พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://palungjit.org/showthread.php?p=952534&posted=1#post952534

    <TABLE class=tborder id=post952534 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead id=currentPost style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">1-2-2551, 09:54 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#14368 </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]




    ขอเชิญร่วมมหากุศลเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคี
     
  2. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485

    อ๋อเข้าใจแล้วครับ กึ๋ยส์...อากาละมัง
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://palungjit.org/showthread.php?p=972878#post972878

    <TABLE class=tborder id=post972813 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 03:56 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1073 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>เชน<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_972813", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 04:03 PM
    วันที่สมัคร: Dec 2006
    ข้อความ: 142 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 3 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 877 ครั้ง ใน 266 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 116 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_972813 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->แจ้งโอนเงินร่วมทำบุฯครับ
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]


    แจ้งการโอนเงินครับพอดีเน็ตใช้ไม่ได้เลยพึ่งได้มาโพสบอกครับ
    ขอร่วมอนุโมทนาในกุศลครั้งนี้ด้วยนะครับ ขอรับพระตามที่ระบุไว้ด้วยนะครับ
    ขอรับองค์เนื้อสีขาวนมข้นนะครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เชน [​IMG]
    [​IMG]


    แจ้งการโอนเงินครับพอดีเน็ตใช้ไม่ได้เลยพึ่งได้มาโพสบอกครับ
    ขอร่วมอนุโมทนาในกุศลครั้งนี้ด้วยนะครับ ขอรับพระตามที่ระบุไว้ด้วยนะครับ
    ขอรับองค์เนื้อสีขาวนมข้นนะครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รับทราบครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  4. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099

    วันนี้ได้เพิ่มมาอีก ประมาณ 1,600. + 500 ที่ยังไม่ได้ไปรับ

    และไปบอกบุญอีก 2 ที่ คาดว่าวันศุกร์ จะ Pay in ให้อีกครั้งครับ


    สาธุครับ
     
  5. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ผมไม่ใช่อาครับ ผมเล็กสุด เค้าเรียกผมว่าเหลน น้องหนูครับ(deejai)
     
  6. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ทำไมบริเวณ ที่condo ตั้งแต่เมื่อวานแล้วช่างเงียบสงบจริงๆครับ สงสัย....:boo:
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ไม่ได้ลืมครับคุณน้องนู๋ วันนี้ผมเปื่อยจริงๆ เปิดคอมฯกดโมทนาได้อย่างเดียว พิมพ์อะไรไม่ได้ เพราะคอมฯโดนน้ำเข้า วันนี้ไปพบแพทย์มาแล้ว จ่ายยามาเพียบ เลยหลับพักผ่อนด้วยฤทธิ์ยาเสียเป็นส่วนใหญ่ ค่ำนี้เลยได้จังหวะมาคุยกันได้บ้าง..

    การใช้ฤกษ์แต่ละแบบมีความสำคัญมาก อย่างน้อยก็เป็นการเสริมสร้างกำลังใจส่วนหนึ่ง เช่นกรณีที่กรมสรรพากรนัดผมชี้แจงเรื่องการขอคืนภาษีบางประเด็น ผมตรวจดูแล้วว่าวันเวลานั้น ผมไม่ได้เปรียบอะไร ซึ่งดูรูปการณ์แล้วโอกาสที่เขาจะทักท้วงมีมาก ยังไงทางกรมฯคงจะหาทางคืนให้น้อยลง เหมือนเราจะซื้อสินค้า(จ่ายเงิน) เราต้องติโน่นตินี่เพื่อทอนราคา กลับกันหากเราจะขาย(ได้เงิน)สินค้า เราต้องพูดจุดเด่นมากๆ กรณีนี้พิจารณาแล้ว จึงเลือก"ฤกษ์โจร"ไปพบกรมสรรพากรซึ่งโดยนัยคือการไปเอาเงินของเราคืนนั่นแหละ

    การใช้ฤกษ์จึงต้องดูว่าเราใช้ทำอะไร และความหมายครอบคลุมแค่ไหน อย่างเช่น"ราชาฤกษ์" เป็นฤกษ์ที่ดี แต่ไม่เหมาะกับสามัญชนที่จะเทียบเบื้องสูง บางทีฤกษ์ดี แต่วาสนาไม่มี บุญไม่ถึงอะไรแบบนี้ครับ ยกเว้นว่าเป็นฤกษ์อนุโลม ความหมายของการใช้ฤกษ์นี้ ให้เรานึกถึงความยิ่งใหญ่ ความมั่งคั่ง แบบเกิดมาก็รวยเลย ไม่ต้องดิ้นรนเลย ต่างกับ"เทวีฤกษ์" ซึ่งมีความอ่อนโยนกว่า เป็นในลักษณะของความสบาย ทำอะไรที่ดีดู ดูอบอุ่นอะไรทำนองนี้ "สมโณฤกษ์" เป็นความเรียบง่าย สงบ ไม่เอิกเกริก เป็นต้น ในฤกษ์อื่นๆก็พิจารณาใช้ให้เหมาะสมก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด

    มาถึง"เพชฌฆาตฤกษ์"กันเป็นฤกษ์เด็ดขาด อย่างที่คุณน้องนู๋วิจารณ์ไว้ถูกแล้วครับ แต่คราวนี้มาดูว่าทำไมบางท่านถึงเลือกฤกษ์นี้สร้างพระเครื่อง มีสาเหตุจากการที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในระหว่างเพชฌฆาตฤกษ์ จึงให้ความรู้สึกว่าฤกษ์นี้เป็นฤกษ์ของการรู้แจ้งแทงตลอด พระเครื่องที่สร้างกันฤกษ์นี้ในปัจจุบันคือท้าวจตุคามรามเทพบางรุ่นนั่นเอง ซึ่งหากพิจารณาตามหลักโหราศาสตร์กันแล้ว ต้องยอมรับกันว่า ตำแหน่งการจัดวางนักษัตรทั้ง ๑๒ ราศี หรือพระราหู ๘ หรือ ๑๒ ดวงนั้นก็ตาม ก็จัดวางตามหลักโหราศาสตร์ แต่มีเพียงบางรุ่นเท่านั้นที่กดใน"เพชฌฆาตฤกษ์" หรือรุ่นอื่นที่กดในฤกษ์ต่างๆตามความคาดหวัง บางรุ่นก็ lock ช่วงเวลาไว้ เรียกกันทั่วไปว่า นำฤกษ์ เป็นต้น ผมเชื่อว่าโบราณจารย์คงเฟ้นหาฤกษ์ยามดีที่สุดในการสร้างพระพิมพ์ เพียงแต่ท่านไม่ได้บันทึกไว้เป็นกิจลักษณะเป็นเรื่องเป็นราวว่าสร้างพระในฤกษ์ใด เท่าที่ทราบ และเคยมีผู้รวบรวมกันไว้ ก็คือ"พระพุทธมงคลมหาลาภ"ของวัดสัมพันธวงศ์ ปีพ.ศ. ๒๔๙๙ นั่นเอง
    [​IMG][​IMG]


    เป็นพระสมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระแบบสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ

    พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็น ที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่วัดสัมพันธวงศ์ พระนครแล้วเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ ๕-๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๙ นั้น บางท่านยังไม่ทราบประวัติที่ควรทราบ ซึ่งเป็นเหตุเจาะจงให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพื่อได้เคารพบูชาให้แนบแน่นสมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ และลาภยศ สรรเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ และคุณธรรม คือเป็นสื่อสำคัญที่จะให้ใจเข้าถึงอิทธิผลนั้นๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร

    เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบรรจุพุทธมนต์เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่โดยสังเขป ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ มีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ ๗ สี และอาหารผลไม้ถึงอย่างละ ๓๗๕ ที่มีเบญจา มีเศวตฉัตร ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก ๘ ต้น บายศรีเงิน บายศรีทอง ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก อย่างละ ๘ ต้น บรรจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเศกมี

    พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร
    พระวรเวทย์คุณาจารจย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    พระมหารัชชมังคลาจารย์
    พระครูวินัยธรเฟื่อง (ญาณปปทีโป)
    พระสอาด อภิวฒฒโน วัดสัมพันธวงศ์
    พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน
    พระชอบ สัมมาจารี วัดอาวุธวิกสิตาราม ธนบุรี
    เป็นต้น

    พร้อมด้วยบรรจุ เทพมนต์พรหมมนต์ โดยเชิญเทพ และพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ มาเข้าทรงประกอบพิธีอธิษฐานบรรจุมนต์ลงด้วย และบรรจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียง และ พ.ต.อ.ชะลอ อุทกภาชน์ ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงผสมทำเป็นองค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง


    พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเสกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว ๗ ชั้น ผ้าเขียว ๗ ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อบรรจุมนต์ลงในผงและน้ำที่จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี ๔๐ ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถิ่นผงที่นำมาผสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมาก จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้

    ๑. ผงขอจากพระอาจารย์ต่างๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่นวัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ วัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำและผงจากพระของเก่าบ้าง
    ๒.ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ ๑๐๘ อย่าง
    ๓. ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ ๗ ท่า และจากสระน้ำ ๗ สระ
    ๔. ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานแลสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ นี้ผสมสร้างพระผงรุ่นก่อน แล้วเอาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีนี้ด้วย
    ๕. ผงที่ได้จากดินที่สังเวชนียสถาน แห่งในอินเดียคือ ๑ ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ๒ ดินที่มหาโพธิพุทธคยาที่ตรัสรู้ ๓ ดินทีสารนาถ มฤคทายวัน เมื่องพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ๔ ดินที่กุสินนาราซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    ๖. ดินจากสถานที่สำคัญอีก ๙ แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมัติสุข ๗ แห่ง ปริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลินเป็นต้น แลดินที่พระคัณธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ๑ ดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ๓ ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระลึกถึงและบูชา สังเวชนัยสถานด้วย
    ๗. ผงปูนขาวหินราชบุรี
    ๘. ผงปูนซิเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง แลน้ำอ้อยเป็นต้น

    ผงเหล่านี้นั้น ผสมกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วบดให้ละเอียดและกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่อง ใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้นั้นผสมกับของที่จะทำพระให้พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ผสมผงพิมพ์เป็นรูป พระพุทธมงคลมหาลาภ บ้างสมเด็จบ้าง

    ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินผสมผงเผาแล้วนำมา เข้าพิธีปลุกเสกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภเสร็จพิธีแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดสารนาถธรรมารามแล้ว ก็จะได้จัดการทำพิธีบรรจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามควร เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่วัดสารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ




    พระมหารัชชมังคลาจารย์
    เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์

    (บันทึกตามฉบับเดิมเปลี่ยนแปลงคำสะกดเพื่ออ่านแล้วเกิดความเข้าใจ)


    จะเห็นว่ารายละเอียดเกี่ยวกับฤกษ์ยามท่านไม่ได้ระบุไว้ ข้อมูลจึงต้องมาจากหลายๆแหล่งรวบรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นเมื่อท่านได้ทราบความเป็นมาของพระเครื่องพิมพ์นี้กันบ้างแล้ว จึงมีความน่าสนใจมาก ยังมีรายละเอียดอื่นอีกมากครับ แต่ขอเปิดเผยกันเท่านี้ หากท่านอื่นอยากทราบก็หากันไม่ยากครับ (ของดีครับ..)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2008
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD background=themes/fiapplegreen/forums/images/lines.gif bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>วันนี้ในอดีต: 16 พฤศจิกายน </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] [FONT=verdana,geneva]16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 [/FONT]
    [FONT=verdana,geneva]กองทัพบกได้จัดทำ คทาจอมพล ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในฐานะองค์จอมทัพไทย ในพระราชพิธี ทวีธาภิเษก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท นับเป็นครั้งแรกที่มีคทาจอมพลขึ้นในประเทศไทย พระราชพิธีทวีธาภิเษกเป็นพระพิธีการสมโภช ที่ ร. 5 ได้ครองราชย์สมบัติยืนนาน มาเป็นสองเท่า ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบรมชนกนาถ พระคทาจอมพลองค์แรกนี้มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ยาว 35 เซนติเมตร ยอดคทาเป็นรูปหัวช้างสามเศียรลงยาสีขาว เหนือหัวช้างเป็นรูปพระเกี้ยว ตอนท้ายคทาเป็นรูปทรงกระบอกตัด องค์พระคทาทำด้วยทองคำหนัก 40 บาท ใต้หัวช้างลงมาเป็นลายนูนรูปหม้อกลศ พระคทาองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เป็นประจำตลอดรัชกาล[/FONT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอโมทนาบุญกับครอบครัวพี่ท่านหนึ่ง ,เพื่อนผมสองท่าน และพี่อีก 3 ท่านที่พึ่งจะได้รู้จักกัน ขอโมทนาบุญทุกประการด้วยครับ

    สิ่งที่ได้มาเมื่อวานนี้ เป็นสิ่งที่ล้ำค่า เป็นสิ่งที่สูงค่ามากๆ เมื่อมีโอกาสผมจะเล่าให้ฟังกันในคณะครับ

    .
     
  10. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
  11. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  12. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เศษปูนกระเทาะออกมาจากองค์หลวงพ่อโตมากมายขนาดไหนหรือครับ หรือเจตนากระเทาะเพื่อโบกใหม่ คล้ายทองคำเปลวที่ปิดหลวงพ่อโสธร

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    หลวงพ่อโสธร รุ่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2008
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระบรมราชสัญลักษณ์ 9 รัชกาล

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->พระบรมราชสัญลักษณ์ทั้ง 9 รัชกาลนี้ ประดิษฐานบนบุษบก แต่เดิมเรียกว่า “บุษบกตราแผ่นดิน” นั้น มี 3 บุษบก ตั้งอยู่บนไพธี ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระมณฑป 1 ด้านตะวันออกเฉียงใต้ 1 และด้านด้านตะวันตกเฉียงใต้ 1
    พระบุษบกทั้ง 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานหินอ่อนรูปสี่เหลี่ยม รอบฐานทั้ง 4 ด้านมีรูปช้างที่สำคัญที่คู่พระบุญญาธิการของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล แสดงให้เห็นว่า ในรัชกาลใดทรงได้ช้างสำคัญคู่พระบารมีกี่เชือกด้วย
    บุษบกทั้ง 3 องค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องแสดงถึงพระบรมราชศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 5 รัชกาล จึงได้ทรงสร้างพระบรมราชสัญลักษณ์ของพระองค์ไว้เป็นพุทธบูชา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    • บนพระบุษบกองค์ตะวันตกเฉียงเหนือ ประดิษฐานพระบรมราชสัญลักษณ์ 3 รัชกาล ดังนี้
      • พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 เป็นรูปมงกุฎไม่มีพระจอน ซึ่งหมายถึงว่าพระองค์ทรงเป็นพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และอีกประการหนึ่งก่อนขึ้นเถลิงราชสมบัติ ก็ทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกด้วย จึงได้มีการเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎซึ่งเป็นอาภรณ์สำหรับกษัตริย์ ถวายเป็นพระบรมราชสัญญลักษณ์เพื่อให้เหมาะกับบรรดาศักดิ์ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ และสมกับที่พระองค์ทรงเป็นพระปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ในกาลต่อมาด้วย
      • พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 2 เป็นรูปพระยาครุฑจับนาค กล่าวกันว่า เพราะพระนามเดิมคือ “ฉิม” อันวิมานฉิมพลีนั้นเป็นวิมานแห่งพระยาครุฑอันทรงอาณุภาพ จึงทรงใช้รูปพระยาครุฑจับนาคเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล
      • พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นรูปพระวิมาน กล่าวกันว่าเพราะพระนามเดิม คือ “ทับ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่ จึงทรงใช้รูปพระวิมานเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ และเป็นพระบรมราชลัญจกร

    <TABLE class=gallery cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 และ 2
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->


    </TD><TD>[​IMG]

    พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 และ 3
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->


    </TD><TD>[​IMG]

    พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->


    </TD><TD>[​IMG]

    พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    • บนพระบุษบกองค์ตะวันตกเฉียงใต้ ประดิษฐานพระบรมราชสัญลักษณ์ 2 รัชกาล ดังนี้
      • พระบรมราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นรูปพระมหามงกุฎ เพราะพระนามเดิมของพระองค์คือ “เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทวาวงศ์” จึงใช้ตรามงกุฎเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ และพระบรมราชลัญจกรประจำรัชกาล แต่รูปมงกุฎผิดแผกกับมงกุฎรัชกาลที่ 1 ด้วยเป็นพระมงกุฎที่มีพระจอนประกอบด้วย
      • พระบรมราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นรูปพระจุลมงกุฎ (หรือพระเกี้ยว) เพราะพระนามเดิมคือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ซึ่งหมายถึงเครื่องประดับเกล้าชนิดหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ใช้พระเกี้ยวเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ และเป็นพระบรมราชลัญจกรประจำรัชกาล

    <TABLE class=gallery cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->


    </TD><TD>RAMA7.JPG
    พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->


    </TD><TD>[​IMG]

    พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->


    </TD><TD>[​IMG]

    พระบรมราชสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
      • พระบรมราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เรียกว่า พระราชลัญจกรพระวชิระ เป็นรูปวชิราวุธ ยอดรัศมีประดิษฐ์บนพานแว่นฟ้าตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบบัวตั้งอยู่สองข้าง เป็นสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" ซึ่งหมายถึง ศาสตราวุธของพระอินทร์
      • พระบรมราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เรียกว่า พระราชลัญจกรพระแสงศร เป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนีวาต เหนือราวพาดพระแสงเป็นดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงตั้งบังแทรก สอดแทรกด้วยลายกนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา พระแสงศร 3 องค์นี้ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ประชาธิปกศักดิเดชน์" ซึ่งมาจากความหมายของศัพท์ คำสุดท้ายของวรรคที่ว่า "เดชน์" แปลว่า ลูกศร
      • พระบรมราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 เป็นรูปพระโพธิสัตว์ ประทับบนบัลลังก์ดอกบัว ห้อยพระบาทขวาเหนือบัวบาน หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม และมีเรือนแก้วด้านหลังแทนรัศมี มีแท่นรองรับตั้งฉัตรบริวารทั้งสองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของบรมนามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" ซึ่งแปลความว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน เพราะพระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลย ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ใน ระบอบประชาธิปไตย ด้วยความยินดีของอเนกนิกรชาวไทย ประหนึ่งพระโพธิสัตว์ เสด็จมาประทานความร่มเย็น เป็นสุขแก่ทวยราษฎร์ทั้งมวล
      • พระบรมราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น "อุ" หรือ "เลข9" รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้ง8 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภา แทนที่จะรับจากราชบัณฑิตดั่งในรัชกาลก่อน
    “ทุน ณ อยุธยา” ร่วมใจกันปฏิสังขรณ์บุษบกพระบรมราชสัญลักษณ์รัชกาลที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 เมื่อพ.ศ. 2525 ส่วนพระบรมราชสัญลักษณ์รัชกาลที่ 6, 7, 8, และ 9 โปรดเกล้าให้สร้างเพิ่มขึ้นใหม่ เมื่อฉลองครบ 200 ปีรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525

    http://th.wikipedia.org/wiki/พระบรมราชสัญลักษณ์_9_รัชกาล
     
  15. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ย้อนรอยสายราชสกุล... ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (๑)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการรายวัน</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>11 กุมภาพันธ์ 2551 17:45 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ในวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมาชิกราชสกุลทุกมหาสาขา และราชนิกุล ในพระบรมราชจักรีวงศ์ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ซึ่งไม่บ่อยนักที่จะมีพระญาติจาก 131 ราชสกุลแห่งราชวงศ์จักรีมารวมกัน ครั้งนี้ถือเป็นการแสดงถึงความผูกพันใกล้ชิดของราชสกุลวงศ์ ผู้สืบเชื้อสายจากพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี


    * ปฐมบทของราชสกุลในพระบรมราชจักรีวงศ์

    กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องราวประวัติศาสตร์และราชวงศ์ไทย ซึ่งมีผลงานด้านหนังสือออกมาเป็นจำนวนมาก และกิตติพงษ์ ได้เคยรวบรวมการสืบเชื้อสายราชสกุลวงศ์แห่งราชวงศ์จักรี ออกมาเป็นหนังสือ 2 เล่มคือ
     
  16. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    * พระปฐมบรมราชจักรีวงศ์

    กิตติพงษ์ศึกษาย้อนหลังราชวงศ์จักรี โดยต้นราชวงศ์รัชกาลที่ 1 ทรงสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยามหาโกษาบดี(ปาน) อดีตเสนาบดีว่าการกระทรวงต่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้เป็นบุตรชายของเจ้าแม่วัดดุสิต (พระนมเอกผู้อภิบาลสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ที่ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าแม่วัดดุสิตขึ้นเป็นพระองค์เจ้า ด้วยทรงเคารพเสมือนหนึ่งพระราชมารดา)

    โดย สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ (ทองดี) ทรงมีพระโอรสธิดาทั้งสิ้น 7 พระองค์ (พระโอรส 4 พระธิดา 3) ซึ่งนับเป็นชั้นที่ 1 ในพระปฐมวงศ์ หลังจากที่ ร.1 ทรงปราบดาภิเษก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระชนก ทรงเฉลิมพระยศเป็น “สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ” พร้อมทั้งทรงสถาปนาพี่น้องทั้ง 7 พระองค์ขึ้นเป็นพระราชวงศ์ด้วย ดังรายนามต่อไปนี้

    1. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระเทพสุดาวดี (สา)
    2. สมเด็จพระเจ้ารามณรงค์ (ไม่ปรากฏพระนามเดิม)
    3. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว)
    4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    5. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (บุญมา)
    6. ทรงหลวงนรินทรเทวี(พระองค์เจ้าหญิงกุ)
    7. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา(ลา)


    กิตติพงษ์ ขยายความว่า สำหรับเจ้านาย 5 พระองค์แรก ประสูติจากอัครมเหสี (หยก ) ส่วนอีก 2 พระองค์ประสูติจากพระน้องนางของพระอัครมเหสี (หยก) ซึ่งต่อมาพระปฐมวงศ์ในชั้นที่ 1 นี้ มีสายราชสกุลสืบต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ทั้งหมด 6 สายสกุล

    นรินทรกุล องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงนรินทรเทวี(พระองค์เจ้าหญิงกุ) พระเจ้าน้องนางเธอใน ร.1
    เจษฎางกูร องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
    นรินทรางกูร องค์ต้นราชสกุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรรณเรศ พระนามเดิม(ทองจีน) ทรงเป็นโอรสองค์ที่ 3 ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี(พระพี่นางองค์ใหญ่ ร.1)
    เทพหัสดิน ณ อยุธยา องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ มีพระนามเดิม “ตัน” ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 1 ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์(พระพี่นางองค์น้อยในร.1) กับเจ้าขรัวเงิน
    มนตรีกุล องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี มีพระนามเดิม “จุ้ย” ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 5 ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศรีสุดารักษ์กับเจ้าขรัวเงิน
    อิศรางกูร องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ มีพระนามเดิม “เกศ” ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 6 ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศรีสุดารักษ์กับเจ้าขรัวเงิน

    * สายราชสกุลวงศ์ในรัชกาลที่1

    สำหรับรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่า “ทองด้วง” หลังจากขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2325 ทรงมีพระราชโอรส 17 พระองค์ พระราชธิดา 25 พระองค์ รวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ และทรงมีพระราชทายาทสืบราชสกุลรวมทั้งสิ้น 8 ราชสกุล ดังนี้

    อินทรางกูร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอินทรพิพิธมีพระนามเดิมว่า “ พระองค์เจ้าทับทิม” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 12 ในเจ้าจอมมารดาจันทา

    ทัพพะกุล องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นจิตรภักดี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทับ” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 18 ในเจ้าจอมมารดาน้อย

    สุริยกุล องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุริยา” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 22 และที่ 1ในเจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่

    ฉัตรกุล องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าฉัตร” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 29 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตานี

    พึ่งบุญ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมรักษ์รณเรศ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าไกรสร” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 33 ในเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว

    ดารากร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเทพ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าดารากร” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 34 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่

    ดวงจักร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าดวงจักร” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 35 ในเจ้าจอมมารดาปาน

    สุทัศน์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุทัศน์” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 40 ในเจ้าจอมมารดากลิ่น

    * ราชสกุลวงศ์ สายวังหน้า-วังหลัง ในร.1

    ไม่เพียงแต่ราชสกุลผู้สืบเชื้อสายจากวังหลวงเท่านั้น เมื่อเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทันทีที่รัชกาลที่ 1 ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ยังปรากฏว่าทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังหลวงกับวังหน้าขึ้นพร้อมๆ กัน เสมือนเป็นวังพี่วังน้อง ตามราชประเพณีที่สืบต่อกันมา และโปรดฯ ให้สถาปนา สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช หรือ พระยาเสือ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า “บุญมา” ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ทรงเฉลิมพระยศให้เป็น “สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ดำรงตำแหน่งพระประมุขแห่งวังหน้า เช่นเดียวกับที่เคยมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

    กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงมีพระราชโอรส 18 พระราชธิดา 25 รวมทั้งสิ้น 43 พระองค์และทรงมีพระราชทายาทสืบสายสกุลรวม 4 ราชสกุลโดยเรียงลำดับพระชันษา ดังนี้

    อสุนี องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเสนีเทพ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายอสุนี” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 8 และเป็นโอรสเพียงหนึ่งเดียวในเจ้าจอมมารดาขำ

    สังขทัต องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนนรานุชิต มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายสังกะทัต” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 21 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาฉิม

    ปัทมสิงห์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายบัว (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 26 ในเจ้าจอมมารดาศรี

    นีรสิงห์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายเณร (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 41 ในเจ้าจอมมารดาไผ่

    นอกจากนี้ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กิตติพงษ์ กล่าวต่อว่า ในรัชกาลเดียวกัน ยังปรากฏว่ารัชกาลที่1 ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ พระโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (พระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่กับพระอินทรรักษา(เสม) หรือ หม่อมเสม) ซึ่งมีพระนามเดิมว่า “ทองอิน” ให้ทรงดำรงตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข” หรือ “กรมพระราชวังหลัง” เสด็จดำรงพระเกียรติยศในตำแหน่งได้ 21 ปี และทรงเป็นกรมพระราชวังหลังพระองค์สุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากในภายหลังมิได้ทรงโปรดฯ แต่งตั้งเจ้านายพระองค์ใดขึ้นมาดำรงตำแหน่งอีกเลย จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกวังหลังไปโดยปริยาย

    สำหรับ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุขพระองค์นี้ ทรงมีพระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 35 พระองค์ และทรงมีพระราชทายาทสืบสายสกุล รวม 2 ราชสกุล ดังนี้

    ปาลกะวงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายทองปาน” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 1 ในกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขกับพระอัครชายาเจ้าครอกทองอยู่

    เสนีวงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายแตงโม” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 4 ในกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขกับพระอัครชายาเจ้าครอกทองอยู่
     
  17. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    * สายราชสกุลในรัชกาลที่ 2

    รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า “ฉิม” ครั้นเมื่อพระบรมราชชนกเสด็จขึ้นเสวยราชย์ในปี 2325 ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงอิศรสุนทร

    ในช่วงปลาย ร.1 ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต จึงได้เสด็จสืบราชสมบัติเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงสืบทอดราชบัลลังก์รวม 15 ปี พระองค์ทรงมีพระราชโอรส 28 พระองค์ พระราชธิดา 35 พระองค์ ทรงมีพระราชทายาทสืบสกุลรวมทั้งสิ้น 20 สายสกุล ดังรายพระนาม ดังนี้

    อาภรณกุล องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 60 และที่ 1 ในสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี

    มาลากุล องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้าชายกลาง” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 65 และที่ 2 ในสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี

    กล้วยไม้ ณ อยุธยา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุนทรธิบดี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากล้วยไม้” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 8 และที่ 3ในพระเจ้าจอมมารดาสวน

    กุสุมา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเสพสุนทร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากุสุมา” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 13 ในพระเจ้าจอมมารดากรุด
    เดชาติวงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ามั่ง” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 15 และที่ 2 ในพระเจ้าจอมมารดานิ่ม

    พนมวัน องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าพนมวัน” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 17 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาศิลา

    กุญชร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากุญชร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 22 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาศิลา

    เรณุนันท์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเรณู (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 26 ในเจ้าจอมมารดาบุนนาค

    นิยมิศร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 30 ในเจ้าจอมมารดาเหมใหญ่

    ทินกร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทินกร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 35 และที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาศิลา

    ไพฑูรย์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสนิทนเรนทร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าไพฑูรย์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 38 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาทิม

    มหากุล องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 41 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาเลี้ยง

    วัชรีวงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายกลาง” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 44 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาน้อยระนาด

    ชุมแสง องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายกลาง” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 44 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาน้อยระนาด

    สนิทวงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้านวม” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาปรางใหญ่

    มรกฎ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสถิตย์สถาพร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ามรกฎ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 51 ในเจ้าจอมมารดาทองดี

    นิลรัตน์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้านิลรัตน์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 57 ในเจ้าจอมมารดาพิม

    อรุณวงษ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมวรศักดาพิศาล มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าอรุณวงษ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 58 ในเจ้าจอมมารดาเอม

    กปิตถา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากปิตถา” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 59 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาอัมพา

    ปราโมช องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 61 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาอัมพา มีพระอนุชาร่วมเจ้าจอม คือ องค์ต้นราชสกุล “ปราโมช”

    ส่วนสายราชสกุล ผู้สืบเชื้อสายจาก สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ (วังหน้า) พระนามเดิมว่า “จุ้ย” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 7 ในรัชกาลที่ 1 และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ผู้ทรงเป็นพระอนุชาร่วมพระบรมราชชนนีเดียวกับรัชกาลที่ 2 ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช (วังหน้า) เมื่อพระชนมายุ 36 พรรษา

    สมเด็จพระบรมราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ฯ เสด็จดำรงพระราชอิศริยยศเป็นพระมหาอุปราชรวม 8 ปี ทรงมีพระราชโอรส 23 พระองค์ พระราชธิดา 17 พระองค์ ทรงมีพระราชทายาทสืบสายสกุลรวม 10 ราชสกุล

    บรรยงกะเสนา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนธิเบศร์บวร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าประยงค์” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 2 และที่ 1ในเจ้าจอมมารดาน่วม

    อิศรเสนา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศ” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 8 และที่ 5ในเจ้าจอมมารดาสำลี

    ภุมรินทร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภุมริน (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์

    พยัคฆเสนา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสือ(มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 16 และที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาน่วม

    รังสิเสนา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าใย (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 17 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาศิลา

    สหาวุธ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง(มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 27 ในเจ้าจอมมารดาเล็ก

    ยุคันธร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าพงศ์ยุคันธร” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 32 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก

    สีสังข์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสีสังข์ (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 33 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม

    รัชนิกร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนิกร(มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 35 ในเจ้าจอมมารดาน่วม

    รองทรง องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ารองทรง” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 38 ในเจ้าจอมมารดาภู่ (อิเหนา)
     
  18. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    * สายราชสกุลในรัชกาลที่ 3

    เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต บรรดาเจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่จึงได้อัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม “ทับ” ผู้ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับเจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุราลัย) เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 และทรงดำรงสิริราชสมบัติ27 ปี ก่อนเสด็จสวรรคต ทรงมีพระราชโอรส 22 พระองค์พระราชธิดา 29 พระองค์ รวมทั้งสิ้น 51 พระองค์

    สำหรับรัชกาลนี้ กิตติพงษ์ กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าบรรดาพระราชโอรส-ธิดาทุกพระองค์ ล้วนมีพระอิสริยศักดิ์เป็น “พระองค์เจ้า” ทั้งสิ้น ส่วนสาเหตุเหตุที่มิได้มีพระอิสริยศักดิ์เป็น “เจ้าฟ้า” แม้แต่พระองค์เดียวและมิได้ทรงสถาปนาพระสนมขึ้นเป็นพระอัครมเหสีเช่นกัน เพราะมิได้ทรงปรารถนาที่จะให้พระราชโอรสขึ้นเป็นกษัตริย์ เนื่องจากทรงมีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ(ร.4) แต่เพียงพระองค์เดียว และราชสกุลของพระองค์ที่สืบต่อมาถึงรัชกาลปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 13 ราชสกุล ดังนี้

    ศิริวงษ์ องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าศิริวงษ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์

    โกเมน องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าโกเมน” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 11 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเฟื่อง

    คเนจร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าคเนจร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 12 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาน้อยเมือง

    งอนรถ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ(มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 14 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาจาด

    ลดาวัลย์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าลดาวัลย์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 15 ในเจ้าจอมมารดาเอมน้อย

    ชุมสาย องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชุมสาย” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 21 ในเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่

    ปิยากร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปียก (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 27 ในเจ้าจอมมารดาเหม็น

    อุไรพงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าอุไร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 29 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเขียว

    อรณพ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าอรณพ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 32 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง

    ลำยอง องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 39 ในเจ้าจอมมารดาวัน

    สุบรรณ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมขุนภูวนัยนฤเบนนราธิบาล มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุบรรณ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 46ในเจ้าจอมมารดาขำ

    สิงหรา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสิงหรา” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 48 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาคล้าย

    ชมพูนุท องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชมพูนุท” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในเจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์

    สำหรับกรมพระราชวังหน้าในสมัย รัชกาลที่ 3 คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระนามเดิม “พระองค์เจ้าอรุโณทัย” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 17 ในรักาลที่ 1 และเจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ จากรัชกาลที่ 2 ให้เป็นแม่ทัพยกกำลังไปสกัดข้าศึกที่เมืองเพชรบุรี พร้อมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) ที่ขณะนั้นทรงตั้งทัพทางด่านเมืองราชบุรีและกาญจนบุรี

    เมื่อถึงสมัย รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงประทับที่วังหน้าตลอดพระชนม์ชีพ จนพระชนมายุ 48 พรรษา ทรงมีพระราชโอรส 14 พระองค์ พระราชธิดา 6 พระองค์ และทรงมีพระราชทายาทสืบสายสกุลรวม 5 ราชสกุล ดังนี้

    กำภู องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำภู (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 6 ในเจ้าจอมมารดาคำ

    เกสรา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าเกสรา” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 9 ในเจ้าจอมมารดาคุ้มเล็ก

    อิศรศักดิ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงษ์ (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 12 ในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี ซึ่งเป็นพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

    อนุชะศักดิ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านุช (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 14 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาเฟือง

    นันทิศักดิ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเริงคนอง (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 18 ในเจ้าจอมมารดาเอม

    เรื่องโดย : ภาษิตา ภิบาลญาติ และศศิวิมล แถวเพชร
     
  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    แนะนำวิธีสนทนาธรรมต่อกันให้เกิดบุญ

    สนทนาธรรมตามกาล

    การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดด้วยจิตเมตตา เป็นที่มาแห่งความเจริญก้าวหน้าของวิชาการทางโลกฉันใด การสนทนาธรรมตามกาลด้วยความเคารพในธรรม ก็ย่อมนำมาซึ่งสติปัญญาอันเป็นหนทางเพื่อความพ้นทุกข์ฉันนั้น

    ทำไมจึงต้องสนทนาธรรมตามกาล ?

    "ปญฺญา นารนํ รตนํ
    ปัญญาเป็นรัตนะของคน"

    นี่คือพุทธพจนะที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่า ของปัญญา เพราะชีวิตคนนั้นมีปัญหามาก ปัญหาเหล่า นั้นล้วนต้องแก้ด้วยปัญญา ใครมีมากก็เหมือนมี แก้วสารพัดนึกไว้ในตัว ย่อมสามารถฝ่าฟันอุปสรรค ปัญหาต่าง ๆ ได้โดยง่าย

    ปัญญาเกิดได้จาก 2 เหตุคือ

    1. จากการฟังธรรมของกัลยาณมิตร ผู้มีปัญญารู้จริง
    2. จากการพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคาย

    วิธีลัดที่จะทำให้เกิดปัญญาอย่างรวด เร็ว คือ การสนทนาธรรมตามกาล ซึ่งเป็นการบังคับให้ ตนเองต้องทั้งฟังทั้งพูด ต้องเป็นนักฟังที่ ดี ฟังผู้อื่นพูดด้วยความตั้งใจ ฟังแล้วก็ต้อง พิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคายตามไปทันที สงสัยอะไร ก็สามารถซักถามได้ นอกจากนั้นถ้าตนเองมี ความรู้ในธรรมะเรื่องใดก็นำมาพูดเล่าสู่ ให้ผู้อื่นฟังได้ด้วย


    แต่ทั้งหมดนี้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเกิดโทษมากกว่าคุณ

    สนทนาธรรมตามกาลคืออะไร ?

    การสนทนาธรรมตามกาล คือการพูดคุยซัก ถามธรรมะซึ่งกันและกัน ระหว่างคน 2 คนขึ้นไป มี วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดปัญญาโดยรู้จักเลือกและ แบ่งเวลาให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ได้รับความ เบิกบานใจ มีความสุขความเจริญและบุญกุศล ไปในตัวด้วย

    ในพระพุทธศาสนา คำว่า " ธรรม " มีความ หมายกว้าง ๆ อยู่ 2 ประการ คือ

    ธรรมหมายถึงความจริงตามธรรมชาติ เช่น คนเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นธรรม คือความเป็นจริงตามธรรมชาติ

    ธรรมหมายถึงความดีถูกต้อง เช่น การให้ทานเป็นความดี การรักษาศีล มีเมตตา กรุณา เป็นความดี ความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่เป็นความดี ใครปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้ เรียกว่าปฏิบัติธรรม

    การสนทนาธรรมที่ถูกต้อง จึงหมายถึง การสนทนา ให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นอกุศลธรรมความชั่ว จะได้ ละเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลธรรมความดี จะได้ ตั้งใจทำให้มาก และสิ่งใดเป็นอัพยากตธรรม คือ ความจริงตาม ธรรมชาติ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็รู้เท่าทันทุกประการ จะ ได้ไม่หลงเข้าใจผิดให้เกิดทุกข์


    ความยากในการสนทนาธรรม?

    การสนทนาธรรม หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า " คุยธรรมะ " นั้นดูเผิน ๆ ก็ไม่น่ายาก ก็เหมือนคนมาคุยเป็น เรื่องกันตามธรรมดานั้นแหละ เราก็คุยกันออก บ่อยไป เพียงแต่เรื่องที่คุยกันเป็นเรื่องธรรมะเท่า นั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ดูเบาในการ สนทนาธรรม พูดคุยธรรมะกันได้ไม่นานก็มักมี เรื่องวงแตก กันอยู่บ่อย ๆ พ่อลูกนั่งดื่มเหล้าคุยธรรมะ กัน พ่อบอกกินยาถ่ายพยาธิไม่บาป เพราะไม่เจตนา ฆ่า ลูกบอกบาปเพราะรู้ว่ามันจะต้องตายก็ ยังไปกินยาถ่าย เถียงกันไปเถียงกันมาไม่ กี่คำ พ่อคว้าปืนลูกซองไล่ยิงเสียรอบบ้าน อย่างนี้ก็มี นี่ก็เพราะดูเบาในการสนทนาธรรม ความยากในการสนทนาธรรมนั้นเป็นเพราะ

    คู่สนทนาต้องพูดธรรมะเป็น คือ เมื่อเข้าใจอย่างไรแล้วก็สามารถถ้ายทอดเป็นคำพูดให้เขาเข้าใจตามนั้นได้ด้วย โดยยึดหลักการพูดในมงคลที่ 10 มีวาจาสุภาษิต เป็นบรรทัดฐาน จะได้ไม่เกิดการแตกร้าวเข้าใจผิดแก่ผู้ฟังคือ


    เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องจริง
    เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องมีประโยชน์
    ต้องพูดด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
    ต้องพูดถูกกาลเทศะ
    ต้องพูดด้วยจิตเมตตา

    การพูดธรรมะนั้นจะต้องยึดเอาความ ถูกต้องเป็นหลัก ไม่ใช่พูดเอาความถูกใจคน ส่วนมากในโลกนี้ชอบให้เขาชม แต่ว่าสนทนา ธรรมกันแล้วมัวไปนั่งชมอยู่อย่างเดียว " คุณก็ เก่ง ฉันก็เก่ง " เดี๋ยวก็ได้บ้ากันทั้งคู่ แต่ก็ไม่ ใช่มานั่งติอย่างเดียว " คุณนิสัยอันโน้นก็ไม่ ดี อันนี้ก็ไม่ดี " คนเรายังไม่หมด กิเลสเดี๋ยวก็ทนกันไม่ได้ ยิ่งถ้าแถมมีการยกตน ข่มท่านเข้าไปอีก หรือไม่ก็ยกสำนักมาอวด กัน " ถึงฉันไม่เก่ง อาจารย์ฉันก็เก่งนะ " อะไร ทำนองนี้ เดี๋ยวก็ผูกใจเจ็บกัน สนทนาธรรมไปได้ 2-3 คำ จะ กลายเป็นสนทนากรรมไป จะต้องมีความพอเหมาะพอ ดี รู้จักใช้วาจาสุภาษิต

    คู่สนทนาต้องฟังธรรมเป็น การฟังธรรมนี่ดูเผิน ๆ เหมือนจะง่าย ถึงเวลาก็แค่ไปนั่งไม่เห็นจะมีอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วการฟังธรรมะที่ถูกต้อง คือการฟังด้วยความพิจารณา แต่การรู้จักควบคุมจิตใจให้พิจารณาตามธรรม หยิบยกเอาประโยชน์จากการฟังนั้นยาก ยากกว่าการพูดธรรมะให้คนอื่นฟังหลายเท่า

    ที่ว่ายากนั้นเพราะ ยากที่จะควบคุมใจให้อยากฟังธรรมะ เพราะการฟังธรรมนั้นไม่สนุกเหมือนการฟังละคร ฟังเพลง ถ้าไม่รู้จักควบคุมตนเอง ฟังไปได้สักนิด หนังตาก็เริ่มหนัก พาลจะหลับเอา หรือไม่อย่างนั้นก็ นั่งใจลอย คิดไปถึงเรื่องอื่น มีผู้เปรียบว่าการควบคุมใจให้อยากฟังธรรมะนั้น ยังยากกว่าคุมลิงให้นั่งนิ่ง ๆ เสียอีก

    ยากที่จะยอมรับธรรมะที่ได้ยินนั้นเขาไปสู่ใจทั้งนี้ก็เพราะกิเลสต่าง ๆ ในตัวเรา เช่น ความหัวดื้อ ความถือตัว ความเห็นผิด ฯลฯ มันคอยต่อต้านธรรมะไว้ พอเรื่องธรรมะที่ได้ฟังขัดกับความเคยชินประจำตัว เช่น ฟังว่าต้องมีวินัยให้ข้ามถนนตรงทางม้าลาย ฟังแล้วก็เริ่มขัดใจ เพราะมันขัดกันกับความเคยชินของตัวเอง ขัดกับกิเลสในตัว เลยไม่ค่อยจะยอมรับ มันนึกค้านในใจ

    ผู้ที่จะฟังธรรมเป็นนั้น จะต้องหมั่น ฟังธรรมบ่อย ๆ จนเคยชิน ฝึกเป็นคนมีความเคารพ มองคนอื่นในแง่ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ ถือตัว มีความสันโดษ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม รู้จักพอ รู้ จักประมาณ และมีความกตัญญู รู้อุปการคุณที่ท่าน ทำแล้วแก่ตน จะทำให้มีอัธยาศัยใฝ่ธรรม ฟัง ธรรมเป็น สามารถรองรับธรรมะที่ได้ยินได้ฟังนั้น ได้

    คู่สนทนาต้องสนทนาธรรมเป็น คือ ต้องทั้งฟังด้วย และพูดด้วยในเวลาเดียวกัน เขาพูดเราฟัง เราพูดเขาฟัง บางอย่างเราไม่อยากจะพูด แต่เมื่อเขาพูดเราก็จำต้องฟัง บางอย่างเราอยากจะพูด แต่ไม่มีจังหวะที่จะพูด ก็จำต้องระงับใจไว้ไม่พูด เมื่อตอนสอนคนอื่นเขาไม่มีใครค้านสักคำ นิ่งฟัง ยอมเราหมด

    แต่ตอนสนทนาธรรม เราจะต้องลดตัวลงมาอยู่ในฐานะเป็นทั้งคนพูดทั้งคนฟัง ถ้าพูดถูกเขาก็ชม พูดผิดเขาก็ค้าน อาจถูกติ ถูกขัด ถูกแขวะ ถูกชม ถูกค้าน ได้ตลอดเวลา ซึ่งตรงนี้แหละที่ยั่วกิเลสนักหนา ถ้าไม่ควบคุมใจให้ดี กิเลสมันก็คอยจะออกมาจุ้นจ้านให้ได้ ขึ้นต้นคนกับคนคุยธรรมะกัน ไปได้ไม่กี่น้ำ กิเลสกับกิเลสมันออกมาโต้กันให้ยุ่งไปหมด


    ผู้ที่สนทนาธรรมได้ จึงต้องฝึกขันติจน มีความอดทนต่อการถูกติเป็นเลิศ ทนคำ พูดที่ไม่ชอบใจได้ทั้งจากคนที่สูง กว่า และที่ต่ำกว่า มีความว่าง่ายสอนง่ายในตัว และต้อง เลือกคู่สนทนาเป็นคือ ต้องเป็นคนประเภทสมณะใฝ่ สงบด้วยกัน

    มีผู้อุปมาไว้ว่า การพูดธรรมะให้คน อื่นฟังก็เหมือนชกลม ชกจนหมดแรงก็ไม่เจ็บสักนิด ทีนี้การฟัง ธรรมที่คนอื่นพูด เหมือนการชกกระสอบทราย คือ ชก ไปก็รู้สึกว่าเจ็บมือมาบ้าง ฟังเขาพูดก็ เหมือนกัน ใจเราสะเทือนบ้าง แต่การสนทนาธรรมนั้น เหมือนการขึ้นชกบนเวทีจริง ๆ เราชกเขา เขาชกเรา ชกกันไปชกกันมา ถูกล่อถูกหลอก ถูกกวนใจ ตลอดเวลา ถ้าไม่ระวังให้ดี อาจทนไม่ได้โกรธขึ้น มาตนเองกลายเป็นคนพาลไป

    ข้อควรปฏิบัติในการสนทนาธรรม?

    ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อนถ้าเป็นฆราวาสต้องรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ หรือถ้ารักษาศีล 8 มาล่วงหน้าสัก 7 วัน ก่อนสนทนาได้ยิ่งดี ไม่ใช่เพิ่งสร่างเมาแล้วมาคุยธรรมะกันหรือว่ากินเหล้าไปก็คุยธรรมะไปอย่างนั้นใช้ไม่ได้

    ต้องหมั่นเจริญภาวนาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนสนทนาธรรมถ้าได้ทำสมาธิก่อนจะดีมาก เพราะใจจะผ่องใสดี ทำสมาธิเหมือนอย่างกับว่า ทั้งเนื้อทั้งตัวของเราเป็นก้อนธรรมทั้งก้อน ให้ตัวเป็นธรรมใจเป็นธรรมเสียก่อนแล้วจึงมาสนทนาธรรมกัน

    แต่งกายสุภาพ ทีแรกเราชำระศีลให้บริสุทธิ์นั้นกายกับวาจาเป็นธรรมแล้ว พอเราทำสมาธิบ่อย ๆ เข้า ใจของเราก็เป็นธรรมด้วย ถึงเวลาจะสนทนา ก็ต้องแต่งกายให้สุภาพ ให้เครื่องประกอบกายของเราก็เป็นธรรมด้วย ไม่ใช้เสื้อผ้าสีบาดตา แบบก็สุภาพ สะอาด ถ้าเป็นชุดขาวได้จะดีมาก

    กิริยาสุภาพ คือ ยืน จะเดิน จะนั่ง ให้เรียบร้อย หนักแน่น สงบเสงี่ยม สำรวม มีกิริยาเป็นธรรม ไม่ให้กิริยาของเราทำให้ผู้อื่นขุ่นใจ เช่น เดินลงส้นเท้าปัง ๆ

    วาจาสุภาพ คือ มีวาจาสุภาษิตดังได้กล่าวมาแล้ว ไม่พูดเสียงดัง ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่รู้บอกว่าไม่รู้ ควรชมก็ชม ควรติก็ติ แต่ไม่ด่า

    ไม่กล่าวค้านพุทธพจน์ หรือปฏิเสธอรรถกถาฎีกา โดยเด็ดขาด เพราะพุทธพจน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น โดยเนื้อแท้แล้วย่อมถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ อรรถกถาหรือฎีกาเกือบทั้งหมดก็ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับว่า สติปัญญาของเรามีพอจะไตร่ตรองตามท่านหรือไม่ ถ้าเราไปกล่าวค้าน หรือปฏิเสธโดยเด็ดขาดไว้แล้ว ประการแรก ก็ไม่รู้ว่าจะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน ประการที่ 2 หากคู่สนทนาอธิบายหรือชี้แจงถึงเหตุผลที่ให้เราฟัง แม้เราจะเข้าใจก็อาจไม่ยอมรับเพราะกลัวเสียหน้า มีทิฐิ ทำให้เกิดการวิวาทบาดหมางใจกันได้ ดังนั้น สำหรับอรรถกถา หรือฎีกา เมื่อไม่เห็นด้วยก็ไม่ควรแสดงเพียงแต่ว่ารู้สึกสงสัย หรือแสดงความเห็นของตนว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มากกว่า พร้อมทั้งขอความคิดเห็นจากคู่สนทนา

    ไม่พูดวาจาทำให้เกิดความแตกร้าว ไม่ใช้คำพูดก้าวร้าว รุนแรง แต่ใช้วาจาที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ประสานน้ำใจ

    ไม่แสดงอารมณ์โกรธเมื่อถูกขัดแย้ง เราพูดอะไรไปถ้าเขาเย้ามา อย่าเพิ่งโกรธ ให้พิจารณาไตร่ตรองดูโดยแยบคาย เพราะบางทีเราอาจจะมองข้ามอะไรบางอย่างไป เรื่องบางเรื่องอาจถูกในที่หนึ่ง แต่ผิดในอีกที่หนึ่ง ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ ถ้าเราด่วนโกรธเสียก่อนแล้ว ความคิดที่จะไตร่ตรองตามก็ไม่มี ปัญญาของเราจะถูกความโกรธปิดบังหมด

    ไม่ปรารถนาลามก คิดที่จะให้ตนมีชื่อเสียง อยากเด่นอยากดัง ตั้งใจจะฉีกหน้าผู้อื่นเพื่อให้ตนดัง ถ้าวันไหนจะไปสนทนาธรรม แล้วเกิดมีความรู้สึกอยากจะไปฉีกหน้าใคร วันนั้นนอนอยู่บ้านดีกว่า มันไม่เป็นธรรมตั้งแต่ต้นแล้ว อย่าไปแกว่งปากหานรกเลย

    ตั้งจิตไว้ว่าจะสนทนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา จะเอาความรู้เราไปต่อเอาความรู้คนอื่นมา ไม่ใช่ไปเพื่ออวดรู้ แต่จะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน

    ไม่พูดออกนอกเรื่องที่ตั้งประเด็นไว้ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นอวดดี หรือนินทาคนอื่นไป เช่น พูดเรื่องบาป พูดไปพูดมา กลายเป็นว่า "ฉันน่ะไปทำทานไว้ที่นั่นที่นี่" กลายเป็นว่าอวดว่าฉันใจบุญนะ หรือพูดเรื่องทาน พูดไปพูดมากลายเป็นว่า "อุ๊ย! แม่คนนั้นนะขี้เหนียว อีตาเศรษฐีคนนั้นก็ขี้เหนียว" ถามว่าใครดี "ฉัน ฉัน" อย่างนี้ใช้ไม่ได้

    ไม่พูดนานไปจนน่าเบื่อ รู้จักกาลเทศะ

    วิธีสนทนาธรรม

    โดยสรุป หลักในการสนทนาธรรมรวมได้เป็น 3 ประการคือ

    1.สนทนาธรรมในธรรม คือ เรื่องที่จะสนทนากันต้องเป็นเรื่องธรรมะ ให้อยู่ในวงธรรมะ อย่าอกนอกวง เช่นถ้าพูดถึงการทำความดีก็ให้สุดแค่ทำดี อย่าให้เลยไปถึงอวดดี ถ้าจะพูดถึงเรื่องการป้องกันไม่ให้ทำความชั่ว ก็ให้สุดแค่ป้องกันการทำชั่ว อย่าให้เลยไปถึงนินทาคนอื่น

    2.สนทนาธรรมด้วยธรรม คือ ผู้ที่สนทนากันจะต้องไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ เช่น ทางกายก็มีการเคารพกันโดยฐานะรูป ควรไหว้ก็ไหว้ ควรกราบก็กราบ อย่าคิดทะนงตัวด้วยเหตุคิดว่ามีความรู้มากกว่าเขา ในทางวาจาก็ใช้ถ้อยคำสุภาพเรียบร้อย เป็นวาจาสุภาษิต ถ้าฝ่ายหนึ่งถูกก็ชม ถ้าฝ่ายผิดก็ทักโดยสุภาพ ไม่กล่าววาจาเหน็บแนมล่วงเกิน และถ้าพลาดพลั้งก็ขอโทษ ไม่ใช่สนทนากันด้วยกิเลส หรือปล่อยกิเลสออกมาโต้กันดังได้กล่าวมาแล้ว

    3.สนทนาเพื่อธรรม คือ ผู้สนทนาต้องตั้งจุดมุ่งหมายไว้ในใจของตนให้แน่นอนว่า เราจะหาความรู้ความเข้าใจในธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่ใช่จะอวดรู้หรืออวดธรรมะ แม้บางจังหวะเราเป็นผู้แสดงความรู้ออกไป ก็คิดว่าเราจะเอาความรู้ของเราไปต่อเอาความรู้ของผู้อื่นเข้ามา มิใช่เพื่ออวดรู้


    วิธีเลือกคู่สนทนาธรรม

    หลักในการเลือกคู่สนทนาธรรมมีอยู่ 2 ประการคือ

    1.คู่สนทนาต้องมีอัธยาศัยใฝ่ธรรม และสงบเสงี่ยมเยี่ยงสมณะ แม้เป็นฆราวาสก็เป็นคนรักสงบ ไม่เป็นคนชอบอวดภูมิ ชอบโม้

    2.เรื่องที่จะสนทนาต้องเหมาะกับบุคคลนั้น ๆ เช่น คุยเรื่องพระวินัยกับผู้เชี่ยวชาญพระวินัย คุยเรื่องชาดกกับผู้เชี่ยวชาญชาดก จะสนทนาเรื่องสมาธิก็เลือกสนทนากับผู้ที่เขาฝึกสมาธิมาแล้วอย่างจริงจัง เป็นต้น
    อานิสงส์การสนทนาธรรมตามกาล

    อานิสงส์การสนทนาธรรมตามกาล


    ทำให้จิตเป็นกุศล

    ทำให้มีไหวพริบปฏิภาณดี

    ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด

    ทำให้ได้ยินได้ฟังธรรมะที่ตนยังไม่ได้ฟัง

    ธรรมที่ฟังแล้วยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจชัดขึ้น

    ทำให้บรรเทาความสงสัยได้

    เป็นการทำความเห็นของตนให้ตรง

    เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น

    เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามของพระอริยเจ้าไว้

    ชื่อว่าได้ดำเนินตามปฏิปทาอันเป็นวงศ์ของนักปราชญ์

    ท่านเจ้าของกระทู้(คุณถ้ำเขาบิน)ที่พันทิพดอทคอมนี้ไม่ได้แจ้งที่มาของแหล่งข้อมูล แต่เนื้อหาดูแล้ว น่าจะเป็นประโยชน์กับตัวผมเอง และเพื่อนๆที่สนใจครับ..
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คนไทยกับคำสอนในหลวง
    <!--MsgIDBody=0-->ฝรั่งคนหนึ่งมอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2008

แชร์หน้านี้

Loading...