ร่วมทำบุญบูชา มงคลขยายผลจุดสิ้นสุดศักติรูปคฑากาละวัชระ(ตัดขาดอกรณี) พ่ออาจารย์พล

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.

  1. อรหโตพุทโธ

    อรหโตพุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2015
    โพสต์:
    498
    ค่าพลัง:
    +1,017
    :cool::cool::cool:รอๆๆๆๆ
     
  2. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,162
    ค่าพลัง:
    +16,538
    ตั้งสัตย์อธิษฐาน

    เห็นตั้งใจติดตามเเละดูมีคนสนใจมากจริงๆสำหรับวิธีดึงเอาฤทธิ์ดึงบารมีที่เคยสั่งสมแต่อดีตชาติ

    สิ่งนี้พ่ออาจารย์ท่านว่าไม่ได้สอนให้คนงมงายนะ มันเหมือนดาบสองคม จะมาคิดเพ้อเจ้อว่ามันจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ ด้วยเราเป็นคนมีบุญญาธิการเช่นนั้นไม่ได้ ท่านว่าแต่เพียงหากกระทำตามวิธีนี้เป็นประจำ สิ่งที่ซ่อนอยู่ ที่ถูกปกปิดไว้ พลังทางใจหากเราได้เคยสะสมมา พลังแห่งฌานสมาบัติหากได้เคยปฏิบัติมา ถ้ามี มันจะค่อยๆปรากฏชัดขึ้นในกมลสันดาน ในกายสังขารของเราเอง ไม่ใช่ด้วยว่าทำปุ้ปจะได้ในทันที เเต่ต้องทำเรื่อยๆเเละมันจะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

    เรื่องนี้ก็เหมือนหญ้าปากคอก เพราะพ่ออาจารย์ท่านกล่าวว่า ใช้เพียงอำนาจพระพุทธคุณเท่านั้นก็สำเร็จ อาศัยคุณของพระพุทธเจ้าท่านสงเคราะห์ จะชั่วหรือจะดีท่านสงเคราะห์ทั้งสิ้น เเต่ถ้าหากติดกรรม ติดเจ้ากรรมนายเวรนี่ก้อีกเรื่องหนึ่งเช่นนี้การใช้วิธีให้พัฒนามันก็จะช้าลง ค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น เมื่อจะกระทำจึงจำเป็นต้องแผ่เมตตาขอขมาเจ้ากรรมนายเวรก่อนเสมอ

    เมื่อแรกเริ่มจะกระทำนั้นท่านให้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เสร็จแล้วก็ให้กราบพระรัตนตรัยด้วยบทปกติ คือ
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
    สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ. (กราบ)

    ต่อจากนั้นให้ตั้งนะโม 3 จบ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    หลังจากนั้นจึงสวดบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิฑูร อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ(ระลึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงทำไว้เป็นที่สุด) (กราบ)

    สวาขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ(ระลึกถึงคุณแห่งพระธรรมอันช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นห้วงทุกข์) (กราบ)

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จิตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์อันช่วยกันสืบต่ออายุของพระศาสนา) (กราบ)

    หลังจากนั้นให้ตั้งใจเเผ่เมตตา กระทำจิตตัวเองให้ว่างให้เกิดปิติ เเละตั้งใจสวดพระคาถาเมตตาพรหมวิหารภาวนา (บทนี้ยาวมาก ต้องตั้งใจสวด ในระหว่างสวดก็ตั้งใจเเผ่่เมตตาให้เเก่สรรพชีวิตต่างจริงๆห้ามทำเล่น)
    เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ?
    (๑) สุขัง สุปะติ (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (๖) เทวะตา รักขันติ (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ
    (๙) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ (๑๐) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ

    เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ
    ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ
    อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ
    สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    (๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ
    อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    (๑) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
    อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ

    อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา
    อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา
    อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา
    อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา
    อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
    อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.

    หลังจากนั้นจึงตั้งจิตอธิษฐานเบื้องหน้าพระปฏิมากร เเต่หากมีองค์พระอยู่ในใจหรือสามารถเฝ้าพระพุทธองค์ที่แดนนิพพานได้เเล้ว ท่านว่าจะใช้วิธีนี้อธิษฐานเบื้องหน้าท่านก็ได้ กล่าวเสี่ยงสัตยาธิษฐานดังต่อไปนี้

    เบื้องหน้าสมเด็จพระพิชิตมารผู้อภิเษกซึ่งสรรเพชชุดาญาณ ข้ามพ้นซึ่งห้วงทุกข์อันประเสริฐเลิศเเล้วในพื้นเมทนีดล ผู้มีคุณานุคุณดีงามปรากฏแล้วในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด
    ข้าพระพุทธเจ้า คือสัตว์ผู้ยาก อันมิอาจล้างสิ้นซึ่งธุลีกิเลสให้เสื่อมสูญ มิอาจตัดมูลอาสวะอนุสัย ยังยึดติดกับสังโยชน์ทั้งปวง มิอาจล่วงถึงประโยชน์ยิ่งใหญ่ มิอาจข้ามให้ถึงได้ซึ่งฝั่งมหรรณพ
    ข้าพระพุทธเจ้า ได้เวียนว่ายตายเกิดมาในเบื้องปุริมชาติ ผจญอยู่ในทะเลทุกข์มานานหนักหนานับอสงไขยโกฏิ ปุริมโกฏิ
    ในเวลาบัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถือซึ่งสมเด็จพระจอมไตรเป็นที่พึ่งพิงอาศัยสูงสุด ด้วยเหตุว่าข้าพระพุทธเจ้าได้ระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาบัดนี้เเล้ว ดังนั้น ณ ตอนนี้ เวลานี้ นี่คือฤกษ์ดี นี่คือมงคล นี่คือความสว่าง
    ข้าพระพุทธเจ้าขออาศัยปัจจัยทั้งสามนี้เป็นเครื่องล่วงถึงซึ่งตราบุญบัญญัติอันข้าพระพุทธเจ้าได้เคยกระทำความเพียรสะสมมาเเต่เบื้องอดีตชาตินับปุริมโกฏิเป็นเอนกอนันตชาติ
    ด้วยอำนาจเเห่งสมเด็จพระจอมไตรโลกนาถผู้บรมครู ขอให้พระองค์ทรงโปรดอนุเคราะห์ซึ่งสัตว์ผู้ยากอันถึงซึ่งพระองค์เป็นสรณะแล้ว ให้สามารถค้นพบตราบุญบัญญัติอันประทับอยู่ในจิตวิญญาณแห่งข้าพระพุทธเจ้า ในกาลบัดนี้เป็นต้นไปด้วยเทอญ

    หลังจากเสี่ยงสัตย์เเล้ว ท่านให้สวดภาวนาพระพุทธคุณต่อไปเรื่อยๆ เฉพาะบทอิติปิโสอย่างเดียวเท่านั้น สวดกี่จบก็ได้ ลืมก็สวดใหม่ ยิ่งเยอะยิ่งดี ท่านว่าให้สวดทั้งหมดเลยหนหนึ่ง เมื่อเสร็จเเล้วจึงสวดเฉพาะอิติปิโสพระพุทธคุณ สวดไปเรื่อยๆมันจะจมลึกไปในจิตของเรา เพียรทำไปในทุกๆวันเถิด ด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้าท่านสงเคราะห์จิตวิญญาณเบื้องลึกมันจะค่อยๆตื่น ค่อยๆระลึกได้ขึ้นมาเอง เเละตัวของเราเองนั่นเเหละ จะรู้ได้ด้วยตนเอง

    เมื่อกระทำเเรกๆให้สวดให้ครบ เเต่หากมีความชำนาญเเล้ว มีพัฒนาการณ์เกิดขึ้นแก่จิตตนเอง สามารถรับรู้ความเปลี่ยนแปลงได้เเล้ว ก็ให้สวดเฉพาะบทอิติปิโสต่อไปในทุกๆวันอย่าได้หยุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2015
  3. รักจันทร์

    รักจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    554
    ค่าพลัง:
    +311
  4. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,162
    ค่าพลัง:
    +16,538
    เมื่อคืนก่อนนอน ก็ได้รับโทรศัพท์ได้ฟังเรื่องดีๆ

    เป็นเรื่องของพี่ผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นคนศรัทธาพระแม่ลักษมีอยู่เเล้ว แต่ชีวิตก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจนได้บูชาพระเจ้าเงินตราไป นับจากวันนั้นจากพนักงานห้างที่ไม่พอกินฐานะของพี่เค้าเริ่มมีความมั่นคงขึ้นจากเงินเดือนหลักหมื่น ขึ้นสู่หลักแสน เเละกลายเป็นวันละแสนในระยะเวลาที่รวดเร็วมาก ที่จริงเค้าก็ไม่ได้เล่าหรอกนะ ผมถามเค้าเองว่าทำอย่างไร ดูเสียงเขายินดีปรีดานัก

    พี่ท่านเล่าว่าพอได้มาพี่บูชาท่านด้วยความรักด้วยใจของพี่ วันนั้นเลยก็มีรุ่นน้องที่เป็นเจ้าของแบรนด์เอาสบู่เอาครีมมาให้ทดลองขาย พี่ก็ขายไป ไม่รู้ลูกค้ามาจากไหน เพราะพี่เค้าว่าไม่ได้ทำการตลาดหรือโฆษณาเลย กลายเป็นปากต่อปากมาซื้อกัน จนพี่เค้าตัดสินใจรับมาขายเองเพราะเห็นว่ากำไรดีมาก มียอดสั่งวันละหลายสิบคน พอขายเองกำไรก็ยิ่งมากขึ้นเพราะไม่ต้องแบ่งใครยืนทำงานไปขายไปอยู่กับที่เฉยๆก็ได้เงินมาก้อนหนึ่ง

    พอมีเงิน ก็เลยออกจากงานห้าง เอาทุนมาเปิดร้านเป็นของตัวเอง เอาเสื้อผ้ามาลง ขายครีมขายสบู่รับพวกกลูต้ามาขายด้วย พี่เขาบอกว่ายิ่งขายดีมากพอมีร้านเป็นของตัวเอง ทั้งขายในร้านทั้งวิ่งส่งของ ภายหลังเห็นกระเเสร้านทาเล็บ(ไม่รู้เรียกไงเพ้นเล็บมั้ง)กำลังมา จึงเอากำไรมาเปิดร้านเพ้นเล็บเเละทำร้านสักคิ้วไปด้วย พี่เค้าบอกว่าเท่านั้นเเหละจากที่เพิ่งเริ่มขายของได้กำไรเดือนละเเสน กลายเป็นว่าลูกค้าสาวๆและสาวสองเเห่กันมาเยอะมากขึ้น มาจากไหนก็ไม่รู้ทั้งมาเพ้นเล็บ มาสักคิ้ว เข้ามาในร้านตนระหว่างรอก็พูดคุยกับตน ขอเอาสินค้าในร้านไปขายต่อบ้าง คุยกันถูกคอขอซื้อเอาตั้วนั้นบ้างพอรอคิวนานหรือเพ้นเล็บกับเราอยู่ก็ขอเพิ่มตัวนี้บ้างที่ใจดีหน่อยก็สั่งหลายชุดสั่งเป็นโหล พี่เค้าว่ามีทุกอย่างนี้ก็เพราะพระเจ้าเงินตรา พี่เขาเชื่อว่าท่านเปิดช่องทางด้านธุรกิจให้ล้วนๆ เพราะพี่เค้ากลุ้มใจมาก อายุก็เลข 3 จะเลข 4 อยู่เเล้ว มาจากบ้านนอกยังไม่มีรากฐานอะไรเลย ทำงานหาเช้ากินค่ำร่างกายก็แก่ไปวันๆ รอบุญเก่ารอของเก่าก็รอมาไม่รู้กี่ปี ผู้ชายก็ไม่ดี พี่เขาว่ามาถึงวันนี้พี่เขาเห็นอนาคตที่จะทำจะลงทุนต่อ ผู้ชายไม่มีเราก็ไม่ตาย อยู่สวยๆทำตัวสบายๆของเราไป ฟังเเล้วผมขำเลย เสียดายเเทนผู้ชายทั้งหลายจริงๆที่มีสาวสวยตั้งใจเป็นโสดอีกหนึ่งท่าน

    ถึงว่า ว่าทำไมเสียงเขาถึงดูยินดีปรีดานัก ในยุคเศรษกิจแบบนี้ จากคนเงินเดือนหลักหมื่นนิดๆ ก้าวมาถึงจุดนี้ในเวลาอันรวดเร็วมากผมฟังแล้วสุขใจจังเลย เรารู้เเล้วว่าพี่เค้าทำยังไง เเต่มาคิดดูเป็นเราคงทำไม่ได้ล่ะนะ เพราะไม่ใช่แนวของเรา ก้อปกันยากของเเบบนี้ ผมเห็นคนขายครีมขายสบู่มีเเต่บ่นว่ากำไรน้อยต้องนั่งโฆษณาทำนั่นทำนี่ เเต่นี่ช่องทางมันเปิดไง ก็ยินดีด้วยจริงๆ ใครมีพระเจ้าเงินตราก็ตั้งใจบูชากันดีๆ

    ผมว่าพี่เค้าใจกล้าด้วยแหละกล้าออกจากงานมาทำเต็มตัว เป็นคนอื่นคงลังเลคิดเเล้วคิดอีกกลัวตกงาน กลัวนั่น กลัวนี่ ไม่มีความเชื่อมั่นหรือเชื่อในความสามารถของตัวเอง มีทางเเต่ก็ไม่กล้าเดิน จะมีซักกี่คนที่เห็นลู่ทางอะไรเล็กๆก็พร้อมจะกระโจนใส่ ฟังที่พี่เค้าเล่า คนที่กล้าตัดสินชีวิตด้วยสติและสัมปชัญญะกล้าที่จะลงมือทำคนแบบนี้ผมเชื่อว่าคงไปได้อีกไกล คงจะได้ขยายร้านหาอะไรมาทำเสริมจากวันละแสนอาจจะอีกไม่นาน หรืออาจจะใกล้มากๆคงจะพยายามจนได้วันละล้าน สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2015
  5. ยอดกตัญญู

    ยอดกตัญญู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +329
    จองไปแล้ว เห็นคุณกรณ์ไม่ตอบไม่รู้ว่าได้มั้ย
     
  6. seekerpunch

    seekerpunch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,028
    ค่าพลัง:
    +3,114
    ได้รับตะกรุดกูผู้ชนะแล้ว ขอบคุณครับ
     
  7. thumniramit

    thumniramit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +130
    วันนี้ผมได้รับ...
    ตะกรุดเทวภูติพญาหนูขนคำบรมโพธิสัตว์ และ ตะกรุดผู้ชนะ แล้วนะครับ
    ขอบคุณครับ
     
  8. รักจันทร์

    รักจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    554
    ค่าพลัง:
    +311
    ได้รับตะกรุดครูผู้ชนะแล้ว บี้แบนมาเลย... ขอบคุณไปรษณีย์ไทย!
     
  9. wiruch99

    wiruch99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +697
    ผมจองแล้วก็โอนเลยวันนี้ผิดกะติกาหรือเปล่าครับ
     
  10. รักจันทร์

    รักจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    554
    ค่าพลัง:
    +311
    555 ใช่ครับ นี่ขนาดคุณกรณ์ห่อดีแล้วนะ
    วันก่อนเห็นในเฟสเหมือนกัน ส่งพระกันนี่แหละ กล่องกระดาษข้างนอกเยินมาก
    กล่องพระพลาสติกแตก ดีที่พระเป็นเหรียญ ถ้าเป็นเนื้อผงคงไม่เหลือ

    ตะกรุดของผมผมบีบๆ แต่งๆ ให้เข้ารูปแล้วครับ พอได้อยู่ เดี๋ยวจะเอาไปใส่หลอด

    กราบขอบพระคุณพ่ออาจารย์ที่เมตตาครับ
    และขอบคุณคุณกรณ์ที่เป็นธุระช่วยจัดส่งให้ด้วย :cool:
     
  11. thumniramit

    thumniramit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +130
    ขึ้นหิ้งบูชาแล้วครับ (แต่หาอ้อยและลูกตาลไม่ได้)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,162
    ค่าพลัง:
    +16,538
    คุยกันยามเช้า

    เรียกได้ว่าไม่รู้เป็นอย่างไร ช่วงนี้น้ำมนต์ของท่านจัดส่งแทบไม่ทันทีเดียว

    ส่วนมากก็จะเป็นคนที่เคยขอไปแล้วบอกกล่าวกันปากต่อปาก ให้เพื่อนให้ญาติพี่น้องมาขอบ้าง ท่านก็เมตตาทำให้ไปเป็นรายๆ วันๆหนึ่งมีโทรเข้ามาขอน้ำมนต์กันทุกวัน บางวันเป็นสิบคน

    บางท่านก็ขอไปรดเสาเอกเพื่อความเป็นสิริมงคล ไปผสมน้ำเวลาพระพรมทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ไปพรมที่ดินไปพรมร้านค้าให้ขายดีขายได้ ไปพรมไปดื่มกินเพื่อความเป็นสิริมงคล เพื่อถอดถอนคุณไสย ไปผสมน้ำอาบก็มี เอาไปหยอดให้ลูกให้หลานที่เพิ่งเกิดกินเพื่อให้เด็กฉลาดและเเข็งแรงก็มี

    บางครั้งก็มีวัดขอมาให้ท่านอธิษฐานจิตน้ำมนต์ส่งไปให้เพื่อผสมแช่วัตถุมงคลก็มีขอให้ขลังเสมือนท่านมาเสกให้เองก็มี ก็สุดแท้แต่จะขอกันเข้ามา ที่ผ่านมาต้องเรียกว่าขอกันมา 108 เรื่อง

    ขอไปพรมบ้านพรมร้านค้าไปดื่มกินอาบ ขายดีประกอบอาชีพลื่นไหลไม่ติดขัดก็จะแนะนำพรรคพวกให้โทรมาขอกันอีกปากต่อปากไป น้ำมนต์ของท่านนี่ก็ฉมังนัก เพราะท่านเสกด้วยโองการมหาปทุม โองการมหาเย็น ตลอดจนอธิษฐานจิตให้ตามที่เเต่ละท่านเขาขอให้ท่านสงเคราะห์อย่างไร

    มีประสบการณ์โทรมาเล่ากันจนไม่รู้จะพิมพ์ลงอย่างไร บางคนโดนคุณไสยนำไปผสมน้ำเเช่ตัวมีคราบน้ำมันลอยออกมาเหนือผิวน้ำบ้าง นำไปพรมที่ขายไม่ออกขายได้บ้าง นำไปให้ลูกดื่มกินก่อนสอบแข่งสอบนายร้อยติดก็ยังมีโทรมาเล่าแล้ว หรือจะขึ้นโรงขึ้นศาลนำน้ำมนต์ท่านประพรมหัวพร้อมกับดื่มกิน ที่ว่าเป็นไปไม่ได้แต่ศาลกลับเมตตาก็มีมาแล้ว ซึ่งเรื่องพวกนี้ร้อยวันก็เล่ากันไม่หมด ถึงเล่าตัวผมเองก็จำได้ไม่หมดด้วย ท่านว่ามันเป็นเรื่องของกำลังใจส่วนหนึ่ง ในส่วนของผมเห็นเค้าดีใจกัน มีความสุขกันก็ดีแล้ว เพราะแต่ละเรื่องมันเป็นเรื่องเดือดร้อน เรื่องทุกข์ใจทั้งนั้น

    ทำให้คนอื่นเค้าหายคลายจากความทุกข์มีความสุขยิ้มได้หัวเราะได้แบบนี้ดี พ่ออาจารย์ท่านก็ทำเต็มที่ของท่าน บางเรื่องอย่างลูกสอบติดสอบได้นี่มันก็ส่งผลระยะยาว ชีวิตเค้ามีความรู้มีอาชีพมีความมั่นคง คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ภูมิใจยิ้มได้ มีหน้ามีตามีเกียรติยศแบบนี้มันเป็นความสุขระยะยาว ที่คิดว่าตัวเองโดนของโดนคุณไสยเอาไปทำอาการดีขึ้นก็สบายใจไม่ต้องไปแสวงหาของแก้โดนใครหลอกจากใครที่ไหนอีกนี่ก็ระยะยาวเหมือนกัน

    เรื่องประสบการณ์ของน้ำมนต์นี่จึงมีเข้ามากันทุกวันและมีขอกันมาเรื่อยๆ แต่เราเองก็ไม่ได้ให้เปล่าๆนะ เพราะการส่งของเราไม่เคยมั่นใจไปรษณีย์ไทยเลย เราจะให้คนขอหาวัสดุบรรจุส่งมาให้เราเอง กลัวจริงๆว่าถ้าใส่ขวดน้ำธรรมดาหรือใส่ถุงส่งไป กว่าจะถึงมือเจ้าตัวรับรองว่าเละเเน่

    ที่วันนี้หยิบเรื่องนี้มาพูดก็เพราะมีเหตุเล็กๆที่มันน่าอมยิ้มโทรมาคุยกับเรา พี่เค้าบอกว่าลูกเขาชอบนอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกหลายรอบจนพ่อแม่ไม่ต้องหลับนอน เราเห็นว่าน้องเพิ่งเกิดไม่นานยังเป็นเด็กน้อยๆเรื่องพวกนี้มันก็เรื่องปรกตินะ แต่ก็อย่างว่าพ่ออาจารย์ท่านสอนเสมอว่าใครเค้าขอ ถ้าสมควรและทำได้ก็ให้รับไว้มันเป็นเรื่องของกำลังใจเค้า เราก็รับไว้ สุดท้ายพี่เค้าโทรมาเล่าให้ฟังว่าเอาน้ำมนต์ของท่านนั้นพรมๆหัวลูกน้อยผสมน้ำให้เค้าอาบที่เหลือก็แบ่งใส่ขวดนมให้น้องดูดกิน อาการตื่นกลางดึกกวนใจพ่อแม่แต่แรกเขาว่าหายไปเลย กลายเป็นเด็กนอนหลับปุ๋ย ไม่งอแงโยเยเหมือนแต่ก่อน พี่เค้าว่าดูลูกน่ารักขึ้นเยอะเลย ฟังเเล้วเราก็มีแอบอมยิ้มอยู่ เด็กตัวน้อยๆนี่กำลังน่าแกล้งทีเดียว

    ก็อย่างที่บอกเรื่องน้ำมนต์นี่ถ้าให้เล่าคงไม่จบ พ่ออาจารย์ท่านว่าเป็นเรื่องของกำลังใจ เราทำให้ได้เราก็ต้องทำ คนขอไปเค้าสบายใจเค้าสมหวังแค่นั้นก็พอแล้ว คนให้สบายใจ คนรับสบายใจ คิดเพียงเท่านี้สิ่งดีๆมันก็ตามมาเอง
     
  13. ยอดกตัญญู

    ยอดกตัญญู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +329
    ชอบครับ ผมคิดว่าในกระทู้นี้เล่าได้ทุกเรื่องและหลายๆท่านก็รอติดตามกัน
     
  14. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,162
    ค่าพลัง:
    +16,538
    ความเข้าใจผิด(บรมครูปู่ฤาษี)

    พอดีวันนี้มีเรื่องเข้ามา ก็ก่อนจะเข้าเรื่องก็ขอบอกไว้ก่อนเพราะมันพาดพิงกับความเชื่อที่อื่นหลายที่ ก็ขอให้เป็นแค่ความเชื่อในกลุ่มตรงนี้ใครจะเชื่อก็แล้วไป ถ้าไม่เชื่อก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพียงแค่เราถามท่านเพื่อตอบคำถามให้กระจ่างเท่านั้น

    คำถามนี้มีอยู่ว่า ทำไมถึงห้ามเอาฤาษีเข้าบ้าน บูชาได้ทำไมห้ามเอาเข้าบ้าน ถ้าเอาเข้ามาแล้วจะไม่ดี จะร้อนมั๊ย บ้านจะแตกจะมีเรื่องร้ายๆหรืออย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นข้อคิดของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่งที่มรณภาพไปแล้ว ผู้สงสัยได้ฝากไว้ให้สอบถามพ่ออาจารย์ท่านด้วยว่าจริงมั๊ย ผมก็มาคิดเองนะว่าถ้าจริงคงซวยน่าดูแล้วแหละเพราะรูปฤาษีที่เป็นเครื่องรางวัตถุมงคลสมัยนี้มีแทบจะทุกวัด คนที่บูชาครูพ่อแก่ก็มีแทบจะทุกบ้าน

    ในเรื่องนี้พ่ออาจารย์ท่านวิสัชนาว่า รูปพ่อแม่ รูปครูบาอาจารย์ ผู้ใดบูชาถือเป็นมงคลแก่ชีวิต มันอยู่ด้วยว่าเรามองรูปนั้นในทัศนะใด และที่มาที่เราได้รับท่าน เรานำมาจากใคร ด้วยวิธีใด ท่านแยกเป็น 2 กรณี
    1. ถ้าได้มาด้วยวิธีการไม่ถูกต้อง โกงเขามา ทำให้เขาเดือดร้อนหรือโขมยเขามา ผู้ให้ไม่ให้ด้วยความเต็มใจ เช่นนี้แล้ว บ้านลุกเป็นไฟแน่นอน
    2. เป็นครูอะไร สมัยนี้มีความเชื่อมากมาย มีคนตั้งตนเป็นครูบาอาจารย์มากมาย ด้วยว่าเขานั้นรู้จริงหรือไม่ ถ้าหากไม่รู้จริง เขาไม่มีความสามารถอัญเชิญได้จริง เศียรพ่อแก่ หรือรูปฤาษีนี้ ก็ไม่ต่างจากของอัปมงคลอะไร ด้วยว่าญาณภายในนั้นอาจจะเป็นเพียงวิญญาณของสัมภเวสีผีเร่ร่อนแอบอ้างที่ไหนก็ได้ เช่นศาลเจ้าที่หรือศาลพระภูมิที่ผู้เชิญไม่มีบารมีก็เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นเสมอไป

    หากเป็นญาณฤาษีเป็นญาณครูลงมาครอบจริงก็ต้องดูด้วย ว่าเป็นครูอะไร เป็นครูชั้นไหน อย่าลืมว่าวิญญาณ กับญาณฤาษีบรมครูชั้นเทพชั้นพรหมนี่ไม่เหมือนกัน พูดให้นึกภาพออกก็เหมือนเทวดามีทั้งที่ดีที่เกเร ฤาษีก็เช่นกัน

    เมื่อพูดถึงครูฤาษี ก็มักจะมีคนอวดอุตริ ด้วยเอาสามัญสำนึกเเละตรรกะความเชื่อของตนไปตัดสินอะไรหลายๆอย่างเสมอ เช่นว่าพระไหว้ฤาษีมิได้ด้วยศีลนั้นสูงกว่า ถ้าพระองค์ไหนไหว้พระองค์นั้นศีลไม่บริสุทธิ์ดูไม่ดี แล้วอย่างไรทำไมพระกราบมารดาได้ ในเมื่อพระก็มีศีลสูงกว่ามารดา ก็เพราะมารดานั้นมีคุณให้กำเนิดพระ ในทางกลับกันฤาษีก็เช่นกันถ้ามองทัศนะที่เขาให้กำเนิดความรู้และวิชา ถ้าพระองค์นั้นเคยเรียนความรู้จากฤาษีมาก่อนหรือเรียนวิชาที่มีครูฤาษีเป็นผู้คิดค้นสืบต่อมา การรู้ซึ่งกตเวทิตาคุณนั้นไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าไม่ไหว้ก็ได้ชื่อว่าโฉดเขลามิรู้คุณคนเป็นที่สาปแช่งในหมู่เทพยดา

    ก็ด้วยบุคคลที่ปัญญาโฉดเขลาเพียงเท่านั้นแหละที่มักจะคิดไปเอง ด้วยว่าพระนั้นต้องเป็นใหญ่กว่าฤาษี พระต้องใช้ฤาษีได้ คนที่คิดได้แบบนี้ดวงจิตคงมืดบอดน่าดู ก็เหมือนที่คนไทยชอบคิดว่าพระนารายณ์นั้นมีพาหนะเป็นครุฑจะเรียกมาขี่เหมือนสตาร์ทรถเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งความเป็นจริงแล้วทั้งครุฑและพระนารายณ์ท่านให้เกียรติซึ่งกันและกัน หามีเพียงกี่ครั้งไม่ที่พระนารายณ์จะเชิญพญาครุฑมาขี่ ฤาษีกับพระก็เช่นกัน เพราะเขาไม่รู้คุณธรรมของฤาษีบางจำพวก เเค่เห็นมีชฏานุ่งหนังเสือหรือมีผ้าย้อมฟาดก็คิดว่าเป็นฤาษีกันไปหมดไม่ได้แยกประเภทเลยว่านี่คือฤาษีหรือไม่ มุนีหรือไม่ ชฏิลหรือไม่ ดาบสหรือไม่ เพราะเค้ายึดติดแต่เพียงว่าความเป็นอรหันต์นั้นคือที่สุด ก็มิผิดที่พระพุทธศาสนานั้นดีเลิศ แต่ในทางกลับกันฤาษีเหล่านี้แหละคือผู้แสวงหาและค้นพบหนทางเดินใหม่ๆอยู่เสมอก่อนจะมีพระพุทธเจ้า ก่อนจะมีพระพุทธศาสนา ก็ฤาษีนี่แหละที่เป็นคนค้นพบเส้นทางสู่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    การไหว้ผู้ให้กำเนิดชีวิตเป็นหนที่สองของตนเองจะอัปมงคลได้อย่างไร บุคคลผู้นั้นก็เหมือนเกิดสองครั้งคือเกิดทางโลกโดยบิดามารดา เกิดมาก็ยังมืดมนมิรู้ผิดรู้ถูก เกิดครั้งที่สองนั้นก็ด้วยครูผู้มอบปัญญาชี้ทางสว่างให้ ถ้าครูของเค้าคือฤาษี ต่อให้เค้าได้ดีหรือมีฐานะสูงเทียมฟ้าเพียงใด สิ่งที่มีอยู่ก็คงเป็นของปลอมและฉาบฉวยทั้งสิ้น ถ้าเขาลืมคุณครูที่สั่งสอนตนเองมา จะอ้างเพียงว่าพระมีศีลสูงกว่าพูดให้สนุกปากนั้นคงไม่ได้ เพราะพระอริยบุคคลที่ไม่รู้คุณครูบาอาจารย์นั้นไม่มีอยู่ในโลก

    หากมนุษย์จะพึงระลึกเสียบ้างก็คงดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราก็เคยเกิดเป็นฤาษีมาก่อนไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แล้วยังไหว้ได้หรือไม่

    เพราะความโฉดเขลาไม่รู้จักความกว้างใหญ่ในสงสารวัฏ พอพูดถึงฤาษีก็มึงมาพาโวยเห็นใครบวชในป่าก็เป็นฤาษีไปหมดเอามาปนกันเสียมั่ว ความจริงเขามีแยกประเภทของเขาทั้งดีและเลว มีระดับต่างๆ ต่างพวกต่างประเภทกันตั้งแต่ฤาษี มุนี ชฏิล ดาบส พวกนี้คนละประเภทกันทั้งสิ้น

    บางพวกก็ลุ่มหลงในไสยศาสตร์มนต์ดำ บางพวกก็สนใจในฤทธิ์อภิญญา ที่บวชเพื่อคุณธรรมศึกษาหลักธรรมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็มี ฤาษีบางพวกก็เป็นวงศ์พระโพธิสัตว์อันอยู่ในขอบข่ายพระโพธิญาณทั้งสิ้นประเภทนี้ก็มีอยู่มาก

    ซึ่งฤาษีประเภทนี้แหละ ฤาษีชั้นบรมโพธิสัตว์อันมีพระชาติแน่นอนในพุทธวงศ์นี่แหละ อย่าว่าแต่ด้วยพระสงฆ์องค์เจ้าธรรมดาสามัญเลย แม้พระอริยบุคคลหรือพระอรหันต์เมื่อจะพูดคุยด้วยยังต้องให้เกียรติประพฤติตนไม่ต่างจากผู้น้อยอยู่เบื้องหน้าผู้ใหญ่เพราะถือด้วยว่าเป็นวงศ์แห่งพระพุทธเจ้าอันมีพระชาติที่จะได้อภิเษกซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นการแน่นอนแล้ว จะล่วงเกินหามิได้ ด้วยภิกษุนั้นจะพึงบูชาพระพุทธคุณในอนาคตกาลของมหาโพธิสัตว์นั้น

    และฤาษีส่วนมากที่ไหว้ๆกันอยู่ก็มักจะมีวิมานอยู่ในปัญจสุทธาวาสมหาพรหมเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูงทั้งสิ้น อันนี้เราพูดถึงฤาษีฝ่ายดี

    ถ้าด้วยว่ามนุษย์จะเอาเพียงจิตสำนึกของตนไปตัดสิน ไปเจออาถรรพ์ร้ายแรงต่างๆด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจของตนเอง บูชาครูผิดเป็นครูที่เชิญมาโดยผู้ใดก็ไม่ทราบหรือเป็นหมอทรงเชิญมา แล้วไปได้ญาณพวกมุนี ชฏิล ดาบส เหล่านี้ ซึ่งก็มีอยู่มากในปัจจุบัน ทำให้บ้านร้อนบ้านแตก ชะตาชีวิตตกต่ำ พอเจอเรื่องร้ายก็หมายรวมไปโทษฤาษี ก็ถือว่าคนผู้นั้นได้ลบหลู่ครูอาจาริย์เจ้าอย่างร้ายกาจ

    ด้วยว่านั่นไม่ใช่ฤาษี ตานอกเราเห็นเป็นหัวโขนเป็นรูปพ่อแก่ เป็นฤาษีองค์นั้นองค์นี้ แต่เรามีตาในดูแล้วหรือว่าญาณที่สรวมลงมานั้นเป็นมุนี ชฏิล หรือดาบสรึเปล่า เป็นฤาษีอันทรงพระคุณดีงามที่ถูกต้องตามรูปลักษณ์หรือไม่ ซึ่งสมัยนี้ก็อยากเตือนให้ระวังเพราะมันมีอยู่มากด้วยว่า รูปนอกนั้นเป็นองค์หนึ่ง แต่ญาณภายในนั้นกลับไม่ใช่สิ่งที่ตามองเห็นเสมอไป

    ก็คิดเอาเองแล้วกันว่าควรกราบไหว้ฤาษีหรือไม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 สิงหาคม 2015
  15. ยอดกตัญญู

    ยอดกตัญญู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +329
    ช่วงนี้ได้รับโชคลาภเจอสิ่งดีๆจากวัตถุมงคลของพ่อครูท่านบ่อยๆชีวิตดีขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะจริงๆ น้อมกราบครูบาอาจารย์อีกครั้งครับสำหรับสิ่งดีๆ
     
  16. wiruch99

    wiruch99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +697
    วันนี้ได้รับเหรียญหล่อมหาพหรมแปลงรูปแล้วครับ
     
  17. Natnoiz

    Natnoiz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +263
    หมากพลูที่ถวายพ่อฟ้าฟื้นแล้ว ทำยังไงดีครับ
     
  18. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,162
    ค่าพลัง:
    +16,538
    ปกติพวกหมากพลูพวงมาลัยที่ไหว้เเล้วมันจะเเห้งผมจะเก็บรวมๆไว้จนได้เยอะๆ เเล้วค่อยเอาไปลอยน้ำทีเดียว

    อย่าลืมนะครับ วันนี้หรือพรุ่งนี้ชวนกันไปบริจาคโลหิตกันมากๆ คนที่เค้าต้องการใช้ยังมีอยู่มาก:cool:
     
  19. Natnoiz

    Natnoiz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +263
    ได้รับพ่อฟ้าฟื้นแล้วครับ แต่พี่กรณ์ไม่ได้เลี่ยมมาให้ครับ
     
  20. Natnoiz

    Natnoiz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +263
    แจ้งไว้แล้วครับ พี่กรณ์น่าจะลืมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...