จะเกิดสงครามกลางเมือง (โทสะ)

    ไม่อยากให้เกิดสงครามกลางเมือง
    ก็ต้องช่วยกันทำให้การเมืองมีธรรมะ (ปัญญา)

    การเมืองเป็นหน้าที่ของประชาชนทุก ๆ คน
    ต้องสร้างความเป็นกลาง คือ ความยุติธรรมในสังคมให้ได้ ทุกคนก็จะยอมรับได้
    ไม่เช่นนั้นประเทศเราก็จะตกต่ำเหมือนประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2008
  17. Khundeaw

    Khundeaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    339
    ค่าพลัง:
    +706
    "...เมืองไทยนี้อยู่ได้ด้วยความสามัคคี ด้วยความเข้ม แข็ง ด้วยความเสียสละ อาศัยความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งกันและกัน และถ้ารักษาความ เห็นอกเห็นใจนี้แล้ว ประเทศชาติของเราก็จะ เป็นที่อาศัยที่อุดมสมบูรณ์และน่าสบายต่อไปชั่ว กาลนาน..."


    พระราชดำรัส พระราชทานในพิธีพระราชทาน
    ธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านจังหวัดขอนแก่น
    ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 19 กุมภาพันธ์ 2519

    สาธุ...สาธุ​
     
  18. ชนณพัฒน์

    ชนณพัฒน์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2008
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +72
    อันลาภยศ..หาบไป..มิได้แน่
    เหลือไว้แต่..ต้นทุน..บุญกุศล
    ทิ้งสมบัติ..ทั้งหลาย..ให้ปวงชน
    แม้ร่างตน..เขาก็เอา..ไปเผาไฟ



    ขอไว้อาลัยให้กับผู้ทำลายชาติทุก ๆ คน ที่กำลังทำลายชาติอยู่ขณะนี้...และขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงบันดาลให้ประเทศไทยกลับมาเป็นปกติสุขดังเดิมด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2008
  19. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,657
    ค่าพลัง:
    +9,236
    พระพุทธองค์ตรัส มนุษย์มีความแตกต่าง
    ..เลย..ไม่มีความเห็นค่ะ
     
  20. wirote

    wirote Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2005
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +60
    อนุโมทนา กับคำตอบของคุณ Komodo ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...