พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 15 เมษายน 2015.

  1. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..หลังจากกะทู้นั้น..จ่ายักษ์ ก็เริ่มเสวย "ราหู" ..มานับแต่บัดนั้นเลยเชิด.:'(
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขอให้เจริญๆ เข้าใจได้เท่านี้ก็ดีแล้ว ช่างมันเถอะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (16).jpg
      images (16).jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.6 KB
      เปิดดู:
      107
  3. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    #92
    ส่งตรงคุณ nopphakan
    จำได้เคยเห็นว่าคุณทักคนผิดในตอนนั้น รู้สึกเดี๋ยวนี้ คนๆนั้น ไม่ค่อยได้มาโพสในนี้แล้วมั้ง

    แต่ไม่แน่อาจจะวนเวียนๆ ซุ่มอ่าน คนๆนั้น ในอดีตรู้สึก จะอยู่ในแวดวงกำเนิดของมุสลิม

    แต่มายอมรับนับถือ ปฏิบัติในความเป็นพุทธ(ตามประวัติที่เค้าเคยพิมพ์เล่าในบอร์ด)

    ซึ่งเห็นว่า คุณ nopphakan เคยเข้าใจผิดกับคนๆนั้น

    ขอสะกิดนิดๆหน่อยว่า เดี๋ยวนี้ยังเล็ง ได้ถึงเสี้ยววินาทีอยู่ไหม?
     
  4. sornsill

    sornsill เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +515
    ผมว่าท่านจ่ายักษ์จะไปในแนวทางฝ่ายมหายาน ซึ่งอาจจะเป็นจริตที่ชอบแบบนั้นก็ปล่อยท่านไปเถอะครับ ถ้าท่านจ่ายักษ์ชอบไปตามแนวทางนั้น ก็คงแล้วแต่จริตท่านจ่ายักษ์ แต่เห็นด้วยกับหลายๆกระทู้ว่าท่านจ่ายักษ์ตอบออกนอกจักวาล น่าเสียดายที่ยังติดอยู่
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นี่ไงครับอดจนถึงวาระมื้อสุดท้าย

    กลับไปเรียนใหม่ให้ทั่วถึง ที่สำนักพุทธวจนนะครับBIGTOO เรื่องพระอดข้าวสำเร็จธรรม เพราะมีผลกรรมนำพามายังไง ต้องอธิบายไหม?ครับ อดยังไง เพราะอะไร? ผมหมายถึงเหนื่อยอดทนมาตลอด ท่านอย่าเอาตอนจบ นั่นเพราะอาศัยฤทธิ์จึงได้ฉันได้กิน ถ้าไม่เข้าใจ จนปัญญาอธิบายครับ เข้าใจที่ โยนิโสมนสิการได้เพียงแค่นั้น เพราะอยากจะเอาแต่ความสำเร็จเป็นที่ตั้ง จนลืมที่มาแห่งความสำเร็จ นั่นหรือครับ ทางสายกลาง ศาสนานี้ ท่านสอนอย่างไรครับ ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าท่านมีความสามารถในการอดทนต่อความบากความทุกข์เพียงแค่นั้น ท่านก็ทำตามทางที่ท่านชอบเถิดครับ ส่วนผมหมดทุกข์ไปตั้งแต่พบกับพระพุทธเจ้าแล้วครับ ทุกข์ใหม่ไม่มีอีก
    พระโลสกติสสเถระ

    ข้อความในอรรถกถาชาดก เอกนิบาต อรรถกถาอัตถกามวรรคที่ ๕ อรรถกถา

    โลสกชาดกที่ ๑

    ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระ

    โลสกติสสเถระ และได้ตรัสประวัติของท่าน ซึ่งประวัติโดยย่อของท่านมีว่า

    ท่านพระโลสกติสสเถระเป็นบุตรของชาวประมงคนหนึ่ง ในแคว้นโกศล เป็น

    ผู้ทำลายตระกูลวงศ์ของตน เพราะว่าตั้งแต่ท่านเกิดมาในครรภ์มารดานั้น ครอบครัวของ

    ท่านก็ประสบภัยพิบัติเรื่อยมา บ้านเรือนถูกไฟไหม้ถึง ๗ ครั้ง

    คนสมัยนี้มีไหมคะ อาจจะมีก็ได้ ก็เป็นชีวิตธรรมดา แล้วแต่กรรมของใครจะให้ผลอย่างไร เมื่อไร

    ถูกพระราชาปรับสินไหม ๗ ครั้ง

    ครั้งนั้น มารดาบิดาขอท่านเลี้ยงชีพมาโดยแร้นแค้น พอท้องแก่ก็คลอด ณ ที่

    แห่งหนึ่ง แต่ธรรมดา ท่านผู้เป็นสัตว์เกิดมาในภพสุดท้าย คือผู้ที่จะเป็นพระอรหันต์นั้น

    ใครๆไม่อาจทำลายได้ เพราะมีอุปนิสัยแห่งอรหัตผล

    การสะสมคุณธรรมทั้งหลายที่จะเป็นพระอรหันต์ รุ่งเรืองอยู่ในใจเหมือนดวง

    ประทีปภายในหม้อ ฉะนั้น

    มารดาได้เลี้ยงท่านมาจนถึง ในเวลาที่ท่านวิ่งเที่ยวไปมาได้ ก็เอากะโล่ดิน

    เผาใบหนึ่งใส่มือให้ แล้วเสือกไส ด้วยคำว่า ลูกเอ๋ย เจ้าจงไปสู่เรือนหลังนั้นเถิด ดังนี้

    แล้วหลบหนีไป

    ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็อยู่อย่างเดียวดาย เที่ยวหากินไปตามประสา หลับนอน ณ

    ที่แห่งหนึ่ง ไม่ได้อาบน้ำ ไม่ได้ปรนนิบัติร่างกาย ดูเหมือนปีศาจคลุกฝุ่น เลี้ยงชีวิตมา

    ด้วยความลำบาก ท่านเจริญเติบโตมาจนกระทั่งอายุครบ ๗ ขวบ โดยลำดับ เลือกเม็ด

    ข้าวกินทีละเม็ด เหมือนกา ในที่สำหรับเทน้ำล้างหม้อ ใกล้ประตูเรือนแห่งหนึ่ง

    ความทุกข์ยากจน เป็นผลของอกุศลกรรม ไม่ว่าในอดีตสมัย หรือในอนาคต

    หรือ แม้ในสมัยนี้ ก็มีผู้มีความยากลำบาก ถ้าจะเทียบกับท่านพระโลสกติสสเถระ จะเห็น

    ได้ว่า ตอนเป็นเด็กอายุ ๗ ขวบ ท่านถึงกับเลือกเม็ดข้าวกินทีละเม็ดเหมือนกาในที่

    สำหรับเทน้ำล้างหม้อ ใกล้ประตูเรือนแห่งหนึ่ง



    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในเมืองสาวัตถี เห็นท่านแล้วรำพึง

    ว่า เด็กคนนี้น่าสงสารนัก เป็นชาวบ้านไหนหนอ ท่านพระสารีบุตรแผ่เมตตาจิตไปใน

    ท่านเพิ่มยิ่งขึ้น แล้วเรียกให้มาหา ถามถึงพ่อแม่ เมื่อได้ทราบว่าพ่อแม่ทิ้งไป ก็ถาม

    ว่า ท่านจักบวชไหมท่านก็ตอบว่า อยากบวช ซึ่งท่านพระสารีบุตรก็ให้ของเคี้ยว

    ของบริโภคแก่ท่าน แล้วพาไปวิหาร อาบน้ำให้เอง ให้บรรพชา จนอายุครบ จึงให้

    อุปสมบท

    ในตอนแก่ท่านมีชื่อว่า "โลสกติสสเถระ" เป็นพระไม่มีบุญ มีลาภน้อย

    เล่ากันว่า แม้ในคราวอสทิสทาน ท่านก็ไม่เคยได้ฉันเต็มท้อง ได้ขบฉันเพียง

    พอจะสืบต่อชีวิตไปได้เท่านั้น เพราะเมื่อใครใส่บาตรท่านเพียงข้าวต้มกระบวยเดียว

    บาตรก็ปรากฏเหมือนเต็มเสมอขอบแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นคนทั้งหลายก็สำคัญว่า บาตร

    ของภิกษุรูปนี้เต็มแล้ว เลยถวายองค์หลังๆ

    สำหรับอสทิสทาน คือ ทานที่ไม่มีใครเหมือน คือเป็นทานที่มโหฬารยิ่ง

    ในสมัยต่อมา ท่านเจริญวิปัสสนา แม้จะดำรงอยู่ในพระอรหันต์อันเป็นผลชั้นเลิส ก็ยัง

    คงมีลาภน้อย ครั้นเมื่ออายุสังขารของท่านล่วงโรยทรุดโทรมลง โดยลำดับ ก็ถึงวันที่

    ปรินิพพาน.



    ท่านพระสารีบุตรคำนึงอยู่ ก็รู้ถึงการปรินิพพานของท่าน จึงดำริว่า วันนี้พระ-

    โลสกติสสเถระนี้จักปรินิพพานในวันนี้ เราควรให้อาหารแก่เธอจนพอ

    เมื่อท่านคิดอย่างนี้แล้ว ท่านก็ได้พาพระโลสกติสสเถระเข้าไปสู่เมืองสาวัตถี

    เพื่อบิณฑบาต เพราะเหตุว่าท่านพระสารีบุตรพาท่านพระโลสกติสสเถระไปด้วย ท่าน

    พระสารีบุตรเลยไม่ได้แม้เพียงการยกมือไหว้ ในเมืองสาวัตถีอันมีผู้คนมากมาย

    พระเถระจึงกล่าวว่า อาวุโส เธอจงไปนั่งคอยอยู่ที่โรงฉันเถิด ดังนี้แล้วก็ได้ส่ง

    ท่านกลับไป

    พอพระเถระมาจากที่นั้นเท่านั้น พวกมนุษย์ก็พูดกันว่า พระผู้เป็นเจ้ามาแล้ว

    แล้วก็ได้นิมนต์ให้ท่านพระสารีบุตรนั่งเหนืออาสนะ ให้ฉันภัตตาหาร

    พระเถระก็ส่งอาหารที่ได้แล้วนั้นให้คนเหล่านั้นไป โดยกล่าวกับคนเหล่านั้นว่า

    พวกเธอจงให้ภัตรนี้แก่พระโลสกติสสเถระ แต่ว่าคนที่รับภัตรนั้นไปก็ลืมพระโลสกติสส

    เถระ พากันกินเสียหมด

    ไม่มีทางที่จะบริโภคอาหารได้เต็มท้องเลย ซึ่งก็จะได้ทราบว่า ในอดีตชาติ

    ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้


    เมื่อท่านพระสารีบุตรเดินไปถึงวิหาร พระโลสกติสสเถระก็ไปนมัสการท่านพระ

    สารีบุตร

    ท่านพระสารีบุตรก็ถามว่า อาวุโส คุณได้อาหารแล้วหรือ?

    ท่านตอบว่า ไม่ได้ดอกครับ

    พระเถระถึงความสลดใจ เมื่อท่านดูเวลา ก็เห็นว่า ยังไม่ล่วงเลยกาลที่จะ

    บริโภค จึงให้พระโลสกติสสเถระนั่งรอในโรงฉันแล้วก็ไปสู่พระราชวังของพระเจ้าโกศล.

    พระราชารับสั่งให้รับบาตรของพระเถระ ทรงพิจารณาว่า มิใช่กาลแห่งภัตร จึงรับสั่งให้

    ถวายของหวาน ๔ อย่างจนเต็มบาตร ท่านพระสารีบุตรรับบาตรกลับไปถึงวิหาร เรียก

    พระโลสกติสสเถระมาแล้วบอกว่า ให้ฉันของหวาน ๔ อย่างนี้โดยท่านถือบาตรยืนอยู่

    แล้วให้ท่านพระโลสกติสสเถระนั่งฉัน พระโลสกติสสเถระมีความยำเกรงในท่านพระสารี

    บุตร เห็นว่าท่านจะลำบากในการยืนถือบาตรแล้วให้ท่านนั่งฉัน เพราะฉะนั้นท่านก็ไม่ฉัน

    แต่ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะท่านว่า ท่านผู้มีอายุติสสะ ผมจะยืนถือบาตรไว้

    คุณจงนั่งฉัน ถ้าผมปล่อยบาตรจากมือ บาตรต้องไม่มีอะไร

    ลำดับนั้น ท่านพระโลสกติสสเถระ เมื่อท่านพระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกยืนถือ

    บาตรไว้ให้ จึงนั่งฉันของหวาน ๔ อย่าง ของหวาน ๔ อย่างนั้นไม่ถึงความหมดสิ้น ด้วย

    กำลังแห่งฤทธิ์ของพระเถระ พระโลสกติสสเถระฉันจนเต็มความต้องการ ในเวลานั้นใน

    วันนั้นเอง ท่านก็ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับในสำนักของท่าน ทรง รับสั่งให้กระทำการปลง

    สรีระ เก็บเอาธาตุทั้งหลายก่อพระเจดีย์บรรจุไว้

    ในเวลานั้น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในธรรมสภา นั่งสนทนากันว่า ผู้มีอายุทั้ง

    หลาย น่าอัศจรรย์จริง ท่านพระโลสกติสสเถระมีบุญน้อย มีลาภน้อย อันผู้มีบุญน้อย มี

    ลาภน้อย เห็นปานดังนี้ บรรลุอริยธรรมได้อย่างไร

    นี่เป็นสิ่งที่ทุกคนก็น่าสงสัยว่า เพราะเหตุใดผู้ที่จะบรรลุอริยสัจธรรมแล้วยังจะ

    ต้องเป็นผู้มีลาภน้อยถึงอย่างนี้

    พระบรมศาสดาเสด็จไปธรรมสภา มีพระดำรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวก

    เธอประชุมกันด้วยเรื่องอะไรเล่า?

    เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว.

    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โลสกติสสะผู้นี้ได้ประกอบกรรม คือ

    ความเป็นผู้มีลาภน้อย และความเป็นผู้ได้อริยธรรมของตน ด้วยตนเอง เนื่องด้วยครั้ง

    ก่อน เธอกระทำอันตรายลาภของผู้อื่น จึงเป็นผู้มีลาภน้อย แต่เป็นผู้บรรลุอริยธรรมได้

    ด้วยผลที่บำเพ็ญวิปัสสนา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    แล้วพระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสเล่าอดีตชาติของท่านพระโลสกติสสเถระ ซึ่งข้อ

    ความบางตอนมีวา

    ในอดีตกาล ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ.

    มีภิกษุรูปหนึ่งอาศัยกุฏุมพีผู้หนึ่ง อยู่ในอาวาสประจำหมู่บ้าน เป็นผู้เรียบร้อย มี

    ศีล หมั่นบำเพ็ญวิปัสสนา

    นี่คือยามปกติ คือ เป็นผู้เรียบร้อย มีศีล หมั่นบำเพ็ญวิปัสสนา

    ครั้งนั้น มีพระอรหันต์องค์หนึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์ ได้มาถึงบ้านที่อยู่ของกุฎุมพีผู้

    อุปัฏฐากภิกษุนั้น

    กุฎุมพีนั้นเลื่อมใสในอิริยาบถของพระอรหันต์ จึงรับบาตร นิมนต์เข้าสู่เรือน ให้

    ฉันภัตตาหารโดยเคารพ สดับพระธรรมกถาเล็กน้อย ไหว้พระเถระ แล้วนิมนต์ไปสู่วิหาร

    ใกล้บ้านของตน

    พระเถระก็ไปสู่วิหารนั้น นมัสการพระเถระซึ่งเป็นเจ้าอาวาส

    พระอรหันต์ยังไหว้เจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้มีกิเลสตามพระวินัย

    ซึ่งเมื่อได้ทักถามกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร. ท่านเจ้าอาวาสก็ทำปฏิสันถารกับ

    ท่าน แล้วถามว่า ผู้มีอายุ คุณได้รับภัตตาหารแล้วหรือ?

    พระอรหันต์ท่านตอบว่า ได้แล้วครับ.

    เจ้าอาวาสก็ถามว่า คุณได้ที่ไหนเล่า?

    พระอรหันต์ท่านก็ตอบว่า ได้ที่เรือนกุฎุมพีใกล้ๆ วิหารนี้แหละ

    เมื่อท่านบอกอย่างนี้แล้ว ก็ถามถึงเสนาสนะ คือ ที่อยู่ของท่าน แล้วได้จัดแจง

    ปัดกวาด เก็บบาตรจีวรให้เรียบร้อย แล้วพักอยู่ด้วยความสุขในผลสมาบัติ

    พอเวลาเย็น กุฎุมพีนั้นก็ให้คนถือเอาพวงดอกไม้ และน้ำมันเติมประทีปไป

    วิหารนั้น นมัสการพระเถระเจ้าอาวาส แล้วถามว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ มีพระเถระ

    อาคันตุกะมาพักรูปหนึ่ง มิใช่หรือ?

    เจ้าอาวาสตอบว่า จ้ะ มีมาพัก.

    กุฎุมพีคฤหบดีนั้นก็ถามว่า เดี๋ยวนี้ ท่านพักอยู่ที่ไหน ขอรับ?

    พระเถระเจ้าอาวาสก็ตอบว่า ที่เสนาสนะโน้น.

    กุฎุมพีนั้นก็ได้ไปสู่สำนักของพระอรหันต์ผู้เป็นอาคันตุกะ นั่ง ณ ที่สมควร

    ฟังธรรมกถาจนถึงค่ำ จึงบูชาพระเจดีย์ และต้นโพธิ์ จุดประทีปสว่างไสว แล้วนิมนต์

    ภิกษุทั้งสองให้รับบาตรในวันรุ่งขึ้น แล้วกลับไป

    กุฎุมพีถูกหรือผิดที่มีความเลื่อมใสในผู้ที่ควรเลื่อมใส และได้นิมนต์พระเถระทั้ง

    สองให้รับบาตรในวันรุ่งขึ้น

    แต่ว่าพระเถระผู้เป็นเจ้าอาวาสคิดว่า


    นี่คืออโยนิโสมนสิการของผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน แต่เมื่อยังไม่สามารถดับกิเลส

    ได้ ยังมีความติดข้องพัวพันอยู่ในลาภ ยศ สักการะ ทำให้พระเถระผู้เป็นเจ้าอาวาสคิดว่า

    กุฎุมพีนี้ถูกพระอาคันตุกะ ยุให้แตกกับเราเสียแล้ว

    ไม่มีเหตุอะไรที่ควรจะคิดอย่างนี้เลย แต่คนที่จะคิด ก็คิดได้ ตามอโยนิโส

    มนสิการที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ทำให้ท่านคิดว่า

    ถ้าพระอรหันต์รูปนั้น ซึ่งท่านยังไม่รู้ว่าเป็นพระอรหันต์ จักอยู่ในวิหารนี้ไซร้ ที่

    ไหนกุฎุมพีจะนับถือเรา

    เมื่อเกิดความไม่พอใจในพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านก็คิดว่า เราควร

    แสดงอาการไม่ให้พระรูปนั้นอยู่ในวิหารนี้ ดังนี้แล้ว ในเวลาที่พระอรหันต์อาคันตุกะมา

    ปรนนิบัติ ท่านก็ไม่พูดด้วย

    นี่คืออาการที่เกิดจากอโยนิโสมนสิการ

    ซึ่งพระอรหันต์ท่านทราบอัธยาศัยของภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส แล้วท่านก็คิดว่า

    พระเถระนี้ไม่รู้ถึงการที่เราไม่มีความห่วงใยในตระกูล ในลาภหรือในหมู่ แล้วท่านกลับไป

    ที่อยู่ของท่าน พักอยู่ด้วยความสุขในผลสมาบัติ

    เมื่อถึงวันรุ่งขึ้น ที่กุฎุมพีนิมนต์ ทั้งพระอรหันต์และพระภิกษุเจ้าอาวาสให้ไปรับ

    บาตร พระภิกษุท่านเจ้าอาวาสก็ตีระฆังด้วยหลังเล็บ เคาะประตูด้วยเล็บ

    นี่คือการกระทำที่สามารถกระทำได้ ใครจะคิดว่าใครจะทำได้ แต่การกระทำ

    อย่างนี้ก็เกิดขึ้นแล้วด้วยอโยนิโสมนสิการ ซึ่งเมื่อท่านทำอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ไปสู่เรือน

    ของกุฎุมพีนั้นแต่เพียงรูปเดียว

    เมื่อกุฎุมพีคฤหบดีรับบาตร นิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้ แล้วถามว่า ข้า

    แต่ท่านผู้เจริญ พระอาคันตุกะเถระไปไหนเสียเล่า?

    ท่านเจ้าอาวาสตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบความประพฤติของพระผู้ใกล้ชิดสนิท

    สนมของคุณ ฉันตีระฆัง เคาะประตู ก็ไม่อาจปลุกให้ตื่นได้ เมื่อวานฉันโภชนะอันประณีต

    ในเรือนของคุณแล้ว คงอิ่มอยู่จนวันนี้ บัดนี้ก็ยังนอนหลับอยู่นั่นเอง

    แล้วท่านก็กล่าวเพื่อให้กุฎุมพีไม่ควรนับถือ หรือเคารพสักการะในพระอรหันต์

    โดยกล่าวให้เห็นความไม่ควรของกุฎุมพีว่า

    เมื่อท่านจะเลื่อมใส ก็เลื่อมใสในภิกษุผู้มีสภาพเห็นปานนี้ทีเดียว

    นี่คือการตำหนิกลายๆ ของผู้ที่เป็นบรรพชิต

    แต่สำหรับพระอรหันต์นั้น เมื่อท่านกำหนดเวลาภิกษาจารของท่านแล้ว ก็ชำระ

    สรีระของตน ทรงบาตรจีวร เหาะไปในอากาศ (แต่) ได้ไปเสียในที่อื่น.

    คือไม่อยู่ที่นั่นอีกต่อไป เพราะรู้ว่า ท่านเจ้าอาวาสเป็นผู้ตระหนี่ หวงแหน และมี

    อโยนิโสมนสิการ

    กุฎุมพีนั้นได้นิมนต์พระเถระเจ้าอาวาส ฉันข้าวปายาสที่ปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง

    น้ำตาลกรวด แล้วรมบาตรด้วยของหอม ใส่ข้าวปายาสจนเต็ม แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้

    เจริญ พระเถระนั้นเห็นจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า พระคุณเจ้าจงนำข้าวปายาสนี้ไปให้ท่าน

    ด้วยเถิด. แล้วถวายบาตรไป.

    อโยนิโสมนสิการก็ยังไม่หมด

    พระเถระเจ้าอาวาสไม่ห้ามเสียทันที คงรับบาตรมา เดินไปแล้วก็คิดว่า ถ้าภิกษุ

    นั้นได้ข้าวปายาสนี้ไซร้ ถึงเราจะจับคอฉุดให้ไป ก็จักไม่ไป

    นี่คือความคิดหวงแหนในตระกูลอุปัฏฐาก

    แล้วท่านก็คิดต่อไปว่า

    ก็ถ้าเราจักให้ข้าวปายาสนี้แก่มนุษย์ กรรมของเราก็จักปรากฏ.

    ใครๆก็จะรู้ว่า ท่านไม่ได้เอาไปให้พระเถระอาคันตุกะ

    หากเททิ้งลงในน้ำเล่า เนยใสก็จักปรากฏเหนือน้ำได้.

    อโยนิโสมนิการก็มีวิธีการที่แยบยล ที่จะ กระทำตาม แบบของอโยนิโสมนสิการ

    เพราะฉะนั้นท่านก็คิดว่า ทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะเหตุว่าถ้าทิ้งลงในน้ำ เนยใสก็จัก

    ปรากฏเหนือน้ำได้

    ถ้าทิ้งลงบนแผ่นดิน ฝูงกาจักรุมกันกิน กรรมของเราก็จักปรากฏ. ควรทิ้งข้าว

    ปายาสนี้ที่ไหนดีหนอ ขณะนั้นท่านเห็นนากำลังไหม้อยู่แห่งหนึ่ง ก็คุ้ยถ่านขึ้น เทข้าว

    ปายาสลงไป กลบด้วยก้อนถ่าน แล้วจึงไปวิหาร

    ครั้นไม่เห็นภิกษุรูปนั้นจึงคิดได้ว่า ชะรอย ภิกษุนั้นจักเป็นพระอรหันต์ รู้อัธยาศัย

    ของเราแล้ว จักไปเสียที่อื่นเป็นแน่ โอ เพราะท้องเป็นเหตุ เราทำกรรมไม่สมควรเลย

    ทันใดนั้นเองความเสียใจอย่างใหญ่หลวงก็เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. จำเดิมแต่วันนั้น

    ไปทีเดียว ท่านก็กลายเป็นมนุษย์เปรต อยู่มาไม่นาน ก็ตายไปเกิดในนรก

    ไม่สามารถจะกินอยู่ ไม่สามารถที่จะรักษาสุขภาพร่างกายไว้ได้ ก็กลายเป็นผู้ที่

    ผอมจนกลายเป็นมนุษย์เปรต อยู่มาไม่นาน ก็ตายไปเกิดในนรก

    ภิกษุนั้นหมกไหม้อยู่ในนรกหลายแสนปี เศษของผลกรรมนั้นยังนำให้ไปเกิด

    เป็นยักษ์ถึง ๕๐๐ ชาติ เกิดเป็นสุนัข ๕๐๐ ชาติ และภายหลังต่อมาก็ได้เกิดในภพ

    สุดท้าย เป็นท่านพระโลสกติสสเถระ

    ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ประมาทไม่ได้ ยังมีอกุศล ซึ่งยังไม่รู้ว่า ยังมีเหตุปัจจัยที่จะ

    ทำให้เกิดกาย วาจา และใจที่คิดไม่สมควรในขณะไหน วันไหน

    เพราะฉะนั้นกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่พิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ


    ในเหตุการณ์แต่ละวันจริง ๆ ยากที่จะบรรลุอริยสัจธรรมได้ เพราะแม้แต่เหตุการณ์

    ธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน ยังไม่สามารถเป็นผู้ตรงที่จะพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการได้

    เพราะฉะนั้นจะสามารถพิจารณาสภาพธรรมได้ตรงตามความเป็นจริงได้อย่างไร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สักวันท่านจะเห็นจักรวาลที่ข้าพเจ้าเอ่ยถึงตอนนั้นเอง แม้จะไม่อยากเห็นก็ตาม ตอนนี้เรามีสติปัญญาสามารถอธิบายได้เพียงเท่านี้

    เราเห็นแค่ทางไปพระนิพพานเพียงเท่านั้น

    หรือว่าท่านเห็นพระนิพพาน? ถ้าอย่างนั้น ท่านว่าพระนิพพาน อยู่นอกหรืออยู่ในจักรวาล?

    แล้วพระพุทธเจ้าท่านตอบว่าพระนิพพานอยู่ที่ไหน? จักรวาลไหน? แกลแลคซี่ในสหโลกธาตุใด

    คิดดูดีๆ

    คิดก่อนจะพิจารณาเรา เพราะเราตอบตรงมาก เราไม่เคยเลี่ยงตอบ รู้ก็ว่ารู้ รู้ดีด้วย ไม่รู้ก็คือไม่รู้ ไม่ตอบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  7. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    คนๆนั้น ไม่ใช่ จ่ายักษ์นี้นะ คนละคนกัน

    แต่ความเป็นมา รู้สึกจะมีส่วนคล้ายๆกัน เท่าที่เห็นข้อความต่างๆ คงจำได้
     
  8. sornsill

    sornsill เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +515


    ผมเองคงไม่เห็นจักวาลของท่านหรอกครับ และไม่อยากเห็น ผมแค่รู้ใบไม้ในกำมือเดียวที่พุทธองค์สอนก็พอครับ รู้แค่กายสังขารของตัวผมเองก็พอครับ แค่พิจารณาเรืาองสังขารกายของผมเองยังไม่จบเลยครับ ผมก็จะพิจารณาไปอย่างนี้เรื่อยๆ ก็อนุโมทนากับท่านจ่ายักษ์นะครับ ที่จะรู้เรื่องจักวาลในอนาคตกาล ผมจะไม่ตอบทานอีกแล้วนะครับ จะไปพิจารณาสังขารตัวเองก่อน เอวัง...สาธุในธรรม
     
  9. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ตามปกติ ถ้าคนเราสักคน ถ้าจะตั้งใจเริ่มต้นปฏิบัติ จริง และถ้าปฏิบัติเป็นคือ การ รักษาสภาวะอารมณ์ในการปฏิบัติก็คือ อยู่กับฌาณของการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง(การต่อเนื่องให้มันได้ตลอดหลายวันหลายเดือน ผมเรียกว่าทรง แต่ไม่ไช่ทรงแบบ ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจบ้างนะครับ ทรงของผมคือ ตั้งใจให้ตลอดแบบต่อเนื่อง)

    และ ถ้าต่อเนื่องให้จริงๆ ในขณะที่ต่อเนื่อง ในขณะที่อยู่ในการปฏิบัติ(ห้ามคิดออกนอกเรื่องอื่น) เนี่ยถ้า ต่อเนื่อง ตรงนี้ สภาวะนี้ ผมเรียกว่า มีศีลอยู่ในตัวในกายใจในจิต อยู่แล้ว....แบบนี้ศีลจะไม่พร่อง ตลอดเวลาที่ ต่อเนื่องนะ แต่ถ้า จิตคิดออก ไปเรื่องอื่น )(เนี่ย ตรงนี้ ผิดศีลแล้ว ไม่ต่อเนื่องแล้วนั่นเอง) เผลอ แปลว่า ผิดศีล หลงแปลว่าผิดศีล

    ดังนั้น คำว่า ต่อเนื่องในสภาวะและอารมณ์ที่ต่อเนื่องของการปฏิบัติได้ เนี่ยแปลว่า ไม่ผิดศีล นั่นเองครับ
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขอโทษที่ถามหาศีล ข้อ ๑.อันมี ปาณาติปาตา เวรมณี ที่โรงฆ่าสัตว์

    นึกว่าโรงเพาะชำเรือนไม้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เมื่อไม่เห็นแล้วไม่อยากจะเห็นจักรวาลของเรา แล้วท่านรู้ได้อย่างไร? ว่าเราตอบออกนอกจักรวาล!

    พิจารณา เห็นหรือยัง? อย่าพลาดพันตนเอง! ผมรู้ว่าท่านจะตอบประโยคผม แบบนี้ เพราะเดาทางออก จึงเพิ่มลงไปคำพูดน่ะ ขอโทษด้วย

    ชัดเจนนะ อย่าด่วนสรุป เดี๋ยวจะเข้าใจผิด อะไรที่เราไม่เคยเห็นแต่มีจริงอยู่มีอีกมาก มันต้องอยู่ในเหตุและผล เสียดาย ถ้าเหตุผลของเรา ทำให้ท่านไม่รู้และเข้าใจ เราสุดอธิบายขยายความ คนโกหกปลิ้นปล้อนน่ะพูดความจริงไม่ได้หรอก คนที่เชื่อคนแบบนั้น ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ โปรดพิจารณา

    สำหรับเราขอยกคตินี้ ดีชั่วอย่าคาดหวัง ความจริงเผยก็รู้เอง เราไม่อยากให้ท่านอธิษฐานผิด ท้าทายคนผิด จะเสียใจอีกนานแสนนาน ถ้าเป็นความจริง ท่านต้องปล่อยวาง จะจริงก็มีทางอยู่แล้วเป็นที่พึ่ง พึ่งพิจารณาเพียงเท่านั้น จะเท็จก็กรรมของผู้พูดผู้กระทำผิด นี่จึงถูก ถ้าเรายืนยันด้วยการฆ่าตัวตาย เพื่อบูชาธรรม แม้เพียงนั้นท่านก็ไม่เชื่อเราหรอก ปริพาชกพบพระพุทธเจ้ายังไม่ได้อะไร แถมยังสั่นหัวใส่ แล้วจะให้เราคาดหวัง จะเอาอะไรกับท่าน ทำอะไรกับท่านได้ เราสุดปัญญา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อย่าหลงจำผมผิดคนครับ ผมระบุชื่อตัวหน้าตาที่อยู่ชัดเจนมีตัวตนจริง เป็นพุทธก่อน แล้ว เข้ารีต แล้ว กลับมาเป็นพุทธ ถ้าใช่ ก็จะตอบว่าใช่ครับ ไม่ใช่ ก็ตอบ ว่าไม่ใช่ครับ ไม่มีคำว่ากลัวเสียฟอร์ม

    รูปในอดีต๑๐ปีก่อนครับ

    เรื่องผู้หญิงอะไรที่พาดพิงถึงผม หรือเปล่า ไม่แน่ใจ เรื่องผัวเมียละเหี่ยใจ เป็นเรื่องทุเรศๆไร้สาระ ผมเคยมีครับ เช็คได้


    ส่วนเรื่องโกงชาติบ้านเมือง พ่อแม่ ลูกเมีย ผมไม่มีครับ ไม่เคยหลอกใครกิน มีหลักฐานหามาให้ดูบ้างนะครับ ถ้าเกี่ยวกับผม ถ้าไม่มีข้อเท็จจริง และมีอะไรพาดพิงผม แล้วท่านไปเชื่อตามโดยขาดข้อมูลที่ถูกต้อง ก็ก้มศรีษะถวายชีวิตเอามุดกระโปรงหญิงนั้น ให้ผู้หญิงแบบไหน? ที่ท่านว่าท่านเชื่อด้วยนะครับ จะได้แฮปปี้ ไหนๆก็ไหนๆแล้ว

    ถ้าไม่ใช่ผม ผ่านครับ อันนี้เตือนและชี้แจง
    ถ้าว่าใช่ผม ผมขอท้าหาหลักฐานบุคคลลงมาโพสประจานให้ดูหน่อยนะครับ หามาๆ ไปสอบสัมภาษณ์ แต่งเรื่อง มาให้ดีๆ อย่าดิสเครดิต ผมไม่ใช่businessman ผมนักธรรมครับ เดี๋ยวผมเทคโอเว่อร์คืน เจ๊ง นะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  13. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อิอิ ไช่เรยๆ อย่าไปถามหางาช้างจาก ปากสุนัข(ไม่มีงาช้างงอกออกจากปากสุนัข) ..เนี่ยสุภาษิตจีน จากนิยายกำลังภายใน

    ส่วน ที่ผมเคยพูดบ่อยๆ ก็คือ อย่าไปถามหาความเข้าใจ จากคนที่ไม่เข้าใจเลย

    อิอิ ...มันไม่อยู่ในฐานะดอก จะบอกให้ ..อิอิ
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้

    อย่าไปพูดถึงทางสายกลางเลยนะครับนายเขมมะไม่รู้จัก พึ่งเป็นชู้กับเมียชาวบ้านเมื่อคืน ตื่นเช้ามาเป็นพระโสดาบันแล้ว งงไหม?ครับ ฮ่อ! งง ก็ งง

    นั่นสำหรับคนธรรมดาสามัญทั่วไปครับ คำถามผมระดับอริยะบุคคลที่สำเร็จปฐมมรรคขึ้นไป แต่อย่ามาเหมารวมครับ บาปจะกินหัวเอาทั้งก๊ก

    อย่าว่าแต่พร่องเลย นี่รับศีลก็ไม่ทัน จะได้รับ มรรค ๘ ก็ไม่รู้จัก ก็ได้มาแล้วครับพระโสดา ถ้าไม่เกิดจากอานิสงค์ผลบุญ มันจะสำเร็จไหม?ครับ สุดท้ายท่านก็จะอ้างแสดงธรรม นั่นจอดเรือเข้าท่าน้ำผมแล้วครับ เท่ากับยอมรับข่ายพระทศพลญาณ ๑๐ คือ ท่านตรวจหาอานิสงค์ แห่งศีลบุญทานตามจริตธรรม ที่เคยสั่งสมมา อย่างไม่ต้องอธิบายอีก โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยศีลหรือมรรค๘แม้แต่ข้อเดียวก็สำเร็จธรรมได้ แค่นี้ครับคำตอบ ได้ กับไม่ได้

    ย้อนดูคำถามครับ โปรดพิจารณา

    หากได้รับอานิสงค์แห่งศีลที่บำเพ็ญเพียรไว้อย่างอุกฤษฎ์ ในอดีตชาติที่ส่งสมมาและในชาตินี้ด้วย ในกรณีนี้ท่านจะยกเว้นไว้ได้หรือไม่?


    ต้องการคำตอบแค่นี้
    ตอบมาแค่ ได้ หรือ ไม่ได้ เพราะอะไร?แค่นั้น ไปยาวๆเลย


    ถ้าไม่เห็นไม่เอาตามนี้ สุดปัญญาจะอธิบายครับ

    เอาเรื่องเดียวเป็นตัวอย่างก็พอนะครับ เคสไม่มีศีลไม่ได้รักษาศีลแต่สามารถบรรลุธรรมได้ จบนะครับ ผมหาคำตอบเองละท่านเอย

    มีอีกเยอะไม่มีศีลสำเร็จธรรมได้ แค่บอกทางมาของศีล ยังไม่ได้รับศีล แค่ตรองตามก็เข้าใจครับ ว่าท่านสอนอย่างนี้เป็นสิ่งผิด ไม่ควรทำ

    อย่าปั่นหุ้นนะครับเดี๋ยวไม่มีใครช้อนซื้อ ห่วงครับ เจ๊งน่ะ เจ๊ง ภาษานี้คงไม่ต้องค้นหาความหมายนะครับ คงเข้าใจความหมายดี


    เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ



    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า จตฺตาริ ฐานานิ เป็นต้น




    นายเขมกะ นอกจากจะมีชาติตระกูลดี ก็ยังเป็นชายหนุ่มรูปหล่อ เป็นที่ถูกตาต้องใจของบรรดาสาวน้อยสาวใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งแต่อนงค์นางต่างยินยอมพร้อมใจพลีร่างมีเพศสัมพันธ์กับนายเขมะคนนี้ทั้งนั้น นายเขมกะเองก็ชอบเรื่องแบบนี้ด้วย จึงได้ประกอบกิจกรรมที่เรียกว่า “ปรทารกรรม”(เป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น) อยู่เป็นอาจิณ พวกราชบุรุษเคยจับนายเขมะในข้อหาเป็นชู้กับภรรยาของคนอื่นและนำตัวไปถวายเจ้าปเสนทิโกศลถึง 3 ครั้ง แต่พระราชามีรับสั่งให้ปล่อยตัวไปทุกครั้ง เพราะว่านายเขมะผู้นี้เป็นหลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อท่านเศรษฐีทราบเรื่อง ก็ได้นำตัวนายเขมกะเข้าเฝ้าพระศาสดา และกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่นายเขมกะนี้”


    พระศาสดาทรงแสดง สังเวคกถา (คำที่ชวนให้เกิดความสลดใจ) และเมื่อจะทรงแสดงโทษในการเสพภรรยาของคนอื่น ได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า


    จตฺตาริ ฐานานิ นโร ปมตฺโต
    อาปชฺชตี ปรทารูปเสวี
    อปุญฺญลาภํ นนิกามเสยฺยํ
    นินทํ ตติยํ นิรยํ จตุตฺถํ
    อปุญฺญลาโภ จ คตี จ ปาปิกา
    ภีตสฺส ภีตาย รตี จ โถกิกา
    ราชา จ ทณฺฑํ ครุกํ ปเณติ
    ตสฺมา นโร ปรทารํ น เสเว.


    นระผู้ประมาท ชอบเสพภรรยาของคนอื่น
    ย่อมถึงฐานะ 4 อย่าง คือ
    การได้สิ่งที่มิใช่บุญ(เป็นที่ 1)
    การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา(เป็นที่2)
    การนินทาเป็นที่ 3 นรกเป็นที่ 4
    ได้สิ่งมิใช่บุญอย่าง 1
    คติลามกอย่าง 1
    ความยินดีของบุรุษผู้กลัว กับด้วยหญิงผู้กลัว มีประมาณน้อยอย่าง 1
    พระราชาย่อมลงอาชญาอันหนักอย่าง 1
    เพราะฉะนั้น นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น.


    เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง นายเขมกะ บรรลุโสดาปัตติผล ตั้งแต่นั้นมา มหาชนนอนตาหลับ.




    พระคัมภีร์ยังได้เล่าถึงบุรพกรรมของนายเขมะว่า ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะนั้น นายเขมะเป็นนักมวยที่เก่งที่สุด และมีความเข้มแข็งมาก ได้ยกธงทอง 2 แผ่นขึ้นไว้ที่สถูปทองคำของพระกัสสปพุทธเจ้า แล้วตั้งความปรารถนาว่า “เว้นหญิงที่เป็นญาติสาโลหิตเสีย หญิงที่เหลือเห็นเราแล้วจงกำหนัด” (ฐเปตฺวา ญาติสาโลหิติตฺถิโย อวเสสา มํ ทิสฺวา รชนฺติ ) เพราะฉะนั้น เมื่อเขาไปเกิดในภพชาติใดก็ตาม หญิงคนใดได้เห็นเขาแล้ว หญิงคนนั้นก็จะเกิดความหลงใหลในความมีเสน่ห์ของเขา จนคุมสติคุมอารมณ์อยู่มิได้


    (หมายเหตุ คำอธิษฐานของนายเขมกะที่เป็นภาษาบาลีว่า ฐเปตฺวา ญาติสาโลหิติตฺถิโย อวเสสา มํ ทิสฺวา รชนฺติ (อ่านว่า ถะเปดตะวา ยาติสาโลหิติดถิโย อะวะเสสา มัง ทิดสะหวา ระชันติ) นี้ได้กลายเป็นมนต์สร้างเสน่ห์วิเศษ ที่พวกหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ที่ต้องการสร้างเสน่ห์ให้แก่ตัวเองนำไปท่องบ่นภาวนา)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้

    หลังจากที่เราได้เอาความรู้ที่ไม่ได้มีอยู่ในสมองๆและร่างกายที่เน่าเหม็น น้อมนำมาแสดง คงวิสัชนาให้ท่านได้เห็นแล้วว่า เป็นอย่างไร?

    ตั้งใจเรียนฝึกศึกษา มีความเพียรในธรรมนะครับ มีปัญญาแล้วหาทางพ้นทุกข์ให้เพื่อนด้วยจึงจะดี ช่วยเขาด้วย คนที่หลงยึดติดอยู่

    ผมไม่เคยเพ่งโทษใครครับ ผมเพ่งแต่ธรรมที่พอมีปัญญาหามาแสดงได้ ไม่อย่างนั้นจะพากันหลงหมดบ้านหมดเมือง

    เรื่อง อื่นมีอีก ถ้าท่านศึกษาจริงๆ มีปัญญาเพิ่มพูน จะทราบเอง ว่าเราไม่เคยโกหกเพื่อหวังผลใดๆ



    หลังจากกะทู้นั้น..จ่ายักษ์ ก็เริ่มเสวย "ราหู" ..มานับแต่บัดนั้นเลยเชิด

    เอาแค่ไข่ไก่ในเล้าเป็ดก็พอครับ ยิ่งสูงยิ่งหนาว

    https://youtu.be/rNefGdsYrjM
    สนุกร่าเริงเพลิดเพลินในวาทีสูตรล่ะสินะครับ ผมพักกินเยี่ยวต่อวันนี้เกือบ ๒ ลิตรแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จะเอาไหม?ล่ะ ปัญญาวิมุติ

    จะสอนให้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ


    การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
    ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย




    ทรงจำแนกสอน"แก่น"ธรรม" แตกต่างกันที่หัวข้อวัตรปฎิบัติ ระหว่าง พระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นทางสายกลาง และ นอกเหนือจากหลักธรรมที่ทรงแสดง ซึ่งเป็นที่น้อมนอมให้เหล่านักบวชนอกพระศาสนาพิจารณาเห็น"แก่น ธรรม" ที่พราหมณ์ไม่มีและถึงมีก็เป็นอย่างอื่นไม่เหมือนกัน ตามพระดำรัส

    ซึ่งเป็นพระธรรมคำสั่งสอนที่จำเป็นแก่เราและท่านบัณฑิตผู้เจริญทั้งหลาย ทั้งที่ต่างสถานะฯ และฐานะธรรมจะต้องทราบและต้องรู้อย่างยิ่ง

    นั่นก็เพื่อปรามตนเองและผู้อื่นที่หลงเข้าใจผิด ไม่รู้จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนานั้นด้วย


    "ตรัสแก่พระภิกษุ"
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อ
    หลอกลวงคน มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภ
    สักการะ และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่าง
    นั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้
    เราประพฤติเพื่อสังวร เพื่อปหานะ (ความละ) เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัด
    ยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)


    "ตรัสแก่พราหมณ์"
    ดูก่อนพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้
    ไม่ใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
    พรหมจรรย์นี้ มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ
    เป็นประโยชน์
    เป็นแก่น
    เป็นที่สุด


    เห็นไหมครับ แม้แต่ ศีลยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ ศีล ไม่ใช่ทั้งหมด

    แนะนำไปดู สูตร นี้ครับ

    เรื่องสาวกเดียรถีย์


    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกสาวกเดียรถีย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อวชฺเช เป็นต้น


    พวกสาวกของอัญญเดียรถีย์ (คนศาสนาอื่น) ไม่ต้องการให้ลูกของพวกตนไปมั่วสุมกับลูกสาวกของพระพุทธเจ้า พวกเขาได้พร่ำสอนลูกทั้งหลายว่า “สมณะพวกศากยบุตร พวกเจ้าไม่พึงไหว้ แม้วิหารของสมณะเหล่านั้น พวกเจ้าก็ไม่พึงเข้าไป” วันหนึ่ง ขณะที่ลูกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกำลังเล่นอยู่กับลูกของชาวพุทธอยู่นั้น ก็เกิดหิวน้ำขึ้นมา ด้วยเหตุที่ลูกของอัญญเดียรถีย์ถูกพร่ำสอนไม่ให้เข้าไปในวัดของชาวพุทธ พวกเขาจึงขอร้องให้เด็กชาวพุทธคนหนึ่งไปนำน้ำมาให้พวกเขาดื่ม เด็กชาวพุทธคนนั้นก็ได้เข้าไปถวายบังคมพระศาสดาและกราบทูลขอน้ำจะเอาไปให้พวกลูกอัญญเดียรถีย์ดื่ม โดยได้กราบทูลเหตุผลว่า เด็กเหล่านั้นมารดาบิดาห้ามเข้ามาในวัดพระเชตวัน พระศาสดาตรัสว่า “เจ้าดื่มน้ำนี้เสียก่อน แล้วกลับไปบอกให้พวกเด็กเหล่านั้นมาดื่มน้ำที่นี่” เมื่อเด็กเหล่านั้นมาดื่มน้ำแล้ว พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถาที่เหมาะกับนิสัยของพวกเขา ทำให้พวกเขามีศรัทธาในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และทรงให้รับศีล เมื่อเด็กพวกนี้กลับไปบ้าน ก็ได้บอกบิดามารดาของพวกตนว่าได้ไปพบพระศาสดาในวัดพระเชตวันมา และพระศาสดาได้ประทานพระรัตนตรัยและศีลเสียอีกด้วย มารดาบิดาของพวกเด็กเหล่านั้น ต่างเดือดเนื้อร้อนใจ ร้องไห้ฟูมฟายน้ำตา ว่า “ลูกของพวกเรา กลายเป็นคนมีทิฏฐิวิบัติเสียแล้ว” พวกเพื่อนบ้านได้มาพูดปลอบใจ ให้หยุดร้องไห้เศร้าโศกเสียใจ และแนะนำให้พาเด็กเหล่านั้นไปวัดพระเชตวัน เพื่อมอบตัวแด่พระศาสดา เมื่อเด็กเหล่านั้นมาพร้อมหน้าพร้อมตาพร้อมด้วยมารดาบิดาของพวกเขาแล้ว พระศาสดาทรงตรวจดูอุปนิสัยความสามารถที่จะบรรลุธรรมของพวกเด็กนั้น ก็ได้แสดงธรรม ด้วยการตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

    แดงๆเส้นใต้ตรงตรวจ ด้วยข่ายพระทศพลญาณ ๑๐ ครับ เห็นไหม?ครับ ใครครับ ? ระดับไหน ข่ายพระญาณตรวจสอบอะไรได้มั่งครับ เอามาแสดงแล้วครับ อย่าเอียงเดี๋ยวเรือคว่ำ ถ้าผมไม่บอกเรื่องนี้ ชาตินี้ทั้งชาติ อย่าหวังจะได้รู้ครับ ไม่มีห้ามเว่อร์ครับ สรุปบุญเก่าของเขาทั้งนั้น ไม่ใช่เพราะว่า ได้จากการรักษาศีล หรือปฎิบัติ ทางสายกลางใดๆในชาตินี้ ก็คนมันจะได้ อะไรก็ขวางไม่อยู่หรอก กำแพงศีล กำแพงสมาธิ กำแพงปัญญา ในชาติใหม่น่ะ ทะลุกระจุยหมดครับ ถ้ามี[พระพุทธเจ้า]


    อวชฺเช วชฺชมติโน
    วชฺเช อวชฺชทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคตึ ฯ



    วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา
    อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
    สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ



    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้
    มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ”





    สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ
    รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ
    ย่อมไปสู่สุคติ.


    เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง คนเหล่านั้นทั้งหมด ดำรงอยู่ในสรณะ 3 แล้ว ฟังธรรมอื่นๆอีกอยู่ ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล.
    ฝากเรียน สีลัพพตปรามาสด้วยครับ เพื่อความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง

    มีพระสูตรที่ตรัสว่าอย่าพอใจแค่ว่าตนเองมีศีลอีก หาให้เจอนะครับ

    คุณพจนานุกรม
    กวาดขยะต่อ แกรกๆ!! กระหายคอแห้งก็.Drink
    สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  18. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ชัก จะเริ่ม ชอบ จ่ายักษ์ แล้วล่ะ ....(.สงสัย รายนี้ จะเหมือนแผ่นดินจริงๆ)

    เพราะ กาลเวลาไม่มีผลอะไรกับจ่าเลย อิอิ

    กวาดขยะ เหนื่อยก็ดริ๊งค์ ....อิอิ (พูดถูกจายมากจ่า)
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผมจริงจังนะครับ หยอกส่วนหยอก ผมหลอกเจตสิกท่าน


    ต่อไปนี้จะน้อมนำแสดงสิ่งนอกจักรวาล หรือในจักรวาลดีนะ ตอบให้ทีนะครับ

    แล้วผมเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้ เกี่ยวครับ เกี่ยวมากด้วย คอยครับสภาวะ รอคนพิเศษจุติธรรมอยู่

    เกิดมายังไม่เคยเห็นพุทธทำนายนี้ ยกมือ .....อ่ะ! แลบลิ้นก็พอครับ หัวเราะแล้ว ยิ้มน้อยๆก็พอ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

    ถ้าว่าอยู่นอกแกแลคซี่ ไปดู ภัย ๕ ประการที่กำลังจะเกิดนะครับ เรื่องนี้ผมก็เกี่ยวข้องด้วย

    ๙. ตติยอนาคตสูตร
    ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ
    [๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิด
    ในปัจจุบัน แต่จะบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
    ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ



    ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
    ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
    จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิ-

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 194
    ศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้น ก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
    ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
    ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้
    กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรม
    กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบ
    ล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้าง
    วินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


    ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
    แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง
    พยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่
    อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
    ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถ
    แนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็
    จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรม
    กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่า
    อื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรม
    ปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การ
    ลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


    ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอ
    ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม
    ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 195
    จิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิด
    ก็จักไม่รู้สึก เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
    การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม
    ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม
    จิต ไม่อบรมปัญญา พระสูตรต่าง ๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง
    มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้น
    อันบุคคลแสดงอยู่ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้
    จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่าง ๆ ที่นักกวี
    แต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็น
    พาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จัก
    ฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่า
    ควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้าง
    ธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อ
    นี้เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม-
    ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
    ไม่อบรมปัญญา ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็น
    หัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อ

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 196
    ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
    ไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้
    ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
    ความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
    ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้
    แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบ
    ล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อัน
    เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิด
    ในบัดนี้ แต่จะบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
    ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น.
    จบตติยอนาคตสูตรที่ ๙



    อรรถกถาตติยอนาคตสูตร
    พึงทราบวินิจฉัยในตติยอนาคตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า ธมฺมสนฺโทสา วินยสนฺโทโส ได้แก่ การเสียวินัยย่อมมี
    เพราะเสียธรรม. ถามว่า ก็เมื่อธรรมเสีย วินัยชื่อว่า เสียอย่างไร. ตอบว่า
    เมื่อธรรมคือสมถวิปัสสนาไม่ตั้งท้อง วินัย ๕ อย่างก็ไม่มี. เมื่อธรรมเสียอย่างนี้
    วินัยก็ชื่อว่าเสีย ส่วนสำหรับภิกษุผู้ทุศีล ชื่อว่าสังวรวินัยไม่มี เมื่อสังวรวินัย
    นั้นไม่มี สมถะและวิปัสสนา ก็ไม่ตั้งท้อง. การเสียธรรมแม้เพราะเสียวินัย
    ก็พึงทราบโดยนัยอย่างนี้.

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 197
    บทว่า อภิธมฺมกถ ได้แก่ กถาว่าด้วยธรรมสูงสุด มีศีลเป็นต้น.
    บทว่า เวทลฺลกถ ได้แก่ กถาเจือด้วยญาณที่ประกอบด้วยความรู้.
    บทว่า กณฺห ธมฺม โอกฺกมมนา ได้แก่ ก้าวลงสู่กรรมฝ่ายดำ โดยการ
    แสวงหาด้วยการแข่งดี เพราะแส่หาความผิดเขา. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย กระทบ
    บุคคลด้วยจิตคิดร้ายก็ดี สร้างกรรมฝ่ายดำนั้น สำหรับตนก็ดี กล่าวเพื่อลาภ-
    สักการะก็ดี. ชื่อว่า ก้าวลงสู่ธรรมฝ่ายดำเหมือนกัน.
    บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึกโดยบาลี. บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่
    ลึกโดยอรรถ. บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงโลกุตรธรรม. บทว่า
    สุญฺตรปฏิสยุตฺตา ได้แก่ ประกอบด้วยขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ.
    บทว่า น อญฺาจิตฺต อุปฏฺเปสฺสนฺติ แปลว่า จักไม่ตั้งจิตไว้เพื่อรู้.
    บทว่า อุคฺคเหตพฺพ ปริยาปุณิตพฺพ ได้แก่ พึงศึกษา พึงเล่าเรียน.
    บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่งโดยผูกเป็นโศลกเป็นต้น. บทว่า กาเวยฺยา
    เป็นไวพจน์ของคำว่า กวิกตา นั้นนั่นแหละ. บทว่า พาหิรกา ได้แก่
    ที่ตั้งอยู่ภายนอกพระศาสนา. บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่สาวกภายนอก
    [พระศาสนา] กล่าวไว้. คำที่เหลือในสูตรนี้ มีความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัย
    ที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะรู้ได้ง่าย.
    จบอรรถกถาตติยอนาคตสูตรที่ ๙

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 198
    ๑๐. จตุตถอนาคตสูตร
    ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ
    [๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ซึ่งยังไม่
    บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้
    เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม
    ก็จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและ
    ป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่
    สมควร อันไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุจีวร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยใน
    อนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้น
    อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาต
    ที่ดีงาม เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็น
    วัตร ละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และ
    ราชธานี แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหา
    อันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน
    กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละ
    ภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะ
    ดีงาม เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละ
    เสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 199
    และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่ง
    เสนาสนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดใน
    บัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว
    พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วย
    ภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นาง-
    สิกขมานา และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ไม่ยินดี
    ประพฤติพรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขา
    เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่ง
    ยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้
    ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารา-
    มิกบุรุษ และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส
    พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้มี
    ประการต่าง ๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียว
    บ้าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
    แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง
    พยายามเพื่อละภัยนั้น.

    ตรัสซ้ำนะครับ มหาภัยเลยจะบอกให้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิด
    ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
    ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น.
    จบจตุตถอนาคตสูตรที่ ๑๐
    จบโยธาชีววรรคที่ ๓

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 200
    อรรถกถาจตุตถอนาคตสูตร
    พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถอนาคตสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า กลฺยาณกามา แปลว่า ผู้มีความต้องการอันดี. บทว่า
    รสคฺคานิ ได้แก่ รสยอดเยี่ยม. บทว่า สสฏฺา วิหริสฺสนฺติ ได้แก่
    จักอยู่ระคนด้วยสังสัคคะการระคน ๕ อย่าง. บทว่า สนฺธิธิการปริโภค ได้แก่
    บริโภคของที่ทำสันนิธิ [สั่งสมไว้ผิดวินัย]. ในบทว่า โอฬาริกปิ นิมิตฺต
    นี้ ภิกษุขุดดินเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ชื่อว่า ทำนิมิตอย่างหยาบในแผ่นดิน.
    ภิกษุตัดเองก็ดี ใช้ให้เขาตัดก็ดี ซึ่งหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ชื่อว่า ทำนิมิตอย่าง
    หยาบในของสดเขียว. ภิกษุให้เขาถือเอาใบไม้และผักเป็นต้น เก็บไว้เองก็ดี
    ใช้ให้เขาเก็บไว้ก็ดี ซึ่งผลไม้เพื่อเลี้ยงชีพ ก็ไม่จำต้องกล่าวกันละ. ในพระสูตร
    ทั้ง ๔ นี้ พระศาสดาตรัสความเจริญและความเสื่อมในพระศาสนาไว้.
    จบอรรถกถาจตุตถอนาคตสูตรที่ ๑๐
    จบโยธาชีววรรควรรณนาที่ ๓
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. ปฐมเจโตวิมุตติสูตร ๒. ทุติยเจโตวิมุตติสูตร ๓. ปฐมธรรม-
    วิหาริกสูตร ๔. ทุติยธรรมวิหาริกสูตร ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร ๖. ทุติย-
    โยธาชีวสูตร ๗. ปฐมอนาคตสูตร ๘. ทุติยอนาคตสูตร ๙. ตติยอนาคตสูตร
    ๑๐. จตุตถอนาคตสูตร และอรรถกถา.

    DANGEROUSSSSSSSSSSSSSSSLY
    อย่าคิดว่าเป็นเรื่องล้อเล่น เผื่อใจไว้เชื่อผม 0.0.0.0.0.0.000000000000001/ใน/1000000000000000000000000%ก็พอครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  20. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ส่วนมากจะไม่มีใครเขา เอามาพูดกัน เรื่อง ที่ว่า ...เจโตวิมุติไม่กำเริบ..

    จ่ายักษ์ ยกมาก็ดีแล้ว ....อธิบายอรรถ หน่อยสิ ..อิอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...